วันอาทิตย์, ธันวาคม 31, 2566

สถิติ ‘ขังข้ามปี’ คดีการเมืองและ ๑๑๒ ‘มากที่สุด’ วันนี้ ๓๗ รายส่งท้ายปี

เออนี่ ประเทศนี้ต้องมีสถิติ ขังข้ามปีด้วยแน่ะ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเก็บข้อมูลว่า คาบต่อปี ๖๖ ถึง ๖๗ มี #ผู้ต้องขังคดีการเมือง มากที่สุดในรอบอย่างน้อยๆ ๒ ปี คือมีถึง ๓๗ คน

เมื่อย้อนดู “รอยต่อปี ๖๔-๖๕ มีคนถูกขังข้ามปีอย่างน้อย ๒๒ คน และรอยต่อ ๖๕-๖๖ ก็มีอย่างน้อย ๑๙ คน” ศูนย์ทนายฯ ระบุด้วยว่าในช่วงรอยต่อทั้งสอง มีผู้ต้องขัง ถูกขังยาว มากกว่า ๓๐๐ วัน ในวันขึ้นปีใหม่

ทำลายสถิติของแต่ละช่วง คือ “อานนท์ นำภา ในระลอกปี ๖๔ และ คทาธรในละรอกปี ๖๕” แต่พอมาถึงระลอกปี ๖๖ นี้ มีรายใหม่มาทำลายสถิติเสียอีก คือ ถิรนัย-ชัยพร-ชนะดล สามคนนี้ติดอยู่ในเรือนจำมานานกว่า ๓๐๐ วัน ในวันนี้

ในจำนวน ๓๗ คนที่ถูกขังยาวข้ามปีนี้ แบ่งเป็นระหว่างสู้คดี ๒๔ คน และคดีถึงที่สุดแล้ว ๑๓ คน โยเป็นผู้ต้องหาคดีมาตรา ๑๑๒ เกินกว่าครึ่ง คืออย่างน้อยๆ ๒๒ ราย

ถึงอย่างนั้น พวกเขาก็ยังจะไม่เดียวดายเสียเลยทีเดียว เพราะเพื่อนพ้องน้องพี่ที่ร่วมอุดมการณ์นัดกันไปให้กำลังใจที่หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ กันคึกคักในคืนนี้

ทำกิจกรรมเขียนจดหมายถึงคนในคุก ร่วมรับประทานอาหารและบันเทิงกันจนถึงเที่ยงคืน

https://twitter.com/TLHR2014/status/1741303178761797863 

ปีใหม่นี้ขอให้ “บุ๊ค” ได้กลับมาดูแลย่า และกลับคืนสู่อ้อมกอดของครอบครัว


ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
13h·

ปีใหม่นี้ขอให้ “บุ๊ค” ได้กลับมาดูแลย่า
และกลับคืนสู่อ้อมกอดของครอบครัว
.
คำขอพรปีใหม่จากย่าและพ่อของ “บุ๊ค” ธนายุทธ ศิลปินแร็ปเปอร์วง Eleven Finger วัย 21 ปี
.
บุ๊คถูกศาลอาญาพิพากษาจำคุก 2 ปี 6 เดือน ในคดีครอบครองวัตถุระเบิด หลังเจ้าหน้าที่ตรวจพบประทัดลูกบอล, ไข่ก็อง, พลุควัน และระเบิดควัน ที่บ้านพัก โดยเขาถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย. 2566
.
ปี 2566 ที่มี 365 วัน
ปัจจุบัน (30 ธ.ค.) บุ๊คถูกคุมขังมาแล้ว 100 วัน
.
ย้อนอ่านข่าว : https://tlhr2014.com/archives/42452
#ขังข้ามปี
#นิรโทษกรรมประชาชน


การสวัสดีปีใหม่ที่ไม่เหมือนกัน ของ 2 พรรค




https://twitter.com/talkingpen88/status/1741068955631198507

 

19 ปี เหตุการณ์ #ตากใบ ยังคงไม่สามารถนำคนผิดมาลงโทษได้ แต่การต่อสู้เพื่อความยุติธรรมยังคงไม่จบสิ้น กับเวลาที่เหลือเพียง 1 ปี ก่อนคดีหมดอายุความ



ตากใบ 2547 ถึง 2566 จากกระสุนปืนนัดที่หนึ่ง นับถอยหลังสู่หนึ่งปีก่อนคดีหมดอายุความ

27 ธ.ค. 66
ณัฏฐ์นรี เฮงสาโรชัย
Thairath Plus

Summary

  • พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงอยู่ภายใต้การบังคับใช้กฎหมายพิเศษจนถึงปัจจุบัน นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ตากใบ 25 ตุลาคม 2547 ที่เจ้าหน้าที่จับกุมผู้ชุมนุม และขนคนนับพันขึ้นรถบรรทุกซ้อนกันถึง 4-5 ชั้น จาก สภ.ตากใบ ไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี จนมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 78 คน
  • นับเป็นเวลากว่า 19 ปีแล้ว ที่การกระทำขัดต่อสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงต่อประชาชนนี้ยังคงไม่สามารถนำคนผิดมาลงโทษได้ แต่การต่อสู้เพื่อความยุติธรรมยังคงไม่จบสิ้น กับเวลาที่เหลือเพียง ‘1 ปี’ ก่อนคดีหมดอายุความ

หลังจากอ่านข่าวเหตุวางระเบิดที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ไม่กี่วันถัดมา เราสะพายกระเป๋าออกเดินทางขึ้นเครื่องบินไปที่ท่าอากาศยานนราธิวาสเป็นครั้งแรกในชีวิต ก่อนวันครบรอบ 19 ปี เหตุการณ์ตากใบ

เจ้าหน้าที่ชุดสีเขียวลายพรางถือปืนยาวยืนประจำอยู่ตามจุดต่างๆ เป็นสิ่งแรกที่เราเห็นและสัมผัสได้ถึงความระแวดระวัง

ระหว่างทางนั่งรถตู้เข้าเมืองนราธิวาส เจ้าหน้าที่ทหารตั้งด่านพร้อมอุปกรณ์ตรวจใต้ท้องรถอย่างเข้มงวด เปรียบเสมือนมีสายตาที่สอดส่องอยู่ตลอดเวลา ณ ที่แห่งนี้

พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงอยู่ภายใต้การบังคับใช้กฎหมายพิเศษจนถึงปัจจุบัน นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ตากใบ 25 ตุลาคม 2547 ความทรงจำอันขมขื่นที่ไม่อาจลบเลือนจากการกระทำอันอำมหิตของรัฐ นั่นคือการที่เจ้าหน้าที่จับกุมผู้ชุมนุม และขนคนนับพันขึ้นรถบรรทุกซ้อนกันถึง 4-5 ชั้น จาก สภ.ตากใบ ไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี ระยะทางประมาณ 150 กิโลเมตร เป็นเวลา 5-6 ชั่วโมง จนมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 78 คน

นับเป็นเวลากว่า 19 ปีแล้ว ที่การกระทำขัดต่อสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงต่อประชาชนนี้ยังคงไม่สามารถนำคนผิดมาลงโทษได้

แต่การต่อสู้เพื่อความยุติธรรมยังคงไม่จบสิ้น กับเวลาที่เหลือเพียง ‘1 ปี’ ก่อนคดีหมดอายุความ
 


1

“ปัง” เสียงยิงปืนขึ้นฟ้านัดแรกเมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. ที่ สภ.ตากใบ หลังกลุ่มมวลชนรวมตัวเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) 6 คน เพราะไม่เชื่อว่ามีความผิดตามข้อกล่าวหาแจ้งความเท็จ จากการที่พวกเขาถูกกลุ่มติดอาวุธปล้นปืนที่รัฐแจกจ่ายให้ไป 6 กระบอก

15.00 น. การฉีดน้ำสลายการชุมนุมเริ่มขึ้น มวลชนเร่ิมสลายตัวและมีการยิงอีกเป็นครั้งที่ 2 พร้อมคำสั่ง “หมอบ!”

“ผมก็หมอบ หันไปข้างหลังก็ไม่มีใครเลย ข้างหน้าเป็นกระถางต้นไม้ ลุกอีกทีก็วิ่งไปและถูกยิงเมื่อไรก็ไม่รู้” อาบิด ชายที่ขณะนั้นถูกยิงใต้ราวนมโดยไม่รู้ตัว และยังคงมีแผลเป็นมาจนถึงทุกวันนี้ในวัย 50 ปี


อาบิด(นามสมมติ) ชายถูกยิงใต้ราวนมหน้าสภ.ตากใบ

อาบีร ถูกมัดไขว้หลังและต้องคลานไปบนรถลำเลียง เขานอนคว่ำทับซ้อนกับคนอื่นๆ บนชั้นที่ 4 โดยภายใต้มีมนุษย์เรียงอัดทับกันอยู่อีก 3 ชั้น เคลื่อนย้ายจาก สภ.ตากใบ ไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี ระยะทางประมาณ 150 กิโลเมตร เป็นเวลา 5-6 ชั่วโมง พร้อมเพื่อนร่วมชะตากรรมอีกกว่า 1,370 คน ในระหว่างการถือศีลอด


“ช่วงพลบค่ำรู้สึกกลัวทุกอย่าง กลัวว่าจะถูกจับตัวไป ปิดประตูหน้าต่างอยู่ในบ้าน นอนไม่หลับเกือบ 2 ปี” นี่คือคำกล่าวของอาบีรหลังรอดชีวิตกลับมาจากคำ่คืนอันโหดร้ายนั้น


อาบีร(นามสมมติ) ชายผู้ถูกมัดไขว้หลังและต้องคลานไปบนรถลำเลียงนอนคว่ำทับซ้อนกับคนอื่นๆ บนชั้นที่ 4

ฮัลวา แม่ผู้สูญเสียลูกชายวัย 19 ปี และ มุนา ภรรยาที่สูญเสียสามี เล่าว่าวันนั้นทั้งคู่เดินทางไปที่ สภ.ตากใบเพื่อตามหาลูกชายและสามีของแต่ละคน

ฮัลวาพยายามเข้าไปหาลูกในช่วงการสลายการชุมนุมแต่ไม่เจอ จากนั้นถูกเจ้าหน้าที่สั่งให้หมอบอยู่บริเวณริมแม่น้ำจนเสื้อผ้าและกระเป๋าของเธอเปียกปอน

ในขณะที่มุนาไปที่ตากใบเพื่อซื้อของกับลูกชายที่กำลังจะไปเป็นทหาร ส่วนสามีของเธอแยกไปที่นั่นตั้งแต่ช่วงเช้า แต่ไปเจอกับสามีที่ สภ.ตากใบ ขณะที่รอดูว่า ชรบ.จะถูกปล่อยตัวหรือไม่ จนกระทั่งเสียงปืนนัดแรกดังขึ้น เธอและสามีไปที่ริมแม่น้ำ ในขณะที่ไม่รู้ว่าลูกชายของเธอไปไหนแล้ว

ไม่นานหลังจากนั้นมีประกาศจากตำรวจทหารให้ผู้หญิงออกไปรวมตัวที่อาคารใกล้ๆ โรงพัก และให้ผู้ชายถอดเสื้อออก สามีมุนาจึงถอดเสื้อให้เธอเก็บไว้ ทหารมัดมือพวกเขา บางคนมัดให้กันและกัน ก่อนจะลำเลียงคนขึ้นรถไปที่ปัตตานี โดยที่ฮัลวาและมุนาเห็นเหตุการณ์ทุกอย่าง หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จึงปล่อยให้เฉพาะผู้หญิงกลับบ้านไปในเวลาประมาณ 20.30 น.

วันรุ่งขึ้นเมื่อฮัลวาและมุนาไปที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร ผ้าขนหนูผืนเล็กที่ติดไว้ที่กระเป๋าหลัง คือสิ่งที่ทำให้ฮัลวารู้ว่านั่นคือศพลูกของเธอ


ฮัลวา(นามสมมติ) แม่ผู้สูญเสียลูกชายวัย 19 ปี
ขณะเดียวกันบนรายชื่อผู้เสียชีวิต มุนาพบชื่อสามีอยู่บนนั้น ส่วนลูกชายถูกควบคุมตัวอยู่ที่ค่ายทหาร ซึ่งได้รับการปล่อยตัวภายหลังและต้องกลับไปเป็นทหาร

ต่างคนต่างมีชีวิตหลังจากนี้ เจ้าของเธอก็ไม่อยู่แล้ว ต่างคนต่างไปหากิน

นี่คือคำพูดของมุนาหลังจากสูญเสียสามีผู้เป็นที่รักไป ขณะเอื้อมมือเปิดกรงนกที่สามีเฝ้าเลี้ยงดู ปล่อยเหล่านกน้อยให้เป็นอิสระ พร้อมภาพความทรงจำของสามีที่ยังอัดแน่นอยู่เต็มหัวใจ


มุนา (นามสมมติ) ภรรยาที่สูญเสียสามี และกรงนกของสามี

อามาล ชายผู้ประกอบอาชีพช่างทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ต้องสูญเสียน้องชายสุดที่รักของเขาไปจากเหตุการณ์ตากใบ วันนั้นอามาลแวะไปส่งน้องชายที่โรงเรียนก่อนไปทำงานที่มาเลเซีย หลังจากเหตุการณ์นั้น 1 วัน ก็ได้รับสายโทรศัพท์ว่าน้องชายวัย 16 ปีของเขาเสียชีวิตแล้ว

ในวันสุดท้ายก่อนน้องชายจะจากไปด้วยการขาดอากาศหายใจ ภาพความทรงจำที่ยังคงฝังลึกอยู่ในจิตใจของอามาลคือธนบัตรเปื้อนเลือด สิ่งที่อยู่ติดตัวน้องชายจนลมหายใจสุดท้าย

“ยังจำได้ว่าเราให้เงินน้องไปซื้อของ เขาบอกจะไปซื้อของที่ตากใบ ไปซื้อเสื้อผ้ารายอ ผมให้ไป 700 บาท แล้วแม่ให้อีก 200-300 บาท รวมประมาณ 1,000 บาท ที่เขามีเงินอยู่ตอนนั้น”

“ผมไปขึ้นรถตู้ที่อำเภอบาเจาะ ไปอำเภอตากใบ ส่วนน้องขึ้นสองแถวเข้าไปที่โรงเรียน น้องก็ขออีก 50 บาท นั่นเป็นคำสุดท้าย ตอนนี้ยังจำเสียงได้อยู่เลย”


อามาล(นามสมมติ) พี่ชายผู้สูญเสียน้องชาย

หลังจากเหตุการณ์ความรุนแรงผ่านไป ความสูญเสียที่ไม่อาจหวนคืนนี้ถูกกระบวนการยุติธรรมตีค่าชดเชยออกมาเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ที่ไม่ต้องมีใครเอ่ยก็รู้ว่า สิ่งนี้ไม่อาจทดแทนชีวิตที่จากไปได้ ทุกครอบครัวต่างเจ็บปวดแต่จำใจต้องรับตามหลักการ

“ตามคำสอนของศาสนาอิสลาม การที่เราหวนให้เกิดความเศร้าใจเสียใจจะเข้าข่ายไม่ดี เพราะอัลเลาะห์ได้กำหนดชีวิตของเขาไว้แล้ว บางทีการร้องไห้หน้าศพยังทำไม่ได้ ต้องใช้ความอดทนเพื่อให้ปลงไป นี่คือลิขิตของพระเจ้า แต่การเสียชีวิตด้วยสาเหตุใด นั่นคือสิ่งที่ต้องแก้”

2

ญาติผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบบอกเล่าเรื่องราวของความสูญเสียอยู่หลายรอบในวันนั้น ยิ่งตอกย้ำคำถามในใจของเราว่า พวกเขายังคงต้องบอกเล่าและอยู่กับความเจ็บปวดนี้ตลอดไปหรือไม่

ตามข้อเท็จจริง หลักฐานทุกอย่างบ่งชี้ผู้กระทำผิดอย่างชัดเจน แต่ผู้กระทำผิดเหล่านั้นยังไม่เคยได้รับโทษแม้แต่คนเดียว เป็นเวลาล่วงเลยมานานเกือบ 20 ปี

แม้ภายหลังเหตุการณ์จะมีคำขอโทษอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2549 จาก พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่เพิ่งเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีขณะนั้น รวมถึงคำขอโทษที่ออกจากปากของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เป็นผู้สั่งให้ตำรวจดำเนินคดีจับกุมผู้ชุมนุมตากใบ เมื่อปี 2547 แต่เหล่าญาติและผู้เสียหายยังคงมองว่าเป็นการขอโทษเพื่อให้ผ่านๆ ไป และยังไม่สามารถจับผู้สั่งการได้

ในช่วงเช้าตรู่ของวันถัดมา เราและคณะสื่อมวลชนออกเดินทางไปยัง สภ.ตากใบ ซึ่งตั้งอยู่ติดกับที่ว่าการอำเภอตากใบ ฝั่งตรงข้ามเป็นสนามเด็กเล่นติดริมแม่น้ำโก-ลก และนี่คือสถานที่เกิดเหตุในวันนั้น

เป็นครั้งแรกที่เราได้มาเห็นสถานที่เกิดเหตุจริง จากที่เคยเห็นเพียงในรูปถ่าย ที่นี่มีบรรยากาศเงียบสงบจนน่าเหลือเชื่อว่าเคยมีคนถูกยิงตรงนี้ ส่วนบริเวณริมแม่น้ำโก-ลกยังคงสภาพเหมือนในภาพถ่ายที่มีผู้ชุมนุมจำนวนมากหมอบเรียงกัน ยกเว้น สภ.ตากใบ ที่มีการปรับปรุงใหม่ และหน้าตาดูต่างไปจากเดิม





ระหว่างเดินสำรวจพื้นที่อยู่นั้น เราก็พบกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2-3 นาย พวกเขาเข้ามาพูดคุยกับสื่อที่กำลังถ่ายรูปด้วยท่าทางดูเป็นมิตร แม้จะมีหลายช่วงขณะที่เราเห็นว่าเจ้าหน้าที่กำลังถ่ายรูปทุกการกระทำของสื่อมวลชนอยู่ พร้อมสายตาสอดส่องอยู่ตลอดเวลา

หลังจากเราสำรวจพื้นที่บริเวณ สภ.ตากใบ แล้ว เราเดินทางไปต่อที่หาดไพรวัน อำเภอตากใบ เพื่อไปพบกับชาวบ้านที่กำลังจัดกิจกรรมรวมตัวของญาติผู้เสียหาย มีการปราศรัยและเสวนาด้วยภาษามลายู ที่แม้เราจะฟังไม่ออกแต่ก็รู้สึกได้ถึงความฮึกเหิม

ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงสวมฮิญาบนั่งรวมกลุ่มกัน ทุกคนคือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ตากใบ แต่หลังจากที่ชาวบ้านกำลังพูดคุยกับสื่อ เพียงไม่นานเราก็เจอกับเจ้าหน้าที่ทหาร 2 คน เข้ามาพูดคุยด้วย และบอกว่ามาดูแลความปลอดภัย พร้อมกับถ่ายรูปคนที่มาร่วมงานในวันนี้
 

กิจกรรมรวมตัวของญาติผู้เสียหาย หรือ แคมปิ้ง

เส้นแบ่งระหว่างเจ้าหน้าที่และชาวบ้านเป็นสิ่งที่ถ้าใครมาเยือนที่นี่จะรู้สึกได้อย่างชัดเจน

การปรากฏตัวของเจ้าหน้าที่ทำให้บรรยากาศเปลี่ยนไปทันที พื้นที่ในการพูดคุยเริ่มจำกัดลง ผู้ปราศรัยต้องเปลี่ยนมาพูดเป็นภาษาไทยกลาง ทำให้การพูดคุยอย่างเปิดใจนั้นเหมือนถูกเก็บให้เป็นความลับ

จนกระทั่งช่วงเที่ยง ผู้คนนั่งรับประทานอาหารก่อนทยอยเดินทางไปต่อที่ อบต.ศาลาใหม่ เพื่อฟังเวทีเสวนา ‘นับถอยหลัง 1 ปี ก่อนหมดอายุความตากใบ’ โดยมีผู้เข้าร่วมงานแน่นเต็มห้องประชุมขนาดใหญ่ที่รองรับได้กว่าร้อยคน

“มันหดหู่ ย่ำยีหัวใจเหลือเกิน อีก 1 ปีก็จะหมดอายุความ เพราะตอนนี้ยังไม่มีใครออกมารับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น รับผิดชอบแค่ตัวเงินอย่างเดียวมันไม่พอสำหรับเรา ไม่จริงใจกับเราเลย คำขอโทษยังไม่มีเลย”

คือคำพูดของชารีฟะห์ น้องสาวที่สูญเสียพี่ชายในเหตุการณ์ตากใบ ส่งผลให้พ่อของเธอเป็นโรคซึมเศร้า
 

ชารีฟะห์ (นามสมมติ) น้องสาวที่สูญเสียพี่ชายในเหตุการณ์ตากใบ

คดีความหลังจากเหตุการณ์ตากใบยังเป็นข้อครหามาถึงปัจจุบัน ด้วยข้อสงสัยต่างๆ นานามากมายที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะข้อเท็จจริงที่มาจากเจ้าหน้าที่

อาดิลัน อาลีอิสเฮาะ ทนายความศูนย์ทนายความมุสลิม อธิบายถึงคดีที่เกิดขึ้นว่า ในกรณีคดีเสียชีวิตจะดำเนินคดี 3 สำนวน ได้แก่

สำนวนที่ 1 คือ การไต่สวนชันสูตรพลิกศพ ที่ทำให้เกิดคนเสียชีวิตที่ สภ.ตากใบ สำนวนที่ 2 คือ เจ้าหน้าที่ทำให้คนคนนั้นเสียชีวิต ขณะถูกการควบคุมของเจ้าหน้าที่ และสำนวนที่ 3 คือ คนที่ขัดขวางหรือต่อสู้เจ้าหน้าที่ ทำให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิต

โดยสำนวนที่ 1 และสำนวนที่ 3 ขึ้นศาลจังหวัดนราธิวาส ส่วนสำนวนที่ 2 มีผู้เสียชีวิตที่ปัตตานี แต่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าให้มาพิจารณาคดีที่ศาลสงขลา

ส่วนสำนวนที่ 3 ในปีนี้ก็มีการดำเนินการ และท้ายที่สุดก็ประนีประนอมยอมความกัน โดยการส่งคนเข้ามาเจรจาพูดคุย ทำให้เกิดความสมานฉันท์ในพื้นที่

เราที่เป็นทนาย วันนั้นไม่ลงนามร่วมประนีประนอมยอมความด้วย เพราะเรามองว่าการยอมความในขณะนั้น ทำโดยพื้นฐานของญาติที่ถูกเสนอเงื่อนไขที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ ก็ต้องยอม เราที่เป็นทนายความ ไม่สามารถไปทัดทานได้

อาดิลัน เล่าถึงกระบวนการค้นหาความจริงว่า ตอนนั้นมีคณะกรรมการอิสระฯ ที่แต่งตั้งโดยทักษิณ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี (กอส.) และมีการค้นหาข้อเท็จจริงออกมา 2 เรื่อง คือเรื่อง กรือเซะ และตากใบ ความโชคร้ายของตากใบคือสำนวนส่วนใหญ่หายไปหลายส่วนมาก แต่โชคดีที่ยังเจอรายงานของคณะกรรมการอิสระ และรายงานของคณะกรรมการเยียวยาฯ ที่พูดถึงผู้ที่จะต้องรับผิดในเหตุการณ์ตากใบ

ในรายงานระบุความเห็นของคณะกรรมการอิสระ ซึ่งมี พิเชต สุนทรพิพิธ อดีตผู้ตรวจการแผ่นดินคนแรกของไทย และเคยเป็นประธานคณะกรรมการอิสระในขณะนั้น

"สิ่งที่เกิดขึ้นถือว่าผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องขาดการใช้วิจารณญาณเป็นอย่างมาก ละเลยไม่ดูแลการลำเลียงและเคลื่อนย้ายผู้ถูกควบคุมให้แล้วเสร็จ แต่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหารระดับชั้นผู้น้อย"

"พลตรีเฉลิมชัย วิรุฬห์เพชร (ผบ.พล.ร.5 ผู้รับผิดชอบในการสลายการชุมนุมที่ สภ.อ.ตากใบ) ไม่ได้อยู่ควบคุมดูแลภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วง แต่ได้ออกพื้นที่ไปพบนายกรัฐมนตรีที่อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เมื่อ 19.30 น. โดยไม่มีเหตุผลและความจำเป็น คณะกรรมการจึงเห็นว่าพลตรีเฉลิมชัย ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ไม่ครบถ้วนตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา "

และมีความเห็นต่อไปว่า

"คณะกรรมการอิสระเห็นว่า พลโทพิศาล วัฒนวงษ์คีรี แม่ทัพภาคที่ 4 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ขาดความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีหน้าที่ต้องติดตามดูแลภารกิจที่ได้มอบหมายให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติอย่างใกล้ชิด"

อาดิลัน เล่าต่อถึงกระบวนการหลังจากนี้ว่า จะต้องไปดูผลคดีในสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน สภ.ตากใบ กับ สภ.หนองจิก ที่ได้รับผิดชอบคดีไต่สวนชันสูตรพลิกศพ โดยอาดิลันจะรวบรวมอาสาสมัครจากครอบครัวของผู้สูญเสีย ทำหนังสือถึงกรรมาธิการกฎหมายฯ เพื่อขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบคือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำรวจ สภ.ตากใบ และ สภ.หนองจิก ไปตอบในสำนวนที่ 3 ว่าหลังจากที่ส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. พิจารณาแล้ว ขณะนี้สถานภาพของคดีนี้เป็นอย่างไร

“กรณีตากใบตั้งแต่วินาทีนั้นจนบัดนี้ หลายคนยังรำลึกถึงความเจ็บปวด กลิ่นเลือด กลิ่นฝน เสียงความช่วยเหลือของเพื่อนที่อยู่รอบตัว ประเทศไทยไม่เคยก้าวผ่านความขัดแย้ง ทุกคนยังอยู่ในอำนาจหน้าที่ ลอยนวลพ้นผิดอยู่ตลอดช่วงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นทักษิณ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ที่ตอนนี้อยู่กรุงเทพฯ และ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ผบ.ทบ. ขณะนั้น ก็เพิ่งออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี”



เมื่อพูดถึงการลอยนวลพ้นผิด ทำให้เราต้องย้อนไปยังกระบวนการค้นหาความจริง ที่มีการร่วมมือจากหลากหลายหน่วยงาน รวมถึงรัฐบาล แต่อย่างไรก็ตาม การบันทึกหลักฐานต่างๆ ที่มีอยู่น้อยนิดอาจไม่ได้เป็นที่รู้กันในสาธารณชนมากนัก นอกจากคำเล่าปากต่อปาก

พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ในฐานะที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ เล่าถึงสิ่งที่ได้คุยกับชาวบ้านว่า ที่ผ่านมารัฐพยายามทำให้เรื่องตากใบเล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ และปิดกั้นสื่อมวลชน

“สิ่งที่ทำให้เรามาลงพื้นที่ครั้งแรกคือเหตุการณ์ตากใบ และทราบปัญหาความขัดแย้ง อย่างกรณี ทนายสมชาย นีละไพจิตร ที่หายตัวไปเมื่อเดือนมีนาคม 2547 และข่าวเรื่องกรือเซะมีผู้เสียชีวิตกว่า 100 คน จึงได้รวมกลุ่มคนทำงานด้านสิทธิมาค้นหาความจริง ทำให้เราเห็นความบอบช้ำของผู้ได้รับผลกระทบ เคยมีอาจารย์คนหนึ่งอยู่ที่ตาบา เล่าว่า เขาเห็นรถที่ขนคนไปคืนนั้น รถมีน้ำที่ไหลออกมาเหมือนรถขนปลา”

พรเพ็ญ เล่าอีกว่า กระบวนการค้นหาความจริงที่เกิดขึ้นในชั้นศาลจังหวัดสงขลา ดำเนินการอย่างสุดความสามารถ นำเสนอหลักฐานทุกอย่างเท่าที่มี แต่ฝ่ายรัฐและฝ่ายอัยการกลับไม่นำตัวบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำในวันนั้นขึ้นเข้าให้การในชั้นศาล

บุคคลที่อัยการคัดสรรมาสำหรับการขึ้นให้การ มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงบางคน ตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครอง และทหารที่นำเข้าสู่การพิจารณาคือคนขับรถเท่านั้น คนขับรถก็จะบอกว่าไม่เห็นๆ ไม่ได้หันหน้าไปเลยครับ ทำธุระอื่น ทุกคนไม่นำมาซึ่งการค้นหาความจริง

“การเยียวยาที่ดีที่สุดคือการได้รับความจริง คงต้องคุยกันในระยะยาวว่าในรัฐบาลใหม่จะริเริ่มกระบวนการนี้อย่างไร เพราะการเยียวยาไม่ใช่แค่เรื่องเงินและคำพิพากษาเท่านั้น แต่คือการเยียวยาทางด้านจิตใจและการฟื้นฟูให้ทุกคนสามารถกลับขึ้นมายืนได้อย่างสมศักดิ์ศรี” พรเพ็ญทิ้งท้าย

แม้การกระทำรุนแรงจะเกิดขึ้นจากรัฐบาลในอดีต แต่รัฐบาลใหม่ ในฐานะตัวแทนรัฐ ยังคงมีหน้าที่รับผิดชอบต่อบาดแผลที่ยังคงหลงเหลืออยู่ และเป็นบทเรียนที่ต้องหาทางแก้ไข

รศ.เอกรินทร์ ต่วนศิริ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) สะท้อนบทเรียนจากเหตุการณ์ตากใบที่สะท้อนถึงปัญหาที่ยังคงแก้ไม่ได้อยู่หลายข้อ ซึ่งทั้งหมดต้องโยงกลับไปยังโครงสร้างของอำนาจ ที่ รศ.เอกรินทร์ ระบุถึง 3 ปัจจัยหลักที่ต้องแก้คือ

1. ระบบทหารมีอิทธิพลกับการเมืองไทย หากต้องการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ทหารต้องอยู่ใต้ประชาชน ต้องมีผู้ตรวจการกองทัพจากภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม ไม่ใช่ตั้งคณะกรรมการจากฝ่ายทหารอย่างเดียว

2. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยการใช้กลไกอำนาจทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ หรือฝ่ายบริหาร สามารถรื้อฟื้นคดีนี้ได้ออกมาและใช้ช่องทางให้คดีตากใบเป็นคดีที่ได้รับการเปิดเผยความจริงได้

3. กรณีคดีตากใบหมดอายุความ สิ่งที่ต้องตั้งคำถามเป็นข้อแรกคือ ทนายและคนในพื้นที่จะมีส่วนร่วมในการผลักดันเรื่องนี้ต่อหรือไม่ ถ้าคนที่นี่เอาด้วย ทุกคนก็เอาด้วย ข้อที่สอง ต้องผลักดันการใช้อำนาจประชาชนผ่านการเมืองระบบรัฐสภา เพื่อให้ผู้แทนประชาชน หรือ สส. เข้าไปเป็นปากเสียงของประชาชนในสภา ข้อที่สาม การทำให้เรื่องนี้เป็นที่รับรู้ในชุมชนนานาชาติ ไม่ใช่เพื่อแทรกแซง แต่เพื่อยกระดับการอยู่ร่วมกันของคนทั้งสังคม

“ต่อไปการสลายการชุมนุมกับมนุษย์อย่างนี้จะต้องไม่เกิดขึ้นอีก ถ้าเราเป็นอย่างนี้อย่าหวังว่าเราจะพูดเรื่องซอฟต์พาวเวอร์ ในเมื่อเรื่องพื้นฐานแบบนี้เรายังทำไม่ได้เลย”



ความทรงจำอันขมขื่นที่ถูกเก็บราวกับความลับในประเทศนี้ ทำให้แค่การพูดถึงกลายเป็นสิ่งกระอักกระอ่วนสำหรับใครบางคน อีกทั้งการตระหนักรู้ถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนที่ยังก้าวไม่ไกลดังฝัน

“วันนี้ไม่มีการล้างแค้น และไม่ใช่การทำลาย เจ้าหน้าที่อย่ากลัวเลยกับเหตุการณ์ตากใบ คุณยอมรับในความผิดพลาดดีกว่า เพราะเราในฐานะที่เป็นมุสลิม เราเรียนรู้จากหลักศาสนา ที่ไม่ได้สอนให้เราไปคิดฆ่าล้างแค้นใคร ศาสนาอิสลามสอนให้เราให้อภัย”

คือคำพูดของ ผศ.สุชาติ เศรษฐมาลินี ชาวมุสลิมเพียงคนเดียวในกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปล่งวาจาที่ดังกึกก้องไปทั่วห้องประชุมใหญ่ พร้อมด้วยชาวมุสลิมนับร้อยส่งเสียงเห็นด้วยและปรบมือดังสนั่น

ผศ.สุชาติ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสันติศึกษาที่มีเพียงหยิบมือในประเทศไทย ที่สะท้อนบทเรียนจากเหตุการณ์ตากใบในมุมมองของบาดแผลศึกษา หรือ Trauma Studies พบว่ามีการศึกษามากในต่างประเทศ แต่ยังไม่มีการจัดการแผลที่จะนำไปบูรณาการเพื่อสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง รัฐบาลหลายประเทศยังเฉยเมย และยังถูกทำให้ลืม

“ผมอยากเห็นรัฐบาลไทยเป็นตัวอย่าง มีความกล้าหาญทางจริยธรรม และยืนหยัดในการสนับสนุนให้คนได้จดจำเรื่องราวต่างๆ เหล่านี้”



3

ร่องรอยของการทำให้ ‘ลืม’ ยังคงเห็นได้ชัดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในตำราเรียนของที่นี่ไม่มีบันทึกเหตุการณ์ตากใบไว้แม้แต่บรรทัดเดียว แต่อย่างไรความจริงก็ปิดไม่มิด สื่อโซเชียลมีเดียคือสิ่งสำคัญที่ทำให้เยาวชนที่นี่รับรู้ถึงเหตุการณ์ตากใบ ต่อให้พ่อแม่ของพวกเขาจะไม่ได้เล่าให้ฟัง และแม้กระบวนการทำให้ลืมจะยังคงอยู่ กระบวนการทำให้จำก็มีอยู่เช่นกัน มีหลายฝ่ายที่พยายามนำเหตุการณ์ตากใบให้กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง เพื่อให้ประวัติศาสตร์ที่ไม่อาจลบเลือนหายนี้ยังคงเป็นที่กล่าวขานต่อไป

เราเดินทางไปที่ เดอลาแป อาร์ต สเปซ นราธิวาส เพื่อชมนิทรรศการ ‘สดับเสียงเงียบ: จดจำตากใบ 2547’ ที่เวียนมาจัดที่นราธิวาสในช่วงวันครบรอบ 19 ปีตากใบ

ภายในงานมีข้าวของที่เป็นความทรงจำเกี่ยวกับผู้เสียชีวิตเรียงรายอยู่เต็มห้องขนาดพอเหมาะ เช่น เสื้อผ้า ธนบัตร กรงนก และนาฬิกา ของที่จัดแสดงอาจดูเป็นสิ่งของเล็กๆ น้อยๆ แต่กลับผูกโยงกับชีวิตของคนที่จากไปอย่างลึกซึ้ง




ขณะที่เราเดินชมไปเรื่อยๆ ก็สังเกตเห็นหญิงสวมฮิญาบคนหนึ่งกำลังจับเสื้อผ้าลายสก๊อตสีน้ำตาลเหลืองที่ถูกนำมาจัดแสดง เธอบอกว่านี่คือเสื้อของลูกชายเธอพร้อมด้วยรอยยิ้มบนใบหน้า และนั่นย้ำให้เราเห็นถึงเรื่องราวและพลังของสิ่งของเหล่านี้



นอกจากที่นี่จะเป็นที่จัดแสดงงานศิลปะแล้ว ยังมีคาเฟ่ให้นั่งชิลพบปะผู้คนพร้อมกลิ่นกาแฟหอมกรุ่น หนึ่งในคนที่เราได้มีโอกาสนั่งคุยด้วยคือ วลัย บุปผา ภัณฑารักษ์ของงานนิทรรศการนี้

"ไม่อยากจัดตั้ง ไม่อยากเห็นความทรงจำที่เจ็บปวดอีกแล้ว"

คือเสียงสะท้อนจากชาวบ้านในช่วงเริ่มแรกก่อนจะเกิดนิทรรศการนี้ขึ้น วลัยเล่าให้ฟังว่า มีการทำสำรวจความคิดเห็นคนทั่วไปว่าหากมีหอจดหมายเหตุหรือพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเกี่ยวกับเหตุการณ์ตากใบ โดยมี ‘โครงการก่อตั้งจดหมายเหตุ’ เป็นผู้ริเริ่มและรวบรวมข้อมูล พวกเขาจะยินดีให้จัดตั้งอย่างเป็นทางการหรือไม่

“เดิมทีสิ่งที่จะออกมาชิ้นแรกของโครงการฯ คือหนังสือ แต่ในระหว่างทางการทำหนังสือ วัตถุหรือความทรงจำนั้นโดดเด่นขึ้นมามากกว่า การเปิดตัวด้วยหนังสือเฉยๆ คงได้เรื่องประมาณหนึ่ง แต่เหตุใดเล่าจึงไม่รวบรวมความทรงจำเหล่านั้นมาให้คนอื่นได้รับฟังและรับรู้”

นั่นคือจุดเริ่มต้นในการจัดนิทรรศการ แต่ด้วยประเด็นที่อ่อนไหวและเหตุการณ์ตากใบเป็นเหตุการณ์ที่มีผู้สูญเสียมากที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นในประเทศนี้ วลัยจึงออกแบบนิทรรศการที่มุ่งเน้นความทรงจำมากกว่าการย้ำบาดแผล

“เมื่อเราจัดนิทรรศการที่กรุงเทพฯ ครั้งแรก เราได้เชิญภรรยา แม่ ของผู้สูญเสียไป 4 ท่าน เขาเห็นแล้วคงเพิ่งเข้าใจว่าเราขอสิ่งของของผู้เสียชีวิตไปเพื่อการนี้ ตอนแรกเขาไม่เข้าใจ เพราะนึกว่าจะมาถามแต่เรื่องเหตุการณ์ แต่หลังจากได้เห็นนิทรรศการเขาก็ให้คำตอบว่า โอเค วิธีการเล่าเรื่องแบบนี้ไม่สร้างความเจ็บปวดซ้ำให้ผู้สูญเสีย”

“ผู้ที่จากไปทั้งหมดเป็นผู้ชาย ฉะนั้นคนที่เก็บสิ่งของและบอกเล่าเรื่องราวส่วนใหญ่จะเป็นแม่ ภรรยา น้องสาว ลูกสาว หรือเป็นพี่ชาย ฉะนั้นมิติของความทรงจำที่นำสู่บุคคลที่สูญเสียไปนั้น จึงสะท้อนออกมาในเรื่องเล็กเรื่องน้อย”
 


“เมื่อเราพูดถึงเรื่องราวตากใบผ่านความทรงจำ วัตถุในความทรงจำเป็นแง่มุมที่ไม่คม ไม่พุ่งแทง แต่ชวนให้คนดูได้เปิดใจ ได้มอง ได้ฟัง ที่เราใช้ชื่อสดับเสียงเงียบ เป็นเพราะเรื่องราวเหล่านี้เป็นเสียงที่เบามาก แบบไม่เคยได้ยินมาก่อนในส่วนกลาง ส่วนใหญ่สิ่งที่เราได้ยินจากเรื่องตากใบมันเป็นเรื่องความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัด จำนวนเหตุกี่ครั้ง กี่จุด ตรงไหน เราไม่ค่อยได้ยินว่าหลังจากเหตุการณ์นั้น ผู้ที่ยังอยู่เขาดำเนินชีวิตต่อไปอย่างไร”

ข้าวของที่ถูกจัดแสดงในนิทรรศการทั้งหมดล้วนเป็นของผู้เสียชีวิต ยกเว้นก็แต่ชุดโต๊ปสีน้ำเงิน หรือชุดเสื้อแขนยาวตามแบบมุสลิมที่เจ้าของยังมีชีวิตอยู่ ชุดโต๊ปนี้เป็นของ บาบอ ผู้ทำพิธีละหมาดศพในเหตุการณ์ตากใบ 50 ศพ ที่มัสยิดตะโละมาเนาะ ซึ่งตอนนี้บาบออายุประมาณ 70 ปีแล้ว

“จากคำสัมภาษณ์ของบาบอ บาบอไม่ได้ตั้งใจเลือกให้มัสยิดตะโละมาเนาะมีนัยทางประวัติศาสตร์ แต่ด้วยความจำเป็นที่จะต้องทำพิธีให้เร็วที่สุดตามหลักการของศาสนา เช่น การอาบน้ำศพ มัสยิดตะโละมาเนาะซึ่งมีพื้นที่กว้างขวาง และเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างปัตตานีและนราธิวาส จึงกลายเป็นพื้นที่ในการประกอบพิธี” วลัยลงรายละเอียด

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เรามาดูนิทรรศการนี้ แต่เป็นครั้งแรกที่ได้ชมนิทรรศการนี้ในพื้นที่นราธิวาสจริงๆ ความแตกต่างที่เราสัมผัสได้ชัดคือความรักและความคิดถึงของญาติทุกคนที่มีต่อข้าวของ เรื่องราว และความทรงจำในขณะที่พวกเขายังมีชีวิต

“หลังจากที่ได้จัดแสดงครั้งแรกในเดือนมีนาคมที่ศิลปากร และไปจัดที่ธรรมศาสตร์รังสิต การได้มาจัดนิทรรศการที่นราธิวาส ทำให้รู้สึกว่า ในที่สุดก็ได้พานิทรรศการนี้กลับมายังที่ของมันเป็นครั้งแรก เราอยากให้เจ้าของวัตถุได้มาเห็นในวาระครบ 19 ปี” วลัยทิ้งท้าย

4

เหตุการณ์ตากใบเป็นบาดแผลที่มีคนพยายามลบ มีกระบวนการทำให้ลืม ให้กลายเป็นความทรงจำที่เจือจาง แต่คำถามที่เราสงสัยมาตลอดคือมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง หลังจากบาดแผลความรุนแรงเหล่านั้น และคนรุ่นหลังจะมีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ตากใบแบบไหนในระหว่างทางเติบโต

“หลังจากเหตุการณ์ตากใบ สิ่งที่เราได้รับคือนกกระดาษที่โปรยลงมาจากเครื่องบิน โปรยไปทั่วสามจังหวัด และมีอนุสาวรีย์รูปนกตั้งอยู่ที่นราธิวาส ใช้ชื่อว่า นกสันติภาพ นี่คือสิ่งต่างหน้าหรือสิ่งแทนใจของรัฐบาลที่ทำให้กับเรา ให้คนที่นี่”

คือคำบอกเล่าของ ซูกริฟฟี ลาเตะ หรือ ลี ชายผู้เติบโตที่ปัตตานีผ่านช่วงเหตุการณ์ตากใบในวัย 6 ขวบ จนกระทั่งอายุ 27 ปี ในฐานะนักเคลื่อนไหว ที่เคยเป็นอดีตประธานกลุ่มเปอร์มาส (PerMAS) หรือ ‘สหพันธ์นิสิต นักศึกษา นักเรียนและเยาวชนปาตานี’ ก่อนผันตัวมาทำงานเบื้องหลังในฐานะสมาชิกกลุ่ม The Patani

วันที่ 5 ธันวาคม 2547 นกกระดาษถูกโปรยลงมาสู่จังหวัดสามชายแดนใต้นับ 120 ล้านตัว นี่เป็นไอเดียของทักษิณ ชินวัตร นายกฯ ขณะนั้น ที่ชวนประชาชนทั่วประเทศพับนกกระดาษเป็นสัญลักษณ์ว่าคนทั้งประเทศร่วมกันส่งแรงใจให้กับคนชายแดนใต้ด้วยกระบวนการสันติวิธี

เวลาต่อมาทางจังหวัดนราธิวาสร่วมก่อสร้างอนุสาวรีย์นกสันติภาพ โดยเคี่ยวนกกระดาษกับปูน เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ความสูญเสียและรำลึกถึงความห่วงใยของคนไทยทั่วประเทศที่ร่วมกันพับนกกระดาษ ณ วันนี้อนุสาวรีย์นกกระดาษถูกนำไปติดตั้งที่วงเวียนข้างสวนกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อำเภอเมืองนราธิวาส
 

ซูกริฟฟี ลาเตะ หรือ ลี ชายผู้เติบโตที่ปัตตานีผ่านช่วงเหตุการณ์ตากใบ

ลีค่อยๆ เล่าเรื่องราวของเขาในวัยเด็ก แม้จะมีขวบวัยที่ยังไม่รู้อะไรมากนัก แต่สิ่งที่ลีจดจำได้ดีหลังเหตุการณ์ตากใบคือมีคนนำแผ่นซีดีมาวางไว้หน้าบ้าน เป็นซีดีก๊อบปี้สีขาวใส่อยู่ในถุงหน้าตาธรรมดา และมีปกกระดาษสีขาวทับโดยไม่มีข้อความอะไรเขียนไว้

ด้วยความซนของลีในวัย 6 ขวบ จึงนำซีดีแผ่นนั้นไปเปิดดู ภาพบนจอที่ปรากฏคือเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่ตากใบ เป็นภาพเดียวกับที่มีลงไว้ใน YouTube แต่มีความคมชัดกว่า

“ตอนที่ผมเปิด ที่บ้านโกรธมาก เพราะเป็นเหมือนคลิปต้องห้าม ภาพมันน่ากลัวมาก ยังจำได้ และซีดีนี้ก็ถูกเก็บไปจากหมู่บ้าน น่าจะถูกเอาไปทำลายหรือเอาไปทิ้งที่ไหนสักแห่ง”

“คราวนี้ก็เริ่มมีข่าวว่าแผ่นซีดีนี้มาจากไหน บ้างก็ว่าเป็นของ BRN (ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี) เป็นองค์กรติดอาวุธเอามาแจก หรือบ้างก็ว่าเป็นของพรรคประชาธิปัตย์เอามาแจก เพื่อโจมตีคุณทักษิณในขณะนั้น”

ลี เล่าว่า เขาไม่เคยเรียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ตากใบจากในโรงเรียน ความเข้าใจของเด็กชายลีในตอนนั้นมีความเข้าใจในระดับที่ว่า เหตุการณ์ตากใบมีการทุบตี มีคนเสียชีวิต มีการซ้อนคนบนรถ และรู้ว่าเป็นการชุมนุมอะไร บ้านของลีในปัตตานีตั้งอยู่ที่ทางผ่านอำเภอตากใบ และค่ายอิงคยุทธฯ

“ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น แต่ก่อนเป็นอะไรที่ถูกห้ามพูด ผมไม่แน่ใจว่าถูกห้ามด้วยกฎหมายหรือถูกห้ามด้วยความหวาดกลัว เราจะไม่มีทางรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพิ่งมารู้ในช่วง 4-5 ปีให้หลังที่เริ่มมีคนมาพูดถึงมากขึ้น คนส่วนใหญ่หรือผู้สูงอายุ ต่อให้ปัจจุบันไปถามร้านน้ำชาก็ลำบากที่จะคุยแลกเปลี่ยนกัน”

“เราจำได้ว่าก่อนหน้านั้นทุกอย่างนิ่งมาก ทุกอย่างปกติ จะมีเจ้าหน้าที่บ้าง แต่ไม่เยอะแบบนี้ ทุกอย่างปกติแบบสังคมที่อื่นทั่วไป ไม่มีความรุนแรง ไม่มีการใช้กำลัง ไม่มีแม้แต่สัญญาณว่าจะเกิดความรุนแรง”

“ในช่วงที่เราเติบโต เราก็เริ่มเห็นทหารหมวกแดง ทหารเขียวแรกๆ มาอยู่ในหมู่บ้าน ทำเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนา สร้างรั้วไม้ไผ่ เริ่มมีทหารเข้ามายุ่มย่ามกับพื้นที่การศึกษา เช่น ตาดีกา (ศูนย์อบรมคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับเยาวชน) มัสยิด ปอเนาะ และมีทหารเดินเข้ามาในหมู่บ้านมากขึ้น เราโตมากับสภาพสังคมแบบนั้น”

มันมีภาวะหวาดกลัว ในแง่ว่าเราต้องหวาดกลัวเจ้าหน้าที่รัฐ เราจำเป็นต้องกลัวทหาร มันคืออาการที่เกิดหลังการสลายการชุมนุม แต่ผมว่าอาการหวาดกลัวนั้นส่งผลถึงปัจจุบัน คือแสดงออกทางการเมืองบางอย่าง การให้ความเห็นตรงไปตรงมาต่อเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นเรื่องที่คนที่นี่กลัวมาก

ความหวาดกลัวของคนในพื้นที่นี้เป็นสิ่งที่ทุกคนต่างรู้สึกได้ แม้จะอยู่ห่างไกลแค่ไหน การเติบโตในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนคงเป็นสิ่งที่เราจินตนาการไม่ออก ว่าการดำเนินชีวิตภายใต้กฎหมายพิเศษที่ไม่ปกติเป็นอย่างไร

“เราไม่รู้จักคำว่าปกติ ความปกติคืออะไร” ประโยคสั้นๆ ของลีที่ทำให้เราถึงกับพูดไม่ออก

“ผมคิดว่าการมีกฎหมายเหล่านี้ครอบ ทำให้จินตนาการ การเติบโตทางความคิด ความคิดสร้างสรรค์ของคนที่นี่ค่อนข้างถูกจำกัดมากกว่าคนในพื้นที่อื่นๆ เราไม่รู้ว่ามีใครสอดส่องดูเราอยู่ เราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเรา กับพี่น้องข้างบ้าน ดูเหมือนคนที่นี่จะใช้ชีวิตปกติ แต่ไม่ปกติ”

ความเข้มงวดของกฎหมายพิเศษเหล่านี้ เป็นที่ถกเถียงอยู่เสมอถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่การไม่ยี่หระของรัฐบาลและยังคงบังคับใช้กฎหมายเหล่านี้ การนำมาซึ่งสันติสุขของสามจังหวัดชายแดนใต้จะมาถึงหรือไม่

“บางครั้งการบังคับใช้กฎหมายดูไม่แฟร์ อย่างเช่น คุณต้องการจับคนในหมู่บ้าน 5 คน แต่เหวี่ยงแหปิดทั้งหมู่บ้าน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงมาก จับพ่อไม่ได้ เอาลูกไปตรวจดีเอ็นเอ หรือสามีถูกจับ เอาสามีกลับมาเพื่อทำแผนประกอบรับสารภาพหลังบ้าน ผ่านหน้าภรรยา แล้วโดนยิงตาย”
 



ปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองมีส่วนสำคัญต่อเหตุการณ์ความขัดแย้งอย่างมาก โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายพิเศษ ซึ่งสร้างรากฐานมาจนถึงวันนี้

ลี เล่าว่า ภายหลังเหตุการณ์ตากใบมีกลุ่มที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ เช่น มีพรรคการเมืองที่ได้ประโยชน์ ส่วนกลุ่มวาดะห์ของ วันมูหะมัดนอร์ มะทา แทบไม่ชนะเลือกตั้งเกือบทุกพื้นที่ ทั้งๆ ที่เป็นกลุ่มการเมืองหลักในพื้นที่เมื่อก่อน

“ผมจำได้ว่าทุกบ้านต้องมีรูปอาจารย์วันนอร์ติด หลังจากเหตุการณ์ตากใบ ความศรัทธาต่อกลุ่มวาดะห์ก็น้อยลง จนไปสู่การที่ไม่ชนะการเลือกตั้ง ผมว่านี่คือการลงโทษจากประชาชนในทางการเมือง”

เมื่อมองในมุมของพรรคเพื่อไทยต่อการรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต จากที่ทักษิณ นายกฯ ขณะนั้น ผู้สมควรแสดงความรับผิดชอบจากเหตุการณ์ตากใบที่ยังคงเป็นเงาตามติดจนถึงทุกวันนี้

“วินาทีที่คุณทักษิณขอโทษ มันควรเป็นสำนึกปกติ ที่คนเป็นนายกรัฐมนตรีต้องทำ ถ้าสิ่งที่คุณขอโทษมาจากความรู้สึกลึกๆ และจากความผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้น เมื่อปี 2547 การสนับสนุนให้รัฐบาลเพื่อไทยนำกระบวนการยุติธรรมสามารถเดินไปข้างหน้า เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม โดยที่เราไม่ต้องรอหมดอายุความในปีหน้า ถ้าพิสูจน์ความยุติธรรมได้ คนที่นี่พร้อมให้อภัย” ลีกล่าวด้วยน้ำเสียงหนักแน่น

ความซับซ้อนของกลุ่มแนวคิดในพื้นที่นี้อาจเป็นสิ่งที่เราไม่คุ้นเคยมากนัก ด้วยข้อมูลที่จำกัดในหลายด้าน การสร้างความเข้าใจกับคนในพื้นที่นี้จึงพูดได้ไม่เต็มปากว่าเราเข้าใจอย่างแท้จริงหรือไม่

ลี ขยายความเรื่องนี้ให้เราเข้าใจมากขึ้น ด้วยการแบ่งกลุ่มที่มีแนวคิดต่างกันออกไป 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ต้องการเอกราช กลุ่มที่ไม่สนับสนุนการแยกเอกราช และกลุ่มที่เป็นโจร

คนที่นี่เรียกคนที่ต้องการเอกราชว่า ญูแว (juwae) มีคนเข้าใจแนวคิดนี้อยู่ ซึ่งมุมหนึ่งผู้คนไม่ได้รู้สึกต่อต้าน คนที่รู้สึกเฉยๆ ก็แค่ไม่สนับสนุน

“สิ่งที่เราพยายามสื่อสารตลอดคือ คุณจะเห็นด้วยกับเอกราชหรือไม่เอกราชไม่ใช่เรื่องสำคัญเลยในสังคมสมัยใหม่ แต่สิ่งสำคัญคือกระบวนการแบบไหนที่จะทำให้คนที่นี่ปลอดภัย เราจะทำอย่างไรให้คนติดอาวุธสู้กับรัฐ หรือคนที่ไม่เชื่อว่าแนวทางอื่นสามารถไปสู่เป้าหมายทางการเมืองของเขาได้จะเข้าสู่กระบวนการ”

“เรามีสิทธิกำหนดอนาคตตนเอง หรือเราเชื่อการทำประชามติแบบตะวันตกไหม จะได้พิสูจน์ไปเลยว่าคนที่นี่คิดแบบไหน ต้องมีกลไกสภาผ่านกฎหมาย ให้คนที่นี่เองเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม จะได้พิสูจน์กระบวนการประชาธิปไตย ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นแนวทางที่สังคมยอมรับได้”

5

วันสุดท้ายก่อนเดินทางกลับกรุงเทพฯ ในช่วงเช้า เราออกเดินทางไปยังบ้านที่โอบล้อมไปด้วยสวนผลไม้ ที่ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ นั่นคือบ้านของ ก๊ะแยนะ หรือ แยนะ สะแลแม หญิงวัย 65 ปี แกนนำเรียกร้องสิทธิให้ผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ตากใบ ที่ป่วยเส้นเลือดในสมองแตก และเป็นอัมพฤกษ์ครึ่งตัว

อาการป่วยของก๊ะแยนะเพิ่งเป็นมาไม่ถึงปี ในตอนแรกที่ยังพูดไม่ได้ ก๊ะแยนะยังมีใจสู้ในการพยายามฟื้นฟูร่างกายเพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตได้ปกติ

“ได้เห็นวันนี้รู้สึกดีใจ ที่คนมาเยอะ (ยิ้มหัวเราะ)” คือคำพูดต้อนรับของก๊ะแยนะ

จากนั้นลูกสาวของก๊ะแยนะก็นำละไมและเงาะลูกโตจากสวนมารับแขก บ้านหลังนี้เป็นบ้านชั้นเดียว มีห้องรับแขกเป็นโถงกว้างอยู่หน้าทางเข้า ภายในบ้านมีเตียงผู้ป่วยที่ก๊ะแยนะนอนอยู่ พร้อมกับหลานแฝดตัวน้อยของก๊ะแยนะที่กำลังนอนหลับปุ๋ยอยู่ในเปล

กรอบภาพและโล่รางวัลของก๊ะแยนะถูกวางเรียงรายให้เราได้เห็น โดยส่วนใหญ่เป็นรางวัลที่ได้รับการยอมรับจากองค์กรสิทธิมนุษยชนระดับประเทศ

“ถ้ากลัวก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะชาวบ้านเขากลัว เราคือตัวแทนของชาวบ้าน” ก๊ะแยนะกล่าว


ก๊ะแยนะ หรือ แยนะ สะแลแม หญิงวัย 65 ปี แกนนำเรียกร้องสิทธิให้ผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ตากใบ



เดิมทีก๊ะแยนะทำอาชีพเย็บผ้า แต่ในเหตุการณ์ตากใบ ลูกชายของก๊ะแยนะเป็นหนึ่งในผู้ถูกดำเนินคดี 1ใน 58 คน ในระหว่างการดำเนินคดี ก๊ะแยนะคือผู้ที่เป็นคนประสานระหว่างคนในและคนนอก เป็นจุดเริ่มต้นให้เธอเริ่มฝึกภาษาไทย จากเดิมพูดเพียงภาษามลายู และหลังจากเกิดเหตุประมาณ 2 ปี สามีของก๊ะแยนะก็ถูกลอบสังหารยิงเสียชีวิต

“จุดที่ตัดสินใจมาเป็นแกนนำ เพราะว่าทุกคนมาขอคำปรึกษาจากก๊ะ สุดท้ายก็ตัดสินใจเป็นแกนนำ เพราะก๊ะเป็นคนที่กล้าที่สุด และรู้สึกดีที่ได้ช่วย นับตั้งแต่วันนั้นก็ให้การช่วยเหลือมาตลอด”

“สิ่งที่ยากที่สุดคือการคุยกับเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะเป็นเรื่องที่สร้างความเข้าใจยาก แต่ถ้าเราไม่ลดละความพยายามก็จะหาทางแก้ไขได้”

ก๊ะแยนะ เล่าว่า รัฐเข้าใจแต่ก็อยากให้ทุกคนทำตามที่เขาต้องการในการยอมรับการเสียชีวิตในวันนั้น ซึ่งเราทำใจไม่ได้ มันเป็นสิ่งที่ยาก ในช่วงแรกมีเจ้าหน้าที่ข่มขู่ก๊ะแยนะ แต่เพราะเป็นผู้หญิงด้วย ถ้าเป็นผู้ชายคงโดนไปแล้ว หรือช่วงที่จะโดนจับก็มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงมาช่วยไว้

"ความพยายามตลอด 19 ปี อาจไม่ได้คืบหน้าเท่าที่ควร แต่ความพยายามของเราไม่ได้สูญเปล่า"

แม้ร่างกายอาจจะขยับไม่ได้ดั่งใจดังเดิม แต่แรงใจในการต่อสู้ของก๊ะแยนะไม่เคยลดลงเลย ความหวังของก๊ะแยนะที่ฝากทุกคนไว้ คือการที่กระบวนการยุติธรรมเดินหน้าต่อไป

เรื่องเกี่ยวข้อง  
เหตุการณ์ตากใบ จุดเล็กๆ ที่ใหญ่มหาศาล ในจักรวาลปตานี

19 ปี สลายการชุมนุมตากใบ 25 ตุลาคม 2547 โศกนาฏกรรมของมลายูปตานี

พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ชายแดนใต้ ใช้มา 18 ปี หมดอายุ 19 กันยายน รัฐบาลเศรษฐาจะกล้ายกเลิกหรือไม่

19 ปีกับความทรงจำที่ไม่ลืม ในนิทรรศการ ‘สดับเสียงเงียบ: จดจำตากใบ 2547’

ข้าวของธรรมดาที่บันทึกชีวิตและการสูญเสีย ในนิทรรศการ ‘สดับเสียงเงียบ: จดจำตากใบ 2547’


ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ สร้างเครดิต จากนโยบายแนวใหม่ที่จับต้องได้ *พูดแล้วทำ* ขณะที่รัฐบาลตระบัดสัจ พูดแต่ไม่ทำ = ฆ่าตัวตายทางการเมือง ? ทักษิณ-เพื่อไทย ถึงทางตัน ??


ประเวศ ประภานุกูลกิจ
1d
·
ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ สร้างเครดิตจาก
1. นโยบายแนวใหม่ที่จับต้องได้...ทักษิณ-30 บาทรักษาทุกโรค, ยิ่งลักษณ์-ค่าแรง 300฿/วัน
2. *พูดแล้วทำ*
การตระบัดสัจ = ฆ่าตัวตายทางการเมือง....สุจินดาถูกล้มด้วยม๊อบจากการ...เสียสัจเพื่อชาติ
*น่าสนใจผลจากการตระบัดสัจของเพื่อไทย*
จาก 30฿ รักษาทุกโรค-ถึงค่าแรง 300฿/วัน --> เงินดิจิตอล 10,000
แสดงให้เห็นว่า เพื่อไทย-ทักษิณ ถึงทางตันในการออกแบบนโยบายใหม่ๆ...ต้องกลับไปแจกเงินซื้อเสียง
ซึ่งคนส่วนใหญ่ตาสว่างแล้วกับมุกซื้อเสียง-ถอนทุน-->ก้าวไกลจึงชนะเลือกตั้ง
ส่งผลต่อมาถึงคะแนนนิยมเพื่อไทย....ผลโพลทุกสำนักต่างแพ้ก้าวไกล-พิธาหลุดลุย
*ถ้าเพื่อไทยแจกเงินดิจิตอลไม่สำเร็จ...คะแนนนิยมจะเป็นไง
สถานการณ์เพื่อไทยตอนนี้...หากินจากชื่อเสียงเก่าทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ + สร้างภาพลวงเศรษฐกิจจาก Soft Power..แล้วไปลุ้นกันในการเลือกตั้งครั้งหน้า
มันคือมุกเก่าของนักการเมืองตกยุค
สุดท้าย...ผลโพลทุกสำนัก อาจเป็นตัวกระตุกศักดินาให้ชงักการยุบพรรคก้าวไกล

พระขอข้าวกินแต่เนรคุณญาติโยม..


Wanchai Phutthong
1d ·
พระขอข้าวกินแต่เนรคุณญาติโยม..

Puangthong Pawakapan
17h·
จริง ศาลาที่ใช้สวดฌาปนากิจก็ไม่ใช่สมบัติของพระรูปใด แต่พระที่มาสวดก็แสวงหารายได้จากการสวดทุกคืน วัดยิ่งใหญ่ เงินถวายยิ่งต้องมาก ...เงินที่สร้างวัดก็ไม่ใช่ของพระแม้แต่บาทเดียว แต่มาจากการบริจาคของญาติโยม

"ประวัติศาสตร์ปริทัศน์" ชวนอ่านบทความข้ามปี (คำเตือน: ยาวมาก) ของดิน บัวแดง "ว่าด้วย 'เอกสารปรีดี' ที่ชานกรุงปารีส" บทความนี้ต้องการจะยืนยันว่า "เอกสารปรีดี" ที่จะเข้าถึงได้ในปี 2024 นั้น เป็นเอกสาร "เกี่ยวกับ" ปรีดี เอกสารชุดนี้ ไม่ใช่เอกสารส่วนตัวของปรีดีอย่างแน่นอน


ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
December 28 ·

"ประวัติศาสตร์ปริทัศน์" ชวนอ่านบทความข้ามปี (คำเตือน: ยาวมาก) ของดิน บัวแดง "ว่าด้วย 'เอกสารปรีดี' ที่ชานกรุงปารีส: การลี้ภัยของปรีดีจากจีนสู่ฝรั่งเศส"

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2018 สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล โพสต์เฟสบุ๊คในหัวข้อ "มีเอกสาร ‘ของ’ หรือ ‘เกี่ยวกับ’ ปรีดี พนมยงค์ ในหอจดหมายเหตุกระทรวงต่างประเทศฝรั่งเศส แต่ไม่เปิดให้ดู จนกว่าจะถึงปี 2024"

บทความนี้ต้องการจะยืนยันว่า "เอกสารปรีดี" ที่จะเข้าถึงได้ในปี 2024 นั้น เป็นเอกสาร "เกี่ยวกับ" ปรีดี

เอกสารชุดนี้ ไม่ใช่เอกสารส่วนตัวของปรีดีอย่างแน่นอน แต่คือเอกสารที่เขียนและรวบรวมโดยสถานทูตฝรั่งเศสในไทย แล้วส่งกลับมาที่กระทรวงการต่างประเทศที่ปารีสในปี 1977 เอกสารชุดนี้มาพร้อมกับเอกสารชุดอื่น ๆ ทั้งหมดที่ครอบคลุมปี 1968-1972

บทความชิ้นนี้ แบ่งออกเป็นสี่ตอน โดยกล่าวถึงประวัติและการจัดเก็บเอกสารของหอจดหมายการทูต กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส, บริบททางการเมืองของการที่ปรีดีลี้ภัยมาสู่จีน, การเริ่มขอลี้ภัยมายังฝรั่งเศสของปรีดีจากการพิจารณา "เอกสารปรีดี" ที่เข้าถึงได้แล้ว ("เอกสารปรีดี 2017"), และสุดท้ายจะเสนอเรื่องการแบ่งช่วงเวลาของการเคลื่อนไหวทางการเมืองของปรีดีในจีนออกเป็นสามช่วง รวมถึงชวนพิจารณาความสำคัญของการใช้หลักฐานฝรั่งเศสเพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ในช่วงสงครามเย็น

หากมองในภาพรวมแล้ว บทความนี้ต้องการชี้ให้เห็นความซับซ้อนของปรีดีในฐานะนักเคลื่อนไหวทางการเมืองในขณะที่ลี้ภัยอยู่ในประเทศจีนช่วง 1947-1970 โดยสัมพันธ์กับสถานการณ์ในไทย ในจีนและสถานการณ์ระหว่างประเทศ

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่: https://hist.human.cmu.ac.th/node/243


อ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี หนึ่งในคกก.ประชามติฯ โพสต์เฟสบุ๊กส่วนตัวระบุว่า คำถามประชามติที่ออกมามีปัญหา และเสนอให้ ครม. ทบทวนข้อเสนอของ คกก.เสียงข้างน้อย



.....
Tha (ถา) - Nutchapakorn @NutchapakornTha 20h
อ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี หนึ่งในคกก.ประชามติฯ โพสต์เฟสบุ๊กส่วนตัวระบุว่า คำถามประชามติที่ออกมามีปัญหา และเสนอให้ ครม. ทบทวนข้อเสนอของ คกก.เสียงข้างน้อย 

หวังว่า ข้อถกเถียงเรื่องคำถามนี้มีปัญหาหรือไม่ คงไม่ต้องไปเถียงกับกองเชียร์รัฐบาลที่ไหนอีก
.....
Siripan Nogsuan Sawasdee
Yesterday ·

ประชามติ
เขียนข้อความต่อไปนี้ ในฐานะเป็นหนึ่งในคณะกรรมการศึกษาแนวทางในการทำประชามติ โดยไม่มีเจตนาปัดความรับผิดชอบต่อคำถามประชามติ ที่ว่า
"ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไข หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์"
ขณะเดียวกัน ก็เห็นว่า คำถามนี้เป็นคำถามซ้อนคำถาม และสร้างปัญหาอย่างน้อย 2 ประการคือ
1. ทำให้บางคำตอบ ถูกตีความได้หลายแบบ เช่น หากไม่เห็นชอบ จะหมายความว่า ไม่เห็นชอบให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือ เห็นชอบให้จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ไม่เห็นชอบที่จะไม่แก้ไข หมวด 1 และ หมวด 2
2. เมื่อไม่แก้ไขหมวด 1 หมวด 2 โดยหลักการจึงขัดกับ “การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ”
คำถามประชามติที่เหมาะสม ควรเป็นคำถามที่ง่าย ชัดเจน ตรงไปตรงมา และสร้างแนวร่วมเพื่อความเห็นชอบ
ไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาอย่างไร หากคำถามซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการ ถูกตั้งคำถามถึงความชอบธรรมเสียแล้ว แทนที่จะเป็นประชามติเพื่อหาทางออกร่วมกัน และแก้ไขความขัดแย้งอย่างที่มุ่งหวัง จะกลายเป็นการทำประชามติที่สร้างความแตกแยก สังคมไทยจะต้องตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งที่ร้าวลึกต่อไปอีกนานเท่าไหร่
เพื่อลดการปะทะกันทางความคิดของ 3 กลุ่มหลัก คือ ก) กลุ่มที่ต้องการให้จัดทำใหม่โดยเว้นหมวด 1 และ 2 ข) กลุ่มที่ต้องการให้จัดทำใหม่ได้ทุกหมวด ทุกมาตรา และ ค) กลุ่มที่ไม่ต้องการให้จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ จึงขอเป็นเสียงเล็ก ๆ ที่เสนอให้
1. คณะรัฐมนตรีผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย นำความเห็นของกรรมการเสียงข้างน้อยในเรื่องคำถาม และจำนวนครั้งในการทำประชามติไปพิจารณาอย่างรอบคอบ รอบด้าน และอาจขอคำชี้แจงเพิ่มเติม หรือขอให้ทบทวนข้อเสนอได้
2. ไม่ว่าจะทำประชามติกี่ครั้ง ด้วยคำถามใด กระบวนการที่จำเป็น ที่ต้องเกิดขึ้นก่อนการทำประชามติ คือ การพูดคุยแลกเปลี่ยนอย่างเปิดใจ โดยปลอดภัยระหว่างกลุ่มที่เห็นต่าง ที่ทำเป็นวงสนทนาปิด มีตัวแทนแต่ละกลุ่มจำนวนไม่มาก แต่ต้องตัดสินใจแทนกลุ่มความคิดของตนได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อตกลงร่วมกันมากพอที่จะเดินต่อได้
3. จำเป็นอย่างยิ่งที่สังคมไทย จะมีมโนภาพเบื้องต้นก่อนทำประชามติว่า เจตจำนงของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่คืออะไร สิทธิเสรีภาพจะครอบคลุม มั่นคงได้อย่างไร หน้าตากระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรมมีเหตุมีผลเป็นอย่างไร และที่สำคัญจะจัดความสัมพันธ์อำนาจทางการเมืองขององคาพยพในการบริหารกิจการบ้านเมืองอย่างไร
ไม่ใช่ลงประชามติแล้วค่อยไปคิดกันข้างหน้า
การเปิดรับหรือหันหลังให้ข้อเรียกร้องของกลุ่มเห็นต่าง จะเป็นปัจจัยกำหนดว่ากระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะประสานรอยร้าว หรือ ขยายความขัดแย้ง จะขัดขวาง หรือสร้างฉันทามติใหม่ในหลักการพื้นฐาน และคุณค่าที่สังคมเชิดชู กระบวนการประชามติที่ยึดมั่นในหลักการ จะเป็นสิ่งบ่งชี้ว่ารัฐธรรมนูญมีความชอบธรรมหรือไม่
สาเหตุที่ไม่ปรากฎคำถามเรื่องที่มาของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญในคำถามครั้งที่ 1 เนื่องจากกรรมการหลายท่าน ยึดตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 ซึ่งเจาะจงว่า “รัฐสภา” เป็นองค์กรที่มีอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จีงรอไว้ตอนทำประชามติแก้ไขมาตรา 256 ซึ่งเป็นประชามติบังคับตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
จริงอยู่บางประเทศให้ประชาชนลงประชามติว่าอยากเห็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญมีที่มาอย่างไร เช่น ชิลี
และหลายท่านอาจเห็นว่า เสียงของประชาชน “ผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ” ย่อมมีผลผูกพันให้รัฐสภาต้องปฏิบัติตาม รวมถึงผลประชามติเรื่องที่มา สสร.
แต่ในอีกมุมหนึ่ง อาจมองได้ว่า กลไกระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนที่มีการอภิปรายในสภา อาจได้ข้อสรุปที่ดีกว่าในเรื่องที่ต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจ มากกว่าความเห็น
การทำประชามติใด ๆ ต้องใช้อย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะการลงประชามติในเรื่องที่ไม่รู้ชัดเจนว่าอะไรจะตามมา กรณี BREXIT เป็นตัวอย่างที่ดี แม้แต่ในสวิตเซอร์แลนด์ที่เป็นต้นกำเนิดและทำประชามติบ่อยที่สุด ก็เคยมีกรณีที่ผลประชามติไปลิดรอนสิทธิคนกลุ่มน้อยชาวมุสลิม เช่นประชามติเห็นชอบห้ามก่อสร้างหอเรียกสวดมนต์ minarets ปี 2009
ทราบดีว่า หลายคนมีความสังสัย ไม่ไว้วางใจต่อความตั้งใจจริง ในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ของรัฐบาล ในเรื่องนี้ดิฉันไม่อาจกล่าวรับรองแทนรัฐบาลซึ่งประกอบด้วยหลายพรรคการเมือง
แต่สิ่งหนึ่งที่สัมผัสได้คือ ตัวแทนรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการศึกษาแนวทางในการทำประชามติ ไม่มีเจตนาที่จะถ่วงเวลา กรรมการหลายท่านเร่งรัดให้ตัดสินใจเร็วขึ้น ด้วยมีความหวังร่วมกันว่า ประเทศไทยจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ดีกว่าเดิม
---
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ย่อหน้าสุดท้าย ใจความว่า
“อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงวินิจฉัยว่า รัฐสภามีหน้าที่และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ โดยต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญได้ลงประชามติเสียก่อนว่าประชาชนประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว
ต้องให้ประชาชนลงประชามติเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง”

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ พูดคุยในรายการ The Politics ทางช่อง ยูทูบมติชนทีวี มองกรณีการแก้รัฐธรรมนูญหากไม่เกิดขึ้นหรือไม่สำเร็จ ความซวยจะตกอยู่กับรัฐบาลพรรคเพื่อไทย






 


‘องค์ที’ ไปอุบล ๖ วัน ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ “ตำรวจหวั่นจะมีการเคลื่อนไหว” ติดจีพีเอสเฝ้าจับตานักกิจกรรมในพื้นที่

สติหลอนไหมนี่ องค์ที ไปอุบล นัยว่าทรง ปฏิบัติกรณียกิจเป็นเวลา ๖ วัน (๒๘ ธันวา ๖๖ ถึง ๒ มกรา ๖๗)

“ตำรวจหวั่นจะมีการเคลื่อนไหว” ของนักกิจกรรมในพื้นที่ จึงมีการเฝ้าจับตาถึงหน้าบ้าน

“บางรายถูกติดเครื่อง GPS เพื่อเช็คพิกัดของที่อยู่ด้วย” ทั้งๆ ที่ “ไม่มีผู้ใดนัดแสดงออกถึงกิจกรรมแต่อย่างใด”

https://twitter.com/TLHR2014/status/1740913392192455023 

๓ “คนธรรมดาที่ไม่ใช่แกนนำ” ผู้ควรแก่การสดุดีเป็น ‘บุคคลแห่งปี’ สำหรับ Puangthong Pawakapan

สามบุคคลน่านับถือ อย่างสูงสำหรับ Puangthong Pawakapan ที่น่าจะมีคนจำนวนไม่น้อยเห็นพ้องไปด้วยถ้าจัดให้เป็น บุคคลแห่งปี ได้แก่ เป๋า ยิ่งชีพ อัชฌานนท์, ‘พี่ถึก อธึกกิต แสวงสุข (ใบตองแห้ง) และ หนูหริ่ง สมบัติ บุญงามอนงค์

พวงทอง ไม่ได้มองข้าม อานนท์ นำภา ซึ่งเป็น “หนึ่งในบุคคลที่เสียสละต่อสู้เพื่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมากที่สุดคนหนึ่ง จนทำให้เขาถูก ลงโทษอย่างหนักมากที่สุดคนหนึ่ง” หากแต่เธอต้องการสดุดี “คนธรรมดาที่ไม่ใช่แกนนำ” ในครั้งนี้

เธอว่าทั้งสามที่ยกย่อง “ทำงานตามความเชื่อของตัวเองอยู่ทุกวัน ทำงานในพื้นที่เล็กๆ ของตัวเองทุกวัน อย่างไม่ท้อถอย ไม่ยอมแพ้ ถึงแม้จะถูกรุมกระหน่ำจากทัวร์รอบทิศ แต่ก็ยืนยันในหลักการของตนอย่างแน่วแน่ ไม่บิดไม่งอ”

ที่เธอได้ติดตามงานของพวกเขาอย่างใกล้ชิดตลอดมา จึงเขียนถึงคุณูปการของเขาทั้งสามอย่างลุ่มลึก และเห็นแจ้ง ดังต่อไปนี้

“เรารู้จักยิ่งชีพตั้งแต่ครั้งมีการรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) ไอลอว์ทำหน้าที่รวบรวมตรวจสอบเอกสารรายชื่อของประชาชนเพื่อยื่นต่อสภา หลังจากนี้ ยิ่งชีพและไอลอว์ก็เป็นองค์กรหลักที่พยามผลักดันการแก้ไขกฎหมายโดยประชาชน และให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างแข็งขัน

แม้ว่าหลายโครงการจะแพ้แล้วแพ้อีก คนแบบยิ่งชีพก็จะลุกขึ้นมาสู้ใหม่ ไม่โอดครวญ ไม่หยาบคายใส่ใคร เขายังสุภาพและเข้มแข็งทุกครั้ง เดินนำเพื่อนร่วมงานอย่างมั่นคงต่อไป แม้ว่าหลายครั้งข้อเขียนของเขาจะบอกเราถึงความอึดอัดคับแค้นใจอย่างมาก”

แต่ในหนทางที่ต้องถูกคนกลุ่มแล้วกลุ่มเล่าช่วยกันก่อกำแพงกั้น ปิดทางตันให้ประชาชนต้องทนทุกข์ ยิ่งชีพกับทีมงาน ไอลอว์ ก็ฟันฝ่ากันมาอย่างแกร่งกล้า ไม่ยั่น

พวงทองพูดถึงการ ปกป้องความเชื่อมั่นในตนเอง (self-esteem) เสียจน “ไม่ยอมรับว่าสิ่งที่ตนเองเคยสนับสนุนนั้นมีปัญหา...กลับดึงดัน-บิดเบือนหลักวิชาการเพื่อสนับสนุนการกระทำที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน

คิดหาหลักการต่างๆ มาสนับสนุนการตระบัดสัตย์-การลอยนวลพ้นผิด (impunity) ), การเพิกเฉยต่อผูกขาดอำนาจสารพัดชนิดของระบบเก่า, ละทิ้งคำสัญญาทอดทิ้งประชาชนที่เคยสู้เพื่อพวกเขาเพียงเพื่อให้ได้อยู่ในอำนาจต่อไป

เมื่อพรรคการเมืองที่ตนสนับสนุนเปลี่ยนไป คนแบบพี่ถึกเลือกที่จะเดินออกมาแม้จะต้องสูญเสียรายได้หลักไปก็ตาม เราเชื่อว่าพี่ถึกละอายใจเกินกว่าจะต้องพยายามแถเพื่อให้ตนได้ทำมาหากินต่อไป แกยังเป็นเสียงของเหตุผลที่กังวานชัดเจนที่ไม่แคร์ทัวร์สูญสติใดๆ”

เช่นกันกับ “คนแบบหนูหริ่งเลือกที่จะเดินจากมา เขามีความนับถือตัวเอง (integrity) มากเกินกว่าจะต้องแถเพื่อปกป้องสิ่งที่เขาเห็นว่า indefensible” และ “Integrity ของคนแบบนี้ไม่ได้วางอยู่บนการดีเฟนด์ความเชื่อของตัวเองอย่างหัวชนฝา

แต่มาจากการปฏิเสธที่จะปกป้องสิ่งที่ปกป้องไม่ได้ ขอเงียบดีกว่าแถต่อไป...เขาจึงเลือกกลับไปทำงานที่ก็ยังเป็นประโยชน์ให้กับผู้คนตัวเล็กตัวน้อยได้อยู่ ยังเปลี่ยนโครงสร้างไม่ได้ ก็ทำจุดเล็กๆ ที่มีคุณค่าหลายๆ จุด”

เธอว่า “ปีนี้เป็นปีที่มีคนตั้งให้เป็นปีแห่งการตระบัดสัตย์ เพื่อนหลายคนคงเจ็บปวดเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่การมีอยู่ของคนทั้งสามนี้เป็นเหมือนสายน้ำเย็นที่ช่วยชุบชูจิตใจอันห่อเหี่ยว

มนุษย์ที่ไร้ความนับถือในตัวเองทำให้ศรัทธาของเราแห้งเหือดลงทุกวัน แต่คนแบบเป๋า พี่ถึก และหนูหริ่งทำให้เรายังมีความหวังกับมนุษย์ในสังคมนี้เหลืออยู่บ้าง”

(https://www.facebook.com/puangthong.r.pawakapan/posts/NxZX71oh2aX) 

วันเสาร์, ธันวาคม 30, 2566

“ปีหน้าต้องเถียงเรื่องนี้กันอีกยุบยั่บมากมาย” ยังมีอีกสองด่าน ‘ประชามติ’ กว่าจะได้รัฐธรรมนูญใหม่

ประชามติยังไม่ยุติง่ายๆ “ปีหน้าต้องเถียงเรื่องนี้กันอีกยุบยั่บมากมาย” ยิ่งชีพ (เป๋า) แห่ง ไอลอว์เตือนใจ “เส้นทางสู่รัฐธรรมนูญใหม่ยังอีกยาวมาก ต่อให้ประชาชนโหวต YES ถล่มทลาย ก็ยังมีอีกหลายด่าน”

นอกจากด่านแรก ประชามติถามประชาชนว่า “เห็นด้วยหรือไม่กับการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่” โดยมีความสำคัญอยู่ที่ แต่ต้องไม่มีการแก้สองหมวด เกี่ยวกับกษัตริย์และบททั่วไปแล้ว ด่านสองต้องประชามติให้แก้รัฐธรรมนูญ ๖๐ ตามมาตรา ๒๕๖

และประชามติครั้งที่สาม เพื่อรับรองร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ตอนนี้พูดได้เต็มปากว่า ยังไม่รู้จะออกมาเป็น “ลูกผีหรือลูกคน” เหตุนี้กลุ่ม #Conforall หรือ เครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ จึงได้ยื่นข้อเสนอแนะ ๔ ประการ ใน ความผิดหวังและกังวล

ว่าคณะกรรมการออกแบบการทำประชามติมาช่างขี้เหร่ ไม่ควรแก่การยอมรับ แสดงถึงการทำอย่างขอไปที “เพียงพิธีกรรม” จนทำให้เป็นห่วงว่า มันจะนำไปสู่ความขัดแย้งยิ่งยวด เนื่องเพราะการตั้งคำถามอย่างซ่อนเงื่อน “อาจทำให้เสียงของประชาชนถูกบิดเบือน”

ดังนี้ ในเมื่อการเคาะข้อเสนอของคณะกรรมการศึกษาฯ ที่เรียกกันว่าชุด ภูมิธรรม พรรคเพื่อไทย มีเลศนัย จึงขอให้เขียนใหม่ “คำถามเปิดกว้าง ชัดเจนต่อการสร้างฉันทามติ” จากทุกฝ่าย และควรต้องตระหนักในเสียงของประชาชน ๒๑๑,๙๐๔ รายชื่อ

เสนอคำถามสำหรับการทำประชามติไว้แล้ว ให้ “จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดย สสร.ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดโดยประชาชน” คณะรัฐมนตรีต้องนำข้อเสนอของภาคประชาชนเข้าในการทำประชามติ “คู่ขนานไปพร้อมกับคำถามของคณะกรรมการ”

(https://prachatai.com/journal/2023/12/107423) 

ปฏิกิริยาบังเกิด “คำถามซ้อนคำถาม และสร้างปัญหา” จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ไม่ให้แก้หมวด ๑ และหมวด ๒

เมื่อ Siripan Nogsuan Sawasdee นักรัฐศาสตร์ ภาควิชาปกครอง จุฬาฯ เขียนถึงการตั้งคำถามประชามติ ที่ว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไข หมวด ๑ บททั่วไป หมวด ๒ พระมหากษัตริย์” ปฏิกิริยาก็บังเกิด

ทั้งที่เธอยอมรับว่า “คำถามนี้เป็นคำถามซ้อนคำถาม และสร้างปัญหา” เนื่องจากสามารถตีความได้สองแง่สองง่าม คือหากไม่เห็นด้วยกับการผูกปมไม่ให้แก้ไขหมวด ๑ กับหมวด ๒ แล้วตอบว่าไม่เห็นชอบ ก็อาจจะถูกเหมาเอาว่าไม่เห็นชอบกับการแก้ รธน.ครั้งนี้

แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ด้วยการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยใช้ สสร.ที่มาจากการเลือกตั้ง ๑๐๐% นั่นคือไม่จำกัดว่าห้ามแก้หมวดนั้นหมวดนี้ ซึ่งรัฐบาล ข้ามขั้ว ของพรรคเพื่อไทยไม่ต้องการอย่างนั้น

แล้วเกิดการครหาว่ารัฐบาลเศรษฐา ผ่านทางภูมิธรรม เวชยชัย จัดตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางในการทำประชามติ ขึ้นมาเพื่อเตะถ่วงเหนี่ยวรั้งกระแสเรียกร้องรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ จึงกลายเป็นความผิดพลาดของ อจ.สิริพรรณ หนึ่งในกรรมการดังกล่าว

ผู้ออกมาปกป้องกรรมการทั้งคณะ แล้วยังแก้ต่างให้แก่รัฐบาลไปพร้อมกัน เธออ้าง “สิ่งหนึ่งที่สัมผัสได้คือ ตัวแทนรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการศึกษาแนวทางในการทำประชามติ ไม่มีเจตนาที่จะถ่วงเวลา” มิหนำซ้ำ “กรรมการหลายท่านเร่งรัดให้ตัดสินใจเร็วขึ้น”

หนึ่งในคอมเม้นต์ต่อท้ายโพสต์ของเธอ ว่า “อจ.สัมผัสได้อย่างไร เป็นความเห็นของ อจ. ไม่จำเป็นที่ผู้อื่นจะต้องเห็นตรงกันครับ” Yeesibsee Yeesibsee เติมท้ายว่า “ความเป็นรัฐบาลที่เก๋าเกม เพื่อนเยอะ เจ้าอาวาส นั้น

คำพูดที่ดูเหมือนจะฟังแล้วดี มันไม่สามารถทำใจให้เชื่อถืออะไรได้เลยสักอย่างเดียว” อีกคน Ronaldo Bee ก็ว่า “อ.นก ทำตัวเองเสียรังวัดหมด” ตามด้วย Punn Rajata Rujataronjai เตือนใจ “ระวังจะกลายเป็นตรายางรับรองความชอบธรรมให้คณะกรรมการ ตามที่คนระแวง”

ยิ่งเจอ Thanapol Eawsakul ใส่ให้ตรงๆ เลยว่า “ไม่นึกว่าอาจารย์สิริพรรณ นกสวนแกจะไร้เดียงสาขนาดนี้” และ “นี่อาจจะเป็นความผิดพลาดที่สุดในชีวิต ที่ไปรับตำแหน่งในกรรมการชุดนี้” แล้วกลายเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง

(ดูข้อเขียนเต็มของ อจ.สิริพรรณได้ที่ https://www.facebook.com/siripan.nogsuansawasdee/posts/2YKE1McY) 

คดี 112 ของ "วุฒิ" เฟซบุ๊กโดนแฮค มีพยานบุคคลเป็นเพื่อน ศาลนัดสืบพยาน "วุฒิ" เตรียมพร้อมสู้คดี แต่ผู้พิพากษาที่ขึ้นบัลลังก์ก็มีเมตตา ผู้พิพากษาท่านนั้นพยายามบอกว่า เข้าใจสถานการณ์ทางการเมือง เห็นใจจำเลย และจะพิจารณา "รอลงอาญา" ให้ถ้าจำเลยรับสารภาพ จำเลยยอม... แต่....


Yingcheep Atchanont
17h
·
สัปดาห์ก่อนไปร่วมฟังคำพิพากษาคดีม.112 ที่ศาลมีนบุรี แล้วก็พบปรากฏการณ์ที่ไม่อาจอธิบายได้ ท่วมท้นไปด้วยความรู้สึก แล้วก็ยังงๆ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อ แค่จะพยายามทำความเข้าใจเรื่องนี้เองยังยากเลย
.
คดีนี้จำเลยไม่อยากเปิดเผยชื่อจริง เราเรียกเขาว่า "วุฒิ" อายุ 52 ปี เป็นคนเพชรบูรณ์ที่มาทำงานเป็นช่างในนิคมอุตสาหกรรม เขาถูกตั้งข้อหาว่า โพสเฟซบุ๊กหมิ่นรัชกาลที่ 10 รวม 12 ข้อความ ซึ่งเยอะมาก
มาตรา 112 มีโทษจำคุกระหว่าง 3-15 ปี ถ้าโหดที่สุดคือเขาจะติดคุก 12x15=180 ปี แต่นั่นก็โหดไป เพราะในทางปฏิบัติศาลไม่ได้ลงโทษเยอะขนาดนั้น หลังๆ ศาลจะพยายามลงโทษ "น้อยที่สุด" เท่าที่เป็นไปได้ คือ กรรมละ 3 ปี ทำให้ "วุฒิ" มีโอกาสสูงที่จะติดคุก 3x12=36 ปี
แต่เขาปฏิเสธ "วุฒิ" ปฏิเสธตั้งแต่ชั้นต้น และเมื่อขึ้นศาลเขาปฏิเสธในชั้นศาลอีกครั้ง บอกว่าเฟซบุ๊กเขาโดนแฮค โดยมีพยานบุคคลเป็นเพื่อน เพราะมีเพื่อนเคยรับสายแปลกๆ จากใครไม่รู้ที่ใช้เฟซบุ๊กของเขาโทรหา แต่ไม่มีหลักฐานอะไรเป็นเอกสาร เพราะเขาเคยเดินไปแจ้งตำรวจในนิคมอุตสาหกรรมแล้วแต่ตำรวจไม่รับแจ้ง ก็เลยกลับบ้านไปในวันนั้น "วุฒิ" เตรียมตัวกับทนายความ และเตรียมพยานผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ไว้แล้ว ที่จะมาต่อสู้คดีในชั้นศาล
เดือนพฤศจิกายน ศาลนัดสืบพยาน "วุฒิ" เตรียมพร้อมสู้คดี แต่ผู้พิพากษาที่ขึ้นบัลลังก์ก็มีเมตตา ผู้พิพากษาท่านนั้นพยายามบอกว่า เข้าใจสถานการณ์ทางการเมือง เห็นใจจำเลย และจะพิจารณา "รอลงอาญา" ให้ถ้าจำเลยรับสารภาพ สิ่งที่ผู้พิพากษาพูดไม่ปรากฏเป็นหลักฐานในเอกสาร เป็นแค่การแอบๆ บอกกันเท่านั้น
หลังปรึกษากับทนายความแล้ว "วุฒิ" เห็นตามหลักที่พูดต่อๆ กันในคุกว่า "สู้ติดแน่ แพ้ติดนาน" เขาไม่ใช่นักเคลื่อนไหว ไม่ใช่นักต่อสู้ทางการเมืองที่จะต้องพิสูจน์อะไรมากมาย ถ้ารับสารภาพแล้วจะได้รอลงอาญา กลับบ้านไปใช้ชีวิต ก็ดีกว่าจะต้องมาเสี่ยงลุ้นว่าจะพิสูจน์เรื่องแฮคเฟซบุ๊กได้สำเร็จหรือไม่
เดือนพฤศจิกายน 2566 "วุฒิ" เปลี่ยนคำให้การจากเดิมที่ปฏิเสธ เป็นรับสารภาพ
วันที่ 21 ธันวาคม 2566 ศาลนัดฟังคำพิพากษา โดยครอบครัวของ "วุฒิ" ก็เดินทางมากันเต็ม หอบเสื้อผ้า หอบกระเป๋ามา ตั้งใจมารับกลับบ้าน เราไม่เคยรู้จักอะไรกันมาก่อน ผมเจอเขาครั้งแรกก็แค่ทักทาย เขายิ้มแย้มเตรียมตัวเตรียมใจว่า วันนี้จะได้กลับบ้าน
กลิ่นเริ่มไม่ดี เมื่อศาลไม่ยอมขึ้นบัลลังก์สักที ค่อยๆ พิจารณาคดีอื่นและให้คนอื่นกลับบ้านไปให้หมดก่อน กว่าจะมาพูดถึงคดีนี้ก็ประมาณ 11.00 น. ถ้าเป็นไปตามปกติ ศาลควรจะขึ้นมาแล้วอ่านคำพิพากษาเลย แต่เมื่อขึ้นบัลลังก์ผู้พิพากษาคนเดิมก็เรียกทนายไปคุย ผมนั่งอยู่หลังห้องได้ยินเสียงไม่ชัดนัก แต่ได้ยินคำว่า "แบบนี้จะเอายังไงดี?"
ทนายเดินกลับมาบอก "วุฒิ" ว่า ผู้พิพากษาไปปรึกษากันแล้ว เห็นว่าข้อความมีเนื้อหาแรง ถ้ารับสารภาพก็อาจจะรอลงอาญาให้ไม่ได้ จะเอาอย่างไรต่อ?? ความหวังที่จะได้กลับบ้านในวันนี้ของ "วุฒิ" พังทลายลง ถ้าให้ศาลอ่านคำพิพากษาเลย ก็คงไม่ได้รอลงอาญา เรียกได้ว่า "ยาวแน่ๆ" เขาจึงตัดสินใจว่า งั้นขอปฏิเสธ กลับไปต่อสู้คดีตามที่วางแผนไว้อย่างเดิม
ทนายความเขียนคำร้องยื่นใหม่ ขอเปลี่ยนคำให้การเป็นปฏิเสธ และขอต่อสู้คดี โดยยืนยันว่าไม่ได้โพส และเฟซบุ๊กเคยถูกแฮค
ศาลใช้เวลา 15-20 นาที ก่อนเรียกไปคุย แล้วบอกว่า "ไม่อนุญาต" ให้เปลี่ยนคำให้การ เนื่องจากคำปฏิเสธครั้งใหม่เหมือนกับที่เคยปฏิเสธไว้ในครั้งแรก แล้วคำปฏิเสธครั้งแรกนั้นถูกยกเลิกไปแล้วตอนที่เปลี่ยนเป็นให้การรับสารภาพเมื่อเดือนพฤศจิกายน ดังนั้น คำปฏิเสธใหม่รับไม่ได้ !!!
ช็อกครับ ... ประโยคนี้ผมได้ยินศาลพูดเต็มสองหู
ทนายของ "วุฒิ" ยืนอ้าปากค้าง อยู่หน้าบัลลังก์ แล้วจะให้ทำยังไง??
ศาลกำหนดนัดฟังคำพิพากษาใหม่ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 ไม่ให้โอกาสต่อสู้คดี ไม่ให้ปฏิเสธ และไม่ให้มีการสืบพยาน แต่ขณะเดียวกันก็ไม่รู้เรียกว่าจำเลยรับสารภาพได้ไหม จำเลยจะได้ลดโทษเนื่องจากยอมรับสารภาพได้ไหม เพราะยื่นคำร้องขอถอนคำรับสารภาพไปก่อนแล้ว จะปฏิเสธก็ไม่รับ จะรับสารภาพก็ไม่ได้ ทุกอย่างงงไปหมด
ทนายถามศาลว่า แล้วจะให้ทำยังไง ผู้พิพากษาใจดีคนเดิมบอกว่า ถ้าอยากพิสูจน์เรื่องอะไรก็ให้ยื่นหลักฐานเข้ามาแล้วกัน ..​. โดยที่ไม่มีการสืบพยาน ... ซึ่งแปลกมาก เป็นกระบวนการที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
ผมหันไปมองหน้า "วุฒิ" เขาจ้องตาเขม็งไปที่บัลลังก์ ผมถามเขาว่า เข้าใจไหมครับ??? เขาตอบว่า ไม่เข้าใจ ผมบอกเขาว่า ผมขอโทษนะ ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน ... ไม่เข้าใจว่าศาลไม่รับคำปฏิเสธได้ยังไง และไม่เข้าใจว่าตกลงศาลจะให้จำเลยต่อสู้คดีหรือไม่ให้ ทั้งที่ตอนเริ่มวันนี้ศาลถามก่อนเองว่า "แบบนี้จะเอายังไงดี?" แต่พอปฏิเสธก็ไม่ให้ปฏิเสธ
ผมหันหลังไปมองหน้าญาติๆ ที่หอบของมารอรับ "วุฒิ" กลับบ้าน ผมถามเขาว่า เข้าใจไหม?? เขามองหน้าผมแล้วยิ้มเขินๆ ผ่านหน้ากากอนามัย ญาติคนหนึ่งถามผมว่า ถ้าเรารับสารภาพจะทำให้จบเร็วกว่าไหม ได้กลับบ้านเร็วกว่าไหม?? ผมตอบไม่ได้ และบอกเขาไปว่า กระบวนการในศาลแบบนี้ผมก็ไม่เคยเห็นมาก่อน ...
ศาลลงบัลลังก์ไปในวันนั้น ผมมองหน้าทนายความ ทนายความก็ยังไม่รู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น รู้แต่ว่าวันที่ 14 กุมภาพันธ์ อาจจะมีคำพิพากษาแล้ว ผมแกล้งเดินเข้าไปถามความเห็นอัยการว่ามันเกิดอะไรขึ้น อัยการไม่ได้ตอบ แต่พยายามอธิบายว่า การที่จำเลยพยายามต่อสู้ว่าไม่ได้โพสนั้นเป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์ และการที่จำเลยจะหวังให้ศาลรอลงอาญาก็เป็นเรื่องยาก เพราะไม่ใช่ทุกคดีที่ศาลจะเมตตารอลงอาญาให้ ...
"วุฒิ" ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566 เมื่อเขามาศาลตามนัดเพื่อส่งฟ้อง เขาก็ถูกขังเลยโดยไม่ได้ประกันตัว เขารอวันที่จะได้ต่อสู้คดีอยู่หลายเดือน แต่ก็ไม่ได้ต่อสู้คดี เขารอวันที่จะลุ้นได้รอลงอาญาและกลับบ้านอยู่หลายวัน แต่ก็ไม่ได้กลับบ้าน หลังเสร็จการพิจารณาคดี เขาได้คุยกับทนายความแค่ 2-3 ประโยค ทนายความบอกว่า สัปดาห์หน้าจะไปเยี่ยมที่เรือนจำ แล้วค่อยคุยกันละเอียดๆ อีกครั้ง เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ทำงานของเขาได้ดี คือ เมื่อเสร็จศาลก็รีบพาตัวจำเลยลงไปห้องขังทันที "วุฒิ" ได้เพียงหันไปสั่งเสียภรรยาว่าข้าวของที่เตรียมมารับกลับให้ทำอย่างไร
ผมไม่รู้ว่า "วุฒิ" จะมีโอกาสได้ทำความเข้าใจหรือยังว่า คดีของเขาเกิดอะไรขึ้น โดยสรุปแล้วเขาจะได้ต่อสู้คดีหรือเปล่า หรือเท่ากับเขารับสารภาพไปแล้ว แต่ที่แน่ๆ การรอลงอาญาคงจะไม่มา และไม่รู้จริงๆ ว่าเขาจะต้องอยู่ข้างในไปอีกนานเท่าไร
ในวันนั้นที่ผมได้ไปประสบเรื่องนี้กับสายตาตัวเอง เป็นอีกหนึ่งวันที่ยุ่งเหยิงในชีวิต เมื่อส่ง "วุฒิ" เดินลับสายตา ผมรีบขับรถออกจากศาลเพื่อไปประชุมต่ออีกสามประชุม ระหว่างประชุมที่สองรู้สึกจะป่วย เลยกินยาพาราเข้าไปสองเม็ด มีเพื่อนถามว่าคดีเมื่อเช้าเป็นยังไงบ้าง ผมบอกไปว่า "ไม่ไหว ยังไม่อยากเล่า" ตั้งใจว่าจะค่อยๆ เรียบเรียงและเขียนเล่า แต่ใช้เวลาผ่านมาอีก 7 วันถึงเข้มแข็งพอที่จะเขียน พบว่า เรื่องนี้มันทำร้ายข้างในของผมพอสมควรเหมือนกัน และยิ่งเป็นเหตุให้สัปดาห์ที่ควรจะได้พักบ้างเป็นสัปดาห์ที่หงุดหงิด
แต่คงไม่หงุดหงิดเท่ากับ "วุฒิ" ที่นอนรอคำอธิบายอยู่ในเรือนจำ
เขาโพสข้อความเหล่านั้นจริงหรือเปล่าผมไม่รู้
เขาจะต้องติดคุกอีกกี่ปี ผมก็ยากจะคาดเดา
แต่อย่างน้อยในวันปีใหม่นี้ขอแค่ให้เขามีโอกาสเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นไปแล้วในคดีของเขา ...
#ขังข้ามปี #นิรโทษกรรมประชาชน