วันอังคาร, มิถุนายน 30, 2558

"ยึดอำนาจซ้ำ" ขอเป็น นายกต่ออีก 2 ปี



‘พระพุทธอิสระ’ บุกทำเนียบ ยื่นหนังสื่อและ5หมื่นรายชื่อ ผ่าน “ม.ล.ปนัดดา” หนุน “บิ๊กตู่”อยู่2ปี

...

ขอเป็น นายก อีก 2 ปี ประชามติ บ้านพ่องงง


https://www.youtube.com/watch?v=4nwmyXaxoU4


"ตู่แลนด์"... ไหนว่า "จะทำตามสัญญา ขอเวลาตู่ไม่นาน" ไง




หลังจากแถลงการณ์ EU ตามด้วยของ UN OHCHR เรียกร้องให้ “ยุติการดำเนินคดีอาญาต่อนักศึกษา ซึ่งถูกจับกุมเนื่องจากการชุมนุมโดยสงบในที่สาธารณะในกรุงเทพฯ และปล่อยตัวพวกเขาจากสถานที่ควบคุมโดยทันที” พร้อมเตือนไทยว่า “มีพันธกรณีที่จะต้องรับรองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก (ข้อ 19) และ สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ (ข้อ 21)” ตามกติกา ICCPR ที่ไทยไปลงนามรับรองไว้

หน่วยงานสิทธิของ UN ยังทวงสัญญาว่า “ขณะนี้ นับเป็นเวลามากกว่าหนึ่งปีแล้ว แม้รัฐบาลจะให้คำมั่นว่าจะนำหลักนิติธรรมกลับคืนมา แต่การจำกัดเสรีภาพขั้นพื้นฐานยังคงมีอยู่ต่อไป”

“เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน...” เสียงเพลงชาติของคสช.ลอยมาเลย #ทีมนักศึกษา #ดาวดิน

OHCHR URGES THAILAND TO RELEASE STUDENTS

http://bangkok.ohchr.org/files/ROB%20Press%20Statement%20300615%20TH.pdf

Pipob Udomittipong



ooo


แถลงการณ์จากสำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย

สำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยออกแถลงการณ์ฉบับนี้โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย

กรุงเทพฯ 30 มิถุนายน 2558 – การจับกุมนักศึกษาจำนวน 14 คน จากข้อหาที่ถูกตั้งขึ้นอันเนื่องมาจากการชุมนุมอย่างสันติของพวกเขาในวันที่ 22 พฤษภาคมเป็นพัฒนาการที่น่ากังวล

สหภาพยุโรปมีความเชื่อในสิทธิของคนทุกคนในการแสดงออกทางความคิดเห็นอย่างสันติและขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ทางการไทยปฏิบัติตามข้อผูกพันของประเทศไทยภายใต้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง การเคารพซึ่งสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานนั้นจะต้องได้รับการค้ำชูและศาลทหารไม่ควรถูกนำมาใช้กับพลเรือน
* * * * * * * * * *

Local EU Statement

The European Union Delegation issues the following statement in agreement with the EU Heads of Mission in Thailand

Bangkok, 30 June 2015 – The arrests of 14 students on the basis of charges brought against them for peacefully demonstrating on 22 May is a disturbing development.

The EU believes in the right of all to express peacefully their opinions and calls upon the Thai authorities to abide by Thailand's obligations under the International Covenant on Civil and Political Rights. Respect for human rights and fundamental freedoms must be upheld, and military courts should not be used to try civilians.

ที่มา ประชาไท

ooo




องค์กรสิทธิฯสากล ประณาม ไทย "รัฐเถื่อน"เชื่อเผด็จการ คสช.ใกล้ถึงจุดจบ

jom voice
Published on Jun 27, 2015

นายสุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาองค์กรสิทธิมนุษยชนสากล ประจำประเทศไทย Human Rights Watch (Thailand) ให้สัมภาษณ์ Thaivoicemedia กรณีรัฐบาล คสช. จับกุมนักศึกษา กลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ จำนวน 14 คน ว่า นี่คือสัญญาณที่รัฐบาลเผด็จการทหาร ต้องการที่จะสืบทอดอำนาจตัวเองต่อไป แต่เชื่อว่าไม่อาจจะต้านทานกลุ่มพลังบริสุ­ทธ์นักศึกษาและประชาชน คลื่นลูกใหม่อีกระลอกที่จะออกมาขับไล่ต่อไ­ปอีก ขณะเดียวกันองค์กรสิทธิมนุษยชนสากล และประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จะกดดันไทย หนักขึ้นอีก เรียกได้ว่าตลอดเวลาที่ นักศึกษาทั้ง 14 คนยังถูกคุมขังอยู่ในคุก เพราะข้อเรียกร้องของนานาชาติตรงกันคือให้ ปล่อยตัวนักศึกษาทั้งหมดอย่างไม่มีเงื่อนไ­ข และยกเลิกข้อหาทั้งหมด 
นายสุณัยกล่าวว่า เผด็จการ คสช.ขณะนี้หลังชนฝาแล้ว มีทางเลือก 2 ทางเท่านั้นคือ รีบคืนอำนาจให้กับประชาชน หรือ ยอมปล่อยตัวนักศึกษาทั้งหมดอย่างไม่มีเงื่­อนไข หากเลือกที่จะสืบทอดอำนาจเผด็จการต่อไป ประเทศไทย จะกลายเป็น รัฐเถื่อน และแกะดำในสังคมโลก ซึ่งจะสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนไทยอย่­างรุนแรงในอนาคตแน่นอน

ooo

Thailand slammed for 'disturbing' student sedition charges



By Jerome Taylor
AFP

The European Union hit out at Thailand's junta Tuesday for pursuing sedition charges against a group of anti-coup student activists, describing their arrest and prosecution in a military court as a "disturbing development".

The 14 detained students are part of a small network of pro-democracy campaigners who have dared publicly to challenge Thailand's military rulers after they seized power from an elected government last year and severely curbed civil liberties.

They were detained on Friday after holding a protest at Bangkok's Democracy Monument the previous day and were charged with sedition, which carries up to seven years in jail.

Their case is being handled by a military court, which usually holds hearings behind closed doors. There is no right of appeal once convicted.

"The arrests of 14 students on the basis of charges brought against them for peacefully demonstrating... is a disturbing development," the EU said in a statement Tuesday.

"Respect for human rights and fundamental freedoms must be upheld, and military courts should not be used to try civilians," the statement added.





The EU condemnation was echoed Tuesday by the United Nations Human Rights Office (OHCHR), which released a statement calling on Thailand to drop the charges and free the students from custody.

The students can be held by police for up to 84 days in pre-trial detention, although their incarceration must be renewed every 12 days by a court. The next hearing at Bangkok's military court is expected next week.

Junta leader Prayut Chan-O-Cha swatted away the growing international condemnation of the arrests.

There is "no need to explain... the law is the law, Thailand is Thailand," he told reporters.


-- Military court --





One of the lawyers representing the students said they had refused to request bail in protest at being tried in a military court.

"They reject the military court's jurisdiction," Sirikan Charoensiri, told AFP, adding they have remained "in good spirits" since their arrest.

"It's really quite serious to charge peaceful protesters with sedition. Their activities were entirely peaceful," she added.

The group's refusal to seek bail appears to have caught the military government off guard.

"Normally those who were arrested must seek bail so why do these students not want to get bail?" Anusit Kunakorn, secretary-general of the National Security Council, asked reporters Tuesday.





Rights groups have described the arrests as a serious escalation in repression by the junta.
But police and senior junta officials have vowed to go after those supporting the students.

Officers in the northern city of Chiang Mai confirmed Tuesday that three people who protested on Monday in support of the students were detained.

"They were released after talks with army and police in which they said they will not protest again," local officer Major Prasong Nafun told AFP.

Thailand's generals claim the May 2014 coup was essential to restore order after months of often violent protests against the elected government of Yingluck Shinawatra.

But opponents say it was the latest manoeuvre by Bangkok-based royalist elites, backed by large swathes of the military, to scupper democracy and protect their interests.

The coup marked another chapter in the country's bitterly divided politics that roughly pits the capital's elites against rural voters in the northern provinces who are loyal to ousted premiers Thaksin Shinawatra and his sister Yingluck.

The Shinawatras' parties have won every election since 2001 and are known for their pro-poor policies.


ฟัง ผู้มาเยี่ยมนศ. เมื่อวาน - ห้องเยี่ยม วันที่1 + คลิป บก.ลายจุด คุณพ่อของ "ไผ่ ดาวดิน"




https://www.youtube.com/watch?v=EissB780b2E




https://www.youtube.com/watch?v=5UlFrDEZlUs&feature=youtu.be



สั้นๆกับ ถ้อยแถลงจากการสัมภาษณ์ของกลุ่มประชาธิปไตยใหม่หน้าเรือนจำ กับการให้เยี่ยมนักศึกษาวันแรกครับ
Posted by พลเมืองโต้กลับ Resistant Citizen on Monday, June 29, 2015
https://www.facebook.com/Resistantcitizen/videos/vb.844606445582500/916529178390226/?type=2&theater

ooo



https://www.facebook.com/Prachatai/videos/10152977686556699

ooo



พ่อของ "ไผ่ ดาวดิน" หนึ่งใน14ผู้ต้องหา "กลุ่มประชาธิปไตยใหม่" ร่วมร้องเพลงถึงลูก ในกิจกรรมจุดเทียนหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
Posted by PEACE TV on Tuesday, June 30, 2015
https://www.facebook.com/video.php?v=806171056164746


นักศึกษา ประชาชน ไทย + อเมริกัน ขยับแล้ว ประเดิมที่ LA และ Wisconsin จัดกิจกรรม #FreeThai14 ต่อต้านเผด็จการ เรียกร้องประชาธิปไตย



นักศึกษา ประชาชนไทย อเมริกัน ประท้วงรัฐบาลประยุทธ์หน้าสถานกงสุลไทย ในนครลอสแองเจอลิส
รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักศึกษา 14 คน

ภาพจาก พลเมืองโต้กลับ









ooo

นักศึกษาไทย ม.วิสคอนซินจัดกิจกรรม #FreeThai14

Tue, 2015-06-30 11:19
ที่มา ประชสไท

กลุ่มนักศึกษาไทยในมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ผุดแฮชแท็ก #FreeThai14 และ #FreeThe14 รณรงค์ปล่อยตัวนักกิจกรรม-นักศึกษา ซึ่งถูกฝากขัง หลังตร.สั่งฟ้องศาลทหาร ฐานฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.-ม.116





29 มิ.ย. 2558 ตามเวลาสหรัฐอเมริกา กลุ่มนักศึกษาไทยในมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน (University of Wisconsin-Madison) จัดกิจกรรมชูป้ายเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักศึกษากลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ จำนวน 14 คน โดยไม่มีเงื่อนไข ระบุ นักศึกษาถูกจับกุมและคุมขังในเรือนจำตั้งแต่วันที่ 26 มิ.ย. 2558 ที่ผ่านมา เนื่องจากแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ต่อต้าน คสช. อย่างสันติ เรียกร้องให้รัฐบาลเคารพการแสดงความคิดเห็นของประชาชน และเรียกร้องให้ รัฐบาล คสช. ลงจากอำนาจ และคืนอำนาจอธิปไตยให้แก่ประชาชน โดยรณรงค์ให้ใช้แฮชแท็ก #FreeThai14 และ #FreeThe14 ในโซเชียลมีเดีย เพื่อเผยแพร่ปัญหาวิกฤติสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยต่อไป

บุญเลิศ วิเศษปรีชา อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตัวแทนนักศึกษาไทยที่จัดกิจกรรม กล่าวถึงกิจกรรมว่า วันนี้พวกเราคนไทยที่อยู่ที่เมืองแมดิสัน รัฐวิสคอนซิน ต้องการรณรงค์เพื่อให้ปล่อยตัวนักศึกษา 14 คนที่ถูกจับกุมที่เมืองไทยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เราอยากบอกกับน้องๆ นักศึกษาและสังคมไทยว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองไทยนั้นเป็นที่รับรู้ในสังคมโลก กิจกรรมของเราก็ได้รับความสนใจจากนักศึกษาที่นี่เป็นอย่างดี

"ด้วยจิตคารวะต่อนักศึกษาทั้ง 14 ท่าน ที่ยืนหยัดในหลักการประชาธิปไตยและเอาตัวเองเข้าเสี่ยงขนาดนี้ เราเห็นภาพนักศึกษาถูกจับ เห็นภาพคนไปเยี่ยมแล้ว คิดว่าการที่เราอยู่ไกลก็ไม่น่าจะเป็นข้อจำกัดในการร่วมต่อสู้กับนักศึกษา” บุญเลิศกล่าวและว่า สิ่งที่ทำวันนี้ นอกจากป้ายข้อความเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักศึกษาและเรียกร้องให้ ค.ส.ช.ลงจากอำนาจแล้ว ยังได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทยแก่ชาวเมืองแมดิสันที่สนใจอีกด้วย ซึ่งก็ได้รับความสนใจอย่างมาก ผู้ที่เข้าร่วมรณรงค์กับเราต่างไม่เห็นด้วยกับการจับกุมนักศึกษาครั้งนี้อย่างมากเพราะเป็นเรื่องไร้เหตุผลที่คนจะถูกคุมขังเพราะเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างสันติ

"สำหรับคนที่คิดว่านักศึกษาไม่ควรออกมาทำกิจกรรม ควรจะมุ่งเรียนหนังสืออย่างเดียวเพื่อจบไปทำงานเพื่อตัวเอง วิธีคิดแบบนี้เป็นแบบที่พวกชนชั้นนำปลูกฝังเรามานะครับ เพื่อไม่ให้มีการโต้แย้งและตั้งคำถาม ที่จริงนักศึกษาควรเป็นกองหน้า พวกเขาจะอ่อนไหวกับความไม่เป็นธรรมในสังคม และมีพลังเร่าร้อนของหนุ่มสาวที่จะต่อสู้ บางคนแม้จะมีหลักการแต่ก็ไม่มีจิตใจที่เด็ดเดี่ยวพอ นักศึกษาทั้ง 14 คนเป็นตัวอย่างที่เราต้องนับถือ”

"ผมคิดว่า การคิดว่าสังคมที่สงบต้องไม่มีการแสดงออกทางการเมืองนั้นเป็นความเข้าใจที่ผิดมหันต์ เพราะมันเป็นเพียงความสงบชั่วคราวใต้ท็อปบูท ใต้ระบอบปกครองที่ทหารเอาปืนจ่อหัวประชาชนเท่านั้น คนที่เดือดร้อนก็แค่ถูกกดไว้เท่านั้น ถึงเวลาก็จะระเบิดขึ้นมา นักศึกษาดาวดินเป็นตัวอย่างที่สำคัญนะครับ ที่เชื่อมโยงให้เห็นว่า ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนภายใต้ระบอบเผด็จการมันแย่กว่าภายใต้ประชาธิปไตยอย่างไร

"ผมว่ามันเลยขีดความอดทนมามากแล้ว เราจะต้องส่งสัญญาณอย่างสำคัญว่า เราอยู่ใต้เผด็จการไม่ได้อีกแล้ว ไม่ใช่ว่ามาปล้นประชาธิปไตยไปแล้วยังเอาปืนมาจ่อหัวไม่ให้เราพูดอีก ประชาธิปไตยเป็นของเรานะครับ ไม่ใช่สิ่งที่รอให้เขาเอามาให้ เราต้องออกมาทวงคืนครับ ผมเป็นนักศึกษาในช่วงรัฐประหาร กุมภาฯ 2534 นะครับ ตอนนั้นรัฐประหาร ผ่านไป 6 เดือน เราจัดสัมมนาได้แล้ว แต่คราวนี้ผ่านมาเป็นปีแล้ว เรายังถูกห้ามอยู่เลย เราทนไม่ได้ที่จะต้องเห็นนักศึกษาที่มีความกล้า มีจิตใจที่ดี และมีอนาคต ต้องมาถูกกุมขังทั้งที่ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่เคยคิดมาก่อนว่าสังคมไทยจะถอยหลังได้ขนาดนี้ ผมเกิดไม่ทันเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ไม่นึกว่าจะได้มาเจอสถานการณ์ที่ลิดรอนสิทธิ ปิดปากประชาชนอย่างตอนนั้นในสมัยนี้

"ผมไม่ได้เรียกร้องให้ทุกคนต้องเอาชีวิตมาเสี่ยงนะครับ ทุกคนก็มีขีดจำกัดในการแสดงออก ผมเคารพสิทธิและเหตุผลของทุกคน แต่เราก็น่าจะทำอะไรที่เราทำได้ นักศึกษาทั้ง 14 คน เขาเสี่ยงชีวิตมากนะครับ เราเสี่ยงแค่นิดเดียว ถ้ายังกลัวเป็นที่จับตาก็ต้องก้าวออกมาพร้อมๆ กันครับ คุกขังคนเป็นหมื่นๆ ไม่ได้หรอกครับ” บุญเลิศกล่าว

เจ็นเนอรัลปรายู้ธไปหาเสียงเจียงใหม่เที่ยวนี้ ผิดท้องที่ พลาดยุทธวิธี อ๊ะป่าวคับ




เจ็นเนอรัลปรายู้ธไปหาเสียงเจียงใหม่เที่ยวนี้ ผิดท้องที่ พลาดยุทธวิธี อ๊ะป่าวคับ

หลังจากเข็นตะหานสองพันนายออกจากค่าย ตำหวดอีกพันสองร้อยราย ไว้ปกป้องคุ้มกันภัยอย่างดีแล้ว




ทั่นก้ออกเดิดตลาดหาเสียงย่าน sensitive ที่สุดต่อความนิยมคณะยึดอำนาจ ‘ตลาดนัดชุมชนไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้’ ทำการไฮป๊าร์คทันใด

แย็ปก่อนด้วย "ประเทศไทยเป็นของทุกคนซึ่งประชาชนต้องเป็นผู้กำหนด...จะต้องมีผู้นำที่เข้มแข็งและเลือกคนดีเข้ามาทำหน้าที่"

จากนั้นก็ฮุคตามหมัดสอง “ซึ่งขอให้เข้าใจว่าเชียงใหม่ไม่ได้เป็นเพียงจังหวัดเดียวในประเทศไทย จึงขออย่าทำลายอาณาจักร อย่าปลุกปั่นเพราะไทยเป็นรัฐเดี่ยวซึ่งจะแบ่งแยกไม่ได้”

(http://news.voicetv.co.th/thailand/225522.html)




ตรงนี้แหละที่ทั่นนาโย้กคลาดเคลื่อนไปนิด (คราวนี้ดีหน่อยแค่เคลื่อน ก่อนๆ น่ะคนละเรื่องยันเลย มโนล้วนเกือบทั้งนั้น) อาจเป็นเพราะใส่ใจและ sensitive กับข่าว ‘แอสทีวี’ มากไปหน่อย

หรืออาจเป็นเพราะตอนนั้นทั่นไม่ได้ตรวจข่าวทุกวันทุกกรอบทุกฉบับเหมือนตอนนี้ เลยหลุดไปบ้างเฉพาะไอ้ที่มันมีความสำคัญต่อประชาธิปไตย อย่างข่าวนี้ ‘ประกาศตั้ง สปป.ล้านนา รุดให้กำลังใจนักวิชาการ สปป. Sat, 2013-12-28 12:37’ ที่ว่า

“ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ประมาณ ๑๐๐ คน รวมตัวกันเข้าให้กำลังใจการเคลื่อนไหวของ สปป. และมีการแถลงประกาศรวมตัวจัดตั้งเป็น ‘สมัชชาปกป้องประชาธิปไตยล้านนา’ เพื่อสนับสนุนแนวทางเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยต่อไป”

คัดของเก่าเอารายละเอียดเพิ่มอีกนิด ให้พวกโสพิศลุงตู่ดูกัน จะได้รู้ว่าทั่นนาโย้กสำคัญผิดเรื่องไร

“โดยเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มคนยองรักประชาธิปไตย กลุ่มรถเครื่องโบราณ กลุ่มรถจักรยานโบราณ กลุ่มไซเบอร์เชียงใหม่-ลำพูน กลุ่มคนรักทักษิณลำพูน และสมาชิกอีกหลายคนที่ไม่ได้สังกัดกลุ่มใดมาก่อน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเกาะเกี่ยวกลุ่มประชาธิปไตยต่างๆ เข้าเป็นเครือข่ายและทำกิจกรรมร่วมกันในพื้นที่ โดยเฉพาะหน้าคือการผลักดันการเลือกตั้งวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗”

(http://prachatai.com/journal/2013/12/50754)

เขาพูดกันเรื่องเลือกตั้ง เรื่องประชาธิปไตยไม่จำบัง ที่ทั่นบอกให้รอ รอพวกทั่นได้ ‘ทำ’ ตำบอนตะบันกันก่อน
อย่างเรื่องน้ำแล้งไม่เป็นไร ใหชาวบ้านเก็บกักน้ำไว้เวลาฝนตก ฝนไม่ตกลูกไล่ของทั่นจะไปยกเมฆข้ามเขามาให้

น้ำจืดมีน้อย แต่น้ำทะเลมีเยอะ เลยต้องซื้อเรือดำน้ำมือสองของจีนมาไว้ dumb เล่นซักสามลำ สนนราคาถูกมาก ๓๖ พันล้านเท่านั้นเอง สงสัยจะเอาไว้งมหอยสนุกแน่

แต่ว่ามันมี implication ลึกกว่านั้นเยอะ นี่ก็หนึ่งละ ที่ The Diplomat ตั้งข้อสังเกตุไว้

“...การตัดสินใจครั้งนี้เป็นไปได้ที่จะทำให้ใครอื่นอ่านเจตนาว่า นี่เป็นสัญญานแห่งการเข้าไปอิงแอบแนบชิดยิ่งขึ้นของประเทศไทยต่อจีน ในขณะที่ความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาอยุ่ในภาวะสั่นคลอนนับแต่มีการทำรัฐประหารขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว”

(http://thediplomat.com/…/how-did-china-just-win-thailands-…/)

อีกเรื่องที่สำคัญมากมาก ที่พวกทั่นหั่นโครงการรถไฟความเร็วสูงราคา ๒.๒ ล้านๆ รัฐบาลเลือกตั้ง เพื่อจะได้สถาปนาโครงการใหม่เก๋กว่า ความเร็วแค่ปานกลาง (ปรัชญาพุทธมั้ง) มูลค่า ๓.๓ ล้านล้าน (อย่างน้อยก็เลขสวยกว่า ถ้าใช้ ‘เลขไทย’ ไม่มีหางกระหวัด)

แถมมี Sweet deals อีกแน่ะ นี่ฟังจาก ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่า กทม. เขาตั้งข้อสงสัยไว้นะ ว่า “ทำไม MOU รถไฟไทย-จีน ต้องเก็บเงื่อนไขเงินกู้เป็นความลับ’ ตามนี้

“MOU ครั้งที่ ๔ ระบุว่า จะพิจารณาจำนวนเงินกู้และเงื่อนไขเงินกู้จากธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกของสาธารณรัฐประชาชนจีนภายหลังจากการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการแล้วเสร็จ ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกันว่า กระทรวงการคลังของประเทศไทยจะเป็นผู้สนับสนุนเงินลงทุนเพื่อให้โครงการเริ่มก่อสร้างได้ตามกำหนดเวลา

ที่สำคัญ ใน MOU ครั้งนี้มีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ทั้งสองฝ่ายให้การรับรองว่าข้อมูลเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเงินกู้ที่มีการหารือในการประชุมครั้งนี้ถือเป็นความลับ”

ดร.สามารถแกเผยเรื่องน่าคิด “แต่ผมทราบมาว่าจีนจะไม่ร่วมลงทุนก่อสร้างรถไฟเส้นทางดังกล่าวกับไทยตามที่ผมได้โพสต์มาแล้วหลายครั้ง แต่จีนจะให้ไทยกู้เงินบางส่วนเพื่อใช้ในการก่อสร้าง พร้อมทั้งจีนจะรับจ้างก่อสร้างงานบางส่วนที่ผู้รับเหมาไทยไม่ถนัด อีกทั้ง จีนจะขายขบวนรถไฟ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่มีในไทย

หากรูปแบบการลงทุนเป็นไปเช่นนั้นจริง จีนก็จะไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงในกรณีที่โครงการขาดทุน แต่จีนจะได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยเงินกู้ การได้งานก่อสร้าง การขายขบวนรถไฟและวัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งการมีเส้นทางออกทะเลอีกเส้นทางหนึ่ง”

(http://www.thanonline.com/index.php…)

สวี้ทไหมล่ะ กะว่าที่มหามิตรใหม่ ที่พูดกันมากแล้วว่า รังแต่จะทำให้มิตรเก่าน้อยใหญ่ผลักไส ไม่ใยดี ไม่ยี่หระกับราชอาณาจักรไทยยิ่งขึ้น

ทำให้เขาพูดได้เต็มปากว่าตราบใดที่ไม่มีเลือกตั้งเสรี ไม่มีนิติธรรมทางกฏหมาย ไม่มีเสรีภาพในการแสดงออก ขาด public polity ที่อิงแอบประชาชน ก็ยากสำหรับพวกเขาจะอ้อล้อตามใจคณะยึดอำนาจไทย

โดยที่อียู หรือสหภาพยุโรป ได้แถลงย้ำอีกครั้ง “จะไม่ลงนามในข้อตกลง ‘พันธมิตรและความร่วมมือ’ กับประเทศไทย จนกว่าไทยจะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย”

(http://m.news.thaipbs.or.th/content/)






ทำนองเดียวกับล่าสุดที่แผนกประชาธิปไตยในกระทรวงต่างประเทศสหรัฐมีรายงานเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ ระบุถึงประเทศไทยเอาไว้ด้วยสำนวนสลวยทางการทูต

“คณะทหารกระทำการโค่นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ล้มล้างรัฐธรรมนูญ และจำกัดเสรีภาพมหาชนอย่างร้ายแรง ความพยายามต่อมาของรัฐบาลทหารที่จะร่างรัฐธรรมนูญใหม่และจารึกจิตสำนึกทางการเมืองของพวกตน ก่อให้เกิดข้อกังขาว่าเป้นกระบวนการที่ขาดความหลากหลาย”

(http://www.state.gov/…/r…/hrrpt/humanrightsreport/index.htm…)

หากแต่ทั่นรองฯ ฝ่ายต่างประเทศของรัฐบาลคณะยึดอำนาจ พลเอก ธนศักดิ์ ปฏิมาประกร ออกมาโต้แย้งโดยรวมว่า

“นำข้อมูลด้านเดียวจากสื่อ และองค์กรเอ็นจีโอต่างๆ โดยไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลซ้ำกับทางกระทรวงการต่างประเทศ...(ทั้งที่) “กระทรวงการต่างประเทศได้เสนอข้อเท็จจริงบ่อยครั้งกับทางสหรัฐ พร้อมทั้งเคยเชิญให้ผู้แทนสหรัฐมาเยี่ยมชมการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ไทยในจุดที่มีข้อห่วงกังวลแล้ว

พร้อมตั้งข้อสังเกตกับประเทศที่เป็นผู้ประเมิน ว่ามีการประเมินประเทศดังกล่าวด้วยความเป็นธรรมหรือไม่”

(http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1435576666)หม่

แหม่ อันนี้คงตอบได้ไม่ยากมั้ง จะเป็นธรรมกับฮุนต้าไทยหรือไม่ นั่นเป็นประเด็นรอง ข้อสำคัญอยู่ว่า ไอ้ที่ชี้แจง แถลง จัดฉากให้เขาดูน่ะ เขาไม่เชื่อต่างหาก

เขาเชื่อสื่อกับองค์การสิทธิสากลมากกว่าไง

มารู้จักกับ ‘บทเพลงของสามัญชน’ ที่ท้าให้คุณร้อง อีกครั้ง จาก "ประชาไท สัมภาษณ์"


คุยกับ ‘แก้วใส-ชูเวช’ 2 ผู้แต่ง ‘บทเพลงของสามัญชน’ ที่ท้าให้คุณร้อง

ที่มา ประชาไท
ตีพิมพ์ครั้งแรก 2014-09-22

รายงานบทสัมภาษณ์ ‘แก้วใส-ชูเวช’ 2 ผู้แต่ง ‘บทเพลงของสามัญชน’ เพลงของสามัญชนคนธรรมดาทุกคน ที่ใครๆ ก็ร้องได้ เพื่อมอบให้กับผู้ถูกคุกคามและลิดรอนสิทธิเสรีภาพ กับปรากฏการณ์ท้าให้ร้องผ่านยูทูบ

ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมามีกระแสโดยเฉพาะในบรรดานักกิจกรรมทางสังคมออกมาร้องเพลงที่มีชื่อว่า “บทเพลงของสามัญชน” ในหลากหลายรูปแบบและมีการท้าส่งต่อให้คนอื่นร้องตาม พร้อมเผยแพร่ผ่านทางยูทูบ กว่า 50 คลิป

โดยครั้งแรกที่มีการเผยแพร่เพลงดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อ 27 ก.ย.ที่ผ่านมา โพสต์โดย ‘Jeerapa Mooncommee’ ซึ่งในการเผยแพร่ครั้งแรกนั้นยังไม่มีชื่อเพลง ก่อนที่จะมีการเผยแพร่ในแบบร้องหมู่พร้อมชื่อบทเพลงอีกครั้งเมื่อวันที 25 ส.ค.ที่ผ่านมา โดย ‘Jeerapa Mooncommee’ โดยเนื้อเพลงเป็นการให้กำลังใจกับคนที่ถูกคุกคามเสรีภาพ



การร้องหมู่ คนซ้ายสุดคือแก้วใส 1 ในผู้แต่งเพลงนี้

ประชาไท สัมภาษณ์ ชูเวช เดชดิษฐรักษ์ อายุ 22 ปี นักศึกษาปริญญาโทสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และ แก้วใส สามัญชน 2 ผู้แต่งเพลงดังกล่าว เพื่อดูถึงที่มาและความหมายของบทเพลง รวมทั้งมุมมองต่อปรากฏการณ์ที่มีการร้องต่อผ่านยูทูบ


00000

ชูเวช เดชดิษฐรักษ์

ประชาไท : ทำไมถึงได้แต่งเพลงนี้ขึ้นมา?

ชูเวช : ตอนนั้นเพื่อนของเราถูกเรียกตัวหลังจากรัฐประหารไม่กี่วันแล้วเราก็ไม่รู้ว่าเขาจะเผชิญกับอะไรบ้างด้วยความเป็นห่วงเราก็เริ่มแต่งเพลงที่อยากจะให้เพื่อนเราเผชิญหน้ากับสถานการณ์ในนั้นอย่างเข้มแข็งแต่สุดท้ายก็แต่งไม่ทันจบคนที่เราแต่งให้ก็ได้รับการปล่อยตัวมาเสียก่อน

พอเหตุการณ์เริ่มบานปลายมีการคุกคาม กุมขังนักกิจกรมรุ่นใหม่จำนวนมาก บุกค้นบ้านเรือนพร้อมอาวุธครบมือยามวิกาล ยึดทรัพย์สิน หรือ ขับไล่ที่อยู่อาศัยชาวบ้านไปก็มาก ความกลัวเริ่มแผ่ขยายปกคลุมไปทั่ว เราก็คิดว่าสิ่งที่เราน่าจะทำได้ดีที่สุดคือแต่งเพลงเพื่อมอบให้ทุกคนที่กำลังถูกคุกคามและลิดรอนสิทธิเสรีภาพสามารถผ่านช่วงเวลานี้ไปได้ด้วยกันโดยเฉพาะคนที่ยังอยู่ในกรงขัง

ทำไมถึงคิดว่าปัญหาการถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพเป็นเรื่องที่สำคัญ?

ชูเวช : หากเราฝันถึงสังคมที่ทุกคนเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกันและกัน แต่เราเลือกทำให้เสียงของใครที่เราไม่อยากได้ยินหายไป เราก็คงไม่มีวันที่จะสร้างสังคมแบบนั้นขึ้นมาได้ และหากเราตีความความหมายของความมั่นคงแห่งรัฐนั้นคือความมั่นคงในคุณภาพของประชาชน แต่เรากลับสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองที่บังคับให้ซุกปัญหาต่างๆของประชาชนไว้ใต้พรม ทำให้แม้แต่เสรีภาพที่จะพูดถึงปัญหาของตัวเองยังกลายเป็นเรื่องผิดบาป ลดทอนความสำคัญของปัญหาให้กลายเป็นเรื่องตลก อันจะนำไปสู่การบ่มเพาะความขัดแย้งในระดับวัฒนธรรมที่ซึมลึกเรื้อรังก่อตัวเป็นความรุนแรงในที่สุด ดังนั้นเราคงจะอ้างความชอบธรรมของปฏิบัติการดังกล่าวในนามของความมั่นคงแห่งรัฐคงไม่ได้ นี่คือเหตุผลที่คนที่อ้างเรื่องมาตรการความมั่นคงต่างๆ นานาควรจะคำนึงถึงเรื่องนี้


แก้วใส สามัญชน


ทำไมถึงชื่อ 'บทเพลงของสามัญชน' ?

แก้วใส : ก็อยากให้เพลงนี้เป็นเพลงของสามัญชนคนธรรมดาทุกคน ที่ใครๆ ก็ร้องได้เพื่อถ่ายทอดสื่อสารเรื่องราวและอารมณ์ความรู้สึกอย่างไม่ต้องใครมาจำกัด

ชูเวช : เดิมทีผมกับพี่แก้วใสยังไม่ทันได้ตั้งชื่อเพลงเลย แต่ส่วนหนึ่งเราเองก็ตั้งใจแต่งเพลงเพื่อบันทึกประวัติศาสตร์ช่วงนี้ตามเจตนารมณ์ของพรรคสามัญชนที่เชื่อว่าคนธรรมดาสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้ วันหนึ่งมีคนเอาเพลงเราไปร้องต่อเรื่อยๆ แล้วมีคนโพสว่า “บทเพลงของสามัญชน” ไม่รู้ใครเริ่มเหมือนกัน (หัวเราะ) แต่สุดท้ายทุกคนก็จำชื่อนี้ไปแล้ว เราเองก็เห็นดีด้วยไม่ได้ซีเรียสเรื่องพวกนั้นเท่าไหร่สำคัญที่คนที่ร้องได้ร่วมกันส่งต่อเรื่องราวความรู้สึกในบทเพลงนี้ถึงสามัญชนด้วยกันก็เพียงพอแล้ว

คำว่า "สามัญชน" ในมุมมองของคุณคืออะไร?

ชูเวช : คนธรรมดาทุกคน ไม่จำกัดเพศ วัย วุฒิ การศึกษา ฐานะ ชื่อเสียง ความเชื่อวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ หรือ ภูมิภาค

มันเกิดการร้องที่กระจายไปทั่วได้อย่างไร และมองปรากฏการณ์นี้อย่างไร?

แก้วใส : ตอนแรกก็เริ่มจากการที่เราอยากร้องเพลงนี้ให้กับคนที่โดนจำกัดสิทธิเสรีภาพไม่ว่าจะเป็นทั้งทางกายภาพและทั้งทางความคิดและก็ร้องเพลงนี้ลงอินเทอร์เน็ต และก็มีพี่ๆ เพื่อนๆ ชอบและเราก็ทำคลิปอีก ลงอินเทอร์เน็ตอีก จนมีเพื่อนเห็นว่าน่าจะให้คนอื่นๆ ร้องเพลงนี้เพื่อส่งข้อความนี้ออกไปให้คนอื่นได้รับรู้ด้วย ประกอบกับกระแส ice bucket challenge กำลังมา ก็เลยมีคนคิดและถ้าให้เพื่อนคนอื่นๆ ร้องกัน เราเองก็ชวนคนอื่นร้องเล่นไปเรื่อยๆ

ผมเองก็ไม่รู้มีใครบ้างบางทีบางคนก็ไม่รู้จักเขา ถ้าถามว่ามองปรากฏการณ์นี้ยังไง ผมก็คงบอกว่าก็คงมีคนคิดและรู้สึกเหมือนเราอยู่ไม่ใช่น้อยและอยากสื่อสารข้อความนี้ต่อออกไปอีก แต่ผมก็ไม่แน่ใจนักว่าข้อความที่สื่อออกไปนั้นจะเข้าใจตรงกับสิ่งที่ผมต้องการสื่อสารออกไปตอนแรกหรือเปล่า แต่คงไม่ได้ซีเรียสหรือห้ามอะไรได้ว่าสารมันจะเพี้ยนไป สุดท้ายอย่างที่บอกไปเพลงนี้มันคือเพลงของสามัญชนทุกคนที่อยากจะสื่อสารเรื่องราวและอารมณ์ต่อเหตุการณ์หรืออะไรก็แล้วแต่ที่มันมาจำกัดสิทธิกดทับผู้คนให้อยู่ภายใต้อำนาจใครก็ไม่รู้มากระทำกับเราสามัญชน



Cover โดย สหาย Romeo

คิดอย่างไรกับปรากฏการณ์ที่มีคนเอาเพลงที่คุณแต่งไปร้องต่อกัน?

ชูเวช : การบันทึกประวัติศาสตร์ของสามัญชน แน่นอนว่าคงรอให้กระทรวงศึกษาธิการมาบันทึกเข้าไปในหนังสือเรียนคงไม่ได้ คงต้องเป็นการเขียนบันทึกประวัติศาสตร์โดยน้ำพักน้ำแรงของพวกเราสามัญชนด้วยกันเอง หลายๆ เวอร์ชั่นผมก็ชอบมากๆ เลยครับเปิดฟังบ่อยๆ รู้สึกเป็นเกียรติมากที่เพลงที่เราแต่งมีความหมายกับใครหลายๆคน เราจำวันที่เราแต่งเสร็จได้ว่าตอนที่ร้องท่อนฮุกว่า “กี่ลมฝันที่พัดละออง....” ตอนนั้นเราเป็นห่วงเพื่อนๆ พี่ๆ เราจริงๆ นะ และเชื่อว่าคนที่ร้องเพลงนี้ก็คงมีความรู้สึกบางอย่างที่อยากจะถ่ายทอดเช่นกัน หวังว่าสักวันเราจะได้มีโอกาสร้องเพลงนี้จากทั่วทุกสารทิศด้วยกันสักครั้ง

ท่อนที่ว่า "ปลูกผู้คน ปลูกฝันสู่วันของเรา" ฝันที่ว่านั้นคืออะไร?

ชูเวช : เพื่อให้เห็นกระบวนการว่าฝันของเราไม่สามารถไปถึงได้ด้วยจำนวนคนที่มีอยู่ เรายังมีภารกิจที่จะต้องขยายแนวร่วมกันไปด้วยวิธีต่างๆ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ใช้คำว่า “ปลูก” ส่วนที่ว่าความฝันนั้นคืออะไร ก็ขอตอบแบบอุดมคติไปเลยละกัน

ผมฝันว่าเราจะมีประชาธิปไตยแบบถกแถลง ประชาธิปไตยที่จะไม่ทิ้งรอยบาดแผลของสามัญชนไว้ข้างหลังระหว่างที่ก้าวเดินไปข้างหน้า ทุกปัญหาของทุกคน เจ้าของปัญหาต้องมีส่วนร่วมในการช่วยกันแก้ไข ลดทอนกลไกจากอำนาจการคิดแทนจากรัฐส่วนกลาง ด้วยรัฐสวัสดิการสามัญชนจะมีความมั่นคงในชีวิต แน่นอนว่ารัฐสวัสดิการดังกล่าวสามัญชนต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาและสร้างเสถียรภาพในนโยบายรัฐสวัสดิการนั้นๆ เองด้วย และด้วยการตื่นจากภวังค์สามัญชนจะมีจิตใจที่มั่นคงพอที่จะไม่ตกเป็นเครื่องมือของชนชั้นนำ มั่นคงพอที่จะไม่ถูกมอมเมาโดยโฆษณาชวนเชื่อใน MV เพลงซึ้งๆ สารคดี ฟุตบาธ สะพานลอย ป้ายหน้าสำนักงานราชการ ของนักการเมือง

แน่นอนว่าผมฝันถึงวันที่สามัญชนจะตระหนักว่ามีใครอีกบ้างที่มีสถานภาพความเป็นนักการเมืองแบบหลบซ่อน ใครอีกบ้างที่มีอำนาจในการนำภาษีของเราไปใช้บริหารจัดการกิจการต่างๆ มองให้เห็นถึงกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่สวามิภักดิ์ต่อชนชั้นนำทุกฝ่าย และร่วมกันทำลายความมั่นคงในคุณภาพชีวิตของสามัญชนมาโดยตลอด

ผมฝันว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจากประวัติศาสตร์การเมืองไทยในรอบ 40-50 ปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นญาติของผู้เสียชีวิตจากการปราบปราม บังคับสูญหาย ซ้อมทรมาน ขับไล่จากที่พำนักอาศัยและผู้ลี้ภัยไปต่างประเทศ จะได้รับการเยียวยาโดยเฉพาะการตีแผ่ความจริงที่ถูกทำให้หายไปอย่างเป็นธรรม รวมถึงประชาชนมีความเข้มแข็งพอที่จะป้องกันตนเอง

ผมฝันว่าจะเห็นการทบทวนปรับปรุงโครงสร้างของรัฐที่สร้างผลกระทบกับสามัญชนไม่ว่าจะเป็นนโยบายทางการค้าระหว่างประเทศ การสัมปทานป่าไม้ที่ดินเหมืองแร่ การกำหนดเขตอุทยาน การจัดสรรทรัพยากรที่ดิน หลักประกันสุขภาพ ระบบบำนาญ สิทธิบัตรยา สิทธิบัตรทางพันธุกรรม การควบคุมมลพิษและการนำเข้าสารพิษในอุตสาหกรรมการเกษตร สิทธิเด็ก สตรี และ คนพิการ รวมไปถึงการปฏิรูปสำนักงานทรัพย์สินฯให้มีสถานภาพเป็นของรัฐชัดเจน

แถมยังฝันต่อไปอีกว่าผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างค่ามาตรฐานทางความคิดความเชื่อวัฒนธรรมแบบไทยๆในอดีต นำไปสู่รัฐโลกวิสัย มีพื้นที่ทางความคิดและความหลากหลายโดยไม่ต้องหวั่นเกรงที่จะกลายเป็นคนผิดบาปตราบใดที่มิได้ไปลิดรอนสิทธิเสรีภาพผู้อื่น

ผมอยากเห็นชัยชนะของสามัญชนที่เราจะชนะไปด้วยกัน ผมฝันว่าเราจะไม่พายุคสมัยของพวกเรากลับไปสู่การจับอาวุธเข่นฆ่าสามัญชนกันเอง ฟังแล้วดูอุดมคติใช่ไหม ผมก็คิดอย่างนั้น แต่เราควรไปให้ไกลกว่าชัยชนะทางการเมือง



ร้องโดย 'สามัญชนนักกิจกรรมมูลนิธิโกมลคีมทอง'

สรุปเนื้อเพลงขึ้นต้นด้วยคำว่า "หาก.." หรือ "อยาก.."

ชูเวช : ท่อนแรกร้องว่า “อยากบังเอิญเจอใครที่ยังฝันอยู่นั่งฟังเพลงอยู่ตรงนี้” แต่ยอมรับว่าร้องว่า “หาก” ก็เพราะดีนะ แต่ตอนนั้นเราแต่งเพื่อเพื่อนๆ ของเรา แน่นอนว่าเราอยากใช้คำที่ฟังแล้วรู้สึกสบายๆ กันเองๆ สักหน่อยเพราะเรากำลังคุยกับเพื่อน แต่ยังไงก็ไม่ซีเรียสว่าจะร้องแบบไหนสำคัญที่เนื้อหา

มันสะท้อนว่าวัฒนธรรมที่มนุษย์สร้างมันเคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลา ครั้นจะไปบังคับกำหนดมาตรฐานอะไรให้มันวุ่นวายก็คงต้องเปลี่ยนชื่อเพลงเป็น “บทเพลงของอนุรักษ์นิยม” (หัวเราะ)



ร้องโดย 'ธีร์ อันมัย'

ในฐานะที่เป็นนักกิจกรรม มองการเคลื่อนไหวของนักกิจกรรมขณะนี้ว่าอย่างไร ในประเด็นที่เกี่ยวกับการถูกจับกุมคุมขัง?

แก้วใส : มองว่าการทำงานหรือกิจกรรมเพื่อสังคมตอนนี้ก็เป็นที่รู้กันว่าทำอะไรได้ลำบากมาก อย่าว่าแต่นักกิจกรรมเลย แม้แต่องค์กรที่ทำประเด็นเรื่องสิทธิก็ยังถูกจำกัดสิทธิ แต่ผมก็ยังมีความหวัง ส่วนในประเด็นการถูกจับกุมนั้น ผมคงพูดอะไรได้ไม่มากและหวังว่าสักวันคงพูดเรื่องนี้ได้เต็มปากขึ้น ผมจึงขอพูดผ่านเพลงแล้วกัน(หัวเราะ)

ในฐานะที่เป็นคนแต่งเพลง อยากให้ใครร้องและอยากให้ใครฟังเพลงนี้มากที่สุด?

ชูเวช : ถ้าแรกเริ่มเลยคือเราแต่งให้กับทุกคนที่กำลังเผชิญกับสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกหลังรัฐประหาร ภายหลังมีคนต่อยอดนำไปรณรงค์เพื่อปล่อยนักโทษการเมือง เรื่องนี้เราก็เห็นด้วยเพราะลงชื่อสนับสนุนไปตั้งแต่ปีที่แล้ว ส่วนตัวแม้ไม่ใช่คนเสื้อแดงแต่เข้าใจว่าสถานการณ์นี้คนเสื้อแดงเป็นผู้ที่รู้สึกมากที่สุด จึงเป็นผู้ที่ถ่ายทอดบทเพลงนี้ได้ถึงแก่นมาก รวมถึงหากในอนาคตฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ตาสว่างจากเผด็จการแล้วจะนำบทเพลงนี้ไปใช้ปลุกปลอบความบอบช้ำจากความพ่ายแพ้ของสามัญชนในแนวทางที่คาดหวังต่อชนชั้นนำก็ถือว่าเป็นประโยชน์

 


ร้องโดย 'วงไฟเย็น'

ที่สุดแล้วต้องการอะไรถึงแต่งเพลงและเอามาร้องกันในยูทูบ?

แก้วใส : ที่สุดแล้วต้องการสื่อสารสิ่งที่เราคิดความรู้สึกและส่งต่อให้กับสามัยชนทุกคนได้รับรู้และส่งต่อกันไปและอยากบอกคนที่ถูกจองจำว่าเธอม่ได้อยู่โดดเดี่ยว พวกเรายังไม่ได้ไปไหน รอวันที่เสียงเพลงที่เราเคยร้องให้กันฟังจะกลับมาดังกระหึ่มอีกครั้ง



ร้องโดย 'กลุ่มลูกชาวบ้าน'

เยาวชนบ้านหนองบัว

เพื่อนเทียนฮักสังคม

กลุ่ม At north

วันใหม่

สามัญชนดาวดิน สังกัดพรรคสามัญชน

ชมรมคนแบกเป้

ooo




[สอนเล่นกีต้าร์] บทเพลงของสามัญชน - วงไฟเย็น version

https://www.youtube.com/watch?v=pn-0cdJBF84




https://www.youtube.com/watch?v=7E9HfrS6MGI&feature=youtu.be


​กต.ผิดหวังสหรัฐจัดอันดับสิทธิมนุษยชนไทยแย่





ที่มา Voice TV
by Passavee Thitiphonwattanakul
30 มิถุนายน 2558

กระทรวงการต่างประเทศ เตรียมทำหนังสือแสดงความผิดหวังถึงสหรัฐฯ หลังจัดอันดับไทยเรื่องสิทธิมนุษยชนประจำปี 2557 ย่ำแย่

พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ชี้แจงว่า ได้เสนอข้อเท็จจริงบ่อยครั้งกับทางสหรัฐ พร้อมทั้งเคยเชิญให้ผู้แทนสหรัฐมาเยี่ยมชมการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ไทยในจุดที่มีข้อห่วงกังวลแล้ว แต่ไม่ได้รับการประสานมาจากทางสหรัฐแต่อย่างใด กลับนำข้อมูลด้านเดียวจากสื่อและองค์กรเอ็นจีโอต่างๆ ไปนำเสนอ โดยไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลซ้ำกับทางกระทรวงการต่างประเทศ

ทั้งนี้ จะมีหนังสือถึงสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐ ประจำประเทศไทย เพื่อแสดงความผิดหวังกับรายงานดังกล่าว และยืนยันว่ารัฐบาลจะดำเนินการตามโรดแมป เพื่อสร้างประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพและความมั่นคง พร้อมตั้งข้อสังเกตกับประเทศที่เป็นผู้ประเมิน ว่ามีการประเมินประเทศดังกล่าวด้วยความเป็นธรรมหรือไม่

ส่วนกรณีที่ต่างชาติ วิพากษ์วิจารณ์การจับกุม 14 นักศึกษา ที่เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันไทยมีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่าที่ผ่านมา โดยมีความปลอดภัยและสงบเรียบร้อย ไม่สามารถมีกรณีเข้ายึดสถานที่ต่างๆได้เหมือนอดีต หากต่างชาติมองอย่างไม่เอนเอียง เชื่อว่าจะเข้าใจขึ้นกว่าเดิม

เผด็จการจงพินาศ ป้ายหน้า SOAS (อ.ปวิน มีเอี่ยวเป็นผู้อยู่เบื้องหลังนักศึกษาด้วย 555)




ร่วมถือป้ายหน้า SOAS ครับ วันนี้ ที่กรุงลอนดอน... เผด็จการจงพินาศ
With a group of Thais in front of SOAS calling for justice for 14 Thai students being detained.

Pavin Chachavalpongpun



'บ้านเมืองยังไม่ปกติ 'วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล เขียนถึง แมน ปกรณ์ 1ใน14 นักศึกษาที่ถูกจับกุม



ที่มา ประชาไท
Sun, 2015-06-28
วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล

ผมเลิกเขียนเรื่องการเมืองมาสักพักแล้ว...

ที่ผ่านมา ทุกครั้งที่ผมเขียน ผมมีความตั้งใจเดียว นั่นคือพยายามทำให้คนเข้าใจกันมากขึ้น เห็นใจกันมากขึ้น ยอมรับในความแตกต่างของกันและกันได้มากขึ้น

แต่ดูเหมือนว่าทุกความพยายาม จะนำมาแต่ผลตรงกันข้าม บทความการเมืองออนไลน์ของผม น้อยครั้งเหลือเกินที่จะเปลี่ยนความคิดอะไรของใครได้ ทำได้ก็เพียงแค่เรียกคนจำนวนมากที่มีความคิดในแบบของตนอยู่แล้ว มาระบายความเกลียดชังต่อกัน ด่าทอกัน ส่วนกับผู้เขียนอย่างผม ใครเห็นด้วยเขาก็ชม ใครไม่เห็นด้วยเขาก็ด่า ก็แค่นั้น

...เปล่าประโยชน์

แต่ในวันนี้ วันที่บ้านเมืองยังไม่ปกติดี ผมอยากจะขอลองดูอีกครั้ง...
——————-
บ้านเมืองยังไม่ปกติดี...


รูปทางซ้ายคือตัวผมเมื่อตอนเรียนอยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อประมาณสิบปีที่แล้ว ตอนนั้นกลุ่มนักกิจกรรมในธรรมศาสตร์ และอีกหลายๆมหาวิทยาลัย ได้รวมตัวกันทำกิจกรรมการเมืองมากมายในการต่อต้านเครือข่ายของอดีตนายกฯทักษิณ และคัดค้านพรรคพลังประชาชน ผมเองตอนปีสามปีสี่ก็ active มากๆในกิจกรรมนี้ พวกเราพยายามล่ารายชื่อ 50,000 รายชื่อ เพื่อถอดถอนคุณทักษิณ และพยายามรณรงค์ให้คนกางดออกเสียง (Vote No) ในการเลือกตั้ง

ตอนนั้นบ้านเรายังไม่มี Social Network และยังไม่เบื่อหน่ายกับม็อบและการชุมนุมเช่นในปัจจุบันมากนัก ผมจำได้ว่าตอนรณรงค์ Vote No พวกเรานักศึกษาหลายสิบคน ได้ไปเดินขบวนในพื้นที่สาธารณะหลายๆพื้นที่ เพื่อชักชวนประชาชนให้หันมาสนใจกิจกรรมของพวกเรา และก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากหลายๆคน และมีบางคนที่ไม่เห็นด้วยกับเรา ก็เดินเข้ามาคุยด้วย แลกเปลี่ยนกันด้วยดี แล้วก็แยกย้ายกันไป

ทำเสร็จเราก็กลับบ้าน ไปหาพ่อหาแม่ วันต่อมาเราก็ไปเรียนได้ตามปกติ

ไม่โดนจับ ไม่ต้องแบกรับความเกลียดชังของใคร

แค่ทำตามความเชื่อของตัวเอง

อีกภาพหนึ่งคือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ ที่นักศึกษา 14 คนที่มีส่วนร่วมในการในการทำกิจกรรมต้านรัฐประหารเมื่อวันครบรอบ 1 ปีรัฐประหาร 22 พ.ค.ที่ผ่านมา โดนจับกุมตัวไปตามหมายจับศาลทหาร ข้อหาขัดคำสั่ง คสช. และผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐตามประมวลกฎหมายอาญา ม.116

เมื่อคืนทั้ง 14 คนต้องนอนคุก และจะต้องถูกฝากขังทั้งสิ้น 12 วัน ในนั้น 13 คนเป็นผู้ชายและถูกส่งไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ขณะที่มีน้องอีกคนหนึ่งเป็นผู้หญิงที่ต้องถูกแยกไปขังไว้ที่ทัณฑสถานหญิงเพียงคนเดียว ก่อนที่จะถูกดำเนินคดีในศาลทหารต่อไป และข้อหาที่พวกเขาถูกแจ้ง อาจจะมีความเป็นไปได้สูงว่าจะต้องติดคุกถึง 7 ปี

เพราะเขายืนหยัดในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ พวกเขาจึงถูกด่าทอมากมายจากสังคม โดนกล่าวหาว่ามีนักการเมืองอยู่เบื้องหลัง (โดยไม่มีหลักฐานใดๆ)

เพราะเขาและเธอต่อสู้เพื่อสิทธิและเสรีภาพ น้องๆเหล่านี้กำลังจะสูญเสียอิสรภาพของตัวเองไป



สิบปีผ่านมาจากวันเวลาในรั้วมหาวิทยาลัยของผม และนี่คือจุดที่เราอยู่

สังคมอุดมความเกลียดชัง สังคมที่ผู้มีอำนาจ อยากจะทำอะไรก็ได้ กลับมาอีกครั้ง

สังคมที่นักศึกษา ผู้ที่มีสถานะพิเศษ ในการมีชีวิตอยู่โดยปราศจากพันธนาการของผลประโยชน์และภาระของโลกใดๆ ไม่มีโอกาสร้องบอกกับสังคมได้ว่า ความถูกต้องในรูปแบบที่บริสุทธิ์ที่สุด คืออะไร



บ้านเมืองยังไม่ปกติดี

แน่นอนว่าย่อมไม่ใช่ทุกคนที่เห็นด้วยกับน้องๆเค้า ผมเองก็ไม่ได้เห็นด้วยกับน้องๆเค้า 100 เปอร์เซ็นต์

แต่ผมรู้สึกว่า ในห้วงยามเช่นนี้ “ความเห็นด้วย” มิใช่เรื่องสำคัญที่สุด

สิ่งที่ผมเห็น คือคนหนุ่มสาวกลุ่มหนึ่งที่กล้าหาญ กล้ายืนหยัดในความศรัทธาของตน กำลังจะถูกทำให้หายไปจากความทรงจำของผู้คน ถูกทำให้หมดอนาคตไปทั้งชีวิต เพียงเพราะเขากล้าพูดในสิ่งที่เขาคิด

เหมือนกับ “คน” ทุกคนที่ต้องล้มตาย ต้องถูกกักขัง ในทุกๆการชุมนุมที่ผ่านมา

มันไม่สำคัญเลยว่าสิ่งที่พวกเขาอยากจะพูด เป็นสิ่งเดียวกับที่ผมหรือคุณอยากพูดหรือไม่

สิ่งที่สำคัญคือ เราทุกคน ควรจะมีสิทธิ์เท่าเทียมกันที่จะพูดมันมิใช่หรือ

มันไม่สำคัญเลย ที่เราอยากเห็นบ้านเมืองในอุดมคติที่แตกต่างกัน
สิ่งที่สำคัญคือการหยืดหยัดเพื่อศรัทธาของตนเองนั้น ล้วนแล้วเป็นการกระทำที่น่านับถือทั้งสิ้นมิใช่หรือ

มันไม่สำคัญเลย ที่เราจะแตกต่างกันในความคิด

ถ้าจิตใจของเราต้องการสิ่งเดียวกัน คือสังคมที่เป็นธรรม และโลกที่ดีขึ้นสำหรับคนทุกคน

เราจะปล่อยให้เพียง “ความคิดไม่เหมือนกัน” เป็นความผิดมหันต์ ที่อนุญาตให้เราปล่อยคนกลุ่มหนึ่ง และอีกหลายๆกลุ่ม ถูกบังคับไปสู่การถูกพันธนาการจองจำ เช่นนั้นหรือ ?

ภาพโดย สรวุฒิ วงศ์ศรานนท์

ในรั้วมหาวิทยาลัย ผมเคยพยายามสู้กับสิ่งที่ถูกเรียกว่าระบบทักษิณ จนมาวันนี้ดูเหมือนว่าสิ่งนั้นจะหายไปแล้ว

แต่ในวันนี้ สังคมเราดีขึ้นแล้วจริงๆหรือ?

สำหรับผม... มันยังไม่ดีพอ

แล้วเราก็ไม่ควรหยุดเดินต่อ เพื่อให้มันดีกว่านี้

ในบรรดาคนหนุ่มสาวที่ถูกจับไป ผมรู้จักน้องคนหนึ่งค่อนข้างดี คือน้อง แมน ปกรณ์ อารีกุล

แมนอายุ 26 ปี เป็นเด็กบ้านนอก เขาเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องกฏหมายที่ดิน 4 ฉบับเพื่อคนจนมานาน ตั้งแต่สมัยรัฐบาลหลายรัฐบาลก่อนๆหน้านี้

หลายคนทวงถามว่านักศึกษาหายไปไหนในสมัยทรราชย์ครองเมือง ผมเองไม่สามารถยืนยันให้กับทุกคนได้ แต่กับแมน ผมกล้าบอกว่าแมนเขาไม่เคยหายไปไหน เขาสู้เรื่องนี้มาตลอด และไม่เคยแคร์ว่ารัฐบาลคือใคร เขาแค่แคร์ว่าความเป็นธรรมคืออะไร และในความคิดของเขา ในสมัยที่เป็นประชาธิปไตย อย่างน้อยพวกเขาก็ยังสามารถออกมาประท้วงได้เรื่อยๆ เทียบกับตอนนี้ที่ไม่มีสิทธิ์เอ่ยเสียงใดๆ

หลายคนคิดว่าการที่ทหารจับนับศึกษาไป ก็เพื่อสร้างความกลัวไม่ให้ใครกล้าออกมาพูดอะไรขัดหูขัดตาอีก

แต่สิ่งที่ผมได้จากแมนและเพื่อนๆ ไม่ใช่ความกลัว แต่คือแรงบันดาลที่จะออกมาพูดเสียงดังๆอีกครั้งว่า “บ้านเมืองยังไม่ปกติดี”

อีกไม่นานนี้ผมก็คาดและหวังว่า จะเริ่มมีการเริ่มล่ารายชื่อ เพื่อให้ปล่อยตัวนักศึกษาทั้ง 14 คนอย่างไม่มีเงื่อนไข

ผมเองขอออกชื่อตัวเองไว้ก่อน ณ ที่นี้

และก่อนหน้านี้ แมน พยายามจะชวนผมไปกินเบียร์เชียร์บอลกัน ซึ่งก็น่าเสียดาย ด้วยความยุ่งในหน้าที่การงาน ผมเองก็ไม่ได้ไปเจอน้องสักที

แล้วรีบออกมากินเบียร์กันนะมึง ไอ้น้อง

คุยกับแม่ของรัฐพล: สังคมไทยในรอบ 10 ปีหล่อหลอมลูกชายเป็นแบบนี้ + จิตใจอันเข้มแข็งของคุณพ่อน้องไผ่




ที่มา ประชาไท

https://www.youtube.com/watch?v=qKjdZM961p0&feature=youtu.be

Published on Jun 29, 2015
สัมภาษณ์เรวดี ศุกโสภณ แม่ซึ่งมาเยี่ยมลูกชาย "รัฐพล ศุภโสภณ" คดีฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. และ ม.116

"ถ้าผู้ใหญ่รับฟังความเห็นของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กแสดงออก เขาก็แสดงออกโดยสันติ ไม่ได้ก่อความวุ่นวาย"

"ลูกพี่ไม่ใช่กบฎแน่นอน และลูกพี่ก็รักชาติ ไม่น้อยไปกว่าทหารใหญ่ๆ"

ส่วนคำถามว่าถูกชักจูงหรือมีเบื้องหลัง เรวดีตอบว่า "ไม่มีค่ะ ขอโทษนะคะ แรงมากเลยเรื่องนี้" "อย่าว่าแต่ใครจะมาชักจูงเลย แม่ชักจูงยังไม่ได้เลย พ่อชักจูงยังไม่ได้เลย เขามีความคิดเป็นของตัวเอง"

"ถามว่าคนที่ชักจูงเขาคือใคร พี่จะตอบให้ชัดๆ ว่าสังคมไทยไงละคะ สังคมไทย 10 ปีมานี้ หล่อหลอมให้ลูกชายพี่ตั้งแต่เป็นนักเรียนม­ัธยม จนกระทั่งเข้ามหาวิทยาลัยกลายเป็นคนแบบนี้ เพราะสังคมไทย เพราะผู้ใหญ่ไทยสร้างปัญหาทิ้งเอาไว้ให้เด­็กต้องรับปัญหานี้ไว้อยู่"



ไผ่และพวกดาวดิน มักร้องร่วมกับชาวบ้าน ตอนนี้พวกเขาปฏิบัติหน้าที่ที่เรือนจำ เลยลองทำหน้าที่แทน เพื่อสื่อถึงเด็กๆและสื่อถึงชาวบ้าน ทุกๆคน ได้นึกถึงความทรงจำที่ดีต่อกันและกัน บทเพลงของสามัญชน ครับ
Posted by นายวิบูลย์ บุญภัทรรักษา on Monday, June 29, 2015
https://www.facebook.com/viboon.bpts/videos/vb.100001991862964/837808772962177/?type=2&theater


เปิดเนื้อหาจม. 13 นักศึกษา-นักกิจกรรมที่ถูกคุมขัง เขียนถึง "ประยุทธ์"




นักศึกษา-นักกิจกรรมชาย 13 คน ที่ถูกคุมขังภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ได้เขียนข้อความด้วยลายมือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีเนื้อหาว่า

"จดหมายจาก 13 เชลย ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า นับเป็นวันที่ 3 แล้ว ที่เราถูกคุมขังภายใต้คำสั่งของหัวหน้าคสช. ที่ 3/2558 ภายในเรือนจำแห่งนี้ แม้เราจะมีอาหารกินครบสามมื้อ แต่ทุกๆ มื้อ ก็เป็นการกินที่ปราศจากเพื่อน และคนที่เรารู้จักที่เคยร่วมโต๊ะอาหาร เราไม่เห็นแววตาพวกเขา และแน่นอนว่าพวกเราคิดถึงพวกเขา แม้ว่าพวกเราจะมีที่หลับนอน มีชายคากันแดดและฝน แต่มันจะไม่เป็นเหมือนบ้าน ไม่มีรอยยิ้มของพ่อแม่ ไม่มีอ้อมกอดอบอุ่นจากคนที่เรารัก แม้ว่าเรายังมีลมหายใจ แต่ก็เป็นลมหายใจที่ไกลห่างจากหนทางของความฝัน ลมหายใจที่เรามีอยู่ในวันนี้ เป็นลมหายใจที่รอคอยการพบกับเสรีภาพในวันข้างหน้า โดยที่เราไม่รู้ เมื่อวันนั้นมาถึง เราจะยังมีความฝันอยู่หรือไม่ แม้เรามีกำลังใจที่เต็มเปี่ยม เมื่อนึกถึงการต่อสู้ของเพื่อน ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ โดยหวังหลักการ 5 ข้อ คือ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ความยุติธรรม การมีส่วนร่วม และสันติวิธี ทั้งนี้ เราอธิษฐานให้พล.อ.ประยุทธ์ ผู้ออกคำสั่งในการจองจำเราได้ตระหนัก และเข้าใจถึงความสำคัญของหลักการดังกล่าว"

ที่มา มติชนออนไลน์

ooo




เนติวิทย์ เรียกร้อง ปล่อยเพื่อนเรา ..ขณะนี้มีนักศึกษา 14 คน ถูกคุมขังอยู่ในคุก



ภาพอึ้ง!ตร.นับพันล้อมตลาด ป้องนายกฯ- รวบ!3นักกิจกรรมการเมืองชู3นิ้วที่เชียงใหม่ ก่อนปล่อยตัว (ไหนว่า ประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนรัฐบาล คสช. ?!?)




ภาพอึ้ง!ตร.นับพันล้อมตลาด ป้องนายกฯ- รวบ!3นักกิจกรรมการเมืองชู3นิ้วที่เชียงใหม่ ก่อนปล่อยตัว

ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.พร้อมคณะรัฐมนตรีเดินทางมายังจังหวัดเชียงใหม่เพื่อร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรนั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้ มีการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุด โดยในช่วงที่นายกรัฐมนตรี เดินทางมาเยี่ยมชมตลาดนัดชุมชนไทยช่วยไทยคนไทยยิ้มได้ "กาดนัดล้านนาเจียงใหม่" บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ มีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด มีการตรวจตราบุคคลเข้า - ออกภายในงานอย่างละเอียดตั้งแต่ประตูทางเข้า โดยผู้ที่จะเข้าไปเยี่ยมชมพื้นที่จัดงานต้องผ่านเครื่องสแกนอาวุธ และมีเจ้าหน้านำสติ๊กเกอร์สีเขียวติดให้กับผู้ร่วมงานทุกคน ภายในงานเองยังมีกำลังเจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกเครื่องแบบกระจายกำลังอยู่จุดต่างๆ เต็มไปหมด

ขณะที่การรักษาความปลอดภัยโดยรอบบริเวณศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการสนธิกำลังของเจ้าหน้าที่ทหารจากมณฑลทหารบกที่ 33 กองทัพภาคที่ 3 เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ และเจ้าหน้าที่อาสารักษาดินแดนของฝ่ายปกครองจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิด (อีโอดี) เดินตรวจหาสิ่งแปลกปลอมเป็นระยะ นอกจากนี้ในพื้นที่จัดงานยังมีฝนตกลงมาอย่างหนัก ส่งผลให้บริเวณโดยรอบมีน้ำแฉะนอง


โดยผู้สื่อข่าวรายงานว่ามีประชาชน 3 คน ถูกจับกุมตัวหลังทำการชู 3 นิ้ว ขณะที่นายกรัฐมนตรีกำลังเดินตลาดอีกด้วย รายงานล่าสุดระบุว่า นักศึกษา นักกิจกรรม 3 คน ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ทั้งในและนอกเครื่องแบบ ควบคุมตัวที่ร้านชาสนิมทุนและนำตัวไปยังสถานีตำรวจภูธรภูพิงคราชนิเวศน์ ทราบชื่อคือ 1.นันทชาติ หนูศรีแก้ว 2.ศศิเทพ ชัยชม 3.พงษ์สวัสดิ์ ขันธะ โดยเจ้าหน้าที่ตั้งข้อสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยใหม่ที่รวมตัวกันจัดกิจกรรมที่หน้าสถานกงสุลสหรัฐอเมริกา




ประชาไท รายงานความคืบหน้าล่าสุด โดยอ้างอิง เฟซบุ๊กแฟนเพจสำนักข่าวประชาธรรม ว่า เวลาประมาณ 18.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจเสร็จสิ้นการสอบสวนและลงบันทึกประจำวัน โดยไม่ได้ตั้งข้อกล่าวหาอะไร หรือพบข้อความที่เข้าข่ายผิด ม.112 ตามที่มีกล่าวถึงกันก่อนหน้านี้ ขณะนี้อยู่รอการตัดสินใจจากทางทหารว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร

ต่อมา เวลาประมาณ 21.00 น. มีรายงานว่า ผู้ถูกควบคุมตัวทั้ง 3 คนได้รับการปล่อยตัวแล้ว โดยไม่มีการตั้งข้อกล่าวหา

ooo


"ประยุทธ์ จันทร์โอชา" ลงพื้นที่เชียงใหม่ เพื่อประชุม ครม.สัญจร
ด้านฝ่ายความมั่นคงเชื่อไม่มีใครออกมาต่อต้าน

เพราะประชาชนส่วนใหญ่เกือบ 95% สนับสนุนรัฐบาล คสช. ประชาชนเข้าใจ และอยากให้ทหารอยู่ปฏิรูปประเทศให้เรียบร้อยก่อนมีการเลือกตั้ง

ระดมตำรวจ-ทหาร กว่า 3,200 นาย (ข่าวตอนแรกบอกว่า 2,000 นาย) คอยอารักขาเข้ม ดูแลคณะรัฐมนตรี

หยุดดัดจริตประเทศไทย

ooo


กลุ่มนศ.สวมหน้ากากรวมร่อนจดหมายถึงรัฐบาลจี้ปล่อยเพื่อนนักศึกษา 14 คน




ที่มา ข่าวสดออนไลน์
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เมื่อเวลา 16.45 น. วันที่ 29 มิ.ย. ที่สะพานนครพิงค์ ใกล้สถานทูตอเมริกา จ.เชียงใหม่ กลุ่มนักศึกษาสวมหน้ากากการ์ตูนรูปหน้าเพื่อนนักศึกษาที่ถูกจับกุมหน้าหอศิลป์จำนวน 14 คน ได้รวมตัวกันพร้อมชูป้ายโดยมีข้อความระบุว่า “ประชาธิปไตยการมีส่วนร่วม” ก่อนที่ตัวแทนจะอ่านจดหมายที่ส่งถึงเพื่อนที่ถูกจับกุม โดยระบุว่า ในฐานะเพื่อน เราไม่สามารถที่จะอยู่เฉยได้ หากเรารู้ว่าเพื่อนเรากำลังตกอยู่ในความยากลำบากและอันตราย วันนี้มีเพื่อนเรา 14 คน อยู่ในคุกในข้อหาที่ไม่สามารถเข้าใจได้ว่าทำผิดอะไร เพื่อนเราต่อสู้และเสียสละเพื่อสิ่งที่พวกเขาเชื่อมั่น ในวันที่เราได้แต่ถามตัวเองว่าคุ้มหรือไม่ที่จะทำอย่างเขา เพื่อนเราทำในขณะที่เราก็รู้ว่า เรากับเขาต่างก็มีภาระหน้าที่ในความเป็นมนุษย์เท่าๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรหน้าที่ของเพื่อนก็คือสนับสนุนในสิ่งที่เพื่อนคิด และสิ่งที่พวกเขาเชื่อ ยอมรับที่จะเป็นเพื่อนกับพวกเขาไม่ว่าจะเป็นอย่างไร แม้ตอนนี้เราจะไม่ได้ร่วมทุกข์ แต่การร่วมสุขที่เคยมีกันมา ทำให้เราไม่อาจทำให้โลกนี้ว่างเว้นความสวยงามจากพวกเขาได้

การออกมาเรียกร้องของเราในวันนี้ ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่า การทำหน้าที่ของเพื่อนเวลาที่เห็นเพื่อนเราโดนรังแกจากความไม่ยุติธรรม เราไม่เข้าใจว่า เพราะเหตุใดรัฐจึงเห็นเยาวชนของชาติที่ยึดถือหลักการ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ความยุติธรรม การมีส่วนร่วมและสันติวิธีว่า เป็นบุคคลที่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศชาติ ความโหดร้ายที่เกิดขึ้นกับเพื่อนของเราวันนี้มันไร้เหตุผลเกินว่าที่จะเชื่อว่านี่คือความเป็นจริง

หากนี่เป็นยามค่ำคืนที่มืดมิดในยามที่เราหลับตา นี่คือฝันร้ายที่เพื่อนของพวกเราและคนรุ่นเราต้องพบเจอ เพียงแต่ฝันร้ายที่พวกเราพบเจอนี้ไม่อาจหายไปเมื่อเราตื่นขึ้น มีเพียงทางเดียวที่เราจะหลุดจากฝันร้ายนี้ได้ คือร่วมกันฝ่าฟันฝันร้ายนี้ไปด้วยกัน เราไม่อาจที่ฝันให้โลกของเราสวยงามอย่างที่เราต้องการ ฝันที่ดีสุดของเรา ณ เวลานี้คือ เราอยากให้เพื่อนของเราเป็นเพื่อนกับคนทุกคน เราอยากให้คนทุกคนเข้าใจว่าพวกเขาเป็นเพียงคนธรรมดาคนหนึ่งที่พร้อมจะเป็นเพื่อนกับใครก็ตามที่มีความฝันความเชื่อแบบเดียวกับพวกเขา เราหวังเพียงให้ทุกคนเข้าใจว่าพวกเขาไม่เคยทำความผิดเพียงพอที่จะเป็นเหตุผลให้พวกเขาโดนจำกัดเสรีภาพ

ใช่ เราทุกคนต่างเคยพลัดพรากจากสิ่งที่เรารัก คนที่เรารัก แต่เราไม่ได้อาลัยพวกเขาเพราะพวกเขาเป็นคนที่เรารักเท่านั้น แต่ความรักที่มากกว่าความรักใครเพียงคนใดคนหนึ่งเพื่อตัวเอง คือ ความรักที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เกินกว่าตัวของเขาต่างหากที่ทำให้ไม่ว่าอย่างไรเราก็จะอยู่เคียงข้างพวกเขา เราเพื่อนกัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในตอนแรกกลุ่มนักศึกษาดังกล่าวได้นัดรวมตัวกันที่บริเวณตลาดวโรรส แต่ภายหลังจากที่มีการตรึงกำลังทหารที่บริเวณตลาด ทำให้กลุ่มดังกล่าวเปลี่ยนแปลงสถานที่เป็นบริเวณเชิงสะพานนครพิงค์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แทน ซึ่งภายหลังจากอ่านจดหมายถึงเพื่อนก็ได้แยกย้ายเดินทางกลับทันที


ooo



ที่มา มติชนออนไลน์




...


นักศึกษาจากปัตตานีร่วมสู้ด้วย




วันจันทร์, มิถุนายน 29, 2558

มติชนวิเคราะห์การเมือง: "ยาแรง" ออกฤทธิ์ ท่าทีจาก "มหามิตร" ปฏิกิริยาต่อ "เกมยาว"



ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สถานการณ์การเมืองไม่สะดวกสบาย ชวนให้ "หุดหิด" ในอารมณ์อยู่พอสมควร

"ข่าวดี" ในภาพรวมก็คือ ไม่มีการชุมนุมประท้วงแบบเผชิญหน้า ไม่มีปิดถนน ไม่มีการ์ดมาเดินข่มขวัญผู้คน ไม่มีเวทีที่โหมกระหน่ำความเกลียดชังระหว่างคนในชาติเดียวกัน ฯลฯ

แต่ "ข่าวร้าย" ก็คือ "การเมืองรูปแบบพิเศษ" ที่เชื่อกันว่าจะเป็น "ยาแรง" ใช้แก้ปัญหา ช่วยในการปฏิรูปประเทศ กำลังออกฤทธิ์ในทางตรงข้าม

และจะเป็น "ผลโดยตรง" หรือ "ผลข้างเคียง" ก็ไม่ทราบ แต่ที่แน่ๆ มันได้กลายเป็น "เงื่อนไข" ให้ต่างชาติใช้เป็นข้ออ้าง ในการจำกัดความร่วมมือ การช่วยเหลือ

ความจำกัดเหล่านี้ ขยายตัวและแพร่กระจายออกไปเรื่อยๆ

ประเทศไทยเคยมีภาพเป็นประเทศเสรีนิยม เปิดกว้างต่อมิตรสหาย ไปมาหาสู่กันอย่างสะดวก

สงครามสีภายใน รัฐประหาร 2 ครั้งในรอบไม่ถึง 10 ปี เขยื้อนประเทศไทย จนเป็นอย่างที่เห็น

การเมืองพลิกเปลี่ยน เป็นการเมืองภายใต้การควบคุม รวมศูนย์อยู่ที่ คสช. มีกลไกสำคัญคือ "แม่น้่ำ 5 สาย" มาจากการแต่งตั้ง สรรหา

ความยุ่งเหยิงภายใน อย่างต่อเนื่องตั้งแต่รัฐบาลก่อน ทำให้ปัญหาหลายๆ อย่างถูกละเลย ไม่มีการบริหารจัดการ ไม่มีคนดูแล

กว่าจะรู้ตัวก็กลายเป็นชาติที่มีปัญหาค้ามนุษย์ มีปัญหาการควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยทางด้านการบิน

เศรษฐกิจดำดิ่ง แม้ทีมเศรษฐกิจปลุกพระท่องคาถาว่าฟื้นแล้วๆ แต่หาคนเชื่อได้ยากเต็มที

เกิดปัญหา "ภัยแล้ง" ไม่น่าเชื่อว่าประเทศเกษตรกรรมชั้นนำของภูมิภาค ประเทศส่งออกข้าว มีระบบชลประทาน คู คลอง ส่งน้ำทั่วถึง มีเขื่อน ฝาย มากมาย

กลับต้องมาแห่นางแมวขอฝน แย่งกันสูบน้ำจนคลองแห้งเป็นสายๆ อยู่ๆ น้ำหมดเขื่อน

ข้าวเป็นล้านๆ ไร่ ยืนต้นแห้งรอฝน

ทุกข์ร้อนที่เกิดขึ้น ไม่มีกลไกรับรู้ที่รวดเร็วพอ บุคคลที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปแก้ไข ก็โดนมองเป็นเรื่อง "การเมือง"

เป็น "ผลด้านลบ" ที่เกิดขึ้น และเป็นภาระหนักยิ่งกว่าหนักของ "คสช."

ขณะที่ในทางการเมือง การจำกัดสิทธิ ข้อห้ามการแสดงออก แม้จะเป็นที่ชื่นชมของผู้สนับสนุนการรัฐประหาร

แต่ในอีกด้านหนึ่ง ผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารก็มีไม่น้อย

โดยเฉพาะผู้ที่เชื่อว่า ปัญหาบ้านเมืองแก้ไม่ได้ด้วยการยกอำนาจให้คนกลุ่มเดียว

แต่จะต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม เมื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนับสนุน ก็ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ที่เห็นต่าง

ทำให้วันที่ 24 มิ.ย. อันเป็นวันเริ่มต้นของประชาธิปไตยในประเทศไทย ของปีนี้ มีความหมายมากเป็นพิเศษ

ขณะที่นักการเมืองส่วนมากปิดปาก ระวังตัวแจ เพราะไม่อยากถูกเชิญตัวไปปรับทัศนคติ สนทนาปัญหาบ้านเมือง

ถ้าเคลื่อนไหว ก็ออกไปในทางเดินสายไหว้พระ สะเดาะเคราะห์ ชิมมะยงชิด ทุเรียน อย่าง น.ส.ยิ่งลักษณ ชินวัตร

กลายเป็นบทบาทของคนรุ่นใหม่ อย่างกลุ่มดาวดิน หรือนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เรียกร้องประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ กันแบบตรงๆ

หรือนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในนามกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย

ล่าสุด สองกลุ่ม รวมตัวกันในนาม "ขบวนการประชาธิปไตยใหม่"

ขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจพยายามก่อนเข้าควบคุมตัว 14 นักศึกษาตามหมายจับในวันที่ 25 มิถุนายน

หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แสดงความไม่พอใจ กล่าวเตือนหลายครั้ง

น่าสังเกตว่าจำนวนคนออกมาเคลื่อนไหว มีไม่มากนัก แต่มีผลสะเทือนสูง

อาจเป็นเพราะมีผู้คนที่มีความรู้สึกร่วมจำนวนมากที่ไม่แสดงตัว แต่ติดตามข่าวสารจากโซเชียลมีเดีย และสื่้ออื่นๆ

ภาพการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ กลายเป็นประเด็นของการใช้อำนาจรัฐ เข้าจัดการกับฝ่ายที่เรียกร้องสิทธิเสรีภาพ

ข้อสรุปง่ายๆ ที่เกิดขึ้นก็คือ ไม่คุ้มและไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายที่กุมอำนาจอย่างแน่นอน

ประวัติศาสตร์การเมืองชี้ว่า การรัฐประหารที่ผ่านมา หากเข้าเร็วออกเร็ว การลงจากหลังเสือ ปล่อยวางเปิดทางให้ระบบปกติทำงาน จะไม่มีปัญหามากนัก

เพราะรัฐประหารเป็นวิธีการที่ใช้ได้ชั่วคราว ยิ่งยืดเวลานาน จะยิ่งสร้างความเสียหาย

แต่เมื่อสรุปกันว่า รัฐประหาร 2549 เป็นรัฐประหาร "เสียของ" จึงเกิดแนวคิดที่จะไม่ให้เสียของ นำไปสู่ความพยายามยืดอำนาจ ด้วยข้ออ้าง "ปฏิรูปอีก 2 ปีก่อนเลือกตั้ง"

ความพยายามดังกล่าว เป็นที่รับรู้กันทั่วไป ยิ่งเมื่อเกิดการเคลื่อนไหวขอไฟเขียว คสช.เพื่อตั้ง "กาสิโน" ซึ่งจะมีเงินทองเข้ามาเกี่ยวข้องจำนวนมาก และมีผู้ระบุถึงการตั้งพรรคใหม่ ยิ่งทำให้เกิดคำเล่าลือถึงการสืบทอดอำนาจ

การเคลื่อนไหว 24 มิ.ย. เป็นภาพสะท้อนปฏิกิริยาภายในประเทศ ขณะที่ในต่างประเทศก็เต็มไปด้วยปฏิกิริยาเช่นกัน

อาทิ คำแถลงของนายเกล็น เดวีส์ ว่าที่เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ต่อกรรมาธิการฝ่ายกิจการต่างประเทศของวุฒิสภาสหรัฐ เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. บ่งบอกถึงท่าทีของสหรัฐต่อสถานการณ์พิเศษในประเทศไทย อย่างตรงไปตรงมา

โดยย้ำว่าการจำกัดความสัมพันธ์บางด้านกับไทย การระงับความช่วยเหลือบางประการต่อประเทศไทย จะดำเนินต่อไปจนกว่าไทยจะมีการบริหารประเทศโดยรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย

ในหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ยังไม่ชัดเจนว่าคสช.จะเลือกเกมยาวหรือเกมสั้น

ตัวชี้วัดคือ ร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสปช.ในเดือนกันยายนนี้

การเมืองประเทศไทย จะคาราคาซังในลักษณะนี้อีกพักใหญ่

ตราบเท่าที่คนไทยส่วนหนึ่ง ภาคราชการและองค์กรอิสระ ยังหวาดหวั่นว่า การกลับสู่การเมืองปกติ มีการเลือกตั้ง จะทำให้ "ทักษิณ" หรือเครือข่ายกลับมาอีกครั้ง

ขณะที่พรรคการเมืองเอง ยังไม่ได้ปฏิรูปตัวเอง ไม่ปรับเปลี่้ยนสร้างความหวัง ให้ความเชื่อมั่นแก่สังคมว่าจะเป็นพรรคการเมืองของประชาชนอย่างแท้จริง

พรรคหลักๆ อย่างพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ที่แข่งขันกันแบบไม่เผาผี แต่เอาเข้าจริงก็ก้าวไม่พ้นการยึดถือในตัวบุคคล

ใครก็ตามที่เข้ามารับผิดชอบแก้ปัญหาที่มี "องค์ประกอบ" ยุ่งเหยิง หากคลำไม่เจอ"ปม" อันเป็นหัวใจ และเริ่มต้นจากจุดนี้

คงจะต้องเดินวน รอเวลาเสียของอีกครั้ง


ที่มา : มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 28 มิถุนายน 2558

วันอาทิตย์, มิถุนายน 28, 2558

เราคือเพื่อนกัน




จากนิ้วกลม ‪#‎ทีมนักศึกษา‬ ‪#‎ปล่อยตัวนักศึกษาทันที‬
Shared จาก Sarawut Hengsawad

ที่มา เพจ พลเมืองโต้กลับ Resistant Citizen

เราคือเพื่อนกัน

1

เพื่อนๆ ผู้อ่านครับ

สมมุติว่า อยู่มาวันหนึ่งมีบริษัทแห่งหนึ่งได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองทองคำบริเวณใกล้บ้านของคุณซึ่งตั้งรกรากมาเนิ่นนาน เขาเริ่มผลิตและแต่งแร่ ไม่นานนัก สารเคมีที่ใช้ในการผลิตเริ่มรั่วซึมมาตามลำธารสาธารณะ ส่งผลกระทบมาถึงบ้านของคุณ หมู่บ้านของคุณ เพื่อนบ้านของคุณ พ่อแม่พี่น้องของคุณ ผู้คนพันกว่าครอบครัว เกือบสี่พันคน ต้องเจ็บป่วย และยังต้องกินอาหารปนเปื้อนสารเคมีอยู่ทุกวัน

เพื่อนๆ จะทำอย่างไรครับ

โชคร้ายที่เหตุการณ์สมมุติที่ว่าเป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นที่ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

โชคร้ายที่เสียงของชาวบ้านที่นั่นอาจไม่ดังเท่าเสียงของเพื่อนๆ ผู้เชี่ยวชาญการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย

ในปี 2556 ชาวบ้านบริเวณนั้นหกหมู่บ้านรวมตัวกันในนามกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิด เพื่อยื่นฟ้องศาลปกครองกลาง เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและอธิบดีกรมอุตสาหกรรมและการเหมืองแร่ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลให้บริษัทที่ทำเหมืองแร่ดำเนินการตามเงื่อนไขประทานบัตรและใบอนุญาตประกอบโลหกรรมที่ต้องทำเหมืองโดยไม่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน

แต่แล้ว ผลลัพธ์คือการไล่ทุบตี จับชาวบ้านมัดมือไพล่หลัง จนบาดเจ็บสาหัสหลายราย

หลังรัฐประหาร คสช. ได้มอบหมายให้หน่วยทหารในพื้นที่เข้ามาดูแลกรณีเหมืองทองคำ มีการแต่งตั้ง ‘คณะกรรมการแก้ไขปัญหาเหมืองทองคำจังหวัดเลย’ 4 ชุด ซึ่งชาวบ้านกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดไม่เห็นด้วย และขอให้มีการแก้ปัญหาตามข้อเสนอของประชาชน ด้วยเหตุผลว่าการแก้ปัญหาที่กระทบกับชีวิตของพวกเขานั้นควรให้พวกเขาได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

แต่แล้ว ผลลัพธ์คือแกนนำกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดและนักศึกษาที่ร่วมเรียกร้องถูกเรียกไปรายงานตัวเพื่อปรับทัศนคติ

และกลุ่มนักศึกษาที่ว่านี้คือนักศึกษาที่เรารู้จักพวกเขาในนาม ‘ดาวดิน’ นักศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งออกค่ายเรียนรู้สังคม พวกเขาลงพื้นที่กับชาวบ้านรอบๆ เหมืองทองคำอำเภอวังสะพุงต่อเนื่องหลายปี จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง ศึกษาข้อมูลและทำงานร่วมกับชาวบ้านมาโดยตลอด มิใช่แค่ในสมัยของรัฐบาลนี้เท่านั้น

สำหรับชาวบ้านบริเวณนั้น ดาวดินจึงไม่ต่างจากลูกๆ หลานๆ ที่มาช่วยเหลือกัน ดูแลกัน ห่วงใยกัน

หลังรัฐประหาร การเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้เรื่องเหมืองทองคำถูกจำกัดมากขึ้น และมักถูกโยงกับเรื่องการเมืองเสมอ ทั้งที่โดยพื้นฐานแล้วเป็นการต่อสู้เพื่อคุณภาพชีวิตของชาวบ้านแท้ๆ

จากที่เสียงเบาอยู่แล้ว ก็กลายเป็นแทบจะส่งเสียงไม่ได้ เอาง่ายๆ คนเมืองอย่างเราๆ แทบไม่เคยได้ข่าวคราวของชาวบ้านที่อำเภอวังสะพุงเลยแม้แต่น้อย

ครั้งหนึ่ง ในปี 2556 ขณะที่ตำรวจชุดปราบจราจลจะเข้าสลายชาวบ้านที่มาชุมนุมเพื่อร่วมรับฟังความคิดเห็น หลังจากฝ่ายรัฐกันไม่ให้คนเห็นแย้งเข้าไปแสดงความคิดเห็น อนุญาตเพียงคนที่เห็นด้วยเข้าไปฝ่ายเดียว เมื่อถึงนาทีเผชิญหน้ากัน นักศึกษาดาวดินตั้งแถวเป็นกำแพงมนุษย์เพื่อปกป้องชาวบ้านจากกำลังของเจ้าหน้าที่

นักศึกษาช่วยชาวบ้านที่เดือดร้อนต่อสู้กับอำนาจรัฐและอำนาจทุน

เพื่อนๆ ครับ ถ้าเราเป็นชาวบ้านที่อำเภอวังสะพุง เราจะรู้สึกกับนักศึกษาเหล่านี้อย่างไร

...

2

กาลครั้งหนึ่ง สมัยที่ยังเรียนอยู่ที่คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ผมมีโอกาสได้อ่านนิตยสาร ‘สารคดี’ ฉบับพิเศษ ‘14 ตุลา 2516’ ระหว่างไล่สายตาไปตามเรื่องราวในนั้น ผมเกิดคำถามในใจว่า ทำไมหนุ่มสาวในยุคสมัยนั้นจึงได้มีเรี่ยวแรงกำลังและความใฝ่ฝันต่างจากหนุ่มสาวในรุ่นเราเหลือเกิน

ความใฝ่ฝันของพวกเขาเป็นเรื่องระดับสังคม ระดับประเทศ มิใช่ความฝันเรื่องความสำเร็จส่วนตัว อยากเข้าทำงานในบริษัทที่มีชื่อเสียง อยากได้เงินเดือนเยอะๆ อยากได้โบนัสปีละหลายเดือน หรืออะไรทำนองนั้น

โจทย์ของพวกเขามุ่งหวังจะเปลี่ยนแปลงสังคมให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น ช่วยเป็นปากเป็นเสียงให้แก่ชาวนา คนยากคนจน ให้ได้รับความเป็นธรรมในชีวิตมากกว่าที่เคย

แล้วพวกเราทำอะไรกันอยู่?

ผมเคยได้ยินผู้ใหญ่หลายคนพูดว่า โจทย์ของการศึกษาในยุคหลังกำหนดไว้เพียงเพื่อรับใช้ทุนนิยม หวังผลิตแรงงาน พนักงาน เข้าสู่ระบบ เพื่อทำงานหาเงินตอบโจทย์ของผู้ประกอบการธุรกิจทั้งหลาย หันไปมองโจทย์ที่อาจารย์หยิบยื่นให้พวกเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ นิสิตอย่างพวกเรานั่งออกแบบเก้าอี้ราคาแพง อินทีเรียโรงแรมหรู สปาห้าดาว กราฟิกดีไซน์เก๋ๆ เท่ๆ แทบไม่มีการออกแบบเพื่อแก้ปัญหาให้คนเล็กคนน้อย หรือเพื่อแก้ปัญหาของคนด้อยโอกาสในสังคม

เหมือนเราอยู่กันคนละโลก

มิใช่ว่านิสิตนักศึกษาไม่อยากใช้วิชาความรู้ช่วยเหลือสังคม แต่เราแทบไม่มีความคิดโหมดนั้น เพราะเราอยู่ในโลกที่ห่างไกลปัญหาของคนเล็กคนน้อยเหล่านั้นเหลือเกิน

แน่นอน โจทย์ที่อาจารย์ให้เราคิดนั้นย่อมเป็นโจทย์ที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพ แต่หากมองอีกแง่หนึ่ง ถ้าเราอยู่ในสังคมเดียวกัน เราก็ควรรับรู้ปัญหาและลองใช้ความรู้ที่ร่ำเรียนมาขบคิดหาวิธีแก้ให้กับเพื่อนร่วมสังคมบ้างมิใช่หรือ แต่เราไม่เคยถูกสอนให้มองไปทางนั้น ทุกวันนี้อาจเริ่มมีบ้างแล้ว

และนี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วไปในมหาวิทยาลัยไทย สายใยเชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างนิสิตนักศึกษากับปัญหาสังคม เรื่องราวของสังคม ความทุกข์ยากของเพื่อนร่วมสังคมนั้นเลือนลางเหลือเกิน

...

3

หลังจากที่นักศึกษากลุ่มดาวดินออกมาเคลื่อนไหวและถูกจับกุมตัวไปขึ้นศาลทหาร เราได้ยินทั้งผู้ใหญ่ในบ้านเมืองและคอมเมนต์ส่วนหนึ่งในเฟซบุ๊กพูดในทำนองว่า “ชื่นชมนักศึกษาที่ทำชื่อเสียงให้กับประเทศในทางวิทยาศาสตร์ การกีฬา ส่วนกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวนี้ขอให้หยุด เพราะทำให้บ้านเมืองไม่สงบ” หรือคำพูดทำนองว่า “เป็นนักศึกษาออกมาโวยวายทำไม หน้าที่ของนักศึกษาคือการเรียน” หรือกระทั่งคำกล่าวที่บอกว่า “หน้าตาพวกนี้ไม่เหมือนนักศึกษา แต่เหมือนอสูรกุ๊ยมากกว่า”

ฟังแล้วก็น่าเศร้าแทนสังคมไทย นักศึกษาที่คิดถึงเพื่อนร่วมสังคม ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม กลับกลายเป็นนักศึกษาที่ผู้ใหญ่ไม่ต้องการ แล้วเราต้องการนักศึกษาแบบไหนกันหรือ?

บางคนเขียนคอมเมนต์ถามนักศึกษาเหล่านี้ว่า “ตอนรัฐบาลโกงกินทำไมไม่ออกมา ไปหดหัวอยู่ที่ไหน” ซึ่งผมคิดว่านี่คือเรื่องเดียวกัน ไม่ว่ารัฐบาลคอร์รัปชั่นที่มาจากการเลือกตั้งหรือรัฐบาลที่ใช้อำนาจอย่างไม่ธรรมที่มาจากการยึดอำนาจก็ควรถูกตรวจสอบทั้งนั้น และกลุ่มดาวดินก็ต่อสู้กับทั้งสองรัฐบาลมาแล้วนี่แหละ

การจับกุมนักศึกษากลุ่มดาวดินจึงมิได้น่าเศร้าเพียงเพราะเจ้าหน้าที่รัฐจับกุมนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมให้ชาวบ้านเท่านั้น แต่การจับกุมเช่นนี้ย่อมสร้างความหวาดกลัวให้กับนักศึกษาและพลเมืองอีกเป็นจำนวนมากที่หวังดีต่อสังคม นับเป็นการตัดตอนความคิด ความฝัน และความหวัง มิใช่เพียงของคนหนุ่มสาว มิใช่เพียงของประชาชน แต่ยังเป็นการตัดตอนความคิด ความฝัน และความหวังของสังคมไทย

เพราะมันบอกกับเราว่าสังคมนี้ไม่ให้คุณค่ากับการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมให้กับเพื่อนร่วมสังคมแม้แต่น้อย

หากยอมปล่อยให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น เราอยากเห็นสังคมเป็นอย่างไรหรือ?

...

4

สังคมที่ผู้คนหัวเราะ เสียดสี ก่นด่า เมื่อนักศึกษาที่ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของชาวบ้านถูกจับนั้นเป็นสังคมประเภทไหนกัน

เราไม่ต้องการพลเมืองที่มีสำนึกเพื่อเพื่อนร่วมสังคมจริงหรือ?

ถ้าครอบครัวของเราต้องดื่มน้ำจากลำธารปนเปื้อนสารเคมี เราไม่ต้องการความเห็นใจจากใครเลยจริงหรือ ถ้าเพื่อนของเราต้องดื่มน้ำปนเปื้อนสารเคมี เราจะยักไหล่แล้วบอกว่าจะร้องแรกแหกกระเชอไปทำไม เราจะอยู่กันอย่างนั้นจริงๆ หรือ?

ถ้าน้องๆ ดาวดินต่อสู้เพื่อเรา เพื่อหมู่บ้านของเรา เราจะมองเขาต่างไปจากตอนนี้ไหม

วันหนึ่งนักศึกษาเหล่านี้อาจทวงถามบางสิ่งเพื่อพวกเราก็เป็นได้ หรือต้องรอให้ถึงวันนั้น เราจึงคิดว่าพวกเขาทำในสิ่งที่ถูกต้อง

สำหรับผมแล้ว ดาวดินเป็นตัวอย่างนักศึกษาที่หาได้ยากในสังคมไทย ทั้งความทุ่มเทและความกล้าหาญของพวกเขา ล้วนแล้วแต่เป็นนักศึกษาที่ควรได้รับการคารวะ ผมนับถือพวกเขาที่มองเห็นชาวบ้านเป็น ‘เพื่อน’ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือชาวบ้านก็เห็นพวกเขาเป็น ‘เพื่อน’ เช่นกัน

สำนึกถึง ‘เพื่อน’ ร่วมสังคมเช่นนี้เองเป็นสิ่งวิเศษกับสังคมโดยรวม เพราะมันสร้างบรรยากาศของการเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน เห็นใจกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันให้เกิดขึ้นในสังคม

ความเป็น ‘เพื่อน’ ที่ว่านี่เองที่ขาดหายไปจากสังคมไทย เพราะเรามัวแต่คิดถึง ‘ประเด็นส่วนตัว’
หลายคนอาจเบื่อการเมือง เบื่อการเคลื่อนไหวเรียกร้อง และชอบที่บ้านเมืองสงบ แต่เราคงต้องถามว่า ‘สงบ’ นั้นสงบของใคร และสงบเพื่อใคร ในเมื่อยังมีคนเสียประโยชน์จากความ ‘สงบ’ ที่ว่านี้ และจำเป็นต้องส่งเสียงออกมาให้คนอื่นได้ยิน จำเป็นต้องต่อสู้เพื่อชีวิตของตัวเอง

เพราะเหตุนี้บ้านเมืองที่สงบไร้สุ้มเสียงเรียกร้องหรือโต้แย้งจึงเป็นโลกสมมุติที่ซุกปัญหาเอาไว้ใต้พรม กดทับเสียงร้องไห้ของคนจำนวนมากเอาไว้ไม่ให้คนส่วนใหญ่ได้ยิน

สงบสุขอยู่เหนือความทุกข์ที่มองไม่เห็น

ด้วยเหตุนี้เอง ประชาธิปไตยจึงสำคัญ เพราะมันเปิดโอกาสให้ทุกเสียงได้พูด ได้ส่งเสียง ได้เรียกร้อง

ทุกเสียงพูดได้ ดังเท่ากัน และสำคัญเท่ากัน

...

5

ก่อนถูกจับกุมตัว นักศึกษาเหล่านี้ใส่เสื้อที่มีตัวหนังสือเขียนว่า “เราคือเพื่อนกัน” ผมคิดว่าคำคำนี้มีความหมายอีกแง่มุมหนึ่งซ่อนอยู่ในนั้นด้วย หาก ‘เพื่อน’ คือคนที่มองเห็นความทุกข์ของกันและกัน และไม่ได้คิดถึงแต่ตัวเอง นักศึกษาเหล่านี้คือเพื่อนของชาวบ้าน คือเพื่อนของประชาชน

‘เรา’ คือประชาชนทั้งหมด

ส่วน ‘ปิศาจ’ หรือ ‘อสูร’ ที่แท้จริงนั้นคือคนที่อยู่ตรงข้ามกับประชาชน ไม่ว่าเขาคือใคร ไม่ว่าจะมาด้วยวิธีไหน เลือกตั้งเข้ามา ยึดอำนาจเข้ามา หากตรงข้ามกับประชาชน ไม่ฟังเสียง ไม่ให้ความสำคัญ ไม่คิดถึงผลประโยชน์ของประชาชนทุกหมู่เหล่าอย่างแท้จริง เราควรยืนข้างกันเพื่อส่งเสียงขับไล่ปิศาจร้ายร่วมกัน

ผู้นำเอง ถ้าเห็นว่าเราคือเพื่อนกัน ถ้าอยู่ข้างประชาชนก็ต้องรับฟังกัน เปิดโอกาสให้ได้แสดงความคิดเห็น นำไปแก้ไข มิใช่จ้องแต่จะจับคนที่ออกมาตักเตือนไปขังหรือปรับทัศนคติ

‘เรา’ ควรสู้กับคอร์รัปชั่นด้วยกัน และสู้กับอำนาจที่ไม่ชอบธรรมด้วยกัน

การสู้กับความไม่ชอบธรรมทุกรูปแบบนั้นจำเป็นด้วยกันทั้งนั้น

อาจมีความเห็นต่าง บ้างไม่ชอบคุณทักษิณ ไม่ชอบคุณประยุทธ์ก็ว่ากันไป (ซึ่งไม่แปลกถ้าใครจะไม่ชอบทั้งคู่) แต่ถ้าเห็นต่างว่าไม่ควรต่อสู้เพื่อคนที่ด้อยโอกาส คนเสียงเบา คนจน หรือไม่ควรให้เขาเหล่านี้แสดงความคิด แสดงออก อันนี้คงเป็นเรื่องใหญ่

สังคมสงบสุขที่เราต้องการน่าจะเป็นสังคมที่ผู้คนสนใจปัญหาและความทุกข์ของกันและกัน รับฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างมีอารยะ มิใช่สงบเพราะปิดปากคนอื่นหรือหรือละเลยไม่ใส่ใจความทุกข์ที่ห่างไกลตัวเอง

สังคมแบบนั้นอาจดูเหมือนสงบ เพียงเพราะเราไม่ได้ยิน หรือไม่สนใจเสียงร้องไห้ของคนอื่น

ในฐานะคนที่อยู่ร่วมสังคมเดียวกัน ‪#‎เราคือเพื่อนกัน‬ มิใช่หรือ

ถ้าไม่เป็นเพื่อนกับประชาชน แล้วเราจะเป็นเพื่อนกับใคร?

...



บรรยากาศหน้าเรือนจำที่นักศึกษาและประชาชนจำนวนหนึ่งได้จุดเทียนให้กับเพื่อนนักศึกษา 7 หอศิลป์ และ 7 ดาวดิน ที่อยู่ในเรือนจำ

หวังว่าพรุ่งนี้ 9.00 น. เราจะพบกันที่นี่อีก ให้กำลังใจน้องของพวกเรา