วันอังคาร, มกราคม 31, 2560

วิ่งเคลื่อนพุง จนกว่าพุงจะยุบและมีประชาธิปไตย บัดนาว สะเทือนความมั่นคง?!? (บก.อาจจะเป็นคนแรกที่โดน ข้อหา ขัดคำสั่ง คสช. ชุมนุมทางการกีฬาเกิน 5 คน)





วิ่งสะเทือนความมั่นคง

ดูเหมือนว่าการวิ่งออกกำลังกายของผมทุกวันอาทิตย์จะสะเทือนความมั่นคงเข้าแล้ว ล่าสุดชื่อผมถูกจัดอันดับเป็นบุคคลที่ต้องถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด

เมื่อวานนายทหารท่านหนึ่งโทรมาเจรจาแสดงความกังวล เช้านี้มิตรสหายที่เป็นตำรวจส่งข้อความว่าชื่อผมปรากฏใน Warroom อีกครั้ง

ผมยืนยันว่าจะวิ่งจนกว่าพุงจะยุบและมีประชาธิปไตย

..

ถ้ามีการควบคุมตัวผมไปนอนค่ายทหารอีกรอบ เพราะผมออกมาวิ่งเคลื่อนพุงที่สวนลุม

ผมขอว่าอย่าขังผมไว้ในห้องสี่เหลี่ยมแคบ ๆ ให้ผมมีโอกาสไปวิ่งออกกำลังกายในค่ายทหารโดยสมัครใจบ้าง เพราะผมต้องการดำรงความมุ่งหมายที่สำคัญ




สมบัติ บุญงามอนงค์


ข้อเสนอแนะต่อการปรองดองของประเทศไทย โดย แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)





ที่มา FB

Jatuporn Prompan - จตุพร พรหมพันธุ์

ข้อเสนอแนะต่อการปรองดองของประเทศไทย

โดย...แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)

ลงวันที่ 31 มกราคม 2560

1. ความสำคัญและเหตุผลในการทำการปรองดอง ถ้าไม่ทำการปรองดองจะเกิดอะไรขึ้น?

1.1 การแตกแยกทางความคิด อุดมการณ์ แนวทางการเมือง จะลุกลามบานปลาย ไม่ใช่เพียงสังกัดความคิดระหว่างระบอบประชาธิปไตยแบบสากลอารยประเทศแตกแยกเป็นปฏิปักษ์กับกลุ่มสังกัดความคิดระบอบคณาธิปไตย อำมาตยาธิปไตย และสนับสนุนการทำรัฐประหารเท่านั้น แต่ความเป็นปฏิปักษ์ทางความคิดแนวทางการเมืองจะกลายเป็นการต่อสู้แบบอื่น ๆ ที่จะรุนแรงขึ้น ที่ไม่ใช่การต่อสู้ด้วยหลักการเหตุผล การต่อสู้ทางการเมืองอาจกลายเป็นการต่อสู้ไม่ใช่หนทางสันติวิธี เป็นสงครามกลางเมืองก็ได้

1.2 ฝ่ายที่ได้รับชัยชนะโดยยึดครองอำนาจจากการทำการรัฐประหารและสร้างกติกาใหม่ เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ และออกกฎหมายเพื่อใช้บังคับประชาชน รวมความคือการใช้อำนาจทางการทหารและอำนาจทางเขียนกฎหมายใหม่ รัฐธรรมนูญใหม่ ก็ไม่สามารถที่จะเดินหน้าประเทศไทยไปตามที่วางไว้ได้ เพราะฝ่ายที่ต้องการประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชน ไม่ใช่คณะบุคคลแต่เป็นคนส่วนใหญ่และดุลอำนาจจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งฝ่ายยึดอำนาจจากประชาชนก็ไม่ได้รับความร่วมมือจากโลกเสรีประชาธิปไตย ส่งผลสะเทือนถึงก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศ กลายเป็นประเทศล้าหลังและล่มสลายทั้งเศรษฐกิจ การเมือง สังคม

2. เป้าหมายการปรองดอง

2.1 เพื่อให้ประเทศและประชาชนทุกส่วนอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุขแม้จะมีความเห็นต่างกันทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม และสามารถร่วมมือพัฒนาประเทศไทยไปสู่ความสงบสุขและก้าวหน้าเป็นลำดับ

2.2 ให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายใช้หลักการเหตุผลและความเป็นธรรม ความยุติธรรมในการแก้ปัญหาแทนที่จะใช้กำลังความรุนแรง

2.3 ยึดระบอบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนแท้จริง มิใช่เป็นของบุคคลหรือคณะบุคคลใด ๆ ทั้งนี้
เป็นไปตามหลักการของอารยประเทศและอารยชน

3. กระบวนการปรองดอง ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จมากที่สุดคือ

3.1 ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง เต็มใจที่เข้าสู่การปรองดองเพราะตระหนักถึงความเสียหายของประเทศชาติโดยรวมและของทุกฝ่าย รัฐจึงต้องสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมให้ทุกฝ่ายยินดีเข้าสู่การปรองดองและสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้แสดงความคิดเห็นได้เต็มที่

3.2 ควรให้องค์กรที่น่าเชื่อถือทั้งในประเทศและระหว่างประเทศร่วมส่วนหรือสังเกตการณ์ในการตั้งคำถาม การตอบคำถามของฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมทั้งฝ่ายข้าราชการทหารและพลเรือนด้วย

3.3 นำเสนอความคิดเห็นที่รวบรวมได้เสนอต่อสาธารณะอย่างตรงไปตรงมา ปราศจากอคติ เพื่อพิสูจน์ความน่าเชื่อถือของผู้ทำการปรองดอง

3.4 ใช้เวทีสาธารณะและประชาชนทั่วไปในการรับฟังความคิดเห็นต่อการปรองดองและกลั่นกรองให้ได้ฉันทามติเพื่อนำไปสู่การปรองดอง

4. แสวงหารากเหง้าความขัดแย้ง และทำความจริงให้ปรากฎ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาให้ตรงจุดและเกิดผลสัมฤทธิ์ในการปรองดอง โดยหาสมุฎฐานโรคได้เพื่อนำไปสู่การเยียวยาที่ได้ผล

รากเหง้าความขัดแย้งในทัศนะของ นปช.

4.1 ความขัดแย้งทางความคิดและอุดมการณ์ทางการเมือง

(4.1.1 การยึดเอาระบอบการเมืองการปกครองแบบไหน? ฝ่ายหนึ่งต้องการระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามแบบสากลที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ขัดแย้งกับอีกฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย เพราะถือว่าให้เป็นประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ที่อำนาจอธิปไตยยังไม่สามารถเป็นของประชาชนได้สมบูรณ์ ยังต้องการให้คณะบุคคลที่เหมาะสมถืออำนาจเอาไว้ไปจนกว่าจะเห็นควร

4.1.2 การถือเอาบุคคลสำคัญยิ่งกว่าระบบและหลักการการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือ ถือบุคคล เช่น ดร.ทักษิณ ชินวัตร และคณะเป็นปฏิปักษ์ทางการเมืองที่จำเป็นต้องทำลายล้างโดยวิธีใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้หลักการประชาธิปไตยและความยุติธรรมแบบนิติรัฐนิติธรรม (Rule of Law)

4.1.3 ชนชั้นนำและชนชั้นกลางจำนวนหนึ่งในสังคมไทยมีแนวความคิดอนุรักษ์นิยมและอำนาจนิยม (ซึ่งยอมรับการทำรัฐประหารและการจำกัดสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคประชาชน) จึงขัดแย้งกับประชาชนที่มีแนวคิดเสรีประชาธิปไตยซึ่งเป็นกระแสโลกมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา และไม่เห็นด้วยกับการทำรัฐประหารและแก้ปัญหาการเมืองการปกครองที่ไม่ใช่กระบวนการตามระบอบประชาธิปไตย)

4.2 ความขัดแย้งของกลุ่มคนอันเนื่องมาจากผลประโยชน์และอำนาจ

(4.2.1 ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชนชั้นนำเดิมและรัฐข้าราชการกับชนชั้นนำใหม่ที่ช่วงชิงอำนาจผ่านกลไกในระบอบประชาธิปไตยและลุกลามไปสู่ผู้สนับสนุนแต่ละฝ่ายดังที่เกิดขึ้นในทศวรรษนี้

4.2.2 ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชนชั้นนำอนุรักษ์นิยมด้วยกันเอง อาทิ ระหว่างผู้นำทหารกับชนชั้นนำพลเรือนและพรรคการเมืองอนุรักษ์นิยม ดังเช่นกรณี 14 ตุลา 16

4.2.3 ความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองคณาธิปไตยที่ได้มาจากการทำรัฐประหารขัดแย้งกับผู้ถูกปกครองที่ต้องการระบอบประชาธิปไตย ดังที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

4.2.4 ความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ได้มาจากการเลือกตั้งขัดแย้งกับผู้ถูกปกครองที่สนับสนุนฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่พ่ายแพ้ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ดังที่เกิดขึ้นในรัฐบาลไทยรักไทย, พลังประชาชน, เพื่อไทย

ดังนั้นทุกกลุ่มล้วนเป็นคู่ขัดแย้งในสังคมทั้งสิ้น เพราะสถานการณ์ได้ลุกลามจากชนชั้นนำไปสู่ประชาชนที่สนับสนุนแต่ละฝ่าย รวมทั้งกองทัพและข้าราชการพลเรือนระดับบนทั้งหมด ล้วนเลือกวิถีทางที่ลบล้างอำนาจประชาชนในระบอบประชาธิปไตย จึงสนับสนุนระบอบคณาธิปไตยและอำมาตยาธิปไตยที่รัฐข้าราชการเป็นใหญ่กว่าประชาชน 
 
คู่ขัดแย้งหลักในปัจจุบันจึงเป็นความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองในระบอบคณาธิปไตยคือคณะรัฐประหารเจ้าของอำนาจรัฏฐาธิปัตย์ ผู้สนับสนุน อันได้แก่ชนชั้นนำเดิมและรัฐข้าราชการรวมทั้งพรรคอนุรักษ์นิยม ขัดแย้งกับผู้ถูกปกครองที่ต้องการระบอบประชาธิปไตยอันเป็นทั้งเป้าหมายทางการเมืองการปกครองและกระบวนการทางการเมืองการปกครอง

ความขัดแย้งรองเป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำด้วยกันทั้งในฝ่ายอนุรักษ์นิยมเองและกับฝ่ายพรรคการเมืองจากการเลือกตั้งที่เป็นปฏิปักษ์กับพรรคอนุรักษ์นิยม)

5. การทำความจริงให้ปรากฎ ไม่ใช่เป็นการฟื้นฝอยหาตะเข็บ แต่ต้องเป็นการสร้างเงื่อนไขที่ทำให้การปรองดองสัมฤทธิ์ผล เพราะระหว่างความขัดแย้ง คู่ขัดแย้งได้ใช้การโฆษณาและการทำสงครามข่าวสารเพื่อหวังสร้างความเชื่อในหมู่สาธารณชนและคณะตนให้วาทกรรมต่าง ๆ นำไปสู่ผลในการโจมตีอีกฝ่ายเพื่อให้ได้ชัยชนะ โดยไม่สนใจว่าเป็นความจริงหรือไม่ 

ข้ออ่อนของ คอป. คือ คณะอนุกรรมการแสวงหาความจริงมีการเสนอข้อมูลที่ไม่ตรงกับความจริง มีลักษณะอคติ ผลการวินิจฉัยคดีต่าง ๆ ได้พิสูจน์ถึงความผิดพลาดของ คอป.

ข้อแนะนำในการทำความจริงให้ปรากฎต้องเริ่ม

5.1 หยุด HATE SPEECH การพูดจากล่าวหาลอย ๆ ที่เป็นการใส่ความเท็จ การใส่ร้ายป้ายสียุยงให้เกลียดชัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากข้าราชการ, สื่อ, พรรคการเมือง และกลุ่มองค์กรประชาชน

5.2 นำเสนอหลักฐานที่เป็นผลการพิจารณาของศาลล่าสุดและการสืบสวนสอบสวนที่มีมาตรฐานมาเผยแพร่โดยคณะกรรมการที่น่าเชื่อถือในหมู่ประชาชน

5.3 การสารภาพความจริงของผู้กระทำต่อผู้เห็นต่าง การสารภาพผิดจะนำไปสู่การปรองดองที่ดีที่สุด

6. ปัญหาความยุติธรรม

6.1 การใช้ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ Restorative Justice

6.2 การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ ให้ได้รับการยอมรับจากประชาชนทุกฝ่ายด้วยหลักนิติรัฐ-นิติธรรม Rule of Law อย่างเข้มงวด

6.3 รื้อฟื้นและเยียวยาผู้ถูกดำเนินคดีโดยไม่เป็นธรรม

6.4 ยกเลิกการใช้กระบวนการยุติธรรมเพื่อจัดการกับกลุ่มบางกลุ่มที่เห็นต่างกับกลุ่มอนุรักษ์นิยมและรัฐข้าราชการ

"นี่เป็นข้อเสนอและข้อสังเกตเบื้องต้น
เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนการปรองดอง
ที่มุ่งให้เกิดผลจริงยิ่งกว่าพิธีกรรม"




'เนติวิทย์-นิสิตจุฬาฯ' ยื่นโปสการ์ดจากใจถึงปธ.ศาลฎีกาให้สิทธิประกันตัว 'ไผ่ ดาวดิน'





'เนติวิทย์-นิสิตจุฬาฯ' ยื่นโปสการ์ดจากใจถึงปธ.ศาลฎีกาให้สิทธิประกันตัว 'ไผ่ ดาวดิน'

Tue, 2017-01-31 15:15
ที่มา ประชาไท

'เนติวิทย์' ระบุ กรณีถอนประกัน ไผ่ ทำให้ประชาชนเกิดคำถามต่อกระบวนการยุติธรรมอย่างมาก ขอองค์การนักศึกษาทุกมหาวิทยาลัยมีความกล้าหาญที่คุ้มครองสิทธิพลเมืองและรักษาสิทธิของนักศึกษา

นอกจากการยื่นโปสการ์ดถึงประธานศาลฎีกา เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ยังร้องขอความเป็นธรรมจากกรณีที่ ไผ่ ดาวดิน ถูกเพิกถอนสิทธิการประกันตัว พร้อมขอให้ศาลคืนสิทธิประกันตัวแก่เขาด้วย





31 ม.ค. 2560 ที่ สำนักงานศาลฎีกา แจ้งวัฒนะ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. ที่ผ่านมา เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล และเพื่อนนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มหนึ่ง ได้เข้าพบและยื่นหนังสือต่อ วีระพล ตั้งสุวรรณ ซึ่งเป็นประธานศาลฎีกา เพื่อให้พิจารณาการปล่อยชั่วคราวหรือให้สิทธิการประกันตัวแก่ จตุภัทร บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน ซึ่งเป็นผู้ต้องหาคดีหมิ่นประมาทกษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งถูกเพิกถอนสิทธิการประกันตัวในชั้นสอบสวน





ผู้สื่อข่าวรายงานรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับการเดินทางมาในครั้งนี้ เนติวิทย์ ในฐานะนิสิตและกลุ่มเพื่อน ในนาม “เครือข่ายนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวนไม่น้อย ซึ่งรักความเป็นธรรม” โดยพวกขเายังได้รวบรวมโปสการ์ดกว่า 300 ฉบับซึ่งได้เขียนข้อความให้กำลังใจไผ่ด้วยความห่วงใยมาแสดงและยื่นต่อศาลบางส่วนด้วย โดยส่วนที่เหลือจะส่งให้ ไผ่ ต่อไป





เนติวิทย์ ได้อ่านข้อความตอนหนึ่งที่ระบุไว้ในหนังสือว่า กรณีศาลเพิกถอนสิทธิการประกันตัวของไผ่ ซึ่งทนายได้ยื่นอุทธรณ์และฎีกาแล้วนั้น แต่ศาลยังยืนยันตามคำสั่ง และเมื่อวันที่ 20 ม.ค.ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดขอนแก่นได้มีการพิจารณาคดีโดยลับ แม้ว่าทนายความจะโต้แย้งตามหลักสิทธิเข้ารับฟังการพิจารณาคดีได้อย่างเปิดเผย แต่ศาลก็ยืนยันคำสั่งเดิมให้พิจารณาคดีโดยลับ กรณีนี้ทำให้ประชาชนเกิดคำถามต่อกระบวนการยุติธรรมของไทยเป็นอย่างมาก





“ขณะนี้เพื่อนนิสิตในมหาวิทยาลัยได้แสดงความสงสัยต่อการพิจารณาคดีไผ่ และมีความเป็นห่วงต่อไผ่เป็นจำนวนไม่น้อย" หนึ่งในเพื่อนที่มาด้วยกันกับเนติวิทย์ กล่าว

“องค์กรนิสิตนักศึกษาอย่างจุฬาฯก็มีสภานิสิตหรือ องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.)ซึ่งคุ้มครองสิทธิพลเมือง การที่ไผ่ถูกเล่นงานเช่นนี้ หากพวกเรามีสำนึกในหน้าที่ว่าเป็นเสาหลักของแผ่นดิน สภานิสิตควรที่จะออกมาดังกรณีพรบ.คอมพิวเตอร์ ถ้าเรามีความกล้าหาญที่รักษาสิทธิของนิสิต” เนติวิทย์ กล่าว พร้อมระบุด้วยว่าสารนี้ไม่ใช่ส่งถึงแค่จุฬาฯ เท่านั้น แต่ขอส่งต่อไปยังทุกๆ มหาวิทยาลัยอีกด้วย

"พวกเราล้วนต่างเป็นคนไทยที่ถูกความอยุติธรรมรังแก วันนี้อาจเป็นวันของเขา ที่เขาถูกรังแก แต่วันข้างหน้าถ้ากระบวนการยุติธรรมไม่การันตีสิทธิพลเมือง วันข้างหน้าอาจเป็นเรา พี่น้องเรา หรือญาติเราก็ได้" เนติวิทย์กล่าว พร้อมวิงวอนองค์การนักศึกษาทุกมหาวิทยาลัยคุ้มครองสิทธิพลเมืองและพิทักษ์สิทธิของนักศึกษาอย่างดีที่สุด อย่าให้กระบวนการยุติธรรมในประเทศของเราย่ำแย่ไปกว่านี้เลย

คลิป THE DAILY DOSE ชอบใครมากกว่ากัน Trump/Duterte/ประยุทธ?



https://www.facebook.com/DailyDoseTH/videos/1611172328898529/


ทูต 4 ประเทศ เยือนขอนแก่น แสดงข้อกังวลต่อสิทธิในอีสาน




เอกอัครราชทูตประเทศออสเตรีย, ไอร์แลนด์, สวีเดน และนิวซีแลนด์ ประจำประเทสไทย เปิดโอกาสให้กับสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่นสัมภาษณ์ถึงประเด็นต่าง ๆ ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด


ทูต 4 ประเทศ เยือนขอนแก่น แสดงข้อกังวลต่อสิทธิในอีสาน


31/01/2017
ที่มา Isaan Record

ทูตสวีเดน กังวลสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในภาคอีสาน โดยเฉพาะปัญหาสิทธิที่ดิน เสนอให้ไทยพัฒนาแผนการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ด้านทูตนิวซีแลนด์และออสเตรียเชื่อในสิทธิพลเมืองและหลักนิติรัฐเป็นกุญแจสำคัญนำประเทศไทยสู่ประชาธิปไตย

ขอนแก่น – วานนี้ (30 มกราคม 60) เอกอัครราชทูตประเทศออสเตรีย ไอร์แลนด์ สวีเดน และนิวซีแลนด์ ประจำประเทศไทย แสดงความกังวลต่อสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยในภาคอีสาน โดยเฉพาะสิทธิทางการเมืองและเสรีภาพในการแสดงออก ระบุยังติดตามสถานการณ์สิทธิของไทยในระดับรัฐบาลและเวทีสากลอย่างใกล้ชิด

นายสตัฟฟาน แฮร์สเตริม เอกอัครราชทูตสวีเดน ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาเรื่องสิทธิในที่ดิน ถือเป็นปัญหาหลักของภาคอีสานในตอนนี้ จึงเสนอให้ประเทศไทยพัฒนาแผนการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน และระบุว่า ในเวทีทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย หรือ Universal Periodic Review (UPR) ประเทศสวีเดนยังได้เสนอให้รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพการแสดงออกทางการเมืองให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่ยอมรับคำแนะนำของประเทศสวีเดนในเรื่องสิทธิเสรีภาพการแสดงออกทางการเมือง แต่ยอมรับในคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดทำแผนระดับชาติสำหรับการทำธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับหลักการสิทธิมนุษยชน

ทั้งนี้ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้ทำการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย หรือ Universal Periodic Review (UPR) ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2559 ซึ่งจัดทำภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights Council- HRC) โดยถือเป็นหนึ่งในกลไกที่ประเทศสมาชิกสหประชาชาติทั้ง 192 ประเทศ ต้องทำการพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะต่อรัฐไทยในการปกป้อง คุ้มครองสิทธิมนุษยชน

ด้าน นายเอนโน่ โดรเฟนิก เอกอัครราชทูตออสเตรีย ประจำประเทศไทย กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะเรื่องสถานการณ์เกี่ยวกับสิทธิทางการเมืองของพลเมือง ซึ่งได้ใช้เวลาในหารือปัญหาเหล่านี้กับผู้มีอำนาจในรัฐบาลหลายครั้ง แต่ไม่ขอเปิดเผยความเห็นเหล่านี้ต่อสาธารณชน

สำหรับ นายเบน คิง เอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า นิวซีแลนด์และสหภาพยุโรปต่างมีคำแนะนำเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนต่อประเทศไทย เพราะไม่เพียงแค่สิทธิพลเมืองและการเมืองเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสิทธิทางสังคมและเศรษฐกิจที่ประเทศไทยควรให้ความสำคัญอีกด้วย

เอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ กล่าวว่า สำหรับประเทศนิวซีแลนด์ มีจุดยืนในเรื่องหลักนิติรัฐ สิทธิมนุษยชน สิทธิพลเมืองและสิทธิการเมืองในระดับสากลเหมือนกับมิตรประเทศในสหภาพยุโรปมาหลายทศวรรษแล้ว ดังนั้นกระบวนการ UPR จึงถือเป็นวิธีการที่ดีสำหรับสังคมโลกที่จะทำงานติดตามสถานการณ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนร่วมกัน

ทั้งนี้ เอกอัครราชทูตประจำประเทศออสเตรีย, ไอร์แลนด์, สวีเดน และนิวซีแลนด์เปิดโอกาสให้กับสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่นสัมภาษณ์ถึงประเด็นต่าง ๆ ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด เมื่อวันที่ 30 มกราคมที่ผ่านมา และเข้าพบหน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งรวมถึงการเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้อำนวยการสถาบันความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง และประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น เพื่อพูดคุยถึงความสัมพันธ์ทวิภาคีกับไทย

ทั่นพู้นัมถาม ถ้าไปหมักเบียร์ข้างๆส้วมกินไหม? (ยันไม่ได้ห้ามแต่จำเป็นต้องมีสาธารณสุขที่ดี) - Prayuth Says - Don’t Brew Beer at Home (or in Toilet),



ooo


DON’T BREW BEER AT HOME (OR IN TOILET), PRAYUTH SAYS




Gen. Prayuth Chan-ocha is what you might call a water man, at July 26, 2016 photo taken at the Government House in Bangkok. Photo: Government House


By Asaree Thaitrakulpanich, Staff Reporter
- January 31, 2017
Khaosod English

BANGKOK — Gen. Prayuth Chan-ocha used his podium at Government House on Tuesday afternoon to slam craft beer, saying rules forbidding making beer at home ensure hygiene and safety.

Long-brewing sentiments frothed into public consciousness last week when a man was arrested for making and selling from his Nonthaburi home, leading the junta chief to pour cold water on calls for more freedom in the market.

“There used to be a lot of moonshine going around. Could they control the quality, the hygiene, or the strength of it? Big breweries can but can small brewers?” Prayuth said.

Read: Thai Craft Beer’s New Strategy: Keep Brewing Until Law Catches Up

That’s why the law only allows alcohol produced in factories by well-capitalized breweries, he said.

“You can’t just brew it in the back of a shop, in the back of your house, or in your toilet,” Prayuth said. “There have to be rules and regulations.”

Nonetheless, he said that he was not taking a side on the issue.

According to the 1950 Liquor Act, booze can only be made in a proper factory or brewpub. A 2000 Finance Ministry regulation said brewers must produce over 100,000 liters per year and be a limited company with at least 10 million baht in capital to gain legal status.

Related stories:

Court Fines Man Arrested for Operating Home Microbrew
Thai Craft Beer’s New Strategy: Keep Brewing Until Law Catches Up

ooo


กลุ่มผู้ผลิตคราฟต์เบียร์รายย่อย เตรียมยื่นข้อเสนอต่อกรมสรรพสามิต พิจารณาความเป็นไปได้ในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้การผลิตคราฟต์เบียร์ของผู้ประกอบการรายย่อยในประเทศไทย ทำได้อย่างถูกกฎหมาย

วันนี้ (31 ม.ค.) นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร และผู้ผลิตคราฟต์เบียร์รายย่อยอีกหลายคน ได้เข้าหารือกับผู้บริหารกรมสรรพสามิต เกี่ยวกับข้อกฎหมายการผลิตคราฟต์เบียร์อย่างถูกต้องของผู้ประกอบการรายย่อย โดยเฉพาะการขอให้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการผลิตคราฟต์เบียร์ของผู้ประกอบการรายเล็ก

นายเท่าพิภพ กล่าวว่า กรมสรรพสามิต ได้ให้ทางกลุ่มผู้ผลิตคราฟต์เบียร์ กลับไปจัดทำรายละเอียด ข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และให้ยื่นกลับมาอีกครั้งภายใน 2 สัปดาห์นี้ ซึ่งกรมฯ ยอมรับว่าเป็นเรื่องยาก แต่จะขอพิจารณาข้อเสนอก่อน

ส่วนการหารือเป็นการส่วนตัวกับ ต๊อด ปิติ ภิรมย์ภักดี กรรมการผู้จัดการธุรกิจซัพพลายเชน บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์สิงห์ เมื่อวานนี้(30 ม.ค.) นายเท่าพิภพ กล่าวว่า ต๊อด ปิติ ได้ให้คำแนะนำเรื่องการรวมกลุ่มตั้งเป็นชมรมผู้ผลิตคราฟต์เบียร์ รวมถึงการตั้งโรงเบียร์ใหม่ โดยพร้อมสนับสนุนด้านโนฮาวด์ และให้"บรู มาสเตอร์" ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการปรุงเบียร์ที่มีคุณภาพ มาคอยให้คำแนะนำ เพิ่มเติม

ด้านพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับพิจารณาข้อเสนอแก้ไขกฎหมายสุรา เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการหน้าใหม่ผลิตคราฟต์เบียร์ แต่ต้องไม่มีผลกระทบด้านอื่น พร้อมยืนยันว่าไม่ได้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องการควบคุมปริมาณแอลกอฮอล์ ไม่ให้ส่งผลไปถึงอุบัติเหตุ เมาแล้วขับ รวมถึงปัญหาอาชญากรรม

สำหรับเงื่อนไขกฎหมายสุรา อนุญาตให้มีการทำเบียร์ได้ 2 ประเภท คือ 1.หากเป็นโรงงานขนาดใหญ่ ต้องมีปริมาณการผลิตไม่ต่ำกว่า 10 ล้านลิตรต่อปี และ 2.โรงเบียร์ขนาดเล็กประเภทผลิตเพื่อขาย ณ สถานที่ผลิต หรือ บรู ผับ (Brew Pub) โดยให้บริโภคภายในพื้นที่ผลิต ไม่อนุญาตให้บรรจุขวดและต้องผลิตในปริมาณขั้นต่ำที่ 1 แสนลิตร แต่ไม่เกิน 1 ล้านลิตรต่อปี ทั้งนี้ การผลิตเบียร์ทั้งสองประเภท ผู้ผลิตจะต้องเป็นบริษัทที่จดทะเบียนด้วยเงินทุนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท


ที่มา
ooo




https://www.facebook.com/ThaiCraftBeerLiberation/videos/1837244363219703/


คดี ‘ชายชุดดำ ปี 53’ ศาลสั่งจำคุก 10 ปี 2 จำเลย อีก 3 ยกฟ้องแต่สั่งขังระหว่างอุทธรณ์





คดี ‘ชายชุดดำ ปี 53’ ศาลสั่งจำคุก 10 ปี 2 จำเลย อีก 3 ยกฟ้องแต่สั่งขังระหว่างอุทธรณ์

Tue, 2017-01-31 18:05
ที่มา ประชาไท

คดีประวัติศาสตร์ “ชายชุดดำ” ถูกฟ้องข้อหาครอบครองและพกพาอาวุธสงคราม จำคุก 10 ปี 2 คน อีก 3 ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยแต่ให้ขังระหว่างอุทธรณ์ 1 ในนั้นเป็นแม่ค้าขายไข่เจียว จำเลยทั้ง 5 ถูกจับหลัง รปห.57-เคยร้องเรียนถูกซ้อม ติดคุกมาแล้ว 2 ปีกว่า ด้าน ‘ศรีวราห์’ ดีใจศาลลงโทษ แสดงว่ามีชายชุดดำจริง ‘วิญญัติ’ โต้คดีนี้สร้างความชอบธรรมให้ ศอฉ. พร้อมตั้งคำถามความน่าเชื่อถือของพยาน

31 ม.ค.2560 ที่ห้อง 801 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาคดี “ชายชุดดำ” ซึ่งมีจำเลย 5 คนหนึ่งในนั้นเป็นผู้หญิง ทั้งหมดถูกแจ้งข้อหาร่วมกันมีอาวุธ เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตและพกพาอาวุธไปในที่ชุมชน เหตุเกิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ระหว่างปฏิบัติการ “ขอคืนพื้นที่” ของ ศอฉ. หรือที่เรียกกันว่า การสลายการชุมนุมของกลุ่ม นปช.ซึ่งในวันดังกล่าวมีผู้เสียชีวิตเป็นประชาชน 21 ราย เป็นทหารที่ปฏิบัติการ 5 นาย หนึ่งในนั้นคือ พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม (ยศขณะนั้น) ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 มีความผิดตามฟ้อง จำคุกคนละ 10 ปี ส่วนจำเลยที่ 3,4,5 นั้นยังมีเหตุแห่งความสงสัยจึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย พิพากษายกฟ้อง แต่ให้ขังระหว่างอุทธรณ์ ภายหลังศาลอ่านคำพิพากษาญาติผู้ต้องขังทั้ง 5 พากันร่ำไห้ ขณะที่ทนายจำเลยเตรียมยื่นอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1-2 และเตรียมทางช่องทางยื่นประกันตัวจำเลยที่ 3-5 ซึ่งทนายระบุน่าจะต้องใช้หลักทรัพย์ค่อนข้างสูงแต่ครอบครัวจำเลยล้วนมีฐานะยากจน

ทั้งนี้ จำเลยทั้งห้าได้แก่

จำเลยที่ 1 นายกิตติศักดิ์ สุ่มศรี หรืออ้วน อายุ 47 ปี อาชีพ รับจ้าง (ขับรถตู้วิน)

จำเลยที่ 2 นายปรีชา อยู่เย็น หรือไก่เตี้ย อายุ 27 ปี อาชีพ รับจ้าง

จำเลยที่ 3 นายรณฤทธิ์ สุวิชา หรือนะ อายุ 35 ปี อาชีพ รับจ้าง

จำเลยที่ 4 นายชำนาญ ภาคีฉาย หรือเล็ก อายุ 47 ปี อาชีพ รับจ้าง

จำเลยที่ 5 นายปุณิกา ชูศรี หรืออร อายุ 41 ปี อาชีพรับจ้าง (แม่ค้าขายข้าวแกง)

ผู้ต้องหาระบุถูกซ้อมให้รับสารภาพ

จำเลย 5 ถูกจับกุมตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย.2557 โดยถูกทยอยจับกุมไล่เลี่ยกันแล้วนำไปควบคุมตัวในค่ายทหารหลายวัน ก่อนที่ทหารจะนำตัวส่งตำรวจเพื่อให้แจ้งข้อกล่าวหา จากนั้นถูกคุมขังในเรือนจำเรื่อยมาจนปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 2 ปี 4 เดือน ระหว่างพิจารณาคดีเคยยื่นประกันตัววางหลักทรัพย์คนละ 5 แสนบาท 3 ครั้งแต่ศาลปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่าคดีมีอัตราโทษสูง หากปล่อยชั่วคราวเกรงว่าจะหลบหนี ก่อนหน้าจะมีการสืบพยาน ทนายจำเลยได้เคยร้องขอความเป็นธรรมต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และพนักงานอัยการโดยระบุว่า จำเลยถูกซ้อมทรมานภายในค่ายทหารเพื่อให้รับสารภาพ (อ่านที่นี่)

‘ศรีวราห์’ ยินดีศาลลงโทษ เครื่องยืนยัน “ชายชุดดำมีจริง”

ด้าน พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวน ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า รู้สึกดีใจที่ศาลพิพากษาจำคุกจำเลย 1-2 เพราะทำให้สังคมเห็นว่าชายชุดดำมีจริง พนักงานสอบสวนทำงานเหนื่อย มีผลประโยชน์ต่อประเทศชาติ ไม่ได้ทำตามใบสั่งใคร คดีนี้จะทำให้คดีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด มีน้ำหนักในการพิพากษาต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เท่าที่ตรวจสอบได้พบว่าคดีนี้เป็นเดียวที่มีการจับกุมและดำเนินคดีผู้ต้องหาจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมวันที่ 10 เมษา เรียกกันว่า “คดีชายชุดดำ” (ไม่นับคดีที่เกี่ยวเนื่องอีก 1 คดีซึ่งศาลยกฟ้อง) โดยอัยการฟ้องว่า เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 จำเลยทั้งห้ากับพวกที่ยังหลบหนี และพวกที่ถึงแก่ความตายไปแล้ว ได้บังอาจร่วมกันกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน โดยร่วมกันพาอาวุธ เครื่องกระสุน และวัตถุระเบิด ที่สามารถใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินให้เกิดความเสียหายได้ คือ เครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม 79 , ปืนเอ็ม 16 ,ปืนเอชเค 33 หรือปืนอาก้า ซึ่งนายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ไปตามบริเวณแยกคอกวัว ถนนตะนาว, ถนนประชาธิปไตย แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร ซึ่งเป็นเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุจำเป็น เร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ ทั้งในเวลาเกิดเหตุมีการชุมนุมกันของประชาชนจำนวนมาก

ทนายโต้รองผบ.ตร. มี “ชายชุดดำ” จะได้รองรับความชอบธรรมปฏิบัติการของ ศอฉ.?

วิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความจำเลย จากสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิและเสรีภาพ (สกสส.) ให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องการได้มาซึ่งพยานหลักฐานในคดีนี้ โดยเฉพาะการสอบสวนซึ่งไม่ได้เริ่มจากการสอบสวนที่เป็นการทำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งผู้จับตัวและนำมาสอบสวนเป็นทหาร ที่ใช้อำนาจพิเศษจาก คสช.ซึ่งข้อเท็จจริงยุติว่า ทหารใช้อำนาจคุมตัวจำเลยทั้ง 5 สอบปากคำที่ค่ายทหาร แม้การสอบสวนจะมีตำรวจบางนายร่วมด้วยก็ตาม ผู้ต้องหาทั้ง 5 ในขณะนั้นให้ข้อมูลที่สำคัญว่าพวกเขาถูกบังคับ ขู่เข็ญ ในระหว่างสอบสวนในค่ายทหาร และต่อมาได้มีการขอความเป็นธรรมต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ และพนักงานอัยการด้วย จึงเป็นประเด็นของความชอบด้วยคำรับสารภาพที่เป็นปฐมเหตุของการตั้งรูปคดีนี้ นอกจากนี้การสอบสวนที่มีการบันทึกภาพและเสียงไว้นั้นก็เป็นการสอบสวนภายหลังจากที่มีการสอบสวนจากทหารแล้ว โดยการบันทึกไว้นั้นมีพนักงานสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเข้าร่วม มิใช่ดีเอสไอ ทั้งที่คดีเช่นนี้เป็นคดีพิเศษตั้งแต่ปี 2553 แต่กลายเป็นตำรวจชุดที่ตั้งขึ้นพิเศษโดย ผบ.ตร.หลังจากการยึดอำนาจปี 2557

“การที่บางคนบอกว่าต้องมีชายชุดดำในทางคดีและมีการปฏิบัติการจริงในการชุมนุม ทำให้เชื่อว่าน่าจะนำไปเป็นเหตุผลที่ทำให้การใช้กำลังทหารของ ศอฉ.เข้าสลายการชุมนุมเป็นเรื่องที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะมีความพยายามอธิบายเรื่องชายชุดดำให้เป็นกองกำลังติดอาวุธของผู้ชุมนุม และทำให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่เสียชีวิตจำนวนมาก” วิญญัติกล่าว

เปิดคำพิพากษาบางส่วน

ในการอ่านคำพิพากษาศาลบรรยายถึงข้อเท็จจริงพื้นฐานที่รับฟังได้ว่า มีชายสวมหมวกไหมพรมปิดบังใบหน้าเข้าไปในที่เกิดเหตุ และตำรวจได้ยึดปืนจากชายคนหนึ่งที่หลบหนีไปไว้ได้ ระหว่างนั้นมีการยิงปืนและระเบิดทำให้ทหารประชาชนเสียชีวิตจำนวนมาก ต่อมามีผู้แจ้งว่าพบรถฮอนด้าซีวิคจอดทิ้งไว้ที่อพาร์ตเมนต์บ้านริมน้ำ ตรวจพบวัตถุระเบิดและอาวุธปืน นอกจากนี้ยังพบรถตู้สีขาวจอดทิ้งไว้หน้าบริษัทเทเวศประกันภัย ถนนราชดำเนินกลาง ซึ่งมีชื่อของบุคคลหนึ่งเป็นเจ้าของซึ่งบุคคลดังกล่าวได้ให้ นายธนเดช หรือนายไก่ ผู้ต้องหาอีกคนที่ไม่ได้ตัวมาฟ้องในคดีนี้เช่าไปขับรถรับจ้าง ต่อมา พ.อ.วิจารณ์ จดแตง ได้อาศัยกฎอัยการศึกและคำสั่งหัวหน้า คสช.นำตัวจำเลยทั้ง 5 คนมาสอบปากคำและจำเลยทั้ง 5 คนได้ให้ถ้อยคำไว้ เมื่อส่งมอบตัวให้ตำรวจแจ้งข้อกล่าวหาจำเลยทั้ง 5 ให้การรับสารภาพ

ส่วนการวินิจฉัยว่าจำเลยผิดตามฟ้องหรือไม่นั้น ศาลเห็นว่าในส่วนจำเลยที่ 1 นั้นมีพยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ทหารม้าและเป็นพลขับรถฮัมวีนำกำลังพลมาในวันเกิดเหตุ ได้รับคำสั่งให้ถอนกำลังพลในเวลา 21.00 น.ขณะจอดรถบริเวณจุดเกิดเหตุ พบรถตู้สีขาววิ่งสวนมาและชะลอ จำเลยที่ 1 ได้ลดกระจกชะโงกหน้ามาด่าพยาน และพยานเห็นปืนอาก้า ปืนเอ็ม 16 วางอยู่ที่พื้นรถและเบาะหลัง แม้รถจะวิ่งสวนกันใช้เวลาไม่นานยากที่จะจดจำรายละเอียด และพยานก็ไม่ได้รู้จักกับจำเลย แต่เมื่อพิจารณาว่ารถฮัมวีมีพวงมาลัยอยู่ทางซ้าย รถตู้ขณะวิ่งสวนก็ชะลอความเร็ว เป็นไปได้ที่จะทำให้เห็นหน้าชัดเจน นอกจากนี้พยานที่เป็นทหารอาจจะมีความสามารถจดจำเหตุการณ์ เป็นคนช่างสังเกต ประกอบกับพยานโจทก์อีกคนหนึ่งคือ พี่สาวของนายธนเดช ที่มาเบิกความสนับสนุนว่า จำเลยที่ 1 อยู่วินรถตู้เดียวกันกับน้องชาย วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 และพวกมีการขนกระเป๋าสีดำยาวขึ้นรถ คืนก่อนเกิดเหตุก็เห็นอาวุธปืนโผล่ออกจากกระเป๋าดังกล่าวด้วย พี่สาวนายธนเดชรู้จักกันดีกับจำเลยที่ 1 ไม่ได้มีส่วนได้เสีย ไม่มีเหตุโกรธเคืองให้ต้องปรักปรำจำเลยที่ 1 หากจะปรักปรำหรือถูกข่มขู่ให้กลัวตามที่จำเลยต่อสู้ พี่สาวนายธนเดชย่อมต้องให้การรวมไปถึงจำเลยคนอื่นๆ ด้วยแต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น เชื่อว่าเป็นการเบิกความตามจริง ตรงไปตรงมา สอดคล้องกับที่พ.อ.วิจารณ์เบิกความว่า จำเลยที่ 1 รับว่าได้ติดต่อวางแผนระดมคนกับนายธนเดชเพื่อไปต่อต้านทหาร และจำเลยที่ 1 ยิงปืนใส่ทหาร ที่จำเลยอ้างว่าทหารข่มขู่จึงรับสารภาพเพราะกลัวจะเกิดอันตราย เมื่อฟังบันทึกเทปคำให้การปกติและพยานทุกคนก็เบิกความสอดคล้องต้องกันจึงไม่น่าเชื่อว่าจะถูกซ้อม นอกจากนี้ข้อต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 เดินทางกลับลำปางในเวลา 20.00 น.ก็ไม่มีพยานยืนยัน

ส่วนของจำเลยที่ 2 นั้น ศาลอ้างถึงพยานโจทก์ซึ่งเป็นตำรวจ 2 คนที่แฝงตัวอยู่ในที่ชุมนุม ซึ่งเบิกความไว้ว่า การ์ดของผู้ชุมนุมได้จับชายสวมหมวกไหมพรม 2 คน เมื่อเปิดหมวกออกพบเป็นจำเลยที่ 2 จึงถ่ายรูปไว้ ขณะที่อีกคนหนึ่งนั้นหลบหนีไปได้และตำรวจได้ยึดอาวุธของคนนั้นไว้ได้ ศาลเชื่อว่าตำรวจแฝงตัวไปในวันเกิดเหตุจริง จำเลยที่ 2 ก็รับว่าเป็นการ์ดและต่อสู้ว่าวันเกิดเหตุไปรับจ้างเดินสายไฟที่ศูนย์ราชการ แต่ไม่มีพยานบุคคลหรือสัญญาจ้างมายืนยันทั้งที่เป็นเรื่องที่ไม่ยาก จึงเป็นคำเบิกความที่ไม่น่าเชื่อถือ ในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 2 รับสารภาพข้อกล่าวหาเรื่องอาวุธ แต่ปฏิเสธข้อหาสะสมกำลังพลเพื่อก่อการร้าย เห็นชัดเจนว่าเป็นการรับสารภาพโดยสมัครใจ ไม่เช่นนั้นก็ต้องปฏิเสธข้อหานี้ด้วย ส่วนที่สู้ว่าภาพชายชุดดำที่ถูกถอดหมวกไหมพรมออกเป็นภาพตัดต่อนั้น ไม่ปรากฏว่ามีข้อพิรุธหรือข้อบ่งชี้ดังกล่าว จึงเชื่อว่าเป็นภาพจริง

ส่วนจำเลยที่ 3, 4, 5 นั้นมีเพียงบันทึกซักถามและการรับสารภาพในชั้นสอบสวน แม้โจทก์จะมีทหารและพนักงานสอบสวนมาเบิกความแต่บันทึกซักถามดังกล่าวก็เป็นเพียงพยานบอกเล่าและเป็นพยานซัดทอด ซึ่งต้องพิจารณาอย่างระมัดระวัง ต้องมีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดีหรือพยานแวดล้อม แต่ไม่ปรากฏพยานปากใดยืนยันว่าจำเลยที่ 3-5 เป็นคนร้าย แม้โจทก์จะนำสืบว่าจำเลยที่ 3-4 มีความเกี่ยวพันเป็นการ์ด จำเลยที่ 5 เข้าไปขายข้าวไข่เจียวในที่ชุมนุม แต่ไม่ได้หมายความว่า จำเลยที่ 3-5 จะครอบครองอาวุธปืน มีเหตุให้สงสัย จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 3-5

พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 มีความผิดตามฟ้อง ลงโทษในคดีครอบครองอาวุธคนละ 8 ปี คดีพกพาอาวุธคนละ 2 ปี รวมเป็นจำคุกคนละ 10 ปี ส่วนจำเลยที่ 3-5 ยกฟ้อง แต่ให้ขังระหว่างอุทธรณ์

ทนายเปิดประเด็นโต้แย้งความน่าเชื่อถือพยาน

วิญญัติ หนึ่งทีมทนายจำเลยให้สัมภาษณ์ในภายหลังอีกว่า จำเลยทั้ง 5 คนถูกดีเอสไอแจ้งข้อหาเพิ่มเติม คือ ข้อหาก่อการร้าย แต่อัยการไม่สั่งฟ้อง ขณะนี้กำลังรอคำชี้ขาดจากอธิบดีดีเอสไอ

นอกจากนี้ พยานที่ศาลอ้างเพื่อลงโทษจำเลยที่ 1-2 นั้น ปากหนึ่งคือ พี่สาวนายธนเดชหรือไก่ พยานปากนี้เคยให้การในคดีที่เกี่ยวพันกันคือเรื่องอาวุธในรถฮอนด้า ซีวิค ซึ่งศาลยกฟ้องไปแล้ว โดยศาลเห็นว่าพยานปากนี้รับฟังไม่ได้ ให้การในชั้นตำรวจอย่างหนึ่ง ในชั้นศาลอีกอย่างหนึ่ง ขัดแย้งกันในสาระสำคัญ ส่วนพยานที่เป็นทหารม้าที่เป็นพลขับรถฮัมวีที่ระบุว่าจำเลยที่ 1 ลดกระจกลงตะโกนด่าเขานั้นก็เคยเบิกความในการไต่สวนการตายคดีนายฮิโรยูกิ ช่างภาพชาวญี่ปุ่นที่เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ เนื่องจากเป็นผู้ที่อยู่ในที่เกิดเหตุ ในครั้งนั้นเขาเบิกความถึงรถตู้ที่วิ่งสวนมาด้วยเช่นเดียวกัน แต่ยืนยันไม่ได้ว่าเป็นใคร เนื่องจากคนในรถตู้สวมหมวกไหมพรม เห็นแต่ลูกตา และไม่ได้เบิกความว่าเห็นอาวุธบนเบาะรถแต่อย่างใด 

ฟังความต่างกัน ราวฟ้ากับเหว ของการตอบคำถาม "ปุ๋ย ภรณ์ทิพย์" กับ "น้ำตาล" + เปิดใจกรรมการ เหตุมงลงที่นางงามฝรั่งเศส




Credit : http://baabin.com/201095/

"ปุ๋ย ภรณ์ทิพย์"






ooo

"น้ำตาล"






ooo


ooo


มันต่างกันจริงในการตอบคำถาม เด็กไทยเรียนมาแต่เรื่องที่เป็น “รูปธรรม” เราเรียนแบบ “ท่องจำ” เห็นจากทีวีก็จำมาเหมือนนกแก้วนกขุนทอง และตอบไปอย่างนั้น คิดว่าได้ผล มันได้ผลในบ้านเราเท่านั้นแหละ แต่คุณปุ๋ย (ซึ่งความจริงตอนนั้นอายุน้อยกว่านะ อายุแค่ 19 ปี) อาจเป็นเพราะโตที่เมืองฝรั่งจึงคิดอย่างเป็น “นามธรรม” ได้ชัดเจน สามารถอธิบายได้อย่างคล่องแคล่วว่าทำไมจึง “proud to be Thai” โดยไม่จำเป็นต้องไปห้อยโหน “รูปธรรม” ที่ไหน เหมือนที่ผมเขียนช่วงก่อน ทำไมเด็กนักเรียนฝรั่งเศสทุกคนต้องเรียน “ปรัชญา” เพราะมันไม่ได้สำคัญที่ “คำตอบ” มันสำคัญที่ “วิธีคิด” ต่างหาก #MissUniverse


Pipob Udomittipong

ooo

เปิดใจกรรมการ เหตุมงลงที่นางงามฝรั่งเศส 




by สุชาณี รุ่งเหมือนพร
31 มกราคม 2560
Voice TV

อดีตมิสยูนิเวิร์ส หนึ่งในคณะกรรมการผู้ตัดสินระบุ คำตอบของ"อีรีส มิตเตแนเร"สาวงามจากฝรั่งเศสได้ใจกรรมการ ชี้กองประกวดต้องการสาวงามที่มีความเป็นมนุษย์มากกว่ารูปลักษณ์ภายนอก เพราะโลกกำลังเผชิญกับเหตุการณ์หลายอย่าง

​ดายานารา ตอร์เรส เดลกันโด นักร้อง นักแสดง นางแบบชาวเปอร์โตริโก อดีตผู้รับตำแหน่งมิสยูนิเวิร์สในปี 1993 และหนึ่งในคณะกรรมการผู้ตัดสินการประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2016 ระบุเหตุผลที่อีริส มิตเตแนเร นางงามจากฝรั่งเศสวัย 23 ปี คว้าตำแหน่งในปีนี้ ว่าคำตอบของเธอเกี่ยวกับความล้มเหลวในชีวิตในรอบ 3 คนสุดท้าย ที่เธอได้พูดว่า เธอเกือบไม่ผ่านการสอบปีแรกของการเรียนแพทย์ ทำให้เธอได้ใจกรรมการไปเต็มๆ





เดลกันโดกล่าวว่า บุคลิกภาพของผู้เข้าประกวดสำคัญมากกว่าความสวยทางร่างกาย โดยจุดแข็งของมิตเตแนเรคือเธอมีความดึงดูดที่เป็นธรรมชาติและเธอได้แสดงออกถึงความกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือผู้อื่น โดยเธอบอกว่า กองประกวดพยายามหลีกเลี่ยงการเลือกผู้ชนะ โดยใช้กรอบความคิดเกี่ยวกับความสวยแบบเดิมๆมาตัดสิน โดยในปีนี้ กองประกวดต้องการผู้ชนะที่มีความเป็นมนุษย์มากขึ้น เพราะขณะนี้ โลกกำลังเผชิญกับเหตุการณ์หลายอย่าง



เดลกันโดอธิบายว่ามิสยูนิเวิร์สในปัจจุบัน จะต้องเป็นคนที่ทำให้ผู้อื่นรู้สึกว่าเข้าถึงตัวเธอได้ง่าย เพราะเมื่อมิสยูนิเวิร์สกล่าวอะไรแล้ว คนมักจะฟังเสมอ

นอกจากนี้ เดลกันโดยังได้ตอบคำถามผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการพลิกโผของสาวงามจากเวเนซูเอลา ตัวเต็งการประกวดครั้งนี้ ที่ไม่ผ่านการคัดเลือก แม้กระทั่งรอบ 13 คน โดยเธอตอบว่า ผู้ชมจะต้องเข้าใจว่าบนหน้าจอโทรทัศน์ ผู้เข้าประกวดมีความสวยงามทุกคน แต่กองประกวดรู้จักตัวตนของเหล่าสาวงามมากกว่านั้น

เดลกันโดเป็นหนึ่งในกรรมการตัดสินการแข่งขันมิสยูนิเวิร์ส 2016 ร่วมกับอดีตมิสยูนิเวิร์สจากปีก่อนๆ อย่างสุชมิตา เซ็น (1994) และไลลา โลเปส (2011)

.....

ผมว่าถ้าให้อาจารย์ปวิน
เป็นคนเทรนนางงามไทยในการเตรียมตัวตอบคำถาม
เธออาจจะมีสิทธิ์ลุ้นตำแหน่งนางงามจักรวาลก็ได้นะฮะ
Junya Yimprasert

เบส อรพิมพ์ ก็เช่นกัน 5555
มิตรสหายอีกท่าน

บทเรียน"ไทย"พลาดนางงามโลกอย่าใส่ "ชาตินิยม" ในเวทีสากล




https://www.youtube.com/watch?v=_mSYFmzL04M

บทเรียน"ไทย"พลาดนางงามโลก.อย่าใส่"ชาตินิยม"ในเวทีสากล

jom voice

Published on Jan 30, 2017

ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใหม่ มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ให้สัมภาษณ์ Thaivoice กรณี "น้องน้ำตาล"สาวงามตัวแทนประเทศไทย พลาดตำแหน่งนางงามจักรวาลว่า น่าจะมาจากการตอบคำถาม เพราะตำแหน่งนางงามจักรวาล คือตัวแทนของความเป็นสากลไม่ใช่ตัวแทนประเทศไทย วิธีคิดก็ต้องเป็นสากล ส่วนการแสดงออกถึงเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมนั้น น้องน้ำตาล ทำได้ดีอย่างมาก และน่าชื่นชมอย่างยิ่งที่สามารถเข้าติดอันดับ 6 ได้ ซึ่งทีมงานพี่เลี้ยงหรือเทรนเนอร์ควรจะให้แนะนำเกี่ยวกับการตอบคำถามมากกว่านี้ การตอบว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 นั้นจะได้ใจเฉพาะคนไทย แต่ในระดับสากลไม่ได้ส่งผลอะไร นี่จึงเป็นบทเรียนในทุกการแข่งขันในระดับสากล สังคมไทย ควรจะมองข้ามความเป็นชาตินิยม ให้มองถึงความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่เป็นสากลมากยิ่งขึ้น

เอาทหารมาจัดการสื่อก็ได้เรื่องอย่างนี้แหละ





เอาทหารมาจัดการสื่อก็ได้เรื่องอย่างนี้แหละ

“ผมเป็นอดีตนักบิน มีความรักต่อกระทรวงกลาโหม เพราะว่ามีการดูแลบุคลากรเป็นอย่างดี ดังนั้นถ้าจะสั่งให้ผมไปรบผมก็ไม่กลัวตาย เพราะอย่างน้อยก็มีคนดูแลรับผิดชอบชีวิตผม

ดังนั้นในเมื่อองค์กรมีการดูแลบุคลากรที่ดี ดังนั้นงานต่างๆ ก็จะออกมาดีด้วย ไม่เว้นแม้แต่องค์กรวิชาชีพสื่อ”

ทั่นประธานกรรมาธิการปฏิรูปสื่อของ สปท. บอกกับนักข่าวถึงการไม่รับฟังข้อเรียกร้องของ ๓๐ องค์กรสื่อ

พล.อ.อ.คณิต สุวรรณเนตร ยังพูดถึงรายละเอียดเกี่ยวกับสภาองค์กรวิชาชีพสื่อ ที่ ๓๐ องค์กรสื่อไม่ชอบใจว่า

“ซึ่งสามารถออกระเบียบกติกาในการดูแลสื่อมวลชน รวมทั้งการให้ใบอนุญาตและเพิกถอนใบอนุญาตสื่อมวลชนได้ด้วย โดยจะนำเสนอต่อวิป สปท. ในวันที่ ๒ ก.พ.นี้” ไม่มีรีรอ

(http://www.matichon.co.th/news/445769)

แถม ‘นักบิน’ ผู้บงการกำกับสื่ออ้างด้วยว่า ที่ได้ข้อสรุปมาอย่างนี้นอกจากเอามาจากความเห็น ‘ชง’ ของทีดีอาร์ไอแล้ว

ยังได้จากการที่ส่งนางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด ประธานกรรมาธิการฯ (ซึ่งเป็นเจ้าของ New TV “เจ้านายปอง อัญชลี นะ”) ไปหารือกับตัวแทนสื่อ “กินข้าวพูดคุยกันที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง” ด้วย

จึง “ยืนยันว่าในเรื่องของสภาองค์กรวิชาชีพจำเป็นต้องมีบุคคลภายนอกเข้าร่วม จะมีประโยชน์มากกว่ากรรมการจากแวดวงสื่อเท่านั้น”





ทางด้าน ๓๐ องค์กรที Atukkit Sawangsuk สับเละว่า “เราสื่อดีมีจรรยากล้าต่อสู้ ไล่อีปูมาแล้วไงใช่ขี้ขี้ แต่ไม่ต้านเผด็จการเพราะคนดี ที่มานี่ไม่วิจารณ์ทหารเลย” นั้นเพราะ

“ตนเชื่อว่ารัฐบาลที่จะได้ใช้อำนาจนี้ตามกำหนดเวลาที่กฎหมายจะผ่านการพิจารณาจะไม่ใช่รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่จะเป็นรัฐบาลที่จะมาหลังจากการเลือกตั้งผ่านไปแล้ว

เป็นสิ่งที่นักการเมืองปรารถนาอยากจะได้มาก สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้คือการชงกฎหมายใส่พานให้กับนักการเมืองที่ต้องการกลับมาจะบริหารประเทศหลังจากการเลือกตั้ง” เทพชัย หย่อง หัวโจก ๓๐ องค์กรอ้าง

เช่นนั้นและฉันนี้ จึงเป็นอย่างที่อธึกกิตว่าไว้ไม่มีผิด ว่าพวก ‘๓๐ องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน’ ไม่ได้ปักหลักค้าน พรบ.คุ้มครองสื่อฯ (ซึ่งแท้จริงแล้วออกมาไว้ควบคุมสื่อ) กันจริงจัง

มัวแต่คอยระวังไม่ให้กระเทือนซาง คสช. และเฉไฉไปด่า ‘นักการเมือง’ พวกที่รอเลือกตั้งแต่ยังไม่รู้จะมาแน่หรือไม่ เมื่อไหร่

เพราะถ้าหากจะเชื่อตาม คสช. ว่าเดินตามโร้ดแม็พ ทุกรายการ ทุกเป้าหมายมันก็ผ่านไปนานแล้ว ยังจำกันได้ไหมล่ะ หลังยึดอำนาจใหม่ๆ คสช. บอกว่า

“๑. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ และจัดตั้งคณะทำงานเตรียมการปฏิรูปภายในเวลา ๒-๓ เดือน” นั่นมันปี ๒๕๕๗

“๓. ปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย แก้ไขความไม่เป็นธรรมต่างๆ จัดการเลือกตั้งให้ได้คนดีมาปกครองบ้านเมืองตามหลักธรรมาภิบาล ภายใน ๒๕๕๘”





นี่ถึงปี ๒๕๖๐ แล้ว กฎหมายหลักๆ ที่ปรับปรุง นอกจาก มาตรา ๔ รัฐธรรมนูญชั่วคราวที่ให้อำนาจเต็มที่แก่พระมหากษัตริย์สามารถวีโต้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ถ้าไม่ทรงพระราชทานคืนมาเป็นครั้งที่สองให้ร่างนั้นตกไป) แล้ว

ก็มีกฎหมายดิจิทัลที่ให้อำนาจ ‘เจ้าพนักงาน’ ปิดเว็บซึ่งเห็นว่า ‘ขัดต่อความมั่นคง’ ได้ง่ายๆ มาถึงนี่ พรบ. ‘กำกับควบคุม’ สื่อ ด้วยคณะกรรมการ ๑๓ คน

ที่มีตัวแทนสื่ออยู่แค่ ๕ คน นอกนั้นเป็นพวกปลัดกระทรวงเสียสี่ กับพวกวิชาชีพอื่นๆ อีกสี่





ช่วงนี้เรื่องข้าราชการชั้นสูงไปทำงามหน้าในต่างประเทศ ลักขโมยทรัพย์สินของโรงแรม สถานทูต สถานกงสุลวิ่งเต้นขอให้ปล่อยตัวได้ภายในสองวัน คนในรัฐบาล คสช. ออกมาปกป้องกันขนานใหญ่ ว่า ‘ไม่ใช่’ ความผิดร้ายแรง

ทีคดีหญิงไทยนำยาต้องห้ามเข้าประเทศโอมาน สถานทูตอืดอาด ‘น้องจ๋า’ ต้องติดคุกฟรีไป ๓ เดือน กต. ถึงขยับเพราะมารดาของเธอนำข้อเท็จจริงมาแฉทางโซเชียลมีเดีย

อีกคดี พล.ต.ต.คำรรวิทย์ หรือ ‘บิ๊กแจ๊ด’ อดีตนายตำรวจ ‘คนรักทักษิณ’ ไปถูกจับที่ญี่ปุ่นเพราะพกพาอาวุธปืนสะสมขนาดจิ๋วในกระเป๋าหิ้ว หลังจากศาลญี่ปุ่นยกฟ้อง กลับไทยเจอ ผบช.ภ.๑ จะให้ดำเนินคดีต่อ





เลยมีคนเขาประชดเข้าให้ ดูเหมือนจะเป็นรองอธิบดีอัยการ บอกว่าน่าจะปรับปรุงระเบียบราชการเสียใหม่ ข้าราชการคนไหนซื่อสัตย์ต่อ คสช. ถ้าทำความผิดฐานลักขโมย ให้ถือเสมือนไม่ได้กระทำผิด

แล้วจะอยู่จนล้มละลายเลยเหรอ... ประยุทธ์ยอมรับ ไม่ถนัด เศรษฐกิจ วอนคนไทย อย่าเพิ่งไล่...





ทั้งๆที่รู้ตัวว่าไม่ถนัด แต่เวลามีคนแนะนำก็ไม่ยอมฟัง แล้วจะไม่ให้เศรษฐกิจเละแบบนี้ได้อย่างไร

Pichai Naripthaphan

ooo

จริยา เอกพล - นี่คือปรากฏการณ์ใหม่ ที่ไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ชาติไทยเลยก็ว่าได้ ที่รัฐบาลใด รัฐบาลหนึ่ง จะจัดงบประมาณแบบขาดดุลต่อเนื่องกันในเวลาเพียง 3 ปีที่เข้ามาบริหาร ถึง 2.3 ล้านล้านบาท...และที่สำคัญเม็ดเงินเหล่านี้ไม่ได้สร้างคุณูปการต่อระบบเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพเลย ยกตัวอย่างให้เห็นกันชัดๆ คือตัวเลข GDP ที่มันฟ้องให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด...ตอนได้อำนาจรัฏฐาธิปัตย์ และเข้ามาบริหารประเทศช่วงแรกๆ รัฐบาลทหารชุดนี้ ได้ตั้งข้อกล่าวหาต่อรัฐบาลพลเรือนของนายกยิ่งลักษณ์ ว่าได้สร้างหนี้สาธารณะ ซึ่งสร้างความเสียหายต่อวินัยการเงินการคลังของประเทศ และเป็นภาระผูกพันในรระยะยาว...แต่มาวันนี้ สิ่งที่รัฐบาลทหารชุดนี้ทำนั้น มันไม่ได้แตกต่างจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์แต่อย่างใด...แต่มีสิ่งเดียวที่สร้างความแตกต่างนั่นคือ ภาพรวมเศรษฐกิจของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ดูดีมีอนาคตกว่ารัฐบาลทหารชุดนี้อย่างชัดเจน

...

Thanet Chankhao - แต่คิด...จะวางโครงสร้างประเทศ.ตั้ง 20 ปี.ถามหน่อยไม่มีความรู้แล้ว จะทำให้มันเกิดปัญหาไปทำไม..รู้อยู่แก่ใจ...
**.ใครจะเดือดร้อน..ประชาชนใช่ไหม...
**ไม่มี ความสามารถที่จะบริหารก็ไปเสียเถอะ..อย่ามา สร้างปัญหาให้มันค้างคาอีกเลย ที่ผ่านมากู้เงินจนประเทศจะล่มจมแล้ว..มั่ง มีนี้เพิ่มขึ้นมาแคกเท่าไร่ งบประมาณแผ่นดิน ก็บานปลาย ทำตามใจชอบ ตรวจสอบไม่ได้ ทำแต่ละโครงการ เงินกู้ล้วนๆ

...

Atukkit Sawangsuk - ปลายปีที่ 3 ใกล้ขึ้นปีที่ 4 ของ คสช.นี่ไม่ราบรื่นหรอกนะครับ ยิ่งอยู่ยาวยิ่งเสียดทานไม่ต่างจากรัฐบาลนักการเมือง ต่อให้ปิดกั้นการวิพากษ์วิจารณ์ซักแค่ไหน

ถ้ามองแต่ละกรณี จะเห็นภาพรวม อย่างรองอธิบดีทรัพย์สินทางปัญญา มันไม่ใช่เรื่องส่วนตัว เป็นเรื่อง "สถาบันข้าราชการ" ที่ยกตนดีนักหนา พอพลาดพลั้งสังคมก็เลยชี้หน้า แถมยังมาช่วยอุ้มช่วยเจรจาจนพ้นคดีอีก นี่คือคนกำลังเบื่อหน่ายระบอบอภิสิทธิ์ชน

สินบนโรลส์รอยส์ ถ้าเป็นยุคอีปูนะ มึงตาย!!! ตายแล้วยังตกนรกซ้ำซาก หรือถ้าเกิดยุค คสช.หมาดๆ ก็ไม่เท่าไหร่ แต่พอมาเป็นข่าวตอนนี้ คนเริ่มมองเห็นแล้วว่า ไม่ใช่แค่นักการเมืองหรอกที่โกง สินบนตอกย้ำ จ่ายกัน 3 ยุคสมัย เริ่มต้นยุคใครถ้าไม่ใช่ยุคทหาร แล้วหันมามอง เฮ้ย GT200 ล่ะ รถถังยูเครนล่ะ อ้าว ซื้อเรือดำน้ำอีก เพิ่งทำงบขาดดุลบานทะโร่ ชาวบ้านเขาคัดค้านจนถอยไปครั้ง ยังกลับมาใหม่ มั่นใจในอำนาจแล้วไม่เกรงใจใครเลย จะเอาให้ได้

แบบเดียวกับดัชนีโปร่งใส มันไม่ใช่แค่องค์กรเพื่อความโปร่งใสเอาเกณฑ์ประชาธิปไตยมาวัด แต่ยังมีดัชนี GI ซึ่งปีนี้ใช้ของธนาคารโลก ประเมินปัจจัยการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวกับสินบน คอร์รัปชั่น โดยมาจากการสอบถามนักลงทุนเอง นี่แปลว่าอะไร แปลว่าพอเข้าสู่ปีที่ 3 ความเชื่อว่า "ปราบโกง" "ไม่โกง" เริ่มตกต่ำ แหม เห็นกันชัดๆ เจ้าสัวเข้าร่วมประชารัฐ ไม่ต่างตอบแทนเลยหรือไร

อยากอยู่ก็อยู่ไป แต่ระวังจะกลายเป็น "ปีชง" หรือ "ปีไก่ย่าง" ซะเอง

Media Matters - 30 องค์กรสื่อแถลงคัดค้านร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและส่งเสริมมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน - ชวนฟัง Christiane Amanpour at the Committee to Protect Jounralists





30 องค์กรสื่อแถลงคัดค้านร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและส่งเสริมมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน

Sun, 2017-01-29 14:22
ที่มา ประชาไท

30 องค์กรวิชาชีพสื่อสารมวลชนเรียกร้องรัฐบาลยกเลิกร่างพ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและส่งเสริมมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน เนื่องจากปิดกั้นสิทธิเสรีภาพสื่อ-การรับรู้ข่าวสารของประชาชน

29 ม.ค. 2560 ตัวแทนองค์กรวิชาชีพสื่อสารมวลชน 30 องค์กร ร่วมกันออกแถลงการณ์คัดค้านร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและส่งเสริมมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน โดยเห็นตรงกันว่า ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว มีเนื้อหาสาระที่เน้นการควบคุมสื่อมวลชน โดยใช้อำนาจรัฐเข้ามาแทรกแซงการทำหน้าที่โดยอิสระของสื่อมวลชน สวนทางกับหลักการของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่ผ่านการลงประชามติ ซึ่งมีเจตนารมณ์ให้สื่อมวลชนกำกับดูแลกันเอง

โดยอีกประเด็นที่ห่วงกังวล คือ การกำหนดจัดตั้งสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ เพื่อกำกับดูแลสื่อมวลชนทั้งหมด โดยมีอำนาจขึ้นทะเบียนออกใบอนุญาตและเพิกถอนใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนได้ ซึ่งเป็นตัวแทนรัฐระดับปลัดกระทรวงถึง 4 กระทรวง ร่วมเป็นกรรมการเป็นช่องทางให้อำนาจรัฐ ที่เป็นตัวแทนนักการเมือง เข้ามาแทรกแซงสื่อได้โดยตรง

องค์กรวิชาชีพสื่อ ยืนยันว่า การออกมาคัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าวไม่ใช่เพื่อปกป้องวิชาชีพ แต่เพื่อผลประโยชน์การรับรู้ข่าวมูลข่าวสารของประชาชน และการตรวจสอบการทำงานภาครัฐ ซึ่งเป็นไปตามเสาหลักหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย ที่ต้องมีสื่อมวลชนทำหน้าที่ตรวจสอบแทนประชาชน ทั้งนี้องค์กรวิชาชีพสื่อจะยื่นหนังสือถึงสภาปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่ดูแลด้านสื่อสารมวลชน เพื่อให้ยกเลิกร่างกฎหมายดังกล่าว แต่หากไม่ดำเนินการตามจะยกระดับเคลื่อนไหวต่อไป

โดยรายละเอียดของแถลงการณ์ทั้งหมดมีดังต่อไปนี้

แถลงการณ์ร่วม ๓๐ องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน

เรื่อง การคัดค้านร่างกฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน

ตามที่สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) โดยคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนประเทศด้านการสื่อสารมวลชนฯ ได้ดำเนินการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนพ.ศ. ............... เพื่อเสนอให้สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศรับรองและส่งให้คณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไปตามความทราบแล้วนั้น

องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ๓๐ องค์กร ตามรายชื่อท้ายแถลงการณ์นี้ ได้ประชุมหารือร่วมกันแล้ว มีความเห็นดังต่อไปนี้

๑) ร่างพระราชบัญญัติการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. ..... ดังกล่าว มิได้อยู่บนพื้นฐานหลักการของการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน แต่กลับเน้นหลักการควบคุมสื่อมวลชนโดยใช้อำนาจรัฐเข้ามาแทรกแซงการทำหน้าที่โดยอิสระของสื่อมวลชน และไม่สอดคล้องกับหลักการของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ผ่านการลงประชามติ ซึ่งมีเจตนารมณ์ให้สื่อมวลชนกำกับดูแลกันเองโดยอิสระและปราศจากการแทรกแซงจากภาครัฐ ทั้งนี้ จะมีผลกระทบโดยตรงต่อบทบาทของสื่อมวลชนในการตรวจสอบอำนาจรัฐและเป็นการปิดกั้นเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน

๒) สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ต้องยกเลิกการพิจารณาร่างกฎหมายของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ โดยให้กลับไปทบทวนความจำเป็นในการออกกฎหมายดังกล่าว

๓) หากสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศฯ เดินหน้ารับรองร่างพระราชบัญญัตินี้โดยไม่ฟังเสียงทักท้วง องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนทั่วประเทศจะยกระดับมาตรการในการคัดค้านร่างกฎหมายนี้ต่อไปจนถึงที่สุด

๔) ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนได้พัฒนาระบบการกำกับดูแลกันเองด้านจริยธรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อยกระดับความรับผิดชอบของสื่อมวลชนและตอบสนองความเปลี่ยนแปลงของสังคม รวมทั้งมุ่งมั่นที่จะดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไป

สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์
สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย
สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย
สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย
สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย
สมาคมช่างภาพสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย
สมาคมนักข่าวช่างภาพกีฬาแห่งประเทศไทย
สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ
สมาคมผู้ประกอบวิชาชีพวิทยุท้องถิ่นไทย
สมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
สมาคมสภาวิชาชีพกิจการการแพร่ภาพและการกระจายเสียง (ประเทศไทย)
สมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย)
สมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน
สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย
สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
เครือข่ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคเหนือ 17 จังหวัด
เครือข่ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคอีสาน
เครือข่ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคกลาง-ภาคตะวันออก
เครือข่ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคใต้
ชมรมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์อาวุโส
ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม
ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ
ชมรมเพื่อเพื่อนช่างภาพสื่อมวลชน

๒๙ มกราคม ๒๕๖๐

ooo


https://www.facebook.com/camanpour/videos/10157852416225370/

I never in a million years thought I would be on stage at the Committee to Protect Journalists' International Press Freedom Awards appealing for the freedom and safety of American journalists at home.


ควันหลงหลังจากการประกวดนางงามจักรวาล - Doungchampa Spencer-Isenberg ขอเขียนอย่างแฟร์ๆ




https://www.facebook.com/PrachachatOnline/videos/10155178463818814/
.....

ควันหลงหลังจากการประกวดนางงามจักรวาล ขอเขียนอย่างแฟร์ๆ และจะเป็นครั้งสุดท้ายในการเขียน topic เกี่ยวกับคุณน้ำตาล:

1. เวลาที่ทางคณะกรรมการให้ในการตอบคำถาม มันมีน้อยมาก คิดอะไรได้เพียงแค่ "ชั่วแวบเดียว" ก็จะต้องพูดเรื่องนั้น และจะถูกใจหรือไม่ถูกใจ คำตอบนั้น จะติดตัวผู้พูดอยู่จวบจนกระทั่งวันสุดท้ายของชีวิตเลย เพราะฉะนั้น คำตอบจริงๆ จะต้องมาจาก Natural Instinct หรือสัญชาติญาณตามธรรมชาติที่สะสมไว้ในจิตใต้สำนึกตลอดเวลา

เรื่องแบบนี้มา "สอน" หรือ "ติว" กันไม่ได้ว่า จะต้องตอบแบบไหน เพราะความตื่นเต้นจากการอยู่บนเวทีและความระมัดระวัง มันสร้างความกดดันในเวลานั้นอย่างเต็มที่ ถ้าพูดจริงๆ ก็คือ สารอดีนาลีนมันหลั่งออกมาจนแทบ "ควบคุมตนเอง" ไม่ได้

2. ชื่อของการประกวด ก็บอกอยู่แล้วว่าเป็น "การประกวดนางงามจักรวาล" หรือ Miss Universe Pageant ซึ่งเป็นโลกที่ไร้พรมแดน

ถึงแม้ว่า คุณน้ำตาลจะเป็นตัวแทนของประเทศไทย การเป็นตัวแทนก็จะเห็นได้จากชุดแต่งกาย และทุกๆ อย่างที่เธอแสดงออกให้ทราบถึงความเป็นไทย

แต่เมื่อถึงเวลาตัดสินโดยคณะกรรมการสากล ท่านจะต้องทำการ related หรือสร้างสายใยให้คณะกรรมการเข้าถึงความคิดของตนเองได้ เพราะคนที่ได้มงกุฎไป จะเป็น "ตัวแทน" ของคนทั้งโลก ไม่ใช่เพียงแต่ประเทศที่เธอเป็นตัวแทนเท่านั้น

--------------------------------

เราทราบดีว่า คำถามแต่ละเรื่อง ถือว่า tough หรือ หนักอึ้งเป็นอย่างมาก และคุณน้ำตาล มีเวลาเพียงไม่กี่วินาที ที่จะต้องพร่ำคำตอบออกมา เธอจึงเหมือนกับต้องเดินบนเส้นด้ายจริงๆ

ตัวดิฉันเองคิดว่า คนที่ตั้งคำถามให้กับคุณน้ำตาล ก็คงจะต้องรู้คำตอบอยู่แล้วว่า คุณน้ำตาลจะตอบอะไรหรือตอบอย่างไรเกี่ยวกับผู้นำหรือ Head of State ของไทย แต่คิดว่า คณะกรรมการอยากจะเห็นความ Surprise หรือ Think outside the box ของ Miss Universe's candidates มากกว่า (ลองคิดดูง่ายๆ ว่า ถ้าคณะกรรมการไปสัมภาษณ์ Miss North Korea ท่านคิดว่าจะได้คำตอบแบบไหน จากคำถามเดียวกัน)

ดูจากคำถามแต่ละอย่าง มีทั้งการเมือง เรื่องผู้อพยพ เรื่องประธานาธิบดีทรัมป์ และโชคดีมากๆ ที่คุณน้ำตาลไม่ได้พบกับคำถามเหล่านี้ แต่ไปพบคำถามแบบ Softball (โยนคำถามง่ายๆฉ) เอง เมื่อเทียบกับ Candidates คนอื่นๆ

--------------------------------

ถ้าเธอจะตอบถึง "แจ๊ก หม่า ดูไบ" เธอก็คงจะต้องขอเป็นผู้ลี้ภัยในประเทศฟิลิปปินส์เป็นแน่ๆ เพราะคงจะถูกฝ่ายการเมืองกลุ่มอนุรักษ์นิยมสวดให้อย่างยับเยิน

ถ้าเธอจะตอบถึง "ท่านผู้นำ" เธอก็คงจะถูกฝ่ายผู้รักประชาธิปไตยกล่าวว่า เธอเป็นหุ่นเชิดอีก (ถ้าหากเธอได้ตำแหน่งแล้ว ก็คงจะนำเอา "ค่านิยม 12 ประการ" ไปเผยแพร่เป็นภารกิจทั่วโลกต่อไป) แถมไปยกย่องการเรื่องการเป็นเผด็จการในสายตาชาวโลกเสียอีก

เมื่อเธอใช้คำตอบของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ก็ถือว่าเป็นคำตอบที่ปลอดภัยและมาจากจิตใต้สำนึกของเธอเอง แต่เธอก็จะต้องตัดสินใจในเวลานั้นแล้วว่า เธอจะต้องแลกระหว่าง "โอกาสในการครองตำแหน่ง" กับ "คำตอบของเธอ"

และก็เห็นอยู่แล้วว่า Potential ของคำตอบของเธอ จะมีอยู่แต่ "ภายในประเทศ" หรือ Domestic ไม่ใช่ Universal หรือ Universe อย่างที่ทางคณะกรรมการต้องการเห็นเรื่อง Think outside the box กัน

เพราะถ้าเธอเป็นตัวแทนของโลก ความคิดความอ่านของเธอจะต้องเป็น Global เพราะ Miss Universe จริงๆ มันครอบคลุมไปทั่ว "จักรวาล"

--------------------------------

ถ้าอยากจะ related หรือสร้างความสัมพันธ์ Candidate จะต้อง "ประจบ" คณะกรรมการให้มากที่สุด เพื่อ "เรียกร้อง" และ "กอบโกย" เอาคะแนน คำตอบที่ดี และสร้างความสัมพันธ์กับคณะกรรมการได้ ก็จะถูกคัดเลือกขึ้นมาเป็น "เบอร์หนึ่ง" แทน

และเมื่อถูกถามกันแบบนี้ ก็มีสองอย่างคือ เอ่ยชื่อตัวบุคคลที่ทั่วโลกรู้จักกัน ซึ่งดิฉันเห็นโพสต์กันมาพอสมควรแล้วจากหลายๆ เพจ

--------------------------------

ตามความคิดของดิฉัน ถ้าไม่รู้จักใครหรือจำชื่อไม่ได้จริงๆ ก็จะต้องแก้ตัวให้ได้ดีที่สุด ซึ่งอาจจะเป็นคล้ายๆ แบบนี้ คือ ต้องทำให้เป็นสากล (Global & Universal) และ สื่อกับคนที่ชมดูอยู่ได้ทุกๆ คน

"That's a tough question. But for me, everyone is a world leader, just like you all. The one who takes responsibility is a leader. The one who influences others is a leader. The one who makes a difference to others and to the world is a leader. Everyone has a leadership potential in order to make the world a better place to live, just like what we have seen in the past and in the present.

World Leaders take the leads but for these leaders to become successful, they need the people just like you to make good things happen. So, you are the parts of the successful leaders as well... "(then, look at the Audiences, lift the index finger and speak with confident...) "You, and everyone of you are the world leaders !! ... Thank you very much."

แปลเป็นไทยง่ายๆ ก็คือ "มันเป็นคำถามที่ยากพอสมควร แต่สำหรับฉัน ทุกๆ คนคือผู้นำของโลก เหมือนกับท่านที่นั่งดูอยู่นี่แหละ บุคคลที่รับภารกิจและหน้าที่มา ก็คือผู้่นำ บุคคลที่สร้างความโน้มน้าวใจให้กับผู้อื่นก็คื่อผู้นำ บุคคลที่สร้างความแตกต่างในชีวิตให้กับผู้อื่นๆ และให้กับบุคคลทั่วโลกก็คือผู้นำ ทุกๆ คนมีโอกาสที่จะเป็นผู้นำทั้งนั้น เพื่อจะสร้างโลกให้เป็นสถานที่ที่น่าอยู่ขึ้นมา ดังที่เราเคยเห็นทั้งในอดีต จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ผู้นำของโลกนำตัวเองเดินหน้า แต่ผู้นำเหล่านี้จะประสบความสำเร็จนั้น ก็เพราะว่าพวกเขาจะต้องพึ่งผู้คนอย่างเช่นพวกท่าน เพื่อที่จะสร้างสิ่งต่างๆ ให้ดีเกิดขึ้นมา เพราะฉะนั้น พวกท่านก็เป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของผู้นำเหล่านั้นเช่นเดียวกัน (จากนั้นก็หันมามองกล้องหรือคณะกรรมการ แล้วยกนิ้วชี้ขึ้นมา และพูดด้วยความมั่นใจว่า) "พวกท่านและทุกๆ คน คือ ผู้นำของโลก ขอบคุณมากๆ )

--------------------------------

สิ่งที่จะตามมาคือ การ Think outside the box และเป็นการสร้างสายใยเพื่อเชื่อมโยงกับคำถามและโยงไปให้คณะกรรมการ พร้อมกับปลุกใจในความเชื่อมั่นของทุกๆ คน

และคำตอบที่สร้างตัวอย่างไว้ เป็นคำตอบกลางๆ ไม่ยกย่องเชิดชูใครเป็นส่วนตัว แต่จะได้ใจคณะกรรมการและคนที่ดูอยู่อย่างแน่นอน

เมื่อพลาดไปแล้ว ก็ไม่เป็นไร เราอาศัยเรื่องเหล่านี้เป็นบทเรียนกันได้ สำหรับคนที่จะถูกส่งเข้าไปประกวดในปีหน้า

--------------------------------

แต่ถ้าอยากได้สวม "มงกุฎ" จริงๆ ก็ต้องพยายามสอดส่องดูว่า มีข้าราชการระดับสูงของประเทศไทยนั่งอยู่ใกล้ๆ หรือเปล่า เพราะถ้าเอ่ยปากว่า อยากจะได้มงกุฎ ก็อาจจะมีการหยิบยกเอาใส่กระเป๋ากลับมาให้ที่เมืองไทยให้ได้ เนื่องจาก เหตุการณ์แบบนี้ถือว่า มันเป็นเรื่องความผิดเพียงเล็กน้อยๆ เท่านั้นเอง

Happy Tuesday ค่ะ

ที่มา FB


Doungchampa Spencer-Isenberg

ooo



วันจันทร์, มกราคม 30, 2560

สตาร์บัคส์ประกาศแผนจ้างงานผู้ลี้ภัย 10,000 คนทั่วโลก หลังผิดหวังนโยบายสกัดผู้อพยพของ`ทรัมป์` - ซีอีโอ Apple ประกาศไม่สนับสนุนนโยบายแบน 7 ประเทศมุสลิมของโดนัลด์ ทรัมป์





Starbucks Plans to Hire 10,000 Refugees After Trump Action


by
Nick Turner and Brian Louis
Bloomberg

January 30, 2017

Starbucks Corp. Chief Executive Officer Howard Schultz, who wrote he had a “heavy heart” over U.S. President Donald Trump’s immigration order, said the company plans to hire 10,000 refugees over five years around the world.

Trump issued an order on Jan. 27 suspending the admission of refugees into the U.S. for 120 days and banning citizens from seven predominantly Muslim countries for 90 days. The directive has been criticized by U.S. allies Canada and Germany.

Starbucks is in direct contact with employees affected by the immigration ban and will do “everything possible to support and help them to navigate through this confusing period,” Schultz said in a letter to employees posted on the coffee chain’s website. Schultz also said that he and Chief Operating Officer Kevin Johnson, who is due to take over the CEO role this year, will begin communicating with workers more frequently.

“I am hearing the alarm you all are sounding that the civility and human rights we have all taken for granted for so long are under attack, and want to use a faster, more immediate form of communication to engage with you on matters that concern us all as partners,” Schultz wrote.

Schultz said he strongly supported the “Dreamers” program, designed to help immigrants who arrive in the U.S. as children.
Boycott Threat

In posting the letter, Schultz delivered one of corporate America’s fiercest rebukes against Trump’s immigration order. The message also brought a backlash from some Americans. The hashtag #BoycottStarbucks was trending in the U.S. on Monday morning. But Schultz wasn’t alone in criticizing Trump’s move. Google CEO Sundar Pichai, an immigrant from India, called the policy “painful,” and Goldman Sachs CEO Lloyd Blankfein said it’s “not a policy we support.”

Trump wants to build a wall on the border with Mexico and possibly pay for it with a 20 percent tax on Mexican imports in a bid to stem illegal immigration. Schultz wrote that the company would “help and support our Mexican customers, partners and their families as they navigate what impact proposed trade sanctions, immigration restrictions and taxes might have on their business and their trust of Americans.” Starbucks “will continue to invest” in Mexico, he wrote.

“We are living in an unprecedented time, one in which we are witness to the conscience of our country, and the promise of the American Dream, being called into question,” he said.

ooo

สตาร์บัคส์ประกาศแผนจ้างงานผู้ลี้ภัย 10,000 คนทั่วโลก หลังผิดหวังนโยบายสกัดผู้อพยพของ `ทรัมป์`


สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -30 ม.ค. 60 9:19: น.

  สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า 'ฮาวาร์ด ซูทซ์ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสตาร์บัคส์ประกาศแผนจ้างงานผู้ลี้ภัย 10,000 คนทั่วโลกในช่วง 5 ปีข้างหน้า หลังแสดงความผิดหวังต่อมาตรการสกัดผู้ลี้ภัย และจำกัดการเข้าเมืองของพลเมืองในประเทศมุสลิม 7 ประเทศของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ

  โดยประธานาธิบดีสหรัฐฯได้ออกคำสั่งเมื่อวันที่ 27 มกราคมที่ผ่านมา ให้ระงับการอนุญาตให้ผู้ลี้ภัยเข้าประเทศเป็นเวลา 120 วัน และระงับการเข้าประเทศของพลเมืองในประเทศมุสลิม 7 ประเทศเป็นเวลา 90 วัน ขณะที่แคนาดาและเยอรมนีคัดค้านการดำเนินการดังกล่าว 

  'สตาร์บัคส์จะทำสัญญาจ้างแรงงานโดยตรงกับลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายของสหรัฐฯ และทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือแรงงานเหล่านั้นเพื่อนำทางในช่วงเวลาที่สับสนนี้' นายซูทซ์กล่าว 

  ขณะเดียวกันนายซูทซ์กล่าวว่า นายเควิด จอห์นสันประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ซึ่งจะดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ของสตาร์บัคส์ในปีนี้จะสานต่อนโยบายของบริษัทต่อไป
  นอกจากนี้ นายซูทซ์กล่าวว่า จะดำเนินโครงการ 'Dreamers' ต่อไปเพื่อช่วยเหลือเด็กๆผู้อพยพ

แปลโดย วรเชษฐ์ พันธ์ภูวงศ์

.....



Tripped Media จัดคำตอบของมิสไทยแลนด์ 'น้ำตาล ชลิตา'ให้อยู่ในโซนคำตอบที่ไม่ดี คนไทยว่าไง? จาก Miss Universe 2016 Question and Answer: The Best and Worst Answers





Miss Universe 2016 Question and Answer: The Best and Worst Answers


BY ANCY JOHN
JANUARY 30 2017
Source: Tripped Media

Excerpt:

Miss Universe 2016 Question and Answer segment just aired on television. The Top 6 finalists who made it to the portion were Philippines, Kenya, Thailand, France, Haiti and Colombia.

Some of the contestants among the Top 6 used an interpreter during Miss Universe 2016 Q&A portion. All of the six stunning ladies looked like a dream in their gowns.

Unfortunately, it was disappointing to see that most of the Top 6 contestants allowing their nerves get the best of them.

MISS UNIVERSE 2016 QUESTION AND ANSWER: MOST DISAPPOINTING EVER?

Miss Universe 2016 Question and Answer did not have any ‘wow’ moments. The questions were politically loaded. Guess who was at the center of the question and answer segment- Donald Trump. Yes, he made it to the pageant as well- in one of the questions.

MISS UNIVERSE Q&A: WORST ANSWERS

Miss Philippines, the most popular in the contestant was asked about a significant change she has seen in the last ten years. Capitalizing on the local sentiment, she replied by saying that she saw people coming together for an event like Miss Universe. She said, “As one nation we are all together”.

Next up was Miss Kenya- she was asked the most controversial question. Harvey asked her, “What are you most excited about and what are you most concerned about the presidency of Donald Trump”?

She was seen a bit shaken, starting with a fumble, she began again. Miss Kenya spoke about the current president being elected despite most not wanting him to be president but ended up on a positive note saying he ought to be given a chance.

Miss Thailand was asked to speak about the world leader she admires. It was not surprising that she spoke about the King of Thailand. She lauded the leader of her country for working on behalf of the Thai people and being like a ‘father’ to the country.

MISS UNIVERSE Q&A: BEST ANSWERS

Miss France got a tough question- she was asked about the most pressing situation in the world right now- the refugee crisis. The host asked her if ‘countries have the right to open or close” the borders on the refugees. She answeed that it is upon each country to decide on whether to close or open their borders. Not expected, but not unsafe either.

She said Europe has open borders and France is encouraging globalization. She ended the answer by saying that countries should have open borders as it helps one to travel the world and find “what’s out there”.

Miss Haiti also got another current phenomenon- the Women’s Marches. She had to answer the question of she would stand for during these marches if she had a chance. Taking a higher ground, she said that “We are all one species,” calling for everyone to respect each other.





คำถาม-คำตอบ วัดกึ๋นการเมืองมิสยูนิเวิร์ส


by พรรณิการ์ วานิช
30 มกราคม 2560 

ดูคลิปข่าวได้ที่


เว็บไซต์ Tripped Media จัดอันดับคำตอบของผู้เข้าประกวดมิสยูนิเวิร์ส โดยแบ่งเป็นคำตอบที่แย่ที่สุด และดีที่สุด อย่างละ 3 คำตอบ





คำตอบที่ถูกจัดอันดับว่าแย่ที่สุด เป็นของมิสฟิลิปปินส์ เธอถูกถามว่า ใน 10 ปีที่ผ่านมา คิดว่าความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดต่อโลกคืออะไร เธอกลับตอบว่า การประกวดมิสยูนิเวิร์ส ซึ่งทำให้คนจากที่ต่างๆได้มารวมตัวกัน เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ทั้งที่การประกวดมิสยูนิเวิร์สก็มีทุกปี ไม่ได้เพิ่งเกิดในช่วง 10 ปีมานี้





คำตอบยอดแย่อีกคำตอบก็คือของมิสเคนยา เธอถูกถามคำถามที่การเมืองและท้าทายที่สุดในงาน คือในรอบ 10 วันที่ผ่านมา เธอคิดว่าอะไรคือสิ่งที่น่าตื่นเต้นและน่ากังวลที่สุดในยุคของรัฐบาลทรัมป์ มิสเคนยาตอบแบบไม่ตรงคำถามมากนักว่า ทรัมป์ไม่ได้รับการยอมรับ ทั้งที่ชนะการเลือกตั้ง เพราะยังมีคนสนับสนุนประธานาธิบดีบารัก โอบามา ซึ่งสนับสนุนอดีตความหวังประธานาธิบดีหญิงอย่างฮิลลารี คลินตัน แต่เธอก็เชื่อว่าทรัมป์สามารถยุติความแตกแยกในประเทศได้





อีกคำตอบที่ถูก Tripped Media จัดให้อยู่ในโซนคำตอบที่ไม่ดี ก็คือคำตอบของมิสไทยแลนด์ น้ำตาล ชลิตา ส่วนเสน่ห์ เธอถูกถามว่าผู้นำโลกในอดีตหรือปัจจุบันคนใดที่เธอประทับใจ เพราะเหตุใด น้ำตาลตอบว่าในหลวง ผู้ทรงงานหนักมาตั้งแต่เธอยังเด็ก และทรงเปรียบเหมือนบิดาของคนไทยทุกคน





สำหรับคำตอบที่ดี เริ่มที่คำตอบของมิสโคลอมเบีย ผู้ถูกถามเหตุใดความรุนแรงจึงแพร่ระบาดในสังคม และควรแก้ปัญหานี้อย่างไร เธอยอมรับว่าประเทศของเธอเผชิญกับความรุนแรง และบ่อยครั้งที่ประธานาธิบดีของเธอก็ไม่ได้ถูกใจคนในประเทศ แต่ก็สามารถทำงานร่วมกันได้ ผ่านการรณรงค์ การเคารพซึ่งกันและกัน และการไม่กีดกัน ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม รวมถึงการให้การศึกษากับเด็กๆ





อีกคำตอบที่น่าประทับใจเป็นของมิสเฮติ ที่ถูกถามว่าหากมีโอกาสเข้าร่วมการประท้วงต่อต้านทรัมป์ Women's March เธอจะเข้าร่วมเพื่อเรียกร้องอะไร เธอตอบว่าเธอจะร่วมรณรงค์เพื่อเอเลนอร์ รูสเวลต์ อดีตสตรีหมายเลขหนึ่งผู้ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนมาตลอด และยังบอกด้วยว่ามนุษย์ทุกคนมาจากสปีชี่เพียงแค่ 6 ชุดเมื่อ 10,000 ปีที่แล้ว เพราะฉะนั้น ทุกคนควรเป็นหนึ่งเดียวกัน และเคารพกันและกัน





แต่คำตอบที่ได้รับคำชื่นชมมากที่สุด ทั้งในเรื่องการแสดงกึ๋นและความกล้าหาญ ก็คือคำตอบของมิสฝรั่งเศส เธอถูกถามคำถามที่ยากที่สุดเช่นกัน นั่นคือคิดว่าประเทศใดๆมีสิทธิ์เลือกเปิดหรือปิดพรมแดนไม่รับผู้ลี้ภัยหรือไม่ เธอตอบว่าทุกประเทศย่อมมีสิทธิ์เลือกรับหรือไม่รับผู้อพยพลี้ภัย แต่ยุโรปเลือกเปิดพรมแดน และฝรั่งเศสก็เลือกเปิดรับโลกาภิวัตน์ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ คำตอบนี้เป็นสิ่งที่ทั่วโลกต้องการฟัง ท่ามกลางการต่อต้านนโยบายกีดกันผู้อพยพของทรัมป์

.....


.....




https://www.facebook.com/PrachachatOnline/videos/10155178463818814/

ooo




https://www.facebook.com/MissUniverse/videos/10155054025394047/

Beauty, grace, confidence, intelligence. Those are the qualities embodied by your 65th #MissUniverse, Iris Mittenaere.

เครือข่ายนักวิชาการฯ นำ 352 รายชื่อ ร้อง ปธ.ศาลฎีกา ปมละเมิดสิทธิ ไผ่ ดาวดิน




ที่มา FB

ประชาไท Prachatai.com

เครือข่ายนักวิชาการฯ นำ 352 รายชื่อ ร้อง ปธ.ศาลฎีกา ปมละเมิดสิทธิ ไผ่ ดาวดิน

วันนี้ เวลา 11.00 น. เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) นำโดยอนุสรณ์ อุณโณ พวงทอง ภวัครพันธุ์ ยุกติ มุกดาวิจิตร พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ชลิตา บัณฑุวงศ์ สามชาย ศรีสันต์ ภาสกร อินทุวงศ์ ธนะศักดิ์ สายจำปา และนาตยา อยู่คง ได้เดินทางมายังศาลฎีกา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาทั่วประเทศ เรื่อง ความเสื่อมถอยของระบบนิติรัฐและการละเมิดสิทธิ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน

โดยอนุสรณ์ได้อ่านจดหมายเปิดผนึกที่หน้าศาลฎีกา และรายชื่อแนบท้าย 352 รายชื่อ ภายหลังอ่านจบ ปิยะนุช มนูรังสรรค์ เลขาธิการประธานศาลฎีกาได้เดินออกมารับจดหมายเปิดผนึกจาก คนส.

ในส่วนจดหมายเปิดผนึกทั้ง 169 ฉบับไปยังประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ทุกภาค หัวหน้าผู้พิพากษาศาลแขวง ศาลจังหวัด อธิบดีผู้พิพากษาทุกภาค

อนุสรณ์กล่าวว่า เป้าหมายของการยื่นจดหมายครั้งนี้เพราะเชื่อว่ายังมีนักกฎหมายและผู้พิพากษาที่มีใจเที่ยงธรรมอยู่ และหลังจากนี้หากยังไม่มีความเคลื่อนไหวในทางบวกก็จะหาแนวทางเคลื่อนไหวต่อไป

อ่านจดหมายเปิดผนึก 'ความเสื่อมถอยของระบบนิติรัฐและการละเมิดสิทธิ ไผ่ ดาวดิน จม.ถึงผู้พิพากษา' ได้ตามลิงค์นี้ http://prachatai.org/journal/2017/01/69844

ooo

จดหมายเปิดผนึกเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.)




ถึง ประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาทั่วประเทศ
เรื่อง ความเสื่อมถอยของระบบนิติรัฐและการละเมิดสิทธินายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา
เรียน ประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาทั่วประเทศ

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) และผู้มีรายชื่อแนบท้ายใคร่เสนอความเห็นและข้อเรียกร้องต่อท่าน ในฐานะที่ท่านเป็นผู้มีหน้าที่อำนวยความยุติธรรมและนิติรัฐ ดังต่อไปนี้

ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมาหนึ่งในวิกฤติการณ์ที่สังคมกำลังเผชิญอยู่คือวิกฤติศรัทธาที่ประชาชนมีต่อกระบวนการยุติธรรมของไทย วลี “สองมาตรฐาน” มักถูกใช้เพื่อหมายถึงการบังคับใช้และตีความกฎหมายต่อบุคคลและกลุ่มบุคคลอย่างไม่เสมอภาคเท่าเทียมกัน การไม่เคารพต่อหลักนิติรัฐและสิทธิเสรีภาพของประชาชน และองค์กรตุลาการถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองบ่อยครั้ง

ปัญหาดังกล่าวรุนแรงยิ่งขึ้นหลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อกฎหมายถูกใช้ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่แสดงความเห็นแตกต่างจากผู้มีอำนาจ ศาลทหารถูกใช้ดำเนินคดีประชาชนที่ต่อต้านรัฐบาลทหาร โดยไม่มีเสียงคัดค้านจากบุคคลในองค์กรตุลาการปกติแต่อย่างใด

หากบุคคลในวงการยุติธรรมเปิดใจรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้น ย่อมตระหนักถึงความรู้สึกข้อนี้ของประชาชนได้ไม่มากก็น้อย เพราะปรากฏว่าในปัจจุบัน แม้แต่ประชาชนทั่วไปก็กล้าวิจารณ์การทำงานของศาลอย่างตรงไปตรงมาในสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ จนกล่าวได้ว่าไม่มียุคใดที่ประชาชนไทยจะเสื่อมศรัทธาต่อกระบวนการยุติธรรมเท่ายุคนี้

ล่าสุดกรณีนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา (ไผ่ ดาวดิน) นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ตอกย้ำประเด็นปัญหาข้างต้นของกระบวนการยุติธรรมไทย เป็นกรณีที่ทำให้ประชาชนกลุ่มต่างๆ ตลอดจนองค์กรสิทธิมนุษยชนทั้งภายในและระหว่างประเทศรู้สึกกังวลและออกมาเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานให้กับนายจตุภัทร์

นายจตุภัทร์ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 จากการแชร์ข่าวพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเฟซบุ๊กของสำนักข่าวบีบีซีไทยในเฟซบุ๊กของตน ต่อมาศาลจังหวัดขอนแก่นได้มีคำสั่งเพิกถอนการประกันตัวของนายจตุภัทร์เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2559 โดยให้เหตุผลว่านายจตุภัทร์ไม่ลบข้อความที่ถูกกล่าวหา อีกทั้งยังมีการแสดงภาพถ่ายที่ศาลเห็นว่าเป็นการเย้ยหยันอำนาจรัฐ ซึ่งจนถึงบัดนี้ ทนายความได้ยื่นอุทธรณ์และฎีกาตามลำดับ แต่ศาลสูงได้ยืนตามคำสั่งของศาลจังหวัดขอนแก่น อีกทั้งทนายความได้ยื่นขอประกันตัวใหม่แล้วถึงห้าครั้ง แต่ศาลก็ยังไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวนายจตุภัทร์เป็นการชั่วคราว

ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มกราคม ที่ผ่านมา อันเป็นวันที่ศาลนัดไต่สวนคำร้องของตำรวจที่ขอฝากขังนายจตุภัทร์อีก 12 วัน ปรากฏว่าผู้พิพากษาได้ประกาศว่าจะพิจารณาคดีแบบลับ โดยห้ามบุคคลอื่นเข้าฟังการพิจารณาคดี อนุญาตให้มีเพียงนายจตุภัทร์ บิดามารดา และทนายความอยู่ในห้องพิจารณาคดีเท่านั้น แม้ว่าทนายความและนายจตุภัทร์จะโต้แย้งว่าในวันนั้นทางทนายความเพียงต้องการคัดค้านการขอฝากขังของเจ้าหน้าที่ตำรวจเท่านั้น ยังไม่ได้เข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาคดี ประการสำคัญเป็นสิทธิของประชาชนที่จะเข้ารับฟังการพิจารณาโดยเปิดเผย แต่ศาลก็ยังยืนยันคำสั่งเดิมด้วยเหตุผลว่าเป็นคดีความมั่นคง เหตุการณ์นี้ทำให้นายจตุภัทร์ประกาศว่าในเมื่อเขาไม่เคยได้รับสิทธิใดๆ จากศาล เขาก็ขอสละสิทธิการมีทนายความ โดยจะว่าความต่อสู้คดีด้วยตนเอง

นักเรียนกฎหมายทุกคนย่อมรู้ดีว่า ตามหลักนิติรัฐ ตราบเท่าที่ยังไม่มีการพิพากษาว่ามีความผิด ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ อีกทั้งยังไม่มีหลักฐานหรือเหตุผลน่าเชื่อถือว่านายจตุภัทร์สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานในการดำเนินคดี หรือพยายามหลบหนีแต่ประการใด

ประการสำคัญ นายจตุภัทร์ยังไม่ได้แสดงหรือกระทำการฝ่าฝืนเงื่อนไขที่ศาลได้กำหนดในคำสั่งอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว ศาลไม่ได้กำหนดให้การลบข้อความที่ถูกกล่าวหาเป็นเงื่อนไขของการให้ประกันตัว อีกทั้งหากกำหนดให้ต้องลบข้อความดังกล่าวก็อาจทำให้เข้าใจได้ว่าศาลได้วินิจฉัยไปแล้วว่าการกระทำที่กล่าวหาเป็นความผิดโดยที่ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการพิจารณา ยิ่งกว่านั้น นายจตุภัทร์ได้แจ้งต่อศาลอย่างชัดเจนว่าเหตุผลที่ไม่ลบข้อความที่ถูกกล่าวหาก็เพราะต้องการจะเก็บไว้เป็นพยานหลักฐานต่อสู้คดีในชั้นพิจารณา การไม่ลบข้อความที่ถูกกล่าวหาจึงเป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขการให้ประกันตัวของศาลที่ห้ามเกี่ยวข้องกับพยานหลักฐานในคดี และเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าผู้ต้องหาจะไม่ไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน

นอกจากนี้ นายจตุภัทร์จะต้องสอบรายวิชาสุดท้ายที่ได้ลงทะเบียนไว้ในวันที่ 17-18 มกราคม 2560 เพื่อสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี แต่ศาลกลับไม่อนุญาตให้นายจตุภัทร์ได้ประกันตัวเพื่อออกไปสอบ ซึ่งอาจส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษาและอนาคตของเยาวชนคนหนึ่ง นี่เป็นเหตุผลด้านมนุษยธรรมพื้นฐานที่ขาดหายไปในการพิจารณาของศาล

ส่วนการที่นายจตุภัทร์แสดงออกในสื่อสังคมออนไลน์โดยการโพสต์รูปภาพหรือส่งข้อความบนเฟซบุ๊คภายหลังการปล่อยชั่วคราว และศาลเห็นว่าเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เย้ยหยันอำนาจรัฐโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมืองนั้น คนส. เห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการแสดงออกซึ่งสิทธิเสรีภาพที่สามารถทำได้ตามกฎหมาย เนื่องจากมิได้มีกฎหมายกำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด และการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวต้องมีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติเท่านั้น ซึ่งการเย้ยหยันอำนาจรัฐหรือการไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมืองไม่อาจใช้เป็นเหตุในการสั่งไม่อนุญาตประกันตัว อีกทั้งศาลก็ไม่ได้กำหนดให้เป็นเงื่อนไขในการประกันตัวด้วย

การไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวเป็นข้อยกเว้นในทางกฎหมาย ซึ่งในทางนิติวิธีนั้นการบังคับใช้กฎหมายในกรณีข้อยกเว้นจะต้องกระทำอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นบทบัญญัติซึ่งจำกัดสิทธิเสรีภาพด้วยแล้ว ศาลไม่อาจที่จะวินิจฉัยนอกเหนือจากที่บทบัญญัติกฎหมายกำหนดเอาไว้ได้

การที่ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำสั่งเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งถอนประกันจึงสร้างความเคลือบแคลงสงสัยแก่สังคม และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในกลุ่มนักกฎหมายว่าการพิจารณาดังกล่าวอาจไม่มีฐานทางกฎหมายรองรับ

จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น คนส. และผู้มีรายชื่อแนบท้ายจำนวน 352 รายชื่อ จึงขอเรียกร้องต่อท่านดังต่อไปนี้

1. ในระยะยาว ถึงเวลาที่บุคลากรในองค์กรตุลาการจะต้องพิจารณาอย่างจริงจังถึงภาวะวิกฤติศรัทธาที่ประชาชนมีต่อพวกท่าน และพึงหาแนวทางแก้ไขหรือปฏิรูประบบยุติธรรมของไทย ทั้งนี้ องค์กรตุลาการพึงปฏิบัติหน้าที่ปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในฐานะคุณค่าที่ได้รับการรับรองโดยกติการะหว่างประเทศที่ผูกพันประเทศไทย ต้องตระหนักและแสดงบทบาทของตนในการตรวจสอบการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามหลักนิติรัฐและความยุติธรรม มิใช่ประพฤติตนเสมือนเป็นผู้พิทักษ์อำนาจรัฐอันไม่ชอบธรรมนั้นเสียเอง

2. ในระยะเฉพาะหน้า ขอให้ศาลทบทวนการพิจารณาเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวนายจตุภัทร์เมื่อมีการยื่นคำร้องตามกระบวนการของกฎหมาย เพื่อคืนสิทธิอันพึงมีให้กับนายจตุภัทร์ และฟื้นฟูความปกติให้กระบวนการยุติธรรมและหลักการพื้นฐานของนิติรัฐ

ด้วยความห่วงใยต่อระบบนิติรัฐของไทย

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง
30 มกราคม 2560



An Open letter from the Thai Academic Network for Civil Rights (TANC)




To: President of the Supreme Court and judges across the nation
Re: The Decline of the Rule of Law and the Violation of Mr. Jatupat
Bunpattararaksa’s Rights

Dear President of the Supreme Court and judges across the nation

The Thai Academic Network for Civil Rights (TANC) and the undersigned wish to express our opinions and submit for your consideration our requests to you as upholders of justice and the rule of law as follows:

In the past 10 years one of the crises with which our society has faced is the public’s loss of faith in the Thai judicial process. The phrase “double standards” is often used to refer to the enforcement and interpretation of laws applicable to individuals and groups of individuals in an unequal manner, the lack of respect to the rule of law and the people’s rights and freedoms, and the frequent exploitation of the judicial institution for political gains.

Such problems seemed progressively more serious after the NCPO staged the coup d’état, when laws were exploited to curb the freedom of civilians whose views differ from the power holders. Civilians have been tried in military courts with no objection by any personnel in the civilian judicial institution.

With their hearts open to these problems, those working in the justice system must be, to varying degrees, aware of the people’s frustration. Today even ordinary people are not afraid to openly criticize on social media the performance of court personnel. It can be said that the gravity of the people’s loss of faith in the justice process is unprecedented.

The most recent case of Mr. Jatupat Boonpattararaksa (Pai Daodin), a student at the Faculty of Law, Khon Kaen University, has accentuated the problems with the Thai justice process. This case has raised concerns among different civil society groups and human rights organizations, domestic and international alike, which demanded that basic rights be given to Mr. Jatupat.

Mr. Jatupat was accused of violating Article 112 and the Computer Crime Act by sharing on his Facebook page a news article about King Rama X’s personal life written by the BBC Thai News. The Khon Kaen provincial court later ordered a revocation of his bail on December 22, 2016 citing that Mr. Jatupat did not delete the published material in question and that he has shown an image deemed by the court as an act of deriding state power. Since then his attorney has submitted appeals and, later, petitions, but the higher court has upheld the provincial court’s opinions. The attorney has also attempted to post bail five times, yet the court still refused to grant him temporary release.

Recently on January 20 when the court held a hearing of the police’s petition for another 12-day detention, it turns out that the judge declared that the hearing be done in secret, barring third parties from attending the hearing and allowing only the presence of Mr. Jatupat, his parents, and attorney in the chamber. Although Mr. Jatupat himself and his attorney argued that the attorney merely sought to contest the police’s request, not already engaging in the trial process, and that more importantly it was the public’s right to attend the hearing, the court, however, insisted on the order citing that the matter of the case was concerned with security. This incident thus led Mr. Jatupat to announce that since he had never been granted any rights by the court, he therefore gave up his right to an attorney and would instead represent himself in court.

Any student of law should be well aware that according to the rule of law, so long as the verdict is not reached, the suspect shall be presumed innocent. This is not to mention that there is no evidence or probable cause that Mr. Jatupat would be able to meddle with evidence used in the trial process or would try to flee at all.

It is important to note that Mr. Jatupat has not displayed or conducted any act deemed a violation of the contents written in the court’s order of a temporary release. The court did not establish that a deletion of the written material in question was a condition for the release. Deleting such material may lead to an understanding that the court had already declared the alleged act was indeed a legal offense, even before the trial began. Moreover, Mr. Jatupat has clearly informed the court that his reason for not deleting the material was that he wished to use it as evidence to defend himself in court. Thus, that he did not delete the material not only was compliant with the condition imposed by the court, which stated that he shall not meddle with evidence, but also strongly indicated that he would not do so.

In addition to this, Mr. Jatupat was obliged to take an examination on January 17-18 for a course which he had registered, in order to graduate with a bachelor’s degree. The court, however, refused to grant him bail, which would have allowed him to take the examination. This has affected his graduation plans and future as a member of the youth—revealing an absence of basic humanitarian grounds in the court’s consideration.

The TANC considers the action a freedom of expression guaranteed by the law that Mr. Jatupat has expressed his views in social media by posting Facebook images or messages after the bail release, which the court deemed as a symbolic act of deriding state power with no regards to the law. No law exists that criminalizes such act. Coupled with this, the refusal to grant bail shall follow from a cause specified by the law. Deriding state power or expressing no fear of the law shall not be a base for the decision to deny bail. Additionally, the court did not specify these actions as bail conditions.

A refusal to grant bail is a legal exception. In the legal process, enforcing the law with a legal exception must be done with stringency, especially in cases involving laws restricting freedoms. The court cannot opine beyond what is written in the law.

The Khon Kaen provincial court’s revocation of the bail and the Court of Appeal, Region 4’s denial of the petition to appeal the revocation order thus created suspicions in the society and were subjected to discussions among lawyers as to whether or not such decisions have any legal basis.

Given the reasons outlined above, the TANC and the undersigned submit for your consideration the following requests:

1. In the long term, this is the time for the members of the judiciary to earnestly reflect on the public’s loss of confidence in your institution and seek solutions to the crisis or reform the Thai justice system. The judiciary shall perform the task of protecting the people’s freedoms, which are valued and endorsed by international agreements by which Thailand abides and shall recognize and display its role in overseeing the enforcement of the law in the spirit of the rule of law and justice, not acting as a guardian of illegitimate state power.

2. Provisionally, we ask that the court consider a reversal of the order on Mr. Jatupat’s release once a petition is submitted in the legal process, in order to return him basic human rights and restore normalcy to the justice process and to the basic principles of the rule of law.


With concerns for Thailand’s rule of law

Thai Academic Network for Civil Rights
January 30, 2017




1. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร
3. เกษม เพ็ญภินันท์
4. เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5. กนกรัตน์ สถิตินิรามัย รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6. กนกวรรณ ผ่องแผ้ว นักวิชาการอิสระ
7. กนกวรรณ มะโนรมย์ มหาวิทยาลัยราชธานี
8. กฤช เหลือลมัย
9. กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช
10. กฤตยา อาชวนิชกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

11. กฤติธี ศรีเกตุ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ .มหาวิทยาลัยศิลปากร
12. กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
13. กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
14. กษมาพร แสงสุระธรรม
15. กันต์ฌพัชญ์ อยู่อำไพ
16. กานต์ ทัศนภักดิ์
17. กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา
18. กิ่งกาญจน์ สำนวนเย็น
19. กิตติ วิสารกาญจน สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
20. กิตติกาญจน์ หาญกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

21. กิตติพล เอี่ยมกมล นักศึกษาปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
22. กิตติพล สรัคคานนท์ บรรณาธิการ/นักเขียน
23. กิติภูมิ จุฑาสมิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ
24. กุลธีร์ บรรจุแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
25. กุลลดา เกษบุญชู มี้ด
26. ขวัญชนก กิตติวาณิชย์
27. ขวัญชัย กุลสันติธำรงค์
28. ขวัญชีวัน บัวแดง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
29. เคท ครั้งพิบูลย์
30. เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

31. เดือนฉาย อรุณกิจ
32. เครือมาศ บำรุงสุข
33. เควินทร์ ลัดดาพงศ์ นักศึกษาปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
34. คงกฤช ไตรยวงค์
35. คณา คณะเกษม
36. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
37. คมลักษณ์ ไชยยะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
38. ครุศักดิ์ สุขช่วย
39. คอลิด มิดำ
40. คารินา โชติรวี

41. คำแหง วิสุทธางกูร สาขาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
42. ฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร
43. งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
44. ใจสิริ วรธรรมเนียม
45. เจนจิรา บัวขาว
46. เจนวิทย์ เชื้อสาวะถี
47. จณิษฐ์ เฟื่องฟู มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
48. จอน อึ๊งภากรณ์
49. จักเรศ อิฐรัตน์

50. จักรกริช สังขมณี
51. จันจิรา สมบัติพูนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
52. จารุนันท์ พันธชาติ
53. จิตติมา พลิคามิน
54. จิรธร สกุลวัฒนะ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
55. จิรภัทร อังศุมาลี
56. จิราพร เหล่าเจริญวงศ์
57. จิราภรณ์ สมิธ
58. จีรนุช เปรมชัยพร
59. จีรพล เกตุจุมพล
60. จุฑามาศ ตั้งสันติกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

61. เชษฐา พวงหัตถ์
62. เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
63. เฉลิมพล โตสารเดช
64. ฉลอง สุนทราวาณิชย์
65. ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
66. ไชยันต์ รัชชกูล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
67. แชมุน ลี นักศึกษาปริญญาเอกสาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
68. ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
69. ชมพูนุท เฉลียวบุญ
70. ชลธิชา แจ้งเร็ว

71. ชลนภา อนุกูล เครือข่ายวิชาการเพื่อสังคมเป็นธรรม
72. ชลัท ศานติวรางคณา มหาวิทยาลัยมหิดล
73. ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาเกษตรศาสตร์
74. ชัชชล อัตนากิตติ นักศึกษาปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
75. ชัชวาล ปุญปัน ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
76. ชัยพงษ์ สำเนียง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
77. ชัยพร สิงห์ดี
78. ชัยภวิศร์ ธวัชชัยนันท์
79. ชาญณรงค์ บุญหนุน ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
80. ชาตรี ประกิตนนทการ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

81. ชานันท์ ยอดหงษ์
82. ชำนาญ จันทร์เรือง
83. ซัมซู สาอุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
84. ซาฮารี เจ๊ะหลง จ. ปัตตานี
85. ญาดา เกรียงไกรวุฒิกุล
86. ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
87. ณภัค เสรีรักษ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
88. ณรรธราวุธ เมืองสุข
89. ณรุจน์ วศินปิยมงคล รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
90. ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์

91. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
92. ดวงมน จิตร์จำนงค์
93. ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
94. ดวงหทัย บูรณเจริญกิจ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
95. ดาราณี ทองศิริ ห้องเรียนเพศวิถีและสิทธิมนุษยชน ร้านหนังสือบูคู
96. ดารารัตน์ คำเป็ง
97. ดำนาย ประทานัง
98. ตะวัน วรรณรัตน์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
99. ถนอม ชาภักดี
100.เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

101.ทนุวงศ์ จักษุพา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
102.ทวีศักดิ์ เผือกสม
103.ทวีศักดิ์ ปิ นักศึกษาปริญญาโท สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
104.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
105.ทอแสง เชาว์ชุติ
106.ทัศนัย เศรษฐเสรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
107.ทายาท เดชเสถียร นักทำหนังอิสระ
108.ทิชา ณ นคร
109.ธเนศ อาภรณ์​สุวรรณ
110.ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล Graduate School of Asia-Pacific Studies, Waseda University

111.ธนศักดิ์ สายจำปา สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
112.ธนาพล ลิ่มอภิชาต
113.ธนาวิ โชติประดิษฐ
114.ธร ปีติดล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
115.ธรรมศาสตร์ โสตถิพันธุ์
116.ธาริตา อินทะนาม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
117.ธิกานต์ ศรีนารา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
118.ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
119.ธีระพล อันมัย
120.เนตรนภิส วรศิริ

121.นงเยาว์ เนาวรัตน์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
122.นที สรวารี
123.นภาพร อติวานิชยพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
124.นภิสา ไวฑูรเกียรติ มหาวิทยาลัยนเรศวร
125.นราสิทธิ์ เสนาจันทร์
126.นรุตม์ เจริญศรี คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
127.นฤมล กล้าทุกวัน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
128.นฤมล ทับจุมพล
129.นวพล ลีนิน
130.นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

131.นันฑกรณ์ อนุพันธ์
132.นาตยา อยู่คง ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
133.นิติ ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
134.นิธิ เอียวศรีวงศ์
135.นิรภัย สายธิไชย
136.นิอับดุลฆอร์ฟาร โตะมิง
137.นีลชา เฟื่องฟูเกียรติ
138.เบญจมาศ บุญฤทธิ์
139.เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
140.บดินทร์ สายแสง สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

141. บัณฑิต ไกรวิจิตร
142.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
143.บารมี ชัยรัตน์
144.บาหยัน อิ่มสำราญ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
145.บุญเลิศ วิเศษปรีชา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
146.บุญยืน สุขใหม่
147.บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
148.บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล
149.ปฐม ตาคะนานันท์
150.ปฐมพร แก้วหนู

151.ปฐวี โชติอนันต์
152.ประไพ นุ้ยสุวรรณ
153.ประกายดาว คันธะวงศ์
154.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
155.ประภาพรรณ อุ่นอบ คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
156.ประภาส ปิ่นตบแต่ง สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
157.ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ
158.ปรัชญา โต๊ะอิแต
159.ปรัชญากรณ์ ลครพล นักศึกษาปริญญาโท สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
160.ปราโมทย์ ระวิน

161.ปราการ กลิ่นฟุ้ง
162.ปราชญ์ ปัญจคุณาธร, นักศึกษาปริญญาเอก University of Toronto
163.ปรารถนา เณรแย้ม
164.ปริวัตร สมบัติ
165.ปรีดา ทองชุมนุม นักกฎหมาย
166.ปฤณ เทพนรินทร์
167.ปวลักขิ์ สุรัสวดี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
168.ปาริชาติ วลัยเสถียร ข้าราชการบำนาญ
169.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
170.ปุรินทร์ นาคสิงห์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

171. แพร จิตติพลังศรี
172.ไพรินทร์ กะทิพรมราช คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
173.พกุล แองเกอร์
174.พงศธร ขยัน
175.พงษ์ศักดิ์ รัตนวงศ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
176.พชรวรรณ บุญพร้อมกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
177.พนมกร โยทะสอน
178.พนิดา อนันตนาคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
179.พรเพ็ญ เจริญสมจิตร์
180.พรชัย นาคสีทอง มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา

181.พรณี เจริญสมจิตร์
182. พรพรรณ วรรณา
183.พรรณราย โอสถาภิรัตน์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
184.พรสุข เกิดสว่าง
185.พฤหัส พหลกุลบุตร
186.พวงทอง ภวัครพันธุ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
187.พสิษฐ์ วงษ์งามดี
188.พัชราภรณ์ หนังสือ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
189.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์
190.พิเชฐ แสงทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

191.พิกุล อิทธิหิรัญวงศ์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

192.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
193.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
194.พิพัฒน์ พสุธารชาติ
195.พิพัฒน์ สุยะ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
196.พิศาล แสงจันทร์ นักทำหนังอิสระ
197.พุทธ​พล มงคลวรวรรณ
198.พุทธณี กางกั้น
199. ฟารีดา จิราพันธุ์
200.ฟิตรา เจ๊ะโวะ

201.ภักดิ์กมล ศิริวัฒน์
202.ภัคจิรา กีรติวิบูลย์วงศ์
203.ภัควดี วีระภาสพงษ์
204.ภัทรพล ฉัตรชลาวิไล
205.ภัทรภร ภู่ทอง โครงการจดหมายเหตุคอมฟอร์ทวูเมน ศูนย์สิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล
206.ภัสสรา บุญญฤทธิ์
207.ภาสกร อินทุมาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
208. ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
209.ภู กระดาษ นักเขียน
210.เมธาวี โหละสุต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

211.มนตรา พงษ์นิล
212.มูนีเราะฮ์ ยีดำ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
213. มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
214.เยาวนิจ กิตติธรกุล สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
215.ยศ สันตสมบัติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
216.ยุกติ มุกดาวิจิตร สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
217. เริงวิชญ์ นิลโคตร คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
218.รจเรข วัฒนพาณิชย์ บุ๊ครีพับลิก
219.รจนา คำดีเกิด
220.รชฎ สาตราวุธ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

221.รชฏ นุเสน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
222.รพีพรรณ เจริญวงศ์
223.รวิวรรณ รักถิ่นกำเนิด นักศึกษาปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
224.รัฏฐกานต์ ดีพุ่ม
225.รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ อาจารย์พิเศษ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
226.รัตนา โตสกุล ข้าราชการบำนาญ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
227. ราม ประสานศักดิ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
228.รามิล กาญจันดา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
229.รุ่งทิพย์ จันทร์ธนะกุล สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ ม.ศิลปากร
230.ลลิตา หาญวงษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

231.ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี
232.ลักขณา ปันวิชัย
233.ลิดาพรรณ จันทร์พิมานสุข
234.เวียง-วชิระ บัวสนธ์
235.วรพจน์ พันธุ์พงศ์ นักเขียน สื่อมวลชน
236.วรรณภา ลีระศิริ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
237. วราภรณ์ เรืองศรี
238.วริตตา ศรีรัตนา
239.วสันต์ ปัญญาแก้ว คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
240.วัชรพล พุทธรักษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

241. วัฒนชัย วินิจจะกูล
242.วัฒนา สุกัณศีล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
243. วิจักขณ์ พานิช
244.วิทยา อาภรณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
245.วินัย ผลเจริญ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
246.วิภาวี พงษ์ปิ่น คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
247.วิมลสิริ เหมทานนท์ มหาวิทยาลัยมหิดล
248.วิริยะ สว่างโชติ
249.วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา
250.วีรชัย พุทธวงศ์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

251.วีรบูรณ์ วิสารทสกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
252.ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
253.ศรัญญา ชินวรรธนวงศ์
254.ศรันย์ สมันตรัฐ ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
255.ศักดิ์ชัย ลุนลาพร
256.ศาสวัต บุญศรี เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
257.ศิริจิต สุนันต๊ะ, สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
258.ศิริพร เพ็งจันทร์
259.ศิวพล ชมภูพันธุ์
260.ศิววงศ์ สุขทวี

261.ศุภกาญจน์ พงศ์ยี่หล้า ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
262.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
263.เสฎฐวุฒิ ยุทธาวรกูล นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
264.เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์
265.สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
266.สถิตย์ ลีลาถาวรชัย นักศึกษาปริญญาเอก University of Florida
267.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
268.สมฤทธิ์ ลือชัย
269.สมัคร์ กอเซ็ม
270.สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์ นักวิชาการอิสระ

271.สร้อยมาศ รุ่งมณี
272.สรัช สินธุประมา นักศึกษาปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
273.สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ
274.สามชาย ศรีสันต์
275.สายทิพย์ วรรณาการ
276.สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย
277.สิริกร ทองมาตร นักศึกษาปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
278.สุชาดา จักรพิสุทธิ์
279.สุชาดา ทวีสิทธิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
280.สุชาติ เศรษฐมาลินี มหาวิทยาลัยพายัพ

281.สุชาติ สวัสดิ์ศรี
282.สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
283.สุดคนึง บูรณรัชดา
284.สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
285.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
286.สุธิดา วิมุตติโกศล ศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์
287.สุปรียา หวังพัชรพล คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
288.สุภัทรา น. วรรณพิณ ข้าราชการบำนาญ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
289.สุมนมาลย์ สิงหะ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย
290.สุรชาติ บำรุงสุข

291.สุรพศ ทวีศักดิ์
292.สุรวัฒน์ ชลอสันติสกุล, นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
293.สุรัช คมพจน์ หลักสูตรรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองการปกครอง สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
294.สุรินทร์ อ้นพรม คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
295.สุวัฒน์ ลิ้มสุวรรณ นักวิจัยอิสระ
296. สุวิมล รุ่งเจริญ
297.หทยา อนันต์สุชาติกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
298. เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
299. เอกราช ซาบูร์
300.เอกฤทัย ฉัตรชัยเดช

301.เอกสิทธิ์ หนุนภักดี
302.อโนชา สุวิชากรพงศ์
303.อดิศร เกิดมงคล
304.อนุชา วินทะไชย สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
305.อนุพงษ์ จันทะแจ่ม (ประชาชน)
306.อนุสรณ์ ติปยานนท์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
307.อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
308.อภิชาต สถิตนิรามัย เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
309.อภิชาติ จันทร์แดง สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
310.อภิญญา เวชยชัย ข้าราชการบำนาญ

311.อมต จันทรังษี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
312.อรดี อินทร์คง
313.อรทัย อาจอ่ำ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
314.อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ)
315.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
316.อรรถพล อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
317.อรศรี งามวิทยาพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
318.อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
319.อรอนงค์ หัตถโกศล
320.อรัญญา ศิริผล

321.อรุณี สัณฐิติวณิชย์
322.อสมา มังกรชัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
323.อังกูร หงษ์คณานุเคราะห์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
324.อัจฉริยา ชูวงศ์เลิศ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
325.อัญชนา สุวรรณานนท์
326.อันธิฌา แสงชัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
327.อับดุรเราะฮหมาน มูเก็ม PhD. Political science, Aligarh Muslim University, India
328.อัมพร หมาดเด็น สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
329.อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
330.อาจินต์​ ทองอยู่คง คณะสังคมวิทยา​และมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

331.อาทิตย์ ชูสกุลธนะชัย
332.อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล
333.อานันท์ กาญจนพันธุ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
334.อิสราภรณ์ พิศสะอาด
335.อุเชนทร์ เชียงเสน หลักสูตรรัฐศาสตร์ สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
336.อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล ม.สุโขทัยธรรมาธิราช
337.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์

รายชื่อนักวิชาการต่างประเทศ

1. Carlo Bonura, Department of Politics and International Studies
SOAS, University of London
2. Charles F. Keyes Professor Emeritus of Anthropology and International Studies. University of Washington
3. Claudio Sopranzetti, Oxford University
4. Kathleen Nicoletti. Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla University. ฝากมาค่ะ
5. May Adadol Ingawanij, University of Westminster
6. Michael J Montesano. ISEAS-Yusof Ishak Institue. Singapore
7. Peter Vandergeest, Department of Geography, York University
8. Rachel Harrison, SOAS, University of London
9. Tyrell Haberkorn, Australian National University
10. Lars Laamann, Department of History, SOAS Professor Nadje Al-Ali, Centre for Gender Studies, SOAS

11. David Lunn, Department of South Asia, SOAS Dr Monik Charette, Department of Linguistics, SOAS
12. Mulaika Hijjas, Department of South East Asia, SOAS Dr Matthew Phillips, Aberystwyth University
13. Monik Charette, Department of Linguistics, SOAS
14. Matthew Phillips, Aberystwyth University

องค์กรระหว่างประเทศ

1. Focus on the Global South