วันศุกร์, มีนาคม 31, 2560

เจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาฟรีทุกสิทธิ์ใน 72 ชั่วโมง เริ่ม 1 เม.ย.นี้





เจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาฟรีทุกสิทธิ์ เริ่ม 1 เม.ย.

31 มี.ค. 2017
สำนักข่าวไทย

เมืองทองธานี 31 มี.ค.- สธ.เดินหน้าเจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาฟรีทุกสิทธิ์ใน 72 ชม.เริ่ม 1 เม.ย.นี้ เร่งสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน

นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.เฉลิมพร บุญศิริ ประธานวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย และนพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช นายกสมาคมรพ.เอกชน ร่วมแถลงข่าว เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่ว่า หลังจากมติ ครม. เมื่อวันที่ 28 มีนา คม ที่ผ่านมาให้การเจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาฟรีทุกสิทธิ์ใน 72 ชั่วโมง ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ 1 เมษายนนี้ โดยจะเร่งสร้างความเข้าใจกับประชาชนให้ทราบข้อมูลตรงกันในเรื่องของเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่มีความจำเป็นต่อชีวิต เพื่อ ให้เกิดการรักษาที่ตรงกัน ทั้งความเข้าใจของญาติผู้ป่วย และโรงพยาบาลทุกแห่ง ค่าใช้จ่ายจะเรียกกับ 3 กองทุนสุขภาพ ทั้ง สวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พร้อมจัดตั้งศูนย์ประสาน งานคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีหน้าที่ตั้งแต่จัดหาเตียงสำรอง กรณีย้ายโรงพยาบาลเพื่อไปตามสิทธิรักษาต้นสังกัด และทำหน้าที่อธิบายเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต กับแพทย์ เพื่อวินิจฉัยชี้ขาดเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินหรือไม่ สามารถสอบได้ที่เบอร์ 02-872-1669

ด้านนพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าวว่า การออกหลักเกณฑ์ และความร่วมมือครั้งนี้ เชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ เพื่อมีระบบเชื่อมต่อข้อมูล ส่งต่อผู้ป่วย และรับปรึกษาสร้างความเข้าใจกับผู้ป่วย กรณีวิกฤตฉุกเฉิน สิ่งสำคัญ คือผู้ป่วยและญาติ ต้องเข้าใจ ไว้ใจ แพทย์ฉุกเฉิน จึงจะสามารถเกิดการรักษาที่ประสบความสำเร็จ มีระบบการเบิกจ่ายอย่างชัดเจนมากขึ้น

ขณะที่ พล.อ.ต.นพ.เฉลิมพร บุญสิริ ประธานวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หลักเกณฑ์การแพทย์ฉุกเฉิน ที่สำคัญประกอบด้วย หมดสติไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หายใจเร็ว หอบเหนื่อย หายใจเสียงดัง ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น อาการชัดร่วม เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด และหากแพทย์ฉุกเฉินมีความสงสัยควรรีบโทรสอบ ถามศูนย์ประสานงานทันที เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ภายใน 15 นาที และประชาชนต้องเกิดความเข้าใจเรื่องนิยามความฉุกเฉิน และควรติดต่อรับส่งผ่าน 1669 เพื่อการแยกคัดกรองที่ถูกต้อง-.สำนักข่าวไทย

คลังออกกฎกระทรวงเว้นภาษีบุคคลธรรมดาได้รับพระราชทานจากบุคคลซึ่งได้รับเงินค่าใช้จ่ายในพระองค์





ออกกฎกระทรวงเว้นภาษีบุคคลธรรมดาได้รับพระราชทานจากบุคคลซึ่งได้รับเงินค่าใช้จ่ายในพระองค์

Fri, 2017-03-31 16:29
ที่มา ประชาไท

กําหนดให้เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์-สิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนของบุคคลซึ่งได้รับเงินค่าใช้จ่าย ในพระองค์จากงบประมาณรายจ่ายประจําปี ให้แก่บุคคลธรรมดาและเงินได้ที่บุคคลธรรมดาได้รับพระราชทาน จากบุคคลซึ่งได้รับเงินค่าใช้จ่ายในพระองค์จากงบประมาณรายจ่ายประจําปี เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้น ไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษี

เมื่อวันที่ 30 มี.ค.ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่กฎกระทรวง ฉบับที่ 327 (พ.ศ. 2560) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ให้ไว้ ณ วันที่ 24 มี.ค. 2560 โดยมี อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นผู้ลงนาม

พร้อมทั้งมีหมายเหตุท้ายประกาศด้วยว่า เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกําหนดให้เงินได้จาก การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนของบุคคลซึ่งได้รับเงินค่าใช้จ่าย ในพระองค์จากงบประมาณรายจ่ายประจําปี ให้แก่บุคคลธรรมดา และเงินได้ที่บุคคลธรรมดาได้รับพระราชทาน จากบุคคลซึ่งได้รับเงินค่าใช้จ่ายในพระองค์จากงบประมาณรายจ่ายประจําปี เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้น ไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จึงจําเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

รายละเอียด กฎกระทรวงฉบับนี้ระบุว่า

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 และมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 กําหนดให้เงินได้ดังต่อไปนี้ เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

(1) เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน ของบุคคลซึ่งได้รับเงินค่าใช้จ่ายในพระองค์จากงบประมาณรายจ่ายประจําปี ให้แก่บุคคลธรรมดา

(2) เงินได้ที่บุคคลธรรมดาได้รับพระราชทานจากบุคคลซึ่งได้รับเงินค่าใช้จ่ายในพระองค์ จากงบประมาณรายจ่ายประจําปี

ข้อ 2 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป


เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
ออกกฎกระทรวง ยกเว้นภาษีมรดก ผู้ได้เงินค่าใช้จ่ายในพระองค์-พระองค์เจ้าขึ้นไปที่ได้รับเงินปี





.....

อ่านเหุตผลที่อธิบายไว้แล้วงง ... บอกแค่ว่า "เป็นการควร" ไม่เห็นอธิบาย "เหตุผล" เลยว่าเพราะอะไรถึง "เป็นการควร"

มิตรสหายท่านหนึ่ง
.....



อ.สมศักดิ์ เจียมฯ ยกตัวอย่าง....

ปล. ขอให้สังเกตด้วยว่า ตามประกาศนี้ ถ้าเจ้า ("บุคคลซึ่งได้รับเงินค่าใช้จ่ายในพระองค์จากงบประมาณประจำปี") เอาเงินจากงบประมาณของรัฐที่ทรงได้นั้นเอง มา "พระราชทาน" ต่อ - เช่นใน "ตัวอย่างสมมุติ" ข้างต้น ที่ว่าให้เงิน "คุณก้อย" (ชื่อสมมุติ) เดือนละ 10 ล้าน - เงินที่เอามาจากงบประมาณประจำปีของรัฐ ที่ "บุคคลธรรมดา" ได้มาจากเจ้าอีกทีหนึ่งนั้น ก็ไม่ต้องเอามาคำนวนภาษี


Somsak Jeamteerasakul

ทักษิณ ชินวัตร ได้เวลาซัดกลับ เผยความในใจผ่าน FB... หยุดแล้ว แต่ คสช.ไม่ยอมหยุด...





เรียน พี่น้องที่เคารพรัก

ผมตั้งใจที่จะหยุด โดยไม่แสดงความคิดเห็นใดๆ รวมทั้งไม่ต้องการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่จะถูกมองหรือถูกอ้างว่าไปขัดขวางการทำงานของรัฐบาลทหารมานานมากแล้ว มิใช่เพราะกลัวรัฐบาลทหาร แต่เพราะผมตระหนักดีว่า พี่น้องร่วมชาติเรากำลังลำบาก โดยเฉพาะปัญหาปากท้องที่มีแต่จะย่ำแย่ลงทุกวัน จึงอยากให้รัฐบาลทหาร ได้ใช้เวลาในการแก้ไขปัญหาของประชาชนอย่างเต็มที่

แต่ระยะเวลาที่ผ่านมา เมื่อมีเหตุการณ์ร้ายแรงอะไรเกิดขึ้นในบ้านเมือง รัฐบาลกลับพยายามป้ายสี โดยพูดให้คนเข้าใจว่า ตัวผมอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ หรือลากผมเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องร้ายๆ ที่เกิดขึ้นกับบ้านเมือง ไม่ว่าจะเป็นเหตุระเบิดตรงแยกราชประสงค์บริเวณพระพรหม หรือเหตุระเบิดครั้งใหญ่ในเขตจังหวัดภาคใต้ ก็จะโยนบาปมาให้ผมทันที ซึ่งทุกครั้งความจริงก็ปรากฏในภายหลังว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากการบริหารงานที่ผิดพลาดของรัฐบาลเองทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวอะไรกับตัวผมเลย

ไม่เพียงแต่ตัวผมคนเดียว ครอบครัวของผมก็ตกเป็นเหยื่อของการกล่าวหา ใส่ร้ายป้ายสี และถูกกระทำมาโดยตลอด ล่าสุดคือเรื่องภาษีหุ้นชินคอร์ป ซึ่งหากมีการกระทำผิดจริงแล้ว รัฐบาลที่มาจากผลพวงของการรัฐประหาร 2-3 รัฐบาลที่ผ่านมา ย่อมต้องเอาผิดผมไปนานแล้ว คงไม่ปล่อยไว้จนกระทั่งหมดอายุความ จึงค่อยใช้ “อภินิหารทางกฎหมาย” มาเล่นงานผมแบบนี้ ซึ่งผมขอเรียนว่า ในหลักการของกฎหมายสากล จะต้องไม่มีการใช้อำนาจหรืออภินิหารใดๆ นอกเหนือไปจากการใช้ “ความเที่ยงตรงและเป็นธรรม” ในการสั่งฟ้องหรือตัดสินคดีเท่านั้น

ครั้งนี้ ผมจำเป็นต้องออกมาพูดอีกครั้ง เนื่องจากมีความพยายามที่จะสร้างภาพว่า ตัวผมเชื่อมโยงและเกี่ยวพันกับขบวนการล้มล้างระบอบการปกครองของไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมยอมรับไม่ได้ ตัวผมขอยืนยันว่าผมมีความจงรักภักดี เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ และเคยถวายงานเจ้านายทุกพระองค์ ด้วยหัวใจแห่งความจงรักภักดีมาตลอด และมีความเชื่อมั่นที่แน่วแน่มั่นคง ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างไม่เคยเปลี่ยนแปลง และผมเชื่อว่า ระบอบการปกครองของไทยเรานี้ ประกอบกับพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ คือสิ่งที่ทำให้ประเทศไทยของเรารักษาเอกราชและความเป็นไทยมาได้ตราบจนทุกวันนี้

ในทางตรงกันข้าม สิ่งที่เป็นอันตรายต่อระบอบการปกครองของไทย คือการปฏิวัติรัฐประหารมากกว่า และการรัฐประหารตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้ ใช้ข้ออ้างที่แทบไม่เคยเปลี่ยน คือความไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ การทุจริตคอรัปชั่น แต่ทั้งนี้ ภายใต้การปกครองของทหาร ประชาชนไม่มีโอกาสตรวจสอบความโปร่งใสในการทำงานของรัฐบาลเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากการรัฐประหารครั้งใดที่ไม่ใช้หลักนิติธรรมในการแก้ปัญหา ก็จะยิ่งทำให้ความไม่เข้าใจและความเห็นต่างกลับบานปลาย กลายเป็นความขัดแย้งที่จะแก้ไขได้ยากขึ้นทุกที

ผมต้องจากประเทศไทยที่ผมรักสุดชีวิตมาร่วมสิบเอ็ดปีแล้ว ต้องจากบ้านที่เคยอยู่ จากครอบครัวอันเป็นที่รักยิ่ง เนื่องจากการรัฐประหาร จากนั้นแล้ว ยังถูกใส่ร้ายป้ายสี รวมถึงถูกกลั่นแกล้งด้วยการตั้งคณะบุคคลซึ่งเป็นปฏิปักษ์ขึ้นมาตรวจสอบโดยไม่ใช้หลักนิติธรรม ซึ่งผมอยากให้พี่น้องได้รับทราบว่า ผมยินดีแบกรับความเจ็บปวดและความรู้สึกโดดเดี่ยวนี้ไว้ทั้งหมด ขอเพียงบ้านเมืองมีความปรองดอง สามารถเดินไปข้างหน้าได้ และพี่น้องหายทุกข์ยาก ผมก็พอใจและมีความสุขแล้ว

สำหรับกระบวนการปรองดองที่จะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้ ผมขอให้ทุกฝ่ายโปรดตัดผมออกจากสมการไปได้เลยครับ ผมไม่ต้องการให้ใครมาเสนออะไรเพื่อช่วยตัวผม และในทางกลับกัน ผู้มีอำนาจก็ไม่ควรใช้อภินิหารและกระทำทุกวิถีทางเพื่อขจัดผมเพียงคนเดียว โดยไม่คำนึงถึงหลักนิติธรรม และต้องไม่เลี้ยงไข้ความ “ขัดแย้ง” ให้ยืดเยื้อ เพื่อเป็นข้ออ้างที่จะอยู่ในอำนาจต่อไป ดังเช่นที่หลายๆ คนรู้สึกได้อยู่ทุกวันนี้

ตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมานี้ คนไทยทุกคนอยู่ในห้วงเวลาที่ต้องเผชิญกับความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ ที่ทำให้หัวใจของเราทุกคนแตกสลาย พวกเราจึงควรใช้เวลานี้ มาร่วมกันทำสิ่งดีๆ ให้เกิดแก่บ้านเมือง รู้รักสามัคคี จริงใจในการสร้างความปรองดอง ซึ่งจะส่งผลให้บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข เพื่อเป็นการส่งเสด็จพระองค์ท่านเป็นครั้งสุดท้ายให้สมพระเกียรติ ด้วยความจงรักภักดีอย่างแท้จริง

สุดท้ายผมอยากจะบอกว่า “ผมคือคนธรรมดาคนหนึ่ง ที่เติบโตจากครอบครัวธรรมดาครอบครัวหนึ่ง และวันนี้ก็ยังเป็นคนธรรมดาคนเดิม ผมถือว่าผมโชคดีมากแล้ว ที่ได้เกิดมาใต้ร่มพระบารมี ได้สนองงานรับใช้สังคมไทยในฐานะต่างๆ มาไม่น้อยกว่า 35 ปี และจะขอรับใช้ชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่ผมรักนับถือ เคารพ และเทิดทูน ไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ ไม่ว่าผมจะอยู่ ณ หนใดบนพื้นพิภพนี้”

ผมหยุดแล้วครับ ท่านล่ะ เมื่อไหร่จะหยุดสักที อย่ารักชาติ รักสถาบันฯ เพียงแค่คำพูดกันเลยครับ

ที่มา FB

Thaksin Shinawatra

UN labour agency accused Thailand of failing to stamp out murder and slavery in fishing industry - UN ฉีกหน้ารัฐบาล แฉประมงไทยยังใช้แรงงานทาสและค้ามนุษย์



Fish are dried on a boat in the Thai fishing port of Bang Saphan. Photograph: Patrick Forget/Alamy Stock Photo
Source: The Guardian


UN labour agency claims migrants employed on fishing vessels in Thai waters remain vulnerable to trafficking and forced labour despite previous warnings

Thailand is failing to protect migrant workers on fishing trawlers from murder and starvation, with trafficking and forced labour still rampant despite new government legislation, according to a new report.

In an unusually critical ruling by the UN’s labour agency, the International Labour Organisation has urged the Thai government to remedy continued abuses on fishing vessels operating in Thai waters. It follows a formal complaint to the ILO by international trade unions last year, which highlighted evidence of migrant workers enduring 20-hour working days, physical abuse and non-payment of wages.

Activists greeted the ruling as further evidence that little progress has been made on these issues, despite continued pressure from the EU and US.

The evidence submitted to the ILO by the International Transport Federation (ITF) and the International Trade Union Conference (ITUC) catalogued various instances of forced labour and abuse on Thai fishing vessels, following a series of interviews with Thai and migrant workers conducted by the ITF in 2015.

Workers claimed they were locked up and forced to work on vessels in Indonesian waters, often fishing illegally, despite paying huge recruitment fees. One worker was severely beaten by his captain and chained to the boat by his neck after trying to escape.

Workers said they had witnessed the murder of crewmen by their captains. One man claimed his captain shot dead a Cambodian worker and killed four Thai fishermen by throwing them overboard.

Workers said they were subject to debt bondage, worked unpaid and witnessed captains physically abusing other crew. They also described 20-hour working days and said food was limited.

The cases outlined in the unions’ complaint echo accounts of modern slavery and severe abuse highlighted in previous investigations, including those by the Guardian in 2014. They also underscore reports by the Thai government itself of severe abuses on Thai boats in the Saya de Malha, off the coast of Madagascar, where nearly half of the 1,000 fishermen on 50 vessels were working in violation of immigration and labour laws.

Interviews by Greenpeace with fishermen on board tuna gillnetters that had been operating in the same bank revealed claims that the men had been trafficked and forced to work with just four hours’ rest a day. Some of the fishermen claimed to have been at sea for five years continuously.

Thailand’s $6.5bn (£5.2bn) seafood export industry – the world’s fourth largest, according to the most recent figures – has suffered significantly following allegations of human rights and labour abuses, and illegal, unreported and unregulated fishing. In 2014, Thailand was downgraded in the US state department’s Trafficking in Persons report, which marks countries for their stance on slavery. In 2015, Thailand was given a “yellow card” warning by the EU to clean up or face a ban on EU imports.

The Thai government has introduced some reforms and new laws to address trafficking and forced labour, but the ILO report emphasises that not enough has been done. It points to gaps in the country’s legal framework and enforcement, in particular in the regulation of brokers who recruit workers, the prosecution of corrupt officials, and the effective inspection of vessels.

Through its embassy in London, the Thai government said it had cooperated fully with the ILO investigation, and that the ILO had recognised the efforts made by Thailand to eliminate forced labour in its fishing and seafood industry. The government said it had made further progress in the areas highlighted by the ILO since the complaint was filed.

Johnny Hansen, chair of the ITF fisheries section, welcomed the ILO ruling. “We recognise the progress made by the Thai government,” he said. “But this ruling shows that it still has a long way to go to achieve real change for the countless migrant fishers trapped into forced labour, trafficking, deplorable working conditions and physical abuse.”

Steve Trent of the Environmental Justice Foundation, said the Thai government has made only inconsistent attempts to address forced labour, despite recent 14-year jail sentences for traffickers in the port of Kantang.

Trent said: “On one hand, there’s been structural reforms. But the situation remains the same: there’s inconsistent and ad-hoc implementation of the law, and obvious abuses still continue because of corruption or rogue businesses or vessels.”

Human rights activist Andy Hall, who recently fled Thailand due to ongoing prosecutions related to his work, said the country had an “endemic” problem. “Not only on fishing boats, but also on poultry farms, on rubber plantations, in large seafood and poultry export factories, as well as in the factories exporting medical supplies like rubber gloves across the world and in the fruit and vegetable export sectors.”

.....

Link to the Alleged non-observance by Thailand of the Forced Labour Convention, 1930 (No. 29)

http://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---ed_norm/---relconf/documents/meetingdocument/wcms_549113.pdf

Made under article 24 of the ILO Constitution by the International Trade Union Confederation (ITUC) and the International Transport Workers’ Federation (ITF)

ooo



คลิปนี้มี 2 เรื่อง "บอส" ลูกกระทิงแดง และ แรงงานทาสประมง (เริ่มนาทีที่ 8)


FULL EP. UN ฉีกหน้ารัฐบาล แฉประมงไทยยังใช้แรงงานทาสและค้ามนุษย์


ประมงไทยหนาว องค์กรแรงงานระหว่างประเทศของ UN แฉไทยแก้ปัญหาแรงงานทาสและการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไม่ได้ เผยเรือไทยบังคับคนงานกัมพูชา/พม่า/ลาว ทำงานวันละ 20 ชั่วโมง แถมบุกจับปลาโดยผิดกฎหมายถึงอินโดนีเซียและมาดากัสการ์จนต้องกดค่าแรงลูกเรือเต็มที่ ฟากสื่อดัง CNN เผยประมงไทยใช้แรงงานเยี่ยงทาสหลายมิติ ขณะที่ NGO ระดับโลกตามรอยเรือนรกพบคนงานถูกยิงทิ้งหรือแม้แต่ล่ามโซ่ที่คอ ส่วนการโกงค่าแรงหรือขู่ให้ทำงานใช้หนี้ก็มีจนปัจจุบัน

โดนทั้งสื่อทั้ง NGO ทั้งองค์กร UN เล่นหนักแบบนี้ ระวังทั้ง EU และอเมริกาจะหาเรื่องแบนไทยแบบยาวๆ

(http://shows.voicetv.co.th/overview/476262.html)

อะไรน่ากลัวกว่า หนูรัฐสภากินอาหารโรงอาหารสภา หรือ สมุนเผด็จการในสภาที่กินภาษีประชาชน ทำงานรับใช้เผด็จการ! ... - ผงะ ! "หนูยักษ์" ไต่อาหารสโมสรรัฐสภา


.....





ผงะ ! "หนูยักษ์" ไต่อาหารสโมสรรัฐสภา


ที่มา คมชัดลึก


ผงะ ! พบหนูตัวใหญ่ ไต่บนถาดอาหารในสโมสรสภา ทำขรก.ผะอืดผะอม


30 มี.ค. - ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ในช่วงสายวันนี้(30 มี.ค.) แอพพลิคเคชั่นไลน์กลุ่มข้าราชการสำนักงานเลขาวุฒิสภาหลายกลุ่ม ได้มีการแชร์ภาพ ที่ถ่ายจากร้านขายข้าวแกงร้านหนึ่งในในสโมสรรัฐสภา โดยในภาพเป็นหนูสีดำตัวเขื่องกำลังไต่ขึ้นกินอาหารที่อยู่บนถาดกับข้าวที่วางอยู่ในตู้ขายอาหาร ทำให้ข้าราชการในกลุ่มแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ ส่วนใหญ่แสดงความ รู้สึกขนลุก ผะอืดผะอม ขยะแขยง น่ากลัว บางคนประชดบอกให้เอาไปทำหนูผัดเผ็ด บางคนถึงกลับอุทานว่าเพิ่งไปรับประทานอาหารที่สโมสรรัฐสภา ฯ พร้อมทั้งตั้งข้อสงสัยว่า หนูมาอยู่บนถาดอาหารได้อย่างไร เพราะร้านอาหารจะต้องสะอาด ภาชนะต้องมิดชิด นอกจากนั้นยังได้มีแชร์ภาพในเฟซบุคส่วนตัวของข้าราชการด้วย ทั้งนี้เมื่อติดต่อสอบถามที่มาของภาพดังกล่าว หลายคนได้ยืนยันว่าเป็นภาพถ่ายที่ร้านอาหารภายในสโมสรรัฐสภาจริง แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นคนถ่ายภาพ บางคนที่รู้ก็ไม่ยอมเปิดเผยที่มาของภาพ เพราะเกรงว่าจะมีปัญหาในการตรวจสอบภายหลัง

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำหรับผู้มาใช้บริการร้านอาหารภายในสโมสรรัฐสภาในแต่ละวันมีเป็นจำนวนมาก ประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภา ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ผู้ติดตาม และผู้มาติดต่องาน แต่ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความสะอาดของสโมสรรัฐสภา รวมทั้งกลิ่นห้องน้ำ และกลิ่นขยะที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นเพราะด้านหลังส่วนครัวของสโมสรฯ อยู่ติดกับจุดพักขยะรวมของอาคารรัฐสภาทั้งหมด ทำให้มีหนู แมลงสาบจำนวนมาก สำหรับร้านอาหารที่จะเข้ามาขายภายในสโมสรรัฐสภา จะต้องประมูลเข้ามาขาย โดยทำสัญญา 6 เดือนต่อครั้ง ผ่านคณะทำงานสโมสรรัฐสภา ซึ่งมีเลขาสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธาน โดยล่าสุดเพิ่งต่อสัญญาไปเมื่อเร็วๆนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง สั่งสอบด่วน!หนูยักษ์ไต่อาหารสโมสรรัฐสภา

.....






มูมมามอำนาจ





จะเรียก สนช. ว่าสภาถอดถอนพรรคเพื่อไทยก็ได้นะ เพราะนับแต่ได้รับแต่งตั้งจาก คสช. มาเป็นเวลาสองปีกว่า งานเด่นเห็นจะเป็นการถอดถอนนักการเมืองพรรคเพื่อไทยไปแล้ว ๘ คน รวมทั้งรายล่าสุดอดีต รมว.ต่างประเทศ สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล

ขอบคุณข่าวเนชั่นที่ขยันรวบรวมสถิติเอามาเสนอให้เห็นว่าเป็นสภาล้างบางแท้ๆ คือช่วย คสช. ตอกลิ่มไม่ให้พรรคเพื่อไทยได้ผุดได้เกิด แม้จะถูกยึดอำนาจไปแล้วก็ยังเอาชนักปักหลังเอาไว้ให้เลือดตกใน

ไม่ว่าจะเป็นยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ บุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว. พาณิชย์ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต อดีต รมว.กลาโหม ไปจนถึง อุดมเดช รัจนเสถียร อดีต ส.ส.นนทบุรี ฯลฯ

(http://www.nationtv.tv/main/content/politics/378540892/)

แต่ละครั้งจะมีสมาชิกออกเสียงให้ถอดถอนกันอย่างท่วมท้น ส่วนจะมองด้วยตาเปล่าเห็นพวกเขาเหล่านั้นหรือไม่ ต้องไปถามทั่นรองนายกฯ ฝ่ายกฏหมาย

“ที่ว่าไม่ครบเป็นการดูด้วยสายตา แต่เมื่อประธานกดออดสมาชิกก็จะรีบวิ่งกลับมาประชุมทันที ดังนั้นองค์ประชุมจะครบหรือไม่ครบระหว่างแถลงปิดคดีจึงไม่มีผล และไม่มีผลต่อการถอดถอนแต่อย่างใด”





นายวิษณุ เครืองาม พูดไว้ก่อนการลงคะแนนของ สนช. เมื่อตอนบ่ายโมงครึ่งเมื่อวาน (๓๐ มีนา) เล็กน้อย ซึ่งผลนับคะแนนจนล้นช่องขีดแต้มบนกระดานดำได้ ๓๒๑ ต่อ ๔ งดออกเสียง ๓ คน

อ้อ แล้วก็การนี้มี พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา สนช.ดีเด่นติดเหรียญ เร่งรุดจากโรงอาหารมาลงคะแนนทันเวลาด้วยละ เลยไม่ทันได้ดู ratatouille ดอดลงไปกินอาหารบนโต๊ะตั้งถาดของสโมสรรัฐสภา

ทั่นรองฯ คนเดียวกันยังพูดดับฝันพวก ‘เพื่อนเราทั้งนั้น’ นักต่อต้านพลังงานที่พากันไปชุมนุมจน สนช. ยอมถอด มาตรา ๑๐/๑ เรื่องตั้งบรรษัทน้ำมัน (สามทหาร คสช.) ออกไปห้อยท้ายเป็นข้อสังเกตุแทน

ที่ตีอกชกลมกันว่าชนะอีกแล้วๆ นั้นอาจจะไม่ใช่ในอีกหนึ่งปีข้างหน้า เพราะ “ข้อสังเกตดังกล่าวกำหนดให้รัฐบาลต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหนึ่งชุด ภายใน ๖๐ วัน เพื่อมาทำหน้าที่ศึกษาข้อดีข้อเสียของการตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ โดยให้เสร็จสิ้นกระบวนทั้งหมดภายในเวลา ๑ ปี” ตามที่นายวิษณุอธิบาย

“ในส่วนนี้จะต้องรอคณะกรรมการที่จะตั้งมาสรุปว่าจะออกเป็น พ.ร.บ.ว่าด้วยการตั้งบรรษัท หรือนำไปผนวกไว้ในกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งก็ได้ หรือจะใส่ไว้ใน พ.ร.บ.ปิโตรเลียมได้”

(http://www.matichon.co.th/news/514195)

หมายความว่ายืดเวลาให้หนึ่งปี จากนั้นค่อยรวบรัดออกได้เลย เหมือนกับเรื่องซื้อเรือดำน้ำ ที่ว่าซื้อสองแถมหนึ่ง แต่ที่จริงซื้อสองลำแพงเท่าราคาสามลำ แถมหนึ่งเลยเจ๊ากันไป นั่นก็ถ่วงเวลามาพักเดียว เสร็จแล้วก็เอาจนได้





หรืออย่างคดีทายาทอภิมหาเศรษฐี ‘กระทิงแดง’ ซึ่งขับรถเมาสุราชนตำรวจจราจรตาย ลากคดีมาได้เกือบ ๕ ปีแล้วยังไม่ได้ฟ้องเสียที ตัวผู้ต้องหาตระเวณเที่ยวใช้ชิวิตแสนสำราญลอยชาย





อัยการออกมาเผยว่า พยายามดำเนินการส่งฟ้องนัดให้ไปพบศาลแล้ว ๗ ครั้ง มีเหตุอ้างขอเลื่อนนัดทุกครั้ง ติดธุระต่างประเทศบ้าง ขอนำเสนอหลักฐานพยานประเด็นต่างๆ ซ้ำซ้อน โดยเฉพาะเรื่องความเร็วรถไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง

กระทั่งล่าสุดนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ ‘บอส’ มีกำหนดต้องไปปรากฏตัวที่ศาลเวลา ๑๐.๐๐ น. วันที่ ๓๐ มีนาคม ก็พลาดอีก อ้างว่าติดภารกิจอยู่ประเทศอังกฤษ ขอเลื่อนไปเป็นวันที่ ๒๗ เมษายนแทน

(http://prachatai.org/journal/2017/03/70819)

นี่เป็นกลยุทธ์ถ่วงเวลาจนกว่าจะหมดอายุความ ซึ่งศาลไทยในกรุงเทพฯ ยอมให้ทำได้ แต่กับไผ่ ดาวดิน ติดคุกมากว่าร้อยวันรอการดำเนินคดี เพราะศาลขอนแก่นไม่พอใจที่ผู้ต้องหาโพสต์เฟชบุ๊คเย้ยหยันอำนาจรัฐ

นั่นก็ทำได้ ด้วยมาตรฐานการบังคับใช้กฎหมายแบบไทยๆ ที่สหประชาชาติและสังคมอารยะไม่ยอมรับ แต่รัฐไทยยุคทหารครองเมืองไม่แยแส ถ้าเป็นชาติใหญ่ในอียูหรืออเมริกาทักท้วง ก็จะใช้วิธีตอแหลหน้าตายด้าน บอกเขาว่าประเทศนี้มีสิทธิมนุษยชนล้นถ้วย บลา บลา

ส่วนกับประเทศเล็กอย่างสาธารณรัฐประชาชนลาว ก็จะมีพฤติกรรมก้าวร้าวหยามเหยียดตามอำเภอใจ ดังที่ Krittanai Thepsai เขียนถึงไว้เมื่อวันก่อน “ทำให้ทางการฑูตสากลแตกตื่นกันมาก จากวิธีการฑูตผิดหลักการของรัฐบาล คสช.”

ต่อกรณีค้นบ้านโกตี๋เจออาวุธสงครามเยอะแยะทั้งที่เจ้าตัวไม่อยู่มาแล้วสามปี หลังจากที่โกตี๋ออกมาตอบโต้ทางสื่อสังคมเฟชบุ๊คและยทู้ป ได้มีความพยายามของทางการไทยส่งกำลังนอกเครื่องแบบเข้าไปไล่ล่าในลาว

“พลเอกทวีป เนตรนิยม มีตำแหน่งเลขา สมช.คุมความมั่นคงเดินทางพร้อมกำลังพลทหารเกือบร้อยนาย ลงไปบุกค้นบ้านคนในเมืองลาว เพื่อหาผู้กระทำผิดชาวไทยที่ได้รับการคุ้มครองจาก UNHCR”





ทั้งมีการกดดันให้ทางการลาวเปิดรัฐตำแหน่งเจ้าหน้าที่ทางการทูต จากสำนักงานตำรวจไทยไปประจำเพื่อจะได้ติดตามไล่ล่าฝ่ายตรงข้ามของ คสช. ที่ไปลี้ภัยในนั้น

แต่ทางการลาวไม่ยอมรับข้อเสนอ “ลาวตอบอย่างสุภาพว่า ลาวเป็นประเทศเล็กมีแค่ฑูตทหารไทยประจำอยู่เหมือนกับทุกชาติมีอยู่ก็เพียงพอแล้ว”

นั่นปะไร ลาวเขาพอแล้ว แต่ไทยสิยังไม่พอ มูมมามอำนาจ

"คสช."ยุคอัสดงของสื่อไทย นักนิเทศศาสตร์เตือนคุมมากระวัง"ระเบิด"




https://www.youtube.com/watch?v=6qssQubNWZw&feature=youtu.be

"คสช."ยุคอัสดงของสื่อไทย นักนิเทศศาสตร์เตือนคุมมากระวัง"ระเบิด"


jom voice

Published on Mar 30, 2017

ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ อดีตอาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ Thaivoice (ตอนที่ 1) เกี่ยวกับการที่ บอร์ดคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือ กสท.มีมติพักใบอนุญาต สถานีโทรทัศน์วอซ์ทีวี.เป็นเวลา 7 วันว่า เป็นเรื่องเศร้าที่ผู้มีอำนาจรัฐพยายามปิดปาก และปิดหูปิดตาประชาชน ปฎิเสธไม่ได้ว่าคนทำสื่อยุคนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานทางการเมือง การวิเคราะห์ข่าวก็คือการตีความ จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีความโน้มเอียง หรืออาจถูกมองว่าไม่เป็นกลาง แต่ก็ต้องอยู่บนหลักการของเหตุผล อยู่บนผลประโยชน์ของสาธารณะ และชวนให้ประชาชนตั้งคำถาม ตรวจสอบหา การที่รัฐบาลพยายามสร้างกลไกควบคุมสื่อให้เกิดความกลัว นี่ต่างหากที่เป็นปัญหาเพราะจะทำให้ สื่อไม่สามารถสร้างสมดุลย์ในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารได้ เพราะเสรีภาพในการทำงานของสื่อมวลชน จะเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนที่เห็นต่างกันได้มีพื้นที่แลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ ( ตอนสุดท้าย - ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ จะวิเคราะห์บทบาทของ กสทช.องค์กรอิสระที่กำลังตกเป็นเครื่องมือของรัฐหรือไม่.. โปรดติดตาม )

วาทะเด็ด "ไม่ได้มาจากประชาชน อย่าริอ่านเรียกตัวเอง 'สภาผู้ทรงเกียรติ' (ควรเรียก "สภาผู้คนเกลียด" มากกว่า)




FULL EP. ไม่ได้มาจากประชาชน อย่าริอ่านเรียกตัวเอง 'สภาผู้ทรงเกียรติ'

รายการ WakeUp News ประจำวันที่ 30 มีนาคม 2560

ดูคลิปรายการที่นี่...
http://shows.voicetv.co.th/wakeupnews/475632.html

ถ้าเป็นบุคคลผู้ทรงเกียรติ ต่อให้ยืนอยู่ตรงไหนก็มีเกียรติ..

กรณีที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แถลงปิดคดีถอดถอนสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ หลังจากที่อดีตเจ้ากระทรวงบัวแก้ร้องขอให้มีการตรวจสอบองค์ประชุม เพื่อให้ สนช. ลงประชามติ เพราะทำหน้าที่เหมือนศาล ตามมาตรา 13 รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ที่ระบุว่า การประชุมต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง แต่มีสมาชิก สนช. เข้าฟังประมาณ 50 คน จึงขอให้ประธานนับองค์ประชุม

หลังจากสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย กดออดนับองค์ประชุมเพื่อลงมติ จนมีสมาชิก สนช. ลุกขึ้นอภิปรายทักท้วงคัดค้านการทำหน้าที่ของนายสุรชัย ที่ปล่อยให้บุคคลภายนอกเข้ามาขอมติให้นับองค์ประชุม

ผลสุดท้ายที่ประชุมลงมติเป็นเอกฉันท์ 149 เสียง ไม่ให้บุคคลภายนอกเสนอให้มีการนับองค์ประชุม


ooo





.....





 .....






วันพฤหัสบดี, มีนาคม 30, 2560

เรียนรู้จากจีน คลิปแนะนำการออกกำลังกาย (4 ทิศ) สำหรับ"บิ๊กตู่" และผู้สนใจ ทุกวันพุทธ




https://www.youtube.com/watch?v=f5FHpau7PGo&feature=youtu.be

Behold: China's dancing granny is going to teach you some serious swag moves


People's Daily, China

Published on Mar 19, 2017

ooo

เทียบกับลุงตู่ 1 ทิศ



https://www.facebook.com/253729448003304/videos/1334095366633368/


คลิป สส. สุนัย จุลพงศธร รายการ "เกาะติด คิดทันข่าว" "ปิด Voice TV ป้ายขี้ ปตท. หลอกล่อกินรวบ 3 ทหาร"



https://www.facebook.com/sunai.chulpongsatorn/videos/383001788765138/


ผอ.บีบีซีเวิลด์ ตอบกรณี ‘ไผ่ ดาวดิน’ การแชร์เป็นสิทธิในการเผยแพร่ข่าวสาร



ฟรานเชสกา อันส์เวิร์ธ (ขวา)

ผอ.บีบีซีเวิลด์ ตอบกรณี ‘ไผ่ ดาวดิน’ การแชร์เป็นสิทธิในการเผยแพร่ข่าวสาร


Thu, 2017-03-30 16:26
ที่มา ประชาไท

ผู้อำนวยการบีบีซีภาคบริการโลกเผย รัฐบาลทั่วโลกกำลังหาช่องทางควบคุมสื่อเพื่อจัดการข้อมูลก่อนส่งถึงประชาชน ส่วนสื่อต้องมุ่งมั่นที่จะรายงานข้อเท็จจริงอย่างยุติธรรมและซื่อสัตย์ ตั้งใจรักษาเสรีภาพเพื่อนำเสนอข้อมูลที่เป็นกลางให้โลกได้รับรู้ พร้อมตอบกรณีไผ่ ดาวดิน การกดแชร์เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้คนรับรู้ข่าวสาร เป็นสิทธิที่ทุกคนควรมี

29 มี.ค. 2560 ฟรานเชสกา อันส์เวิร์ธ ผู้อำนวยการบีบีซีภาคบริการโลก และรองผู้อำนวยการฝ่ายข่าว บรรยายเรื่อง เสรีภาพสื่อในยามที่โลกอำนาจนิยมเบ่งบาน ที่วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ชั้น 2 ห้อง 205 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยชี้ว่า ความสัมพันธ์ของบีบีซีกับนักการเมือง ไม่ต่างกับการชักเย่อ ที่แต่ละฝ่ายควรจะต้องดึง ซึ่งความเป็นจริงก็เป็นกระบวนการตามหลักการประชาธิปไตย เพราะเป็นการทดสอบผู้ที่อยู่ในอำนาจ สื่อสามารถถูกตรวจสอบได้ หากสื่อมีอำนาจมากเกินไปจะส่งผลกระทบ สร้างความเสียหายต่อระบบการเมือง หากอ่อนแอเกินไปจะเสี่ยงต่อการถูกดึงไปทางใดทางหนึ่ง เสี่ยงต่อการสูญเสียเสรีภาพของสื่อ

ฟรานเชสกา เล่าจากประสบการณ์ในช่วงการรณรงค์ทำประชามติ กรณีสหราชอาณาจักรต้องการออกจากสหภาพยุโรป (EU) ว่า บีบีซีต้องสู้กับการปล่อยข่าวจากทั้งสองฝั่ง ที่พยายามอยากแก้ไขข่าวเพื่อให้เกิดประโยชน์กับฝ่ายตนเอง ทั้งนี้เอง บีบีซีได้รับการยอมรับจากนักการเมืองว่าเป็นอิสระ และเราต้องคงความอิสระนั้นไว้ การทำประชามติครั้งนั้นเตือนให้เรารู้ว่าเส้นแบ่งระหว่างการตรวจสอบอย่างเหมาะสมและการแทรกแซงสื่อเป็นสิ่งที่เราต้องหวงแหน

ฟรานเชสกา เล่าต่อว่า ในการรักษาสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก สื่อต้องมีความรับผิดชอบ รู้ถึงจุดกึ่งกลางระหว่างเสรีภาพในการแสดงออกอย่างสุดโต่งพร้อมผลกระทบที่จะตามมา ในกรณีประเทศไทยมีกฎหมายมาตรา 112 เพื่อปกป้องราชวงศ์ ตอนนั้นบีบีซีเกือบตกที่นั่งลำบากจากการนำเสนอบทความประวัติของในหลวงรัชกาลใหม่ลงสื่อออนไลน์ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มาที่ออฟฟิศบีบีซีกรุงเทพ ทำให้เนื้อหาที่นำเสนอถูกบล็อค แต่ความเป็นจริงแล้วบทความดังกล่าวเขียนขึ้นและตีพิมพ์ที่สำนักงานใหญ่บีบีซีที่ลอนดอน ซึ่งพนักงานในประเทศไทยต่างไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบทความนั้น

ทั้งนี้ภายในห้องบรรยาย ได้มีผู้ตั้งคำถามถึงกรณีนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษาหรือไผ่ ดาวดินที่ถูกดำเนินคดี 112 หลังแชร์พระราชประวัติในหลวงรัชกาลที่ 10 ที่บีบีซีนำเสนอ ฟรานเชสกา ตอบว่าบีบีซีเชื่อในหลักการสิทธิที่จะเผยแพร่ (The Right to Share) การกดแชร์เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้คนรับรู้ข่าวสาร เป็นสิทธิที่ทุกคนควรมี บีบีซีไม่มีเจตนาจะทำให้เกิดความไม่พอใจ และไม่ได้มาที่นี่เพื่อละเมิดกฎหมาย แต่เป็นการทำงานตามกรอบมาตรฐานของกองบรรณาธิการ

“ดิฉันไม่อยากจะพูดถึงประเด็นเก่าๆ ระหว่างเรา เราอยากมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศไทย เราไม่อยากทำให้ประเทศไทยไม่พอใจ รวมถึงราชวงศ์ แต่บีบีซียืนยันในบทความดังกล่าวและเชื่อมั่นว่ามันตรงกับหลักการบรรณาธิการของบีบีซี และมันเลี่ยงไม่ได้ จะเป็นการดีด้วยซ้ำที่ในประเทศใดก็ตาม นักการเมืองและสื่อมวลชนจะเห็นไม่ตรงกันตลอด” ฟรานเชสกา กล่าว

ฟรานเชสกา เล่าต่อว่า ตอนนี้คำถามสำหรับสื่อและนักการเมืองคือ ใครเป็นผู้จำกัดเสรีภาพและเราควรถูกตัดสินอย่างไร ใครคือผู้กำกับดูแล และกฎกติกาในการกำกับดูแลคืออะไร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณว่าอยู่ส่วนไหนของโลก วัฒนธรรมของประเทศนั้นเป็นอย่างไร มุมมองด้านประชาธิปไตยและบทบาทของสื่อในระบอบประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยและเสรีภาพสื่อไม่สามารถเกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน บางทีอาจไม่เกิดขึ้นเลย และจำเป็นต้องใช้เวลา

ฟรานเชสกา ระบุด้วยว่า ค่อนข้างเป็นกังวลสำหรับการคุกคามสื่อจากรัฐบาลบางประเทศ ตามรายงานขององค์กรสื่อไร้พรมแดน นักข่าวหลายร้อยคนถูกจำคุกในประเทศตุรกี หลังล้มเหลวในการทำรัฐประหารเมื่อเดือนกรกฎาคม และนักข่าวอีกหลายร้อยคนถูกขังในประเทศจีน, 27 คนในประเทศอียิปต์, 24 คนในประเทศอิหร่าน รัฐบาลฮังการีจัดตั้งองค์กรสื่อจากฝ่ายการเมืองมีอำนาจในการเซ็นเซอร์การรายงานข่าว ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กีดกันไม่ให้สื่อหลายสำนักเข้าฟังการแถลงข่าวของทำเนียบขาวและเลือกเฉพาะสื่อบางสำนักในการเข้าทำเนียบขาวเท่านั้น

“ดูเหมือนว่าทุกวันนี้ รัฐบาลทั่วโลก กำลังหาทางควบคุมสื่อ หรือใช้อำนาจควบคุมข่าวสารที่จะส่งต่อถึงประชาชน ในบางครั้งยิ่งเราพูดถึงเสรีภาพสื่อมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งฟังดูว่างเปล่ามากเท่านั้น” ฟรานเชสกา กล่าว

เรียบเรียงข้อมูลบางส่วนจาก SEAPA


สื่อนอกปูด รัฐไทยชงกม. คุมกิจการพุทธศาสนา





สื่อนอกปูด รัฐไทยชงกม. คุมกิจการพุทธศาสนา

by Sathit M.
30 มีนาคม 2560
Voice TV

รอยเตอร์เผยรัฐบาลทหารไทยยกร่างกฎหมายควบคุมพุทธจักรฉบับใหม่ ให้นายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นั่งเป็นกรรมการ เล็งประกาศใช้ก่อนเลือกตั้งครั้งหน้า

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเมื่อวันพุธที่ 29 มีนาคม ว่า แหล่งข่าวผู้ขอสงวนนามเปิดเผยว่า รัฐบาลทหารของไทยกำลังจัดทำกฎหมายควบคุมฝ่ายสงฆ์ ซึ่งดูจะลดทอนบทบาทของมหาเถรสมาคมอย่างมาก

ร่างกฎหมายซึ่งยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนฉบับนี้ กำหนดให้มีคณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา โดยให้โควต้ามหาเถรสมาคมเลือกพระสงฆ์เข้าเป็นกรรมการได้ 3 รูปจากทั้งหมด 27 ที่นั่ง ตำแหน่งที่เหลือจะให้นายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปลัดกระทรวง และข้าราชการระดับสูงจากหน่วยงานต่างๆ รวมถึงผู้รู้ด้านการศาสนา บุคคลจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ และผู้แทนกลุ่มพุทธศาสนิกชนที่นายกรัฐมนตรีเลือก เข้าไปนั่งเป็นกรรมการ





ผศ.ดร.พระเมธาวินัยรส รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ให้ความเห็นกับรอยเตอร์ว่า กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ส่งเสริม แต่บังคับให้พระสงฆ์ยอมเชื่อฟัง และอยู่ใต้การปกครองของรัฐ ซึ่งไม่เหมาะสม “การแทรกแซงของรัฐเช่นนี้จะทำให้ลดทอนศาสนา”

พ.ต.ท.พงษ์พร พราหมเสน่ห์ ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เปิดเผยว่า ร่างดังกล่าวอยู่ระหว่างการศึกษาของมหาเถรสมาคม “กฎหมายฉบับนี้จะเป็นคุณแก่พระสงฆ์ และช่วยเผยแผ่ศาสนาพุทธ”

ผอ.สำนักพุทธฯยังกล่าวด้วยว่า การผลักดันกฎหมายดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับกรณีปัญหาวัดพระธรรมกาย

อย่างไรก็ดี รอยเตอร์ไม่สามารถติดต่อขอความเห็นจากพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคมได้

นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตที่ปรึกษาของรัฐบาลคณะรัฐประหาร ผู้สนับสนุนการกำกับดูแลกิจการพุทธศาสนา บอกว่า ถ้าร่างฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ปัญหาอย่างวัดพระธรรมกายจะหมดไป “พระที่ทำผิดวินัยสงฆ์ หรือแสวงประโยชน์จะถูกปราบ”

ผศ.ดร.มนตรี สิระโรจนานันท์ ผู้รู้ด้านศาสนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า กฎหมายดังกล่าวอาจช่วยให้วงการสงฆ์แก้ปัญหาเรื้อรังต่างๆได้ แต่คณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาที่มีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปนั่งเป็นกรรมการโดยส่วนใหญ่นั้น อาจถูกใช้ประโยชน์อย่างผิดๆได้

“ดาบที่อยู่ในมือของรัฐบาลทหาร อาจถูกใช้เป็นอาวุธ” เขาให้ข้อสังเกต

รายงานข่าวระบุว่า ร่างกฎหมายว่าด้วยการ 'อุปถัมภ์และคุ้มครอง' พระพุทธศาสนาฉบับนี้ ไม่ครอบคลุมเรื่องเงินบริจาคของวัด ซึ่งประมาณว่ามีมากถึงปีละกว่า 1.2 แสนล้านบาท

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลจะประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวก่อนการเลือกตั้งครั้งหน้า ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในปี 2561.

Source: Reuters

Photo: AFP

ooo





"และแล้ว...หางก็โผล่"

สัปดาห์ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ดีเอสไอที่ คสช. แต่งตั้งให้มาเป็น ผอ. สำนักพุทธฯ ได้ทำหนังสือถึงเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี เสนอความเห็นให้แต่งตั้งพระภิกษุจากวัดอื่นมาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายเพื่อบริหารและสอบอธิกรณ์พระผู้ใหญ่ของวัดซึ่งขัดต่อกฎหมาย เพราะการแต่งตั้งเจ้าอาวาสตามกฏ มส. ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2541) ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสงฆ์ตั้งแต่เจ้าคณะอำเภอจนถึงรองเจ้าคณะตำบลร่วมกันพิจารณาคัดเลือกพระภิกษุผู้มีคุณสมบัติ จากนั้นให้เจ้าคณะอำเภอรายงานเสนอเจ้าคณะจังหวัดเพื่อพิจารณาแต่งตั้ง กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจ ผอ. ซึ่งเป็นคฤหัสถ์เสนอความเห็นอันเป็นการแทรกแซง ส่วนการสอบอธิกรณ์คือการล่วงละเมิดพระธรรมวินัยซึ่งยังไม่มีการกล่าวหาจึงไม่มีอธิกรณ์ให้สอบ ดังนั้น ข้ออ้างในหนังสือจึงเป็นเท็จ

การที่หัวหน้า คสช. ใช้อำนาจเผด็จการสั่งปิดล้อมวัดพระธรรมกาย ดำเนินคดีกับรักษาการเจ้าอาวาสรวมทั้งออกคำสั่งจับกุมพระสงฆ์หลายรูป คือการทำให้พระผู้ใหญ่ของวัดต้องคดีเพื่อเปิดทางให้มีการแต่งตั้งพระภิกษุจากวัดอื่นมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเสมือนเป็นการยึดวัดพระธรรมกาย ส่วนการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดีเอสไอมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการมหาเถรสมาคมที่เป็นองค์กรปกครองสงฆ์คือการควบคุมศาสนจักร ซึ่งเท่ากับ คสช. ที่เป็นฝ่ายอาณาจักรควบคุมทั้งอำนาจรัฐและศาสนจักรอย่างเบ็ดเสร็จ แต่เนื่องจากข้อเสนอการแต่งตั้งเจ้าอาวาสไม่ชอบด้วยกฎหมายเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีจึงไม่เล่นด้วย รัฐมนตรีจึงเลี่ยงมาตั้งเป็นคณะกรรมการประกอบด้วย เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ ตัวแทนจากดีเอสไอและสำนักพุทธฯ เพื่อบริหารจัดการวัดพระธรรมกาย แต่ก็ผิดกฎหมายอีกเช่นกันเพราะวัดพระธรรมกายมีรักษาการเจ้าอาวาสทำหน้าที่แล้ว อีกทั้งการปกครองสงฆ์เป็นอำนาจหน้าที่ของ มส. ไม่ใช่อำนาจของรัฐมนตรีที่กำกับสำนักพุทธฯ จะไปแต่งตั้งพระและคฤหัสถ์มาบริหารจัดการวัด สุมหัวกันวางแผนยึดวัดปกครองพระจนคลิปหลุดหางโผล่ อย่าลืมประสานงานกับนรกให้สร้างขุมพิเศษไว้รอด้วยจะได้ไปอยู่รวมกัน

วัฒนา เมืองสุข
พรรคเพื่อไทย
30 มีนาคม 2560


Watana Muangsook

ooo

Exclusive - Thai junta seeks law to bring more order to Buddhism



Supporters of Dhammakaya temple walk inside Dhammakaya temple in Pathum Thani province, Thailand, March 9, 2017. Picture taken March 9, 2017. REUTERS/Athit Perawongmetha


By Panarat Thepgumpanat and Patpicha Tanakasempipat | BANGKOK
Source: Reuters

Thailand's military government is working on a law to help regulate Buddhism, officials say, giving the junta far more say over a pillar of Thai society that has so far eluded its control.

The proposed bill, which has not been made public, would appear to significantly reduce the say of the Sangha Supreme Council, Buddhism's governing body in Thailand.

A source within the government who did not wish to be named said the bill would set up a new committee that would set policies to "support and protect Buddhism," though it wouldn't touch on religious practices.

The bill would give monks chosen by the Sangha Council only three of the 27 seats on the committee. Other seats would go to the prime minister, police chief, a number of other senior officials as well as experts on Buddhism, members of Buddhist universities and representatives of Buddhist groups chosen by the prime minister, the source said.

"The bill does not 'support', but forces monks to obey and stay under state governance, which is inappropriate," Phra Metha Winairos, deputy dean of Mahamakut Buddhist University, told Reuters. "This state interference will downgrade religion."

The proposed law comes amid a swirl of controversies around a religion professed by 95 percent of Thais, and with most opposition to army rule neutralised since a 2014 coup.

While police have lifted a three-week siege of the giant Dhammakaya temple north of Bangkok, the temple's defiance of attempts to arrest its former abbot in a money laundering case has highlighted the limit of state authority over monks.

The draft of the new bill is being reviewed by the Sangha Supreme Council, said the head of the National Office of Buddhism.

No member of the council of elder monks was available for comment.

"This bill will benefit monks and help spread Buddhism," said Pongporn Pramsaneh, the recently appointed former detective who now heads the government office that handles Buddhist affairs. He declined to give details about the bill.

WANING INFLUENCE

There are already indications the Sangha Council's influence has been weakened.

Last year, the junta rejected the name put forward by the council to be the new Supreme Patriarch of Buddhism, an abbot who had ties with the Dhammakaya temple and who had been under investigation over a scam involving luxury cars.

The military-appointed parliament then granted new King Maha Vajiralongkorn the power to pick a chief monk himself.

Pongporn at the Buddhist affairs office said the renewed push on the bill had nothing to do with the Dhammakaya temple, which frustrated an attempt by thousands of police this month to search for its former abbot, Phra Dhammachayo.

Critics of the temple say it is sympathetic to the "red shirt" movement of ousted prime minister Thaksin Shinawatra, which the temple denies.

Paiboon Nititawan, a former junta advisor who wants even greater regulation of Buddhism, said if the bill was enacted, "problems like Dhammakaya will be suppressed."

"Monks looking to violate monastic codes or wrongly exploit religion will be suppressed," he said.

VOW OF OBEDIENCE?

Religious scandal is nothing new in Thailand, which has 40,000 temples and more than 300,000 monks. Reports of sex, drugs and improper financial dealings are frequent.

The proposed committee under the new bill would set policies to improve secular affairs - though not Buddhist religious practices.

That could potentially help the Sangha tackle persistent problems, said Buddhism expert Montree Sirarojananan from Thammasat University in Bangkok. But he said a committee dominated by government officials could also be abused.

"A knife in the hands of a military government tends to be used as a weapon," he said.

The bill did not include any measures for state control over the finances of temples which, according to a 2014 study, get an estimated $3.5 billion a year in donations, the government source said.

The bill would still need approval from the cabinet and the legislative assembly.

It would also need to be signed off by King Vajiralongkorn. After appointing a conservative as Supreme Patriarch in February, the king then approved the junta's request to strip the Dhammakaya temple's former abbot of his monastic titles.

Aomsin Cheewapruek, Minister in the Prime Minister's Office, said the government would enact the bill before the next general election, which is not expected until well into 2018.

($1 = 34.4 baht)

(Editing by Matthew Tostevin and Bill Tarrant)



ทายาทกระทิงแดง เลื่อนนัดอ้างอยู่อังกฤษ อสส.ยันไม่ได้ซุกสำนวน ขู่เบี้ยวรอบหน้าเจอหมายจับ ชมคลิป LIVE!!! นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด แถลงข่าวความคืบหน้าคดี 'บอส วรยุทธ' ทายาทกระทิงแดง ขับรถชนดาบตำรวจเสียชีวิตเมื่อปี 2555




https://www.facebook.com/weeranan.voicetv/videos/10210913571387243/

ooo

ทายาทกระทิงแดง เลื่อนนัดอ้างอยู่อังกฤษ อสส.ยันไม่ได้ซุกสำนวน ขู่เบี้ยวรอบหน้าเจอหมายจับ





30 มีนาคม 2560
ที่มา ข่าวสดออนไลน์

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 30 มีนาคม ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.แจ้งวัฒนะ นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดแถลงข่าว ความคืบหน้าคดี นายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา ทายาทเครื่องดื่มชูกำลังกระทิงแดง ขับรถยนต์หรูพุ่งชน ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ ผบ.หมู่จราจร สน.ทองหล่อ เสียชีวิต เมื่อวันที่ 3 กันยายน 55 ว่าในวันนี้ทางพนักงานอัยการคดีอาญากรุงเทพใต้ได้แจ้งให้ผู้ต้องหามาพบพนักงานอัยการใน แต่เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ที่ผ่านมาผู้ต้องหาได้มอบอำนาจให้ทนายความมาขอเลื่อนคดีกับพนักงานอัยการ โดย อ้างว่าติดภารกิจที่ประเทศอังกฤษ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญา กรุงเทพใต้ ได้อนุญาตให้เลื่อนไปวันที่ 27 เมษายน 60

โดยนายประยุทธ เล่าที่มาของคดีนี้ว่า เดิมคดีนี้ นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ขณะนั้น ได้เคยมีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหาแล้ว หลังจากนั้นผู้ต้องหาได้ร้องขอความเป็นธรรมหลายครั้ง ซึ่งครั้งหลังสุดก็ได้ร้องขอความเป็นธรรมโดยให้สอบพยานอีกหลายปาก แต่พนักงานอัยการได้สั่งยุติหนังสือร้องขอความเป็นธรรมของผู้ต้องหาและแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งฟ้องเดิมที่สั่งฟ้องผู้ต้องหาในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควรและแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที พร้อมกับมีหนังสือแจ้งให้นายวรยุทธ มาพบพนักงานอัยการ เพื่อทราบคำสั่งและส่งฟ้องในวันที่ 25 เมษายน 59





ปรากฏว่าเมื่อพนักงานอัยการได้แจ้งไปยังผู้ต้องหาแล้ว วันที่ 12 เมษายน 59 ผู้ต้องหาได้มอบอำนาจให้ทนายความมายื่นหนังสือกับพนักงานอัยการขอเลื่อนคดี อ้างว่าติดธุระอยู่ต่างประเทศ พนักงานอัยการผู้รับผิดชอบการดำเนินคดีจึงอนุญาตให้เลื่อนไปวันที่ 25 พฤษภาคม 59 พร้อมกับกำชับให้ผู้ต้องหามาพบพนักงานอัยการตามกำหนดนัด แต่พอครั้นถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 ปรากฏว่าผู้ต้องหาไม่มาพบพนักงานอัยการ พนักงานอัยการจึงมีหนังสือแจ้งไปที่พนักงานสอบสวน สน.ทองหล่อ ให้ไปดำเนินการติดตามเอาตัวผู้ต้องหาเพื่อส่งฟ้องต่อศาล

พนักงานสอบสวน สน.ทองหล่อก็ได้แจ้งผลการติดตามตัวผู้ต้องหาว่า ผู้ต้องหาได้ขอเลื่อนการเข้าพบพนักงานอัยการออกไปก่อนเนื่องจากได้ไปยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมที่คณะกรรมาธิการการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อขอให้สอบสวนพยานเพิ่มเติม ปากผู้ชำนาญการพิเศษในประเด็นเรื่องความเร็วของรถ


In this Nov. 26, 2016, photo provided by XPB Images, Vorayuth “Boss” Yoovidhya, second left, whose grandfather co-founded energy drink company Red Bull, walks with his mother Daranee, second right, at the Formula 1 Grand Prix in Abu Dhabi. Vorayuth is accused of killing a Thai police officer in a hit-and-run in 2012, yet he still has not appeared to face charges. (XPB Images via AP)


ซึ่งทางพนักงานอัยการก็ได้พิจารณา ยืนยันให้พนักงานสอบสวนไปติดตามตัวผู้ต้องหามาส่งให้พนักงานอัยการเพื่อฟ้องต่อศาลภายในวันที่ 24 มิถุนายน 59 แต่ภายหลังผู้ต้องหามีหนังสือเลื่อนการเข้าพบ โดยอ้างว่าอยู่ระหว่างตนร้องขอความเป็นธรรมไปที่ สนช.เช่นเดิม ซึ่งพนักงานอัยการยังคงยืนยันให้ผู้ต้องหามาพบเพื่อส่งฟ้องต่อศาล และมีหนังสือลงวันที่ 12 ตุลาคม 59 แจ้งไปยังพนักงานสอบสวน สน.ทองหล่อ ให้นำตัวผู้ต้องหามาพบแต่ตัวผู้ต้องหาก็ยังอ้างเหตุเดิมจน วันที่ 28 พฤศจิกายน 59 ผู้ต้องหามีหนังสือถึงพนักงานอัยการแจ้งขอเลื่อนคดีอ้างว่าติดภารกิจอยู่ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรต

ต่อมาเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 59 คณะกรรมาธิการการกฎหมาย ฯ สนช.ได้ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องมาให้พนักงานอัยการ เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ซึ่งในวันเดียวกันผู้ต้องหาก็ได้ยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่ออธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ เพื่อให้สอบปากคำพยานผู้ชำนาญการพิเศษโดยอ้างว่าตนเองไม่ได้ ขับรถเร็วตามที่ถูกกล่าวหา ซึ่งพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบการดำเนินคดีในรูปของคณะทำงานได้สั่งสอบสวนเพิ่มเติม ตามที่ผู้ต้องหาร้องขอ ซึ่งผลการสอบสวนเพิ่มเติมพนักงานอัยการล่าสุดพนักงานอัยการได้รับผลการสอบสวนเพิ่มเติมครบถ้วนแล้ว จนนัดตัวผู้ต้องหามาส่งฟ้องต่อศาลในวันที่ 27 เมษายน นี้



In this June 30, 2013, photo provided by XPB Images, Vorayuth “Boss” Yoovidhya walks at the British Formula 1 Grand Prix in Silverstone, England. Vorayuth is accused of killing a Thai police officer in a hit-and-run in 2012, yet he still has not appeared to face charges. (XPB Images via AP)


ผู้สื่อข่าวถามเหตุการณ์ที่ผ่านมานาน 5 ปี แล้วการดำเนินคดีกับกรณีนี้ยังไม่ได้ส่งตัวผู้ต้องหาฟ้องต่อศาล เป็นการประวิงเวลาหรือไม่ นายประยุทธว่า เนื่องจากมีการขอความเป็นธรรมหลายครั้ง แต่การที่จะร้องขอความเป็นธรรมนั้นอัยการก็จะต้องดูเหตุที่อ้างว่าเลื่อนลอยหรือไม่ กรณีนี้มีการร้องต่อคณะกรรมาธิการการฯ สนช. ถ้าเราไม่สอบเพิ่มเติมให้ ก็อาจถูกกล่าวหาว่าไม่ปฏิบัติหน้าที่ ขณะนี้ประเด็นที่ นาย วรยุทธได้ร้องขอความเป็นธรรมมาก่อนหน้านี้ ทางอัยการก็ได้พิจารณาสอบเพิ่ม ตามที่ร้องขอไม่ว่าจะเป็นเรื่องความประเด็นเรื่องความเร็วของรถ ที่ไปร้องต่อคณะกรรมาธิการฯ สนช. เรียกได้ว่าคดีใกล้ถึงจุดสิ้นสุดแล้ว จนปัจจุบันนี้อัยการก็ยังคงมีคำสั่งให้ฟ้อง นาย วรยุทธ โดยในวันที่ 27 เมษายน ที่อัยการนัดให้ผู้ต้องหาพบเพื่อส่งตัวฟ้อง นั้นถ้ามีการอ้างเหตุผลเลื่อนลอย ก็จะประสานพนักงานสอบสวนออกหมายจับเพื่อนำตัวมาดำเนินคดี โดยจะไม่สามารถอ้างเหตุผลเดิมได้อีกแล้ว

ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า จากคดีนี้ที่มีการดำเนินคดีค่อนข้างล่าช้ากระทบต่อภาพลักษณ์ต่ออัยการสูงสุดหรือไม่ และข้อสงสัยที่ว่าอัยการที่ทำสำนวนนี้ตั้งแต่ต้นถูกโยกย้ายหรือไม่ นายประยุทธ กล่าวว่า สำนักงานอัยการสูงสุดต้องยอมรับการตรวจสอบ แต่ตามที่ตนได้ไล่เรียงขั้นตอนต่างๆ ก็จะเห็นได้ว่าอัยการไม่ได้เพิกเฉย ซุกสำนวนแต่อย่างใด โดยเรายึดหลักว่าความล่าช้ากระทบต่อความยุติธรรม แต่เหตุที่คดีนี้ล่าช้าเพราะว่าผู้ต้องหามีการร้องขอความเป็นธรรมเข้ามาหลายครั้งอัยการก็ต้องรอสอบให้สิ้นกระแสความ แต่ถ้าไม่มีประเด็นเพิ่มเข้ามาอีกก็น่าจะยุติได้ ตนคิดว่ายิ่งผู้ต้องหานามสกุลดัง กลับยิ่งเป็นที่จับตามองของสังคมมากกว่า คิดว่าเรื่องนี้สังคมจะเข้าใจ ส่วนเรื่องที่ย้ายอัยการนั้น ยืนยันว่าไม่มีย้ายอัยการเพราะทำคดีนี้แน่นอน ซึ่งโดยปกติก็มีการโยกย้ายอัยการตามวาระทุกปี

เมื่อถามว่าคดีของ นาย วรยุทธที่จะทยอยหมดอายุความจะมีผลกระทบต่อการสืบเจตนาการกระทำผิดในชั้นศาลหรือไม่ นายประยุทธ กล่าวว่า แม้ข้อบางข้อหาจะหมดอายุความไปแล้ว แต่ในการการสืบพยานในชั้นศาลก็จะมีการนำสืบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น การหมดอายุความในบางข้อหาไม่ส่งผลกระทบต่อรูปคดี ซึ่งคดีนี้ยังมีเหลือ 2 ข้อหาคือ ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มีอายุความ15 ปี และจะหมดอายุความในเดือนกันปี 70 ส่วนคดีไม่หยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควรแก่ผู้ได้รับความเสียหายและไม่แจ้งต่อเจ้าหนักงานในทันทีชนแล้วหนีคดีนี้อายุความ 5 ปี จะขาดอายุความภายในวันที่ 3 กันยายน 60 นี้ ซึ่งทางพนักงานอัยการจะกำชับให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหามาส่งฟ้องได้ก่อนหมดอายุความ

เมื่อถามว่า ก่อนหน้านี้ทำไม่ไม่เคยประสานขอให้ตำรวจออกหมายจับ นายประยุทธ กล่าวว่า เรื่องที่นายวรยุทธไม่มาพบอัยการก็มีการอ้างเหตุ และร้องขอความเป็นธรรม ซึ่งบางเรื่องที่ร้องมามันมีเหตุผลให้ต้องสอบสวนบางเรื่องแต่ขณะนี้เมื่อมีการสอบเสร็จสิ้นแล้วหากยังไม่มาทางอัยการก็จะประสานตำรวจเพื่อออกหมายจับเพื่อส่งตัวผู้ต้องหา ส่วนในกรณีที่ผู้ต้องหายังอยู่ต่างประเทศและจะไม่มาพบอัยการนั้นหากมีการออกหมายจับก็จะจะสามารถถึงขั้นตอนการส่งผู้ร้ายข้ามแดนซึ่งเรามีอัยการสำนักงานต่างประเทศคอยดูแลเรื่องนี้อยู่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับคดีนี้ หลังจากเกิดเหตุทางพนักงานสอบสวนมีการแจ้งข้อหา นายวรยุทธสรุปข้อหาที่เกี่ยวข้องในคดี 1.ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย (ม.291 จำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท อายุความ 15 ปี)

2.ขับรถในทางก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลไม่หยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควรแก่ผู้ได้รับความเสียหาย และไม่แจ้งต่อเจ้าพนักงานในทันที ชนแล้วหนี (พรบ.จราจรทางบก ม.78 จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับ 5,000-20,000 บาท อายุความ 5 ปี )จะขาดอายุความ 3 กันยายน 60 สั่งฟ้อง

3.ขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

4.ขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด(พรบ.จราจรทางบก ฯ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท อายุความ 1 ปี)

5.ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย (พรบ.จราจรทางบกฯ ม.43(4)) ปรับไม่เกิน 1,000 บาท อายุความ 1 ปี

ซึ่งขณะนี้ข้อหาที่ยังไม่หมดอายุความมีเพียง 2 ข้อหา คือข้อหาขับรถประมาทเป็นสาเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและไม่หยุดรถช่วยเหลือส่วน อีก 3 ข้อหานั้นมีการหมดอายุความและพนักงานสอบสวนมีความเห็นไม่ฟ้องในข้อหาเมาสุรา

หมดสิ้นแล้วละ ศักดิ์ศรีความน่าเชื่อถือของ คสช. และลิ่วล้อ





เอาสมยาไหนดีสภาแห่งนี้ ‘ส่งเกลียด’ หรือ ‘ซ่นเกลือก’ สมาชิกเข้าประชุมไม่ถึง ๕๐ ดันมีเสียงโหวตตั้ง ๑๕๓

สนช. ผู้คร่ำหวอดการเมือง เคยวนเวียนเป็นโน่นเป็นนี่ในสังกัดพรรคการเมืองนับโหล ลุกขึ้นพูดหยามอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศที่เรียกร้องให้นับองค์ประชุมเพราะเห็นคนโหรงเหรง

นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ ลุกขึ้นแย้งนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุลว่า “ไม่สามารถนับองค์ประชุมตามที่ขอได้ เพราะสภาแห่งนี้เป็นสภาอันทรงเกียรติ ไม่เหมือนสภาปาหี่ที่เคยเป็นในสมัยของท่าน”

(http://news.voicetv.co.th/thailand/475581.html)





ทั้งที่จริง สภาซึ่ง คสช. ไล่ตั้งอย่าง สนช. นี่ ‘ป๊ะห่วย’ หาไหนเทียบได้แล้วทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต แบบว่ามีสมาชิก ๗ คน (รวมทั้งน้องนายกฯ ที่ได้รับเหรียญสดุดี) ขาดประชุมค่อนสมัย แถมเป็นสภาที่มีวันหยุด ๓ อาทิตย์ต่อเดือน

เอาง่ายๆ ดูได้จากที่นายมหันต์นรก (พยางค์หลังอ่านเสียงกล้ำ) ยังมีหน้าบอกว่า “ผู้แถลงมีหน้าที่แถลงปิดคดีเท่านั้น ท่านไม่มีสิทธิใดๆ” ที่จะเรียกร้องให้นับองค์ประชุม

เสร็จแล้วมีการเชิญคู่กรณี (ทั้ง ป.ป.ช. และ นายสุรพงษ์) ออกจากห้องประชุม แล้วที่มีอยู่ไม่ถึง ๕๐ คนก็สุมหัวกันถกเข้มข้น ได้มติจนแล้วจนรอด ๑๔๙ เสียงอีกครั้งว่า “ไม่ให้บุคคลภายนอกเสนอนับองค์ประชุม”

(https://voicefromthais.files.wordpress.com/…/ccpr_c_tha_co_…)

ก็เพราะสภานิติบัญญัติ ‘แห่งชาติ’ ทำหยำเป เกลือกๆ เกลียดๆ กันอย่างนี้ ‘สห’ ประชาชาติเขาถึงต้องออกแถลงเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร ‘อีกครั้ง’ เช่นกันว่า

“๘. รัฐภาคี (ไทย) ควรที่จะสำรวจตรวจตราให้ดีต่อมาตรการต่างๆ ที่ออกมาบังคับใช้ผ่านทางรัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๕๗ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของมาตรา ๔๔ ๔๗ และ ๔๘ ให้ต้องตรงกับพันธกรณีที่มีต่อปฏิญญา (สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ)

และต้องให้เกิดความมั่นใจด้วยว่ามาตรการต่างๆ ที่สร้างขึ้นมาภายใต้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมถึงมาตรา ๒๗๙ จักต้องสอดคล้องกับพันธกรณีที่มีต่อปฏิญญาฯ

รวมทั้งพันธกรณีที่ต้องให้การเยียวยาอย่างเหมาะสมแก่ผู้ตกเป็นเหยื่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน”

(CCPR_C_THA_CO_2_27020_E ฉบับภาษาไทยที่ CCPR_C_THA_CO_2_27020_TH_FINAL)

นอกจากนั้นถ้อยแถลง ‘ข้อสังเกตุเชิงสรุป (Concluding observations) ต่อรายงานตามวาระฉบับที่สองของประเทศไทย’ ยังแสดงความไม่วางใจต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของไทยด้วยว่า

“๑๐. รัฐภาคีควรที่จะทำให้มั่นใจได้ว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสามารถปฏิบัติพันธกิจของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นอิสระ และสอดคล้องกับกติกาปารีส (มติที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ ๔๘/๑๓๔ ภาคผนวก)”





มิใยที่กระบวนการยุติ (เป็น) ธรรม ‘ชื่อเสีย’ ไปก้องโลก ดังที่สื่อตะวันตกรวมทั้งสำนักข่าวเอพีตีพิมพ์บทความตำหนิคดีที่ทายาทกระทิงแดง นายวรยุทธ อยู่วิทยา เมาสุราขับรถสปอร์ตเฟอรารี่ชนตำรวจจราจรเสียชีวิตเมื่อปี ๒๕๕๕

ผ่านมาเกือบ ๕ ปีแล้วคดีไม่คืบไปไหน แถมผู้ต้องหากลับลอยนวลท่องเที่ยวต่างประเทศเพลิดเพลินใจ

(http://nanasara.org/forum/showthread.php?tid=6349)





หรือกระทั่งคดีทหารยศจ่าสิบเอกวิสามัญฆาตกรรมเด็กหนุ่มชาวลาหู่แล้วทางการพยายามยัดข้อหาค้ายาบ้าในขณะนี้ ทั้งที่พยานหลายปากยืนยันว่าผู้ตายถูกซ้อมทนไม่ไหวจึงวิ่งหนี กลับถูกยิงด้วยปืนเอ็ม ๑๖ เข้าข้างหลัง

ก็มีตัวอย่างเพิ่งปรากฏสดๆ ร้อนๆ ที่กลุ่มรณรงค์ปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัดจากจังหวัดตรัง กำลังจะยกขบวนกันเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อร่วมชุมนุมเรียกร้องกับ ‘พีมู้ฟ’





กลับถูกตำรวจนอกเครื่องแบบพยายามสกัดกั้นด้วยการเอายาซองเสพติดแอบโยนไว้แล้วยัดข้อหามียาบ้า ยังดีที่กลุ่มจับได้จึงพากันประจานจนเจ้าหน้าที่ต้องถอยไป

(http://www.matichon.co.th/news/512837)

หมดสิ้นแล้วละ ศักดิ์ศรีความน่าเชื่อถือของ คสช. และลิ่วล้อ ที่ครองเมืองกันด้วยการตระบัดลิ้นปลิ้นปล้อน ทับถมความเดือดร้อนให้แต่กับฝักฝ่ายที่เห็นต่าง ด้วยการบีบคั้น กลั่นแกล้ง อ้างกฎหมายกดขี่ทำร้าย แม้กระทั่งขูดรีด


ฉันใดก็ฉันนั้น ระบอบประชาธิปไตยจะอยู่ไม่ได้ถ้าปราศจากพลเมืองที่เข้มแข็ง

ไม่มีรัฐใดที่ประชาธิปไตยเข้มแข็งโดยปราศจากการปกครองท้องถิ่นที่เข้มแข็ง

ชำนาญ จันทร์เรือง

หนึ่งในบรรดาข้อถกเถียงในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมืองของไทยที่ผ่านมาก็คือ ข้อถกเถียงเกี่ยวกับแนวความคิด จังหวัดจัดการตนเองที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนท้องถิ่น บนพื้นฐานของ self determination rights หรือสิทธิในการกำหนดอนาคตของตนเองตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ

ซึ่งบางฝ่ายได้โต้แย้งว่าต้องพัฒนาการเมืองการปกครองหรือประชาธิปไตยในระดับชาติเสียก่อน แล้วจึงค่อยมาพัฒนาการปกครองท้องถิ่นทีหลัง กอรปกับนายกรัฐมนตรีได้ออกมาย้ำเมื่อวันศุกร์ที่ 24 มี.ค 60 ที่ผ่านมาอีกว่า ยังไม่พร้อมกระจายอำนาจปกครองตนเองเพราะยังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน

แต่ผมกลับเห็นตรงกันข้าม เพราะผมเชื่อว่าไม่มีรัฐใดที่ประชาธิปไตยเข้มแข็งโดยปราศจากการปกครองท้องถิ่นที่เข้มแข็ง ดังคำกล่าวของ Konrad Adenauer  อดีตนายกรัฐมนตรีของเยอรมนีที่ว่า No state without city”  ซึ่งหากแปลตรงตัวก็คือ “ไม่มีรัฐใดที่ไม่มีเมือง”

ความหมายที่แท้จริงคือ “ไม่มีทางที่การเมืองการปกครองในระดับชาติ (state) จะเข้มแข็งได้ หากปราศจากการปกครองท้องถิ่น (ในที่นี้หมายถึงเมืองหรือcity ซึงรวม town, township, municipality ฯลฯ) ที่เข้มแข็ง” นั่นเอง

การปกครองท้องถิ่นคืออะไร
ได้มีปรมาจารย์ทางด้านรัฐศาสตร์ได้ให้คำจำกัดความไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Daniel Wit, William A. Robson, William V. Hollowway ฯลฯ ซึ่งสามารถสรุปความได้ว่า

การปกครองท้องถิ่นหมายถึงการปกครองของชุมชนหนึ่งๆ ซึ่งมีอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่ด้านต่างๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนที่อยู่ภายในชุมชนตามขอบเขตอำนาจที่ได้รับ (กรณีรัฐเดี่ยว) หรือความเป็นอิสระ (กรณีรัฐรวม) จากรัฐบาลกลางหรือส่วนกลาง

โดยจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคล, มีสิทธิตามกฎหมายในการตรากฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับต่างๆ, ตลอดจนมีงบประมาณที่มาจากการจัดเก็บภาษีและรายได้ในรูปแบบต่างๆ ภายในท้องถิ่นของตนเอง, สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งของประชาชน และมีเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรในการปฏิบัติงานเป็นของตนเอง”

การปกครองท้องถิ่นมีความสำคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างไร

1) เป็นการให้การศึกษาและฝึกฝนทางการเมือง (Providing Political Education and Training)
การปกครองท้องถิ่นเป็นหนึ่งในรูปแบบของการศึกษาเรียนรู้ทางการเมือง เนื่องจากการเลือกตั้งท้องถิ่นในแต่ละครั้งย่อมเป็นช่วงเวลาและบรรยากาศของการเรียนรู้ทางการเมืองเป็นอย่างดียิ่ง เช่น การรณรงค์หาเสียง, การประกาศและตรวจสอบนโยบาย ฯลฯ  ซึ่งนอกจากจะเป็นการใช้สิทธิในการเลือกตั้งโดยตรงแล้ว ยังสามารถพัฒนาไปสู่การลงสมัครรับเลือกตั้งด้วยตนเอง และพัฒนายกระดับสูงขึ้นจนถึงระดับชาติต่อไป

2) เป็นการส่งเสริมความเป็นพลเมืองและการมีส่วนร่วม (Promoting Citizenship and Participation)
การปกครองท้องถิ่นเป็นการส่งเสริมการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนได้อย่างใกล้ชิด เพราะการเมืองระดับชาติประชาชนมีความรู้สึกว่าไกลตัว แต่การปกครองท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับประชาชนอย่างแนบแน่นมากกว่า โอกาสที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองย่อมมีความเป็นไปได้สูง

เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีความเป็นพลเมืองที่มีความเข้มแข็งในทางการเมืองและตระหนักถึงสิทธิประโยชน์และความสำคัญของตนในทางการเมือง ฉะนั้น การปกครองท้องถิ่นจึงช่วยยกระดับและขยายไปสู่ความเข้มแข็งในทางการเมืองระดับชาติต่อไป

3) เป็นความเท่าเทียมทางการเมือง (Political Equality)
เมื่อเปรียบเทียบกับการเมืองในระดับชาติแล้ว การปกครองท้องถิ่นสร้างความเท่าเทียมทางการเมืองมากกว่า เพราะประชาชนทุกคนในท้องถิ่นมีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างทั่วถึงและกว้างขวางกว่าการเมืองระดับชาติ
4) มีผลต่อเสถียรภาพทางการเมือง (political Stability)
การปกครองท้องถิ่นเปรียบเสมือนการให้การศึกษาทางการเมืองด้วยการให้ประชาชนมีประสบการณ์ในการเลือกผู้นำที่ตนไว้วางใจ ซึ่งความไว้วางใจที่มีต่อรัฐบาลนับเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพ

5) ก่อให้เกิดความรับผิดชอบ (Accountability)
การปกครองท้องถิ่นก่อให้เกิดความรับผิดชอบ สร้างการตรวจสอบและถ่วงดุลของประชาชนที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะอยู่ใกล้ชิดกับตนเอง จึงได้รู้เห็นความไม่ชอบมาพากลต่างๆ ได้ดี เช่น มีบ้านหลังใหญ่ขึ้น มีรถยนต์ราคาแพงขึ้น ฯลฯ

6) สามารถสนองตอบต่อความต้องการ (Responsiveness)
เนื่องจากสภาพของท้องถิ่นแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน การพัฒนาและการแก้ไขปัญหาจึงต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น การสนองตอบของระบบการเมืองต่อข้อเรียกร้องหรือ ความต้องการของท้องถิ่นจึงสอดคล้องกับหลักการของระบอบประชาธิปไตยที่ระบบการเมืองคำนึงถึงปัจจัยนำเข้า (Input) หรือข้อมูลนำเข้าที่ป้อนเข้าสู่ระบบการเมืองแล้วแปรรูปเป็นปัจจัยนำออก (Output) ที่ตรงกับข้อเรียกร้องและความต้องการของท้องถิ่น

ดังคำกล่าวที่ว่า “ไม่มีใครรู้ปัญหาท้องถิ่นดีกว่าคนท้องถิ่น” นั่นเอง

น่าเสียดาย ไทยเรามีความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนเรื่องของการกระจายอำนาจมาโดยลำดับ จวบจนปัจจุบันนับได้ถึง 48 จังหวัดที่ได้มีการรณรงค์เกี่ยวกับเรื่องจังหวัดจัดการตนเอง อาทิ ปัตตานีมหานคร ระยองมหานคร ภูเก็ตมหานคร ขอนแก่นมหานคร ฯลฯ

และในที่สุดอดีตคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ได้มีการแนวความคิดที่จะเสนอร่าง พรบ.จังหวัดปกครองตนเองฯ เพื่อที่จะใช้เป็นกฎหมายกลางสำหรับทุกๆ จังหวัด จะได้ไม่ต้องไประดมรายชื่อเพื่อเสนอกฎหมายแบบที่จังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินการมา จนมีการยื่นร่างพรบ.ระเบียบบริหารเชียงใหม่มหานครฯ ต่อสภาผู้แทนราษฎรไปแล้วเมื่อ 26 ตุลาคม 2556 โดยมีรองประธานสภาฯ ไปรับร่างพรบ.ฯ และรายชื่อถึงกว่า 12,000 คนด้วยตนเองถึงที่จังหวัดเชียงใหม่ แต่ร่างพรบ.ฯ ต้องมาสะดุดหยุดอยู่เมื่อเกิดการยุบและยึดสภา

มิหนำซ้ำยังมีการพยายามที่จะลดทอนอำนาจและความเป็นอิสระขององค์กรปกครองท้องถิ่น ในรูปแบบต่างๆ สารพัดวิธี โดยลืมไปว่าการกระจายอำนาจนั้นคือคำตอบของการปรองดองและสมานฉันท์

เพราะการขับเคลื่อนในเรื่องนี้ประกอบไปด้วยผู้คนจากทุกกลุ่มทุกฝ่ายและทุกสีที่เห็นความจำเป็นของการกระจายอำนาจ

ที่สำคัญที่สุดก็คือ “การไม่กระจายอำนาจ ย่อมไม่ใช่การปฏิรูป” และย่อมไม่ใช่การปรองดองสมานฉันท์อย่างแน่นอน

โลกเขาไปถึงไหนๆ แล้ว การพยายามที่จะฝืนกระแสโลก โดยพยายามรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางเช่นในปัจจุบันที่กำลังทำกันอยู่ ย่อมที่จะฉุดรั้งประเทศไทยให้ล้าหลังจนเกินกว่าที่จะแก้ไขเยียวยาได้โดยง่าย

อย่าลืมนะครับว่า ระบอบเผด็จการจะอยู่ไม่ได้ถ้าปราศจากผู้นำที่เข้มแข็ง ฉันใด ระบอบประชาธิปไตยก็จะอยู่ไม่ได้ถ้าปราศจากพลเมืองที่เข้มแข็ง ฉันนั้น

-------------
หมายเหตุ  เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 29 มีนาคม 2560

"สมคิด" ติงสื่อเสนอข่าวฉุดเชื่อมั่น ยัน "อาลีบาบา" ยังไม่ทิ้งไทย (จะรอดู!)




https://www.youtube.com/watch?v=KEP95j4NIzM

"สมคิด" ติงสื่อเสนอข่าวฉุดเชื่อมั่น ยัน "อาลีบาบา" ยังไม่ทิ้งไทย

MGR Online VDO

Published on Mar 29, 2017

29/03/2017 "สมคิด" ติงสื่อเสนอข่าวฉุดเชื่อมั่น ยัน "อาลีบาบา" ยังไม่ทิ้งไทย

ooo





เกิดมาไม่เคยเห็นใครหลงตัวเองขนาดนี้ หลังจากพลาดดีลสองพันล้านเหรียญ โดยแจ็ค หม่าจับมือกับนายกฯ มาเลย์ พัฒนา “regional logistic hub” ที่เคแอล ทั้ง ๆ ที่ Alibaba ไม่เคยลงทุนในมาเลย์มาก่อนสักแดงเดียว “สมคิด” ออกมาโทษว่าสื่อสร้างความสับสน และยังเกทับอีกว่า “ที่มาเลเซียจะเป็นอีคอมเมิร์ซทรานส์ฟอร์ม แต่ที่ของเราจะเป็นอีคอมเมิร์ซฮับ ซึ่งสเกลใหญ่กว่าด้วยซ้ำไป”

“สมคิด” เสียทีที่เกิดแถวเยาวราช เสียทีที่เป็น “กุมารจีน” แต่กลับเพ้อฝัน ต้องเอาตัวเลขมายันกันสิ ไม่ใช่คุยอย่างเดียว นี่เป็นหัวหน้าทีมศก.มากี่ปีแล้ว มีอะไรดีขึ้นบ้าง (เอาตัวเลขมาพูดนะ ไม่ใช่ชายแต่ฝัน ดีแต่พูด แต่ลงมือทำจริง ๆ กลับบ้อท่า) ต้องอ่านบทความนี้สิครับ (http://www.thairath.co.th/content/897717) ชัดเจนเลยว่าที่แจ็คหม่าเซย์โนกับไทย เนื่องจากสาเหตุสองสามอย่าง

อย่างแรก เมื่อปีกลายมีคนเตือนเยอะแยะไปหมดว่า อย่าดันพรบ.คอมพ์แบบนี้ออกมา มันรวบอำนาจและสกัดการเติบโตของ startups (เช่น https://bloom.bg/2nL7lHf) ก็ไม่เชื่อ ดันทุรังผ่านกฎหมายเผด็จการออกมา แม้จะมีคนค้านตั้งสามแสนกว่าชื่อ โดยไม่มีประโยชน์ใด ๆ เลย แต่กลับทำให้เกิดภาระกับผู้ประกอบการในยุคดิจิตัลเสียอีก “ทีมงานของนายหม่าคงจะเอาพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ของไทยไปศึกษาแล้วศึกษาอีก โดยใช้นักวิเคราะห์เจาะลึกทุกประเด็น ผมเชื่อว่าคณะสุดยอดสมองของโลกคงอ่านกฎหมาย แล้วก็จึงลงความเห็นเหมือนกันว่า อ้า “เซย์โน” ดีกว่า” ผู้เขียนบทความในไทยรัฐบอก ผู้ประกอบการที่ไหนจะชอบแบกภาระเพิ่มเติม? กฎหมายมันเอื้อกับนักลงทุนมั้ย คิดสิคิด

“อุปสรรคอีกอย่างหนึ่งคือ ไทยปฏิเสธนวัตกรรมการบริการยุคใหม่อย่างการห้าม Uber” (ทั้ง ๆ ที่เมืองจีนมี Uber นะ) “เมื่อไทยปฏิเสธความเป็นสากล ทีมงานของนายหม่าก็แขยงแขงขนว่า ในอนาคต อาจจะมีการปฏิเสธธุรกิจของอาลีบาบา ก็อาจจะเป็นไปได้” ผู้เขียนบทความในไทยรัฐบอกอีก ที่สำคัญคือ ผู้นำมาเลย์ให้ความสำคัญกับดีลนี้มาก ถึงกับพัฒนา Digital Free Trade Zone (DFTZ) มารองรับนวัตกรรมทางธุรกิจครั้งนี้เลย เอาแค่สามอย่างนี่ มาเลย์ก็ล้ำกว่าไทยเยอะแล้วล่ะ

ข่าว Bloomberg อีกชิ้น (https://bloom.bg/2ng3LRw) ก็ระบุเช่นกันว่า “companies are increasingly looking elsewhere in the region.” “นักลงทุนพากันหาลู่ทางทำธุรกิจในประเทศอื่นในภูมิภาค นอกจากไทย” ทำไม? เพราะสิบปีมานี้ ศก.ไทยเติบโตแค่ 3% ต่ำสุดในภูมิภาค ทั้ง ๆ ที่เอเชียได้ชื่อว่าเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตทางศก.เร็วสุด เราอ่อนแอกว่าเขาทุกด้าน รวมทั้งด้าน logistics เรามีโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งอะไรไปอวดเขาได้บ้าง รถไฟไทยอายุร้อยกว่าปี ซึ่งยังคงใช้รางและรถที่เก่าพอ ๆ กับประเทศแถว CLMV น่ะหรือ? ขรรมนะ....สมคิด อย่ามัวแต่โทษคนอื่นเลย

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1490766620


Pipob Udomittipong

ooo


อีกข่าวที่เกี่ยวข้อง...


อาลีบาบาอาจจะลงทุนตั้งศูนย์ทั้งในมาเลเซียและไทยก็ได้

ต้องรอดู...


29มีค.60-หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3248 ระหว่างวันที่ 30 มี.ค.-1 เม.ย.2560 สื่อในเครือสปริง กรุ๊ปรายงานว่า ยืนยันอาลีบาบาลงทุนสร้างอี-คอมเมิร์ซพาร์กในไทย ล็อกเป้าพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิ 450 ไร่ ใน 2 เฟส สรุปสิทธิประโยชน์ภาษี-ขั้นตอนทางศุลกากรภายในสิ้นเดือนนี้

นโยบายสร้างไทยให้เป็นศูนย์กลางอี-คอมเมิร์ซ ในอาเซียนและซีแอลเอ็มวี (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม)กำลังจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน แม้ว่าทางอาลีบาบาจะจับมือกับรัฐบาลมาเลเซียสร้างศูนย์กระจายสินค้าที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ไปแล้วก็ตาม โดยจะเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ในวันที่ 5 เมษายนนี้

นายศิโรตม์ ดวงรัตน์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยว่า อาลีบาบา กรุ๊ป ได้ติดต่อเข้ามาดูพื้นที่บริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อลงทุนจัดตั้ง ศูนย์การค้าทางอิเล็กทรอนิกส์และระบบโลจิสติกส์ของภูมิภาค หรือ E-Commerce Park แล้ว 2-3 รอบ

ทอท.มีที่ดินแปลงที่ 37 ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ บริเวณทางทิศตะวันออกของสนามบินว่างอยู่ 1 แปลง ทางกลุ่มอาลีบาบาให้ความสนใจที่จะเข้ามาเช่าพื้นที่ในเบื้องต้นประมาณ 150 ไร่ เพื่อลงทุนในโครงการนี้ โดยจากการหารือกัน มีความเป็นไปได้ 80-90% ที่ทางอาลีบาบาจะเช่าพื้นที่จาก ทอท. ไปลงทุนศูนย์กลางการค้าอี-คอมเมิร์ซในไทย

เงื่อนไขปลีกย่อยในเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ทางอาลีบาบาจะต้องเจรจากับทางรัฐบาลไทย เนื่องจากทางกลุ่มอาลีบาบาต้องการตั้งเป็นเขตปลอดภาษี (Free Trade Zone) และคลังสินค้าทัณฑ์บน เพื่อบรรจุหีบห่อและขนส่งสินค้าออกไปผ่านทางบก ทางอากาศ และทางรถไฟ

แหล่งข่าวจากการนิคมอุตสาห กรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า กลุ่มอาลีบาบายังส่งผู้บริหารมาดูพื้นที่อื่นๆ อีก 3-4 แห่ง อาทิ พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จ.ระยอง พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง อ.ศรีราชา และพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด จ.ชลบุรี พื้นที่ทั้ง 3 แห่ง แม้จะอยู่ในพื้นที่อีอีซี แต่ถือว่าไกลจากสนามบินทำให้การขนส่งสินค้าอาจไม่สะดวกและใช้เวลาในการเดินทางขนส่ง ประกอบกับทางอาลีบาบาแจ้งว่า การส่งสินค้าส่วนใหญ่จะใช้รถขนส่งขนาดเล็กมากกว่า เพราะคล่องตัวและรวดเร็วกว่าในการ กระจายสินค้าออกไปยังกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม

การลงทุนครั้งนี้ ทางกลุ่มอาลีบาบาจะให้บริษัท ลาซาด้า ประเทศไทยฯ ที่ทางกลุ่มอาลีบาบาได้เข้ามาซื้อกิจการไปก่อนหน้านี้เป็นผู้ลงทุน ซึ่งขณะนี้ทางลาซาด้าอยู่ระหว่างการเสนอเรื่องให้บอร์ดอนุมัติแผนลงทุน โดยเฟสแรก ใช้พื้นที่ 150 ไร่ ส่วนเฟสที่ 2 จะใช้พื้นที่อีกประมาณ 300 ไร่ นางสมศรี ดวงประทีป กรรมการบริหาร บริษัท ปิ่นทอง อินดัสเตรียล ปาร์ค จำกัด ยอมรับผู้บริหารอาลีบาบาเดินทางเข้ามาดูพื้นที่ก่อนหน้านี้

ด้านนายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม ยืนยันว่า ทางกลุ่มบริษัท อาลีบาบาฯ เว็บไซต์อี-คอมเมิร์ซ
รายใหญ่ของจีน ที่มีบริษัท ลาซาด้า ประเทศไทย จำกัด เป็นบริษัทลูกในไทย จะยังเข้ามาลงทุนโครงการอี-คอมเมิร์ซ พาร์ก ในไทยอย่างแน่นอน ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาเกี่ยวกับขั้นตอนด้านศุลกากร เพื่อทำให้เป็นเขตปลอดภาษี โดยมีเป้าหมายขยายตลาดให้ครอบคลุมไปยังซีแอลเอ็มวี

ขณะที่นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ บอร์ดอีอีซี กล่าวว่า ได้รับการยืนยันว่าคณะผู้บริหารจากอาลีบาบาและลาซาด้าจะมาพบ รมว.อุตสาหกรรมเพื่อยื่นข้อเสนอในการลงทุน อาทิ การอำนวยความสะดวกเรื่องขั้นตอนกฎหมายศุลกากรที่ช่วยส่งเสริมการนำเข้าและส่งออกสินค้า โดยมีความชัดเจนว่าจะเข้าลงทุนพื้นที่ใดจะได้ข้อสรุปในวันที่ 31 มีนาคม 2560 ก่อนเสนอให้บอร์ดอีอีซี และ ครม.เห็นชอบต่อไป

อ่านต่อได้ที่...

‘อาลีบาบา’ ยึด! สุวรรณภูมิ

ฐานเศรษฐกิจ
29 March 2017

วันพุธ, มีนาคม 29, 2560

คลิปนปช.หลังเยี่ยมหมู่มิตรที่ถูกคุมขังในคดีพัทยา 13คน ซึ่งอยู่ในระหว่างรอการประกันตัวในชั้นฏีกา




https://www.facebook.com/Jatuporn.UDD/videos/1104649112980515/


.....

13 รายชื่อผู้ต้องหาในคดี

นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง
นายนิสิต สินธุไพร
นายพายัพ ปั้นเกตุ
นายวรชัย เหมะ
นายวันชนะ เกิดดี
นายพิเชฐ สุขจินดาทอง
นายศักดิ์ดา นพสิทธิ์
พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภารัตน์
นายนพพร นามเชียงใต้
นายสำเริง ประจำเรือ
นายสมยศ พรหมมา
นพ.วัลลภ ยังตรง และ
นายสิงทอง บัวชุ

"อนุสรณ์ ธรรมใจ" แนะทบทวนบรรษัทน้ำมัน ถ้าไม่อยากซ้ำรอยเวเนซูเอลา-เม็กซิโก





อนุสรณ์ แนะทบทวนบรรษัทน้ำมัน ถ้าไม่อยากซ้ำรอยเวเนซูเอลา-เม็กซิโก


by วชิราภรณ์ นาสวน
29 มีนาคม 2560 
Voice TV


ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ เตือนให้พิจารณาแนวคิดการจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติโดยให้รัฐเข้าไปจัดการกิจการพลังงานทั้งหมดอย่างรอบคอบแนวคิดดังกล่าวเป็นการถอยหลังของนโยบายสาธารณะด้านการจัดการพลังงานของประเทศไทยอย่างน้อย 50-60 ปี และขอให้ดูตัวอย่างความหายนะทางเศรษฐกิจและกิจการพลังงานของประเทศเวเนซูเอลาและประเทศเม็กซิโก

ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการและ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า ขออนุญาตแนะนำและเตือนให้พิจารณาแนวคิดการจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติในมาตรา 10/1 ในร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียมฉบับใหม่อย่างรอบคอบเนื่องจากแนวคิดจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติโดยให้รัฐเข้าไปจัดการกิจการพลังงานทั้งหมดนั้น เป็นแนวคิดสะท้อนการถอยหลังของนโยบายสาธารณะด้านการจัดการพลังงานของประเทศไทยอย่างน้อย 50-60 ปี แนวคิดแบบนี้ประสบความล้มเหลวในหลายประเทศ เพราะก่อให้เกิดการยึดกิจการเอกชนมาเป็นของรัฐจะเป็นการดำเนินกิจการพลังงานที่ผูกขาดโดยรัฐ (ขอให้นึกถึงกิจการปั๊มสามทหาร กับ ปั๊มของ ปตท. และบางจากต่างกันอย่างไร ขอให้นึกถึงโรงกลั่นน้ำมันของหน่วยงานพลังงานทหาร กับโรงกลั่นของไทยออย ไออาร์พีซีและบางจากบริหารจัดการต่างกันอย่างไร)

การกำกับดูแลโดยรัฐบาลผ่านทางคณะกรรมการบรรษัทพลังงานแห่งชาติ ซึ่งในช่วงแรกจะมีกรมพลังงานทหารเป็นผู้ดำเนินการ ปัจจุบันโครงสร้างระบบการกำกับดูแลโดยองค์กรอิสระนั้นถูกวางระบบไว้ดีระดับหนึ่งแล้ว ส่วนจุดอ่อนจุดด้อยที่ยังมีอยู่นั้นเป็นปัญหาในรายละเอียดไม่ใช่ทิศทางหรือหลักการใหญ่ระบบที่ผูกขาดโดยอำนาจรัฐที่มาแทนที่ระบบการแข่งขันด้วยการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนและการเปิดเสรีจะนำมาสู่ ความไร้ประสิทธิภาพ การคอร์รัปชันและหนี้สาธารณะของประเทศในอนาคต

ในฐานะ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะกระทรวงการคลัง ขอเรียนว่า หากมีการจัดตั้ง บรรษัทพลังงานแห่งชาติ ตามร่างที่จะนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประเทศไทยจะมีความเสี่ยงทางการคลังในอนาคตอย่างแน่นอน ขอให้ดูกรณีของประเทศเวเนซูเอลาที่ประสบความล้มละลาย เกิดวิกฤติทางการคลัง จนต้องยอมทำสัญญาขายน้ำมันดิบล่วงหน้ากับจีนเพื่อแลกเงินกู้มาจ่ายเงินเดือนราชการและบริหารประเทศ ทั้งที่ประเทศเวเนซูเอลาเคยเป็นประเทศที่ส่งออกน้ำมันและมีฐานะทางการ คลังที่มั่นคงมาก่อน

หากจะยกตัวอย่างกรณีบรรษัทพลังงานแห่งชาติแบบเปโตรนาสของมาเลเซียว่าประสบความสำเร็จก็ไม่สามารถพูดได้เต็มปากเพราะ เปโตรนาส เป็นทั้งผู้ทำหน้าที่กำกับดูแล (Regulator) และ เป็นผู้ทำธุรกิจ (Operator)ด้วยในขณะเดียวกันจึงทำให้มีกำไรสูงแต่ระบบนี้ดีที่สุดกับประชาชนมาเลเซียหรือไม่ยังมีข้อสงสัยและ การไม่แยกระหว่าง การเป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) กับ ผู้ทำธุรกิจ (Operator) ยังขัดกับหลักธรรมาธิบาลหรือการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการตรวจสอบถ่วงดุลอีกด้วย แต่สิ่งที่เราเห็น ก็คือ การทุจริตคอร์รัปชันของกลุ่มผู้นำทางการเมืองที่ควบคุมดูแลบรรษัทพลังงานแห่งชาตินอกจากนี้ท่านนายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนปัจจุบันก็มีข้อครหาพัวพันกับกองทุน 1-MDB ที่ถูกกล่าวหาว่าทุจริตและยังมีกรณีพัวพันกับการทุจริตให้สินบนของบริษัท Unaoil อีกด้วย และไม่มีใครไปกล้าตรวจสอบบัญชีของเปโตรนาสได้

ขณะที่ บมจ. ปตท. ถูกตรวจสอบทั้งจาก สตง. ในฐานะรัฐวิสาหกิจ และ กลต. รวมทั้งผู้ถือหุ้น นักลงทุนสถาบัน นักลงทุนต่างประเทศ การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพและโปร่งใสกว่าแม้นไม่สมบูรณ์แบบก็ตาม และขอให้ดูตัวอย่างความหายนะทางเศรษฐกิจและกิจการพลังงานของประเทศเม็กซิโกก่อนหน้านี้ด้วย ในที่สุดก็ยกเลิกระบบผูกขาดโดยรัฐ มาเป็นระบบเสรีเปิดให้มีการแข่งขันของภาคเอกชนผู้รับสัมปทาน หรือแบ่งปันผลผลิต