วันเสาร์, กรกฎาคม 27, 2567

‘เตี้ยอุ้มค่อม’ ไหมนี่ ปัญหาใกล้ๆ ประชาชนใช้ไฟแพงยังแก้ไม่ได้ เผ่นไปเล่น ‘บิ๊กดีล’ กับซาอุฯ ซะแล้ว

อุตส่าไปตอบกระทู้ในสภาเมื่อสามสี่วันก่อน แต่ก็ไม่สามารถตอบได้ว่าจะแก้ปัญหาค่าไฟสำหรับประชาชนแพงเกินควรไปมากได้อย่างไร พีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.พลังงาน หัวหน้า รทสช.เผ่นไปซาอุฯ ทำ บิ๊กดีล ซะแล้ว

อย่างนี้วลีไทยเรียกว่า เตี้ยอุ้มค่อมปัญหาเล็กๆ ใกล้ตัวยังแก้ไม่ตก หันไปคว้างานใหญ่เหมือนอึ่งอ่างพองตัว คุยโตว่าเป็นหน้าประวัติศาสตร์สำคัญของไทยเชียวละ นอกจากไปสานต่อเอ็มโอยู ๘ ข้อที่ค้างเติ่งมาสองปีแล้ว บอกว่ามีเพิ่มข้อ ๙ ด้วย

ที่เพิ่มนี่ไม่ใช่อะไรนักหนา แค่ซาอุฯ จะช่วยตั้ง วิทยาลัยพลังงานแห่งชาติในไทย ด้วยการ “ถ่ายทอดองค์ความรู้” ด้านนี้ให้กับไทย โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในกิจการอุตสาหกรรม รวมทั้งการมาลงทุนผลิตพลังการไฮโดรเจนเพื่อการนั้น

พีระพันธ์อ้างว่า “สามารถนำพลังงานส่วนนี้มาชดเชยก๊าซ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตไฟฟ้า ช่วยลดต้นทุนผลิตไฟฟ้า และลดค่าไฟแก่พี่น้องประชาชนได้” แต่เอ๊ะ ปัญหาค่าไฟแพงมันเป็นอยู่วันนี้พรุ่งนี้ ไม่ใช่จะรอไฮโดรเจนไม่รู้อีกกี่ปีข้างหน้าได้

ยิ่งเรื่องการผลิตไฟฟ้าด้วยแล้ว ปัญหาที่เป็นมาของไทยจนบัดนี้ เกิดจากการโหมสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าจนเกินต้องการไป ๒๐% ที่เริ่มจากรัชกาลที่แล้ว ถึงเวลานี้ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าต้องแบกภาระจ่ายค่าไฟ เกื้อกูล โรงไฟฟ้าที่ตั้งแล้วไม่ได้ผลิต

ส.ส.ศุภโชติ ไชยสัจ เพิ่งอภิปรายขอดเกล็ดพวกเสือนอนกินด้านพลังงานมายาวนาน “คือผลพวงจากการวางแผนที่ผิดพลาดในอดีต จากการสร้างโรงไฟฟ้าเกินความจำเป็น” แล้วยังคาดหวังว่าปริมาณการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นตามคาดการณ์จีดีพีที่เกินจริง

อีกทั้งตั้งสมมุติฐานผิดๆ ว่าประชากรไทยจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่ “ประชากรไทยกำลังลดลง อัตราการตายมากกว่าอัตราการเกิด” ยิ่งถ้าดูจาก “ร่างแผนพลังงานแห่งชาติฉบับใหม่ที่เพิ่งออกมาเมื่อเดือนก่อน ท่านกำลังทำผิดพลาดเหมือนเดิม”

(https://www.facebook.com/MoveForwardPartyThailand/posts/Mbe8LDaG8XGB และ https://www.facebook.com/thestandardwealth/posts/AmSA9mYk) 

CP ระดมพลังจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” เฉลิมฉลองปีมหามงคล 72 พรรษา


26 กรกฎาคม 2567
สำนักข่าวอิศรา

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ร่วมกันระดมพลังจิตอาสาจากทุกกลุ่มธุรกิจในเครือทั่วประเทศไทย บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม ภายใต้โครงการ “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 “3 ประธานเครือซีพี” นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส นายสุภกิต เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ และนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร Kick off เป็นจิตอาสารักษาคูคลองที่ชุมชนคลองเปรมประชากร ดอนเมือง กรุงเทพฯ พร้อมด้วย นายณรงค์ เจียรวนนท์ รองประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ ซีอีโอจากกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ พนักงานจิตอาสาจำนวนมากจากทุกกลุ่มธุรกิจ และประชาชนในพื้นที่ได้ร่วมใจผนึกกำลังทำความดี ปลูกต้นไม้ สร้างพื้นที่สีเขียว และกิจกรรมสาธารณประโยชน์ ร่วมทำความสะอาด เก็บขยะ ในพื้นที่ชุมชนริมคลองเปรมประชากร บริเวณหน้าท่าอากาศยานด้านใต้ ดอนเมือง กรุงเทพฯ นอกจากนี้บริษัทจากกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ในเครือฯที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย จะพร้อมใจกันร้อยเรียงความดีเป็นจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล


นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการ การจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ กล่าวว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์มีความภูมิใจที่ได้ดำเนินโครงการจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” โดยการสนับสนุนและส่งเสริมให้พนักงานเป็นจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม ซึ่งนอกจากจะเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อสังคมและสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน ยังเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีในองค์กร สำคัญที่สุดคือเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีและความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สอดคล้องกับความมุ่งมั่นของเครือซีพีในการสร้างประโยชน์ต่อสังคมตามค่านิยม 3 ประโยชน์ และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในเครือฯ กับชุมชนโดยรอบ เพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคม


“วันนี้รู้สึกปลื้มใจที่ได้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม เป็นจิตอาสา เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” ประธานอาวุโส เครือซีพี กล่าวด้วยความปิติ ที่ได้ทำความดีถวายเป็นพระราชกุศล ในโอกาสปีมหามงคล 72 พรรษา สำหรับกิจกรรมจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” ที่เริ่มเป็นโครงการแรกในปีมหามงคล 72 พรรษา จัดขึ้นที่ชุมชนหน้าท่าอากาศยานด้านใต้ ดอนเมือง กรุงเทพฯ โดยร่วมกับ สำนักงานเขตดอนเมือง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) โรงเรียนวัดดอนเมือง วัดดอนเมือง พระอารามหลวง ชุมชนริมคลองเปรมประชากร (ประกอบด้วย 3 ชุมชนย่อย ได้แก่ ชุมชนเปรมประชาสมบูรณ์ ชุมชนหน้าท่าอากาศยานด้านใต้ และชุมชนประเสริฐเปรมประชา) พร้อมด้วยพนักงานและประชาชนจิตอาสา ร่วมกันบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เก็บขยะในคลองเปรมประชากร สอนเพาะพันธุ์กล้าไม้สร้างอาชีพให้กับชุมชน และปลูกต้นไม้ อาทิ ต้นรวงผึ้ง ต้นทองอุไร ต้นขนุนสายพันธุ์ทองประเสริฐ และพันธุ์ไม้พุ่ม รวมกว่า 5,000 ต้น เพื่อปรับทัศนียภาพและสร้างพื้นที่สีเขียว ให้กับชุมชนได้น่าอยู่มากขึ้น ขณะที่แต่ละกลุ่มธุรกิจยังมีการปลูกต้นไม้ในจุดที่ทำกิจกรรมทั่วประเทศรวมทั้งหมดกว่า 100,000 ต้น


นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจในเครือซีพีทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ ยังได้จัดกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ในพื้นที่รอบสำนักงาน และพื้นที่สาธารณะ อาทิ ซีพีเอฟ หน่วยงานธุรกิจไก่เนื้อ-เป็ดเนื้อครบวงจร (ไก่พันธุ์) ภาคสังคมและชุมชน จัดโครงการจิตอาสาเราทำความดีด้วยหัวใจ “รักษ์ลำตะคอง” ทำความสะอาดปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบบริเวณลำตะคอง อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ซีพี ออลล์ ศูนย์กระจายสินค้าบุรีรัมย์ ทำความสะอาด ร่วมกับชุมชน ณ โรงเรียนบ้านสำโรงโนนเค็ง อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ ซีพี แอ็กซ์ตร้า เปิดพื้นที่ แม็คโคร-โลตัส ทั่วทุกภูมิภาค นำรถเคลื่อนที่ตรวจมะเร็งเต้านมจากมูลนิธิกาญจนบารมี บริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซี.พี. แลนด์ ดำเนินการติดตั้งระบบเสาไฟโซลาร์เซลล์ใช้กับชุมชนบ้านมุง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก จำนวน 100 ต้น เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุในการเดินทางสัญจร กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร ข้าว ขนส่งและบริการ โรงงานข้าวนครหลวง นำพนักงาน CSR SPIRIT จิตอาสา จากข้าวตราฉัตร ปุ๋ยซีพีหมอดิน เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดซีพี ท่าเรืออยุธยาและไอซีดี ร่วมกับหน่วยงานราชการในพื้นที่และเครือข่ายภาคธุรกิจ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ตัดแต่งต้นไม้ เก็บกวาด ปรับภูมิทัศน์บริเวณปราสาทนครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ทรู คอร์ปอเรชั่น จัดกิจกรรมรณรงค์เชิญชวนเพื่อนพนักงานและประชาชนทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรวบรวมนำไปรีไซเคิลอย่างถูกวิธีและปลอดภัย รวม 155 สาขาทั่วประเทศ ธุรกิจเขตประเทศเมียนมา โดย บ.เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส ประเทศเมียนมา นำพนักงาน CSR SPIRIT จิตอาสา มอบเครื่องอุปโภค บริโภค และทำความสะอาดพื้นที่บริเวณรอบ ๆ พระมหาเจดีย์ชเวดากอง ธุรกิจเขตประเทศเวียดนาม โดย C.P. SEEDS (VIETNAM) CO.,LTD นำพนักงาน CSR SPIRIT จิตอาสามอบข้าวสาร เครื่องอุปโภค บริโภค ให้ทางศูนย์เด็กเล็ก(เด็กกำพร้า) และผู้สูงอายุ ทำความสะอาดบริเวณวัด ปรับภูมิทัศน์สวนไม้ดอก พร้อมทั้งเลี้ยงอาหารเด็กกำพร้า ณ วัด HOA SEN TRANG Vietnam


อนึ่ง เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้บริหารและพนักงานเข้าอบรมเป็นจิตอาสาพระราชทาน เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอดศาสตร์พระราชาและเสริมสร้างความสามัคคีและจิตสำนึกสาธารณะในการเป็นจิตอาสา สอดคล้องกับหลักปรัชญา 3 ประโยชน์ ที่มุ่งสร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชน และองค์กรเป็นอันดับสุดท้าย โดยได้ประกาศให้ทุกวันศุกร์สิ้นเดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันซีพีจิตอาสา เพื่อสนองพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโครงการจิตอาสาพระราชทานร่วมกันทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สุขของชุมชนโดยรอบ ทั้งนี้เครือซีพีมีการดำเนินโครงการจิตอาสามาตั้งแต่ปี 2561 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 ปัจจุบันมีจิตอาสาซึ่งเป็นผู้บริหารและพนักงานกว่า 6,000 คนจากทั่วประเทศ ทั้งนี้กิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ตามโครงการจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” เป็นหนึ่งใน 10 กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติที่เครือซีพีดำเนินการตลอดปีมหามงคลนี้



(https://www.isranews.org/article/isranews-pr-news/130432-CPGroup-46.html)


กูคือรัฐ ?


.....
Somyot Pruksakasemsuk
14 hours ago
·
วันที่ 25 กค.67 ศาลอาญาพิพากษาอานนท์ นำภา ในการโพสต์ถึงพระราชอำนาจกษัตริย์รัชกาลที่ 10 ว่าเป็นความผิดมาตรา112 โดยส่วนหนึ่งของคำพิพากษาระบุว่า “พระมหากษัตริย์เป็นหนึ่งในผู้มีอำนาจในการจัดให้มีรัฐธรรมนูญหรืออำนาจในการจัดตั้งองค์กรสูงสุดทางการเมืองเช่นเดียวกับปวงชนชาวไทยในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตย กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ในขณะนั้นองค์พระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจอธิปไตยที่จะจัดให้มีรัฐธรรมนูญใช้บังคับภายในรัฐได้”
.
“ดังนั้นรัชกาลที่ 10 จึงมีอำนาจที่จะแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติแล้วได้ การใช้พระราชอำนาจดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย”
คำพิพากษาสั่งจำคุก “อานนท์ นำภา” 4 ปี ในคดี ม.112 วิพากษ์วิจารณ์การใช้อำนาจบริหารแผ่นดินของ ร.10 โทษสะสมสูง 14 ปี 20 วัน
ไม่รู้ว่า คำพิพากษาของศาลได้ใช้ข้อกฎหมายใดที่ว่า “พระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจอธิปไตยที่จะจัดให้มีรัฐธรรมนูญใช้บังคับภายในรัฐได้” คำพิพากษาแบบนี้จะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
อยากให้นักกฎหมายหรือนักนิติศาสตร์ทั้งหลายได้โปรดช่วยกันแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้กันด้วยเพื่อประโยชน์ต่อความยุติธรรมต่อไป
อ่านละเอียดบนเว็บไซต์ : (https://tlhr2014.com/archives/68812)

.....

a day ago
·
อย่าเป็นอีแอบ..อยู่เลย ประกาศให้โลกรู้ไปเลยสิว่า ประเทศนี้ยังปกครองแบบ "สมบูรณายาสิทธิราช" หรือ ราชาธิปไตย ...ไม่ได้เป็น "ประชาธิปไตย" อย่าที่เขาหลอกหลวงแต่อย่างใด
.....



แกะรอยกระบวนการ (อ)ยุติธรรมและการสร้างสภาวะการลอยนวลพ้นผิด: กรณีโศกนาฏกรรมตากใบ ปี 2547


25/07/2567
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

ภาสกร ญี่นาง
เผยแพร่ครั้งในเว็บไซต์ของมูลนิธิผสานวัฒนธรรม

.

ความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ของไทยดำเนินมาอย่างยาวนานภายใต้นโยบายทางการทหารและการใช้อำนาจผ่านกฎอัยการศึกของหน่วยงานความมั่นคง โดยไม่มีทีท่าว่าจะมีการผ่อนปรนหรือคลี่คลายลงไปได้ มิหนำซ้ำ การดำเนินงานของฝ่ายรัฐไทยที่ทำให้เกิดเหตุ “โศกนาฏกรรมตากใบ” ได้นำพาความขัดแย้งให้เผชิญกับบาดแผลใหญ่ที่ส่งผลให้หนทางแห่งการแสวงหาสันติภาพแก่ผู้คนในพื้นที่และรัฐจำต้องตกอยู่ในวังวนความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง จนราวกับไร้ทางออก

เงื่อนไขสำคัญที่ทำให้ความขัดแย้งทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากกรณีที่ความยุติธรรมที่ควรเกิดแก่ผู้เสียชีวิตและญาติเคยต้องยุติลงอย่างไม่เป็นธรรมมาก่อนหน้า ในแง่ที่ระบบกฎหมายของรัฐไทยไม่สามารถเอาผิดใด ๆ กับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่จนนำไปสู่การตายของประชาชนเกือบร้อยคนได้เลย แม้จะล่วงเลยเวลามากว่า 20 ปี ดังนั้น บทความฉบับนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ในการจะอธิบายปรากฏการณ์การลอยนวลพ้นผิดที่เกิดขึ้น พร้อมกับสำรวจร่องรอยของปฏิบัติการทางกฎหมายของรัฐไทยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเหตุการณ์โศกนาฏกรรมตากในเมื่อปี 2547 ซึ่งสร้างสภาวะลอยนวลพ้นผิดดังกล่าวว่ามีลักษณะอย่างไร

.


กฎหมายคือเครื่องมือในการแสวงหาความยุติธรรม?

ตามมโนธรรมสำนึกของคนทั่วไป มักจะมีความคิดว่า กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่รัฐมีอยู่นั้นมีอยู่เพื่อการผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมในมิติต่าง ๆ ของสังคม ปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินบุคคลทุกคนอย่างเสมอภาค โดยที่หากมีผู้ใดกระทำละเมิดพรากสิทธิเสรีภาพดังกล่าวไป ก็จะต้องถูกลงทัณฑ์และมีความรับผิดทางกฎหมายตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีของเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจตามกฎหมายโดยมิชอบ จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายและความสูญเสีย กฎหมายจะต้องไม่นิ่งเฉยต่อสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อพิทักษ์หลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และรักษาความมีอารยะในสังคมไว้

อย่างนั้นก็ดี ไม่ใช่ทุกสังคม ที่สถาบันกฎหมายจะทำงานอย่างตรงไปตรงมา มุ่งเอาผิดกับผู้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนประชาชน ตรงกันข้าม รัฐบางรัฐที่ลักษณะของระบบความสัมพันธ์ทางสังคมซึ่งไม่ได้อิงอยู่กับการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชน แต่ให้ความสำคัญกับการปกป้องสถานะทางอำนาจ ผลประโยชน์ของชนชั้นนำ มากกว่าการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ย่อมปรากฏให้เห็นถึงปฏิบัติการทางกฎหมายที่คอยทำทุกวิถีทางเพื่อคุ้มครองฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐและคอยสร้างความอยุติธรรมให้เห็นอย่างโจ่งแจ้งโดยไม่ขาดสาย[1]

กล่าวเฉพาะกรณีของรัฐไทย อ้างอิงจากงานศึกษาของ ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น ซึ่งได้เสนอให้เห็นว่า[2] รัฐสมัยของไทยนั้นได้ถูกสถาปนาโดยสถาบันแห่งการลอยนวลพ้นผิดเป็นองค์ประกอบหลัก กล่าวให้เข้าใจโดยง่ายคือ โครงสร้างอำนาจของรัฐไทยนั้นมีการลอยนวลพ้นผิดดำรงอยู่เป็นเสมือนสถาบันทางการเมืองอย่างหนึ่งที่คอยค้ำจุนและขับเคลื่อนอำนาจรัฐอยู่เบื้องหลัง ด้วยเหตุดังกล่าว จะพบว่า การลอยนวลพ้นผิดของฝ่ายผู้มีอำนาจ สามารถเกิดขึ้นในทุกชั่วขณะในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หรือรัฐบาลที่สืบทอดอำนาจมาจากคณะรัฐประหารก็ตาม การลอยนวลพ้นผิดก็ย่อมติดตามและปรากฏกายออกมาให้เห็นอยู่ตลอดเวลา

กล่าวให้ถึงที่สุด คือ หากต้องการจะนิยามคุณลักษณะของรัฐไทยมาสักหนึ่งประการ ไทเรล ได้ชักชวนเปิดมุมมองใหม่ ๆ ให้มองรัฐไทย ในฐานะที่เป็น “รัฐลอยนวล” หรือ รัฐที่ผู้มีอำนาจสามารถกระทำความรุนแรงต่อประชาชนผู้อยู่ใต้อำนาจการปกครองได้โดยไม่ต้องมีความรับผิดใด ๆ ทางกฎหมาย

และด้วยความเป็นรัฐลอยนวล รวมถึงโครงสร้างอำนาจรัฐที่ถูกค้ำจุนโดยสถาบันการลอยนวลพ้นผิด ฝ่ายผู้ครองอำนาจรัฐ ย่อมต้องใช้กลไกเชิงสถาบันต่าง ๆ โดยเฉพาะสถาบันทางกฎหมายให้ดำเนินงานไปในทางที่คอยทำให้เกิดการลอยนวลพ้นผิดขึ้น ไม่ใช่การแสวงหาความยุติธรรมแต่อย่างใด ระบบกฎหมายของรัฐไทยจึงตกกลายเป็นเพียงเครื่องมือของรัฐไทย ในการบิดเบือน กลบเกลื่อน ซ่อนเร้น และให้ความชอบธรรมกับความรุนแรงโดยรัฐ

ปฏิบัติการทางกฎหมายที่มีส่วนร่วมกับความรุนแรงโดยการปกป้องผู้กระทำให้ลอยนวลพ้นผิด ปรากฏให้เห็นอย่างดาษดื่น ในประวัติศาสตร์ความรุนแรงทางการเมืองของไทย ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516[3] 6 ตุลาคม 2519[4] เหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535[5] และเหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม 2553[6] ซึ่งล้วนพบว่า ไม่มีผู้กระทำความรุนแรงหรือผู้สั่งการใด ๆ ได้รับการลงโทษและความรับผิดทางกฎหมาย ด้วยผลของกฎหมายนิรโทษกรรม และกลไกขององค์กรอิสระที่ขาดความยึดโยงกับประชาชนอันได้เข้าไปรับรองให้ผลของกฎหมายนิรโทษกรรมและการกระทำใด ๆ ที่นำไปสู่ความรุนแรงต่อประชาชนของผู้มีอำนาจ ณ ขณะนั้น มีความชอบธรรมอย่างแยบยล[7]

กรอบคิดว่าด้วยระบบกฎหมายในรัฐลอยนวลดังกล่าว อาจนำมาใช้เป็นเครื่องมือการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ความรุนแรงโดยรัฐที่เกิดขึ้นมาตลอดในประวัติศาสตร์ ซึ่งรวมถึงเหตุโศกนาฏกรรมตากใบ ทั้งนี้ เพื่อเผยให้เห็นความอัปลักษณ์ของระบบกฎหมายไทยที่ทำงานกลับหัวกลับหาง แทนที่จะมุ่งลงโทษกับผู้ละเมิดสิทธิมนุษชน แต่กลับทำตรงกันข้ามด้วยการปกป้องคุ้มครองผู้กระทำความผิด

.

(ภาพจาก Benar News)

.
ทบทวนข้อเท็จจริงของเหตุการณ์วันนั้น

เหตุการณ์ตากใบ เมื่อ 25 ตุลาคม 2547 เป็นหนึ่งในโศกนาฏกรรมของผู้คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งสร้างบาดแผลและรอยร้าวขนาดใหญ่ในความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนในพื้นที่ที่ดำเนินมาหลายทศวรรษ รวมทั้งยังถือเป็นอดีตอันเลวร้ายที่คอยตามหลอกหลอนทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ต้องพยายามปกปิดบิดเบือนข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ และหลอกหลอนญาติผู้เสียชีวิตที่ยังคงเฝ้ารอความยุติธรรมที่ไม่มีทีท่าว่าจะเกิดขึ้นในเร็ววัน

ย้อนทบทวนข้อเท็จจริงในอดีต เหตุโศกนาฏกรรมตากใบเกิดขึ้นระหว่างที่ รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ประกาศขยายการใช้กฎอัยการศึกจากเดิมที่มีประกาศอยู่แล้วในบางพื้นที่ของจังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี ในเดือนมกราคม 2547 ซึ่งได้สร้างพื้นที่การให้อำนาจพิเศษแก่หน่วยงานความมั่นคงอย่างเข้มข้น การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ ได้รับการยกเว้นในแง่การต้องกระทำตามหลักกระบวนการอันชอบธรรม (due process) ให้สามารถใช้อำนาจได้อย่างเต็มที่บนข้ออ้างเรื่องความจำเป็นในการรักษาความมั่นคงและบูรณภาพแห่งดินแดน[8] ขณะเดียวกัน สิทธิเสรีภาพของประชาชนกลับได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างจำกัด กลไกการตรวจสอบอำนาจรัฐที่มีอยู่ต้องเผชิญกับความชะงักงันมาตลอด 20 ปี

การประกาศกฎอัยการศึก นับเป็นปัจจัยเชิงพื้นที่และการสร้างบรรยากาศแห่งสภาวะยกเว้น ให้อำนาจรัฐในลักษณะวิปริตสามารถปรากฏให้เห็นได้ทุกขณะ

รายละเอียดในเหตุความรุนแรง[9] เริ่มต้นจากกรณีที่มีประชาชนกว่า 200 คน โดยส่วนใหญ่เป็นเยาวชน ออกมารวมตัวชุมนุมกันที่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ เพื่อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ปล่อยตัวชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน หรือ ชรบ. บ้านโคกกูแว ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จำนวน 6 คน ซึ่งถูกกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบปล้นปืนที่รัฐแจกจ่ายให้ไป 6 กระบอก แต่กลับถูกกล่าวหาว่ามอบอาวุธให้กับผู้ก่อความไม่สงบและแจ้งความเท็จต่อเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ ชนวนหนึ่งที่ทำให้เกิดความไม่พอใจ สืบเนื่องมากจากเหตุการณ์ที่เมื่อต้นปี 2547 ค่ายกองพันพัฒนาที่ 4 ถูกกลุ่มบุคคลเข้ามาปล้นอาวุธปืนไปจำนวน 300 – 400 กระบอก แต่เวลานั้นกลับไม่มีการดำเนินการเอาผิดใด ๆ กับเจ้าหน้าที่ทหารที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ ขณะที่พอเป็นฝ่าย ชรบ. ถูกปล้นปืน พวกเขากลับต้องถูกควบคุมตัวโดยไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว

ยิ่งเวลาผ่านไป ประชาชนยิ่งเข้ามาสมทบการชุมนุมเพิ่มขึ้นจนจำนวนราว 2,000 คน เมื่อการชุมนุมส่อเค้าอาจจะเกิดการใช้ความรุนแรงและบุกเข้าไปยังสถานีตำรวจ พลโทพิศาล รัตนวงคีรี แม่ทัพภาคที่ 4 จึงสั่งการให้สลายการชุมนุมโดยฉีดน้ำและโยนระเบิดแก๊สน้ำตาจนสองฝ่ายปะทะกัน

เหตุโศกนาฏกรรมตากใบจึงอาจหมายถึงเหตุการณ์สลายการชุมนุมครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งนอกพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในเหตุการณ์พบว่า มีผู้ชุมนุมเสียชีวิตอย่างน้อย 6 คนทันทีที่มีการปะทะ เสียชีวิตที่โรงพยาบาล 1 คน และมีถูกจับกุมประมาณ 1,300 คน ก่อนจะถูกเคลื่อนย้ายไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ที่ซึ่งคนจำนวนมากถูกทุบตี ในจำนวนคนที่ถูกจับกุมมีคนอย่างน้อยอีก 79 คนเสียชีวิต[10] การชันสูตรพบว่าเกิดจากการหายใจไม่ออก หมดสติกระทันหันจากความร้อน และการชัก ซึ่งน่าจะเกิดจากสภาพที่แออัดเกินไประหว่างการเดินทางและอยู่ในรถบรรทุกทหารกว่า 6 ชั่วโมงและจากการถูกปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสม รวมแล้วเสียชีวิต 85 คน คนที่เหลือส่วนใหญ่หลังถูกสอบสวนแล้วก็ถูกปล่อยโดยไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา แต่มี 58 คนที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาว่ารวมตัวชุมนุมโดยผิดกฎหมาย

.

(ภาพจาก AFP)

.
กระบวนการอยุติธรรมโดยกลไกกฎหมาย

นอกเหนือจากปัจจัยเกี่ยวกับการประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ ที่สร้างความชอบธรรมให้แก่การกระทำความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงมาแล้วระดับหนึ่ง แต่เนื่องด้วยการลอยนวลพ้นผิดที่ดำรงอยู่เป็นสถาบันการเมืองที่ยึดโยงโครงข่ายอำนาจรัฐไทยไว้ด้วยกันแล้ว รัฐไทยจำเป็นต้องอาศัยกลไกจากระบบกฎหมายมาเพื่อให้การลอยนวลพ้นผิดปรากฏขึ้นอย่างสิ้นเชิง เพื่อป้องกันการโต้แย้งและการขุดคุ้ยเรื่องราวมาเป็นคดีความในภายภาคหน้า อันอาจกระทบต่อสถาบันลอยนวลและความเป็นรัฐไทยทั้งหมด กระบวนการอยุติธรรมโดยอาศัยกลไกทางกฎหมายเพื่อปกป้องผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรง เริ่มต้นด้วยการไต่สวนการตายระหว่างถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ ซึ่งต้องดำเนินไปภายใต้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

โดยหลักการแล้ว การไต่สวนการตาย คือ[11] กระบวนการที่มีขึ้นเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงกรณีที่มีผู้เสียชีวิตโดยเจ้าพนักงานหรือเสียชีวิตระหว่างการถูกควบคุมตัวโดยเจ้าพนักงาน กระบวนการนี้จะเริ่มต้นด้วยอัยการเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาล ให้นำบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าไต่สวนและเรียกพยานหลักฐานต่าง ๆ เข้าประกอบการพิจารณา เพื่อให้ศาลออกคำสั่งแสดงว่า ผู้ตายเป็นใคร ตายที่ไหน เมื่อไร สาเหตุและพฤติการณ์ของการตายเป็นอย่างไร ถ้าตายโดยคนทำร้ายให้ระบุว่าใครเป็นผู้ทำร้ายเท่าที่จะทราบได้ แล้วจึงจะส่งสำนวนการไต่สวนให้พนักงานสอบสวนดำเนินไปตามกระบวนการทางกฎหมายต่อไป ซึ่งการไต่สวนการตายจะดำเนินขึ้นหลังจากที่ได้มีการชันสูตรพลิกศพที่ดำเนินโดยการทำงานร่วมกันของแพทย์นิติเวช อัยการ พนักงานฝ่ายปกครอง และพนักงานสอบสวน เพื่อพิสูจน์ว่าผู้ตายเป็นใคร และหาสาเหตุของการตายมาแล้วก่อนหน้า แต่การชันสูตรพลิกศพจะเป็นขั้นตอนของพนักงานสอบสวนและแพทย์เป็นหลัก

ความสำคัญของการไต่สวนการตาย จึงหมายถึง การตรวจสอบการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ และเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติ เพื่อจะกำหนดทิศทางของการดำเนินคดีภายหลังจากนี้ต่อไป เช่น หากการไต่สวนการตาย พบว่า ความตายมาจากการกระทำโดยป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นการกระทำที่สอดคล้องกับหลักความจำเป็นและได้สัดส่วนตามหลักกฎหมายทั่วไป ผลของคดีอาจจบลงด้วยการที่เจ้าพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง จนคดีเป็นอันยุติลง ในทางกลับกัน หากการไต่สวน สรุปข้อเท็จจริงได้ว่าความตายเกิดจากการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายของเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ ก็จะทำความเห็นสั่งฟ้องต่อศาล เพื่อดำเนินคดีเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับความตายที่เกิดขึ้นต่อไป

อย่างไรก็ดี ในกระบวนการไต่สวนการตายเกี่ยวกับเหตุโศกนาฏกรรมตากใบมีปัญหาสำคัญ ทำให้การดำเนินกระบวนการยุติธรรมเพื่อลงโทษเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบจนเป็นเหตุให้ต้องมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากต้องถึงทางตัน กล่าวคือ วันที่ 29 พฤษภาคม 2552 ศาลจังหวัดสงขลาได้มีคำสั่งไต่สวนการตาย[12] โดยได้สืบทราบข้อเท็จจริงว่า วันที่ 25 ตุลาคม 2547 เวลา 8 นาฬิกา มีประชาชนกว่าหนึ่งพันคนไปชุมชนเรียกร้องที่หน้าสถานีตำรวจภูธรตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เรียกร้องให้ทางราชการปล่อยตัว นายกามา อาลี กับพวกรวม 6 คน ซึ่งเป็นชุดรักษาความปลอดภัยที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมดำเนินคดีในข้อหาความผิดฐานแจ้งความเท็จ ยักยอกทรัพย์ … การเจรจาไม่เป็นผล เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแจ้งแก่ผู้ชุมนุมว่าทางราชการไม่อาจปฏิบัติตามข้อเรียกร้องได้ เนื่องจากนายกามา กับพวกถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำนราธิวาส กลุ่มผู้ชุมนุมไม่ยินยอมกลับโห่ร้องขับไล่และพยายามผลักแผงเหล็กกั้น บุกเข้าไปในสถานีตำรวจภูธรตากใบ พลเอกพิศาล วัฒนวงษ์คีรี แม่ทัพภาคที่ 4 จึงอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2547 มีคำสั่งให้สลายการชุมนุม และควบคุมตัวผู้ร่วมชุมนุมชาย นำขึ้นรถยนต์บรรทุกทหารไปควบคุมที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี เป็นเหตุให้ผู้ตายทั้ง 78 คนถึงแก่ความตาย แพทย์ทำการชันสูตรพลิกศพแล้วพบว่า ผู้ตายทั้งหมดถึงแก่ความตายด้วยสาเหตุขาดอากาศหายใจ

ปัญหาสำคัญที่ส่งผลต่อรูปคดี ได้แก่ กรณีที่ศาลสรุปข้อเท็จจริงว่า ผู้ชุมนุมไม่มีทีท่าว่าจะสลายการชุมนุมและจะบุกเข้าไปยังสถานีตำรวจตากใบ พร้อมพยายามรับรองว่า ฝ่ายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติหน้าที่ตามขั้นตอน มีการมอบหมายอำนาจหน้าที่ตามลำดับบังคับบัญชา และการมีคำสั่งห้ามใช้อาวุธกับผู้ร่วมชุมนุมโดยเด็ดขาด แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ ยังคงเป็นที่น่าเคลือบแคลงสงสัยว่า มีการมอบหมายคำสั่งจริงหรือไม่ หรือมีคำสั่งเรื่องการไม่ให้ใช้อาวุธอย่างชัดเจนหรือไม่ เนื่องจากปรากฏผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการอิสระสอบข้อเท็จจริง ที่รายงานว่า มีผู้ชุมนุมเสียชีวิตด้วยอาวุธปืนในที่เกิดเหตุทันที 6 คน และเสียชีวิตที่โรงพยาบาล 1 คน (5 คนถูกกระสุนปืนที่บริเวณศรีษะ)[13]

ขณะเดียวกัน ในคำสั่งการไต่สวนของศาลจังหวัดสงขลา ยังสรุปข้อเท็จจริงที่ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมเป็นฝ่ายผู้ใช้ความรุนแรง ก่อความไม่สงบก่อน เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ต้องตัดสินใจมีคำสั่งให้สลายการชุมนุม แต่ทว่า ความจริงอีกด้านหนึ่งที่มาจากรายงานของภาคประชาสังคม หลังจากรับฟังคำให้การจากปากชาวบ้าน พบว่า เหตุการณ์ปะทะเริ่มต้นจากการที่เจ้าหน้าที่เริ่มฉีดน้ำจากรถดับเพลิงก่อน และการขว้างปาสิ่งของโดยฝ่ายผู้ชุมนุมจึงมีขึ้นตามมาภายหลัง และข้อสังเกตสำคัญอีกประการคือ หลังเหตุการณ์นั้นไม่ปรากฏรายงานว่าฝ่ายเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บอันเนื่องมาจากการทำร้ายของผู้ชุมนุมตามที่กล่าวอ้างเลย

การสั่งเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุม ฝ่ายเจ้าหน้าที่ ให้เหตุผลว่า ด้วยสภาพบริเวณที่เกิดเหตุมีพื้นที่ล่อแหลมต่ออันตรายที่เกิดขึ้น และตั้งอยู่ใกล้พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ทั้งยังอยู่ใกล้กับชายแดนประเทศมาเลเซีย จึงต้องเคลื่อนย้ายไปยังค่ายอิงคยุทธบริหารเพื่อสอบปากคำหาผู้ที่อยู่เบื้องหลังการชุมนุม ซึ่งฝ่ายเจ้าหน้าที่อ้างว่า ได้พยายามจัดเตรียมรถบรรทุกนักเรียนศูนย์ศิลปชีพ เตรียมน้ำ อาหาร และที่พักให้กับผู้ร่วมชุมนุมตามสมควร ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริง คือ ผู้ชุมนุมถูกเคลื่อนย้ายด้วยรถบรรทุกทหารอย่างแออัด ไม่มีการจัดเตรียมน้ำหรืออาหารใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้ ยังกล่าวอีกว่า ระหว่างเดินทางเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุม มีการขัดขวาง ตัดต้นไม้ปิดกั้นทาง โรยตะปูเรือใบ เผายางรถยนต์ ทำให้การเดินล่าช้านานกว่าปกติ

ความเสียหายและสูญเสีย ศาลที่ทำการไต่สวนการตาย ไม่ได้พยายามสืบหาพฤติการณ์และข้อเท็จจริงให้ปรากฏความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำของเจ้าหน้าที่กับผลความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่กลับยอมรับว่า การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เป็นไปตามความจำเป็นบางอย่าง ทั้งนี้ ศาลได้ใช้คำว่า “เมื่อได้พิจารณาถึงสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉุกละหุกปัจจุบันทันด่วนในวันเกิดเหตุ กลุ่มผู้ร่วมชุมนุมที่มีจำนวนมากกว่าหนึ่งพันคนซึ่งร่วมชุมนุมหน้าสถานีตำรวจภูธรตากใบอันมีพื้นที่จำกัด และบริเวณที่เกิดเหตุอยู่ใกล้พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ประกอบกับการสลายการชุมนุมเสร็จสิ้นลงในเวลาใกล้ค่ำ … สภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย …” จึงต้องเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมออกจากบริเวณที่เกิดเหตุโดยเร็ว มิฉะนั้นอาจเกิดเหตุการณ์ลุกลามบานปลาย “จึงเป็นการจำเป็นต้องรีบดำเนินการดังกล่าวในทันทีอย่างต่อเนื่อง”

และกรณีที่ผู้ชุมนุมถูกทำร้าย ศาลเชื่อว่า มาจากการกระทำของบุคคลที่แต่งกายคล้ายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการกระทำในทันทีทันใดโดยพลการ เมื่อไม่ปรากฏว่า หลังจากผู้ที่ตายทั้ง 78 คน และผู้ร่วมชุมนุมที่ถูกควบคุมตัวขึ้นรถยนต์บรรทุกนำส่งค่ายอิงคยุทธบริหารจนแล้วเสร็จ ได้มีการกระทำต่อผู้ตายทั้ง 78 คน หรือผู้ชุมนุมที่ถูกควบคุมตัว หรือเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างอื่นกับผู้ร่วมชุมนุม กล่าวโดยสรุป ศาลสงขลามีคำสั่งในสำนวนไต่สวนการตายว่า ผู้เสียชีวิต 78 รายนั้น เสียชีวิตเพราะขาดอากาศหายใจระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติราชการตามหน้าที่ และยังไม่พบหลักฐานใดที่บ่งชี้ว่าถูกผู้อื่นกระทำการให้เสียชีวิต

ผลของกระบวนการไต่สวนดังกล่าว เปรียบเสมือนต้นสายของกระบวนการอยุติธรรมที่สถาบันทางกฎหมายตกเป็นเพียงเครื่องมือการปกป้องคุ้มครองเจ้าหน้าที่รัฐที่ใช้อำนาจโดยมิชอบ ละเมิดสิทธิมนุษยชนประชาชน ส่งผลให้เกิดกระแสธารแห่งความอยุติธรรมและการลอยนวลที่ภายหลังจากศาลมีคำสั่งไต่สวนการตาย เป็นเวลาเกือบ 20 ปีให้หลัง ปฏิบัติการทางกฎหมายในส่วนงานพนักงานสอบสวนส่งสำนวนต่ออัยการสูงสุดพร้อมกับมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง โดยให้เหตุผลว่า “เนื่องจากพฤติการณ์และการกระทำของผู้ต้องหาทั้งแปดคนเป็นการกระทำตามสมควรแก่กรณีและเป็นเหตุสุดวิสัย ซึ่งเป็นการแสดงเจตนาให้เห็นว่า ผู้ต้องหาทั้งแปดคนไม่ประสงค์หรือย่อมเล็งเห็นผลว่าจะมีความตายของผู้ชุมนุมเกิดขึ้นในระหว่างขนย้าย”[14]

สุดท้ายแล้ว ผลลัพธ์ในทางกฎหมายของคดีตากใบที่ดำเนินการโดยรัฐล่าช้าอย่างยิ่งและยังคงไม่สามารถเอาผิดกับใครได้เลย ในขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกัน ฝ่ายผู้เสียหายและครอบครัวของผู้เสียชีวิตได้ใช้สิทธิฟ้องเองต่อศาลก่อนที่คดีจะหมดอายุความ และความคืบหน้าของคดียังคงต้องติดตามต่อไป

.

(ภาพจาก Benar News)

.
สถาบันกฎหมายกับการจงใจให้เกิดการลอยนวล

หากพิจารณาผลของกระบวนการไต่สวนการตายและการสั่งไม่ฟ้องของเจ้าพนักงานอัยการและพนักงานสอบสวน ในฐานะปฏิบัติการทางกฎหมายที่เข้ามาจัดการความรุนแรงเหตุการณ์โศกนาฏกรรมตากใบข้างต้น จะพบถึงร่องรอยของการจงใจสร้างการลอยนวลพ้นผิดเพื่อปกป้องคุ้มครองผู้มีอำนาจและเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องปรากฏอย่างชัดเจน เหตุผลสำคัญคือ หากยึดตามหลักกฎหมายอาญาและการวิเคราะห์องค์ประกอบการกระทำความผิด ย่อมระบุตัวถึงผู้กระทำความผิดและการกระทำที่ก่อให้เกิดความตายได้ไม่ยากนัก เพราะข้อเท็จจริงไม่ได้มีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนแต่อย่างใด

เริ่มตั้งแต่หลักเจตนา จากข้อเท็จจริง การที่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจัดการเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมด้วยวิธีการนำผู้ชุมนุมหลายร้อยคนนอนเบียดเสียดกันภายในรถบรรทุกขนส่งทหาร แม้จะไม่ได้มีเจตนาประสงค์ให้เกิดความตายขึ้น แต่เรื่องนี้ ผู้กระทำและการกระทำในภาวะเช่นนั้น (ให้บุคคลหลายคนนอนเบียดและทับกัน) ย่อมต้องเล็งเห็นผลได้ว่า จะเกิดความเสี่ยงและเป็นการกระทำที่ทำให้มีบุคคลเสียชีวิตเนื่องมาจากขาดอากาศหายใจ

ขณะเดียวกัน ประเด็นการกล่าวอ้างถึงการกล่าวอ้างถึงการกระทำโดยป้องกัน การใช้อำนาจตามกฎหมายและการกระทำโดยจำเป็น ก็จะต้องคำนึงในเรื่องความได้สัดส่วน หรือการรักษาดุลยภาพระหว่างความเสียหายที่เกิดขึ้นกับปัจเจกบุคคลกับผลประโยชน์มหาชนของรัฐ และการมีปฏิบัติการที่จะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้น้อยสุด แต่เมื่อเหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการชุมนุมของฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐถึง 78 คน ทั้ง ๆ ที่การชุมนุมเป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธมาตั้งแต่แรกเริ่ม ก่อนที่เหตุการณ์จะบานปลายเป็นความรุนแรง ซึ่งสาเหตุหนึ่งก็มาจากปฏิบัติการและการควบคุมที่ไร้ประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่รัฐเอง

ที่สำคัญ ในคำสั่งไต่สวนการตาย ที่ไม่มีการระบุถึง พฤติการณ์ว่าใครทำให้ผู้ชุมนุมเสียชีวิตยังได้สร้างความกระอักกระอ่วนต่อสังคมและภาคประชาชนอย่างมาก เนื่องจากว่า ในแง่ของการพินิจถึงความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะกล่าวว่า วิธีการจัดการกับผู้ชุมนุมที่ปรากฏในข้อเท็จจริงไม่ได้มีความสัมพันธ์หรือเป็นสาเหตุให้เกิดความตายขึ้น การที่เมื่อเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมมาถึงที่หมายจากพื้นที่เกิดเหตุไปยังค่ายอิงยุทธบริหาร แล้วรายงานว่า ไม่ได้มีการกระทำรุนแรงหรือเหตุร้ายอะไรตามมา หาใช่สาระสำคัญไม่ เพราะความตายของผู้ชุมนุม ถือเป็นเหตุแทรกแซงที่พิจารณาได้ตามทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม ซึ่งหมายความว่า ความตายของผู้ชุมนุมกับปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่รัฐนั้นมีความสัมพันธ์อย่างเป็นเหตุและผลของกันและกันตามความรู้สึกนึกคิดของวิญญูชนที่พึงคาดหมายได้ว่า ต้องมีความตายของบุคคลเกิดขึ้นเพราะขาดอากาศหายใจ จากการที่นำคนจำนวนมากยัดขึ้นรถบรรทุกจนเบียดเสียดหนาแน่เต็มความจุตลอดเวลาประมาณ 6 ชั่วโมง

ถึงตรงนี้ จึงมีข้อสังเกตประการหนึ่งที่สำคัญเกี่ยวกับคดีนี้ คือ การที่เป็นปรากฏการณ์ทางกฎหมายและสังคมซึ่งสะท้อนภาพของความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงระหว่าง “กฎหมายในตำรา” (law in book) กับ “กฎหมายในทางปฏิบัติ” (law in action) ผ่านปฏิบัติการทางกฎหมายอันไม่ชอบมาพากลที่อาจเป็นนัยยะซ่อนเร้น (hidden agenda) ทางการเมือง เช่นเดียวกับประเด็นความล่าช้าของกระบวนการยุติธรรมที่สำนวนการสอบสวนและคำสั่งการไต่สวนการตายถูกดองไว้นานนับ 20 ปี (25 เมษายน 2567) เพื่อจะมีการส่งสำนวนสอบสวนไปยังอัยการพร้อมความเห็นไม่สั่งฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องทุกคน[15] (การทำความเห็นเกิดขึ้นภายหลังจากผู้เสียหายและญาติแสดงการเคลื่อนไหวว่าจะทำการฟ้องคดีด้วยตนเอง)

โดยสรุป ในแง่มุมกฎหมาย สามารถนำองค์ความรู้กฎหมายอาญาภาคทั่วไปมาตอบได้อย่างไม่เคอะเขิน ซึ่งเป็นองค์ความรู้ระดับพื้นฐานสำหรับผู้เรียนนิติศาสตร์ที่ได้ร่ำเรียนตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ปัญหาข้อกฎหมายในเหตุการณ์โศกนาฏกรรมตากใบ เป็นปัญหาที่ไม่ได้ซับซ้อนเกินกว่าจะตอบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะผู้มีประสบการณ์การทำงานและได้รับการประสิทธิ์ประสาทวิชากฎหมายมาอย่างยาวนานเฉกเช่นพนักงานอัยการ ผู้พิพากษา และเจ้าพนักงานสอบสวน แต่ด้วยความจำเป็นต้องรักษาโครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจและสถาบันการลอยนวลพ้นผิดให้ค้ำจุนความเป็นรัฐไทยที่จะมีคนเพียงหยิบมือสามารถถือครองอำนาจและแสวงหาเอาประโยชน์ทางการเมืองได้ต่อ ๆ ไป สถาบันกฎหมาย ศาล ปฏิบัติการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องจึงต้องเข้ามาทำงานสอดคล้องรองรับกับปฏิบัติการความรุนแรงที่เกิดขึ้น ผ่านการสร้างความชอบธรรม กลบเกลื่อน บิดเบือน ซ่อนเร้นการกระทำและข้อเท็จจริงไปในทางคุ้มครองผู้เกี่ยวข้องกับความรุนแรงให้แยบยลได้มากที่สุด

ท้ายที่สุด กระบวนการทางกฎหมายในเหตุการณ์ความรุนแรงตากใบ เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่เกี่ยวโยงกับการใช้อำนาจรัฐของรัฐไทย และแสดงให้เห็นอัปลักษณะที่ชัดเจนยิ่งของสถาบันกฎหมายไทย

.
.
อ้างอิงท้ายเรื่อง

[1] Tyrell Haberkorn, In plain sight: Impunity and Human Rights in Thailand, (Madison: The University of Wisconsin press, 2018).

[2] Tyrell Haberkorn, In plain sight: Impunity and Human Rights in Thailand, (Madison: The University of Wisconsin press, 2018), 13.

[3] อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ภาสกร ญี่นาง, ความล้มเหลวบนชัยชนะ: 14 ตุลาฯ ที่ไม่ได้สถาปนาหลักนิติรัฐ, 14 ตุลาคม 2563, ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, https://tlhr2014.com/archives/22068

[4] อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ภาสกร ญี่นาง, ร่องรอยความหวาดกลัวและ “รู้ว่าผิด” ระหว่างการร่างกฎหมายนิรโทษกรรมผู้เกี่ยวข้องกับ 6 ตุลาฯ, 5 ตุลาคม 2563, ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, https://tlhr2014.com/archives/21875

[5] อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ภาสกร ญี่นาง, สภาวะลอยนวลพ้นผิดในเหตุการณ์พฤษภาเลือด 2535: การปกป้องผู้ก่อความรุนแรงโดยกฎหมาย, 17 พฤษภาคม 2564, ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, https://tlhr2014.com/archives/29739,

[6] อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ภาสกร ญี่นาง, กระบวนการอยุติธรรมไทย: การลอยนวลพ้นผิดโดยกฎหมายของ “เจ้าหน้าที่รัฐ” กรณีสลายการชุมนุมปี 53, 19 พฤษภาคม 2564, https://tlhr2014.com/archives/29820

[7] ภาสกร ญี่นาง, “กฎหมายในความรุนแรง ความรุนแรงในกฎหมาย: การลอยนวลพ้นผิดทางกฎหมายของรัฐไทยในกรณีการใช้กำลังเข้าปราบปรามผู้ชุมนุมทางการเมือง” (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2564)

[8] เก่งกิจ กิติเรียงลาภ, ความคิดทางการเมืองของ Giorgio Agamben: ว่าด้วย ชีวิตที่เปลือยเปล่า องค์อธิปัตย์ในสภาวะสมัยใหม่ และการเดินทางที่ไม่มีวันสิ้นสุด, รัฐศาสตร์สาร, 28(3) (2550), 91-124.

[9] อาทิตย์ ทองอินทร์, 19 ปี สลายการชุมนุมตากใบ 25 ตุลาคม 2547 โศกนาฏกรรมของมลายูปตานี, 24 ตุลาคม 2566, ไทยรัฐ, https://plus.thairath.co.th/topic/politics&society/102294 (สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2567)

[10] Amnesty International Annual Report 2005 รายงานประจำปีของแอมเนสตีอินเทอร์เนชันแนล บันทึกงานสิทธิมนุษยชนที่องค์กรดำเนินการระหว่างมกราคม-ธันวาคม 2004, 249-250.

[11] เสียชีวิตระหว่างควบคุมตัว ต้อง “ชันสูตรพลิกศพ” และ “ไต่สวนการตาย”, 4 พฤศิจกายน 2558, โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน, https://www.ilaw.or.th/articles/16552 (สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2567)

[12] คำสั่งไต่สวนการตาย ศาลจังหวัดสงขลา คดีหมายเลขแดงที่ ช.8/2552 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2552

[13] รายงานของคณะกรรมการอิสระสอบข้อเท็จจริงกรณีมีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 (ส่วนที่ 1 ภาครายงาน), หน้า 19

[14] มูฮำหมัด ดือราแม, “เผยตำรวจส่งสำนวนคดีตากใบให้อัยการแล้ว เปิดใจญาติผู้ตาย เกือบ 20 ปีก่อนคดีหมดอายุความ”, 27 เมษายน 2567, ประชาไท, https://prachatai.com/journal/2024/04/109009 (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2567)

[15] เรื่องเดียวกัน.
.

https://tlhr2014.com/archives/68795


ส.ว.รัฐประหาร สู่ ส.ว.ราชานิยม ความขื่นขมยังอยู่กับการเมืองไทย..?

https://www.facebook.com/watch/?v=2212778935728752&t=0

Jom Petchpradab was live.
9 hours ago
·
ส.ว.รัฐประหาร สู่ ส.ว.ราชานิยม
ความขื่นขมยังอยู่กับการเมืองไทย..?
สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. ชุดใหม่ 200 คน ที่ผ่านการเลือกสรรกันเข้ามาแบบแปลกประหลาดที่สุดในโลก และเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการไปเรียบร้อยแล้ว กันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เรียกได้ว่าเป็น ส.ว.ที่ถูกคัดสรรให้เป็นสีน้ำเงินและสีเหลืองเต็มสภา
ขณะที่ ส.ว. 250 คนของคณะรัฐประหาร ที่พ้นจากอำนาจไป ก็ได้ฝากมรดกบาปให้ประทับอยู่บนแผ่นดินชั่วลูกชั่วหลานหลายเรื่องทั้งการแต่งตั้งบุคคลในองค์กรอิสระที่ล้วนเป็นหน่อเนื้อเชื้อไขของคณะรัฐประหาร และผลงานที่ทำให้โลกจดจำนั่นคือการโหวตไม่รับนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งโดยเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน
เสียงก่นด่าสาปแช่ง หรือแม้คำขู่ที่ว่า จะไม่ปล่อยให้ลอยนวลเมื่อลงจากตำแหน่งแล้ว จะเอาเข้าคุกให้ได้ ก็เป็นเพียงคำขู่ลอย ๆ ในอากาศ ที่ค่อยๆ เลือนหายไปแล้ว
เมื่อ ส.ว. 250 คนจากคณะรัฐประหารผ่านพ้นไป แทนที่ด้วยส.ว.200 คนของฝ่ายราชานิยม แม้อำนาจการโหวตนายกรัฐมนตรีจะไม่มีอีกต่อไปแล้ว แต่ยังคงมีการแต่งตั้งองค์กรอิสระ การผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายสำคัญ ๆ ทั้งหลายที่จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งการพัฒนาการเมือง สิทธิเสรีภาพ และสร้างประชาธิปไตยในประเทศไทย จะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน หรือจะสร้างมรดกบาปอะไรฝากไว้บนแผ่นดินไทยอีกหรือไม่ ...ฟังการวิเคราะห์ในประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ โดย คุณยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)


อาณาจักรธุรกิจตระกูลมหาเศรษฐีไทย ใหญ่ขนาดไหน ? ข้อมูลปี 2022 - เราจะกินอะไรใน 1 วัน ล้วนหนีไม่พ้น 1 ใน 3 คนนี้ ไม่ว่าทางตรงหรืออ้อม


ลงทุนแมน
July 2, 2022
·
อาณาจักรธุรกิจตระกูลมหาเศรษฐีไทย ใหญ่ขนาดไหน ?
.....
กูลภักดิ์ แสนชนะ
จะกินอะไรใน 1 วัน ล้วนหนีไม่พ้น 1 ใน 3 คนนี้ ไม่ว่าทางตรงหรืออ้อม

Bigkunawut BK
เหลืออีกตระกลูนึงนะ

ตลาดหุ้น สะท้อนอะไรได้หลายอย่าง เช่น สะท้อนได้ถึง ภาวะเศรษฐกิจ วิกฤติทั้งปัจจุบันและในอนาคต ดูเหมือน นรกรอเราอยู่


Teepakorn Kulnguan
July 22
·
ตลาดหุ้น
สะท้อนได้ถึง ภาวะเศรษฐกิจ มุมมองเศรษฐกิจทั้งปัจจุบันและในอนาคต
ย้อนรอยแต่ละช่วงของกราฟ SET ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง
1.สีแดง : วิกฤติต้มยำกุ้งปี 40
รัฐบาล และ ธนาคารแห่งประเทศไทย ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ตรึงค่าเงินบาท ที่ 25 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์
เงินสะพัด ธนาคารปล่อยสินเชื่อง่าย , มีหนี้ต่างประเทศสูง , มีการลงทุนเกินตัวโดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์
นำมาสู่ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ ตามด้วยการโดนโจมตีค่าเงิน และการลอยตัวค่าเงินบาท
จาก 25 บาท/ดอลลาร์ เป็น แถวๆ 50 บาท / ดอลลาร์
เท่ากับเป็นหนี้ เท่าตัวภายในวันเดียว
ฟองสบู่แตก ธนาคารพัง ธุรกิจพัง ปิดกิจการ กระทบเป็นลูกโซ่ บริษัทเจ๊ง คนตกงาน ตลาดหุ้นพัง ฯลฯ
การฟื้นตัวตอนนั้น ได้ภาคส่งออกและการท่องเที่ยวเข้ามาช่วย ซึ่ง 2 ภาคธุรกิจนี้ ได้รับประโยชน์จากการที่เงินบาทอ่อน ประเทศไทยก็เลยค่อยๆฟื้นตัวขึ้นมาเรื่อยๆ
2.สีเหลือง : วิกฤติ .com
ฟองสบู่หุ้นเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกาแตก ตลาดหุ้นอเมริกาลงอย่างหนัก และบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งล้มละลาย
ไทยตอนนั้น ไม่ได้รับผลกระทบในทางตรงหรือในทางอ้อมในภาคเศรษฐกิจจริง
แต่ตลาดหุ้นได้รับผลกระทบ ตรงที่เม็ดเงินลงทุนที่ต่างชาติเข้ามาลงทุนหายไป และมีการถอนเงินทุนจากตลาดออกไปเพื่อถือเงินสดสำรอง หรืออื่นๆเนื่องจากเจ็บจากตลาดหุ้นอเมริกา
การส่งออกและการท่องเที่ยวไทยยังดีอยู่ เศรษฐกิจยังคงเติบโตต่อเนื่อง ไม่นานตลาดหุ้นก็กลับมาพุ่งทะยาน
3.สีเขียว : วิกฤติ Subprime ของอเมริกาและการเมืองไทย
เกิดจากการเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์ และปล่อยกู้ที่หละหลวม ในอเมริกา
ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในอเมริกาแตก , เกิดการผิดนัดชำระหนี้บ้าน สถาบันการเงินล้มละลาย
สิ่งไทยได้รับผลกระทบ จากวิกฤติ Subprime คือ นักลงทุนต่างชาติหายไปและลดการลงทุนลง , ส่งผลกระทบต่อการส่งออกในทางตรงกับอเมริกาและทางอ้อม ลดลง
หลังจากนั้นอเมริกาทำการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ กระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ จึงค่อยๆฟื้นตัว
และไทยเจอปัญหาการเมือง ประท้วง ปิดสนามบิน และความขัดแย้งทางการเมือง
ตลาดหุ้นไทย ลดลงแรงจาก 900 จุด ลงมาแถวๆ 400 จุด
เศรษฐกิจไทยสะดุดไม่มาก และหลังจากนั้นยังคงกลับเติบโตทั้งการส่งออก และท่องเที่ยวอยู่ ทำให้ผ่านวิกฤติไปได้
4.สีฟ้า : วิกฤติ Covid 19
เกิดโรคระบาดทั่วโลก ปิดประเทศ , หยุดกิจการชั่วคราว เศรษฐกิจหยุดชะงัก
ผ่านมาได้เพราะ หลายประเทศกระตุ้นเศรษฐกิจ อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ ด้วยการ ลดอัตราดอกเบี้ย , แจกเงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และไทยเองก็ทำ
การค้าขายกลับมาสู่ปกติ ตลาดหุ้นกลับมาสู่ปกติ แต่เริ่มทิ้งบาดแผล ฝังเชื้อร้ายไว้กับเศรษฐกิจไทย และหลายประเทศ
5.สีส้ม : วิกฤติ…ที่ยังไม่มีชื่อ
สิ่งที่ประเทศไทยกำลังเจอ
- หนี้ครัวเรือนสูง
- ไม่มีเทคโนโลยีของตนเอง ขาดนวัตกรรม นำไปสู่การขาดความสามารถทางการแข่งขัน
- ไทยเป็นเพียงประเทศรับจ้างการผลิตในอุตสากรรมที่ใกล้จะถูก Distrub
- ปัญหาทางการเมือง
- ความบอบช้ำทางการเงินที่สะสมมาตั้งแต่ตอน Covid 19
- สินค้าจากจีนทะลักเข้ามาตีตลาดไทยและผู้ประกอบการไทย
- สังคมผู้สูงอายุ
- ความท้าทายจากการแข่งขันจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีค่าแรงถูก มีวัยแรงงาน และกำลังมีแนวโน้มเติบโต เช่น เวียดนาม
ฯลฯ
สะท้อนมาถึงผลประกอบการของหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และสะท้อนถึงการลดลงของราคาหุ้นในตลาด
จะผ่านไปได้เหมือนวิกฤติที่ผ่านๆมามั้ย ครั้งนี้คงต้องลุ้นกันจนตัวโก่ง
กราฟ SET บอกและสะท้อนได้หลายอย่าง

https://www.facebook.com/photo/?fbid=7858799327569402&set=a.255378707911540


จะสร้างซุ้ม หรือ สรัางถนน ควรถามชาวบ้านและเด็กนักเรียนด้วย นะ ท่าน !?


น้าคำลิง อิสานไม่แพ้
23 hours ago
·
จะสร้างซุ้ม หรือ สรัางถนน
ควรถามชาวบ้านและเด็กนักเรียนด้วย นะ ท่าน !?
.....

นี่หรือประเทศที่เจริญแล้ว ?


หลังมีผลการประชุม กมธ.นิรโทษกรรมออกมาเมื่อวานนี้ “พูนสุข” จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนสะท้อนข้อกังวลของทิศทางการนิรโทษกรรมที่จะเกิดขึ้นทั้งประเด็นการตกหล่นของคดีที่เกิดจากปัญหาการใช้นโยบายเอาพลเรือนขึ้นศาลทหาร และการสานเสวนาที่ผู้ถูกดำเนินคดีเข้าสู่กระบวนการโดยอำนาจไม่เท่าเทียมกัน เป็นต้น



ศูนย์ทนายความฯ กังวลให้ คกก.พิจารณาทั้งหมดอาจตกหล่น สานเสวนาต้องไม่ใช่การให้สารภาพผิด

26 กรกฎาคม 2567
ประชาไท

ภาพโดย แมวส้ม

หลังมีผลการประชุม กมธ.นิรโทษกรรมออกมาเมื่อวานนี้ “พูนสุข” จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนสะท้อนข้อกังวลของทิศทางการนิรโทษกรรมที่จะเกิดขึ้นทั้งประเด็นการตกหล่นของคดีที่เกิดจากปัญหาการใช้นโยบายเอาพลเรือนขึ้นศาลทหาร และการสานเสวนาที่ผู้ถูกดำเนินคดีเข้าสู่กระบวนการโดยอำนาจไม่เท่าเทียมกันจนถึงมาตรการตามหลังที่เป็นการละเมิดสิทธิซ้ำ

26 ก.ค.2567 หลังจากมีผลการประชุมของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม(กมธ.นิรโทษกรรม) และเริ่มเห็นทิศทางการนิรโทษกรรมคดีมาตรา 112 ที่ขณะนี้ทาง กมธ.มีข้อเสนอไว้ 3 ตัวเลือกที่จะต้องเข้าไปพูดคุยกันต่อในสภา คือ 1. ไม่นิรโทษกรรม 2.นิรโทษกรรมทั้งหมด และ 3.นิรโทษกรรมโดยมีการกำหนดเงื่อนไขและมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดซ้ำ

พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ให้สัมภาษณ์กับประชาไทถึงความเห็นในฐานะที่ทำงานผลักดันการนิรโทษกรรมคดีทางการเมือง แสดงความเห็นถึงทิศทางดังกล่าวที่ทาง กมธ.นิรโทษกรรมเสนอมา

ให้คณะกรรมการพิจารณาหมดอาจตกหล่น

พูนสุขเริ่มจากกล่าวถึงประเด็นเรื่องคณะกรรมการนิรโทษกรรมที่จะตั้งขึ้นตามกฎหมายว่า ตัวคณะกรรมการที่จะตั้งขึ้นมาเพื่อใช้ดุลยพินิจในการนิรโทษกรรมอยู่ทางของเครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชนเองก็มีข้อเสนอในส่วนนี้เหมือนกัน

อย่างไรก็ตาม เธอก็มองว่าในบางฐานความผิดเป็นคดีทางการเมืองโดยแท้อย่างเช่นคดีมาตรา 112 และสามารถให้นิรโทษกรรมไปได้เลยโดยไม่ต้องผ่านคณะกรรมการมาพิจารณา แม้ว่าจะมีบางฐานความผิดที่ยังจำเป็นต้องให้คณะกรรมการมาพิจารณาว่าเป็นคดีการเมืองหรือเปล่า ซึ่งทางศูนย์ทนายความฯ ก็เสนอตามในร่างกฎหมายของเครือข่ายฯ ที่กำหนดไว้ 5 ฐานความผิด

เครือข่ายนิรโทษกรรมเสนอไว้อย่างไร?

  1. พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน กำหนด 5 ฐานความผิดหลักที่จะได้รับการนิรโทษกรรมทันทีหากกฎหมายบังคับใช้ โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการนิรโทษกรรมคดีการเมือง ประกอบด้วยความผิดประกาศคำสั่งของ คสช.
  2. คดีพลเรือนที่ถูกดำเนินคดีในศาลทหาร ตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/57 และฉบับที่ 38/57
  3. คดี ม.112
  4. คดี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2548
  5. คดีตามฐานความผิดใน พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559
  6. คดีอื่นๆ ที่มีข้อหาตาม 1-5 ร่วมด้วย
ทนายความให้ความเห็นเรื่องการเอาคดีทั้งหมดให้คณะกรรมการเป็นคนพิจารณาอาจจะเยอะไป และยังมีข้อกังวลถ้าดูจากแรงจูงใจอย่างเดียวอาจจะทำให้คนบางกลุ่มตกหล่นทั้งที่ได้รับผลกระทบจากการใช้นโยบายที่ให้พลเรือนขึ้นศาลทหารหรือกฎหมายแบบมาตรา 112

บางคนเข้าได้รับผลโดยที่เขาอาจจะไม่ได้มีเหตุจูงใจทางการเมืองเลย เช่น คดีของคนป่วยจิตเวชหรือคดีปืนโบราณ ที่เป็นข้อหาครอบครองอาวุธที่ขึ้นทะเบียนไม่ได้ก็เป็น 90% ของคดีพลเรือนในศาลทหารและส่วนใหญ่ก็ไม่เกี่ยวกับคดีการเมืองด้วยแม้กระทั่งคดีอาญาของทหารในช่วงที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกทำให้การพิจารณาคดีเหลือแค่ในศาลชั้นต้นเพียงชั้นเดียวแล้วจบเป็นคดีเด็ดขาดสู้ต่อในชั้นอุทธรณ์และฎีกาไม่ได้ก็เป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบในทางนโยบายก็จะไม่ถูกรวมเข้ามาถ้าแค่ดูจากมูลเหตุจูงใจทางการเมืองอย่างเดียว

สัดส่วนกรรมการอาจเป็นคนในกระบวนการยุติธรรมมากกว่า

ทั้งนี้ในส่วนขององค์ประกอบของคณะกรรมการนิรโทษกรรมที่ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดออกมา แต่พูนสุขให้ข้อสังเกตจากการติดตามดูบันทึกประชุมของ กมธ.นิรโทษกรรมไว้ด้วยว่า ในที่ประชุมมีเพียงการเสนอให้องค์ประกอบของคณะกรรมการนิรโทษกรรมที่จะตั้งมาตามกฎหมายมีสัดส่วนเป็นคนจากองค์กรในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งทางเครือข่ายเคยเสนอให้องค์ประกอบของคณะกรรมการมาจาก สส.เป็นหลักเพราะเป็นตัวแทนของประชาชนเพราะเห็นว่าการนิรโทษกรรมนี้ไม่ได้มาตัดสินว่าใครถูกใครผิด เพียงแค่ให้มาพิจารณาว่าอะไรคือเหตุจูงใจทางการเมือง

แยกพิจารณาม.112 แต่คดีกบฏ-สลายชุมนุมกลับไม่ถูกแยก ยิ่งถูกตั้งคำถาม

ส่วนคดีมาตรา 112 เป็นคดีที่ในทางสากลหรือจากมุมสิทธิมนุษยชนมองมันไม่ควรถูกดำเนินคดีด้วยซ้ำเพราะมันยังอยู่บนฐานของเสรีภาพการแสดงออก หรือถ้ามองจากมุมความรุนแรงทางกายภาพก็ไม่มีเกิดขึ้นด้วยซ้ำ แต่ในคดีที่มีความรุนแรงมากกว่าหรือคดีที่มีโทษหนักกว่ากลับไม่เป็นประเด็นที่อ่อนไหวต้องจนแยกพิจารณาในลักษณะเดียวกันอย่างเช่นความผิดฐานกบฏมาตรา 113 หรือการสลายการชุมนุม

“ยิ่งขับเน้นความขัดแย้งของสังคมไทยในเรื่องตำแหน่งแห่งที่หรือสถานะของสถาบันกษัตริย์ที่มันดำรงอยู่ในปัจจุบัน”

พูนสุขกล่าวว่า การที่คดีมาตรา 112 ถูกแยกมาแบบนี้ยังสะท้อนถึงอำนาจที่ยังไม่เท่ากันและการสานเสวนานี้ยังไม่ได้เป็นกระบวนการที่นำไปสู่การคลี่คลายความขัดแย้งจริงๆ แต่เป็นการกดคนบางกลุ่มไว้ ตัวกระบวนการและเงื่อนไขที่กำหนดก็สุ่มเสี่ยงที่จะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย เช่นการกำหนดไว้ห้ามพูดหรือห้ามวิจารณ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ไว้ 3-5 ปี ก็เป็นเรื่องที่มีข้อกังวลอยู่แต่เนื่องจากยังไม่มีรายละเอียดในส่วนนี้ว่าจะออกมาเป็นอย่างไรก็ยังต้องรอดูไปก่อน

“การกำหนดเงื่อนไขลักษณะเช่นนี้ ทำเหมือนกับว่าฉันมีกระบวนการให้นะฉันเปิดประตูให้นะ เป็นเธอที่ไม่เดินเข้ามาเองเลือกที่จะไม่เข้าสู่กระบวนการเอง นี่คือการผลักภาระให้คนที่ถูกดำเนินคดี”

พูนสุขสะท้อนว่าเป็นเรื่องที่ต้องตั้งคำถามว่ามันควรจะมีกระบวนการแบบนี้หรือเปล่า มันเป็นการเลือกปฏิบัติหรือเปล่า และมันนำไปสู่การคลี่คลายความขัดแย้งได้จริงหรือไม่ หรือเป็นแค่เครื่องมือที่จำกัดสิทธิเสรีภาพอยู่ดี

การสานเสวนาต้องไม่ใช่การไต่สวนให้สารภาพ

ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวถามว่ามองเรื่องความกังวลของทางฝั่ง กมธ.นิรโทษกรรมว่าการไม่มีกระบวนการสานเสวนาอยู่จะทำให้ฝ่ายที่มีความขัดแย้งกันไม่ได้เจอพูดคุยกันเพื่อหาทางคลี่คลายความขัดแย้งว่าอย่างไร

พูนสุขกล่าวว่ามีกระบวนการสานเสวนาได้ แต่จะทำอย่างไรให้อำนาจของคนที่เข้าร่วมกระบวนการสานเสวนามันเท่ากันได้จริงๆ เพราะว่า ถ้าคนที่เข้าสู่กระบวนการสานเสวนาต้องอยู่บนเงื่อนไขว่าจะได้รับหรือไม่ได้รับการนิรโทษกรรมก็จะทำให้อำนาจของแต่ละฝ่ายไม่เท่ากัน

ทนายความกล่าวถึงอีกแง่มุมหนึ่งว่า ในกรณีที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐมาเข้าสู่กระบวนการสานเสวนา เขาจะได้รับการคุ้มกันแค่ไหนที่จะได้พูดหรือได้อธิบายข้อเท็จจริงว่าทำไมเขาถึงต้องดำเนินคดีหรือมีอะไรที่อยู่เบื้องหลังในการดำเนินคดีของเขาหรือไม่

“ทำยังไงไม่ให้มันเป็นกระบวนการไต่สวนเพื่อให้บางกลุ่มรับสารภาพ เราคิดว่าถ้ามี(สานเสวนา) มีได้แต่ทำยังไงให้อำนาจมันเท่ากันแล้วมันไม่ใช่เงื่อนไข” พูนสุขย้ำ

https://prachatai.com/journal/2024/07/110075


ความหายนะสิ่งแวดล้อม กรณีปลาหมอคางดำ

https://www.facebook.com/watch/?v=891260939501503&t=0

BIOTHAI was live.
20 hours ago
·
หายนะสิ่งแวดล้อม กรณีปลาหมอคางดำ

หายนะสิ่งแวดล้อม กรณีปลาหมอคางดำ
การชดเชยเยียวยาความเสียหาย ฟื้นฟูระบบนิเวศ และปฏิรูประบบความปลอดภัยทางชีวภาพ
วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00-12.00 น.
เล่าสถานการณ์และผลกระทบจากในพื้นที่จริง โดย..คุณบุญยืน ศิริธรรม/ชาวประมงพื้นที่สมุทรสงคราม และประธาน สภาองค์กรของผู้บริโภค
วิเคราะห์ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และอาชีพชาวประมง โดย..คุณวินิจ ตันสกุล/ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
วิเคราะห์ผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และแนวทางการฟื้นฟูในมุมมองนักนิเวศวิทยาโดย..ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์/อดีตประธานมูลนิธิโลกสีเขียว และ ดร.ชวลิต วิทยานนท์/นักวิชาการอิสระ

.....
คลิปเต็ม การชดเชยเยียวยาความเสียหาย ฟื้นฟูระบบนิเวศ และปฏิรูประบบความปลอดภัยทางชีวภาพ
(https://www.facebook.com/biothai.net/videos/519572690506224)




CPF ประกาศรับซื้อปลาหมอคางดำทั่วประเทศจำนวน 2 ล้านกิโลกรัม และยังร่วมสนับสนุนปล่อยปลาผู้ล่าลงสู่แหล่งน้ำจำนวน 2 แสนตัว ทั้งหมดนี้ มองว่าเป็นการฟอกขาวของบริษัทได้หรือไม่


CPF รับซื้อปลาหมอคางดำเพื่อไปทำปลาป่นแล้ว 6 แสนกิโลกรัม

25 กรกฎาคม 2024
บีบีซีไทย

CPF บอกว่าพร้อมสนับสนุนมาตรการของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากปลาหมอคางดำ เช่น รับซื้อปลา ปล่อยปลาผู้ล่า ฯลฯ ถึงแม้ว่าบริษัทฯ จะย้ำว่าไม่ใช่ต้นตอการระบาดก็ตาม

แต่ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถีชี้ว่า การออกมารับผิดชอบเฉพาะหน้าเช่นนี้ เป็นเพียงความพยายามฟอกขาวและเบี่ยงเบนประเด็นของบริษัทฯ ผู้ขอนำเข้าปลาดังกล่าวเพียงรายเดียวในไทย

ล่าสุด ตัวแทนจาก CPF ไม่ได้เดินทางมายังรัฐสภาในวันนี้ (25 ก.ค.) เพื่อชี้แจงข้อมูลกับอนุ กมธ. แก้ไขปัญหาผลกระทบจากปลาหมอคางดำของรัฐสภา แต่ส่งเพียงเอกสารชี้แจงข้อเท็จจริงมาเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าทั้งภาคการเมืองและภาคประชาสังคมต่างพยายามหาหลักฐานเพื่อหาช่องฟ้องร้องบริษัทมหาชนแห่งนี้ ถึงแม้ยังขาดหลักฐานสำคัญที่จะเชื่อมโยงว่าปลาหมอคางดำที่ระบาดอยู่ในขณะนี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับปลาที่ CPF นำเข้าเมื่อกว่า 10 ปีก่อน

ต้นตอการระบาด มาจากปลาที่ CPF นำเข้าหรือไม่

“มันคือวิกฤตจากสายพันธุ์รุกรานที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและระบบนิเวศของไทยมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เราจะไม่ยอมส่งต่อระบบนิเวศที่พังพินาศเช่นให้กับรุ่นต่อไปของเรา” นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) กรุงเทพมหานคร จากพรรคก้าวไกล ในฐานะรองประธานคณะอนุกรรมาธิการ (อนุ กมธ.) พิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอสีคางดำเพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ในราชอาณาจักรไทย บอกกับบีบีซีไทย หลังจาก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ไม่เข้าพบคณะอนุ กมธ.ฯ ในวันนี้ (25 ก.ค.) โดยอ้างว่าติดภารกิจ แต่มอบเอกสารชี้แจงข้อมูลเบื้องต้นมายังคณะอนุ กมธ.ฯ แทน

ครั้งนี้เป็นครั้งที่สองที่ทาง อนุ กมธ.ฯ พยายามเรียกให้บริษัทมหาชน ซึ่งเป็นเจ้าของรางวัลบริษัทยึดมั่นธรรมาภิบาลดีเลิศทั้งในระดับประเทศและภูมิภาคเอเชีย ผู้มีประวัติขออนุญาตนำเข้าปลาหมอคางดำเพียงรายเดียวของไทยมาให้ข้อมูลและชี้แจงข้อเท็จจริง เพื่อหาต้นตอการระบาดของปลาสายพันธุ์รุกรานต่างถิ่นที่ดำเนินมานานกว่าสิบปี และแพร่กระจายไปแล้วมากกว่า 17 จังหวัดทั่วประเทศ จากข้อมูลของกรมประมง

“นี่เป็นเวทีที่ท่านจะใช้แถลงข้อสงสัยต่อพี่น้องประชาชนได้ แต่หากท่านเลือกจะแถลงข่าวกับสำนักข่าวไม่กี่สำนัก แล้วขาดการโต้แย้งสอบถาม มันก็อาจสร้างความเคลือบแคลงสงสัยให้กับพี่น้องประชาชนมากขึ้น” รองประธาน อนุ กมธ.ฯ กล่าวถึงบริษัท CPF ต่อหน้าสื่อมวลชนที่มารอสัมภาษณ์ตัวแทนบริษัทเอกชนที่รัฐสภาในวันนี้

การระบาดของพันธุ์ปลารูปร่างคล้ายปลานิลแต่มีลายจุดดำบริเวณคาง หลังกระพุ้งแก้ม ซึ่งอยู่อาศัยและเติบโตได้ในเกือบทุกสภาพน้ำ ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำและประมงชายฝั่งในไทย โดยมี “มูลค่าความเสียหายที่ยังไม่สามารถประเมินได้ แต่บอกได้ว่ามหาศาล” นายณัฐชา ระบุ

ในช่วงราว 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา วิกฤตการระบาดของปลาหมอคางดำกลายเป็นเผือกร้อนของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึง CPF ซึ่งขออนุญาตนำเข้าปลาหมอคางดำเมื่อปี 2549 และนำเข้ามาเลี้ยงในศูนย์ทดลองที่ ต.ยี่สาร อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ในช่วงปลายปี 2553 โดยทางบริษัทฯ ชี้แจงกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เมื่อปี 2560 ว่า ปลาทั้งหมดที่นำเข้ามาทดลองวิจัยทยอยตายจนหมดภายในเวลา 3 สัปดาห์ หรือช่วงเดือน ม.ค. ของปี 2554

“การแพร่ระบาดครั้งแรกในปี 2555 พบการระบาดในตำบลเดียวกัน อำเภอเดียวกัน จังหวัดเดียวกัน [กับศูนย์ทดลองของ CPF]” สส.จากพรรคก้าวไกลตั้งข้อสังเกต


ปลาหมอคางดำระบาดไปแล้วมากกว่า 17 จังหวัดทั่วประเทศ

ก่อนหน้านี้ ทางบริษัทฯ ชี้แจงกับ กสม. ว่าได้ทำลายซากปลาที่ตายไปหมดแล้ว และมีการสร้างอาคารทับจุดฝังกลบไป แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่มีใครสามารถยืนยันข้อเท็จจริงนี้ได้ว่าอาคารดังกล่าวสร้างขึ้นเมื่อใด สร้างขึ้นก่อนหรือหลังการกำจัดซากปลา และตั้งอยู่บนจุดฝังกลบซากปลาจริงหรือไม่

“ทาง อนุ กมธ.ฯ ก็รอคำชี้แจงจากเอกชนในประเด็นนี้อยู่ แต่เขาก็ไม่มา” นายณัฐชา กล่าว

รายงานของไทยพีบีเอสเมื่อวันที่ 15 ก.ค. ที่ผ่านมายังพบว่าศูนย์ทดลองของ CPF ที่ ต.ยี่สาร อยู่ติดกับคลองธรรมชาติ 3 แห่ง คือ คลองหลวง คลองดอนจั่น และ คลองบางยาว ซึ่งปัจจุบันพบการระบาดของปลาหมอคางดำด้วยเช่นกัน โดยทางทีมข่าวของไทยพีบีเอสตั้งข้อสังเกตจากภาพถ่ายดาวเทียมย้อนหลังด้วยว่า ศูนย์ทดลองดังกล่าวอาจไม่มีบ่อปิดสำหรับการเลี้ยงปลาทดลอง เนื่องจากภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นว่าบ่อเลี้ยงส่วนใหญ่เป็นบ่อดินแทบทั้งสิ้น

จากรายงานของ กสม. CPF ชี้แจงว่าในช่วงต้นปี 2554 ได้ส่งตัวอย่างปลาจำนวน 50 ตัวอย่างที่อยู่ในโหลดองฟอร์มาลีนไปให้กรมประมงเก็บไว้ เมื่อพิจารณาแล้วว่าการปรับปรุงสายพันธุ์ไม่น่าประสบความสำเร็จ เพราะปลาทยอยตายลงเรื่อย ๆ

นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง ชี้แจงต่อคณะอนุ กมธ.ฯ แก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำ ซึ่งเข้าตรวจเยี่ยมกรมประมงเมื่อวันที่ 23 ก.ค. ที่ผ่านมาว่า ไม่พบหลักฐานการรับตัวอย่างปลาตามที่เอกชนกล่าวอ้าง ส่งผลให้ไม่มีข้อมูลสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) ของปลาที่นำเข้ามาในปี 2553 และตายลงในปี 2554 เก็บไว้ในฐานข้อมูลของกรมประมง

อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นทางกรมประมงยังคงศึกษาวิจัยการระบาดของปลาหมอคางดำ และได้เข้าไปตรวจสอบและพบปลาหมอคางดำอยู่ในบ่อพักน้ำศูนย์ทดลองของ CPF ที่ ต.ยี่สาร เมื่อปี 2560

“งานศึกษาของกรมประมงฉบับหนึ่งบอกว่า ปลาหมอคางดำในไทยมีภาวะเลือดชิด ดีเอ็นเอใกล้เคียงกัน เหมือนเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาร่วมกันทั้งหมด” นพ.วาโย อัศวรุ่งเรือง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร ในการพิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำ เพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ในราชอาณาจักรไทย กล่าวกับสื่อมวลชนระหว่างการเข้าพบอธิบดีกรมประมงเมื่อ 2 วันก่อน

เขากล่าวต่อว่า งานศึกษาของกรมประมงชี้ว่า ปลาหมอคางดำที่พบในบ่อพักน้ำของศูนย์ทดลอง CPF ต.ยี่สาร และที่ระบาดไปทั่วประเทศในขณะนั้นมีภาวะเลือดชิด แทบไม่มีความแตกต่างกันในทางพันธุกรรม ซึ่งสื่อได้ว่าเป็นปลาที่มาจากแหล่งเดียวกันชัดเจน

CPF พร้อมให้ความร่วมมือ กำจัดปลาหมอคางดำ

นายเปรมศักดิ์ วนัชสุนทร ผู้บริหารสูงสุดสายงานวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของ CPF ให้สัมภาษณ์กับประชาชาติธุรกิจ เมื่อวันที่ 16 ก.ค. ว่า บริษัทฯ ไม่ได้เป็นต้นเหตุการระบาดของปลาสายพันธุ์ดังกล่าว

ต่อมาวันที่ 23 ก.ค. ทางบริษัทฯ ออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง โดยออกมาแถลงข่าวว่าพร้อมขานรับ 5 มาตรการแก้ไขผลกระทบจากปลาหมอคางดำระบาดของรัฐบาล ได้แก่ ทำงานร่วมกับกรมประมงในการรับซื้อปลาหมอคางดำทั่วประเทศ ราคากิโลกรัมละ 15 บาท จำนวน 2 ล้านกิโลกรัม เพื่อนำมาผลิตเป็นปลาป่น โดยล่าสุดรับซื้อไปแล้ว 6 แสนกิโลกรัม

นอกจากนี้ ยังร่วมสนับสนุนภาครัฐและชุมชนในการปล่อยปลาผู้ล่าลงสู่แหล่งน้ำจำนวน 2 แสนตัว ตามแนวทางของกรมประมง

ทางบริษัทฯ ยังระบุด้วยว่า จะสนับสนุนอุปกรณ์จับปลาและกำลังคนเพื่อลงจับปลาหมอคางดำในทุกพื้นที่ที่ประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งจะพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากปลาหมอคางดำ โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษาอย่าง ม.เกษตรศาสตร์, ม.ขอนแก่น และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รวมถึงร่วมทำวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญในการหาแนวทางควบคุมประชากรปลาหมอคางดำในระยะยาว

ในวันนี้ (25 ก.ค.) ทาง CPF ยังยืนยันกับสื่อไทยหลายสำนักด้วยกันว่า บริษัทฯ ส่งตัวอย่างปลาที่ขออนุญาตนำเข้าให้กับกรมประมงจริง พร้อมกับระบุชื่อเจ้าหน้าที่ที่รับตัวอย่างดังกล่าวไป

“วันที่ 6 มกราคม 2554 (สัปดาห์ที่ 3) เนื่องจากมีปลาทยอยตายเหลือเพียง 50 ตัว บริษัทจึงตัดสินใจไม่เริ่มดำเนินโครงการและยุติการวิจัยทั้งหมด และได้ทำลายลูกปลาทั้งหมดโดยใช้คลอรีนใส่ลงน้ำในบ่อเลี้ยงซีเมนต์ เพื่อฆ่าเชื้อและทำลายลูกปลาที่เหลือ หลังจากนั้น เก็บลูกปลาทั้งหมดแช่ฟอร์มาลีนเข้มข้น 24 ชั่วโมง แล้วนำมาฝังกลบพร้อมโรยปูนขาวในวันที่ 7 ม.ค. 2554 รวมระยะเวลาที่ลูกปลาชุดนี้มีชีวิตอยู่ในประเทศไทยเพียง 16 วันเท่านั้น” CPF ระบุ


การปล่อยปลากะพงขาวให้ไปกินลูกปลาหมอคางดำ เชื่อว่าอาจลดจำนวนประชากรสายพันธุ์รุกรานลงได้ส่วนหนึ่ง

ส่วนกรณีที่เจ้าหน้าที่จากกรมประมงเจอปลาหมอคางดำในบ่อพักน้ำของศูนย์ทดลองของ CPF ใน ต.ยี่สาร เมื่อปี 2560 นั้น ทาง CPF บอกว่า บ่อพักน้ำดังกล่าวเชื่อมต่อกับแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้ปลาที่อยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติย่อมอยู่ในบ่อพักน้ำด้วย แต่บ่อพักน้ำดังกล่าวไม่ใช่ส่วนของบ่อเลี้ยง เป็นเพียงส่วนเชื่อมต่อกับแหล่งน้ำธรรมชาติที่รอการกรองและการฆ่าเชื้อก่อนนำน้ำเข้ามาใช้ในฟาร์ม

“บริษัทไม่มีการวิจัยหรือเลี้ยงปลาหมอคางดำอีกเลย นับตั้งแต่เดือน ม.ค. ปี 2554 ถึงแม้ว่าบริษัทมั่นใจว่าไม่ได้เป็นต้นเหตุของการแพร่ระบาด แต่ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และพร้อมให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน จึงได้นำศักยภาพองค์กรขับเคลื่อน 5 โครงการสำคัญ” นายเปรมศักดิ์ เน้นย้ำ

ด้านนายณัฐชา กล่าวว่า “ถ้าท่านบอกว่า [ปลาหมอคางดำ] ระบาดจากภายนอก มันเล็ดลอดเข้ามา [ในบ่อพักน้ำ] ก็ต้องตั้งคำถามกลับว่าหากปลาข้างนอกเล็ดลอดเข้ามาได้ แล้วปลาข้างในเล็ดลอดออกไปได้หรือไม่”

มูลนิธิชีววิถีชี้ CPF กำลัง “ฟอกขาว” บริษัท

นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผอ.มูลนิธิชีววิถี บอกกับบีบีซีไทยว่า การออกมาให้การสนับสนุนมาตรการภาครัฐของ CPF ในขณะนี้นั้นเป็น “ความพยายามฟอกขาวบริษัทฯ และเบี่ยงเบนประเด็น” จากบทบาทผู้ต้องสงสัยก่ออาชญากรรมทางสิ่งแวดล้อม กลายเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งโดยส่วนตัวเขายังเคลือบแคลงใจในบทบาทของบริษัทฯ ว่าเป็นความช่วยเหลือด้วยความบริสุทธิ์ใจหรือไม่

“เมื่อบริษัทฯ นำปลาหมอคางดำไปทำปลาป่น ปลาป่นก็มีมูลค่าประมาณกิโลกรัมละ 40-50 บาท เศษเงิน 30 ล้านที่จะรับซื้อปลา 2 ล้านกิโลกรัม จริง ๆ แล้วก็อาจเป็นการทำธุรกิจในรูปแบบหนึ่งแล้วมาอ้างว่าให้ความช่วยเหลือชาวบ้าน บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพี (CP) มีโรงงานแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากปลาต่าง ๆ มากมาย ผมสงสัยว่าอาจไม่ได้แค่นำไปทำปลาป่น แต่เนื้อปลาหมอคางดำอาจถูกนำไปใช้ประโยชน์ในทางอื่นได้ด้วย ดังนั้นก็สงสัยอยู่ว่ามูลค่าที่ช่วยเหลือมานั้น อาจสร้างผลกำไรให้บริษัทฯ อีกต่อหนึ่งหรือเปล่า” ผอ.มูลนิธิชีววิถี กล่าว พร้อมกับบอกด้วยว่า ในเบื้องต้นภาคประชาสังคมประเมินความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมไว้ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาทเป็นอย่างต่ำ ดังนั้นการใช้งบประมาณ 30 ล้านบาทเพื่อรับซื้อปลาหมอคางดำจึงไม่สามารถชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นไปแล้วได้

เขาชี้ว่าการระบาดในครั้งนี้ไม่เพียงทำลายความหลากหลายของระบบนิเวศและสร้างผลกระทบให้กับเกษตรกรรายย่อย แต่มันได้ทำลายระบบโภชนาการในระยะยาวของคนไทยไปด้วย

“สิ่งที่เกิดขึ้นแน่ ๆ หลังจากนี้คือ เกษตรกรที่อยู่ตามชายฝั่งและได้รับผลกระทบจากการระบาดของปลาหมอคางดำ จะถูกบีบให้เลี้ยงสัตว์น้ำในระบบปิดลักษณะฟาร์มอุตสาหกรรม ซึ่งต้องสั่งซื้อพันธุ์ปลา อาหารปลา รวมถึงเทคโนโลยีการเลี้ยงจากเอกชนยักษ์ใหญ่” ผอ.มูลนิธิชีววิถีคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้



หลักฐานเพียงพอต่อการเอาผิด CPF หรือไม่ ?

“วันนี้เรามีดีเอ็นเอ [ปลาหมอคางดำ] แค่ปี 65 และ ปี 60 เราขาดดีเอ็นเอปี 54 เราขาดจิ๊กซอว์ไปหนึ่งตัว ก็เลยไม่สามารถยืนยัน [ต้นตอการระบาด] ได้ เพียงแค่สันนิษฐานได้” นายณัฐชา ในฐานะรองประธาน อนุ กมธ. แก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำของรัฐสภา กล่าว เมื่อผู้สื่อข่าวสอบถามว่าจากหลักฐานทั้งหมดที่มีในมือนั้นสามารถเอาผิดกับบริษัทผู้นำเข้าอย่าง CPF ได้หรือไม่

เขาบอกว่าในสัปดาห์หน้าจะเชิญคณะกรรมการกฤษฎีกาเข้ามาให้คำแนะนำหน่วยงานของรัฐ เพื่อหาช่องฟ้องร้องเอกชนต่อไป รวมถึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาประเมินมูลค่าความเสียหายต่อระบบนิเวศ และวันนี้ (25 ก.ค.) ทางอนุ กมธ.ฯ จะยื่นญัตติด่วนเพื่อยื่นขอเสนอแนะไปยังรัฐบาล เพื่อให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อจากนี้

“หากรัฐบาลไม่รับลูกต่อ ก็แสดงให้เห็นว่าเอื้อกัน ช่วยเหลือกัน และสื่อให้เห็นว่านายกรัฐมนตรีไม่ได้มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา” นายณัฐชาบอกกับบีบีซีไทย

“เราเคยเห็นการปะทะกับทุนใหญ่มาแล้วครั้งหนึ่งคือคดีหมูเถื่อน หมูเถื่อนจบไปแล้ว เราก็เห็นว่าใครชนะ” เขากล่าวโดยนัย “แต่วันนี้ปลาเถื่อน ใครจะชนะ เราต้องให้พี่น้องประชาชนช่วยกันติดตาม ไม่อย่างนั้นเรื่องนี้ก็จะเงียบไป และเราก็จะส่งต่อธรรมชาติแบบนี้ให้คนรุ่นหลัง”



ด้านนายวิฑูรย์ ผอ.มูลนิธิชีววิถี บอกว่า หลักฐานทั้งหมดในตอนนี้ชี้ให้เห็นว่าศูนย์กลางการระบาดเริ่มต้นจากศูนย์ทดลองหรือฟาร์มของเอกชนใน ต.ยี่สาร ของ CPF ไม่ว่าจะเป็นหลักฐานการนำเข้าของบริษัทฯ ภาพถ่ายทางอากาศจากรายงานข่าวของไทยพีบีเอสที่ทำให้เห็นว่าเป็นสภาพแวดล้อมแบบเปิด ไม่ใช่ระบบปิดอย่างที่เอกชนกล่าวอ้าง และอยู่ติดกับลำคลองธรรมชาติที่เชื่อมต่อไปยังลำน้ำสายหลักของสมุทรสงครามไปจนถึงเพชรบุรี รวมถึงหลักฐานจากการตรวจเทียบดีเอ็นเอของปลาที่ระบาดในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งวิจัยโดยกรมประมง

“การที่ไม่มีดีเอ็นเอของปลาปี 2554 ที่นำเข้ามา ไม่ได้เป็นปัญหาเลย เรากำลังจะเปิดเผยหลักฐานเด็ดวันพรุ่งนี้ (26 ก.ค.) ซึ่งเป็นภาพถ่ายภายในฟาร์มยี่สารของเอกชนที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทฯ เลี้ยงปลาหมอคางดำมาตลอดตั้งแต่ปี 2553-2560” โดยเขาบอกว่าได้ภาพถ่ายมาจากอดีตเจ้าหน้าที่ที่เคยทำงานในศูนย์ทดลองของ CPF ที่ยี่สาร

ผอ.มูลนิธิชีววิถี กล่าวต่อว่า ทางเครือข่ายภาคประชาสังคมมั่นใจมากว่าจะสามารถฟ้องร้องบริษัทเอกชนผู้ขออนุญาตนำเข้าปลาชนิดนี้เมื่อ 14 ปีก่อนได้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือแนวทางการฟ้องร้องเอกชน นำโดยมูลนิธชีววิถี, สภาทนายความฯ, มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) รวมถึงตัวแทนชาวบ้านใน จ.สมุทรสงคราม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด

“ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบพูดชัดเจนว่าไม่ต้องการให้นำภาษีประชาชน มาผ่านงบของรัฐบาลเพื่อใช้เยียวยา” นายวิทูรย์กล่าว

https://www.bbc.com/thai/articles/cx0218jl91go


BIOTHAI แฉข้อมูล ปลาหมอคางดำไม่ได้ตายหลังนำเข้า ท้า #CPF อย่าพูดลอยๆ จัดหลักฐานมาพิสูจน์ หนุนเกษตรกรฟ้อง



Kannikar Kijtiwatchakul
16 hours ago
·
BIOTHAI ชี้สังคมอย่าหลงทิศ มัวหา DNA หมอคางดำล็อตแรก แฉข้อมูล ปลาหมอคางดำที่นำเข้าครั้งแรกไม่เคยตาย เลี้ยงในบ่อดินไม่ใช่บ่อซีเมนต์ระบบปิด เพาะพันธุ์ และผสมพันธุ์ต่อมา เพิ่งเลิกไปปี 60 ท้า #CPF หากไม่จริง พิสูจน์ด้วยหลักฐาน #เตรียมฟ้อ
สรุปสั้นๆวันนี้


ฺBIOTHAI เปิด #นิยายปลาตาย2000ตัว #ปลาหมอคางดำ #ฟาร์มยี่สาร #ซีพี #CPF



BIOTHAI
11 hours ago
·
#นิยายปลาตาย2000ตัว #ปลาหมอคางดำ #ฟาร์มยี่สาร #ซีพี #CPF
กราบขอบคุณอดีตเจ้าหน้าที่ฟาร์มยี่สารที่มอบภาพถ่ายในฟาร์มชุดนี้ให้



ระบบน้ำในฟาร์มจะทำระบบปิดคือโซนน้ำดีและน้ำเสียในฟาร์มจะเป็นระบบปิดคือน้ำเสียจะวนไปบำบัดในบ่อใหญ่แล้วเวียนกลับมาใช้ใหม่ ถ้าน้ำในระบบหายไปเยอะจะดึงน้ำจากคลองธรรมชาติเข้าไปเติม ปลาในระบบมันหลุดอยู่ในบ่อบำบัด ในคลองส่งน้ำต่างๆ นานๆ เข้า จะมีการเคลียร์บ่อเก็บน้ำบ่อบำบัดน้ำ ก็ต้องสูบน้ำทิ้งออกนอกฟาร์ม เพื่อเคลียร์ปลาในบ่อ ในคลองส่งน้ำ ในฟาร์ม ตรงนี้แหละที่ปลาจะหลุดไปในคลองธรรมชาติ








https://www.facebook.com/biothai.net/posts/pfbid02z15UHSHne1fVtpDixzcJ5yRndgUuCXoyW28ctnG3LuWZkvm1qJT7rfEBz6mJbWGtl