thaiarmedforce.com was live.
7h ·
TAF MilTalk 91 - ชวนคุ้ยเอกสารงบ ดูงบกลาโหม 67 มูลค่า 1.98 แสนล้าน
เอกสารงบประมาณไม่ใช่ความลับ เอกสารหนาเป็นหมื่นหน้ามีเผยแพร่ให้ประชาชนโหลดกันได้ฟรีที่เว็บสำนักงบประมาณ และต้องไม่ใช่ความลับ ประชาชนเจ้าของเงินย่างเราควรจะได้รู้ว่าเงินถูกเอาไปทำอะไรบ้าง ในส่วนของ #งบกลาโหม ปีนี้ได้ 1.98 แสนล้าน เพิ่มขึ้น 3.8 พันล้าน เราชวนมาเปิดเอกสารไล่ดูไปพร้อม ๆ กันว่า มีอะไรน่าสนใจในงบ #กลาโหม บ้าง มาช่วยกันดูพร้อมกัน 2 ทุ่มวันนี้ครับ
#งบประมาณ67
.....
thaiarmedforce @ThaiArmedForce 15h
อันนี้คือเอกสารของบประมาณผูกพันเพื่อจัดหาอาวุธของ #กองทัพบก ในปี 2567 ซึ่งมีตัวเลขและจำนวนโครงการชัดเจนว่าต้องการขอเท่าไหร่
ส่วนรายละเอียด สงสัยจะเขียนด้วยหมึกล่องหน คนธรรมดาเลยมองไม่เห็น
เงิน 1.4 พันล้านบาทในปี 67 รวมต้องใช้ 9.5 พันล้านตลอด 3 ปี ให้รายละเอียดแค่นี้ เป็นคุณ คุณว่าน่าให้ไหมครับ
------------------
พูดแบบนี้จะมีคนเถียงว่า เดี๋ยวเขาก็ให้ดูในห้องกรรมาธิการ #งบประมาณ ตอนพิจารณาวาระ 2
แต่คำถามก็คือ แต่ละกองทัพเข้ามาดีเฟ้นงบประมาณ มีเวลาชั่วโมงหน่อย ๆ โยนเอกสารปึกหนึ่งให้ แล้วบอกให้พิจารณา เสร็จแล้วจะเก็บกลับ คำถามคือใครมันจะไปดูทัน สุดท้ายก็คือ โครงการส่วนมากก็ถูกปล่อยออกมา ไม่ได้มีเวลาตรวจสอบให้ชัดเจน แล้วก็มาซื้ออาวุธมั่ว ๆ หลุดออกมาให้เห็นกันทุกปี
ไม่ใช่แค่กองทัพบก แต่ทุกหน่วยงาน ทั้งสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพเรือ กองทัพอากาศ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เป็นแบบนี้ทั้งหมด บางหน่วยงานอย่างสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ขอเงิน 497 ล้าน เขียนประโยคเดียวว่า จะไปพัฒนาต้นแบบอาวุธ แค่นี้จบ ไม่ให้รู้อะไร แบบนี้มันเหมาะสมตรงไหน
แล้วไม่ใช่เพิ่งมาเป็นในรัฐบาลนี้ เป็นแบบนี้มานานแล้วไม่ว่ารัฐบาลสีไหน ทั้งที่รัฐบาลหลายรัฐบาลมีนโยบาย Open Government
------------------
และพูดแบบนี้จะมีคนเถียงอีกว่า ก็การ #ซื้ออาวุธ มันเป็นความลับ ไม่ควรให้ใครรู้
เราไม่เถียงเรื่องความลับทางทหาร แต่การตีคลุมทุกอย่างว่าเป็นความลับ มาขอเงินซื้ออาวุธหลายหมื่นล้าน แต่ไม่สามารถให้ผู้พิจารณางบประมาณซึ่งก็คือนักการเมือง หรือเจ้าของเงินและเจ้านายของข้าราชการซึ่งก็คือประชาชนรู้ได้เลยสักอย่างเดียว แค่บอกให้เชื่อมั่นว่ากองทัพคิดมาดีแล้ว แบบนี้มันน่าเชื่อไหม เพราะสุดท้ายเห็นได้เงินไปก็กลายเป็นเรือเหาะที่บินไม่ขึ้น จรวดที่ยิงไม่ออก เรือดำน้ำที่ไม่มีเครื่องยนต์ เครื่องบินที่ซื้อมาก็ใช้ไม่ได้ หรืออาวุธที่วิจัยไปก็ไม่มีใครเอาทุกที
ทั้งที่ประเทศอื่นที่เจริญแล้วแถวนี้ เขาทำแผนบอกประชาชนและคนทั้งโลกเลยด้วยซ้ำว่า ในอีกหลายปีข้างหน้าเขาจะซื้อหาอะไรบ้าง บริษัทต่าง ๆ จะได้เตรียมตัวเตรียมข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ที่สุดกับประเทศ บริษัทท้องถิ่นจะได้มีเวลาวิจัยอาวุธเพื่อมาแข่งกับเขา
แต่สำหรับกองทัพไทย บอกว่าลับ ลับมันทุกอย่าง แต่ประชาชนรู้ข่าวจากนอกประเทศทุกที แปลว่าต่างชาติรู้ก่อน แล้วแผนเสริมสร้างกำลังรบที่บอกหมดทุกอย่างว่าอยากได้อะไร สเปคเท่าไหร่ กลับอยู่ในมือนายหน้าค้าอาวุธไม่กี่ราย เพื่อให้ข้อมูลรู้ไม่กี่คน เวลาขายจะได้ไม่มีคนมาแข่งมาก สมประโยชน์กันไป
-------------------
วิธีการที่ถูกต้อง คือไม่ต้องบอกหมดถึงสเปคหรือข้อมูลลึกซึ่งอะไร แค่เขียนชื่อโครงการมาให้ชัดเจนว่าจะเอาไปทำอะไร ซื้ออะไร จำนวนเท่าไหร่ เงินเท่าไหร่ แค่นี้ก็พอแล้ว สเปคของที่อยากได้ลึก ๆ ก็ไม่ต้องบอก ไปแจกเอกสารแล้วเก็บกลับในห้องงบประมาณเหมือนเดิมก็ได้ คนพิจารณางบจะได้มีเวลาหาข้อมูลและพิจารณา
แบบกองทัพบกนี้ ก็เขียนแจกแจงโครงการ เช่น โครงการจัดซื้อจรวดต่อสู้อากาศยานเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศทางยุทธศาสตร์ จำนวน 1 ระบบ งบประมาณ 3 พันล้าน เอาแค่นี้ก็พอ ไม่เสียความลับอะไรอยู่แล้ว คนพิจารณางบจะได้มาดูความเหมาะสม ประชาชนก็จะได้ทราบว่า แทนที่เงิน 3 พันล้านจะเอาไปสร้างถนน สร้างโรงพยาบาล ช่วยเหลือเกษตรกร หรือสนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์ แต่ต้องเอามาซื้ออาวุธ มันคุ้มค่าหรือเหมาะสมแค่ไหน อย่าบอกว่าเรื่องการทหาร ทหารรู้ดีอยู่คนเดียว คนอื่นไม่รู้หรอก มันไม่ใช่แล้ว
เพราะไม่อย่างงั้น ภาพลักษณ์ของกองทัพก็จะจมอยู่กับการเป็นแดนสนทยา แหล่งประโยชน์ของการซื้ออาวุธ และขับเคลื่อนด้วยบริษัทนายหน้าค้าอาวุธ อยู่แบบนี้
.....
thaiarmedforce @ThaiArmedForce 15h
อันนี้คือเอกสารของบประมาณผูกพันเพื่อจัดหาอาวุธของ #กองทัพบก ในปี 2567 ซึ่งมีตัวเลขและจำนวนโครงการชัดเจนว่าต้องการขอเท่าไหร่
ส่วนรายละเอียด สงสัยจะเขียนด้วยหมึกล่องหน คนธรรมดาเลยมองไม่เห็น
เงิน 1.4 พันล้านบาทในปี 67 รวมต้องใช้ 9.5 พันล้านตลอด 3 ปี ให้รายละเอียดแค่นี้ เป็นคุณ คุณว่าน่าให้ไหมครับ
------------------
พูดแบบนี้จะมีคนเถียงว่า เดี๋ยวเขาก็ให้ดูในห้องกรรมาธิการ #งบประมาณ ตอนพิจารณาวาระ 2
แต่คำถามก็คือ แต่ละกองทัพเข้ามาดีเฟ้นงบประมาณ มีเวลาชั่วโมงหน่อย ๆ โยนเอกสารปึกหนึ่งให้ แล้วบอกให้พิจารณา เสร็จแล้วจะเก็บกลับ คำถามคือใครมันจะไปดูทัน สุดท้ายก็คือ โครงการส่วนมากก็ถูกปล่อยออกมา ไม่ได้มีเวลาตรวจสอบให้ชัดเจน แล้วก็มาซื้ออาวุธมั่ว ๆ หลุดออกมาให้เห็นกันทุกปี
ไม่ใช่แค่กองทัพบก แต่ทุกหน่วยงาน ทั้งสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพเรือ กองทัพอากาศ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เป็นแบบนี้ทั้งหมด บางหน่วยงานอย่างสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ขอเงิน 497 ล้าน เขียนประโยคเดียวว่า จะไปพัฒนาต้นแบบอาวุธ แค่นี้จบ ไม่ให้รู้อะไร แบบนี้มันเหมาะสมตรงไหน
แล้วไม่ใช่เพิ่งมาเป็นในรัฐบาลนี้ เป็นแบบนี้มานานแล้วไม่ว่ารัฐบาลสีไหน ทั้งที่รัฐบาลหลายรัฐบาลมีนโยบาย Open Government
------------------
และพูดแบบนี้จะมีคนเถียงอีกว่า ก็การ #ซื้ออาวุธ มันเป็นความลับ ไม่ควรให้ใครรู้
เราไม่เถียงเรื่องความลับทางทหาร แต่การตีคลุมทุกอย่างว่าเป็นความลับ มาขอเงินซื้ออาวุธหลายหมื่นล้าน แต่ไม่สามารถให้ผู้พิจารณางบประมาณซึ่งก็คือนักการเมือง หรือเจ้าของเงินและเจ้านายของข้าราชการซึ่งก็คือประชาชนรู้ได้เลยสักอย่างเดียว แค่บอกให้เชื่อมั่นว่ากองทัพคิดมาดีแล้ว แบบนี้มันน่าเชื่อไหม เพราะสุดท้ายเห็นได้เงินไปก็กลายเป็นเรือเหาะที่บินไม่ขึ้น จรวดที่ยิงไม่ออก เรือดำน้ำที่ไม่มีเครื่องยนต์ เครื่องบินที่ซื้อมาก็ใช้ไม่ได้ หรืออาวุธที่วิจัยไปก็ไม่มีใครเอาทุกที
ทั้งที่ประเทศอื่นที่เจริญแล้วแถวนี้ เขาทำแผนบอกประชาชนและคนทั้งโลกเลยด้วยซ้ำว่า ในอีกหลายปีข้างหน้าเขาจะซื้อหาอะไรบ้าง บริษัทต่าง ๆ จะได้เตรียมตัวเตรียมข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ที่สุดกับประเทศ บริษัทท้องถิ่นจะได้มีเวลาวิจัยอาวุธเพื่อมาแข่งกับเขา
แต่สำหรับกองทัพไทย บอกว่าลับ ลับมันทุกอย่าง แต่ประชาชนรู้ข่าวจากนอกประเทศทุกที แปลว่าต่างชาติรู้ก่อน แล้วแผนเสริมสร้างกำลังรบที่บอกหมดทุกอย่างว่าอยากได้อะไร สเปคเท่าไหร่ กลับอยู่ในมือนายหน้าค้าอาวุธไม่กี่ราย เพื่อให้ข้อมูลรู้ไม่กี่คน เวลาขายจะได้ไม่มีคนมาแข่งมาก สมประโยชน์กันไป
-------------------
วิธีการที่ถูกต้อง คือไม่ต้องบอกหมดถึงสเปคหรือข้อมูลลึกซึ่งอะไร แค่เขียนชื่อโครงการมาให้ชัดเจนว่าจะเอาไปทำอะไร ซื้ออะไร จำนวนเท่าไหร่ เงินเท่าไหร่ แค่นี้ก็พอแล้ว สเปคของที่อยากได้ลึก ๆ ก็ไม่ต้องบอก ไปแจกเอกสารแล้วเก็บกลับในห้องงบประมาณเหมือนเดิมก็ได้ คนพิจารณางบจะได้มีเวลาหาข้อมูลและพิจารณา
แบบกองทัพบกนี้ ก็เขียนแจกแจงโครงการ เช่น โครงการจัดซื้อจรวดต่อสู้อากาศยานเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศทางยุทธศาสตร์ จำนวน 1 ระบบ งบประมาณ 3 พันล้าน เอาแค่นี้ก็พอ ไม่เสียความลับอะไรอยู่แล้ว คนพิจารณางบจะได้มาดูความเหมาะสม ประชาชนก็จะได้ทราบว่า แทนที่เงิน 3 พันล้านจะเอาไปสร้างถนน สร้างโรงพยาบาล ช่วยเหลือเกษตรกร หรือสนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์ แต่ต้องเอามาซื้ออาวุธ มันคุ้มค่าหรือเหมาะสมแค่ไหน อย่าบอกว่าเรื่องการทหาร ทหารรู้ดีอยู่คนเดียว คนอื่นไม่รู้หรอก มันไม่ใช่แล้ว
เพราะไม่อย่างงั้น ภาพลักษณ์ของกองทัพก็จะจมอยู่กับการเป็นแดนสนทยา แหล่งประโยชน์ของการซื้ออาวุธ และขับเคลื่อนด้วยบริษัทนายหน้าค้าอาวุธ อยู่แบบนี้