วันอังคาร, ธันวาคม 26, 2566

Ilaw โพสต์ถาม "คิดอย่างไรกับคำถามประชามติร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ไม่แก้หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ ช่วยไปออกความเห็น






 


iLaw
6h ·
.....  
กรรมการประชามติสรุป ถามประชามติเขียนรธน. ใหม่ไม่แตะหมวด 1 หมวด 2 จ่อเสนอครม. ภายในไตรมาสแรกปี 67


เมื่อ 25 ธ.ค. 2566 โดย iLaw

25 ธันวาคม 2566 คณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (คณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติ) โดยมีภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติ ผู้แถลงสรุปแนวทางจัดทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ

หลังคณะกรรมการประชุมสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นประชาชนในประเด็นการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ทั้งสี่ภูมิภาค กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ กลุ่มวิชาชีพ นักศึกษา ภาคประชาสังคมที่เคลื่อนไหวเรื่องการเขียนรัฐธรรมนูญ รวมถึงความคิดเห็นของสมาชิกรัฐสภา (สส. และ สว.) ที่ประชุมคณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติเห็นว่า สิ่งที่สำคัญคือ คำถามประชามติการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ต้องสอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 4/2564 ที่ระบุว่าประชาชนเป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ และได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่า จะถามคำถามประชามติคำถามเดียวใจความว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ให้มีการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยไม่แก้ไข หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์”

ส่วนสิ่งที่ประชาชนหรือภาคประชาชนสะท้อนความคิดเห็นที่แตกต่างไว้นั้น ทางคณะกรรมการฯ จะบันทึกสาระสำคัญทั้งหมด และให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา โดยคณะกรรมการฯ จะนำรายงานการรับฟังความคิดเห็นไปเสนอครม. ในประมาณช่วงเดือนมกราคมหรือช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 จากนี้ไปจะเป็นไปตามขั้นตอนที่รวดเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพื่อให้การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่แล้วเสร็จภายในสี่ปี ตามกรอบระยะเวลาที่ ครม. แถลงนโยบายต่อรัฐสภา และรายงานผลการรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติ จะเปิดเผยต่อสาธารณะต่อไป

สำหรับประเด็นจำนวนครั้งในการทำประชามติเพื่อเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ภูมิธรรม เวชยชัย ประธานกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติ ระบุว่าจะทำสามครั้ง 1) การทำประชามติถามประชาชนว่าเห็นด้วยกับการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ 2) การทำประชามติตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 256 และ 3) การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ส่วนเรื่องที่มาของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) การออกแบบที่มาของสสร. ขึ้นอยู่กับกระบวนการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในรัฐสภา

ประเด็นงบประมาณในการจัดทำประชามติ ซึ่งในการทำประชามติหนึ่งครั้งจะใช้งบประมาณประมาณสามพันล้านบาท ภูมิธรรม ระบุว่า การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับประชาชน สิทธิเสรีภาพประชาชน การพัฒนาประเทศ หากจำเป็นต้องใช้งบประมาณสามพันล้านก็จำเป็นที่ต้องเสีย แต่จะพยายามจัดการให้ประหยัดงบประมาณให้มากที่สุด ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ ก็พยายามพิจารณาหาวิธีการที่จะช่วยประหยัดงบประมาณ เช่น จะจัดประชามติไปพร้อมกับการเลือกตั้ง อบจ. หรือไม่

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
ทำความรู้จัก 34 กรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติ ภายใต้รัฐบาลเศรษฐา
พงศ์เทพ ยืนยัน ระบอบการปกครองเปลี่ยนไม่ได้ แต่หมวด1-2 ต้องแก้ได้
ประชามติ “ล้มเหลว” ในต่างประเทศ เพราะไม่สะท้อนความเห็นประชาชน
คำถามประชามติไม่ดี ระวังได้ “รัฐธรรมนูญเก่าในขวดใหม่”
ปัญหา “เสียงเกินกึ่งหนึ่งสองชั้น” ใน พ.ร.บ.ประชามติ
เตรียมทำประชามติ 3 ครั้ง สู่รัฐธรรมนูญใหม่ หลังพรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาล
กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญให้ความเห็นแนวทางประชามติสู่รธน.ใหม่ ยันคำถามต้องเปิดกว้างและเลือกตั้งสสร. 100%