วันเสาร์, มกราคม 31, 2558

อเมริกาก็คอรัปชั่น เว้นแต่... :บทคุยอ่านเอาเรื่อง


เชลดอน ซิลเวอร์ ประธานสภาแห่งมลรัฐนิวยอร์คที่ถูกดำเนินคดีคอรัปชั่น

ถ่ายทอดคำจากบทความบนหน้าบล็อกของสำนักข่าวรอยเตอร์เรื่อง 'American corruption is exceptional, too.'  เขียนโดย แทร์รี่ กอลเวย์

หมายเหตุ :ข้อเขียนนี้แม้จะไม่เกี่ยวข้องอย่างใดๆ กับกรณีที่ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ นายแดเนียล รัสเซิล ไปพูดในประเทศไทยระหว่างการเยือนอย่างทางการสองวัน  อันเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาแสดงความไม่พอใจจากผู้นำและรัฐบาลไทย พร้อมด้วยสมาชิกบางคนในสภานิติบัญญัติ อันล้วนแต่มาจากการจับตั้งโดยอำนาจรัฐประหารหลังการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากเสียงข้างมากเด็ดขาดในการเลือกตั้ง

หากแต่ผู้ถอดความบทคุยนี้พบว่าการตอบโต้กลับต่อสหรัฐที่ออกมา มิได้มีลักษณะอันน่ารับฟังเทียบเคียงได้กับข้อตำหนิและเสนอแนะที่ผู้ช่วย รมต. ต่างประเทศสหรัฐฝากไว้เท่าใดนัก การอ้างว่าสหรัฐไม่เข้าใจไทยบ้าง แทรกแซงกิจการภายในบ้าง รายหนึ่งถึงกับเลือกใช้คำว่า เสือกท่ามกลางการประชุมอภิปรายในองค์กรที่เรียกว่าสภา ยิ่งจะทำให้ความน่าเชื่อถือ หรือ credibility ของคณะผู้ปกครองประเทศไทยยิ่งหดถอยลงไป
ภาพล้อเลียนคำพูดของประธานกรรมาธิการต่างประเทศ สนช.

ปะเหมาะพอดีกับที่มีการตีพิมพ์บทความของนายกอลเวย์ ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงข้อบกพร่องทางการเมืองในสหรัฐเองเกี่ยวกับการคอรัปชั่น โดยผู้เขียนชี้ให้เห็นว่าเป็นความผิดพลาด (shortcomings) ในแวดวงของผู้ทรงอิทธิพลทางการปกครอง ที่เกิดขึ้นได้ทั่วทุกหัวระแหง ทั้งแห่งที่มีการจัดระเบียบอยู่ร่วมกันอย่างโลกยุคใหม่ และในถิ่นที่กำกับควบคุมความเป็นรัฐชาติอย่างดึกดำบรรพ์

แต่การจัดการ (manage) หรือแก้ไข (remedy) ปัญหาคอรัปชั่นนั่นสิเป็นความแตกต่างระหว่างประเทศที่มีระเบียบการอยู่ร่วมกันด้วยความเสมอภาคและพอใจของคนส่วนใหญ่ ซึ่งเรียกว่าประชาธิปไตย กับประเทศที่ยังล้าหลังงมงายในระเบียบสังคมที่อาศัยอำนาจข่มขู่ให้คนส่วนใหญ่เกรงกลัวยอมรับการชี้นำและเอาเปรียบโดยศิโรราบ

ข้อเขียนเช่นนี้ชี้ถึงการมีแนวคิดอย่างบริบูรณ์ทุกกระบวน อันสามารถเรียกว่าสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มปากคำ

ระยิบ เผ่ามโน

นายกอลเวย์เริ่มบทความของเขาด้วยเรื่องราวอื้อฉาวในวงการเมืองระดับสูงของมลรัฐนิวยอร์คขณะนี้ ซึ่งเมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม ๕๘ นายเชลดอน ซิลเวอร์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรของรัฐนิวยอร์ควัย ๗๐ ปี ถูกจับกุมดำเนินคดีในข้อหาคอรัปชั่นมากมายหลายกรณี (Allegedly used official position to obtain $4 billions in bribes and kickbacks.) ที่ทำให้เขาร่ำรวยมหาศาลและทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของมลรัฐ อย่างชนิดไม่เคยปรากฏต่อสายตาสาธารณะชนมาเลยเป็นเวลาเนิ่นนาน

คอรัปชั่น อาชญากรรมที่นายซิลเวอร์ถูกดำเนินคดีนี้ มิใช่เป็นกรณีจำเพาะเจาะจงของวงการเมืองมลรัฐชื่อดังแห่งนี้ หรือในสหรัฐเองโดยรวม ระบบการเมืองและทางปฏิบัติอาจแตกต่างกันไปจากชาติหนึ่งสู่อีกชาติหนึ่ง จากคาบสมุทรหนึ่งไปยังอีกคาบสมุทรหนึ่ง แต่คอรัปชั่นเป็นสากล เหมือนกันหมด พลเมืองที่ได้รับผลกระทบจากคดีคอรัปชั่นตั้งแต่เบจิงถึงคาบุล หรือจากมอสโคว์ถึงเม็กซิโกซิตี้ แน่นอนย่อมจำใส่ใจในถ้อยโจษจรรที่ว่า 'อำนาจย่อมฉ้อฉล อำนาจสูงสุดยิ่งคดโกงเหนืออื่นใด'

“แต่นี่ความแตกต่างระหว่างสหรัฐและประเทศที่ไร้ขื่อแปทางกฏหมายหลายแห่ง ที่บังเอิญขณะนี้เป็นดินแดนมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อสหรัฐ นักการเมืองอเมริกันที่คดโกงมักถูกจับได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง บางครั้งเพราะว่าพวกเขาเหลิง บางคราวเนื่องจากฝีมือของอัยการที่มุ่งมั่นสร้างผลงาน หรือจากนักข่าวที่เสาะสืบเข้าไปขุดคุ้ยเอามาเปิดโปง”

ในนิวยอร์คหลังสงครามกลางเมืองไม่มีใครทรงอิทธิพลเท่าวิลเลี่ยม ทวี้ด สุดยอดแห่งกลไกการเมืองของแทมมานี่ฮอล เขามีเส้นสายอยู่ในคลังหลวงที่สามารถหลนผลประโยชน์ให้จนเหลิง ถูกฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองนำเอาไปสอดให้หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์คไทม์เปิดโปงในปี ค.ศ. ๑๘๗๑ ทวี้ดถูกจับและตัดสินความผิดส่งเข้าคุก เขาตายในคุกอย่างคนสิ้นไร้เมื่ออายุ ๕๕ ปี
วิลเลี่ยม เมซี่ ทวี้ด

สปิโร ที แอ็กนิว อีกคนที่เคยทรงอิทธิพลทางการเมืองของอเมริกา เขาเป็นถึงรองประธานาธิบดี เพียงไม่ถึง ๑ เดือนก่อนที่ประธานาธิบดีริชาร์ด เอ็ม นิกสัน จะได้รับเลือกตั้งซ้ำในปี ค.ศ. ๑๙๗๓ แอ็กนิวถูกดำเนินคดีในข้อหารับสินบน เขาให้การไม่ขอต่อสู้แล้วต้องลาออกจากตำแหน่งอย่างน่าละอาย อีกหนึ่งปีให้หลังนิกสันก็ต้องลาออกฐานใช้อำนาจไม่เป็นธรรมยิ่งกว่ารับสินบาตรคาดสินบน

“ต้องขอบคุณบรรดานักหนังสือพิมพ์ที่กล้าหาญ และอัยการที่ปฏิเสธการคดโกง รายชื่อพวกรับสินบาตรคาดสินบนในสหรัฐที่ถูกจับได้และตัดสินผิด มียาวเหยียด”

ในคดีของซิลเวอร์ อัยการพรี้ท แบฮาราราส แถลงคำฟ้องอันแหลมคมเปรียบเปรยทางปฏิบัติเน่าเฟะของนครอัลบานี่ย์ (เมืองหลวงของนิวยอร์ค) ประณามสิ่งที่เขาเรียกว่า ขาดความโปร่งใส ไร้ซึ่งมาตรการรับผิด (accountability) และปราศจากหลักการเป็นที่รู้กันว่าสิ่งที่เขาโจมตีอัลบานี่เหล่านี้ใช้ได้กับเมืองหลวงของมลรัฐอื่นๆ อีก ๔๙ แห่งอย่างสบาย

นักวิจารณ์การเมืองที่ช่ำชองพยายามที่จะชี้ชัดว่ามลรัฐไหนบ้างที่หมักหมมกับคอรัปชั่นมากกว่ากัน อิลลินอยส์มีผู้ว่าการรัฐสองคน จ๊อร์จ ไรอัน พรรครีพับลิกัน กับร็อด แบลโกเจวิช พรรคเดโมแครท ถูกส่งเข้าคุกตอนต้นศตวรรษที่ ๒๑ นี่เอง นิวเจอร์ซี่ย์ ก็ไม่น้อยหน้า นายกเทศมนตรีสามคนโดนคดีฉ้อฉลไม่ซ้ำแบบใคร เชื่อหรือไม่เรื่องเด่นอันหนึ่งคือ ขายตับ

“เมื่อศูนย์วิจัยไม่ฝักฝ่ายใดเพื่อความสัตย์ซื่อสาธารณะทำการสำรวจจริยธรรมและมาตรการรับผิดในมลรัฐต่างๆ ทั้ง ๕๐ แห่ง พบว่ามีเพียงสองรัฐที่ได้เกรดบีหรือสูงกว่า อีกเจ็ดแห่งเกรดเอฟ สอบตกไม่เป็นท่า”

“คอรัปชั่น จากพวกที่เงินซื้อได้ง่ายไปถึงพวกยิ่งใหญ่ไพศาล เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อนาทางการเมืองอเมริกันที่มักถูกนำไปเทียบเคียงเป็นครั้งคราวกับประเทศด้อยพัฒนา (ดู 'Is the U.S. as corrupt as the third world?') ซึ่งการจ่ายค่าน้ำร้อนน้ำชาและการเรียกค่าป่วยการเป็นวิถีทางทำธุรกิจที่ยอมรับกันเป็นของธรรมดา...”
ร็อด แบลโกเจวิช

“แต่ว่าการสรุปอย่างเย้ยหยันเช่นนั้น ละเลยประเด็นสำคัญอันหนึ่งไปว่า ท้ายที่สุดแล้ว (กรณีอย่าง) แบลโกเจวิชก็ต้องเจอกับการจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ และถูกดำเนินคดีจนถึงที่สุดแห่งกระบวนการยุติธรรม (ผู้ว่าการรัฐเวอร์จิเนีย บ็อบ) แม็คดอนเนิลล์ ถูกตัดสินความผิดฐานคอรัปชั่น และสั่งจำคุก ๒ ปี แม้เขากำลังวางแผนอุทธรณ์คำพิพากษาอยู่ก็ตาม (อดีตสมาชิกสภาผู้แทนฯ รัฐนิวยอร์ค ไมเคิล) กริมม์ ยอมรับสารภาพและกำลังรอคำตัดสินลงอาญา

คดีของซิลเวอร์แม้จะเพิ่งเริ่มต้น แต่ว่าเขาก็จำต้องลาออกจากตำแหน่งอันเป็นที่มาของอำนาจอันยิ่งยง นั่นคือประธานสภาผู้แทนของมลรัฐนิวยอร์ค ทว่ามันไม่ได้เป็นไปในแบบเดียวกันหรอกนะในประเทศที่สหรัฐพยายามเข้าไปสร้างอิทธิพล

กอลเวย์อ้างถึงกรณีอาฟกานิสถาน ที่พลเมืองครึ่งหนึ่งของประเทศยังคงถูกบังคับให้ต้องส่งส่วยให้แก่ผู้กุมอำนาจการเมืองในท้องที่ก่อนจะได้รับบริการสาธารณะ นี่ตามรายงานของหน่วยงานสหประชาชาติ ในประเทศที่ทำให้สหรัฐเกิดความใส่ใจในช่วงต้นศตวรรษที่ ๒๑ นี้ น้อยนักจะมีคนแบบอัยการพรี้ทของนิวยอร์คที่จดจ้องกับการรักษาผลประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ แล้วจัดการนำตัวคนโกงมาดำเนินคดี

“สหรัฐอาจไม่มีทางไปถึงที่สุดแห่งการบริหารงานสาธารณะโดยผุดผ่องเยี่ยงผลงานโดดเด่นแบบสแกนดิเนเวีย (ดู 'The ten least corrupt countries in the world.') เนื่องจากมีแรงเหนี่ยวรั้งจิตใจใหญ่หลวง เหตุเพราะมีเงินทองข้องเกี่ยวอยู่มหาศาล ดังปรากฏให้เห็นในคดีของนายซิลเวอร์ (๔ ล้านดอลลาร์)

หากแต่ขณะนี้เขาหลุดจากตำแหน่งและเตรียมตัวไปใช้ชีวิตอยู่ในกรงขัง ไม่มีที่อื่นไหนๆ ทำได้อย่างนี้หรอก

ฟัง "บิ๊กตู่-พรเพชร-ปิยบุตร-ชาวสวนยาง" นิยาม "ประชาธิปไตย" (คลิป คมคำคน) + ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ - โอบามา


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1422613058

ที่มา มติชนออนไลน์

Published on Jan 30, 2015
มติชนทีวี 30 มกราคม 2558 รายการคมคำคน ตอนนิยาม ประชาธิปไตย ในแบบของ บิ๊กตู่ ปิยบุตร แสงกนกกุล พรเพชร และชาวสวนยาง
...



ยังวันกลั่นกลอน : ชะตากรรม..



ชะตากรรม..

หลุดไอ้ห่า ด่าไอ้เหี้ย ละเหี่ยอก
นี่นายก หรือกิ้งคก* กระดกหัว
เก่งตวาด ฟาดงวงงา อุ๊ย!น่ากลัว
ทุด!ไอ้ชั่ว ขั้วกระโปก โลกรู้ทัน
แค่อ้าปาก เขาเห็นสิ้น ยันลิ้นไก่
ทำเก่งได้ แค่กะลา สารขันธ์
ออกพ้นรั้ว ก้มพับเพียบ งุดเงียบงัน
ถูกเยาะหยัน เป็นตลก รกเวที
ไม่มีหรอก จริงใจ อย่าไปหา
คนเบื้องหลัง สั่งลงมา ดันบ้าจี้
เขาเชิดเล่น ให้เต้นโขน ท้ายโดนดี
รู้อีกที ขี้เต็มตัว ชั่วคนเดียว.

* กิ้งคก (น.) สัตว์สปีชี่ส์ใหม่ เพิ่งค้นพบ
เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ (Cross hybrid)
ระหว่างกิ้งก่า กับคางคก เพิ่งค้นพบในประเทศไทยเมื่อ 22 พ.ค. 2557...

สุขุม ยังวัน
ooo

ประยุทธ์ ตอบคำถามนักข่าว 29-01-58

https://www.youtube.com/watch?v=Q7HNzSjzVes&feature=youtu.be&app=desktop



Three recent decisions by the Bangkok Military Tribunal affirming its jurisdiction over civilians violate international law and represent another serious setback for human rights in Thailand, the ICJ said today.


Source: International Commission of Jurists
January 29, 2015


Thailand: transfer all civilians to civilian courts


Three recent decisions by the Bangkok Military Tribunal affirming its jurisdiction over civilians violate international law and represent another serious setback for human rights in Thailand, the ICJ said today.

“International standards are clear – military tribunals are not competent to prosecute civilians,” said Wilder Tayler, ICJ’s Secretary General. “Military tribunals are not independent from the executive and the lack of an appeal removes any possibility of a remedy against the judgments of the Tribunal.”

The first case concerns a political activist, Sirapop Korn-arut, who was charged with violating an order of Thailand’s ruling military junta, the National Council for Peace and Order (NCPO), to report to the military for allegedly violating Thailand’s highly restrictive lese majeste law. The second case concerns the prosecution of an anti-military coup activist, Sombath Boonngam-anong, accused of violating NCPO orders and instigating rebellion in June 2014. In the third, a Thammasat University law lecturer, Worajet Pakeerat, is charged with violating a NCPO summons to report to the military.

All three had challenged the jurisdiction of the Tribunal to prosecute civilians.

In three separate rulings, delivered on 22, 23 and 26 January 2015, the Tribunal rejected the defendants’ challenges to its jurisdiction.

“These decisions set a worrying precedent for all civilians currently facing prosecution before military tribunals in Thailand. All cases of civilians facing charges before military tribunals must be transferred to civilian courts immediately if Thailand is to comply with its international obligations,” said Tayler.

According to observers, at least 100 civilians have faced prosecution in military tribunals since the military coup. The Royal Thai Government has not yet released the official number.

While the ICJ observed Professor Worajet’s hearing on 26 January, written decisions have not yet been made publically available in these cases.

Background

Under Article 14 of the International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR), to which Thailand is a state party, everyone has the right to a “fair and public hearing by a competent, independent and impartial tribunal established by law.”

The imposition of Martial Law and the State’s suspension of some of its obligations under the ICCPR, including the right to appeal guaranteed by Article 14(5) for cases heard by military tribunals, does not affect the applicability of this provision.

Article 61 of the Thai Act for the Organization of the Military Court prevents any appeal from the decision of military tribunals so long as Thailand remains under Martial Law, which has been in force nationwide since 22 May 2014.

The Principles Governing the Administration of Justice through Military Tribunals sets out principles that apply to state use of military tribunals.

Principle 5 states “Military courts should, in principle, have no jurisdiction to try civilians. In all circumstances, the State shall ensure that civilians accused of a criminal offence of any nature are tried by civilian courts.”

Further, Principle 2 clarifies that even in times of crisis military tribunals must “apply standards and procedures internationally recognized as guarantees of a fair trial.”


Civil and political rights, Military courts, Right to remedy and reparation


ความสัมพันธ์ไทย - สหรัฐ "มีวันนี้เพราะพี่ให้" + Clip US State Department Spokesperson Jen Psaki's Daily Press Briefing in Washington, DC on January 28, 2015 regarding Thailand...


ภาพจาก ประชาไท

ต่อกรณีสหรัฐ ผมก็แปลกใจกับอาการ "กร่าง" ของหลายคนในรัฐบาลทหารชุดนี้ มันเป็นความกร่างเสมือนว่าพวกท่าน ไม่เคยอ่านประวัติศาสตร์ไทย กับมะกันมาก่อน จนหลง แลลืมไปว่า สหรัฐที่ท่านกำลังด่าเช้าเย็น เคยให้อะไรกับท่านบ้าง และในความเป็นจริง สิ่งที่สหรัฐให้นั้น ยังรวมไปถึง "บางอุดมการณ์ที่ท่านเอามาโจมตีฝ่ายประชาธิปไตย" ด้วย

ย้อนกลับไปในปี 2480 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติเกิดสงครามเย็น ชาติรอบข้างพี่ไทยต่างล้วนเป็นคอมมิวนิสต์ จอมพล ป พิบูลสงครามนายกรัฐมนตรีสมัยนั้น เกลียดชังคอมมิวนิสต์มาก เพราะเนื้อแท้ของจอมพล ป แกยึดถือระบบฟาสซิสต์ หรือระบบท่านผู้นำ ซึ่งสวนทางกับคอมมิวนิสต์ ที่ทุกคนต้อง "เท่าเทียมตลอดไป"

ห้วงเวลานั้น มีคนจีนทะลักมาในประเทศมหาศาล จอมพล ป กลัวว่าอุดมการณ์คอมมิวนิสต์จะแทรกซึม พาให้ชาติเป็นคอมมิวนิสต์ตาม แกเลยไปขอจับมือกับสหรัฐ นี่คือปฐมบทความสำพันธ์ไทย มะกัน ในระบอบการเมืองยุคใหม่

ต่อมา สหรัฐมองเห็นว่าไทย มีความสำคัญ เพราะอยู่ในทำเลที่ดี ตรงกลางภูมิภาค แกก็เลย "ทุ่ม" ให้ไทยไม่อั้น เพราะ ในเมื่อไทยยอมจับมือสหรัฐ

แล้วถ้าหากคนไทยอยู่ดีกินดี ชาติที่เป็นอาณัติของโซเวียต และจีน ก็จะหันมาศิโรราบกับมะกัน

พลังทุ่มของพี่กัน โดดเด่นในช่วงจอมพลสฤษดิ์เป็นนายก มีการทุ่มเงินไม่ต่ำกว่าปีละ 2 พันล้านเหรียญในแต่ละปี ผ่านกองทุนมาร์แชล เพื่อมาช่วยพัฒนาการศึกษา (นิดา//ทุนนักเรียนไทย-สหรัฐ) สร้างถนน (สายมิตรภาพ) สร้างทางรถไฟ (กทม อุดร หนองคาย) สนามบิน (ดอนเมือง และสนามบินตามหัวเมือง) รวมไปถึงพัฒนาการเกษตร (ข้าวหอมมะลิ)

เรียกได้ว่าในยุคนั้น พี่ไทยเราเจริญที่สุดในเอเชีย เงินสะพันเข้ามามหาศาลบานเบอะ

สาธารณูปโภคครบครัน สะดวกสบาย ไฟฟ้า ประปา เข้าถึง

เท่านั้น ยังไม่สะใจพี่กัน เพราะพี่กันได้ส่งงบกลาโหม มาให้พี่ไทยใช้เล่น อีกบานทะโล่

เรียกว่าขุนทหารรวยกันถ้วนหน้า

แม้จะโดนนักศึกษาประท้วงว่ายอมอยู่ใต้ตีนมะกัน แต่ขุนทหาร ก็หาได้แยแส

ทั้งนี้ ความสัมพันธ์แบบ "พี่นี้ มีแต่ให้" ได้สิ้นสุดลงหลังจากสหรัฐยอมถอยทัพจากเวียดนาม กระนั้น มาถึงปัจจุบัน สหรัฐยังถือว่า เป็นชาติที่ขาดดุลการค้าให้ไทยเฉลี่ยแต่ละปี ไม่ต่ำกว่า 1.2 แสนล้านบาท (มีสถิติแนบด้านล่าง) ด้วยเพราะอานิสงค์ที่สหรัฐมองไทยเป็นมหามิตรแต่ชาติปางก่อน

มะกันจึงทำ FTA กับไทยเป็นชาติที่ 2 ในเอเชีย และรักษาสิทธิ์ดังกล่าวภายใต้สัญญาฉบับพิเศษ ที่เรียกว่า ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) ซึ่งสหรัฐมีสิทธิ์จะต่อ หรือยุติลงเมื่อไรก็ได้

จากนี้ สิ่งที่น่ากลัวคือ อาการกร่างไม่ไดูตาม้าตาเรือของใครหลายๆ คน อาจจะเป็นสาเหตุให้ไทย ไม่ได้รับสิทธิ์พิเศษทางการค้า และจะไม่ได้ต่ออายุ tpp ด้วย ทั้งนี้ หากไม่ได้ต่ออายุ จะส่งผลด้านความรู้สึก ต่อการค้าไทย ยุโรป เพราะ EU จะเลือกคบค้า กับคู่ค้าของสหรัฐ เสียเป็นส่วนใหญ่ อันเป็นสัญญาใจ ที่มีมาแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

"มึงรัก กูก็รัก"

อย่างไรก็ตาม มีไอ้โง่จากประเทศไทยหลายคนบอกว่า ไม่ง้อ ไม่แคร์ เพราะ ไทย จะอยู่กับจีน งั้นเชิญไปดูสถิติการค้าไทยจีน ที่ผมแนบมาให้

แล้วกลับไปตัดสินใจใหม่

ว่าใครควรเป็นมหามิตรกับไทย

Thailand Trading Report
http://www2.ops3.moc.go.th

Kulwit


...

ความเห็นจากเวป....

...

จากประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ ไทย สหรัฐ นี่โดยมากชนชั้นนำฝ่ายไทยนี่เป็นพวก "ปากกล้า ขาสั่น" นะครับ 

หน้าฉากอาจจะทำท่าเอาใจ พ่อยก แม่ยก แต่หลังฉากนี่ แทบจะคลานเข่าเข้าไปเลย
....




พี่ไทยจ๋อย..เขมรโลด.. เขมรผลิตรถไฟฟ้าได้เองแล้ว คันละ 9 หมื่นบาท ดูคลิป



วันที่ 17 ม.ค.58 เขมรผลิตรถไฟฟ้าได้เองแล้ว คันละ 9 หมื่นบาท.. ตอนนี้เขมร เป็นปลื้มมาก ผลิตรถ อังกอร์ อีวี 2013 ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า ชาร์ทแบตแต่ละครั้งวิ่งได้ 300 กม. ไม่ต้องรอชาร์ทเปลี่ยนแบตแล้ววิ่งต่อไปทันที ออกแบบสวยงาม ประตูยกปีกขึ้นจากด้านข้าง คันละราวกว่า 90,000 บาท ตัวท๊อปประมาณ 1.2 แสนบาท

ที่มา Thairec News


Made in Cambodia ANGKOR CAR 100% Khmer
https://www.youtube.com/watch?v=NtKCxV0dpGg#t=131


"อังกอร์ อีวี 2013" ที่ผลิตขึ้นภายในประเทศกัมพูชา รถยนต์ไฟฟ้าภายใต้ชื่อแบรนด์ ANGKOR "อังกอร์" ที่สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 60 กม./ชม. จากการออกแบบโดยนายเญียน ผลึก นักนวัตกรรมชาวกัมพูชา


อ่า ช่วงนี้ต้องเกาะติดสถานการณ์ไว้หน่อย หน้าสิ่วหน้าขวานนะเนี่ย อาจเกิดสงครามมหาเอเซียอาคเนย์ก็ได้ ใครจะรู้





อ่า ช่วงนี้ต้องเกาะติดสถานการณ์ไว้หน่อย หน้าสิ่วหน้าขวานนะเนี่ย อาจเกิดสงครามมหาเอเซียอาคเนย์ก็ได้ ใครจะรู้

หลังจากที่นักเขียน 'เดอะชาติ' คนหนึ่ง บอกว่าถ้าสหรัฐยังคงแสดงนิสัย 'Ugly American' ต่อไปละก็

"Thailand and the US should go their separate ways."

(http://www.nationmultimedia.com/opinion/The-Ugly-American-is-alive-and-kicking-30252976.html)

แถมท่านผู้บัญชาทัพบกกล่าวย้ำเรื่องงานของกลาโหม ว่าทั่นผู้ณรรมสั่งให้ตามไปดูสถานทูตสหรัฐ ตอนเดินสายพบแกนเสื้อแดงอิสาน

"ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จากการพูดคุยกันวันก่อนกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรมว.กลาโหม และการแสดงออกของส่วนต่างๆ น่าจะมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ไม่เกิดผลกระทบใดๆ สหรัฐฯเองก็ต้องเข้าใจประเทศไทยด้วย..."

(http://www.thairath.co.th/content/478060)

ไอ้การแสดงออกของส่วนต่างๆ ที่ ผบ. ว่า คงจะรวมถึงเมื่อประธานกรรมาธิการต่างประเทศ สนช. ผู้ยิ่งยง ออกมายืนเกาะโพเดี้ยมแถลง จะเรียกอุปทูตสหรัฐไปชี้แจง

วุ้ย คุณนายสายไปหน่อยมั้ย ก็ในเมื่ออุปทูต Murphy เขาแจงซ้ำ ย้ำหัวตะปูอีกครั้งแล้วว่า

"We will continue to urge the Thai government to take the necessary steps to bring the country back to democracy,"

(http://www.bangkokpost.com/news/general/461761)

แต่ที่น่าอกสั่นขวัญแขวนเสียยิ่งกว่าท่วงทำนองของกรรมาฯ ลากตั้ง เห็นจะเป็นบทบาทของม็อบออนไลน์

"V For Thailand ประกาศศึกไซเบอร์ นัดถล่มเพจโอบามา-สถานทูตสหรัฐฯ"

พาดหัวข่าวจาก http://hilight.kapook.com/view/115016 แจงภัยที่พวก 'วี' เขาจะใช้มาตรการขั้นเด็ดดวงถล่มเว็บ

"ประกาศ !!! ภารกิจสั่งสอนอเมริกา...เสือกไม่เข้าเรื่อง"

ด้วยยุทธวิธี ให้ทุกคนเข้าไปในเพจสถานทูตอเมริกา และของประธานาธิบดีโอบาม่าตามที่อยู่มี่แนบมาให้ แล้วทำการโพสต์ข้อความตามต่อไปนี้ให้มากที่สุด

"Here is the Kingdom of Thailand. We are independent country. We can handle all our internal matters by ourselves. We have nothing to do with you. Its none of your business. We, the majority of Thai people are warning you, dont interfere in Thailands internal affairs regarding Martial Law. We are very happy with this law as it stands."

ข่าวว่าซ่าหริ่มเข้าไปโพสต์กันเมามัน หารู้ไม่ทั่วโลกเขามองเห็นไตแลนเดียขณะนี้เป็น laughing stocks

นักข่าวบีบีซีประจำไทย Jonathan Head @pakhead เขียนเหน็บไว้เบาะๆ

"ถ้าจะมีเวลาไหนที่รัฐบาลไทยต้องหมุนหมายเลขฉุกเฉิน ร้องหาบริการ PR อย่างเร่งด่วนละก็ ตอนนี้ละเหมาะที่สุด

But generals w (oul) d need to learn 2 listen."


วันศุกร์, มกราคม 30, 2558

อุเหม่..."ประธานสนช. ซัด! สหรัฐฯ ถือตัวเป็นมหาอำนาจ แทรกแซงประเทศอื่น แต่สร้างปชต.ได้แค่เปลือก" ...บันทึกไว้ 5



ประธานสนช. ซัด! สหรัฐฯ ถือตัวเป็นมหาอำนาจ แทรกแซงประเทศอื่น แต่สร้างปชต.ได้แค่เปลือก

ที่มา มติชนออนไลน์
29 มกราคม พ.ศ. 2558
...
ชาวเน็ตถาม...

หมาหางด้วนบอกว่าหมาหางงอไม่สวย (มันต้องหางด้วนช่ายม้าย ถึงจะเท่)

เนื้อหาข่าว...

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แถลงข่าวตอบโต้การมาเยือนของนายเดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา กรณีการพูดบรรยายพิเศษ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนสร้างความเจ็บช้ำให้คนไทย ทั้งนี้นายพรเพชรไม่รู้สึกแปลกใจ และเห็นว่าการพบปะหารือดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องด้วยระเบียบการและวิธีการทางการทูต การกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ทำเป็นประจำ อย่างไรก็ตามตนเห็นว่าก็ยังดีกว่า การส่งสายลับเข้ามาสืบ หรือส่งซีไอเอ มาแทรกแซงกิจการภายในของประเทศ จะเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นเพราะสหรัฐฯถือตนเองเป็นมหาอำนาจนั่นเอง

ทั้งนี้ สนช.ถูกตั้งขึ้นหลังการ รัฐประหาร เพื่อให้ไทยมีนิติรัฐ คณะรัฐประหารของไทย ก็ได้เปลี่ยนถ่ายอำนาจมาเป็นนิติรัฐ เพื่อเดินหน้าสู่การเป็นประชาธิปไตยที่ยั่งยืน จึงอาจมีมุมมองไม่เหมือนสหรัฐฯ และการที่สหรัฐฯเข้าไปแทรกแซงหลายประเทศ ก็ทำได้เพียงจัดการเลือกตั้ง ให้ประเทศเหล่านั้น โดยมองว่าแค่การเลือกตั้งก็เป็นประชาธิปไตยเเล้ว และไม่สนใจบริบทอื่นๆ ว่าจะมีความขัดแย้งใดๆ

แต่ในมุมมอง คสช.ที่เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองมานาน จึงมุ่งมั่นที่จะปฏิรูปการเมืองและปูพื้นฐานสู่ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน มีการเลือกตั้ง ทั้งนี้ยืนยันว่าระบอบประชาธิปไตยของคนไทย คือระบอบที่ต้องปรับให้เข้ากับขนบธรรมเนียม ประเพณี และสิ่งยึดเหนี่ยวแบบไทย คือการมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การเข้ามาของตน ก็เข้ามาในอุดมการณ์เดียวกับ คสช. จึงขอยืนยันว่าการถอดถอน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และหลักนิติรัฐ นิติธรรม สหรัฐฯเอง ก็เคยมีการถอดถอนหรือ อิมพีชเม้น มาแล้ว กรณีประธานาธิบดี นิกสัน และประธานาธิบดีคลินตัน ก็เคยทำมาเเล้ว


สถานภาพ “สงครามเย็นยุคใหม่” ในทศวรรษ 2010s ในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้/กลุ่มประเทศอาเซียน ระหว่างฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตยที่มีสหรัฐเป็นผู้นำ กับฝ่ายโลก Authoritarianism led by Military



ผมอยากเสนอบทสรุปเบื้องต้นว่า นี้คือสถานภาพ “สงครามเย็นยุคใหม่” ในทศวรรษ 2010s ในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้/กลุ่มประเทศอาเซียน ระหว่างฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตยที่มีสหรัฐเป็นผู้นำ และมีแพ็คสนับสนุนเป็นอังกฤษ ฝรั่งเศส (อียู) แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฯลฯ กับฝ่ายโลก Authoritarianism led by Military ที่มีไทยเป็นผู้นำ

แดเนียล รัสเซล (Daniel Russel) เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐด้านภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (Assistant Secretary of State for East Asian and Pacific Affairs) นับเป็นผู้แทนสหรัฐที่มีตำแหน่งสูงในรัฐบาลโอบามาคนแรก ที่เดินทางเข้าไทย เพื่อ “รับฟัง” (hear) จากหลายฝ่ายถึงสถานการณ์การเมืองของไทย และแลกเปลี่ยนมุมมอง (exchanged perspectives) กับตัวแทนของฝ่ายรัฐบาลทหาร

ถ้ารัสเซลไม่มาไทย รัฐบาลโอบามาที่วอชิงตันดีซี สามารถ “รับฟัง” จากฝ่ายต่างๆ ถึงสถานการณ์การเมืองไทยอย่างลึกซึ้งได้หรือไม่?

คำตอบของคำถามนี้สำหรับนักรัฐศาสตร์และผู้อยู่ในวงการคือ “ได้” เพราะสถานทูตของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ มีการติดตามข่าวสารทั้งระดับกว้างและระดับลึกของประเทศต่างๆ อย่างใกล้ชิด นักการทูตระดับต่างๆ ได้เดินทางไปพบปะหรือเชิญหลายคนไปกินข้าวเพื่อสนทนาปราศรัย เพื่อ “รับฟัง” ข่าว และประเมินสถานการณ์กลับไปยังรัฐบาลของตนเอง

ตัวอย่างเช่น บันทึกรายงานสถานการณ์ของสถานทูตสหรัฐในไทยที่ตีพิมพ์เปิดเผยสถานการณ์การเมืองไทยในยุครัฐบาลทหารสฤษดิ์-ถนอม หลายเล่มใหญ่ เราสามารถเข้าถึงทางออนไลน์และโหลดหรือพริ้นต์มาอ่านได้อย่างสบายๆ

ซึ่งตอนที่ผมทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่องยุคทหารจอมพลถนอม ก็ได้เอกสารสหรัฐเหล่านี้ที่ช่วยให้เห็นสถานการณ์การเมืองไทยในยุครัฐเผด็จการทหารในช่วงเกือบยี่สิบปีนั้นได้อย่างยอดเยี่ยม ขณะที่ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ไทยที่ถูกเซ็นเซอร์และเซ็นเซอร์ตัวเองเพื่อไม่ให้ถูกปิด ไม่อาจให้ข่าวการเมืองอย่างลึกซึ้งได้มากนัก ภาพจากหนังสือพิมพ์ไทยจึงดูเหมือนว่า เหตุการณ์การเมืองในยุครัฐบาลทหารสฤษดิ์-ถนอม สงบนั้น รายงานสถานทูตสหรัฐชี้ให้เห็นภาพของลาวาภูเขาไฟที่กำลังจะระเบิด ... สังคมไทยเป้นเสมือนภูเขาไฟที่รอวันระเบิด เป็นต้นครับ

หรือกรณี Wikileek ที่สามารถนำเอาเอกสารรายงานของสถานทูตสหรัฐแบบสดๆ ร้อนๆ มาเปิดเผยในโลกออนไลน์ได้

สรุป แดเนียล รัสเซล ไม่ต้องมาไทยก็ได้ หากอยาก “รับฟัง” ข่าวสารข้อมูล

แต่คำถามที่ต้องถามทางวิชาการคือ รัสเซลมาไทยเพื่ออะไรกันแน่? นี้คือการปรากฏตัวครั้งแรกของผู้แทนสหรัฐในรอบ 8 เดือนกว่าที่ไทยอยู่ในอำนาจรัฐบาลทหารและกฎอัยการศึก

และเป็นการวางจังหวะก้าวล่วงหน้าได้ดีเหลือเกินมามาไทยหลังปรากฏการณ์พิพากษาความผิดในนโยบายเรื่องข้าวของอดีตนายกฯหญิงลักษณ์โดยสภาแต่งตั้งนิติบัญญัติแห่งชาติและฟ้องศาลโดยอัยการเพียง 2 วันเท่านั้น (ศ. 23 มกรา)... การมาวันนี้ของรัสเซลเป็นเหตุบังเอิญหรือ?

ใน 1 วัน 26 Jan. 2015 รัสเซลทำอะไรบ้าง?

เช้า “รับฟัง” คณะของอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ ที่สถานทูตสหรัฐ และน่าจะตามด้วยพบกับคณะผู้นำภาคประชาสังคม เช่น อ.จอห์น อึ๊งภากรณ์ อ.สุนัย ผาสุก อ.โคทม อารียา ตามมาด้วย “รับฟัง” คณะของอดีตนายกฯอภิสิทธิ์ ที่พรรคประชาธิปัตย์? และถัดมา “แลกเปลี่ยน” กับ นายทหาร รมต.กต.ไทย


บ่าย 13.30-16.00 รัสเซลปาฐกฯที่จุฬา ของสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ รัฐศาสตร์ ที่มี รศ.ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ นักวิชาการรัฐศาสตร์ไทยที่โลกรับฟัง เป็น ผอ. พร้อมถามตอบกับนักศึกษาปริญญาตรี ปาฐกถาเสร็จ สถานทูตสหรัฐก็ออกฉบับแปลภาษาไทยออนไลน์ให้อ่านกันทันที


เย็นให้รายการตอบโจทย์ของคุณณัฐฐา ช่อง TPBS สัมภาษณ์อย่างยาว ไม่ว่าช่อง TPBS จะออกสัมภาษณ์รัสเซลทั้งหมดหรือไม่ หรือไม่ออกอากาศในไทยเลยก็ตาม แต่สถานทูตสหรัฐในไทยก็ออกคำสัมภาษณ์ทุกถ้อยคำภาษาอังกฤษออนไลน์ให้อ่านกันทันที

สรุป 1 วัน รัสเซลทำ 6 อย่าง (ที่เปิดเผย)

และในวันเดียวกันนี้ เมื่อกรุงวอชิงตันดีซีเช้า โฆษก กต. สหรัฐ ก็พบปะตอบคำถามนักข่าวเกี่ยวกับประเทศต่างๆ หนึ่งในคำถามนั้นคือเรื่องของไทย ซึ่งได้สรุปสิ่งที่รัสเซลมาพูดและสื่อถึงรัฐบาลทหารไทย คือ

“ในการพบกับรัฐมนตรีต่างประเทศ ธนศักดิ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ รัสเซล ได้เน้นความสำคัญของความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐ แต่กล่าวชัดเจนด้วยว่า การยกเลิกกฎอัยการศึก, การฟื้นฟูเสรีภาพพื้นฐาน, รวมถึงเสรีภาพในการรวมตัวและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น, ความโปร่งใสและกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมนั้นสำคัญ ยิ่งต่อการฟื้นฟูประชาธิปไตยที่มั่นคงในประเทศไทย เขาเน้นย้ำว่าความสัมพันธ์ของเรากับประเทศไทยไม่อาจคืนสู่ปกติได้จนกว่า ประเทศไทยจะมีประชาธิปไตยอีกครั้ง เขาสรุปจุดนี้อย่างชัดเจนในการพบปะทั้งหมด”

ถอดรหัสการสื่อของสหรัฐต่อรัฐบาลทหารไทย คือ

1. การยกเลิกกฎอัยการศึก

2. การฟื้นฟูเสรีภาพพื้นฐาน, รวมถึงเสรีภาพในการรวมตัวและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น,

3. ความโปร่งใสและกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมนั้นสำคัญ ยิ่งต่อการฟื้นฟูประชาธิปไตยที่มั่นคงในประเทศไทย

4. ความสัมพันธ์ของเรา(สหรัฐ)กับประเทศไทยไม่อาจคืนสู่ปกติได้จนกว่า ประเทศไทยจะมีประชาธิปไตยอีกครั้ง

คำถามที่ยังต้องถาม

1. สหรัฐ ส่งรัสเซล มาพูดเฉยๆ จริงๆ หรือ? หรือว่านับแต่นี้ไป สหรัฐและผู้สนับสนุนมีมาตรการปฏิบัติ 2-3-4… ตามมา หลังจากที่รัฐบาลทหารจากยึดอำนาจของไทยเล่นบทยืดเยื้อมาถึง 8 เดือน ...

คำตอบนี้ ผมคิดว่า ถ้าใช้หลักวิชาการบวกกับหลักประสบการณ์การสอนเรื่องยาวๆ อาจารย์ก็จะวิเคราะห์ได้ไม่ยากว่า... มีแน่ๆ ... แต่จะอย่างไร? อันนี้ต้องคอยดู ... แต่ไม่นานหรอกครับ (ผมคิดถึง โงดิ่นเดียม ปี 2506 ก่อนสฤษดิ์ตายเล็กน้อย ที่ถูกทหารเวียดนามใต้อีกฝ่ายยึดอำนาจในทำเนียบประธานาธิบดีที่ไซ่ง่อน)

2. ทำไมสหรัฐ จึงต้องการให้ไทยกลับเข้าสู่ประชาธิปไตย?

คำตอบเบื้องต้นคือ หากทหารไทยทำเช่นนี้ได้ คืออยู่ในอำนาจเผด็จการ โดยมีกลุ่มที่ได้ประโยชน์อยู่ข้างหลัง ทหารไทยก็คือผู้นำที่จะทำให้ทหารในหลายประเทศอาเซียน “คิดกลับ” เข้าสู่โลกเผด็จการทหารอีกครั้งเช่นกัน โดยเฉพาะใน พม่า ที่ถือว่าเป็นหลักหมายแห่งความสำเร็จทางนโยบายต่างประเทศของสหรัฐยุคโอบามา 1 หรืออาจเป็นในกรณีของอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และอีกหลายประเทศ ยกเว้น มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน แต่ที่เหนืออื่นใด ตอนนี้ โลกทั้งใบมีกระแสการเมืองเดียวที่สำคัญในโลกใบนี้ คือ กระแสประชาธิปไตย เท่านั้น

3. กรณีนี้ ชนชั้นนำในฝ่ายอำนาจเผด็จการทหารทั้งในรัฐบาล สนช. สปช. นสพ. ในวัด และที่อยู่เบื้องหลังอื่นๆ จะก่อรูปเป็นปฏิปักษ์กับสหรัฐอย่างสุดขั้วแล้วไปหา “จีนแดงปักกิ่ง” แทนได้หรือไม่?

คำตอบเบื้องต้นคือ ไม่อย่างแน่นอน เพราะชนชั้นนำไทยในทุกสาขาอาชีพ เติบใหญ่ ได้ดิบได้ดี และมีผลประโยชน์หลากรูปแบบของตนและเครือข่ายในปัจจุบัน มาจากความสัมพันธ์กับสหรัฐแทบทั้งนั้น และจริงๆ แล้วก็คิดอยากเป็นคนอเมริกันชนด้วยซ้ำไป ส่วนจีน/เจ๊ก “จีนแดงปักกิ่ง” นั้น ชนชั้นนำไทย (แม้จะเป็นจีน/เจ๊ก) ก็ทั้งเกลียดทั้งกลัวมาตลอดหน้าประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีกระบวนการบังคับจีน/เจ๊กให้เป็นไทยแท้ๆ ตลอดเวลา ยิ่งเป็นสินค้าจีน/เจ๊ก ยิ่งรู้สึกเสมอถึงความไม่มีคุณภาพอยู่ในห้วงจิตใจตลอดมา

กล่าวโดยสรุป นี้คือปรากฏการณ์แดเนียล รัสเซล 1 วัน Mon. 26 Jan. ในไทย

นี้คือสถานภาพ “สงครามเย็นยุคใหม่” ในทศวรรษ 2010s ในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้/กลุ่มประเทศอาเซียน ระหว่างฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตยที่มีสหรัฐเป็นผู้นำ กับฝ่ายโลก Authoritarianism led by Military ที่มีไทยเป็นผู้นำ

ภาพ 1 วันในไทยของแดเนียล รัสเซล

ข้าพเจ้ามองภาพนี้... อย่างสงบ ใจข้าพเจ้าขอพลังแห่งสิทธิ/เสมอภาค/เสรีภาพ/ภราดรภาพจงมีอยู่ในประชาชนของเรา

บันทึกไว้ Thu.ศ. 29 Jan.มกรา 2015/2558

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์











ตอบโจทย์ กับ แดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ

https://www.youtube.com/watch?v=Yr2CmcyKnhU

Published on Apr 16, 2014
รายการที่นี่ไทยพีบีเอส ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
ออกอากาศทุกวัน จันทร์ - ศุกร์ เวลา 21.15 น.

อ๊ะ เอาอีก ออกฤทธิ์กันต่อแบบตามติ่ง ก็เรื่องตัวแทน กต. 'เมกา ที่มากระตุหางพยัคฆ์ตะวันออกน่ะแหละ





อ๊ะ เอาอีก ออกฤทธิ์กันต่อแบบตามติ่ง

ก็เรื่องตัวแทน กต. 'เมกา ที่มากระตุหางพยัคฆ์ตะวันออกน่ะแหละ

ตานี้ถึงทีพวกหางๆ hound กันบ้าง หลังจากสิ่งพิมพ์หย่ายๆ สบถกันไปพอหมมปาก

อย่างนายคนนี้คายคำ 'แถวบ้าน' ออกมากลางสถานที่โอ่โถงอันไม่รโหฐาน

"นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สนช.ได้อภิปรายตอบโต้ นายแดเนียล รัสเซล..ว่า ..ขอฝากไปยังสหรัฐฯทีหลังอย่า 'เสือก'"

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1422532910

นั่นหลังจากที่ระดับหัวๆ อย่างท่าน รมว. ที่อุตส่าห์ 'ลดเกียรติ' ไปพบผู้ช่วย รมต. ประกาศชัดถ้อย

"ไม่หวั่น หากเกิดสงครามระหว่างสองประเทศ มั่นใจจีน เกาหลีเหนือ พร้อมให้ความช่วยเหลือ" ขนาดนั้นเลยนะเพ่

แต่ก็ยังไม่เด็ดดวงเท่าอาการของหัวสุด ที่ออกกับนักข่าวเรื่องจัดระเบียบสีเสื้อ และปรับทัศนะคติอดีตนักการเมืองค่ายแดง

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1422522120

ฟังคลิปแล้วก็เออ ทั่นพูดเหมือนอยู่ในที่รโหฐาน อโคจร ทีเล่นทำจริง ย่อมได้ไม่ยั้ง ประมาณนั้น

https://www.youtube.com/watch?x-yt-cl=85027636&v=2wCEzuxioC0&x-yt-ts=1422503916&feature=player_embedded

ฉะนี้ มิกังขา เหตุไฉน หางส่ายกันดิกๆ

มติชนคุยกับ "สุรชาติ บำรุงสุข" เรื่องความสัมพันธ์สหรัฐฯ-ไทย "น่าเสียดายนักการทูตไทยทำตัวเหมือนเด็ก"



สัมภาษณ์พิเศษโดยมติชนออนไลน์
29 มกราคม พ.ศ. 2558

เหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญที่เกิดขึ้นช่วงนี้ คือการเดินทางมาเยือนของนายแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ในฐานะผู้แทนรัฐบาลที่เดินทางมาพูดคุยกับผู้นำทางการเมืองทั้งสองฝ่ายคือนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปปัตย์

ประเด็นสำคัญอยู่ที่นัยยะทางการเมืองจากการบรรยายพิเศษของนายแดเนียลที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ถูกทางการไทยแถลงตอบโต้ว่าเป็นการแทรกเเซงทางการเมืองร้อนถึงท่านผู้นำของไทย ซึ่งเเสดงความเสียใจที่สหรัฐฯไม่เข้าใจการเมืองไทย

มติชนออนไลน์ เห็นว่าการพูดคุยและนำเสนอความเห็นที่หลากหลายเป็นเรื่องสำคัญ จึงนำผู้อ่านมาสนทนากับ ศาสตราจารย์ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหนึ่งในนักวิชาการที่นำเสนอมุมมองวิชาการด้านความมั่นคงเบอร์ต้นๆ ของเมืองไทย ถึงนัยยะและความสัมพันธ์ของสหรัฐฯกับไทย ในการเมืองปัจจุบัน ว่าเราจะเข้าใจสถานการณ์ขณะนี้อย่างไรได้บ้าง

@นัยยะทางการเมืองในการมาเยือนไทยที่ผ่านมาของผู้แทนรัฐบาลสหรัฐฯ

ผมคิดว่าต้องคำความเข้าใจว่าถ้าจะตีความว่าสหรัฐอเมริกาแทรกแซงการเมืองไทย ผมคิดว่าอาจะไม่ถึงขนาดนั้นหรือเปล่ายกเว้นเราจะทำใจไม่ได้ที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯพูดในทำนองว่า อยากเห็นประเทศไทยกลับสู่เส้นทางประชาธิปไตย สมมุติเอาว่าถ้าไม่พูดที่กรุงเทพฯ แต่ไปพูดที่กรุงวอชิงตันมันจะต่างกันไหม? ที่จริงก็อาจจะไม่ต่างกัน แต่เผอิญมาพูดที่กรุงเทพฯ แล้วมีคนรู้สึกรับไม่ได้ มันก็เลยกลายเป็นประเด็น ทั้งๆ ที่ถ้าหากเราย้อนอดีตจะพบว่าความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯมีมานาน ไม่ต้องพูดในยุคสงครามเย็นที่ไทยกับสหรัฐฯใกล้ชิดกันขนาดไหน จนมีความใกล้ชิดระดับที่เรามีความรู้สึกว่าการเมืองไทยส่วนหนึ่งผูกมัดอยู่กับสหรัฐอเมริกาอย่างมาก

แต่พอในวันนี้มันกลายเป็นความน่าแปลกใจที่ หลังการรัฐประหารในปี 2557 เสียงเรียกร้องมันแปลก หรือต่างจากเดิมๆ เช่นเสียงประท้วงหรือเสียงแสดงความเห็นในลักษณะที่ตรงกันข้ามไม่ว่าจะจากวอชิงตัน หรือจากสหภาพยุโรปในทำนองที่เหมือนกับไม่เห็นด้วยและอยากเห็นประเทศไทยแก้ปัญหาแบบประชาธิปไตย พอกระบวนการแก้ปัญหาทางการเมืองของไทย จบลงด้วยการรัฐประหารนั้น ผมเชื่อว่าบรรดาประเทศในตะวันตก โดยเฉพาะประเทศประชาธิปไตยในสหรัฐฯ สหภาพยุโรป รวมถึงในญี่ปุ่น ก็รู้สึกอิหลักอิเหลื่อพอสมควร

ต้องอย่าลืมว่าปี 2558 จะเป็นปีที่เมียนมาร์มีการเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราเห็นมาตลอดคือเเรงกดดันของตะวันตก ทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย รวมทั้งญี่ปุ่นอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเมียนมาร์ที่เป็นประชาธิปไตย และเมียนมาร์ก็ตัดสินใจเดินบนเส้นทางประชาธิปไตย แต่พอมาปี 2557 การเมืองไทยกลับถอยหลังสู่การรัฐประหาร เพราะฉะนั้นสัญญานที่อยากเห็นไทยเป็นประชาธิปไตยนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก แล้วมีมาตั้งแต่หลังรัฐประหาร หรือว่าที่จริงสัญญาณเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อมีความขัดแย้งทางการเมืองไทย





ต้องยอมรับว่าในสถานการณ์การเมืองโลกและในสถานการณ์การแข่งขันในระดับภูมิภาค รวมถึงอีกเงื่อนไขหนึ่งคือการรวมกันเป็นประชาคมอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในวันสุดท้ายของปี 2558 นั้น ไม่มีใครอยากเห็นการเมืองไทยถอยหลัง วันนี้ต้องยอมรับว่าทุกประเทศอยากเห็นการเมืองไทยเป็นประชาธิปไตย แก้ปัญหาทางการเมืองด้วยระบบ รัฐสภา เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดรัฐประหารในปี 2557 วันนี้หลายฝ่ายก็คงอยากเห็นไทยกลับมาสู่ถนนสายเดิมคือถนนสายประชาธิปไตย

แต่พอพูดอย่างนี้ก็คงไม่ถูกใจคนบางส่วน วันนี้ความน่ากังวลก็คือคนบางส่วนในสังคมไทยถูกสร้างให้เชื่อว่ารัฐประหารเป็นเครื่องมือของการแก้ปัญหาทางการเมืองไทยและรัฐประหารจะทำให้ความแตกแยกทางการเมืองไทยกลับสู่ความสมานฉันท์ แต่ในความเป็นจริงเราอาจจะต้องยอมรับว่าไม่จริง ผมคิดว่ารัฐประหารเป็นอีกปัจจัยหนึ่งของการสร้างปัญหาทางการเมืองไทยที่กำลังเกิดขึ้นกับปัญหาทางการเมืองชุดเดิมที่มีอยู่

โดยนัยยะเช่นนี้เชื่อว่ารัฐบาลในตะวันตกไม่ว่าจะในสหรัฐฯหรือในสหภาพยุโรปก็ตามอยากเห็นการเมืองไทยเข้าสู่ภาวะปกติ ถ้าไม่กลับสู่ภาวะปกติก็ต้องขอภาวะพื้นฐาน เช่น การยกเลิกกฏอัยการศึก ซึ่งส่วนตัวก็เชื่อว่าคำตอบรับไม่มี ผู้นำไทยก็พูดชัดเจนเองว่าไม่มี ไม่ยกเลิก เพราะฉะนั้นสิ่งที่หลายฝ่ายกังวล คือเมื่อระบบประชาธิปไตยในไทยไม่เดินหน้าและไม่พัฒนา ในขณะที่รอบๆ ตัวไทย ไม่ว่าจะเป็นการเมืองในอินโดนีเซีย การเมืองในฟิลิปปินส์ แม้กระทั่งวันนี้การเมืองอย่างในเมียนมาร์เอง มันล้วนแต่เดินบนเส้นทางการเลือกตั้ง แล้วการเมืองไทยที่กำลังจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนนั้น จะตอบโจทย์ชุดนี้อย่างไร

ในขณะเดียวกันกับการเมืองไทยที่มีรัฐประหาร กลับมีคนบางกลุ่มที่เชื่อว่าหลังรัฐประหาร ถ้าประเทศตะวันตกไม่สนับสนุนการรัฐประหารที่กรุงเทพฯ เชื่อว่าไทยสามารถย้ายข้างไปอยู่กับอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นฝ่ายที่ยอมรับการรัฐประหาร แต่ผมคิดว่าถ้ายังมีสติเหลืออยู่จะรู้ว่านโยบายต่างประเทศไม่สามารถเลือกข้างได้ ในสภาพที่มีการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจใหญ่ในภูมิภาค คิดว่าโจทย์ชุดนี้ตอบอย่างตรงไปตรงมาได้ง่ายที่สุด คือไทยไม่มีสิทธิ์เลือกข้างระหว่างวอชิงตันกับปักกิ่ง ผมคิดว่าผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของไทย คือไทยต้องอยู่ได้ทั้งกับ วอชิงตันและกับปักกิ่ง หรือในภาพรวม ไทยต้องอยู่ได้ ทั้งกับวอชิงตัน ปักกิ่ง และสหภาพยุโรป หรือตัวแสดงที่เป็นมหาอำนาจอื่นๆ เพื่อผลประโยชน์ระยะยาวของประเทศ

@กรณีที่มีการเรียกอุปทูตสหรัฐฯ เข้าไปชี้แจง เพื่อตอบโต้โดยเห็นว่าการเยือนของผู้แทนรัฐบาลสหรัฐฯ มีการกล่าวบรรยายที่มีลักษณะแทรกแซงทางการเมือง และไม่เข้าใจการเมืองไทย

ผมคิดว่าไทยมีสิทธิ์ตีความในแบบไทย แต่ต้องถามว่าแล้วสิ่งที่รัฐบาลไทย ตีความแบบไทยๆ ถ้าเกิดคนทั่วโลกเขาไม่รับล่ะ ผมคิดว่าวันนี้เราต้องตระหนักว่าในโลกที่เราเรียกว่าโลกยุคโลกาภิวัตน์นั้น ตกลงประเทศไทยจะปิดประเทศไหม ถ้าคิดอย่างนี้และรัฐบาลไทยตีความไปเองโดยไม่ต้องคิดกังวลกับสังคมนอกบ้านหรือประชาคมระหว่างประเทศ สุดท้ายคำตอบเหลืออย่างเดียวคือประเทศไทยต้องปิดประเทศแล้วล่ะ แต่ตัดสินใจจะปิดประเทศ ผมคิดว่าผู้นำของไทยในปัจจุบัน น่าจะได้รับบทเรียนจากรัฐบาลของประเทศเมียนม่าร์ว่าสิ่งสุดท้ายแล้วที่เขาต้องการจะปิดประเทศมันทำได้แท้จริงเพียงใด การตีความหรือการพูดอย่างใดก็ตามสามารถทำได้ แต่ต้องตระหนักว่าแล้วถ้าคนส่วนใหญ่ในโลกเขาไม่เห็นด้วย รัฐบาลที่กรุงเทพฯจะทำอย่างไร


@มีข้อโต้แย้งอันหนึ่งของไทย โดย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่กล่าวว่า การเกิดการยึดอำนาจในไทย ไม่ได้ส่งผลอะไรกับคนอเมริกัน หรือนักธุรกิจชาวสหรัฐฯที่มาลงทุนในไทยเลย ทุกอย่างเป็นปกติทั้งหมด แต่การคัดค้านของอเมริกาที่ผ่านมาน่าจะเป็นแค่เชิงหลักการ เป็นพิธีกรรมเท่านั้น

ผมคิดว่ารัฐบาลไทยคงมีวิธีแก้ตัวให้กับตัวเอง รัฐประหารกระทบกับสหรัฐฯไหม กระทบแน่ๆ เพราะว่าหนึ่ง คือมันมีกฏหมายในตัวของสหรัฐฯเองว่าสหรัฐฯไม่ได้รับอนุญาตให้จัดความสัมพันธ์เต็มรูปกับรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจ เพราะฉะนั้นในสภาพอย่างนี้ถ้าเราย้อนกลับไปในหลายกรณี ถ้าเกิดรัฐประหารขึ้นสหรัฐฯจะหยุดให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศให้กับประเทศที่เกิดรัฐประหารขึ้น ไม่ได้ตัดนะครับ แต่หยุดจนกว่าเงื่อนไขการรัฐประหารจะเปลี่ยนหรือคลายตัวออก เช่นนักเรียนทหารที่อยู่ภายใต้ทุนของรัฐบาลสหรัฐฯ อาจจะต้องถูกส่งกลับ รวมทั้งความช่วยเหลือด้านต่างๆ ทั้งหลาย หรือความช่วยเหลือในภาคพลเรือน ปีนี้ผมเฝ้าดูตัวชี้วัดที่สำคัญอันหนึ่ง คือการฝึกคอบบร้าโกลล์ หลังรัฐประหารปี 2549 มีความพยายามในการแก้ตัวด้วยการสร้างคอบร้าโกลล์ให้เป็นเหมือนการยอมรับรัฐประหารที่กรุงเทพฯ มีการฝึกคอบบร้าโกลล์เป็นปกติ แต่ผมเชื่อว่าปีนี้ การฝึกคอบร้าโกลล์เป็นสัญญานบางอย่างที่ผู้นำของไทยต้องเรียนรู้ (หมายเหตุ: สัมภาษณ์วันที่ 28 ตุลาคม 1 วันก่อน สหรัฐฯแถลงลดความร่วมมือฝึกคอบร้าโกลล์)




@สัปดาห์ก่อนมีข่าวจากกระทรวงการต่างประเทศยืนยันออกมาว่าน่าจะปกติทุกอย่าง

ที่ปกตินั้นต้องถามว่าปกติแค่ไหนผมคิดว่าเป็นอะไรที่น่าติดตามดู มุมหนึ่งผมคิดว่าประเทศตะวันตกมีมาตรฐานทางการเมืองพอสมควรในโลกปัจจุบันรัฐประหารถูกมองว่าเป็นการเมืองที่มีปัญหาเพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นในสหรัฐฯหรือการเมืองในสหภาพยุโรป ก็จะมีกฎหมายกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเหล่านั้น กับรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ถ้าจะตอบว่าไม่กระทบเลยมันก็ตอบง่าย แต่วันนี้เราจะเห็นชัดว่าการท่องเที่ยวจากประเทศตะวันตกนั้นมีจำกัด หลังจากการเกิดรัฐประหารที่ประเทศไทย รวมถึงวันนี้เราเห็นตัวอย่างการถูกตัดสิทธิทางการค้ากรณีของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป เพราะฉะนั้นจะบอกว่าไม่กระทบ แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจริงคือรัฐประหารกำลังเป็นผลกระทบกับตัวสังคมไทยเองต่างหาก ซึ่งปัจจัยนี้ผมคิดว่าเป็นความน่ากลัวที่สังคมไทยจะต้องเรียนรู้

@วิเคราะห์การทูตของสหรัฐฯต่อไทยในอนาคตต่อจากนี้

ผมคิดว่า สิ่งที่เราเห็นชัดและตอบได้ชัดเจนว่าสหรัฐฯ กังวลกับการเมืองไทย

@แต่ก็ไม่น่าจะมีการปิดกั้นหรือแสดงบทบาทคัดค้านเชิงรูปธรรมอีก

ผมคิดว่ารัฐมหาอำนาจเมื่อเขาเเสดงความกังวลก็มีน้ำหนักพอสมควร แต่ในขณะเดียวกันด้วยเงื่อนไขของมารยาททางการทูตสหรัฐฯอาจจะเเสดงอะไรไม่ได้มากกว่านี้ แต่เพียงแค่ความกังวล ผมคิดว่าก็เป็นสัญญาณที่ผู้นำไทยอาจต้องคิดเหมือนกัน ยกเว้นวันนี้เราเชื่อว่าเราไม่แคร์กับปัจจัยของสหรัฐฯ แต่ผมคิดว่าในทางเศรษฐกิจ ก็ต้องตอบเหมือนกันว่าตลาดไทยในสหรัฐฯต่อไปจะเป็นอย่างไร และจะอยู่ยังไง แม้วันนี้เราเชื่อว่าในความสัมพันธ์ไทยสหรัฐฯเราไม่ต้องพึ่งสหรัฐฯมาก แต่ก็ต้องตอบว่า ตกลงเรายังจะจัดความสัมพันธ์กันต่อไหม? จะเชื่อว่าเราสามารถอยู่ได้โดยไม่จำเป็นต้องกังวลในเรื่องมิติทางการทูต หรือการเมืองไทยกับสหรัฐฯ ผมคิดว่าคำตอบเหล่านี้ เอาเข้าจริงๆ ไม่เป็นจริงและไม่เป็นประโยชน์

@นายกฯมีกำหนดจะไปเยือนสหรัฐฯบนเวทีสหประชาชาติ นี่ถือเป็นการยอมรับสถานการณ์ในไทยจากสหรัฐฯได้หรือไม่

ผมคิดว่าการเยือนสหประชาชาติกับการเยือนสหรัฐฯ ต้องแยกว่าเป็นคนละประเด็น เนื่องจากการเยือนสหประชาชาติแม้ที่ตั้งจะอยู่ที่นิวยอร์ก สหรัฐฯ แต่การเดินทางไป UN ไม่ได้หมายความว่า นายกฯ ไปเยือนสหรัฐฯ คนละประเด็นกันอันนี้ต้องเเยก

@การตอบโต้ของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย เรื่องอัยการศึก ที่ใช้ตรรกะว่า คนไทยส่วนใหญ่เห็นด้วย ไม่มีใครรู้สึกว่ามีกฏอัยการศึก และ หากยกเลิก สหรัฐฯจะรับผิดชอบไหวไหม ในทัศนะอาจารย์มองการตอบโต้ทางการทูตนี้อย่างไร

ผมคิดว่านักการทูตไทยเล่นบทเป็นเด็กๆ ไม่ได้ นักการทูตที่มีวุฒิภาวะจะไม่พูดอย่างนี้ ผมคิดว่าคำพูดอย่างนี้สะท้อนวุฒิภาวะของนักการทูตไทยและเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะในอดีตนักการทูตไทยเป็นนักการทูตที่ได้รับการยกย่องในเรื่องความสามารถสำหรับงานการทูตในภูมิภาค แต่ถ้านักการทูตพูดได้แค่นี้ เสียดายว่านักการทูตไทยเล่นเหมือนเด็กไปนิดนึง คือในมิติทางการทูตของอย่างนี้เขาไม่จำเป็นต้องมาพูดกัน หรือถามกันด้วยประโยคเหมือนเด็กๆ ท้าทายกันอย่างนี้

 



@แล้วที่ผู้แทนรัฐบาลสหรัฐฯ มาพูดที่จุฬาฯ บอกว่าคดียิ่งลักษณ์เป็นเรื่องทางการเมือง นี่ถือเป็นการแทรกเเซงเเละเสียมารยาททางการทูตไหม?

ผมคิดว่าสหรัฐฯ คงสะท้อนว่าสหรัฐฯ มองการเมืองไทยอย่างไร ส่วนที่ไทยบอกว่าเป็นการเสียมารยาททางการทูตก็ขึ้นอยู่กับเราว่าเราคิดอย่างไรแต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องยอมรับว่าในเวทีโลกเราไม่ได้อยู่คนเดียว สองคือ ไทยไม่ได้เป็นมหาอำนาจใหญ่ ที่จะบอกว่าเราคิดอย่างไรก็ได้ ทำอย่างไรก็ได้ คงต้องยอมรับเหมือนกันว่าในสภาพของการเมืองระหว่างประเทศเนี่ย ไทยเป็นรัฐหนึ่ง ที่ไม่ได้อยู่ในสถานะที่เป็นรัฐมหาอำนาจ แล้วจะคิดเองทำเอง ตามใจตัวเองได้ทุกอย่าง ผมว่าก็อาจจะต้องคิดต่อ

ooo

มติชนนิวส์รูม วิเคราะห์ ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯภายใต้รัฐบาลประยุทธ์



https://www.youtube.com/watch?v=CmEGmSuOrgY

Published on Jan 28, 2015
มติชนทีวี 28 มกราคม 2558 รายการ มติชนนิวส์รูม วิเคราะห์เจาะลึก ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐ ภายหลังการมาเยือนของผู้แทนสหรัฐ ผ่านมุมมอง ศ.ดร. สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

การเมืองไทยหลังถอดถอนยิ่งลักษณ์ / Thai Politics After Yingluck Impeachment


https://www.youtube.com/watch?v=iwdlNDtCK48&sns=fb

Published on Jan 28, 2015
Former Thai Prime Minister Yingluck Shinawatra has been impeached and banned from politics for five years and also faces criminal charges that could see her serving 10 years in jail. Is the Shinawatra family’s influence on Thai politics over?

Dr. Panitan Wattanayagorn and Verapat Pariyawong share their views on Between the Lines, hosted by Teymoor Nabili.

28 January 2015
...

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์


เมื่อวานผมได้มีโอกาสคุยกับ อ.ปณิธาน ที่ปรึกษา คสช. ผ่านโทรทัศน์สื่อต่างชาติ ซึ่งยิ่งตอกย้ำความน่าเศร้าที่คนไทยด้วยกันเอง กลับไม่อาจพูดคุยกันผ่านสื่อไทยให้คนไทยได้รับฟังตามปกติ

ผมกับ อ.ปณิธาน มองตรงกันว่า นักการเมืองต้องถูกตรวจสอบและต้องมีความรับผิดชอบ ทั้งในทางการเมือง และทางกฎหมาย

แต่ที่เห็นต่างไปก็คือ ผมเห็นว่าการใช้ระบอบเผด็จการรัฐประหารมาตรวจสอบหรือให้โทษนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งนั้น จะยิ่งทำให้ปัญหาบานปลาย เพราะไม่ว่าผลการตรวจสอบหรือให้โทษจะออกมาอย่างไร สุดท้ายประชาชนก็ไม่อาจยอมรับ


ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ 'ตัวบุคคล' แต่อยู่ที่ 'ความไม่ยุติธรรม' ดังนั้น คสช. จะทำอะไรกับนักการเมืองคนไหนอย่างไร บ้านเมืองก็ไม่อาจสงบได้ ตราบใดที่ประชาชนยังรู้สึกถึง 'ความไม่เป็นธรรม' ที่เกิดขึ้น และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

ความเป็นธรรมคืออะไร เราจะนึกเองสั่งเองพูดเองอยู่ฝ่ายเดียวไม่ได้ ผมจึงย้ำเสมอว่า 'ความเห็นต่าง' เป็นเรื่องปกติ และเราควรจะหันหน้าพูดคุยกัน ถกเถียงกัน และเรียนรู้จากกัน

หากผมมีโอกาสเจอ อ.ปณิธาน ผมก็คงเข้าไปสวัสดีด้วยความปรารถนาดีเหมือนทุกครั้ง แม้เราสองคนเองอาจมีความเห็นต่างอยู่ก็ตาม

คลิปสนทนานี้มีเนื้อหาน่าสนใจหลายประการ หากใครจะช่วยทำคำแปลเป็น subtitle คำบรรยายภาษาไทยได้ ก็จะขอบคุณมากครับ

http://youtu.be/iwdlNDtCK48