วันศุกร์, ตุลาคม 31, 2557

ด้วยจิตคารวะ บิดาแห่งการต้านรัฐประหาร นวมทอง ไพรวัลย์



เจ้าหน้าที่ทหารห้ามจัดกิจกรรมใดๆ ต่อรองได้แค่วางดอกไม้ คงไม่ว่าอะไรนะครับลุง

ด้วยจิตคารวะ
บิดาแห่งการต้านรัฐประหาร
นวมทอง ไพรวัลย์

31 ตุลาคม 2557

— at หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ.

ooo
ตำรวจห้ามจัดกิจกรรมระลึกลุงนวมทองแท็กซี่ประชาธิปไตย








Fri, 2014-10-31
ที่มา ประชาไท

ตำรวจกว่าร้อยคนตรึงกำลังสะพานลอยนวมทอง หน้า นสพ.ไทยรัฐ ห้ามจัดกิจกรรมรำลึกครบรอบ 8 ปี 'นวมทอง ไพรวัลย์' กระทำอัตวินิบาตกรรม

31 ต.ค. 57 เมื่อเวลาประมาณ 8.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 100 คน เข้าควบคุมพื้นที่บริเวณสะพานลอยนวมทอง หน้า สำนักพิมพ์ไทยรัฐ และอ้างกฏอัยการศึก สั่งห้ามจัดกิจกรรมใดๆ ที่เป็นการต้านรัฐประหาร ซึ่งรวมถึงการจัดกิจกรรมระลึกถึง นายนวมทอง ไพรวัลย์ คนขับรถแท็กซี่ซึ่งผูกคอตายที่สะพานลอยแห่งนี้ เมื่อ 8 ปีที่แล้ว

แกนนำนักศึกษาจาก ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย (ศนปท.) จำนวนเจ็ดคนได้เดินทางมาที่สะพานลอยดังกล่าว เพื่อวางหรีด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับไม่ยอมให้พวกเขาเข้าไปบริเวณสะพานลอย นึกษาจึงยืนสงบนิ่งไว้อาลัยหนึ่งชม. เพื่อทดสอบความอดทนของรัฐ ก่อนจะถูกนำตัวไปเจรจาบริเวณศาลาใกล้เคียงเป็นเวลาประมาณสองชม. สุดท้ายเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้ทำกิจกรรมวางหรีด โดยก่อนที่จะเดินทางกลับได้ยืนไว้อาลัยประมาณ 1 นาที

อย่างไรก็ตาม อานนท์ นำภา ทนายความนักโทษการเมือง ได้รับอนุญาตให้ไปวางหรีด หลังจากทำการเจรจากับตำรวจนานถึงครึ่งชั่วโมง และยังมีหญิงไม่ทราบชื่ออีกคนหนึ่งที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปวางดอกไม้ด้วยเช่นกัน
ooo



***นวมทอง ไพรวัลย์ เพลงประวัติศาสตร์ ของมหาบุรุษประชาธิปไตยไทย
http://www.youtube.com/watch?v=8ZDxuw0rZHg&feature=youtu.be

เพลงวีรชน นวมทอง ไพรวัลย์
http://www.youtube.com/watch?v=5I4sRYa3wqM&feature=youtu.be

เพลง นวมทอง ไพรวัลย์ http://www.youtube.com/watch?v=aJiwVBfohaY&feature=related

รำลึก ลุงนวมทอง http://www.youtube.com/watch?v=FDZQDr8EZzk


Thailand’s Junta Leader Has Millions in Cash, Cars, Luxury Goods + “เรืองไกร” ขอ “บิ๊กตู่” ชี้แจง-แสดงหลักฐานมรดกให้ชัดเจน หลังเปิดบัญชีมีจุดที่ยังสงสัย


By Chris Blake
Oct 31, 2014
Source: Bloomberg

Thailand’s junta leader Prayuth Chan-Ocha has assets of more than 102 million baht ($3.1 million), more than half of it in cash bank deposits, according to figures released by the nation’s anti-corruption agency.

The joint declaration from Prayuth and his wife -- who has an additional 26.3 million baht in assets -- includes more than 14 million baht worth of cars, among them a 2011 Mercedes Benz S600L and a 2009 BMW 740Li, and more than 10 million baht in jewelery and luxury watches, including three Rolexes. He also owns more than half a dozen handguns.

Prayuth, a career military man, seized power in a May coup and was later appointed prime minister by a legislature he hand-picked. He said he needed to tear up the constitution and take over the country to end political unrest, reform the political system and stamp out corruption. The assets declarations of each member of his cabinet released today by the anti-corruption body were self-reported and included the assets of spouses.

Prayuth’s declaration included the transfer of 268 million baht to his father and siblings, and a further 198.5 million baht to his children. Those amounts were listed as expenses and were not part of his total assets.

The wealthiest member of the cabinet is Deputy Prime Minister Pridiyathorn Devakula, a former finance minister under a previous coup government, who reported 1.38 billion baht in total assets with no liabilities. The poorest is Education Minister Narong Pipatanasai, who was head of the navy at the time of the coup, with 6.9 million baht in net assets.

Twelve members of Prayuth’s cabinet are career military officers, and eight declared assets of more than a million U.S. dollars. Army chief Udomdej Sitabutr, who took over from Prayuth when he retired from the army in September, listed net assets of more than 54 million baht. The lone police officer in the cabinet, former national police chief Adul Sangsingkeo, listed total assets of 79 million baht.
ooo


ป.ป.ช. เปิดทรัพย์สิน ครม. พบ 'ประยุทธ์-คู่สมรส' มี 128 ล้านบาท

Fri, 2014-10-31
ที่มา ประชาไท

ป.ป.ช.เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ครม. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและคู่สมรสมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 128 ล้านบาท ขณะที่หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจมีทรัพย์สินมากที่สุด 1.3 พันล้านบาท

31 ต.ค. 2557 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยรายงานว่าสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สิน พร้อมเอกสารประกอบของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กรณีเข้ารับตำแหน่ง เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2557 จำนวน 33 ราย 35 ตำแหน่ง

โดยนายกรัฐมนตรี และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 128 ล้านบาท พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีทรัพย์สิน 87,373,757 บาท ไม่มีหนี้สิน หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และคู่สมรส มีทรัพย์สิน 1,378,394,902.62 บาท ไม่มีหนี้สิน ซึ่งถือว่า มากที่สุดในคณะรัฐมนตรีชุดนี้ รองลงมาคือ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และคู่สมรสมีทรัพย์สิน 1,315,332,228 บาท ไม่มีหนี้สิน

ขณะที่รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ส่วนใหญ่ไม่มีหนี้สิน อาทิ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 116,847,346.51 บาท พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และคู่สมรส มีทรัพย์สิน 186,033,607.07 บาท พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และคู่สมรส มีทรัพย์สิน 37,709,130.47 บาท พลเอกอุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 54,634,679.28 บาท

พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 51,789,420.88 บาท พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคู่สมรส มีทรัพย์สิน 93,959,333.05 บาท นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 830,523,789.33 บาท พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และคู่สมรส มีทรัพย์สิน 33,280,755.90 บาท ไม่มีหนี้สิน พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 6,948,378.27 บาท ซึ่งถือว่ามีทรัพย์สินน้อยที่สุดในรัฐบาลชุดนี้

ทั้งนี้ ป.ป.ช. กำหนดเปิดแสดงบัญชีทรัพย์สิน-หนี้สินดังกล่าว ไปจนถึงวันที่ 14 พฤศจิกายนนี้ ระหว่างเวลา 08.30 น.–16.30 น. ที่ห้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน สำนักงาน ป.ป.ช. ถนนนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี หรือ เว็บไซต์ของสำนักงา ป.ป.ช. WWW.NACC.GO.TH


เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 128 ล้านบาท ว่า รายการที่เป็นเงินฝาก 58 ล้านบาทเศษนั้น มีดอกเบี้ยสูงถึง 14 ล้านบาท ซึ่งไม่สอดคล้องกัน จึงตั้งข้อสังเกตว่า เหตุที่ดอกเบี้ยสูงถึงขนาดนั้น น่าจะเป็นดอกเบี้ยที่ได้จากเงินขายที่ของบิดา และเงินที่ให้กับลูก 198 ล้านบาทด้วยหรือไม่ ทั้งนี้ วงเงินที่ได้จากการขายที่และมีการแบ่งกันในครอบครัวนั้น ยังเขียนไม่ชัดเจนว่าเป็นที่บริเวณใด เนื้อที่เท่าไหร่ และขายได้เท่าไหร่ ที่เห็นผ่านสื่อก็มาจากการให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก (ผช.ผบ.ทบ.) ที่ระบุว่าขายที่ได้ประมาณ 400 ล้านเท่านั้น และ พล.อ.ปรีชา กับ พล.อ.ประยุทธ์ ก็ควรจะได้รับเงินดังกล่าวเท่าๆกัน ประมาณคนละ 100 ล้าน เพราะมีพี่น้อง 4 คน จึงร้องขอให้ พล.อ.ประยุทธ์ ออกมาพูดชี้แจงและแสดงหลักฐาน เช่น สัญญาซื้อขายที่ดินให้ชัดเจน ว่าที่ที่ขายได้มีพื้นที่เท่าไหร่ และเป็นที่ที่ไหน เพราะจะถือเป็นการดีอย่างนิ่ง ทำให้นักการเมือง และ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ได้เห็นเป็นตัวอย่างของความโปร่งใส


Spencer's Poll ชุดที่ 3 - (Spencer's Poll - Opus III)

Spencer's Poll ชุดที่ 3 (Halloween's Version) ออกมาแล้ว ขอเชิญชวน ให้ช่วยแชร์ Status นี้หน่อยนะคะ

ขอความกรุณาให้ท่านผู้อ่าน ช่วยกระจายโพลล์นี้ออกไปให้ด้วย โพลล์จะเปิดออนไลน์อยู่ทั้งหมด 10 วันและจะปิดตัวในคืนวันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน จะมีการสรุปผลหลังจากนั้น 2 วันว่า ประชาชนออนไลน์คิดอย่างไรกับเรื่องเหล่านี้

โพลล์ชุดนี้ จะวัดถึงความคิดเห็นของท่านเกี่ยวกับองค์กรอิสระ รวมทั้งความคิดเห็นในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงบรรยาการทางการเมือง

โพลล์มีทั้งหมด 14-15 คำถาม ขึ้นอยู่กับว่าท่านตอบอย่างไร 8 ข้อสุดท้ายจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับตัวท่าน ซึ่งเหมือนกันกับโพลล์ชุดที่ 2 แต่ดิฉันเพิ่มคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของท่านในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเข้าไปประยุกต์ด้วย เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างครบถ้วนในภายหลัง


โพลล์นี้ ใช้บริการของ SurveyMonkey และขอรับรองได้ว่า ข่าวลือเรื่องไวรัสมากับโพลล์นั้น เป็นเรื่องแต่งทั้งสิ้น ถ้าท่านเห็นว่ามีใครอ้างเรื่องนี้ขึ้นมา กรุณาส่งลิ้งค์ให้กับดิฉันด้วย และจะแจ้งให้ทาง FBI ดูถึงลิ้งค์เหล่านั้นว่า เป็นลิ้งค์ปลอมหรือเปล่าด้วย 

ขอบคุณทุกๆ ท่านสำหรับเวลา

---------------------------------

ลิ่้งค์ของโพลล์อยู่ที่นี่ค่ะ:

https://www.surveymonkey.com/s/Spencers_Poll03




 
---------------------------------

Please help disseminating this poll, Spencer's poll - Opus III (Halloween's Version) by publicly sharing on any web sites you know.

This poll will be opened on-line for 10 days and will be closed on Sunday, November 9, 2014. I will provide the results within two days after the poll has been closed. We will see of what on-line people have been thinking about these specific issues.

This poll will measure and collect your opinion on the independent constitutional organizations in the political climate changes.

The poll contains 14-15 questions, depending on how you answer them. The last eight (8) questions will be about you, which are the same like Spencer's Poll, Opus II. The only different is that --> I added one question on the latest election, for thorough and genuine analysis, which will be examined on the later date.

I use SurveyMonkey.com for this service and can guarantee about the virus-free. There were some rumors that the poll contained some computer viruses and were embedded within the poll. I would like to inform you that these are untrue and if you find that someone initiates this rumor, please provide me with the link. I will submit my request to the FBI to investigate whether these links are genuine or not.

Thank you again for your time.

The link is here:


 


https://www.surveymonkey.com/s/Spencers_Poll03

ประเทศนี้แม่งเซอร์เรียลเอี้ยๆ - สำนึกผิด! แก๊งเงินกู้ดอกโหด ขอร้องเพลงชาติไถ่บาป (ชมคลิป)


สำนึกผิด! แก๊งเงินกู้ดอกโหด ขอร้องเพลงชาติไถ่บาป (ชมคลิป)

ที่มา ไทยรัฐออนไลน์

หนุ่มต่างถิ่นมาหากินกับนายทุนเงินกู้ดอกโหดที่ จ.เลย มีหน้าที่ขี่จยย.ไปเก็บเงินจากลูกหนี้ บอกรายได้ดีแต่ทำได้เดือนเดียวถูกจับ เกิดสำนึกผิดอยากจะทำความดีไถ่โทษไถ่บาป จนท.จึงให้ไปร้องเพลงชาติที่ศาลากลางจังหวัด พร้อมปฏิญาณตน ปฏิบัติตามหลักค่านิยม 12 ประการของรัฐบาล

เมื่อวันที่ 30 ต.ค. เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อำเภอเมืองเลย จ.เลย ร่วมกันจับกุม นายประสาน ภาคโพธิ์ อายุ 37 ปี อยู่บ้านเลขที่ 133 หมู่ 5 ต.สุขฤทัย อ.ห้วยคต จ.อุทัยธานี ลูกน้องนายทุนเงินที่ขี่รถตระเวนเก็บเงินจากลูกหนี้ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดมาก หรือที่เรียกว่า ‘ดอกโหด’

จากการสอบสวน นายประสานให้การว่า ตนได้รับคำแนะนำจากเพื่อนให้มาขี่รถจยย. เก็บเงินกู้ที่ จ.เลย เพราะมีรายได้ดี โดยเฉพาะการได้เงินพิเศษ จากการไปเก็บเงินลูกหนี้เป็นรายหัว ซึ่งยังไม่รวมเงินเดือน ที่ได้เดือนละ 5,000 บาท ทำให้ตนมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1 หมื่นบาท แต่ทำได้ไม่ถึงเดือน ก็มาถูกจับเสียก่อน

นอกจากนี้ นายประสานยังบอกด้วยว่า ในสายงานพนักงานเก็บเงินกู้ของตนนั้น มีอยู่ทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 30 คน มีนายทุน ชื่อนายบัวขาว ไม่ทราบนามสกุล เป็นคนมาจาก จ.อุทัยธานี มาหากินอยู่ที่ จ.เลย

ต่อมา เจ้าหน้าที่ อ.เมืองเลย ได้นำตัวนายประสาน เดินทางมาบริเวณศาลากลางจังหวัดเลย เพื่อพบกับนายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผวจ.เลย เนื่องจากนายประสานรู้สึกสำนึกผิด และอยากจะแสดงออกถึงความรู้สึกดังกล่าวโดยการร่วมกิจกรรมที่สร้างสรรค์กับทางราชการ เจ้าหน้าที่จึงจัดให้มาร่วมร้องเพลงชาติไทย เพื่อเป็นการสำนึกและไถ่บาป พร้อมกันนี้นายประสานยังได้กล่าวคำปฏิญาณตน ปฏิบัติตามหลักค่านิยม 12 ประการของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อีกด้วย

ชมคลิป1http://www.youtube.com/watch?v=d-5ytyT-oig&feature=youtu.be
ชมคลิป2http://www.youtube.com/watch?v=w1TfjGp70eA&feature=youtu.be





Credit

เสียงร่ำไห้ของชาวปกาเกอะญอ เสียงสะท้อนสถานการณ์ของคนเล็กคนน้อย


ที่มา FB Paskorn Jumlongrach

เห็นภาพชาวปกาเกอะญอเกาะลูกกรงร่ำไห้แล้ว พูดได้คำเดียวว่าแสน “หดหู่”ครับ

ก่อนหน้านั้นไม่กี่วันก็เพิ่งมีภาพโลงแม่เฒ่าพร้องโรงศพ แกเสียชีวิตเพราะความเครียดภายหลังถูกเจ้าหน้าที่รัฐจับกุมในข้อหามีไม้สักไว้ในครอบครอง

เหตุเกิดที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อชาวบ้าน 39 รายถูกจับกุมและส่งฟ้องศาลในข้อหามีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครับ ซึ่งเช้าวันนี้(29 ตุลาคม)ศาลจัดหวัดแม่สะเรียง ตัดสินทั้งจำคุกและรอลงอาญาชาวบ้านทั้ง 37 คน(เสียชีวิตไปก่อน 2 คน)

ที่ชวนให้ปวดใจและเจ็บจี๊ดเข้าไปถึงตับเพราะตลอดกว่า 1 ปีที่ผ่านมา ผมและเพื่อนนักข่าวจำนวนหนึ่งได้ติดตามกรณีขบวนการลักลอบตัดไม้ในป่าสาละวิน ทำให้พบข้อเท็จจริงว่า ระบบอุปถัมป์ในวงราชการยังคงทำงานปกป้องกันอย่างได้ผล

กว่า 1 ปีแล้วที่ไม้สักนับร้อยนับพันท่อนในป่าสาละวินถูกโค่นโดยขบวนการอิทธิพลกลุ่มหนึ่ง แรกทีเดียวก็ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก แต่เมื่อสืบเสาะลึกจึงได้พบว่าขบวนการลักลอบตัดไม้ครั้งนี้ไม่ธรรมดา เพราะมีคนมีสีในระบบราชการเข้าไปเกี่ยวข้อง(แม้แต่ผู้ว่าฯก็ยังเคยออกปากเช่นนี้) หากผู้มีอำนาจในประเทศจะใส่ใจและสอบสวนจริงจังก็จะสาวถึงตัวการสำคัญนี้ได้ไม่ยาก แต่เรื่องทั้งหมดกลับถูกกลบเกลื่อนให้เงียบ

ที่บอกว่าถูกกลบเกลื่อนเพราะเมื่อคสช.ยึดอำนาจและประกาศนโยบายปราบปรามผู้ลักลอบตัดไม้ ปรากฏว่าบุคคลที่เชื่อว่าอยู่ในขบวนการลักลอบตัดไม้ป่าสาละวิน ได้เป็นหัวขบวนในการหว่านแหจับกุมชาวบ้านที่มีไม้สักไว้ในครอบครองเพื่อสร้างเป็นผลงาน

ถามว่าชาวบ้านผิดมั้ย ก็ต้องบอกว่าผิดแน่นอนเพราะมีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครอง ขณะเดียวกันหากมองอีกมุมหนึ่งนั่นคือวิถีของชาวบ้านเขา เพราะเขาอยู่กับป่าแต่ไม่ได้หมายความว่าจะตัดป่าได้ เพียงแต่ขอใช้ทรัพยากรที่มีอยู่บ้าง ถ้าไม่ถูกก็ว่ากล่าวตักเตือนหรือหาทางแก้ไขกันไป แต่ไม่ใช่กวาดจับเพื่อทำงานปิดบังอำพรางกันเช่นนี้

ถ้าจะเอาผิดเรื่องการอยู่ในป่าอนุรักษ์ หรือเรื่องการมีไม้ไว้ในครอบครองของคนในแม่ฮ่องสอน มีหวังได้ติดคุกกันแทบยกจังหวัดเพราะแม้แต่หน่วยงานราชการบางแห่งยังตั้งอยู่ในเขตป่าสงวน เช่น ที่ว่าการอำเภอปางมะผ้าตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปาย

ถึงวันนี้ชาวบ้านรับรู้กันทั้งลุ่มน้ำสาละวินว่าตัวการสำคัญในการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าครั้งใหญ่ในดินแดนแถบนี้เป็นคนกลุ่มไหน มีแต่คนของทางการเท่านั้นแหละที่ทำเป็นไม่รับรู้ สุดท้ายคนเล็กคนน้อยจึงต้องเป็น “เหยื่อ”

เสียงร่ำไห้ของชาวปกาเกอะญอที่ศาลแม่ฮ่องสอนในวันนี้จึงเชือดเฉือนใจยิ่ง
---------------------

ศาลสั่งจำคุก-รอลงอาญา 37 ชาวบ้านแม่ฮ่องสอน
คดีมีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครอง-เสียงร่ำไห้ระงม
ยูเอ็นสนใจส่งคนลงพื้นที่เก็บข้อมูลละเมิดสิทธิ์


เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ศาลจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้อ่านคำพิพากษากรณีที่ชาวบ้านจำนวน 39 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงถูกฟ้องร้องในข้อหามีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครอง ทั้งนี้นายยงยุทธ สืบทายาท ทนายความในคดีเปิดเผยว่า ศาลได้ตัดสินจำคุมผู้ที่มีไม้หวงห้ามเกิน 2 ลูกบาศน์เมตรตั้งแต่ 1 ปีไปจนถึง 7 ปีจำนวน 24 ราย ที่เหลืออีก 13 รายรอลงอาญา และอีก 2 คนเสียชีวิตไปแล้ว

นายยงยุทธกล่าวว่า คดีนี้ชาวบ้านทั้งหมดได้สารภาพตั้งแต่ต้นว่ามีไม้สักไว้ในครอบครองจริง ดังนั้นการต่อสู้คดีจึงขอให้ศาลลงโทษสถานเบา โดยชาวบ้านเกือบทั้งหมดไม่ได้เกี่ยวข้องกับกรณีขบวนการลักลอบตัดไม้ในผืนป่าสาละวินแต่อย่างใด มีเพียง 2-3 คนซึ่งตนไม่แน่ใจและไม่ได้ว่าความให้ อย่างไรก็ตามการช่วยเหลือชาวบ้านเหล่านี้ได้พยายามชี้ให้ศาลเห็นถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านและฐานะทางเศรษฐกิจเพื่อให้ศาลเมตตา โดยศาลได้ส่งพนักงานสืบเสาะเข้าไปสืบเสาะ ซึ่งตนเห็นว่าข้อมูลที่ได้รับคงเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับทีตนชี้แจงไป

“การจับกุมทั้งหมดเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 4-6 พฤษภาคม ซึ่งขณะนั้นเจ้าหน้าที่กำลังเผชิญหน้าอยู่กับชาวบ้าน และเป็นเหตุให้มีการบุกตรวจค้นและยึดไม้จากชาวบ้าน โดยเรื่องนี้ได้รับความสนใจจากองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนเพราะ เป็นการจับกุมแบบเหวี่ยงแหโดยไม่แยกแยะใดๆ แล้วให้ชาวบ้านไปแก้ตัวในชั้นศาล เป็นการใช้กฎหมายแบบไม่มีน้ำใจ ทั้งๆที่รู้ว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้มีไม้ไว้ขายหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เพราะหากจับกุมในลักษณะนี้กันจริงๆ คงต้องจับประชาชนอีกมากมายในแม่ฮ่องสอน"นาย”ยงยุทธ กล่าว

นายพงษ์พิพัฒน์ มีเบญจมาศ ผู้ประสานงานเครือข่ายจัดการทรัพยากรชุมชนลุ่มน้ำสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า กรณีการจับกุมชาวบ้านทั้ง 39 คน เป็นการสะท้อนการทำงานของระบบราชการไทยที่มุ่งแต่จับกุมคนเล็กคนน้อย ซึ่งเมื่อวาน(28 ตุลาคม) ได้มีเจ้าหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ(ยูเอ็น)เดินทางมาเก็บข้อมูลจากชาวบ้าน อำเภอ ทหาร รวมถึงตนด้วย เพราะเห็นว่าเป็นประเด็นการละเมิดสิทธิ

นายพงษ์พิพัฒน์กล่าวว่า บรรยากาศเมื่อตอนเช้าภายหลังจากทราบคำตัดสินของศาล บรรดาญาติพี่น้องและชาวบ้านที่ถูกตัดสินให้จำคุกต่างพากันร้องไห้ทั้งในและนอกห้องขัง ทำให้บรรยากาศน่าเศร้าใจมาก บางคนประสบปัญหาไม่มีหลักทรัพย์หรือเงินค้ำประกัน บางคนเป็นหัวหน้าครอบครัว เมื่อถูกตัดสินจำคุกก็ไม่รู้ว่าครอบครัวจะอยู่กันอย่างไร

“ผู้หญิงคนหนึ่งเป็นแม่บ้าน เขามีลูกเล็กๆอายุ 4 ขวบ เมื่อถูกตัดสินจำคุกก็เลยไม่รู้ว่าลูกจะอยู่อย่างไร ขณะนี้ทีมทนายกำลังช่วยกันหาหลักทรัพย์ประกันตัวออกมา ผมอยู่ในบรรกาศเมื่อเช้าแล้วรู้สึกห่อเหี่ยวใจมาก”นายพงษ์พิพัฒน์ กล่าวและว่า จริงๆแล้วก่อนหน้านี้ชาวบ้านจำนวนหนึ่งได้เตรียมตัวไปให้กำลังใจพี่น้องที่ขึ้นศาล แต่ปรากฏว่าได้มีข้าราชการฝ่ายปกครองโทรศัพท์มาข่มขู่ชาวบ้านไม่ให้เดินทางไปโดยอ้างว่าอาจเป็นการทำผิดกฎอัยการศึก

อนึ่ง การจับกุมชาวบ้านทั้ง 39 รายเกิดขึ้นเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ภายหลังจากการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ซึ่งประกาศนโยบายจับกุมขบวนการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ทั้งนี้ในช่วงกว่า 1 ปีที่ผ่านมาได้มีการลักลอบตัดไม้สักจำนวนมากในผืนป่าสาละวินซึ่งเป็นข่าวคึกโครม แต่ปรากฏว่าทางการไม่สามารถจับกุมหรือดำเนินคดีตัวการใหญ่หรือพ่อค้าไม้ได้เลย ขณะเดียวกันมีข่าวออกมาเป็นระยะว่ามีข้าราชการระดับหัวหน้าปฎิบัติงาน เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการลักลอบตัดไม้สาละวินในครั้งนี้ ทำให้การตรวจสอบถูกตัดตอนและไม่มีการตั้งคณะกรรมการระดับสูงขึ้นมาสอบสวนข้อเท็จจริงใดๆและไม่มีหน่วยงานที่ทำงานเชิงลึกทั้งดีเอสไอ หรือตำรวจกองปราบฯเข้ามารับผิดชอบสืบสวนสอบสวนคดีนี้ทั้งๆที่อยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบและดูแลพื้นที่ประกอบด้วย ทหารพราน ตำรวจ กรมป่าไม้ และกรมอุทยานฯ

ประยุทธ์ไปเยือนกัมพูชา กัมพูชารู้ อะไรเป็นผลประโยชน์ของเขาในระยะยาว

Thai junta leader and Prime Minister Prayuth Chan-ocha next to the Thai flag as he arrives at the 10th Asia-Europe Meeting (ASEM) on October 16, in Milan, Italy. AFP
อ. ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ให้สัมภาษณ์กับ The Phnom Penh Post เรื่องประยุทธ์ไปเยือนเขมร

แม้ฮุนเซนอยากคืนดี แต่กัมพูชารู้ว่า รัฐบาลทหารมาแล้วก็ไป ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์เป็นผลประโยชน์ในระยะยาวที่แท้จริง

Prayuth makes first visit
30 October 2014
By Kevin Ponniah
Source: phnompenhpost.com

Analysis

When then-Thai army chief General Prayuth Chan-ocha launched a bloodless coup d’etat against a caretaker government on May 22, the Cambodian government at first reacted cautiously.

On the night of the coup, a spokesman said it hoped the military takeover would be “transitional”.

But despite his administration’s close links with the deposed Thai premier, Yingluck Shinawatra, and her brother Thaksin – and its prickly relationship with the Thai military – Prime Minister Hun Sen soon made a series of conciliatory gestures that suggested he recognised that the junta was here to stay.

Today, Prayuth was to arrive in Cambodia for his first official visit since being appointed prime minister by a military-majority National Assembly in August. He was personally invited by Hun Sen on the sidelines of an Asia-Europe summit in Milan earlier this month.

The two-day visit is being hailed as another possible turning point in Cambodia-Thai relations, which have long fluctuated in line with the revolving door of turbulent Thai politics.

“The visit of PM Prayuth Chan-ocha to Cambodia will not only be crucial for the immediate future of Thai-Cambodian relations, it will set the tone for relations over the next few years,” said Paul Chambers of the Institute of Southeast Asian Affairs, affiliated with Chiang Mai University.

“Why? Because both the Thai military and Hun Sen are likely to remain the power brokers in their respective countries over the next several years.”

Prayuth’s military clique is “highly suspicious” of Hun Sen, given his ties to the Shinawatras and the long-running dispute over land surrounding the Preah Vihear temple, Chambers said. But the visit of top Cambodian military brass, including the premier’s son and possible successor, Hun Manet, to Bangkok in July, could be regarded as an olive branch of sorts, he said, paving the way for a thaw in relations.

Bilateral talks during the visit, which will also see Prayuth granted an audience with King Norodom Sihamoni, are set to see memorandums of understanding signed on tourism, human trafficking and a railway connection linking Sa Kaew province in Thailand to Poipet and onto Phnom Penh.

However, there are hopes for far more.

A long-awaited agreement on a joint development area in the Gulf of Thailand, which would allow mutual exploration of possible oil and gas deposits, could be in the offing, analysts say. But the deal remains complicated by decades-old overlapping claims.

And while the International Court of Justice in November last year decided that Cambodia had sovereignty over the promontory that the Preah Vihear temple sits on, the practicalities of the decision have yet to be implemented. A large area in the vicinity also still remains in dispute.

But while both Hun Sen and Prayuth stand to gain from a more stable and cooperative relationship between the two countries, there are serious doubts that any long-term accord will last.

Other sensitive issues include the ongoing shootings of Cambodian loggers at the Thai border and the welfare of Cambodian migrant workers, hundreds of thousands of which fled back to the Kingdom after the Thai military pledged a crackdown on illegal foreign labour shortly after the coup.

“Right now, peace seems to be more important for both Thailand and Cambodia,” said Pavin Chachavalpongpun, a Southeast Asia scholar at Kyoto University who is highly critical of the military government, and who recently had his Thai passport revoked.

“But whenever contentious conflicts can be used to add political scores, these difficult issues will come to the surface. Hun Sen has always seen Thaksin-Yingluck as his long-term interest. So I think the improvement in [the] relationship with the Thai junta could be short-lived.”
ooo


ภาษากายต่างกันชัดเจนนะครับ
น้าผมนี่ตรงอย่างพลทหาร
ตาฮุนนี่แกสบายๆ

เสียงจากเวป...

สำหรับแฟน ๆ...คลิปวีดิโอ แพนด้า จาก "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"


https://www.youtube.com/watch?v=vI9xwtCxnI4

เมื่อเวลา 14.45 น. ที่ผ่านมา นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ Facebook ส่วนตัวโดยปรากฏภาพถ่ายของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ พร้อมด้วยบุตรชาย ด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร

ทั้งนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ระบุว่า "แวะไปสวนสัตว์แพนด้า ที่เมืองเฉิงตู ในมณฑลเสฉวนของจีน ที่นี่เป็นสวนสัตว์ที่มีแพนด้าอยู่สองชนิด­ค่ะคือ แพนด้าที่เราคุ้นเคยคือแพนด้าที่นี่เขาเรี­ยกว่า Giant Panda มีอยู่ประมาณ 2,000 ตัวในโลกกับ แพนด้าแดง หรือ Red panda นิสัยจะดุกว่าหน่อย เลยไม่ได้เข้าใกล้เพราะเขาขี้อาย อยู่ตามต้นไม้ พบได้ใน ประเทศจีน เนปาล อินเดีย ธิเบต ภูฏานและ เมียนมาร์ มีราว 5,000 ตัวจากทั่วโลก เสียดายวันนี้ไม่ได้เจอหลินปิงที่น้องๆคิด­ถึง เพราะหลินปิงถูกเลี้ยงไว้อีกที่หนึ่งที่เข­าต้องอนุรักษ์ให้อยู่ตามธรรมชาติและดูแลอย­่างใกล้ชิด แต่ก็ประทับใจที่ได้อุ้มหมีแพนด้าอายุ 3 เดือน และอัดคลิปแพนด้ามาฝากเด็กๆด้วยค่ะ”

นอกจากนี้ ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ยังมีการเผยแพร่คลิปบรรยากาศการเที่ยวชมสว­นสัตว์แพนด้า ที่ถ่ายโดย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อีกด้วย ซึ่งมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตร่วมเผยแพร่แล­ะส่งต่อเป็นจำนวนมาก


หนังดีที่น่าดู...แนะนำโดยเสรีไทย


ที่มา Sunai Fanclub

ภาพยนต์แนะนำจากเสรีไทย,รับรองไม่ผิดหวัง
*รถไฟความเร็วสูง,วิกฤติเศรษฐกิจ,ด้อยพัฒนาและการเลือกตั้งเป็นปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนระบอบ

อยากรู้ว่าทำไมราชวงศ์ชิงจึงต้องล้มและราชวงศ์ชิงล้มอย่างไร?ต้องดู

เคยฉายโรงใหญ่สมัยนายกยิ่งลักษณ์แต่รับรองได้ว่ายุคคสช.ไม่ยอมให้ฉายแน่

ดารณี รวีโชติ
ผอ.กอท.เสรีไทย

http://www.youtube.com/watch?v=Q91x044unu8

https://www.youtube.com/watch?v=Q91x044unu8


ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน ติง รธน.ชั่วคราว 57 ลดทอนการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน


สำนักข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) เผยแพร่บทวิเคราะห์ เรื่องสิทธิมนุษยชนภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 ของประเทศไทย ระบุมีเนื้อหาปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่อ่อนแอลง โดยมีรายละเอียดคือ

1. การปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่อ่อนแอลงจากมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวบัญญัติว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้” แสดงให้เห็นถึงพันธกรณีระหว่างประเทศของไทยในการปกป้องสิทธิมนุษยชนภายใต้สนธิสัญญาต่างๆ อีกครั้ง แต่ในอีกหลายมาตรา กลับให้อำนาจอย่างกว้างขวางแก่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เช่น

ในมาตรา 44 บัญญัติว่า ในกรณีคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เห็น “เป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่างๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของ ชาติ ราชบังลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน … ให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่งหรือการกระทำหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนี้และเป็น ที่สุด”

ในมาตรา 47 บัญญัติว่า “บรรดาประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ทั้งหมด)…เป็นประกาศหรือคำสั่งหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วย รัฐธรรมนูญ” มาตราเหล่านี้ดูเหมือนจะเปลี่ยนให้การปฏิบัติและคำสั่งทั้งหมดของคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ รวมทั้งการปฏิบัติและคำสั่งที่อาจละเมิดสิทธิมนุษยชน กลายเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และขาดคุณสมบัติที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของมาตรา 4 ซึ่งกำหนดให้เคารพและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

ทั้งนี้ ในมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ระบุว่าพระราชกำหนดสามารถตราขึ้นได้ “เมื่อมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือเมื่อมีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตราที่ต้อง พิจารณาโดยด่วนและลับ” ซึ่งภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศโดยเฉพาะมาตรา 4 (1) ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights) ซึ่งไทยเป็นภาคี การประกาศกรณีฉุกเฉินจะทำได้ก็ต่อเมื่อเกิดความเสี่ยงหรือต่อการคงอยู่ของ ประเทศเท่านั้น แต่ขอบเขตของมาตรา 21 กลับถูกร่างให้ครอบคลุมอย่างกว้างๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การอนุญาตให้เกิดการดำเนินการที่เสื่อมสิทธิเกินกว่าขอบเขต ของมาตรา 4 (1) ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

ทางสำนักข่าหลวงใหญ่ ฯ จึงขอให้รัฐบาลกำหนดขีดจำกัดและแนวทางการใช้บังคับมาตรา 21 อย่างชัดเจนเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ

2. การปฏิเสธสิทธิที่จะได้รับความเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพกรณีเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงตราสารระหว่างประเทศหลายฉบับให้สิทธิแก่เหยื่อผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในการรับการเยียวยา [1] ยกตัวอย่างเช่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองกำหนดให้รัฐภาคี มีภาระผูกพันให้การเยียวยา (remedy) ที่มีประสิทธิภาพแก่ผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ (มาตรา 2(3)(a)) ซึ่งจะใช้บังคับไม่ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ใน ฐานะเจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่ก็ตาม

นอกจากนี้รัฐภาคียังมีภาระผูกพันต้องทำให้การเยียวยานั้นเป็นผล (มาตรา 2(3)(c)) ในทำนองเดียวกัน มาตรา 14 ของอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่ โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention againstTorture and Other Cruel, Inhumanand DegradingTreatment (CAT) ให้สิทธิเหยื่อผู้ถูกซ้อมทรมานในการได้รับค่าชดเชยที่ยุติธรรมและเพียงพอ

แต่มาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวกลับให้ความคุ้มครองอย่างไม่เหมาะสมแก่ “บรรดาการกระทำทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครอง แผ่นดิน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ของหัวหน้าและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รวมทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าวหรือของผู้ซึ่ง ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือของผู้ซึ่งได้รับคำสั่ง จากจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติอันได้กระทำไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้น นั้น” การคุ้มครองดังกล่าวใช้บังคับกับการกระทำ “ไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น”

แม้ว่าการกระทำนั้นจะผิดต่อกฎหมายก็ตาม การให้ความคุ้มครองอย่างกว้างขวาง รวมทั้งการบังคับใช้อย่างไม่มีกำหนดสิ้นสุดเช่นนี้ จะขัดขวางไม่ให้เหยื่อผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนร้องขอการเยียวยาจากหน่วยงาน ยุติธรรม ฝ่ายบริหารหรือนิติบัญญัติที่เกี่ยวข้องซึ่งขัดต่อสิทธิของบุคคลดังกล่าวใน การได้รับการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพ ในทำนองเดียวกัน การที่เหยื่อถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมเพื่อขอความช่วยเหลือ จึงทำให้มาตรานี้มีโอกาสละเมิดมาตรา 14(1) ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งบัญญัติว่าทุกคนควรมีสิทธิ “ได้รับการพิจารณาคดีที่ยุติธรรมและเปิดเผยโดยคณะผู้พิพากษาที่มีความสามารถ เป็นอิสระและเป็นกลางซึ่งกำหนดโดยกฎหมาย”

มาตรา 44 และ 47 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวซึ่งทำให้คำสั่งหรือการปฏิบัติของคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ “ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ” ยังปฏิเสธสิทธิภายใต้มาตรา 2 และมาตรา 4 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองอีกด้วย โดยกีดกันมิให้เหยื่อโต้แย้งหรือโต้แย้งถึงความชอบด้วยกฎหมายของการปฏิบัติ ดังกล่าวในชั้นศาล นอกจากนี้ มาตราเหล่านี้มีโอกาสละเมิดมาตรา 12 และมาตรา 13 ของอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่ โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี ซึ่งกำหนดให้มีการสอบสวนข้อกล่าวหาการทรมานหรือการปฏิบัติโดยมิชอบทันทีและ ปราศจากความลำเอียง

3. การปฏิเสธสิทธิในการมีส่วนร่วมดำเนินกิจการสาธารณะ มาตรา 25(a)ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง บัญญัติว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิและโอกาส “ที่จะมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจการสาธารณะโดยตรงหรือโดยทางอ้อมผ่านตัวแทน ที่ได้รับการคัดเลือกอย่างเสรี”

อย่างไรก็ตาม ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว สถาบันหลักซึ่งรวมถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (มาตรา 6) และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (มาตรา 28) จะได้รับการแต่งตั้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แม้ว่าการคัดเลือกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะมีความเกี่ยวข้องกับ องค์กรอื่นมากกว่าสองสถาบันข้างต้น แต่อย่างไรก็ตามคณะรักษาความสงบแห่งชาติยังคงมีอำนาจสูงสุดในการเลือกสรร บุคคล (มาตรา 32)

การไม่มีมาตรการเปิดให้สาธารณชนมีส่วนร่วมในการคัดเลือกสถาบันหลัก ขัดกับมาตรา 25(a) ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ยิ่งไปกว่านั้น รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวไม่ได้พูดถึงที่มาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติว่าตั้ง ขึ้นมาได้อย่างไร การแต่งตั้งตัวเองของสถาบันนี้จึงเข้าข่ายละเมิดมาตรา 25 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

มาตรา 25 (a) ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ยังบัญญัติด้วยว่า “ประชาชนทุกคนพึงมีสิทธิและโอกาสโดยไม่มีความแตกต่างดังที่กล่าวไว้ในมาตรา 2 และโดยไม่มีข้อจำกัดที่ไม่สมเหตุผล…ในการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจการ สาธารณะ…” ในขณะเดียวกัน มาตรา 2 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ห้ามไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของ “เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมืองหรือความเห็นอื่น สัญชาติหรือที่มาของสังคม ทรัพย์สิน การเกิด หรือสถานะอื่นๆ”

แต่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้กลับถือว่าผู้ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรง ตำแหน่งในพรรคการเมืองภายในระยะเวลาสามปีขาดคุณสมบัติที่จะได้รับการแต่ง ตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (มาตรา 8 (1)) หรือเป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (มาตรา 33 (2)) เป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี (มาตรา 20 (4))

การขาดคุณสมบัตินี้ถือเป็นการเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของ “ความเห็นทางการเมือง” หรือ “สถานะอื่น” ตามมาตรา 2 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และเป็น “ข้อจำกัดที่ไม่สมเหตุผล” ตามมาตรา 25 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง นอกจากนี้ข้อจำกัดที่คล้ายๆ กันซึ่งห้ามมิให้ภิกษุสามเณร นักพรต หรือนักบวชเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (มาตรา 8 (2)) หรือสภาปฏิรูปแห่งชาติ (มาตรา 28) หรือคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (มาตรา 33 (3)) นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี (มาตรา 20) ถือเป็นการจำกัดสิทธิโดยไร้เหตุผลด้วย

Credit

English Version is here

รวมความเห็นของ อานนท์ นำภา (ทนายความ) เรื่องศาลทหาร + อภินิหารศาลไทย


โดย อานนท์ นำภา
ที่มา ประชาไท

1) พูดอย่างซีเรียสนะครับ เมื่อวานผมไปเรือนจำเจอกับเมียพี่ทอม ดันดี แกเล่าว่าคดีของพี่ทอมยังไม่มีนัด คือศาลทหารรับฟ้องแล้วแต่ไม่มีวันนัด คือเอาคดีไปแช่ไว้โดยไม่มีกำหนดนัด ( งงมั้ย )

ไม่ต้องงงครับ ไม่ใช่เฉพาะคดี ม. 112 พี่ทอม ดันดี ครับที่พอฟ้องแล้วศาลไม่กำหนดนัดใดๆเลย คดี ม.112 ของคุณสิรภพ , คดี ม.112 ของพี่สมัคร (เชียงราย) ก็เช่นเดียวกัน คือขังไปเรื่อยๆ ยังไม่รู้ว่าจะหยิบยกคดีขึ้นพิจารณาเมื่อไหร่

นี่คือปัญหาหนึ่งของศาลทหาร คือแม่งขังไปเรื่อยโดยไม่มีกำหนดนัด

2) นอกจากศาลทหารจะไม่มีระยะเวลาพิจารณาคดีที่แน่นอนแล้ว กระบวนพิจารณายังไม่เปิดเผยเท่าที่จำเป็นเพียงพอต่อการพิจารณาคดีอีกด้วย คือศาลทหารไม่อนุญาตให้ผุ้สังเกตุการณ์จดบันทึกระหว่างพิจารณา และไม่อนุญาตให้ทนายความคัดถ่ายรายงานกระบวนพิจารณา(บันทึกว่าด้วยการพิจารณาว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างในวันนั้น) โดยให้เหตุผลว่า ให้จำเอา

3) ในองค์คณะของศาลทหาร มีเพียงตุลาการศาลทหารเท่านั้นที่จบ ป.ตรีทางกฎหมาย (ซึ่งถ้าเป็นศาลยุติธรรมต้องจบเป็นเนติบัณฑิตด้วย) นายทหารพระธรรมนูญอีก 2 ท่านซึ่งมีสิทธิออกเสียงในการพิจารณาคดีด้วย "ไม่ต้องจบกฎหมาย"

นี่คือความแตกต่างและเป็นข้อสังเกตถึงความเหมาะสมของการเอาพลเรือนไปขึ้นศาลทหาร

4) ในศาลทหาร ไม่อนุญาตให้มีโจทก์ร่วมได้ ดังนั้น หากคดีที่ต้องขึ้นศาลทหารไปทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใด ผู้นั้นหรือทายาทไม่สามารถเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีได้

5) คดีที่ขึ้นศาลทหารภายใต้กฎอัยการศึก ไม่สามารถอุทธรณ์-ฎีกาได้ นั้นหมายถึง ศาลทหารชั้นต้นตัดสินแล้วจบเลย ( ซึ่งคดีที่พลเมืองต้องขึ้นศาลทหารหลังรัฐประหารมานนี้มีคดีที่มีอัตราโทษสูง บางคดีมีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต กลับให้พิจารณาแค่ศาลเดียว จบแล้วจบเลย )

6) ศาลทหารเป็นหน่วยงานที่อยุ่ภายใต้กระทรวงกลาโหม มีสายบังคับบัญชาทางทหารโดยตรง ในทางกลับกัน คดีส่วนใหญ่ที่พลเรือนต้องขึ้นศาลทหาร เป็นคดีที่พลเรือนขัดแย้งกับทหารโดยตรง น่าสังเกตว่าจะมีการพิจารณาคดีภายใต้การทับซ้อนเรื่องความขัดแย้งอย่างไร ยุติธรรมหรือไม่ เพียงใด

7) การพิจารณาของศาลทหารมักจะไม่ระบุชื่อ ตุลาการผุ้ร่วมพิจารณาคดี แล้วจำเลยจะคัดค้านตุลาการนั้นๆได้อย่างไร จะทราบได้อย่างไรว่าคนที่นั่งพิจารณาคดีมีความรู้สามารถพิจารณาคดีได้ หรือตุลาการนั้นมีส่วนได้เสียในคดีหรือไม่ อย่างไร ไม่สามารถตั้งข้อรังเกียจตุลาการได้
ooo

เรื่องเกี่ยวเนื่อง...

มองย้อนหลัง อภินิหารศาลไทย




31 ตค. 2557 06.00 น. ที่สะพานลอย หน้าไทยรัฐ อ่านคำประกาศ สถาปนาให้ลุงนวมทอง ไพรวัลย์ เป็น "บิดาแห่งการต้านรัฐประหาร"


โดย อานนท์ นำภา

" น้อยๆ เค็มๆ "

น้อยๆเค็มๆ เป็นสำนวนทางอีสาน หมายถึง ถ้ามีความพร้อมไม่มาก ก็ทำเท่าที่มี แต่ให้มันเข้มข้นกว่าปกติ ถ้าเป็นอาหารก็ทำเท่าที่มีน้อยให้มันเค็มเข้าไว้ เมื่อกินกับข้าวจะได้อิ่มพอดี

การทำกิจกรรมก็เช่นกัน เพื่อนๆนักกิจกรรมที่ร่วมทำกิจกรรมกันมาก้เริ่มจากจุดนี้ คือทำเท่าที่มี ไม่ต้องหวังว่าจะมีใครมาร่วมกับเรามาก เพียงแต่เราทำประเด็นของเราให้มันชัด และเข้าใจง่ายก็เพียงพอ เช่น เมื่อเราทำเรื่อง "เปิดหมวก" ช่วยเหลือนักโทษการเมือง เราก้ไม่ได้หวังว่าจะมีคนมาร่วมกันเป้นร้อยเป้นพัน เราทำเท่าที่เราทำได้ และคนที่มาร่วมก้ช่วยเหลือเท่าที่ช่วยได้เช่นกัน เรียกว่า ทำแบบน้อยๆเค็มๆ

กิจกรรมในวันนวมทอง ( ๓๑ ตุลาคม ) เป้นกิจกรรมที่นัดกันเพื่อรำลึกวีรกรรมของคุณลุงนวมทอง ที่พลีชีพเพื่อยืนยันการต้านรัฐประการ เราเห็นว่านี่คือบุคคลที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นผุ้ที่เสียสละอย่างแท้จริง เราผู้อยู่ข้างหลังจึงสมควรที่จะรำลึกถึงสิ่งที่ท่านได้ทำลงไป และร่วมกันยืนยันอีกครั้งว่า "รับประหารเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และทำลายประชาธิปไตย" ดังนั้น เวลาย่ำรุ่ง (ประมาณ ๐๕.๐๐-๐๖.๐๐ น. ) จึงเป้นเวลาที่เรานัดกันไปรำลึกถึงคุณลุง รำลึกและยืนยันถึงเจตนารมณ์ของคุณลุง กิจกรรมคงไม่มีอะไรมากนอกจากการไปวางดอกไม้ หรือจุดเทียนรำลึก

ส่วนกิจกรรมเย็นนั้น เราให้ชื่อว่า "มืด" ก้เป็นกิจกรรมเล้กๆ ของคนทำงานศิลปะ ที่อยากนัดหมายกันมาเสพงานสิลปะ ท่ามกลางสภาพบ้านเมืองที่มืดมิด เรานัดกันเตรียมเครื่องดนตรีมากันเอง มาร่วมกันเล่น และดื่มกินลาบ ก้อย กันแแบบง่ายๆ แบ่งปันกำลังใจให้กันและกันในการต่อสู้ชีวิตเท่านั้น ถามว่าทำไมต้องเลือกร้านลาบ ข้างร้านไซด์วอร์ค ราชดำเนิน ก้ต้องตอบว่ามันถูกครับ ไม่มีเหตุผลอื่น ร้านลาบมันเป็นร้านที่เราพอมีกำลังซื้อ และแชร์กันได้ครับ ท่านใดสะดวกก้เชิญมาฟังดนตรี และดื่มกินกันแบบง่ายๆ ด้วยกันนะครับ

กิจกรรมทั้งสองเราจะทำแบบ "น้อยๆ เค็มๆ" และไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรมาก ท่านที่สะดวกก็เชิญนะครับ คิดซะว่ามาร่วมกันทำเรื่อง "น้อยๆเค็มๆ" ร่วมกัน แบ่งปันกำลังใจกันครับ

วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 30, 2557

สุรชาติ บำรุงสุข : รำลึก 130 ปี ร.ศ.103 : 11 ผู้กล้าแห่งการปฏิรูปสยาม

ภาพจาก วิกิพีเดีย

ที่มา มติชนออนไลน์

ยุทธบทความ

รำลึก 130 ปี ร.ศ.103 : 11 ผู้กล้าแห่งการปฏิรูปสยาม

(มติชนสุดสัปดาห์ 24-30 ตุลาคม 2557)

"ไพร่เป็นพื้นยืนร้องทำนองชอบ
ตามระบอบปาลิเมนต์ประเด็นขำ
แม้นนิ่งช้าล้าหลังยังมิทำ
จะตกต่ำน้อยหน้าเวลาสาย
...

ให้รีบหาปาลิเมนต์ขึ้นเป็นหลัก
จะได้ชักน้อมใจไพร่สมาน
เร่งเป็นพลีปรีดาอย่าช้ากาล
รักษาบ้านเมืองเราช่วยเจ้านาย"

เทียนวรรณ


ในความพยายามปัจจุบันที่ต้องการขับเคลื่อนประเทศไทยผ่าน "การปฏิรูป" นั้น เราอาจจะพบว่าข้อเสนอให้มีการปฏิรูปประเทศในการเมืองไทยนั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด

เพราะหากย้อนเวลากลับสู่อดีตเมื่อครั้งสยามเริ่มต้นก่อร่างสร้างตัวเพื่อก้าวสู่การเป็น "รัฐประชาชาติ" (nation-state) หรือเป็น "รัฐสมัยใหม่" ในทางรัฐศาสตร์นั้น ได้มีข้อเสนอเพื่อหวังว่าจะเกิดการปฏิรูปการเมืองของประเทศ ที่กำลังเผชิญกับความท้าทายหลายๆ ด้าน ที่ผูกโยงถึงการอยู่รอดของสยามในอนาคต

หากพิจารณาเรื่องการปฏิรูปประเทศของสยามนั้น ว่าที่จริงแล้วอาจจะต้องหันกลับไปดูเงื่อนไขและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยุครัชกาลที่ 3

กล่าวคือ ในรัชสมัยของพระองค์ ปัจจัยใหม่ที่เข้ามามีผลอย่างมากต่อความเป็นไปของสยามก็คือ การเข้ามาของประเทศตะวันตกซึ่งมีฐานะเป็น "รัฐมหาอำนาจ" และแตกต่างจากตะวันตกในยุคอยุธยาอย่างสิ้นเชิง

เพราะการเข้ามาของรัฐมหาอำนาจตะวันตกในครั้งนี้ มีทั้งเรื่องของการแสวงหาดินแดน การขยายอิทธิพลทางการค้า การเข้ามาควบคุมจุดยุทธศาสตร์ของเส้นทางเดินเรือ และการเผยแพร่ศาสนา

ท่ามกลางสถานการณ์ชุดใหม่ เริ่มมีคนไทยบางส่วนให้ความสนใจกับการเรียนรู้จากตะวันตก เช่น การศึกษาภาษาอังกฤษ หรือความสนใจในวิทยาการตะวันตก เป็นต้น

ตัวอย่างของสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ (ขณะผนวชเป็นพระภิกษุ) และกลุ่มเชื้อพระวงศ์และข้าราชการบางส่วน จนกระทั่งเมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 4 พระองค์ตระหนักดีว่า ถึงเวลาแล้วที่สยามต้องเปิดประเทศรับการเข้ามาของตะวันตก

หรืออีกนัยหนึ่งของภาษาในยุคปัจจุบันก็คือ พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่สยามต้องเปิดรับโลกาภิวัตน์ที่ถูกขับเคลื่อนจากการขยายตัวของโลกตะวันตกในการออกสู่พื้นที่นอกยุโรปในยุคหลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม

ยุทธศาสตร์ในการอยู่รอดของสยามที่ปรากฏชัดในยุครัชกาลที่ 4 จึงได้แก่ การยอมรับข้อเสนอของตะวันตก แทนการใช้แนวทางต่อสู้แบบแข็งขืน และปฏิเสธแนวทางที่เชื่อว่าสยามจะเอาชนะสงครามกับมหาอำนาจตะวันตกได้

บทเรียนจากสงครามระหว่างอังกฤษกับหงสาวดี ตอบได้ชัดว่ากองทัพโบราณของชนพื้นเมืองต่อสู้ไม่ได้กับกองทัพแบบใหม่ของรัฐตะวันตก

และบทเรียนเช่นนี้ถูกพิสูจน์อีกครั้งจากการรุกของกองทัพฝรั่งเศสในการเข้าตีไซ่ง่อน

จนเห็นได้ชัดว่าในที่สุดแล้วคู่สงครามเก่าของสยามถูกทำลายลง กลายสถานะเป็นเพียงผู้อยู่ใต้การปกครองของเจ้าอาณานิคมตะวันตก

ดังนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติในปี 2411 สภาพแวดล้อมใหม่ทางยุทธศาสตร์รอบๆ สยาม จึงได้แก่ การที่พื้นที่เหล่านี้ตกอยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมของรัฐมหาอำนาจตะวันตกอย่างสิ้นเชิง จะรอก็แต่เพียงเวลาว่าเมื่อใดรัฐมหาอำนาจเจ้าอาณานิคมเหล่านั้นจะรุกคืบเข้าคุกคามดังเช่นที่กระทำกับเพื่อนบ้านรอบๆ สยามมาแล้ว

ภัยคุกคามจากรัฐตะวันตกจึงเป็นความท้าทายโดยตรงต่อสถานะของสยามในอนาคต

ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว พบว่าสถานะของสถาบันกษัตริย์มีความไม่มั่นคงเป็นอย่างยิ่ง

ดังเป็นที่ทราบกันว่าอำนาจทางการเมืองที่แท้จริงตกอยู่ในมือของขุนนางผู้ใหญ่ คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และบรรดาขุนนางในสายสกุลบุนนาค

ในสภาพที่กษัตริย์พระองค์ใหม่ต้องอยู่ภายใต้ความท้าทายเช่นนี้ พระองค์จึงทรงพยายามสร้างฐานอำนาจเพื่อคานกับอำนาจของกลุ่มขุนนางเก่า

ฉะนั้น 2 ปีแรกหลังจากการครองราชย์ พระองค์จัดตั้ง กรมทหารมหาดเล็ก ขึ้นในปี 2413

และอีก 3 ปีต่อมาพระองค์ทรงควบคุมอำนาจการเก็บภาษีเข้าสู่ศูนย์กลางด้วยการออก พระราชบัญญัติหอรัษฎากรพิพัฒน์ ในปี 2416 เพื่อป้องกันการรั่วไหลของภาษีที่ตกอยู่ในมือขุนนาง

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่สำคัญต่อสถานะของพระองค์ก็คือ การที่ขุนนางในสายสกุลบุนนาคให้ความสนับสนุนอย่างชัดเจนต่อกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ขึ้นดำรงตำแหน่งวังหน้า โดยไม่มีการคอยรับสนองพระบรมราชโองการตามราชประเพณีแต่อย่างใด

เหตุการณ์เช่นนี้ได้กลายเป็นความขัดแย้งใหญ่และขยายตัวจนกลายเป็น "วิกฤตการณ์วังหน้า" ในปี 2417

ความขัดแย้งครั้งนี้รุนแรงถึงขนาดที่วังหน้าต้องเสด็จลี้ภัยการเมืองไปหลบอยู่ในสถานทูตอังกฤษ

และสถานการณ์คลี่คลายลงเมื่อวังหน้ายอมลดพระราชอำนาจ

ต้องยอมรับว่าสยามผ่านสถานการณ์ "สงครามกลางเมือง" มาได้ เพราะหากรัฐมหาอำนาจอย่างอังกฤษตัดสินใจเข้าแทรกแซงในวิกฤตครั้งนี้แล้ว ความขัดแย้งอาจขยายตัวเป็นความรุนแรงในวงกว้างได้ไม่ยากนัก

และขณะเดียวกัน สถานการณ์สงครามดังกล่าวก็อาจนำไปสู่การตกอยู่ภายใต้การควบคุมของอังกฤษได้ด้วย...

สยาม "โชคดี"

อย่างไรก็ตาม ในปี 2425 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ก็ถึงแก่พิราลัย และในขณะเดียวกัน บรรดาขุนนางรุ่นใหม่และบุตรหลานขุนนางบางส่วนที่เดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศเริ่มทยอยกลับ

ประกอบกับรัชกาลที่ 5 เองก็ทรงมีพระราชปณิธานอย่างแน่วแน่ที่จะสร้างสยามให้มีความเจริญในด้านต่างๆ ให้ทัดเทียมกับอารยประเทศตะวันตก

และขณะเดียวกันก็ทรงตระหนักว่าการบริหารราชการแผ่นดินสมัยใหม่ต้องการการแบ่งเบาพระราชภาระของพระมหากษัตริย์

แนวคิดเช่นนี้ทำให้พระองค์ตัดสินพระทัยส่งพระราชโอรสบางส่วนไปเรียนที่ประเทศอังกฤษ

อย่างไรก็ตาม ในท่ามกลางความผันผวนของการเมืองระหว่างประเทศของสยาม ประกอบกับความพยายามของกษัตริย์สยามในการรวบอำนาจเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบอบการปกครองของพระองค์นั้น เชื้อพระวงศ์และข้าราชการส่วนหนึ่งที่รับราชการอยู่ที่กรุงปารีสและกรุงลอนดอน ได้มีโอกาสพูดคุยกันถึงอนาคตของประเทศ

ในที่สุด พวกเขาได้ตัดสินใจทำเอกสารกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองราชการแผ่นดิน

เอกสารนี้ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในวันพฤหัสบดี แรม 8 ค่ำ เดือน 2 ปีวอก ร.ศ.103 ซึ่งก็ตรงกับวันที่ 9 มกราคม 2427

บรรดาเจ้านายและข้าราชการที่ทำหนังสือกราบบังคมทูลในครั้งนี้ จำนวน 11 นาย ได้แก่

1.พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์) 2.พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา) 3.พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์) 4.พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์) 5.นายนกแก้ว คชเสนี (พระยามหาโยธา) 6.หลวงเดชนายเวร (พระยาอภัยพิพิธ) 7.นายบุศย์ เพ็ญกุล (จมื่นไวยวรนาถ) 8.ขุนปฏิภาณพิจิตร (หุ่น) 9.หลวงวิเสศสาลี (นาค) 10.นายเปลี่ยน และ 11.สัปเลฟเตอร์แนนสะอาด [เป็นเชื้อพระวงศ์ 4 พระองค์และสามัญชน 7 คน]

เอกสารทูลเกล้าฯ ฉบับนี้มีสาระสำคัญ 3 ประการ คือ

1.ประเทศกำลังเผชิญกับอันตราย

2.การจะรักษาประเทศให้รอดพ้นจากอันตราย จำเป็นต้องเปลี่ยนแนวทางการรักษาบ้านเมืองไปในทิศทางเดียวกับญี่ปุ่น ซึ่งได้ดำเนินไปตามแนวทางการปกครองของยุโรป

และ 3.การจะทำให้ข้อ 2. เป็นผลสำเร็จ ต้องลงมือให้ได้จริงทุกประการ

ในทัศนะของกลุ่มผู้เสนอมีการปฏิรูป ร.ศ.103 นี้ พวกเขาเชื่อว่าอันตรายสูงสุดที่สยามกำลังเผชิญอยู่นั้น ไม่สามารถใช้แนวคิดเก่ามาแก้ปัญหาได้ เช่น ความเชื่อว่าสยามเคยรักษาเอกราชมาได้ ดังนั้น เมื่อต้องเผชิญกับภัยคุกคามของตะวันตกก็น่าจะสามารถพาตัวเองให้รอดพ้นได้

ทัศนะเช่นนี้ถูกมองว่าไม่เป็นจริง เพราะรัฐเจ้าอาณานิคมกำลังออกแสวงหาดินแดน และประเทศที่ด้อยกว่าก็มักจะถูกบุกเข้ายึดครอง

หรือการจะแสวงหาการค้ำประกันจากรัฐมหาอำนาจก็อาจไม่เป็นจริง เพราะเมื่อเกิดสถานการณ์จริงแล้ว รัฐดังกล่าวก็อาจไม่ยอมใช้อำนาจของตนเองเข้าปกป้องสยาม แต่กลับปกป้องผลประโยชน์ของตนมากกว่า

ในเงื่อนไขเช่นนี้ ญี่ปุ่นจึงตัดสินใจเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง โดยจัดการปกครองประเทศให้เป็นไปในแนวทางของยุโรป และหวังว่ารูปแบบการปกครองที่เป็นมาตรฐานสากลจะเป็นที่ยอมรับในเวทีระหว่างประเทศ มากกว่าการแข็งขืนด้วยการนำพาประเทศไปภายใต้รูปแบบการปกครองเก่า

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นพยายามแก้ไขกฎหมายให้เป็นสากล เช่น กฎหมายตะวันตก และหวังว่าการบังคับใช้กฎหมายแบบสากล จะทำให้เกิดการยอมรับมากขึ้น

ดังนั้น กลุ่มนักปฏิรูปชุดแรกของสยามจึงเสนอให้มีการจัดการบ้านเมืองตามแบบยุโรป รวม 7 ประการ ได้แก่

1.ให้เปลี่ยนแปลงการปกครองจาก "แอบโสลูดโมนากี" (Absolute Monarchy) เป็น "คอนสติติวชั่นแนลโมนากี" (Constitutional Monarchy) โดยพระมหากษัตริย์เป็นประธานของบ้านเมือง และมีข้าราชการเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ เหมือนพระเจ้าแผ่นดินในยุโรป [หมายถึงเปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ-ผู้เขียน]

2.การทำนุบำรุงแผ่นดินให้มี "คาบิเนต" (Cabinet) เป็นผู้รับผิดชอบ [หมายถึงคณะรัฐมนตรี-ผู้เขียน]

3.ต้องให้ข้าราชการมีเงินเดือนพอใช้เพื่อป้องกันการคอร์รัปชั่น

4.ให้ประชาชนมีความเสมอภาคกันทางกฎหมาย

5.ให้ยกเลิกขนบธรรมเนียมและกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อความเจริญของบ้านเมือง

6.ให้มีเสรีภาพในการแสดงความเห็น และแสดงออกได้ในที่ประชุมหรือในหนังสือพิมพ์

และ 7.ต้องเลือกข้าราชการที่มีความรู้ ความประพฤติดี และมีอายุ 20 ปีขึ้นไป

นอกจากนี้ ผู้เสนอยังได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า "ทางที่ข้าพระพุทธเจ้ากราบบังคมทูลพระกรุณาว่าเป็นคอนสติติวชั่นยุโรปนั้น หาได้ประสงค์ที่จะมีปาลิเมนต์ในเวลานี้ไม่" หากต้องการ "อำนาจและความรับผิดชอบอยู่ในมือราษฎรทั้งสิ้น ให้มีเคาเวอนเมนต์ (Government) และกำหนดกฎหมายความยุติธรรมอันแน่นอน" [หมายถึงการจัดตั้งรัฐบาลแบบยุโรป-ผู้เขียน]

รัชกาลที่ 5 มีพระราชดำรัสตอบต่อข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปประเทศครั้งนี้ว่า พระองค์ทรงตระหนักถึงอันตรายที่สยามต้องเผชิญไม่แตกต่างจากความเห็นที่กราบบังคมทูล และในส่วนเรื่องของการปฏิรูปการปกครองของประเทศ สิ่งที่พระองค์ต้องการคือ "คอเวอนเมนตรีฟอม" (Government Reform) [หมายถึงการปฏิรูปรัฐบาล-ผู้เขียน] เพราะในขณะนั้น ได้มีคณะเสนาบดีเป็นรัฐบาลอยู่แล้ว

ข้อเสนอของคณะปฏิรูป ร.ศ.103 อาจจะไม่สามารถผลักดันให้เป็นจริงได้ทั้งหมด

และในอีก 18 ปีต่อมา นักปฏิรูปคนสำคัญอีกคนคือ "เทียนวรรณ" ก็ปรากฏตัวขึ้นพร้อมกับการออกหนังสือเพื่อนำเสนอความคิดของเขาในปี 2445

จนอาจกล่าวได้ว่า ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ต้องเผชิญกับข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปประเทศของ "คณะ ร.ศ.103" และต่อมาก็คือข้อเรียกร้องทางการเมืองของ "เทียนวรรณ"

ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในอีกมุมหนึ่งเรื่องราวเหล่านี้คือจุดเริ่มต้นของการเรียกร้องการปฏิรูปสยามในยุคใหม่นั่นเอง

ขอคารวะแด่ นักปฏิรูปคณะแรกของสยามในวาระครบรอบ 130 ปี!

ชูวิทย์ I'm No.5 ทีใครทีมัน


ที่มา FB ชูวิทย์ I'm No.5

วลีคุ้นหูที่คนไทยทุกคนได้ยินตั้งแต่เด็ก เมื่อเวลาหนึ่ง ฝ่ายหนึ่งได้เปรียบ พอเวลาผ่านไป ก็เป็นจังหวะของอีกฝ่ายหนึ่ง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เรียกว่า “ทีใครทีมัน”

ลองพิจารณาดูว่าจริงไหม?

1. สปช. ไม่เอาคนนอกเข้าร่วมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (สมัยก่อนพูดเสียดิบดี “ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม แม้ว่าจะเป็นเสียงของประชาชนส่วนน้อยก็ต้องรับฟัง” แต่พอมีอำนาจเข้าหน่อยดันบอก “คนนอกไม่เกี่ยวนะจ๊ะ”)

2. สนช. และ สปช. ได้รับเงินเดือนตอบแทนและสวัสดิการ รวมทั้งจำนวนที่ปรึกษา ผู้ติดตาม เหมือน ส.ส. และ ส.ว. ทุกประการ (จะปฏิรูปทุกๆด้าน แต่พอถึงคราวตัวเอง ได้รับอภิสิทธิ์เช่นเดียวกับ ส.ส. และ ส.ว. คราวนี้ปิดปากเงียบ ไม่ร้องสักแอะว่าเงินเดือน ผลประโยชน์มากเกินไป)

3. สนช. เปรียบเสมือน ส.ส. ส่วน สปช. เปรียบเสมือน ส.ว. (แต่ทั้ง ส.ส. และ ส.ว. ตอนเข้ารับตำแหน่งต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สิน ไปๆมาๆ ป.ป.ช. บอกว่า สปช. ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน เพราะเป็นตำแหน่งทางวิชาการ ให้มันได้เสียอย่างนี้สิ คนดีไม่ต้องตรวจสอบ)

4. สมัยพรรคเพื่อไทยมีอำนาจเป็นรัฐบาล ผลักดัน “กฎหมายนิรโทษกรรม” เข้าสภา (ตอนตัวเองมีอำนาจก็มันมือ พอตอนนี้อำนาจหายโดนหางเลขเป็นแถว เรียงกันเป็นลูกระนาดตั้งแต่ยิ่งลักษณ์ สมศักดิ์ นิคม ยันจารุพงศ์ ไม่รู้ป่านนี้หายมึนหรือยัง?)

5. นโยบายที่เคยด่าเขาว่า “ประชานิยม” และสารพันโปรเจ็คที่จะเดินหน้าใหม่ (เริ่มต้นก็แจกเงินชาวนา 1,000 บาทต่อไร่ นี่มันไม่ประชานิยมตรงไหน? ล็อตเตอรี่ 80 บาทก็ทำไม่ได้ ขาย 100 เท่าเดิม ส่วนเรื่องพลังงานทำไปทำมาก็คงเข้าอีหรอบเดิม)

ดูเอาแล้วกัน อย่างนี้เขาเรียกว่า “ทีใครทีมัน”

ตอนนั้นอุตส่าห์ไปม็อบ เดินเป่านกหวีด ตากแดด ตากฝน กินข้าวกลางถนน เต้นแร้งเต้นกา

ตอนนี้ผู้นำประท้วงหนีไปบวช ส่วนที่เหลือเป่าสากแทนเป่านกหวีดกันหมด

คลิป "ประยุทธ์"ตอบสื่อบัญชีทรัพย์สินน้องชายตรวจสอบได้ แต่ถ้าไม่ผิดให้ระวังแล้วกัน




https://www.facebook.com/video.php?v=10152998418923814&set=vb.182927663813&type=2&theater
ooo



ทำไม!ในเมื่อเป็นเงินส่วนตัว ไม่เปิดบัญชีฝากส่วนตัว
ทำไมต้องไปฝากกับบัญชีสหกรณ์กองทัพบก
และที่ท่านบอกสามารถทำได้!

ก็ยิ่งทำให้ งงไปใหญ่ ว่ามีเจตนาอะไรกันแน่! หรือว่า ปกปิดซ่อนเร้น
ยักย้ายถ่ายเท ส่วนที่ท่านบอกว่าถ้าน้องชายไม่ผิดก็ระวังตัวไว้ให้ดี
ท่านพูดก็ไม่ถูกเพราะ เงินส่วนตัวมันไปผูกพันธ์ บัญชีกับเงินหลวง ประชาชนย่อมมีความสงสัย ดังนั้นต้องหาคำตอบให้หายสงสัยครับ #โจรสลัด

นักการเมือง ผู้นำ และรัฐบุรุษ


นักการเมืองไม่ดี -ดี ก็เหมือนคนในสังคมทั่วไป ก็คือ มีดีและไม่ดี ประชาชนจึงต้องมีสิทธิเลือกคนเข้าไปทำงาน เขาทำไม่ดี ไม่ถูกใจ เราก็ไม่เลือกเขาอีก ก็จบ เขาทำผิดกฎหมาย เราก็เอาเขาเข้าคุก ก็จบ ระบบแบบนี้เป็นไปนานๆ ก็จะผลักดันคนให้ตื่นตัวคัดคนเก่งๆ คุณภาพดี และคิดว่ามีนิสัยดีได้รับเลือกตั้ง ได้เข้าทำงานมากขึ้นๆๆๆๆๆ คนแบบรัฐบุรุษก็จะตามมา และถ้าเป็นรัฐบุรุษเก๊ เราก็ขับไล่คนแบบนั้นอีกจากตำแหน่งไป แต่คนที่มาจากการแต่งตั้ง ไม่ว่าตำแหน่งไหน เราไล่พวกน้ันออกไปจากตำแหน่งได้ไหมครับ ไม่ได้เลย มีแต่เราต้องเป้นขึ้ข้ามันไปชั่วชีวิต

ดูประธานาธิบดี โจโควี แห่งอินโดนีเซียซิครับ เขาได้เปนนายกเมืองโซโล ต่อมาพัฒนาขึ้นไปสมัครและได้รับเลือกตั้งได้เป็นผู้ว่าการเมืองจาร์กาต้า แล้วก็สมัครชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดี นี่คือความต่อเนื่องและการพัฒนาของระบบประชาธิปไตย คนเก่งก็ได้รับความนิยม ได้ทำงานใหญ่ขึ้นๆๆ มีประสบการณ์และบทเรียนมากขึ้นๆๆๆๆๆ 

แล้วของเราเป็นอย่างไร สามวันดี สี่วันไข้ เดี่ยวก็ รปห. เดี่ยวก็ รปห. ให้คนส่วนหนึ่งได้อำนาจพิเศษ ได้งบพิเศษที่ไม่เคยมีการตรวจสอบ ไม่มีการเลือกตั้งหรือการรับรองใดๆจากประชาชนแม้แต่น้อย อย่างนี้ 1. คนเก่งๆที่ไหนที่อยากเข้าไปทำงานการเมือง มีแต่คนหน้าด้านอยากเข้าไปเลียแข็งเลียขาผู้มีอำนาจ และ 2. เราไม่มีทางจะได้รัฐบุรุษเลย เพราะไม่มีคนผ่านการหล่อหลอมต่อสู้ในวงการเมืองของประชาชน เรามีแต่ผู้นำที่ดีแต่พูด ดีแต่สร้างภาพ ดีแต่โกหกพกลมไปวันๆ เห็นแก่ตัวสารพัด ทำเรื่องมีปัญหามากมาย แต่กลับมีคนยกย่อง ทั้งยังชอบการยกย่อง ชอบให้คนอื่นๆเข้าไปเลียแผล็บๆด้วย นี่คือความมืดดำของรปห. และระบบที่ีไม่เป็นประชาธิปไตยในระยะยาว.

Tanet C.

งานเข้า "ประยุทธ์ 1" เศรษฐกิจชะงักงัน-หนี้ครัวเรือนพุ่ง ส่งออกติดลบ-ท่องเที่ยวซึม


ที่มา มติชนออนไลน์

บทความพิเศษ
ศัลยา ประชาชาติ
มติชนสุดสัปดาห์ 24-30 ตุลาคม 2557

รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้ามาบริหารกิจการบ้านเมืองยังไม่ถึง 2 เดือน แต่ถ้าจะนับเวลารวมกับอีก 3 เดือนก่อนหน้า ในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) "บริหารประเทศ" ด้วยแล้ว

ตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา นับว่า "บิ๊กตู่" ต้องแบกความหวังของคนทั้งประเทศ รวมถึงการประคับประคองเศรษฐกิจในภาวะลุ่มๆ ดอนๆ ควบคู่การรักษาอุณหภูมิทางการเมือง

ไหนจะปัญหาประชาชนขาดความเชื่อมั่น ไม่กล้าใช้จ่าย

ไหนจะปัญหาข้าวของแพงจนคนชักหน้าไม่ถึงหลัง

ยังไม่รวมถึงตัวเลขการส่งออกที่ยังติดลบ จำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงต่ำกว่าปกติ

เศรษฐกิจไทยอาการหนักหนาขนาดที่ว่า ก่อนเดินทางไปประชุมรัฐมนตรีคลังเอเปคที่นครปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกปากยอมรับว่า เศรษฐกิจไทยขณะนี้อยู่ในภาวะชะงักงัน หรือ "stagnation"

นั่นคือ คนจนไม่มีงานทำ หางานทำยาก แบบที่คนจนเรียกว่า เงินฝืด ส่วนคนไม่จน มีเงินเยอะแยะ แต่ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร เพราะดอกเบี้ยถูก

รัฐมนตรีคลังบอกอีกว่า "ภาวะเศรษฐกิจโลกตอนนี้อยู่ในภาวะที่ผมเคยจำศัพท์ได้ว่า เขาเรียกว่า Stagnation คือมันเกิดหยุดอยู่กับที่ คนมีตังค์ก็ไม่อยากลงทุน ไม่อยากเคลื่อน ส่วนคนจนไม่มีตังค์ก็เลยเคลื่อนไม่ออก"

ประมาณว่าเศรษฐกิจไทยในขณะนี้เหมือนกับเพลงฮิตท่อนหนึ่งที่ว่า ...งึกๆ งักๆ มันเป็นงึกๆ งักๆ มันเป็นกะอึ่กกะอั่ก มันเป็นจึ๊กๆ จั๊กๆ... จริงๆ

ถึงแม้ขุนคลังสมหมายจะยืนยันว่า ภาวะเศรษฐกิจชะงักงันนี้ "ไม่เสี่ยง" เพราะประเทศไทยยังมีฐานะการเงินการคลังดี แม้ปีงบประมาณที่ผ่านมา จะเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายไปกว่า 2 แสนล้านบาท และรัฐบาลก็จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคสอง ต่อจากภาคแรกที่อัดฉีดช่วยเงินชาวนา 40,000 ล้านบาท ใช้งบฯ เหลื่อมปี งบฯ กลาง และงบประมาณไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2558 (ตุลาคม-ธันวาคม 2557) จ้างงานอีกกว่า 324,000 ล้านบาท

"รัฐบาลจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคสอง ซึ่งต้องขอรอประเมินผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีงบประมาณนี้ (ตุลาคม-ธันวาคม 2557) ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2558 ก่อน"

กระนั้นก็ตาม เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้เร็วดั่งใจหวังหรือไม่ เมื่อตัวเลขเศรษฐกิจทั้งหลายบ่งชี้ว่า สถานการณ์ไม่น่าวางใจ

ปีนี้หลายสำนักเศรษฐกิจต่างต้องปรับคาดการณ์จีดีพีลดลงต่ำกว่า 2% อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารโลก ประมาณการไว้ที่ 1.5% ศูนย์วิจัยกสิกรไทยและศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ คาดว่าจะโต 1.6%

และสิ้นเดือนตุลาคมนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังก็เล็งจะปรับประมาณการจีดีพีลดลง จากปัจจุบันให้ไว้ที่ 1.5-2.5% และต่างให้ความหวังว่า จีดีพีไทยปี 2558 จะเติบโตขึ้นในระดับ 4-5%

ดร.เชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย อธิบายว่า คำว่า stagnation ตามที่ รมว.คลังพูดถึง คือการเติบโตต่ำกว่าที่ควรจะเป็น หรือต่ำกว่าศักยภาพค่อนข้างมาก และก็เกิดขึ้นแล้วกับประเทศไทยในปีนี้ แม้จะยังไม่ถึงกับเป็นภาวะเศรษฐกิจถดถอย (recession) หรือจีดีพีติดลบต่อเนื่อง 2 ไตรมาสก็ตาม ถือว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้ก็โตต่ำกว่าศักยภาพ ซึ่งควรจะเป็น 4-5%

มุมมองของศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ว่า ยิ่งถ้ามองไปข้างหน้า ก็น่ากังวลว่า หากเศรษฐกิจไทยยังโตต่ำกว่าศักยภาพต่อไปอีก ก็จะทำให้ในปีหน้า เป็นการโตต่ำติดต่อกันเป็นปีที่ 3 และจะกดดันมาออกแบบนโยบายเศรษฐกิจมากขึ้น

ทั้งนี้ ตามข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ พบว่า เศรษฐกิจไทยเติบโตต่ำกว่าศักยภาพมาตั้งแต่ปี 2556 ที่มีจีดีพี 2.9% ส่วนปี 2557 คาดว่าจะเติบโต 1.5-2.0% แล้ว ขณะที่ครึ่งแรกของปี 2557 เศรษฐกิจไทยขยายตัวชะลอ ติดลบ 0.1%

ขณะที่ภาคส่งออกที่เป็นหัวจักรสำคัญในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ มีน้ำหนักในจีดีพีกว่า 70% ตัวเลขการส่งออก 8 เดือน (มกราคม-สิงหาคม) จากการเปิดเผยของกระทรวงพาณิชย์ พบว่าติดลบ 1.36%

ด้านการท่องเที่ยวอีกหนึ่งเครื่องจักรสำคัญ ตลอด 8 เดือนที่ผ่านมา พบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวอยู่ที่ 15,703,000 คน หรือติดลบ 11.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

"ปัจจัยส่งออกเป็นประเด็นที่น่ากังวล สำหรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีหน้า ว่าจะเติบโตได้ตามศักยภาพหรือไม่ หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเมินเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เช่นเดียวกับ จีน ญี่ปุ่น ยุโรป ที่เศรษฐกิจอาจชะลอตัวไปถึงปีหน้า และกดดันภาคส่งออกของไทยโดยตรง"

ดร.เชาว์กล่าว

อีกด้านหนึ่ง มุมมองของ "แบงก์ชาติ" หรือธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดูจะไม่ต้องการให้คนไม่วิตกังวลหรือมองภาพเศรษฐกิจไทยเชิงลบเกินไป

นายจิรเทพ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา โฆษกแบงก์ชาติ ยอมรับว่าการเติบโตของไทยอาจดูไม่แข็งแกร่งเหมือนในอดีต เพราะการฟื้นตัวยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น เศรษฐกิจจึงยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ในทุกภาคส่วน

โดยเฉพาะเรื่องหนี้ครัวเรือน ที่ปัจจุบันตามข้อมูล ธปท. พบว่า ในไตรมาส 2/2557 ยอดคงค้างเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนของสถาบันการเงิน เพิ่มขึ้นเป็น 10,029,545 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อน 2% เมื่อดูเข้าไปในรายละเอียดพบว่า เป็นการกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์เพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลมากที่สุดใน 3 หมวด

ได้แก่ สินเชื่อเพื่อจัดหาที่อยู่อาศัย 1,547,272 ล้านบาท สินเชื่อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ 883,435 ล้านบาท และสินเชื่อเพื่อการบริโภคอื่นๆ 863,070 ล้านบาท โดยเปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน +13%, -1% และ +14% ตามลำดับ

ทำให้ปัจจุบันสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีไทยเพิ่มขึ้นเป็น 83.5% จากระดับ 81.5% เมื่อสิ้นปีก่อนหน้า และติด 1 ใน 2 ประเทศที่มีหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีสูงสุดในอาเซียนรองจากมาเลเซีย

นั่นทำให้ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. ยอมรับว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่ปรับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 83% กำลังเป็นที่จับตามองในช่วงนี้ ว่าจะสะท้อนความเปราะบางทางการเงินมากน้อยเพียงใด

ขณะที่ ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่า แนวโน้มดอกเบี้ยซึ่งมีทิศทางขาขึ้น อาจทำให้ภาระการชำระดอกเบี้ยและเงินต้นของภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น เพิ่มปัญหาจากหนี้ครัวเรือนที่สูงในปัจจุบัน

และเมื่อคนเป็นหนี้มีภาระหนี้เพิ่มขึ้น ก็จะไม่ค่อยจับจ่ายใช้สอยและจะลดการบริโภค ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไม่เติบโตมากนักอีกทางหนึ่งด้วย

ภาวะเช่นนี้มีความจำเป็นที่ภาครัฐต้องกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศในภาวะเศรษฐกิจมีความเปราะบาง และฟื้นตัวช้า ซึ่งตอนนี้มีมาตรการระยะสั้นออกแล้ว แต่ยังไม่เห็นมาตรการระยะกลาง หรือระยะยาวในปีหน้าออกมา

พิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจ ตลอดจนสัญญาณที่กระทรวงการคลัง แบงก์ชาติ และกูรูเศรษฐกิจ ประเมินออกมาแล้ว ทำให้อดกังวลไม่ได้ว่า เศรษฐกิจไทยบนบ่า "บิ๊กตู่" จะฟื้นตัวรวดเร็วสมใจแฟนคลับหรือไม่

เพราะถ้าพลั้งเผลอไป หรือแก้ไขไม่ตรงจุด ก็มีโอกาสหลุดโค้งตกขอบ

และเกิด "ภาวะชะงักงัน" ไปถึงปีหน้าได้เช่นกัน

เซียมซีหมายเลข 1 ในมือของหมายเลข2 ..


"...เอาปีกใส่ แล้วรีบไว ไปทิศเหนือ
ร่อนลงเมื่อ เผื่อต่อรอง น้องที่ขอ
ดีลพี่น้อง ฟ้องวิกฤต ติดถึงคอ
ถึงต้องง้อ ขอและบีบ ให้รีบทำ

ขอพักรบ เพราะพบศึก ลึกยิ่งกว่า
อำมาตย์กล้า มาท้าทาย หมายเด็ดหัว
กฏของศึก เมื่อร้าวลึก ชักนึกกลัว
จักดีชั่ว มั่วสองด้าน พาลวอดวาย

พี่จีนบอก ผลออกแล้ว ตามแนวเหลี่ยม
เชิญมาเยี่ยม เตรียมมาคุย ลุยงานค้าง
ตกลงไหม? ให้แบบนี้ นี่เรื่องราง
ส่วนเรื่องยาง ทางเรื่องข้าว ยาวๆไป

ข้อแลกเปลี่ยน ระดับเซียน เขียนเสนอ
เรื่องของเธอ เออจบไหม?? พี่ใหญ่ขอ
วิน/วินนะ จะได้ผ่าน การณ์ที่รอ
หรือไม่พอ ขอใดเพิ่ม จงเติมมา

ประเทศใคร?? ใกล้วันเปลี่ยน เขียนบทใหม่
ประเทศใคร?? ไฟสุมขอน ร้อนนักหนา
ประเทศใคร?? ผู้เป็นใหญ่ ไร้ธรรมา
ประเทศใคร?? ใจอิจฉา มหาชน .."

by..@สุทรพูม่า จเด็จ ดอกไม้

ooo

ทำไมจะเป็นไปไมได้ครับ ที่ประวิตรจะบินไปพบทักษิณ

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ตอนเป็น ผบ.ทบ. ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2548 ทักษิณ ขณะนั้นเป็นนายกตั้งมากับมือ

แถมเป็นการ "หักดิบ" คนของเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีด้วย

งานนี้คนที่กระอักเลือดที่สุดน่าจะเป็นสนธิ ลิ้มทองกุล และสื่อเครือผู้จัดการ
อุตส่าห์เป็นนั่งร้านให้กับการรัฐประหาร 2557 นอกจากไม่ได้อะไรแล้วยัง.........

http://www.thairath.co.th/content/460038

Thanapol Eawsakul

วันพุธ, ตุลาคม 29, 2557

เมื่อข่าว "บิ๊กตู่" ว่อนเน็ต


วันนี้( 28 ตุลาคม ) เป็นอีกวันที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนอย่างอารมณ์ดี ชี้แจงผลการประชุม ครม. อย่างละเอียดทีละเรื่อง ทั้งเรื่อง สัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 จนถึงเรื่องจำนำข้าวที่มีปัญหา แต่ในช่วงสุดท้าย บิ๊กตู่ ได้ถามหา ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เพราะไม่พอใจรูปภาพหน้า 1 ที่เป็นรูปบิ๊กตู่ กำลัง ออกท่าชี้นิ้ว ลองไปดูกันว่า ท่านผู้นำไม่พอใจเรื่องอะไร จากคลิปนี้




เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 28 ต.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ถึงกรณีที่พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา อดีตแม่ทัพภาคที่ 3 ผู้ช่วยผบ.ทบ. น้องชายพล.อ.ประยุทธ์ นำเงินในส่วนของกองทัพภาคที่ 3 ไปใส่ไว้ในบัญชีส่วนตัว ว่าก็ต้องมีการตรวจสอบกันอีกครั้ง แต่เท่าที่ตนสอบถามพล.อ.ปรีชาได้นำเงินส่วนตัวไปฝากไว้ในบัญชีของสหกรณ์กองทัพบกซึ่งสามารถทำได้ แต่ในส่วนของเงินกองทัพนั้นต้องมีการลงนามก่อนจะฝากถอนหลายคน ดังนั้นก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามขั้นตอนการตรวจสอบต่อไป ไม่อยากให้นำมาเป็นประเด็นใหญ่โตอะไรเพราะเดี๋ยวของตนออกมาก็ต้องมีคนนำมาเป็นประเด็นอีกเช่นกัน

“ดังนั้นกรณีน้องชายผมหากผิดก็ว่าไปตามผิด แต่ถ้าไม่ผิดก็ให้ระวังไว้แล้วกัน”

เศรษฐกิจตก การเมืองแตก ณ สยามประเทศไทย


ข่าวสำคัญที่สุดหน้า10(ASIA)บนนสพภาษาอังกฤษ Việt Nam News เช้านี้ !!

Sa-nguan Khumrungroj

...

รร.อิมพีเรียลควีนส์ปาร์ค เบื้องหลัง “ประตูที่ปิดตาย”





26 ตุลาคม 2557

โรงแรมอิมพีเรียลควีนส์ปาร์คได้ประกาศปิดกิจการอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 30 กันยายน ที่ผ่านมา แต่วันสุดท้ายของโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดของเมืองไทยที่ปิดดำเนินการจริงคือวันที่ 1 ตุลาคม ที่ผ่านมา ท่ามกลางบรรยากาศอาลัยของแขกที่มาใช้บริการและเหล่าพนักงานที่เหลืออยู่

จากช่วงแรกที่เจ้าของโรงแรมเคยประกาศไว้ว่าอีก 2 ปีจึงปิดโรงแรมเพื่อปรับปรุง แต่เพียงหนึ่งเดือนผ่านไป ผู้บริหารก็เปลี่ยนใจและตัดสินใจปิดโรงแรมทั้งหมดภายในหนึ่งเดือนต่อมา 

ดังนั้นช่วง 1 เดือนที่เหลือก่อนปิดกิจการจึงกลายเป็นความโกลาหลอลหม่านไปทั้งโรงแรม ประการแรกคือเร่งรีบดำเนินการจ้างพนักงานทั้ง 800 คนให้ออกในสภาพที่ทุกคนไม่ทันตั้งตัว ประการต่อมาคือการจัดหาที่พักใหม่ให้กับลูกค้าทั้งประเภทสายการบินที่ทำสัญญาพักเป็นรายปี รวมถึงลูกค้า Longstay ที่พักอยู่กับโรงแรมแห่งนี้เป็นเวลานานจนเหมือนบ้านหลังที่สองไปแล้ว

ในวันหนึ่งของการmorning brief ที่มีประจำทุกเช้า มีการอ่านจดหมายของแขกฝรั่งคนหนึ่งที่พักกับโรงแรมมานานกว่า 10 ปี เมื่อรู้ว่าโรงแรมจะปิดทำการในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้า เขาจึงเขียนจดหมายอำลาอาลัยว่า 

“ ผมเสียใจที่รู้ข่าวว่าจะมีการปิดโรงแรมอิมพีเรียลควีนส์ปาร์ค ผมพักอยู่ที่นี่นานจนรู้สึกผูกพันว่าที่นี่เป็นบ้านหลังที่สองของผม และพนักงานทุกคนก็เสมือนเป็นคนในครอบครัว หลังจากที่รู้ว่าเหล่าพนักงานถูกปลดออกและจะต้องตกงาน หวังว่าทุกคนคงจะได้งานใหม่ และถ้าเลือกได้ผมจะเลือกเปิดโรงแรมและเก็บพนักงานทุกคนไว้เหมือนเดิม” 

ถึงจะมีการเสนอให้ฝรั่งคนนี้พักที่โรงแรมแห่งใหม่ แต่เขาก็ปฏิเสธและตัดสินใจว่าจะย้ายออกจากเมืองไทยไปอยู่ที่อื่น

หลังจากมีประกาศจะปิดโรงแรมอย่างเป็นทางการนั้น มีการแจ้งให้ลูกค้าที่เป็นเมมเบอร์ การ์ดมาใช้สิทธิทั้งห้องพักและห้องอาหาร ซึ่งช่วงสัปดาห์สุดท้ายเริ่มมีแขกทยอยมาใช้บริการที่พักของโรงแรมคึกคักเป็นพิเศษ จนในวันสุดท้ายมีประมาณเกือบ 100 คน ซึ่งส่วนมากเป็นคนไทยที่มาใช้สิทธิของบัตรเมมเบอร์ การ์ด แม้กระนั้นก็ยังทำให้บรรยากาศของโรงแรมขนาดใหญ่เงียบเหงาและวังเวงอย่างเศร้าสลด

แม้จะเป็นวันสุดท้ายของการทำงานของพนักงานที่เหลือ แต่ทุกคนก็ปฏิบัติงานตามหน้าที่อย่างแข็งขันจนถึงนาทีสุดท้าย 

11.00 น.ลูกค้าที่เข้าพักเริ่มทยอยเช็คเอ้าท์ออกบริเวณหน้าฟร้อนท์ โดยมีจีเอ็มคนสุดท้ายชาวออสเตรเลีย มร.ไมเคิล ซีเทค คอยทำหน้าที่ส่งแขกและมอบของขวัญให้กับแขกทุกคนเป็นที่ระลึกในวันสุดท้ายในการเปิดบริการของโรงแรม ซึ่งแขกคนสุดท้ายในประวัติศาสตร์คือสามีภรรยาชาวไทยที่มาพัก

หลังจากส่งแขกคนสุดท้ายออกจากโรงแรมแล้ว บริเวณล็อบบี้ขนาดใหญ่ที่เคยมีผู้คนเดินขวักไขว่ก็เงียบเหงาวังเวงจนน่าใจหาย พนักงานเริ่มหยิบมือถือมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึก หลายคนเดินไปนั่งที่ลอบบี้ที่ไม่เคยอนุญาตให้พนักงานนั่งในระหว่างปฏิบัติหน้าที่มาก่อน

มุมหนึ่งที่ทุกคนต้องมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึกคือศาลาไทยที่ตั้งสง่างามอยู่ล็อบบี้อันถือเป็นสัญลักษณ์ของโรงแรม เพราะเป็นงานศิลปะที่ อ.ถวัลย์ ดัชนีได้ฝากไว้เมื่อตอนเปิดโรงแรม

เวลาเที่ยงตรงจีเอ็มและเหล่าพนักงานที่มีทั้งศิษย์เก่าที่เพิ่งถูกจ้างออกและพนักงานปัจจุบันรวมกว่า 400 คนรับประทานอาหารมื้อสุดท้ายร่วมกันที่ห้องอาหารปาร์ควิว หลายคนกล่าวว่าทำงานที่นี่มานานยังไม่เคยได้รับประทานอาหารที่ห้องนี้เลย นี่ถือเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายจริง ๆ

หลังมื้อเที่ยงผ่านไปท่ามกลางบรรยากาศที่หงอยเหงา พนักงานก็ไปรวมตัวที่ล็อบบี้อีกครั้ง พร้อมกับร่วมกันร้องเพลง “คำสัญญา” ของวงอินโดจีน โดยมีจีเอ็ม มร.ไมเคิล กล่าวปิดท้ายเพื่อขอบคุณและอำลา

“ผมขอขอบคุณพนักงานทุกคนที่อยู่ร่วมกันทำงานบริการให้กับลูกค้าด้วยความซื่อสัตย์มาโดยตลอด วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่พวกเราจะได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขและเป็นวันสุดท้ายที่พวกเราทุกคนจะได้ทำงานร่วมกัน ถึงแม้จะรู้ว่าเราต้องตกงานแต่ทุกคนก็ยังทำหน้าที่เพื่อให้บริการลูกค้าจนนาทีสุดท้าย โดยไม่มีใครผละจากงานเลยสักคน….”

หลังจากจีเอ็มกล่าวจบ พนักงานทุกคนก็โผเข้ามากอดเขาแล้วร้องไห้ด้วยความอาลัยและปลงตกกับโชคชะตาที่จะต้องเจอหลังจากที่โรงแรมปิดตัวลง ซึ่งแม้แต่จีเอ็มก็ต้องตกงานด้วยเช่นกัน ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าภูมิใจที่ทำงานโรงแรมที่มีเจ้าของเป็นคนไทย

ครั้นเมื่อไม่มีแขกเหลืออยู่และเหล่าพนักงานทุกคนก็เริ่มทยอยกันไปเก็บข้าวของแล้ว จากกำหนดการที่จะปิดประตูใหญ่ทางเข้าโรงแรมตอน 18.00 น. พอถึงเวลา 16.00 น. ประพันธ์ศักดิ์ แพทยานนท์ จีเอ็มคนแรกและมร.ไมเคิล ซีเทค จีเอ็มคนสุดท้ายจึงตัดสินใจปิดประตูกระจกทางเข้าบานใหญ่ที่ไม่เคยปิดเลยมาตั้งแต่เปิดทำการมาเมื่อ 22 ปีที่ผ่าน จากนั้นไฟแชนดาเลียขนาดใหญ่ที่ล็อบบี้ก็ถูกปิดลง พร้อมกับไฟดวงอื่น ๆ ทิ้งความมืดสลัวในบรรยากาศที่เศร้าสลด

เป็นการปิดฉากสุดท้ายของโรงแรมอิมพีเรียลควีสน์ปาร์คอย่างถาวร

http://www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9570000123103