วันเสาร์, กรกฎาคม 31, 2564

แจกจ่ายไฟ้เซอร์ล็อตแรก ๑.๕ ล้าน "มันกลยุทธ์เหล้าพ่วงเบียร์"

ถึงแล้ว ๑.๕ ล้านโด๊สเซสวัคซีนไฟ้เซอร์ชุดแรกที่รัฐบาลสหรัฐบริจาค อีก ๑ ล้านจะตามมาภายหลัง รมว. สาธารณสุขเป็นคนไปรับกับมือ แล้วคณะบริหารจัดการออกระเบียบแจกจ่ายทันที เพื่อให้เข้าไปอยู่ในแขนประชากรโดยเร็วที่สุด

ใครเป็นผู้ร้องขอผ่านสถานทูต ใครเป็นคนประสานจัดการให้ได้สองล้านครึ่งและส่งมาถึงทันการ หากเปรียบเทียบระยะเวลาแล้วไวกว่าวัคซีนผลิตได้เองในประเทศ นั้นยังไม่ต้องพูดถึง รอไว้นายกฯ เสร็จสรรพภารกิจรับมอบ มากมายหลายอย่างเสียก่อน

Deep Blue Sea @WassanaNanuam แจ้งว่า บต. จะเข้าทำเนียบเช้าวันจันทร์นี้ (๒ ส.ค.) ทำพิธี รับมอบไฟ้เซอร์จากอุปทูตสหรัฐ แอสตร้าเซเนก้าจากทูตอังกฤษ บ่ายรอพบรองประธานาธิบดีและ รมว.ต่างประเทศสวิสเซอร์แลนด์ รับมอบเครื่องช่วยหายใจ ATK

จากนั้นไปตึกภักดีบดินทร์ ทำพิธีเปิดรถไฟสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต/บางซื่อ-ตลิ่งชันเอี่ยมอ่อง ที่รองโฆษกสำนักนายกฯ โฆษณาชักชวนพี่น้องประชาชนไปทดลองเดินทางกัน เปิดให้ใช้บริการฟรีสามเดือน ไม่ต้องห่วงคลัสเตอร์โควิด เพราะคนละเรื่องกัน

คุณคิตตี้ มินเนี่ยน นักทวี้ต @keng_kitty เธอบอกว่า “ต่างชาติยื่นมือช่วยไทยพร้อมๆ กันหลายประเทศนี้ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญค่ะ แล้วเบื้องหลังรัฐบาลก็ทำงานด้านการทูตอย่างหนักเช่นกันค่ะ” โดยเฉพาะซีโนแว็คจากจีนล้านโด๊สเซส และแอสตร้าฯ จากญี่ปุ่นล้านกว่า

จะบอกว่าเรื่องขอให้เขาทำทานรัฐบาลนี้ถนัด ก็เขินน่ะ ส่วนไฟ้เซอร์นั่นหมอทศพร เสรีรักษ์ ชวนเพื่อนพ้องไปร้องขอที่สถานทูตอเมริกัน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมโน่น ซึ่งตอนนั้นทั้ง รมว.สาสุข และพวกหมอๆ เวชบริกร ต่างยักไหล่ไม่สน จะรอของไทยเก๋กว่า

วันนี้เป็นวันที่คนติดเชื้อรายวันสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ๑๘,๙๑๒ ราย ยอดผู้ตาย ๑๗๘ คน ก็สูงสุดกว่าวันไหนๆ ด้วยเหมือนกัน แม้นว่าอัตรา การติดและตายช่วงกว่าอาทิตย์ที่ผ่านมา อยู่ในเกณฑ์ หมื่นห้าและกว่าร้อยมาตลอด

ระเบียบการแจกจ่ายวัคซีนที่ออกมา ให้ใช้ไฟ้เซอร์สำหรับบุคคลากรทางการแพทย์เท่านั้น ยังไม่วายมีลักลั่น ดัง นพ.สลักธรรม โตจิราการ บอก “ไม่ให้วัคซีนไฟเซอร์กับคนที่ได้วัคซีนเข็มเดียวนี่ไม่สมควรครับ น่าจะให้วัคซีนไฟเซอร์ให้คนที่ได้วัคซีนอื่นเข็มเดียว

หรือคนที่ได้วัคซีนครบมานานเกินสามเดือนในกรณีที่ได้ Sinovac มา หรือ ๖ เดือนถ้าได้ AZ มาครับ” ถ้างั้นไปดูกันในรายละเอียดสักหน่อย เริ่มจากว่าต้องเป็นบุคคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่กับผู้ป่วยโควิดโดยตรงเท่านั้น มีชื่อปรากฏในฐานข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข

อันนั้นดีแล้ว ไม่มีใครว่าอะไร พอมาถึงตอนกำหนดให้บุคคลากรผู้จะได้รับไฟ้เซอร์ ฉีดซิโนแว็คมาแล้วสองเข็มเป็นเวลาอย่างน้อย ๔ สัปดาห์ ชักจะเริ่มทะแม่งละสิ ชนิดที่ Thanapol Eawsakul โพล่งเลยทันทีว่าเป็นการจัดสรรวัคซีนแบบ

“ถ้าจะฉีดวัคซีนคุณภาพดี ต้องฉีดวัคซีนคุณภาพห่วยคู่ไปด้วย...มันกลยุทธ์เหล้าพ่วงเบียร์ ที่เสี่ยเจริญ (สิริวัฒนภักดี) เคยทำมาเมื่อ ๓๐ ปีที่แล้ว” เขาว่าตอนนั้นเบียร์เสี่ยเจริญขายไม่ออก แต่เหล้าของเขาดัง ฉะนั้น “ถ้าอยากจะซื้อเหล้าก็ต้องซื้อเบียร์พ่วงด้วย”

การจัดสรรไฟ้เซอร์ล็อตแรกนี่ละม้ายคล้ายกัน ถึงแม้ฉีดซิโนแว็คเข็มแรก แต่ได้แอสตร้าฯ เป็นเข็มสองแล้วก็ไม่ให้ไฟ้เซอร์เป็นบู้สเตอร์ หรือถ้าฉีดซิโนแว็คและแอสตร้าฯ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเข็มแรกเข็มเดียว จะใช้ไฟเซอร์เป็นเข็มสองตามวิธีผสมของอังกฤษก็ไม่ได้

ข้อเสนอของ นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยเป็นเลิศฯ ศิริราช ที่ว่าวัคซีนไฟ้เซอร์จากอเมริกา ๒.๕ ล้านโด๊สเซส หักไป ๕ แสนสำหรับบุคคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าแล้ว ที่เหลืออีก ๒ ล้าน “ให้เอามาใช้ในสูตร AZ เข็มหนึ่ง PZ เข็มสอง

สำหรับคนทั่วไปในกลุ่มเสี่ยง เช่นคนอายุมากและผู้มีโรคประจำตัว จะทำให้มีประชาชนถึง ๒ ล้านคนได้รับไฟ้เซอร์วัคซีนชั้นดี นัยว่าสูตรนี้จะทำให้กระตุ้นภูมิต้านทานได้ดีกว่า ทว่าข้อเสนอนี้น่าจะเป็นหมัน เพราะการเน้นใช้ไฟ้เซอร์ปิดท้ายซิโนแว็ค

อย่างไรก็ตาม แม้นว่าในระยะหน้าสิ่วหน้าขวาน ที่การติดเชื้อและการตายเพิ่มมากเป็นรายวัน จะมีวัคซีนบริจาคจากชาติต่างๆ สหรัฐ อังกฤษ ญี่ปุ่น จีน รวมแล้วประมาณกว่า ๕ ล้านโด๊สเซส ถ้าการจัดสรรยังลักลั่น ตัดบัวไม่ขาดกับวัคซีนด้อยคุณภาพ ราคาแพง

หรือมีการเอารัดเอาเปรียบ มีเส้นสายฝากคนไข้ โดยระดับอาจารย์แพทย์ ดังมีนักเรียนแพทย์บ่นออกสื่อสังคมละก็ ความพยายามที่จะเปิดประเทศให้จงได้ รับนักท่องเที่ยวฤดูหน้าตอนปลายปี ระวังจะกลายเป็นมิคสัญญียิ่งกว่าบราซิลและอินเดีย

(https://www.facebook.com/thestandardth/posts/2809681042658103 และ https://news.thaipbs.or.th/content/306550) 

ม็อบหมู่บ้านทะลุฟ้า บุกพรรคร่วมรัฐบาล ภูมิใจไทย พลังประชารัฐ ประชาธิปัตย์ 30 กรกฎาคม 2564


https://www.facebook.com/watch/live/?v=532078621172957&ref=watch_permalink

.....

วิธีปกปิดความเฮงซวยของมึง มันขัดรัฐธรรมนูญ ! - คณาจารย์นิติศาสตร์ ออกแถลงการณ์





แถลงการณ์คณาจารย์นิติศาสตร์

30 กรกฎาคม 2564

ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ออก “ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 29)” ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 นั้น

คณาจารย์นิติศาสตร์ในสถาบันต่าง ๆ รวม 72 คน ดังรายนามปรากฎท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ เห็นว่า ในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉิน แม้รัฐสามารถจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ แต่ก็ไม่สามารถระงับการใช้สิทธิเสรีภาพได้อย่างสิ้นเชิง การจำกัดสิทธิฯ ต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง ภายใต้หลักความได้สัดส่วนพอสมควรแก่เหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีที่มีสภาพบังคับเป็นโทษทางอาญา

และเห็นว่า ข้อกำหนดดังกล่าวมีเนื้อหาที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างแจ้งชัด ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1. การห้ามเสนอข่าว จำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มี “ข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว” ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 34 มาตรา 35 และมาตรา 29 ประกอบมาตรา 26 เนื่องจาก

1.1 ความดังกล่าวมีลักษณะ “คลุมเครือ ไม่ชัดเจน” วิญญูชนหรือบุคคลทั่วไปไม่อาจคาดหมายได้ว่า ข้อความใด “อาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว”

ในช่วงวิกฤตนี้ ความหวาดกลัวย่อมเป็นปฏิกิริยาปกติของประชาชนทั่วไปต่อข่าวสารในทางลบ การเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นความจริง เพื่อให้ภาครัฐหรืออาสาสมัครเข้าช่วยเหลือผู้ป่วย หรือเพื่อเตือนบุคคลอื่นให้หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรค และการรายงานข่าวตามความเป็นจริงเพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง หากเป็นข่าวสารในแง่ลบ ก็อาจถูกตีความได้ว่าเป็น “ข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว” และเป็นความผิดตามกฎหมายได้

การออกข้อกำหนดที่มีเนื้อหาเช่นนี้ เท่ากับเป็นการห้ามประชาชนมิให้ใช้เสรีภาพในการแสดงออก และห้ามสื่อมวลชนมิให้ใช้เสรีภาพในการนำเสนอข่าว เพราะบุคคลดังกล่าวย่อมไม่แน่ใจว่า คำพูด การแสดงออก หรือการนำเสนอข่าวสาร จะผิดกฎหมายหรือไม่ ส่งผลให้ประชาชนและสื่อมวลชนส่วนหนึ่งอาจเลือกที่จะไม่แสดงออกหรือไม่นำเสนอข่าวเลย (chilling effect) ทั้ง ๆ ที่ข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ด้วยเกรงผลทางกฎหมายที่จะตามมา ดังนั้น ข้อกำหนดนี้จึงมิใช่มาตรการที่เหมาะสมแต่อย่างใด

1.2 การฝ่าฝืนข้อกำหนดดังกล่าวเป็นความผิดตามมาตรา 18 แห่ง พรก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 มีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกินสองปี จึงเป็นกรณีการกำหนดความผิดและโทษทางอาญา โดยบทบัญญัติที่ “คลุมเครือ” (vagueness) และ “มีความหมายไม่เฉพาะเจาะจง” (indefinite / non specificity) ถึงขนาดที่วิญญูชนไม่อาจรู้และเข้าใจได้ว่า ข้อความใดสามารถเผยแพร่ได้ ข้อความใดไม่อาจเผยแพร่ได้ ขัดต่อหลัก “ไม่มีกฎหมาย ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ” (No crime nor punishment without law)

แม้คำว่า “หวาดกลัว” เคยปรากฏในกฎหมายไทย แต่กฎหมายดังกล่าวก็บัญญัติองค์ประกอบความผิดข้ออื่นไว้อย่างชัดเจน และมีบทยกเว้นความผิดด้วย อาทิ

- ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 135/1 ต้องมีการกระทำที่เป็นความผิด เช่น ใช้กำลังประทุษร้าย ก่อความเสียหายแก่ระบบการขนส่งสาธารณะ ต่อสิ่งแวดล้อม ฯลฯ โดยมีความมุ่งหมาย...เพื่อสร้างความปั่นป่วนโดยให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน จึงจะเป็นความผิดฐานก่อการร้าย ที่สำคัญกว่านั้น กฎหมายยังบัญญัติชัดว่า “การกระทำในการเดินขบวน ชุมนุม ประท้วง โต้แย้ง หรือเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือหรือให้ได้รับความเป็นธรรมอันเป็นการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นการกระทำความผิด”

- ปว. ฉบับที่ 17 พ.ศ. 2501 หรือ ปร. ฉบับที่ 42 พ.ศ. 2519 ก็ห้ามเผยแพร่เฉพาะ “ข้อความซึ่งเป็นเท็จในลักษณะที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตกใจหรือวิตกกังวลหรือเกิดความหวาดกลัว”

การลงโทษทางอาญานั้น ดูที่เจตนาเป็นหลัก ผู้กระทำความผิด ต้องมีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผล ให้การส่งข้อความของตน ส่งผลเสียหายต่อบุคคลหรือสังคมส่วนรวม การกำหนดโทษที่ตัวข้อความ โดยมิได้พิเคราะห์ถึงเจตนาของผู้ส่งสาร ย่อมขัดต่อหลักดังกล่าว และเป็นการกำหนดความผิดอาญาที่เกินความจำเป็น (overcriminalization)

1.3 เมื่อพิเคราะห์ถึงความเหมาะสม ความจำเป็น และประโยชน์ที่ได้จากการบังคับใช้ข้อกำหนดดังกล่าว เปรียบเทียบกับความเสียหายที่เกิดจากการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนและเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน และประโยชน์สาธารณะที่จะได้จากการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ตลอดจนความเสี่ยงที่รัฐบาลอาจใช้มาตรการนี้ ปิดกั้นการแสดงออกซึ่งความเห็นต่าง หรือปกปิดข้อความจริงที่เป็นผลลบต่อรัฐบาล กรณีจึงเห็นได้ชัดว่า ข้อกำหนดดังกล่าวขัดต่อหลักความได้สัดส่วนพอสมควรแก่เหตุ

1.4 แม้ข้อกำหนดนี้ คัดลอกถ้อยคำมาจากมาตรา 9 (3) แห่ง พรก. ฉุกเฉิน 2548 ก็ตาม แต่ก็เห็นได้ชัดว่า บทบัญญัติมาตรา 9 (3) อันเป็นกฎหมายแม่บท ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเสียเอง เช่นนี้ สมควรให้มีการเสนอคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญตามช่องทางที่เหมาะสม ต่อไป

อนึ่ง แม้เคยมีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับพรก.ฉุกเฉิน 2548 แต่ก็เป็นข้อวินิจฉัยในมาตรา 9(2) มาตรา 11(1) และมาตรา 16 [คำวินิจฉัยที่ 9/2553 และคำวินิจฉัยที่ 10-11/2553] มิใช่มาตรา 9(3)

1.5 แม้เจ้าหน้าที่ของรัฐบางท่าน ยืนยันว่า การเสนอข่าวตามความจริง ไม่เป็นความผิด แต่นั่นก็เป็นความเห็นของท่านเพียงลำพัง มิได้ผูกพันเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ตำรวจ อัยการ และศาล ข้อกำหนดที่ “คลุมเครือ ไม่ชัดเจน” เช่นนี้ ยังคงสุ่มเสี่ยงต่อการตีความและบังคับใช้กฎหมายตามอำเภอใจได้


2. การกำหนดให้ สำนักงาน กสทช. แจ้งผู้รับใบอนุญาตให้บริการอินเตอร์เน็ตตรวจสอบ IP address และให้แจ้ง สนง. กสทช. ทราบ และให้ระงับการให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่ IP address ที่เผยแพร่ข่าวสารซึ่งมีลักษณะต้องห้าม ในทันที เป็นข้อกำหนดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 34 มาตรา 36 ประกอบมาตรา 26 เนื่องจาก

2.1 เจ้าหน้าที่ของรัฐจะจำกัดเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ อันได้แก่ เสรีภาพในการติดต่อสื่อสารถึงกัน และเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารซึ่งเป็นมุมกลับของเสรีภาพในการแสดงออก ได้นั้นต้องมีกฎหมายระดับพระราชบัญญัติหรือเทียบเท่า ให้อำนาจไว้โดยชัดแจ้ง

การสั่งระงับการให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่ IP address ใด ย่อมกระทบต่อเสรีภาพสองประการดังกล่าว ดังนั้น หากนายกรัฐมนตรี และ สนง. กสทช. ต้องการระงับการให้บริการอินเตอร์เน็ต ท่านก็ต้องมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้อำนาจท่านไว้ด้วย

2.2 เมื่อพิจารณาความในมาตรา 9 แห่ง พรก. ฉุกเฉิน 2548 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่นายกรัฐมนตรีใช้ในการออกข้อกำหนดดังกล่าว กลับไม่พบข้อความใด ๆ ที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีออกข้อกำหนดหรือประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่ “สั่งระงับหรือยับยั้งการติดต่อหรือการสื่อสาร” หรืออีกนัยหนึ่ง คือ การสั่งระงับการให้บริหารอินเตอร์เน็ต ได้เลย

อำนาจดังกล่าว ปรากฏอยู่ในมาตรา 11 (5) แห่งพรก. ฉุกเฉิน 2548

อย่างไรก็ดี การใช้อำนาจตามมาตรา 11 (5) นี้ นายกรัฐมนตรีจะใช้ได้ ก็ต่อเมื่อมี “การประกาศให้สถานการณ์ฉุกเฉินนั้นเป็น “สถานการณ์ที่มีความร้ายแรง” ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่งแล้ว เท่านั้น

นับแต่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน (ประกาศฉบับที่ 29 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2564) แม้นายกรัฐมนตรีเคยประกาศยกระดับสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็น “สถานการณ์ที่มีความร้ายแรง” ช่วงสั้น ๆ ในเดือนตุลาคม 2563 แต่ก็ได้ยกเลิกไปแล้ว

2.3 เมื่อมาตรา 9 มิได้บัญญัติให้อำนาจในการสั่งระงับการติดต่อสื่อสารไว้ และยังมิได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามมาตรา 11

- นายกรัฐมนตรี ย่อมไม่อาจออกข้อกำหนดให้ ผู้รับใบอนุญาต “ให้ระงับการให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่ IP address” ที่เผยแพร่ข้อความหรือข่าวสารที่ต้องห้ามได้

- สนง. กสทช. ย่อมไม่อาจอาศัยอำนาจตามความในข้อกำหนดนี้ สั่งการให้ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตระงับการให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่ IP address ใด ๆ ได้

- ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่ระงับการให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่ IP address ใด ตามข้อกำหนดหรือตามคำสั่งของ สนง. กสทช. ย่อมเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายด้วย เช่นกัน

2.4 เมื่อพิจารณากฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง อาทิ มาตรา 31 และมาตรา 44/5 แห่ง พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม 2553 หรือมาตรา 43 แห่ง พรบ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม 2544 ย่อมเห็นได้ว่า กรณีตามข้อกำหนดนี้ ไม่เข้าเงื่อนไขในการใช้อำนาจออกคำสั่งของสำนักงาน กสทช. ต่อผู้รับใบอนุญาต

2.5 ปัจจุบัน การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตกลายเป็นปัจจัยที่ห้า จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การระงับการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตโดยปราศจากเหตุผลที่แน่ชัด จึงเท่ากับเป็นการลงโทษที่เกินสัดส่วน เป็นการจำกัดเสรีภาพของประชาชนเกินสมควร


ด้วยเหตุนี้ ข้อกำหนดดังกล่าวทั้งสองข้อ จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรียกเลิกหรือแก้ไขข้อกำหนดดังกล่าวเสียใหม่

โปรดสังวรด้วยว่า มาตรา 17 แห่ง พรก. ฉุกเฉิน 2548 ยกเว้นความรับผิดทางกฎหมายให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ เฉพาะแต่กรณีที่กระทำโดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น เท่านั้น


อ่าน รายนามคณาจารย์นิติศาสตร์ ได้ที่นี่

สงสัยจัง !!

https://twitter.com/PeemaiSirikul/status/1421059130530271234

The Reporters สัมภาษณ์ "ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ" กรณีเปิดแคมเปญ ติดแฮชแท็ก #ไล่ประยุทธ์

https://www.facebook.com/watch/live/?v=533437491134698&ref=watch_permalink



Why Thailand must continue to protest | Comment


Why Thailand must continue to protest | Comment

Mar 10, 2021

The Times and The Sunday Times

Activist Nanthida Rakwong explains how the Red Shirts movement must continue its fight for democracy in Thailand.

วิสัยทัศน์ของครูใหญ่ที่ โรงเรียน Millfield ที่เจ้าฟ้าชายทรงจบมา แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 50 ปี วิสัยทัศน์นี้ยังคงความจริงในโลกปัจจุบัน !


10h ·

จดหมายทูตอังกฤษเล่าบทสนทนากับกษัตริย์ภูมิพลระหว่างเป็นแขกรับประทานอาหารกลางวันที่สวนจิตรลดา (5 มิถุนายน 2509)
ระหว่างนั้นได้สนทนาถึงการเลือกโรงเรียนสำหรับวชิราลงกรณ์ เนื่องจากโรงเรียน Rugby มีปัญหาว่ามาตรฐานของวชิราลงกรณ์ไม่ถึงขั้น เลยต้องลองโรงเรียน Millfield
"วชิราลงกรณ์ได้ไปดูโรงเรียน Millfield และได้สัมภาษณ์โดยครูใหญ่แล้ว; เขาได้รับการบอกว่าลูกหลานกษัตรฺย์ในโลกสมัยใหม่ จะต้องทำงานหนักยิ่งกว่าลูกหลานคนทั่วไป. วชิราลงกรณ์ไม่สนใจไอเดียแบบนี้!"
The Prince has already visited Millfield and has been interviewed by the headmaster; he was told that the royal children in the modern world must work even harder than the other children. He did not care for this idea!
ขอบคุณภาพจาก Nanthida Rakwong


ตึกแห่งหนึ่งในโรงเรียน Millfield


แบบนี้เฟกนิวส์ไหม



จาม การเมือง
17h ·

แบบนี้เฟกนิวส์ไหม
⁃วัคซีนจะมีล้น จะฉีดครบก่อนสิ้นปี
⁃ไทยจะเป็นศูนย์กลางวัคซีนของภูมิภาค
⁃จะมีวัคซีน 150 ล้านโดสเข้ามา
⁃วัคซีนที่ใช้มีคุณภาพดี
⁃ล็อกดาวน์เพียง 14 วัน
⁃ภูเก็ตแซนบอกซ์ไปได้ดี
⁃ยืนยันจะเปิดประเทศได้ใน 120 วัน
#ไล่ประยุทธ์ #ลงทะเบียนฉีดวัคซีน
- นาย​พิชัย​ นริ​พ​ทะ​พันธุ์ รองหัวหน้า​พรรค​เพื่อ​ไทย​ ด้าน​เศรษฐกิจ -

ดูแต่ละเรื่องที่มันทำ



Friends Talk
10h ·

อยากถามถึงผู้รู้ว่าในกล่องมันทำความเย็นเองได้รึเพราะของมาเมื่อสองวันที่แล้ว สอบถามคนทำงานในนั้น ตรงนั้นไม่ใช่ห้องเย็นใดๆ ซึ่งไฟเซ้อเก็บอุณหภูมิตู้เย็น 2-8 องศาได้เดือนนึง และเก็บนาน recommend -70++ เพราะดูรูปใกล้ๆมันเป็นกล่องกระดาษที่เขียนว่า softbox แถมต้องรอไอ้ตู่ทำพิธีวันจันทร์อีก




พลังแห่งโลกไซเบอร์ - Karmakamet แบรนด์เครื่องหอมชื่อดัง หลังหุ้นส่วนโพสต์ข่าวปลอม อ้างคนจัดฉากตายช่วงโควิด ทำโซเชียลวิจารณ์สนั่น ด้านแบรนด์แถลงขอโทษ แต่ไม่ทันแล้ว ลูกค้าตามไปต่อว่า บางส่วนทิ้งเครื่องหอมทั้งเซตลงโถส้วม !



https://hilight.kapook.com/view/215194


เบื้องหลังเรื่อง แบรนด์แกรนด์สปอร์ตตัดสินใจ ทำสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิด นั่นคืออนุญาตให้เมย์-รัชนก อินทนนท์ ใส่เสื้อแข่ง "ยี่ห้ออื่น" ในการแข่งขันโอลิมปิก



วิเคราะห์บอลจริงจัง
Yesterday at 7:12 AM ·

ข่าวใหญ่ที่สุดของกีฬาไทยวันนี้ ไม่มีอะไรเกิน ดราม่าชุดแข่งขันนักกีฬา เมื่อแบรนด์แกรนด์สปอร์ตตัดสินใจ ทำสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิด นั่นคืออนุญาตให้เมย์-รัชนก อินทนนท์ ใส่เสื้อแข่ง "ยี่ห้ออื่น" ในการแข่งขันโอลิมปิก
เหตุการณ์เป็นอย่างไร วิเคราะห์บอลจริงจัง จะอธิบายโมเมนต์สำคัญที่สุด ว่าทำไมแกรนด์สปอร์ตจึงยอมให้เมย์-รัชนก ใส่ชุดของโยเน็กซ์ ลงแข่งขันในโอลิมปิกได้
ก่อนอื่นต้องอธิบายว่า แกรนด์สปอร์ต เป็นแบรนด์ที่มีอายุยาวนานถึง 6 ทศวรรษ พวกเขาอยู่กับวงการกีฬาไทยมาตลอด และเป็นพาร์ทเนอร์ที่ดีกับคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยด้วย
แกรนด์สปอร์ต เซ็นสัญญาเป็นผู้ผลิตเสื้อแข่งขันให้นักกีฬาไทยมา 3 ครั้งติดต่อกัน ได้แก่
- สัญญาฉบับที่ 1 ปี 2005-2008
- สัญญาฉบับที่ 2 ปี 2009-2012
- สัญญาฉบับที่ 3 ปี 2013-2017
ตามด้วยฉบับที่ 4 คือปี 2018-2022 เป็นตัวเลขมูลค่า 181 ล้านบาท ซึ่งครอบคลุมโอลิมปิก 2020 และ เอเชียนเกมส์ 2022 กล่าวคือนักกีฬาไทยทุกคน ต้องใส่ชุดแข่งขันของแกรนด์สปอร์ตลงแข่งในทุกชนิดกีฬา
ต่อให้ทุกคนจะมีสปอนเซอร์ส่วนตัวอยู่แล้ว แต่ถ้าลงแข่งในทัวร์นาเมนต์ทีมชาติ จะต้องใส่แกรนด์สปอร์ต เรื่องนี้เป็นความเข้าใจร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม แกรนด์สปอร์ต ก็ต้องมาเผชิญกับดราม่าที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง เมื่อในโอลิมปิกครั้งนี้ พวกเขาโดนวิจารณ์เรื่องชุดการแข่งขันว่า เชยและรุ่มร่ามมากเกินไป
เรื่องเชยก็ประเด็นหนึ่ง ทุกคนมีสิทธิ์วิจารณ์กันไป ความชอบของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่น่ากังวลใจมากกว่าคือเรื่อง "ความรุ่มร่าม" ของเสื้อผ้า เพราะมันมีผลต่อ Performance ของนักกีฬา
กีฬาบางชนิด ชุดแข่งอาจไม่ได้มีผลมากนัก แต่กับกีฬาที่ต้องเคลื่อนที่ตลอด อย่างแบดมินตัน คุณเห็นชัดเจนเลยว่า มันส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของนักกีฬาจริงๆ
เราเห็น เมย์-รัชนก ต้องคอยถกแขนเสื้ออยู่เป็นประจำ รับรู้ได้ว่ามีความกวนใจอยู่บ้าง เดินไป เดี๋ยวถกเสื้อ เดี๋ยวถกเสื้อ คือมันไม่คล่องตัว และดูน่าอึดอัดแทน
ชุดแข่งประจำตัวที่เมย์-รัชนก ใช้ตอนแข่งเวิลด์ทัวร์ คือแบรนด์โยเน็กซ์ ซึ่งเป็นแขนกุด มันก็จะมีความกระชับกว่านี้ แต่ของแกรนด์สปอร์ตจะเป็นเสื้อมีแขน และไม่ได้ Fitting แบบพอดีตัว ทำให้มีความรุ่มร่ามอย่างที่เราเห็นกัน
ย้อนกลับไปวันที่ 28 กรกฎาคม เวลา 11.40 น.ที่ญี่ปุ่น เมย์-รัชนก ลงแข่งรอบแบ่งกลุ่มนัดสุดท้ายกับโซเนีย เซียะ มือ 18 จากมาเลเซีย นัดนี้เมย์ต้องชนะอย่างเดียว ถ้าแพ้ตกรอบ
ปรากฏว่าตลอดการแข่ง เธอเล่นได้อย่างน่าอึดอัด รัชนกแพ้ไปก่อนในเกมแรก 21-19 สถานการณ์วิกฤติถึงขีดสุด แต่โชคยังดี ที่เธอใช้ความเก๋าคัมแบ็กกลับมาชนะ อีก 2 เกมที่เหลือ 21-18 และ 21-10 เข้ารอบมาแบบหืดจับมาก
สิ่งหนึ่งที่เราเห็นอีกครั้ง ก็คือชุดแข่งมีผลต่อฟอร์มการเล่นของเธอจริงๆ มันดูเทอะทะมากจนน่ากวนใจ
ประเด็นนี้ แฟนกีฬาชาวไทยจึงแสดงความไม่พอใจใส่แกรนด์สปอร์ตเป็นอย่างมาก ว่าทำไมออกแบบชุดแบบนี้ ทำไมไม่ทำให้มีความกระชับ น้องเมย์จะได้เล่นได้คล่องตัวหน่อย
ธารา พฤกษ์ชะอุ่ม ซีอีโอของแกรนด์สปอร์ต ก็เห็นเหมือนกันว่ามีบางอย่างไม่ถูกต้อง เขาอธิบายว่า "เราตั้งใจทำชุดแข่งขันให้ดี ไม่อยากให้มีข้อผิดพลาดใดๆกับนักกีฬา จริงๆเราก็ไว้ใจทีมงานของเรา แต่บทมันจะผิดพลาด มันก็เหมือนมีกองหลัง 4 คนยืนอยู่ ได้แต่ป้องกันด้วยสายตา แล้วปล่อยบอลเข้าประตู"
ฝั่งแกรนด์สปอร์ต ได้ติดต่อไปที่คณะกรรมการโอลิมปิกไทย เพื่อให้สอบถามนักกีฬาเรื่องชุดแข่งว่าโอเคไหม แต่ได้รับคำตอบจากตัวนักกีฬาว่า "โอเค ไม่มีปัญหา"
เมย์ รัชนกบอกในภายหลังว่า "เอาจริงๆ เสื้อแข่งไม่ใช่ประเด็นสำคัญสำหรับตัวหนูเท่าไหร่ เพราะใส่อะไรก็ได้ ที่ผ่านมาหนูก็ใส่ของแกรนด์สปอร์ตลงแข่งขันมาตั้งแต่รอบแรกอยู่แล้ว หน้าที่สำคัญที่สุดของหนูคือลงไปทำหน้าที่ให้ดีที่สุดในสนามก็แค่นั้น"
น้องเมย์บอกว่าไม่มีปัญหา แต่เราไม่รู้ว่าจริงๆ เธอคิดแบบนั้นไหม แน่นอนว่าเธอคงบอกไม่ได้หรอกว่า "โอ๊ย ชุดแข่งรุ่มร่าม หนูไม่ชอบเลยค่ะพี่" เธอเข้าใจสถานการณ์ดี ว่าเสื้อแข่งต้องเป็นของแบรนด์อะไร และแกรนด์สปอร์ตกับสมาคมแบดมินตัน ก็ต้องร่วมงานกันอีกนาน ไม่มีประโยชน์ที่จะมาก่อดราม่าเอาตรงนี้
น้องเมย์แข่งจบ ได้พักอีกไม่ถึง 24 ชั่วโมง เธอต้องรีบเข้านอน เพราะต้องตื่นเช้ามาแข่งต่อทันทีเวลา 9 โมงเช้าที่ญี่ปุ่น
ในระหว่างที่น้องเมย์หลับไปแล้ว ก็มีสายโทรศัพท์สำคัญที่สุดเกิดขึ้น และมันจะถูกเล่าขานต่อไปในอนาคต
เมื่อคุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล นายกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ที่อยู่ที่ญี่ปุ่น ได้โทรศัพท์มาที่ไทย โทรหาธารา พฤกษ์ชะอุ่ม ซีอีโอของแกรนด์สปอร์ต ในเวลาตีสองที่ญี่ปุ่น กับประโยคที่เรียบง่ายว่า "พอจะเป็นไปได้ไหม ที่ทางแกรนด์สปอร์ต จะอนุญาตให้นักแบดมินตัน ใส่แบรนด์อื่นที่ไม่ใช่แกรนด์สปอร์ตเป็นการเฉพาะกิจในโอลิมปิกครั้งนี้"
นี่เป็นคำขอที่ต้องบอกว่า ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์กีฬาไทย ลองนึกภาพตามนะครับ สมมุติฟุตบอลทีมชาติไทย ใส่ชุดแข่งวอร์ริกซ์ลงเล่นฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกอยู่ แล้วนายกสมาคมฟุตบอล โทรหาเจ้าของวอร์ริกซ์บอกว่า "เกมหน้าขอให้ทีมชาติไทยใส่ชุดยี่ห้ออื่นแข่งได้ไหม" ถามหน่อยว่าใครจะไปยอม วอร์ริกซ์ก็ต้องโวยสิ ว่าผมจ่ายเงินไปแล้วนะเป็นร้อยล้าน คุณจะมาขอแบบนี้ได้ไง
ไม่ใช่แค่นั้น เรื่องนี้เอาจริงๆ มันเกี่ยวพันหลายอย่าง ลองคิดดูว่า ถ้าแกรนด์สปอร์ตยอมนักกีฬา 1 คน เดี๋ยวในอนาคต อาจมีสมาคมอื่นมาขอเปลี่ยนเสื้อแข่งอีกก็ได้ มันจะชุลมุนวุ่นวายกันเข้าไปใหญ่
ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าสมมติเปลี่ยนไปใส่ยี่ห้ออื่น ทางคณะกรรมการโอลิมปิกไทย จะยอมง่ายๆ หรือ เพราะอีกแบรนด์ ก็ไม่ได้เซ็นสัญญาจ่ายเงินให้อย่างเป็นทางการเสียหน่อย แล้วอยู่ๆ จะได้ภาพลักษณ์ดีๆ ในโอลิมปิกไปใช้แบบฟรีๆ มันก็ไม่น่าจะถูกต้อง
แต่แน่นอน ธารา ยอมรับว่าชุดแข่งที่ออกแบบไปมันก็รุ่มร่ามจริงๆ นั่นแหละ และทางแก้ที่เหมาะที่สุดคือ รีบส่งชุดแข่งที่ตัดเย็บใหม่ ไปจากไทยทันที เพื่อส่งให้ถึงน้องเมย์ในวันรุ่งขึ้น
แต่ในทางปฏิบัติมันทำไม่ได้ กว่าจะตัดเย็บ กว่าจะบินไปถึง มันก็ไม่ทันการ เพราะน้องเมย์ก็ต้องลงแข่งกับเกรกอเรีย ตันจุง จากอินโดนีเซีย เวลา 9 โมงเช้าที่ญี่ปุ่น กรอบเวลามันน้อยเกินไปในการจะผลิตเสื้อแข่งตอนนี้
ธารากล่าวว่า "เมื่อคุณหญิงปัทมา ขอมาแบบนั้น เราก็ต้องมาคิดว่า แล้วควรทำยังไง และตอนนั้น ผมคิดถึงคุณพ่อของผม ว่าท่านจะทำแบบไหน"
คุณพ่อของธารา คือ กิจ พฤกษ์ชะอุ่ม ผู้ก่อตั้งแกรนด์สปอร์ต ที่เสียชีวิตไปเมื่อปีที่แล้ว เขาได้ส่งไม้ต่อให้ลูกชายบริหารงานต่อ และนี่เป็นอีกหนึ่งการตัดสินใจที่สำคัญที่สุดของธารา
"คุณกิจก็คงจะบอกว่า เอาผลประโยชน์ของนักกีฬา ผลประโยชน์ของประเทศชาติมาก่อน ให้นักกีฬาเขาเล่นให้ชนะเถอะ เรื่องอื่นค่อยว่ากันทีหลัง ผมคิดว่าพ่อของผมคงพูดแบบนี้"
ธารารู้ ว่าคราวนี้แกรนด์สปอร์ตออกแบบผิดพลาด และการแก้ไขความผิดพลาดที่ดีที่สุด ไม่ใช่หาข้ออ้างแก้ตัว แต่ลงมือทำอะไรสักอย่างเพื่อเปลี่ยนแปลง ส่วนปัญหาต่างๆที่จะตามมา เดี๋ยวเขาแบกรับเอาไว้เอง
นั่นทำให้ธาราจึงตัดสินใจบอกคุณหญิงปัทมาว่า "ยินยอม" ให้นักแบดมินตัน ใช้ชุดแข่งขันของแบรนด์อื่นได้เป็นการเฉพาะกิจ แต่มีเงื่อนไขคือ ห้ามมีโลโก้ เพราะเขาเองก็ไม่อยากสร้างความลำบากใจให้คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยเหมือนกัน
คุณหญิงปัทมาตอบตกลง จากนั้นเมื่อวางสาย เธอจึงรีบไปดีลกับโยเน็กซ์ ซึ่งเป็นสปอนเซอร์หลักของน้องเมย์ รัชนก ให้จัดหาชุดแข่งทันที และดีไซน์ให้เอาธงชาติไทย แปะที่หน้าอกแทนที่โลโก้ของโยเน็กซ์แทน
โยเน็กซ์จัดทำเสื้อแข่งอย่างรวดเร็วมากในกรอบเวลาแค่ไม่ถึง 7 ชั่วโมง และในที่สุด ก่อนที่เมย์-รัชนก จะแข่งขันในเวลา 9.00 ที่ญี่ปุ่น สมาคมฯ ก็เอาเสื้อแข่งไปให้ โดยเมย์กล่าวว่า "นี่เป็นเสื้อแข่งที่เพิ่งได้มาเมื่อช่วงเช้าเลยค่ะ ทางผู้ใหญ่บอกว่าให้เปลี่ยนก่อนการแข่งขัน ก็เลยใส่ลงสนามแข่งทันที"
ผลสรุปคือ ด้วยชุดแขนกุดของโยเน็กซ์ ทำให้การเคลื่อนที่ของน้องเมย์ มีความคล่องตัวสูงมากและเต็มไปด้วยประสิทธิภาพอย่างยิ่ง ก่อนจะเอาชนะ ตันจุงจากอินโดนีเซียอย่างง่ายดายมากๆ 21-12 และ 21-19 เข้ารอบ 8 คนสุดท้ายไปอย่างเพอร์เฟ็กต์ที่สุด ไปชนกับไท่ จื้อ-อิง มือ 1 ของโลก ในรอบ 8 คนสุดท้าย
เรื่องนี้ แม้จะเป็นแค่เรื่องเสื้อแข่งขัน แต่เราจะเห็นได้ว่ามีความหมายที่น่าประทับใจหลายอย่างซ่อนอยู่
อย่างแรก เราเห็นความเป็นมืออาชีพของเมย์ รัชนก เธอยืนยันว่าใส่ชุดอะไรก็ได้ เธอเลือกใช้คำพูดอย่างฉลาด เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อใครเลย
อย่างที่ 2 เราเห็นความตั้งใจของสมาคมแบดมินตัน ที่เห็นปัญหาอยู่ชัดๆ ว่าชุดแข่งมันเป็นยังไง แต่ก็ไม่ได้ปล่อยไปตามยถากรรม แต่กล้าจะพูด กล้าเสนอความเห็น ลองหาทางว่าเป็นไปได้ไหม ที่จะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น คิดดูว่าแข่งจบปั๊บ แล้วแข่งรอบต่อไปตอน 9 โมงเช้า มีเวลาแค่ไม่ถึง 24 ชั่วโมง แต่คุณหญิงปัทมา ก็ทำให้ดีลนี้เกิดขึ้นได้
อย่างที่ 3 เราเห็นความมีสปิริตของแกรนด์สปอร์ต ไม่ใช่เรื่องง่ายนะ ที่คุณจ่ายเงินซื้อลิขสิทธิ์ในเวทีใหญ่อย่างโอลิมปิกไปแล้ว ก็ย่อมหวังจะได้เห็น แบรนด์เสื้อของคุณไปเฉิดฉายในเวทีโลก ลองคิดดูว่ารอบต่อไป เมย์ เจอไท่ จื้อ-อิง จากไต้หวัน นี่เป็นแมตช์ที่คนจะดูทั้งโลกแน่ๆ แต่แกรนด์สปอร์ตก็เห็นแก่นักกีฬาและผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง ตัดใจยอมให้ใช้เสื้อแข่งยี่ห้ออื่นแทนได้ คิดดูว่า การทิ้งผลประโยชน์ของตัวเองก็ต้องใช้หัวใจที่ใหญ่เหมือนกันนะ
อย่างที่ 4 เราเห็นศักยภาพในการจัดเตรียมชุดแข่งในกรอบเวลาที่สั้นมากๆ ของโยเน็กซ์ แต่ก็จัดเตรียมชุดได้อย่างเรียบร้อย แถมรักษาสัญญาเป็นอย่างดี ปิดโลโก้ทุกอย่าง จนสุดท้ายน้องเมย์มี Performance ที่ดีมากๆ ในการแข่งขัน
และอย่างที่ 5 เราเห็นว่าคำวิจารณ์ใดๆ ของประชาชน มันมีผลต่อความเปลี่ยนแปลงได้จริงๆ ถ้าหากไม่มีการวิจารณ์ ฝั่งสมาคมฯ แบดมินตันก็อาจจะไม่ขยับตัวก็ได้ เช่นเดียวกับแกรนด์สปอร์ต ก็อาจไม่เทกแอ็กชั่นก็ได้ แต่เมื่อสังคมเห็นว่าบางอย่าง มัน "น่าจะดีกว่านี้ได้" ก็บอกกล่าวกัน และสุดท้าย มันก็นำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงในที่สุด
สำหรับโอลิมปิกครั้งนี้ นี่เป็นโมเมนต์เล็กๆ แต่มีความงดงาม เพราะเราได้เห็นว่า เมื่อปัญหามันเกิดขึ้นแล้ว ประชาชนไม่นิ่งเฉยแต่พยายามส่งสารให้คนมีอำนาจได้รับรู้
ส่วนคนมีอำนาจเมื่อได้รับรู้แล้ว ก็ไม่ได้ปล่อยผ่าน แต่ยอมรับว่าปัญหามันเกิดขึ้นจริงๆ และช่วยกันหาทางแก้ไข จากนั้นใช้เวลาตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องผ่านหลายขั้นตอน โดยคิดถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้งไว้ก่อน
สุดท้ายนี้ ไม่มีอะไรจะกล่าวนอกจาก ขอขอบคุณทุกคนที่เกี่ยวข้องจริงๆ ที่กล้าทำให้เรื่องนี้เกิดขึ้น
และเชื่อไหม มันเป็นเหตุการณ์ที่มีพลังอย่างมากจริงๆ เพราะมันส่งสารให้คนทั้งประเทศได้รู้สึกว่า ถ้าลองคุณตั้งใจจะทำอะไรจริงเสียอย่าง ปัญหาอะไร มันก็แก้ไขได้ทั้งนั้น
#IMPRESS

“เรายอมรับคำว่าหมารับใช้ของรัฐบาล มันเถียงไม่ได้ พอไปคุมม็อบก็คือไปรับคำสั่งอย่างเดียว" ฟังเสียงจากนักเรียนนายร้อยตำรวจ ในวันที่ความฝันพังทลาย👮‍♂️



iLaw
11h ·

เสียงจากนักเรียนนายร้อยตำรวจ ในวันที่ความฝันพังทลาย
.
“ความคิดของตำรวจทุกคนคืออยากจับคนเลวมาลงโทษ แต่พอมาทำจริง ๆ แล้วมันยากที่จะบอกว่าใครดีใครเลวบ้าง เลยทำให้รู้สึกเหนื่อยบ้าง แต่อีกประเด็นหนึ่งก็คือตำรวจต้องรับใช้ประชาชนหรือเปล่า อุดมคติที่ท่อง ๆ กันมาทำไม่ได้หรอก ในความเป็นจริงตำรวจรับใช้ใคร ไม่ใช่ประชาชนอย่างเดียวแน่ ๆ มันมีคนอื่นอีก...”
.
.
สำหรับใครก็ตามที่ฝันใฝ่อยากเป็นตำรวจ จุดตั้งต้นที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง คือการสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารและต่อเข้าโรงเรียนนายร้อยตำรวจ “เอก” เป็นหนึ่งในเด็กหลายคนที่มีความตั้งใจอยากเป็นตำรวจ และในที่สุดก็สามารถฝ่าฟันการสอบมหาโหดทั้งทางวิชาการและสภาพร่างกาย เพื่อมาใช้ชีวิตอยู่ในรั้วโรงเรียนนายร้อยตำรวจได้
.
.
ปัจจุบัน “เอก” เพิ่งจบการศึกษาและเริ่มทำงานเป็นข้าราชการตำรวจได้ไม่นาน ช่วงชีวิตของเขาตั้งแต่เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจจนถึงตอนนี้ เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สถาบันตำรวจต้องเผชิญกับ “การเปลี่ยนผ่าน” ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ วัฒนธรรมภายใน ไปจนถึงแรงกดดันจากสังคมที่สืบเนื่องมาจากบทบาทของตำรวจในการเป็นด่านหน้าที่ต้องปะทะกับผู้ชุมนุม ความเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่างที่เกิดขึ้นนำไปสู่ความไม่พอใจในหมู่เด็กนักเรียนเตรียมทหารจนมีนักเรียนผู้หนึ่งออกมาให้สัมภาษณ์ถึงความผิดหวังต่อระบบการเรียนการสอน เช่น มีการให้เด็กไปทำปฏิบัติการ “ไอโอ” https://www.facebook.com/1375807392679154/posts/2865640717029140/?d=n
.
.
เราชวน “เอก” ซึ่งเรียกตนเองว่าเป็น “เสื้อแดง” มาพูดคุยถึงความฝันในการเป็นตำรวจ ความเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รวมถึงมุมมองของเขาในฐานะตำรวจรุ่นใหม่ที่มีต่อสถาบันตำรวจท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน
.
.
๐ ทำไมถึงตัดสินใจเข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
.
“พ่อเป็นตำรวจและเราก็โตอยู่หลังโรงพัก เลยคุ้นชินและโตมาก็อยากเป็นตำรวจเหมือนพ่อมาตั้งแต่เด็ก ส่วนที่เลือกเหล่าตำรวจเพราะส่วนตัวไม่ชอบทหารอยู่แล้ว ที่บ้านเป็นเสื้อแดงจากฝั่งตาและชอบทักษิณมาก เราเลยชอบทักษิณตามไปด้วย พอทักษิณโดนปฏิวัติก็เป็นจุดเริ่มต้นให้เราเกลียดทหาร เราเริ่มศึกษาว่าทำไมทหารต้องทำแบบนั้น แล้วก็รู้ว่าเขาทำแบบนี้กันมาตลอด เลยไม่ชอบมากขึ้น และเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงไม่เลือกเหล่าทหารทั้งที่สอบติดทหารทุกเหล่าแล้วมาเลือกเหล่าตำรวจแทน”
.
.
๐ โรงเรียนเตรียมทหาร/นายร้อยตำรวจมีชื่อเสียงว่าระเบียบโหดมาก ตอนเข้าไปเจอเองคิดอย่างไร
.
“จริง ๆ ตอนเข้าไป [โรงเรียนเตรียมทหาร] ก็ไม่ได้แปลกใจกับระเบียบมาก พอจะคาดเดาได้อยู่แล้ว แต่ยังมีระเบียบยิบ ๆ ย่อย ๆ ที่เราไม่ค่อยใจว่าทำไปทำไม เช่น ต้องขัดรองเท้าให้เงายันพื้นรองเท้า แต่สุดท้ายตอนเช้าก็ต้องเอาไปเดินให้มันเละและตอนกลางคืนกลับมาขัดให้มันเงาใหม่ ระบบมันคือระบบทหาร ใช้ระบบลงโทษ จวก แดก กักอิสรภาพ มากดดัน มีถูกเนื้อต้องตัวบ้างแต่ก็ไม่มาก มีการลงโทษส่วนรวมเยอะ แต่ถามว่าเราต่อต้านระบบไหม ก็ต้องบอกว่าไม่ ตอนเราเข้าไปยังไฟแรงอยู่ เขาสั่งอะไรมาก็ทำหมด เคยมีความรู้สึกท้อและอยากลาออกบ้าง เพราะรู้สึกว่ามันเหนื่อยเกินไป แต่สุดท้ายเราก็อยู่ต่อเพราะมีเพื่อนคอยช่วยกันดึงขึ้นมา”
.
“พวกที่เข้าไปส่วนใหญ่ 98 เปอร์เซ็นต์ผ่านระบบค่ายติวที่ปูพื้นฐานการใช้ชีวิตในโรงเรียนทหาร ทำให้พอจะคุ้นชินระดับหนึ่ง แต่พวกที่รับไม่ได้เลยก็มี ทั้งเรื่องการลงโทษ หรือบางอย่างที่มันผิดวิสัยของมนุษย์ปกติ เช่นการให้ผู้ชายต่อแถวกัน ‘จูงช้าง’ เรื่องแบบนี้ก็ทำให้มีคนออกไปบ้างพอสมควร อย่างรุ่นเราก็มีคนออกไปสิบกว่าคน”
.
.
๐ คิดอย่างไรกับการที่มีเด็กเตรียมทหารออกมาเล่าถึงความผิดหวังของตนเองต่อโรงเรียน
.
“ที่มีคนออกมาให้สัมภาษณ์ แม้จะห่างกันไม่กี่ปี แต่มันเป็นคนละยุคกับตอนที่เราเรียนอยู่ สมัยเรายังไม่มีการมาล้างสมอง ยัดเยียดความคิดอะไรกันแบบนี้ ตอนนั้นแค่ท่องว่ารักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งก็ไม่ได้มีคนต่อต้านอะไรเพราะถึงสังคมอาจจะไม่ได้ปกติมาก แต่ก็ไม่ได้แย่ แต่จากที่มีคนออกมาเปิดเผยก็คิดว่ามันแย่มาก ๆ เด็กส่วนใหญ่แยกออกอยู่แล้วว่าอะไรควรไม่ควรทำ แต่พอเด็กเข้ามาแล้วถูกบังคับให้ไปทำไอโอ ทำให้เป็นเครื่องจักรไร้ค่า เหมือนเอาความฝันของเด็กสี่ร้อยคนที่อยากเป็นทหาร อยากเป็นตำรวจที่ดี มาทำลายทิ้ง”
.
“การเปลี่ยนรัชกาลเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ หลังจากที่รัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคต เราอยู่โรงเรียนนายร้อยตำรวจพอดี ทุกอย่างเปลี่ยนไปหมด การตัดผม การแสดงออก การแสดงความคิด มีคำสั่งมาใหม่มาให้รีเซ็ตระเบียบทุกอย่าง อย่างจิตอาสาก็บังคับทุกคนเป็น ให้ไปสร้างภาพเก็บขยะ ปลูกต้นไม้ และทำปฏิบัติการไอโอ ให้ไปเรียนเรื่องพระมหากษัตริย์ ไล่ยาวมาตั้งแต่พ่อขุนรามคำแหงยันรัชกาลที่ 10 เรียกง่าย ๆ ก็คือล้างสมอง แต่เอาตรง ๆ เด็กส่วนใหญ่รู้กันอยู่แล้ว จะมาล้างสมองในยุคนี้มันยาก รู้ ๆ กันอยู่ว่าความจริงเป็นอย่างไร”
.
“เอาเรื่องพื้นฐานที่สุด แทนที่พอขึ้นปีสองในโรงเรียนนายร้อยตำรวจแล้วจะได้ไว้ผมยาวขึ้น ต้องมาโกนหัวทุกอาทิตย์ นิ้วต้องหยิบผมไม่ได้ ส่วนเรื่องการแสดงออกก็ต้องทำอย่างไรก็ได้ให้แสดงความจงรักภักดีออกมา เจอพระบรมฉายาลักษณ์เมื่อไหร่ก็ต้องยืนตรง เดินผ่านก็ต้องทำความเคารพทันที ซึ่งต่างกับเมื่อก่อน เราอาจจะทำความเคารพด้วยใจอยู่แล้ว แต่ไม่มีมาจับผิดแบบในตอนนี้ เรื่องตำรวจถอดเสื้อครึ่งท่อนตอนกินข้าว ก็จะมีคนมาถ่ายรูปแล้วก็เอาไปฝึกทำโทษ คนไม่พอใจกันมาก อย่างหนังสือขอความเมตตาที่เอาออกมาเผยแพร่ก็เป็นเรื่องจริง เขาฝึกกันมานานเพื่อจะได้ทำงานเป็นตำรวจ แต่ถึงเวลาก็เอาเขาไปฝึกทรมาน ถ้าขัดขืนว่าไม่อยากไปก็โดนเอาไปขังอีก”
.
.
๐ แล้วตอนนี้ที่เป็นตำรวจอยู่ รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงนี้ด้วยไหม
.
“[ความเปลี่ยนแปลง] ส่งมาถึงตำรวจด้วยแน่ ๆ ทุกวันนี้ยังมีตำรวจที่ถูกเอาไปฝึกล้างสมองเพื่อเป็น local cat ซึ่งคล้าย ๆ กับหน่วยเฉพาะกิจตามโรงพักที่เอาไว้ทำงานของวัง แต่ก็ไม่มีใครอยากไป วันที่เราไปคัด เอาทั้งหมด 8 คน จาก 14 คน มีคนสมัครใจไปแค่คนเดียว สุดท้ายก็ต้องใช้การจับฉลากซึ่งก็คือการบังคับ อย่างเราโชคดีที่ไม่โดน งานที่พวกนี้จะโดนสั่งไปทำคืองาน ว.5 ซึ่งหมายถึงภารกิจลับที่ไม่สามารถบอกได้ว่าใครสั่งมาหรือทำเพื่อจุดหมายอะไร อย่างงานไอโอหรือให้สืบว่าในพื้นที่มีใครเป็นแบบไมค์ ไผ่ หรืออานนท์ไหม งานแบบนี้เรียกงาน ว.5”
.
“ถ้าเป็น local cat จะได้เงินประจำตำแหน่งมากขึ้น 4,000 บาท ถ้าสมัครใจไปฝึกอาจจะได้เป็นตำรวจดีเด่น การพิจารณาเลื่อนขั้นก็อาจได้รับการพิจารณาก่อนคนอื่น แต่ถึงได้ขนาดนี้คนยังไม่อยากไป เพราะเขารู้ว่าต้องไปทำงานอะไรหรือทำงานให้ใคร การไปฝึกไม่ได้สบาย ต้องไปฝึกประมาณสามเดือนในศูนย์ฝึกที่คล้าย ๆ กับค่ายกักกันล้างสมอง พอออกมาต้องทำงานที่ไม่ชอบ ตำรวจรู้กันอยู่แล้วว่ายุคสมัยนี้มันเป็นอย่างไร พวกเราขอทำงานแบบปกติดีกว่า”
.
“อีกความเปลี่ยนแปลงหนึ่งคือเคยเห็นพระบรมฉายาลักษณ์ที่ตั้งตามถนนไหม ตั้งแต่มีม็อบมา สิ่งนี้คือสิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่ได้สนใจเรื่องม็อบ ประชาชน หรือแม้กระทั่งภาพลักษณ์ตำรวจหรอก เขาสนใจแค่ว่าพระบรมฉายาลักษณ์ในพื้นที่ทุกจุดต้องปลอดภัย ทุกครั้งที่มีการประชุมก็จะพูดแต่เรื่องนี้ ให้มีการออกตรวจบริเวณที่มีการวางพระบรมฉายาลักษณ์ ห้ามมีการขีดเขียน ปาสี หรือแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ใด ๆ เด็ดขาด คือมันเปราะบางมาก ระดับผู้กำกับเจ้าของพื้นที่ก็กลัว เพราะถ้ามีภาพหลุดไปว่ามีการปาสีใส่พระบรมฉายาลักษณ์ก็จะมีปัญหาทันที หรือถ้าเผา ผู้กำกับคือซวยแบบไม่ต้องตั้งคำถามเลย โดนย้ายหรือตั้งกรรมการสอบทันที แต่ถามว่ามีประโยชน์อะไรกับประชาชนไหม ก็ไม่มี แถมแนวนโยบายแบบนี้ก็ลำบากตำรวจ ไปเพิ่มงานให้สายตรวจอีก”
.
.
๐ ในฐานะที่เรียกตัวเองว่า “เสื้อแดง” และยังทำงานเป็นตำรวจ คิดเห็นอย่างไรกับการที่ตำรวจตกเป็นเป้าโจมตีจากสังคมในปัจจุบัน
.
“จากที่คุยกับเพื่อนตำรวจที่ถูกส่งไปคุมม็อบมา เราพอจะแบ่งกันได้สามกลุ่มอาจจะไม่ครอบคลุมทั้งหมด กลุ่มแรกคือพวกที่ไม่ได้ชอบรัฐบาล แต่พอโดนสั่งไปคุมม็อบก็ไม่ชอบม็อบด้วยเพราะทำให้ตัวเองทำงานลำบากขึ้น บางคนโดนเกณฑ์มาจากต่างจังหวัด ต้องจากหน้าที่การงาน ครอบครัว เพื่อมาคุมม็อบ กลายเป็นว่าตำรวจพวกนี้เริ่มอคติกับผู้ชุมนุม กลุ่มที่สองคือกลุ่มที่ไปเพราะหมั่นไส้ม็อบ พวกนี้คือตำรวจสลิ่ม ถ้าผู้ชุมนุมมาก็อยากจะกระทืบอยากจะยิงให้ตาย แต่พวกนี้ถือว่าเป็นส่วนน้อยมาก ตำรวจชุดคุมฝูงชน (คฝ.) แถวหนึ่ง 20 คนอาจจะมีสักสองคน กลุ่มที่สามคือกลุ่มที่เกลียดรัฐบาล เข้าใจและสนับสนุนม็อบ แต่ด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่างทำให้การตัดสินใจตรงหน้างานมันเป็นไปได้ยาก สำหรับตำรวจผู้น้อยชั้นปฏิบัติ มันมีทั้งเรื่องหน้าที่การงานกับครอบครัวเข้ามาเกี่ยวข้องมาก บางคนมีลูกเมีย หาเงินเลี้ยงครอบครัวคนเดียว พอเขาสั่งให้ไปม็อบก็ต้องไป หากไม่ไปก็จะโดนลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดขั้น พอไปม็อบถ้าเขาสั่งให้ยิงแล้วไม่ยิง จะโดนขังก่อน หลังจากนั้นก็โดนสอบสวนวินัย ถ้าให้เหตุผลเข้าข้างผู้ชุมนุมก็โดนไล่ออกเลย ถามว่าถ้าตำรวจโดนไล่ออก ใครรับผิดชอบชีวิตครอบครัวของเขาได้บ้าง มันเป็นการตัดสินใจที่ถ้าไม่เจอกับตนเองก็พูดได้ยาก”
.
“เคยอ่านที่มีคนเขียนว่าคนที่ถูกตำรวจยิงก็มีครอบครัวเหมือนกัน เราก็เอามาคิด ระหว่างครอบครัวคนอื่นกับครอบครัวตัวเอง เราก็ต้องเลือกครอบครัวตัวเองอยู่แล้ว อาจจะมีรู้สึกผิดบ้าง แต่ทุกคนก็มีความเห็นแก่ตัวอยู่ ถามว่าถ้าไม่ยิง สุดท้ายเขาก็หาคนอื่นมาทำแทนอยู่ดี นี่คือเหตุผลว่าทำไมตำรวจถึงยังเป็นหมารับใช้จนถึงทุกวันนี้”
.
“เรายอมรับคำว่าหมารับใช้ของรัฐบาล มันเถียงไม่ได้ พอไปคุมม็อบก็คือไปรับคำสั่งอย่างเดียว มีคนเคยถามเราว่าถ้าเราถูกส่งไปเราจะยิงไหม เราบอกเลยว่าเราไม่ยิง อาจจะเป็นเพราะว่าพ่อเราเป็นตำรวจเลยทำให้มีอีโก้ว่าถ้าซวยขึ้นมาจะมีคนช่วย ครอบครัวเราไม่ได้เดือดร้อนเรื่องเงินทอง ดังนั้นเราจะไม่ยิง แล้วจะทำโทษอะไรก็ทำ ถ้าโดนไล่ออกก็จะไปหาทางรอดเอง แต่พอเราไม่ทำเขาก็หาคนอื่นที่มีปัจจัยบังคับมายิงอยู่ดี”
.
“ที่ผ่านมา มีตำรวจหลายคนที่โดนขังหรือลดขั้นเพราะแสดงความคิดเห็นไปในทางม็อบ ที่เห็นชัดเลยตำรวจที่ไป คฝ. แล้วชูป้าย โดนขังและลดขั้น พอมีกรณีแบบนี้เยอะ ๆ ตำรวจก็ไม่กล้า ต้องทำใจยอมรับคำด่าไป ถ้าเชียร์ม็อบแล้ววันหนึ่งเราต้องซวยขึ้นมา จะมีใครมาช่วยเราได้ไหม ก็คงไม่มี”
.
.
๐ อุดมคติที่คิดไว้กับความเป็นจริงต่างกันอย่างไร
.
“ความคิดของตำรวจทุกคนคืออยากจับคนเลวมาลงโทษ แต่พอมาทำจริง ๆ แล้วมันยากที่จะบอกว่าใครดีใครเลวบ้าง เลยทำให้รู้สึกเหนื่อยบ้าง แต่อีกประเด็นหนึ่งก็คือตำรวจต้องรับใช้ประชาชนหรือเปล่า อุดมคติที่ท่อง ๆ กันมาทำไม่ได้หรอก ในความเป็นจริงตำรวจรับใช้ใคร ไม่ใช่ประชาชนอย่างเดียวแน่ ๆ มันมีคนอื่นอีก พอมีตำแหน่งหน่อยก็ทำอะไรไม่ได้แล้ว พอมาเจอกับตัวเลยเข้าใจประโยคประโยคนึงเลยว่า ‘กฎหมายหมายมีไว้ใช้กับคนจนและคนที่ไม่มีเส้นสาย’ เหมือนกฎหมายในไทยมีไว้ใช้กับคนแค่บางกลุ่ม หรือพูดอีกแนวก็คือมีไว้ใช้รังแกฝ่ายตรงข้ามนั่นแหละ ดูตัวอย่างชัด ๆ ก็ม็อบเนี่ย ทำไมม็อบฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลถึงโดนหมายจับ แต่ม็อบฝ่ายรัฐบาลไม่มีใครไปยุ่งเลย ทั้ง ๆ ที่อยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน พอเจอแบบนี้หลายครั้ง ก็ท้อนะ หลายครั้งก็เคยคิดอยากจะลาออกจริง ๆ”
.
.
๐ ฝากอะไรทิ้งท้ายหน่อย
.
“สุดท้ายนี้ก็คงไม่ได้มาขอความเห็นใจให้ตำรวจนะ แค่อยากให้รู้ว่าว่าสาเหตุจริง ๆ แล้วมันเป็นยังไง แต่ก็สงสารตำรวจที่ไป คฝ. เขาไม่ได้อยากทำแบบนั้นทุกคน บางครั้งมันเลือกไม่ได้ แค่อยากให้รู้ไว้ว่าไม่ใช่ตำรวจทุกคนที่อยากทำร้ายประชาชน ยังมีตำรวจที่เข้าใจประชาชนอยู่ อยากให้ช่วย ๆ เหลือกัน แล้วไว้ไปเจอกันที่ม็อบครับ”

ไหนว่า ก๊าซออกซิเจนทางการแพทย์ มีเพียงพอ ? ฟังเสียงพยาบาลสาวร่ำไห้ “เราไม่ไหวแล้ว” 😥 ไม่มีเตียง ไม่มีอาวุธ จะให้หนูทำยังไง?


@Deep_Logic17
·20h
เหี้ยตู่พูดเมื่อวาน... ระบบยังไม่ล้มเหลว

https://www.facebook.com/watch/?v=851002222457975

วันศุกร์, กรกฎาคม 30, 2564

ทีมตู่เหลิง ให้อำนาจ กสทช.เหนือศาล "ปิดเน็ต-ปิดไอพีแอดเดรส-ยัดคดีประชาชน"


อุตส่าห์กลั้นใจพูดคำว่า “เสียใจ...พยายามแก้ปัญหาอุปสรรคที่มีมากมาย” ก็ยังไม่วาย “ต้องมีความร่วมมือระหว่างกันด้วยข้อมูลข้อเท็จจริงที่ตรงกันถึงจะแก้ปัญหาได้” แต่ข้อเท็จจริงตอนนี้ก็คือ ไทยเป็นอันดับหนึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อ

ไม่ใช่ “ตัวเลขต่างๆ ของเพื่อนบ้าน...มีหลายประเทศ มากกว่าเราหลายเท่า” อย่างที่เขา (ฟายตู่) หลอกลวง ไม่ต้องไปดูที่ไหน วันนี้จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยอีก ๑๗,๓๔๕ ราย ตายใหม่  ๑๑๗ คน เมื่อวานติดเพิ่ม ๑๗,๖๖๙ ราย ที่ไม่รอดมีถึง ๑๖๕ คน

การให้ ผอ.นัทสัมภาษณ์อัดเทปเมื่อคืนนี้ ไม่มีอะไรมากไปกว่ารักษาผิวของตนเองเท่านั้น ยังคงผลักไสความผิดไปที่ประชาชน “สิ่งสำคัญคือความร่วมมือในการปฏิบัติ หากยังมีการทำในสิ่งที่ห้าม ก็จะแก้ปัญหาไม่ได้” แต่ปัญหาจริงๆ มันอยู่ในสิ่งที่ห้ามนั่นแหละ

“รัฐบาลขยายอำนาจปิดเน็ต-ปิดไอพีแอดเดรส-ยัดคดีประชาชน ติดดาบ กสทช. อำนาจเต็มแบนสื่อ-ยัดคดีอินฟลูเอนเซอร์-สกัดดาราแสดงออก -ปิดกั้นเพจ-ปิดปากประชาชน” ดังที่ sirote klampaiboon @sirotek สรุปไว้บนทวิตเตอร์

ทำให้กระทั่ง ส.ส.พรรครัฐบาล ในเครือข่ายสื่อใหญ่รายหนึ่ง ยังต้องออกมาทัดทาน แสดงการเห็นพ้องกับกลุ่ม ๖ สมาคมสื่อมวลชน ที่แถลงการณ์ “คัดค้านคำสั่งของนายกรัฐมนตรีฯ ว่าการกระทำดังกล่าวเท่ากับเป็นการปิดปากสื่อมวลชน ซึ่งไม่ต่างจากการปิดหูปิดตาประชาชน”

วทันยา วงษ์โอภาสี ส.ส.พลังประชารัฐโพสต์ยาวถึงมาตรการล่าสุด ว่าเป็น “การจำกัดสิทธิและเสรีภาพ ของพลเมืองไทย” และว่าการเอาแต่บังคับใช้กฎหมายจะไม่แก้ปัญหาได้ดังที่หวัง น่ากลัวยิ่งกว่าคือ การที่ผู้บริหารประเทศไม่ได้ยินเสียงากประชาชน

เป็นไปได้ที่มาดามเดียร์พูดอย่างนี้ เพราะการเหลิงอำนาจของทีมงานประยุทธ์ ล้ำเส้นเสรีภาพ และเข้าเนื้อสื่อสายหลักในเครือ นิวส์เน็ตเวิร์คของเธอและฉาย บุนนาค ผู้เป็นสามี ไม่เท่านั้นการออกคำสั่งสถานการณ์ฉุกเฉินฉบับที่ ๒๙ นี้ยังไม่ถูกต้องในทางเทคนิค

“รัฐโยนเผือกร้อนให้ กสทช.และ ISPs แล้วล่ะ ทางปฏิบัติทำได้ไหมคะ” Supinya Klangnarong@supinya อดีต กสทช.ท้วงทันที “ทุกวันนี้คนที่สั่งระงับเพจหรือโพสต์ต่างๆ ใน social media ก็คือตัวแพล็ตฟอร์มเอง หรือมีคำสั่งจากศาลไป”

ไม่ใช่ กสทช.และเจ้าหน้าที่ตำรวจ “ถ้ารัฐคิดว่าการปิดกั้นจะทำให้เกิดความกลัว ผลที่ออกมามักจะตรงกันข้ามเสมอ ลองดูย้อนทุกรัฐบาลในอดีตที่ผ่านมา” อดีตนักกิจกรรมต้านระบอบทักษิณ คู่คิดคู่เคียงของ สุริยะใส กตะศิลา อดีตแกนนำ พธม. ส่งเสียงทวี้ต

ในด้านความชอบธรรมตามกฎหมายของคำสั่งดังกล่าว เป็นที่น่ากังขายิ่งว่าเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ และขัดกับคำวินิจฉัยของศาลอาญาในประเด็นนี้ ดังที่ นรเศรษฐ์ นาหนองตูม ทนายสิทธิมนุษยชนอธิบายไว้ ถึงเนื้อหา รธน.๖๐ มาตรา ๓๕ และ ๓๖

เขาระบุว่า “อำนาจสั่งให้ระงับการให้บริการอินเตอร์แก่เลขที่อยู่ไอพี (IP address) นั้นทันที แม้จะไม่อยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง” เป็นการ “ขยายอำนาจให้แก่ กสทช. ให้มีอำนาจมากกว่าอำนาจของศาลที่กำหนดไว้ตาม พรบ.คอมฯ”

อีกทั้ง “ยังมีลักษณะปิดกั้นการสื่อสารในอนาคตด้วย เพราะปิดกั้นอินเตอร์เน็ตไปโดยไม่มีกำหนดเวลาไว้แต่อย่างใด ซึ่งขัดต่อแนวคำวินิจฉัยของศาลอาญา” เขาเสนอให้ ประชาชน“ควรจะยืนยันเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ด้วยการฟ้องเพิกถอนข้อกำหนดฉบับดังกล่าวโดยเร็ว”

แต่จะทำได้หรือไม่ แค่ไหน ทีมของประยุทธ์ก็ลุกล้ำอย่างเหลิงไปมากเกินการแล้ว ทิพานัน ศิริชนะ ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รับลูก ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีดีอีเอส ออกแถลงว่าการที่มีคลิปผู้ป่วยโควิดล้มตายตามข้างถนนจำนวนมากนั้น

“น่าสงสัยว่าเป็นการรับจ้างไปนอนล้มในสถานที่ต่างๆ เพื่อถ่ายภาพและส่งคลิป...ต้องเอาผิดกับผู้เกี่ยวข้องทั้งขบวนการ...เข้าข่ายฝ่าฝืนข้อ ๑๑ แห่งข้อกำหนดฉบับที่ ๒๗” พรก.ฉุกเฉิน โทษปรับ ๔ หมื่น คุก ๒ ปี หรือผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ คุก ๕ ปี ปรับ ๑ แสน

กลับปรากฏว่าคลิปชายนอนดิ้นบนถนนริมทางเท้าเมื่อ ๒๖ ก.ค. ซึ่งใช้อ้างว่าเป็นขบวนการรับจ้างนั่น แท้จริง มีโรคลมชัก ผู้พบเห็นหวาดระแวงว่าเป็นอาการป่วยจากโรคโควิด ภายหลังเมื่อหายชัก มีภาพเขานอนอยู่อีกที่ในเสื้อผ้าชุดเดียวกัน ก็เพราะเขาเป็นคนไร้บ้าน

Chatechenko Yingkiattikun ตั้งข้อสังเกตุไว้น่าคิด ว่าการออกมากล่าวหาประชาชนทำเฟคนิวส์ ของ รมว.ดีอีเอส และทีมเลขานายกฯ รวมทั้ง นัทรียา ทวีวงศ์ อดีตผู้อำนวยการสำนักโฆษกฯ และ วรัชญ์ ครุจิต ที่ปรึกษาการสื่อสาร ศบค. นักวิชาการสื่อจากนิด้า

เป็นกระบวนการ “เล่นงานฝั่งตรงข้าม ปั่นข่าวอวยนาย และผูกขาด 'ความจริง'” กันเสียเอง โดยพาะวรัชญ์ นั่นเจ้ากี้เจ้าการ จับผิดสื่อต่อรายการ เล่าข่าว ของ สรยุทธ สุทัศนะจินดา อย่างมั่วซั่วงี่เง่า ท้ายสุดโดนโต้กลับด้วยข้อเท็จจริง จนต้องแถลงขอโทษ

กระนั้นก็ยังไม่สำนึก เขาหันไปเล่นงานรายการของ จอมขวัญ หลาวเพชร์ ต่อ “สอนวิธีการเป็นพิธีกร แบบไม่เอียงตกขอบ” ชาวบ้านรอดูกันอยู่ว่าเขาจะโดนศอกกลับขนาดไหน แต่ที่แน่ๆ เป็นที่ประจักษ์แจ้งแล้วว่า เขาก็แค่อีกหนึ่งในมือป่วน ปกป้องรัฐบาลประยุทธ์

(https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1997921490374481&id=100004699487419, https://www.facebook.com/ronsan.huadong/posts/4192985874128042, https://www.facebook.com/TERODigital/posts/4234318366654819 และ https://www.matichon.co.th/politics/news_2856925) 

จิตวิทยาลิ่วล้อฆาตกร ปกป้องนายจนสูญสิ้นความเป็นคน ปกป้องให้อยู่ให้ได้บนกองซากศพ


อานันท์ เทพสิทธิ์
7h ·

สวนด้วยฉากแอ็คชั่นแม่มม

Atukkit Sawangsuk
7h ·

ใช่ มันจัดฉากโดย IO ที่หาว่าสองภาพเป็นคนเดียวกัน แล้วตำรวจก็ออกมาตั้งข้อหา อีทิพานันก็ขู่ประชาชน ทั้งที่ภาพคนตายเกลื่อนตามถนนเป็นของจริง แต่จากนี้สลิ่มส้นตีนก็จะว่าจ้างตาย

Theerapat Charoensuk
13h ·

เรื่องข่าวจัดฉากคนตายเฟคนิวส์
ไม่ใช่การบ้าจี้ตามกัน
มันเป็นการจงใจปั่นข่าวจากฝ่ายหนึ่งชัดเจน โดยตัวละครเดิมๆ แล้วรับลูกส่งเป็นทอดๆ ผ่านการ “จัดฉาก” ร่วมกัน
ทั้งเครือข่ายเพจไอโอที่เล่นเรื่องเดียวพร้อมกัน
ทั้งหน่วยสื่อสารของรัฐบาล ที่ส่งข่าวแจกลงไลน์กลุ่มนักข่าว
และเจ้าหน้าที่กฎหมายที่ออกมาขยับอย่างรวดเร็ว แบบที่ไม่ยักเร็วในเรื่องช่วยเหลือคน
ถ้าเคยอ่านหลักสูตรปฏิบัติการจิตวิทยายุคสงครามเย็น ก็มาแบบนี้แหละเป๊ะๆ และใช้ได้ผลกับคนยุคสงครามเย็นมาตลอด
เห็นประชาชนเป็นศัตรูที่ต้องทำลาย ปกป้องนายจนสูญสิ้นความเป็นคน
人間失格
พวกนักข่าวที่รับข่าวแจกมาก็ช่วยมีสติ อย่าลงข่าวทั้งดุ้น โปรดเขียนเพิ่มเติมพิสูจน์ความจริงด้วย นี่คือหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของพวกคุณในเวลานี้ ไม่ใช่การแถลงต่อต้านเท่านั้น!

Atukkit Sawangsuk
7h ·

ประกาศ คสช. ในร่าง พรก.ฉุกเฉิน
ไม่ใช่แค่ปิดปากสื่อ แต่มุ่งเล่นงานทุกคนในโลกออนไลน์ ที่ด่ารัฐบาล
ไม่ปิดเฟซบุ๊ก เพราะต้องใช้อำนาจศาล
ใช้อำนาจ กสทช. สั่งระงับ IP Address
ซึ่งละเมิดสิทธิอย่างเลวร้ายเพราะไม่สามารถใช้ IP ทำงาน ค้าขาย หรือเรียนหนังสือ
:
มันต้องการสร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัว
ควบคู่ไปกับข่าว IO จ้างตาย
ประชาชนจะไม่กล้าแชร์ภาพคนตายคนป่วยคนรอคิว
เพราะกลัวความผิด
ส่วนที่ด่ารัฐบาล ถ้าเป็นดารา คนดัง Influencer ที่ต้องใช้เฟซค้าขาย-รีวิว มันก็จะระงับ IP ตัดเน็ต เชือดให้ดูสัก 3-4 รายหวังว่าจะลดคนด่าลง
(เพราะสมัยนี้คนไม่กล้วการดำเนินคดี ปรับสองพัน หรือสู้กันในศาล)
:
การใช้อำนาจอย่างนี้ เกิดขึ้นในขณะที่สถานการณ์โควิดจะเลวร้ายลงๆ
จุดพีคอาจจะเป็นปลายเดือนสิงหา หรือต้นเดือนกันยา
คนจะตายมากกว่านี้ นอนกองมากกว่านี้
ความโกรธแค้น ความไม่เชื่อถือ ความไม่ไว้วางใจ
(เช่นไฟเซอร์จะไปอยู่บนแขนใคร)
จะยิ่งรุนแรงขึ้น
มันจึงจะใช้อำนาจสกัดตั้งแต่ตอนนี้
แต่ก็ยิ่งทำให้คนโกรธ
:
ยุทธศาสตร์ของ War Room ประยุทธ์ในตอนนี้คือ
รู้แล้วว่าคนจะตายเป็นเบือ
ให้หน่วยงานสาธารณสุข แพทย์พยาบาล อาสาสมัคร รับมือกันไปตามยถากรรม
หันมาระดมสรรพกำลัง ตำรวจทหาร ผนึกอำนาจ ปิดปากจับกุม
ปกป้องประยุทธ์ให้ยังอยู่ได้บนกองซากศพ
จนโควิดจบก็อวดผลงาน

ธนัตถ์ ธนากิจอำนวย หรือ ไฮโซ “นัท” ลูกชายมหาเศรษฐีหมื่นล้านเครือบริษัท โนเบิลดีเวลลอปเมนท์ รอยัลลิสต์ตัวพ่อและ อดีต กปปส. เสนอปฎิรูป“สถาบันกษัตริย์” เริ่มจากการยกเลิก 112



Thanapol Eawsakul
23h ·

สิ่งที่ไม่คิดว่าจะเห็นก็จะได้เห็น
ธนัตถ์ ธนากิจอำนวย หรือลูกนัท ลูกชายของ กิตติ ธนากิจอำนวย มหาเศรษฐีหมื่นล้านแห่งบริษัท โนเบิลดีเวลลอปเมนท์
ปล.
7 ปีที่แล้ว
Driving Ferraris with the Thai Royalists
https://www.youtube.com/watch?v=e2hICl3PPrk


ประยุทธ์คือนายกที่ดีที่สุดของกษัตริย์เท่าที่มีมา หลัง 2475 ไม่มีนายกรัฐมนตรีคนไหนที่ถวายทั้งพระราชทรัพย์ และพระราชอำนาจคืนไปให้สถาบันเท่าประยุทธ์





เจ็บจี๊ด....


Pattarapol Kook Chatchalavilai
12h ·

เจ็บจี๊ด....

ให้ดอกไม้เดี๋ยวคนหาว่าขี้เหนียว เรียกมาให้ใหม่ คราวนี้ให้เสื้อผ้าพร้อมยี่ห้อ อิอิ


สมาคมกีฬาเทควันโดแห่งประเทศไทย Taekwondo Association of Thailand added 24 new photos.
17h ·

นับเป็นพระกรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทานของขวัญแสดงความยินดีจาก SIRIVANNAVARI BANGKOK @sirivannavari_shopให้แก่ผศ.พิมล ศรีวิกรม์ นายกสมาคมกีฬาเทควันโดแห่งประเทศไทย คุณธนฑิตย์ รักตะบุตร เลขาธิการสมาคมฯ โค้ชเช ยอง ซอก โค้ชวิชิต สิทธิกัณฑ์ น้องเทนนิส พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ และน้องจูเนียร์ รามณรงค์ เสวกวิหารี
อันนำมาซึ่งความภาคภูมิใจอย่างหาที่สุดมิได้แก่ทีมผู้บริหาร ทีมโค้ช และนักกีฬาของสมาคมกีฬาเทควันโดแห่งประเทศไทย
ควรมิควรสุดแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้าในนามสมาคมกีฬาเทควันโดแห่งประเทศไทย

บลูมเบิร์ก:ไทยเสี่ยงศก.ถดถอยซ้ำ เป็นครั้งแรกตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง - นักวิเคราะห์บริษัทโนมูระที่สิงคโปร์ชี้ สภาพGDPไทยปีนี้&ปีหน้าอาจล้าหลังสุดในเอเซียตอ./ใต้


รัฐห้ามเสนอข่าวที่ทำให้ประชาชนหวาดกลัว… แล้วข่าวจริงที่ทำให้รัฐบาลหวาดกลัว เสนอได้ป่ะ ?


พรรคก้าวไกล

ด่วน! ราชกิจจาฯ ประกาศข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ห้ามเสนอข่าวทำให้ประชาชนหวาดกลัวแม้จะเป็นข่าวจริงก็ตาม ใครฝ่าฝืนถูก กสทช. สั่งปิดสื่อได้ทันที! มีแต่รัฐทรราชเท่านั้นแหละที่ทำแบบนี้!!!

เมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษาได้มีการประกาศ การออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 29) ซึ่งมีผล 30 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป โดยมีเนื้อหาที่สำคัญก็คือ “ห้ามผู้ใดเสนอข่าว จำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน”

( อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/170/T_0001.PDF )

หากพิจารณาถึงถ้อยความในข้อกำหนดข้างต้น ก็อดตั้งคำถามว่ารัฐบาลของนายประยุทธ์ จันทร์โอชากำลังปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 หรือไม่?

คำว่า "ข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว…ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน…" นั้น หากอ่านแล้วอาจหมายความได้อย่างกว้างขวาง และหมายรวมถึงกรณีที่แม้ว่าข้อความนั้นเป็นความจริง เช่น การที่สื่อมวลชน พี่น้องประชาชนหรือพรรคการเมืองเสนอข้อมูลข่าวสาร วิพากษ์วิจารณ์ความผิดพลาดในการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 การบริหารวัคซีนที่ผิดพลาดของรัฐบาล ข่าวผู้ป่วย-ผู้เสียชีวิตจากการแพร่ระบาดโควิด- 19 ก็ไม่อาจนำเสนอได้ ใช่หรือไม่???

เช่นนั้นแล้ว ข้อกำหนดที่เขียนด้วยเท้าเช่นนั้น มุ่งหมายที่จะปิดปากสื่อมวลชน พี่น้องประชาชน และพรรคการเมืองที่วิพากษ์วิจารณ์ความล้มเหลว และโง่เขลาเบาปัญญาในการแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ใช่หรือไม่?

นอกจากนี้ ข้อกำหนดข้างต้น ย่อมเป็นการขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญอย่างไม่ต้องสงสัย ด้วยรัฐธรรมนูญได้รับรองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น จริงอยู่ที่มีข้อยกเว้นในบางสถานการณ์ แต่การออกข้อกำหนดปิดปากห้ามไม่ให้ใครก็ตามพูด แม้แต่เรื่องจริง เช่นนี้แล้ว ย่อมไม่เป็นไปตามหลักความได้สัดส่วน เพราะมุ่งหมายไม่ให้ใครก็ตามเสนอข้อมูลข่าวสารที่แม้จะเป็นความจริงแต่ถ้าผู้มีอำนาจตีความว่ามีลักษณะเป็น "ข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว…ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน…" ก็ผิดกฎหมาย ถูกดำเนินคดีได้

มีแต่รัฐทรราชเท่านั้นที่ประพฤติเช่นนี้

อีกทั้งในข้อกำหนดข้อต่อมา ที่กำหนดให้สำนักงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) มีอำนาจในการแจ้งผู้รับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต ถึงกรณีการเผยแพร่ข้อความหรือข่าวสาร และให้ผู้รับใบอนุญาตดังกล่าวทุกรายมีหน้าที่ตรวจสอบว่าข้อความหรือข่าวสารดังกล่าวมีที่มาจากที่ใดพร้อมทั้งให้แจ้งรายละเอียดให้สำนักงาน กสทช. ทราบ และให้ระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตนั้นทันที และให้สำนักงาน กสทช. ส่งรายละเอียดแก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อดำเนินคดีต่อไป

ท้ายสุดแล้ว สำนักงาน กสทช. จะเป็นองค์กรที่กำกับดูแลการบริการการสื่อสารให้เป็นไปได้ด้วยเรียบร้อย หรือจะเป็นแค่ “มือ-เท้า” ของรัฐบาลนายประยุทธ์ จันทร์โอชาในการปิดหู ปิดตา ปิดปาก และสร้างความหวดกลัวให้กับประชาชนใช่หรือไม่ แม้ข้อกำหนดข้างต้นจะคลุมเครือจนถึงขนาดว่า แม้เสนอข้อมูลข่าวสารด้วยความจริง แต่รัฐบาลและผู้มีอำนาจเห็นว่าสร้างความกลัว ก็ผิดกฎหมายได้ ถ้าเช่นนั้นแล้ว สำนักงาน กสทช. ก็ต้องพึงระลึกไว้เสมอ องค์กรของตนนี้เป็นส่วนหนึ่งของความผิดพลาดและความล้มเหลวในการแก้ไขวิกฤตการแพร่ระบาดโควิด -19 และส่งผลให้มีผู้ป่วย ผู้สูญเสีย และผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

มิพักต้องพูดถึงความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายในการระงับการให้บริการอินเตอร์เน็ตที่ สำนักงาน กสทช. ทำได้โดยทันที โดยไม่ผ่านการตรวจถ่วงดุลโดยองค์กรตุลาการ เช่นนั้นแล้ว สำนักงาน กสทช. ก็จะเป็นหน่วยงานที่ใหญ่คับฟ้า ควบคุมความคิดเหนของพี่น้องประชาชนได้โดยชัดเจน ไม่ต้องจากการปกครองของเผด็จการที่คอยควบคุมความคิดและโฆษณาชวนเชื่อพียงด้านเดียวของรัฐบาล

ในห้วงเวลาสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโควิด–19 ที่มีผลกระทบต่อชีวิตของประชาชน มีผู้คนล้มป่วยเพิ่มขึ้นทุกวัน มีคนที่สูญเสียครอบครัวที่รัก มีคนที่สูญเสียโอกาสหรืออนาคตในชีวิต หรือแม้แต่สูญเสียชีวิตของตนเอง การปิดหู ปิดตา ปิดปากประชาชนและผู้คนในสังคม ไม่ใช่การแก้ปัญหา เช่นนั้นแล้วนานาอารยประเทศที่ผ่านวิกฤตการแพร่ระบาดโควิด–19 มาได้ คงเลือกใช้หนทางเช่นนี้หมด แต่การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องคือการที่รัฐบาลและผู้มีอำนาจ ใช้สติปัญญาและอำนาจที่ตนมี แก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยคำนึงถึงทุกชีวิตของประชาชน เพราะทุกชีวิตของประชาชนที่สูญเสียไป ไม่ใช่เพียงตัวเลขบนกระดานนำเสนอข้อมูล แต่คือเลือดเนื้อ คือชีวิต คือความผูกพันธ์ของประชาชนครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง

แทนที่จะปิดหู ปิดตา ปิดปากประชาชน แต่สิ่งที่ผู้มีอำนาจจะต้องรีบดำเนินการคือ การให้ข้อมูลที่ครบถ้วนแก่ประชาชนว่าสถานการณ์เป็นเช่นไร รัฐบาลกำลังดำเนินการอะไร และประชาชนต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ประชาชนมีสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารและข้อเท็จจริงที่เกิดชึ้นในบ้านเมือง ไม่ใช่รับรู้ได้แต่เพียงสิ่งที่ผู้มีอำนาจนำเสนอ เพราะประชาชนย่อมมีวิจารณญาณและใช้ความคิดในการทำความเข้าใจและตัดสินใจว่าจะเชื่อสิ่งเหล่านั้นหรือไม่

การมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในสถานการณ์ฉุกเฉินไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลมีอำนาจสูงสุดเด็ดขาดจะทำอะไรก็ได้ หากแต่การใช้อำนาจเด็ดขาดนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาเท่านั้น และต้องไม่ก้าวล่วงสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ได้รับการรับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญเกินสมควร

หากรัฐบาลและผู้มีอำนาจ ไม่มีสติปัญญามากพอในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แม้จะมีตัวอย่างให้ศึกษาและปฏิบัติตามจากนานาอารยะประเทศที่กำลังผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยด้วยดีแล้ว การเปลี่ยนม้ากลางศึก ที่ปัจจุบันนี้ ประชาชนก็ไม่มีความแน่ใจว่าเป็นม้าจริงหรือไม่นั้น ก็เป็นทางออกที่สำคัญยิ่งของประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ความจริงใจ และความเข้าอกเข้าใจถึงพี่น้องประชาชนเข้ามาแก้ไขปัญหา

สิ่งสำคัญที่ผู้มีอำนาจหรือรัฐบาลต้องคำนึงถึงคือ การใช้อำนาจในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นต้องเป็นไปเพื่อ "ความมั่นคงหรือความอยู่รอดของประเทศชาติประชาชน" ไม่ใช่ "ความมั่นคงของรัฐบาล"