วันเสาร์, ธันวาคม 23, 2566

"บ้านเราไม่มีรัฐสวัสดิการที่จะดูแลผู้สูงอายุ" ภาคประชาชนยื่น 4 หมื่นกว่ารายชื่อเข้าสภาฯ เพื่อผลักดันร่าง พ.ร.บ. ผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ พ.ศ. … เปลี่ยนเบี้ยยังชีพแบบรัฐสงเคราะห์ เป็นบำนาญถ้วนหน้าด้วยรัฐสวัสดิการ


สภาองค์กรของผู้บริโภค
19h·

ภาคประชาชนยื่น 4 หมื่นกว่ารายชื่อเข้าสภาฯ เพื่อผลักดันร่าง พ.ร.บ. ผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ พ.ศ. … เปลี่ยนเบี้ยยังชีพแบบรัฐสงเคราะห์ เป็นบำนาญถ้วนหน้าด้วยรัฐสวัสดิการ
.
(อ่านละเอียดเพิ่มเติม https://www.tcc.or.th/221266-draft-law-pension/)
.
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2566 ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชนกว่า 100 คน จากเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ พร้อมด้วยภาคีอย่างวีแฟร์ (We Fair) สลัมสี่ภาค เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ ประเทศไทย เครือข่ายผู้สูงอายุ เครือข่ายแรงงานนอกระบบ ฯลฯ เดินทางไปยังรัฐสภา เพื่อยื่น 43,826 รายชื่อ เสนอ ร่าง พ.ร.บ.ผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ พ.ศ. … เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา โดยมี นายมุข สุไลมาน เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง และนายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ประธานกรรมาธิการสวัสดิการสังคม เป็นผู้รับหนังสือ
.
นิมิตร์ เทียนอุดม รองประธานสภาผู้บริโภค กล่าวว่า นี่เป็นครั้งที่ 3 ที่เครือข่ายฯ มายื่นเรื่องบำนาญผู้สูงอายุ ครั้งนี้ ในระยะเวลาเพียง 1 เดือน สามารถรวบรวมรายชื่อได้มา 4 หมื่นกว่ารายชื่อ สะท้อนให้เห็นว่าร่างกฎหมายนี้อยู่ในความสนใจของประชาชนที่คาดหวังว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงจะช่วยแก้ปัญหาความยากจน จึงคาดหวังว่ารัฐบาลจะเห็นความสำคัญที่จะที่ทำให้ผู้สูงอายุมีหลักประกันรายได้ยามสูงวัยและนำร่างกฎหมายนี้ไปพิจารณาต่อไป
.
ขณะที่ นายนิติรัฐ ทรัพย์สมบูรณ์ ผู้อำนวยการเครือข่ายวีแฟร์ (We Fair) ให้ความเห็นเรื่องของงบประมาณ โดยระบุว่า ที่ผ่านมาระบบบำนาญของข้าราชการกับบำนาญประชาชนต่างกัน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้รับงบประมาณ 9 หมื่นล้าน เฉลี่ยคนละ 600 บาทต่อเดือน ขณะที่ระบบบำนาญของข้าราชการบำนาญใช้งบประมาณ 3 แสนล้านบาท เฉลี่ยต่อคนละ 30,000 บาทต่อเดือน มีส่วนต่างถึง 50 เท่า ดังนั้น หากกฎหมายฉบับดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ก็จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้
.
นอกจากนี้ยังมีตัวแทนภาคประชาชนได้ให้ความเห็นเพิ่มเติม ว่าประเทศต้องพัฒนาไปข้างหน้าไม่เพียงแต่พัฒนาอุตสาหกรรม แต่รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และในประเด็นรัฐสวัสดิการที่ไม่ตอบโจทย์กลุ่มแรงงานจึงต้องการให้การขับเคลื่อนบำนาญในครั้งนี้ประสบความสำเร็จ อยากเห็นรัฐที่เป็นรัฐสวัสดิการ ไม่ใช่รัฐสงเคราะห์หรือต้องพิสูจน์จนกว่าจะได้มา กฎหมายฉบับนี้จะเป็นกฎหมายสำคัญมากที่จะทำให้ผู้สูงอายุทุกคนมีหลักประกันรายได้เป็นรายเดือนที่สามารถวางแผนชีวิตได้ และมีชีวิตอยู่อย่างสมศักดิ์ศรี
.
ขณะเดียวกัน ตัวแทนจากฝั่งผู้รับมอบหนังสือ มีความเห็นตรงกันว่าพร้อมให้การสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ผู้สูงอายุฯ เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงวัยและประชาชนทุก และการมีหลักประกันด้านรายได้เมื่อยามสูงวัยเป็นเรื่องสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามต้องให้เป็นไปตามกลไกของรัฐธรรมนูญ ให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาลงนามก่อน เพราะเป็นร่าง พ.ร.บ.ที่เกี่ยวกับการเงิน ทั้งนี้รอติดตามความคืบหน้าได้ภายใน 45 วัน
.
.
#สภาองค์กรของผู้บริโภค #สภาผู้บริโภค #ผู้บริโภค
#รัฐสวัสดิการ #บำนาญแห่งชาติ #บำนาญถ้วนหน้า
#สามพันบาทผลักดันได้ #ถึงขึ้นคานก็มีบำนาญดูแล



ประชาไท Prachatai.com posted a video to playlist ข่าวเด่น.
19h·

15 พ.ย. 66 นิมิตร์ เทียนอุดม หนึ่งในผู้ริเริ่มขอเสนอ ร่าง พ.ร.บ. ผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ” (ฉบับที่..) พ.ศ. ... (ของภาคประชาชน) อธิบายถึงเหตุผลที่ต้องการเสนอร่างกฎหมายนี้ เพราะต้องการอยากมีชีวิตที่ดีกว่านี้ ต้องการเปลี่ยน 'เบี้ยยังชีพ' ให้เป็น 'บำนาญแห่งชาติ' ที่เป็นบำนาญรายเดือนจากรัฐให้คนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ทุกคน อย่างถ้วนหน้า ทั่วถึง และเป็นธรรม
.
"บ้านเราไม่มีรัฐสวัสดิการที่จะดูแลผู้สูงอายุ"
"เขาต้องคิดตลอดเวลาว่าหลัง 60 ปี แล้วจะอยู่ยังไง จะใช้เงินแบบไหน จะมีเงินมาใช้อย่างไร เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ เราอยากผลักดันให้ประเทศนี้
มันมีรัฐสวัสดิการที่ดี ที่เหมาะสม ที่จะช่วยเรื่องคุณภาพชีวิตของคน
ให้มันดีขึ้น"
.
#เบี้ยยังชีพ #บำนาญถ้วนหน้า #บำนาญแห่งชาติ #สวัสดิการ #สภาผู้แทนราษฎร
ชมคลิปเต็ม : [Live] ทำไมต้องล่าชื่อเสนอกฎหมายเปลี่ยน 'เบี้ยยังชีพ' ให้เป็น 'บำนาญแห่งชาติ' : https://youtu.be/jS-_BgD97-Y?t=711