วันอังคาร, กรกฎาคม 08, 2568

ฉากทัศน์ที่อาจเป็นไปได้ของอนาคต "ตระกูลชินวัตร" ผ่านสายตานักวิชาการต่างชาติผู้เชี่ยวชาญด้านไทยศึกษา "เพื่อไทยอาจอยู่รอดได้ ในฐานะเครื่องมือชนชั้นนำ"


ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 และ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ก่อนเข้าพิธีรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2567

"เพื่อไทยอาจอยู่รอดได้ ในฐานะเครื่องมือชนชั้นนำ" มองอนาคต "ชินวัตร" ในการเมืองไทย ใกล้ถึงจุดสิ้นสุดหรือไม่
 
วศินี พบูประภาพ
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
7 กรกฎาคม 2025

ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ชื่อของ ทักษิณ ชินวัตร ได้กลายเป็นศูนย์กลางของการเมืองไทย ทั้งในฐานะผู้นำที่เคยได้รับความนิยมอย่างสูง และในฐานะบุคคลที่ถูกต่อต้านอย่างรุนแรง พรรคการเมืองภายใต้ "แบรนด์ทักษิณ" ขึ้นเป็นรัฐบาลภายใต้นายกรัฐมนตรี 5 คนก่อนการรัฐประหารปี 2557 และล่าสุดพรรคเพื่อไทยที่ป้จจุบันมีผู้นำเป็นคนในตระกูลชินวัตร ได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้งในปี 2566 พร้อมกับการกลับแผ่นดินเกิดของนายทักษิณในรอบ 15 ปี

การขยับตัวของ ทักษิณ ชินวัตร ถูกจับตามองคู่ขนานไปกับพลวัตรทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย (พท.) ที่แวดล้อมด้วยปัจจัยการเมืองสารพัด ทั้งด้านนโยบาย การประสานเครือข่าย และความสัมพันธ์กับสถาบันทางการเมืองอื่น ๆ โดยเฉพาะหลังจากที่ แพทองธาร ชินวัตร บุตรสาวคนเล็กของทักษิณ ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

อย่างไรก็ตาม ในเดือน ก.ค. 2568 นายกรัฐมนตรีหญิงที่อยู่ในตำแหน่งได้เพียง 10 เดือน ถูกศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ จากชนวน "คลิปเสียง" กับสมเด็จฮุน เซน อดีตผู้นำประเทศกัมพูชา ขณะที่คดีความต่าง ๆ ของทักษิณก็กำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อเช่นกัน

เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นพร้อม "ศึกแย่งเก้าอี้มหาดไทย" ระหว่างพรรคเพื่อไทย (พท.) และภูมิใจไทย (ภท.) ซึ่งนำมาสู่การลาออกจากพรรคร่วมรัฐบาลของ "พรรคสีน้ำเงิน" ซึ่งเคยเป็นพันธมิตรสำคัญในการค้ำยันให้มีนายกรัฐมนตรีเป็น "คนเพื่อไทย" ถึงสองคนติด ๆ

วิกฤตที่ถาโถมใส่พรรคเพื่อไทยและสองพ่อลูกตระกูลชินวัตรในขณะนี้ ทำให้หลายฝ่ายเริ่มตั้งคำถามว่า รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน และบทบาทของครอบครัวชินวัตรในเวทีการเมืองไทย กำลังเดินทางมาถึงจุดสิ้นสุดหรือไม่

บีบีซีไทยสำรวจฉากทัศน์ที่อาจเป็นไปได้ของอนาคต "ตระกูลชินวัตร" ท่ามกลางมรสุมการเมืองครั้งนี้ ผ่านสายตานักวิชาการต่างชาติผู้เชี่ยวชาญด้านไทยศึกษา ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ทามาดะ โยชิฟูมิ จากมหาวิทยาลัยเกียวโต และ ไมเคิล มอนเตซาโน อดีตผู้ร่วมวิจัยอาวุโสสมทบจากสถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษา ยูซุฟ อิสฮัค (ISEAS-Yusof Ishak) ประเทศสิงคโปร์

ทักษิณเคยเกรียงไกร แต่ประเทศไทยเปลี่ยนไปแล้ว

"[ทักษิณ] ใช้การเลือกตั้งเพื่อจะได้มาซึ่งอำนาจ แล้วเขาก็ทำสำเร็จเป็นคนเดียวในประวัติศาสตร์ไทย" ทามาดะ โยชิฟูมิ ผู้เขียนบทความวิชาการเรื่องรัฐบาลทักษิณมาตั้งแต่ปี 2548 กล่าวถึงความยิ่งใหญ่ของอดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่อยู่จนครบวาระและได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งในวาระที่สองในระดับ "แลนด์สไลด์" กว่า 19 ล้านเสียง

ชื่อของทักษิณ ชินวัตร อยู่ในการเมืองกระแสหลักของไทยมาอย่างน้อย 31 ปี จากจุดเริ่มต้นในบทบาทนักธุรกิจโทรคมนาคม สู่ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในสมัยรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย เมื่อปี 2537 ก่อนขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคพลังธรรม ในปี 2538 ขึ้นสู่เก้าอี้รองนายกฯ ในรัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา และในเวลาต่อมาได้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย (ทรท.) ในปี 2541 และก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ในอีกสามปีต่อมา


ป้ายสนับสนุน ทักษิณ ชินวัตร ขณะเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2544

ไมเคิล มอนเตซาโน นักวิชาการไทยศึกษาซึ่งศึกษาเรื่องการเมืองไทยมากว่า 30 ปี อธิบายว่าปัจจัยความสำเร็จของทักษิณในการเมืองไทยประกอบด้วยสามประเด็นหลักด้วยกัน ได้แก่ ปัจจัยด้านเวลา ซึ่งมาพร้อมกับวิกฤตการณ์ทางการเงินปี 2540 ที่ภาคธุรกิจรู้สึกว่าประเทศไทยไม่ได้รับความเป็นธรรมจากองค์กรโลกบาลที่ดูแลระบบการเงินโลก และประเทศไทยในเวลานั้นต้องการผู้นำที่สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ได้ฉับไวที่สุด

ปัจจัยที่สองได้แก่ "นโยบายประชานิยม (populism)" ซึ่งฐานข้อมูลการเมืองของสถาบันพระปกเกล้าอธิบายว่า "ประชานิยมแบบทักษิณ" มีลักษณะเฉพาะ กล่าวคือ ใช้ผลงานด้านเศรษฐกิจเป็นจุดขายหลัก โดยชูประสบการณ์จากภาคเอกชนมาขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจแบบคู่ขนานที่เน้นกระตุ้นเศรษฐกิจภายในควบคู่กับการส่งออก โดยมีมาตรการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาสให้ประชาชนระดับฐานราก

และปัจจัยสุดท้าย คือการจัดสรรอำนาจของกลุ่มผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นและแปลงเป็นคะแนนเสียงให้แก่การเมืองส่วนกลาง ซึ่ง รศ.ดร.เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเคยอธิบายไว้ว่าพรรคไทยรักไทย "เริ่มสร้างเครือข่ายอย่างเป็นระบบ เขาทำได้เพราะเขาอ่านการเมืองท้องถิ่นของไทยแบบ 'อ่านขาด' จนสามารถสถาปนาอำนาจทางการเมืองในระดับชาวบ้านได้อย่างมั่นคงเป็นระบบ"

มอนเตซาโน ชวนมองบริบทในปัจจุบันด้วยว่า แต่ "25 ปีต่อมาประเทศไทยได้เปลี่ยนไปแล้ว" โดยตัวอย่างที่เขายกแรกสุดคือการที่กลุ่มธุรกิจอาจไม่คิดว่าแนวคิดของทักษิณตอบปัญหาของพวกเขาได้อีกต่อไป

"วิกฤตการเงินนั้นผ่านพ้นไปนานแล้ว และก็ไม่แน่ชัดว่าชนชั้นธุรกิจซึ่งเคยรู้สึกชื่นอกชื่นใจกับถ้อยแถลงของทักษิณในช่วงปลายยุคทศวรรษ 1990 ถึงต้นปี 2000 นั้น ยังให้ความสำคัญกับประเด็นเหล่านั้นอยู่หรือไม่"

ฐานเสียงอาจหาย เพราะนโยบายเศรษฐกิจไม่ถึงฝัน

"ด้านการเมือง ทักษิณไม่เคยมีผลงานเด่น แต่ในด้านสังคม เศรษฐกิจ และชีวิตความเป็นอยู่ เขาเคยสร้างผลงานที่จับใจประชาชนได้มาก" ทามาดะ กล่าวกับบีบีซีไทยเป็นภาษาไทยถึงจุดแข็งของอดีตนายกฯ คนที่ 23 แต่เขาก็บอกด้วยว่า หลังจากผ่านไปเกือบ 25 ปีนับแต่ที่ทักษิณขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก ผลงานรัฐบาลในปัจจุบันที่มีคนในตระกูลชินวัตรเป็นแกนนำเปลี่ยนไปมาก "ไม่เหมือนสมัยก่อนที่มีผลงานที่ประชาชนรู้สึกดีใจจริง ๆ"

มอนเตซาโน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์เศรษฐศาสตร์การเมืองไทย ฉายให้เห็นภาพที่ชัดขึ้นว่า นโยบายทางเศรษฐกิจของไทยรักไทยภายใต้ทักษิณ ทำให้ "พรรคการเมืองฝั่งแดง" สามารถรักษาฐานเสียงในชนบทไว้ได้อย่างแข็งแกร่งเสมอมา

"ทุกการเลือกตั้ง พรรคฝั่งแดงยังคงมีอิทธิพลต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในชนบท แต่ส่วนแบ่งนั้นกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง" เขากล่าว

ฐานเสียงทั่วประเทศของพรรคสีแดงที่กำลังลดลงดังกล่าว สะท้อนออกมาจากผลการเลือกตั้งเมื่อเดือน พ.ค. 2566 ซึ่งพรรคเพื่อไทยประสบความพ่ายแพ้เป็นครั้งแรกให้กับพรรคก้าวไกล หยุดสถิติ "พรรคที่ไม่เคยพ่ายแพ้" ในรอบ 22 ปี

ศ.ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ จากศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ได้แสดงทัศนะไว้ในรายการ Newsroom ของไทยรัฐด้วยว่า ฐานเสียง "เสื้อแดง" ถือเป็นสิ่งที่ทักษิณให้ความสำคัญน้อยที่สุด ทั้ง ๆ ที่ฐานเสียงเหล่านี้เป็น "สิ่งที่ทำให้คุณทักษิณชนะมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001"


ทามาดะ โยชิฟูมิ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ มหาวิทยาลัยเกียวโต ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการและศาสตราจารย์ ศูนย์ศึกษาเกียวโต มหาวิทยาลัยเปิดแห่งประเทศญี่ปุ่น

มอนเตซาโน ที่เคยเป็นบรรณาธิการบริหารวารสารประเด็นสังคมเอเชียอาคเนย์ (Journal of Social Issues in Southeast Asia) กล่าวด้วยว่า ความแข็งแกร่งของเพื่อไทยถูกท้าทายจากการเกิดขึ้นของพรรคอนาคตใหม่-ก้าวไกล-ประชาชน เพราะแม้จะถูกมองว่ามีประเด็นเรื่องสถาบันฯ "แต่พรรคสีส้มได้เสนอนโยบายทางเศรษฐกิจที่จริงจังและสดใหม่ที่สุดในเวทีการเมืองไทย"

มอนเตซาโน มองว่า หนึ่งในความพยายามของพรรคเพื่อไทยในการฟื้นฟูฐานเสียงจากการรุกคืบของ "พรรคส้ม" คือโครงการกระเป๋าเงินดิจิทัล ซึ่งเขามองว่าเป็นความพยายามที่จะรื้อฟื้นเสน่ห์ของนโยบายประชานิยมในอดีต

ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2566 ทันทีที่นายเศรษฐา ทวีสิน หนึ่งในแคนดิเดตนายกฯ ในเวลานั้น ประกาศนโยบาย "แจกเงินหนึ่งหมื่นบาท" ในช่วงต้นเดือน เม.ย. 2566 คะแนนนิยมของพรรคเพื่อไทยได้พุ่งสูงขึ้นจากการสำรวจของสวนดุสิตโพล โดยได้คะแนนนิยมคิดเป็น 41.37% เทียบกับพรรคก้าวไกลในขณะนั้นซึ่งมีคะแนนนิยม 19.32%

"กระเป๋าเงินดิจิทัลมีความสำคัญ เพราะมันเป็นการย้ำเตือนผู้มีสิทธิเลือกตั้งถึงสิ่งที่ทักษิณเคยทำได้" อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจผู้นี้ยอมรับว่าโครงการนี้ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง "มันเป็นความคิดที่ซับซ้อนเกินไป และไม่มีงบประมาณรองรับอย่างแท้จริง"


สองแคนดิเดตนายกฯ เพื่อไทย บนเวทีปราศรัยของพรรคก่อนการเลือกตั้ง เมื่อ 12 พ.ค. 2566

ด้านนักวิชาการไทยศึกษาชาวญี่ปุ่นมองว่า เมื่อโครงการเรือธงอย่างกระเป๋าเงินดิจิทัลห่างไกลจากการเกิดขึ้นได้จริง ทางเลือกที่เหลืออยู่ของเพื่อไทยคือการมุ่งมั่นตั้ง "เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์" เพื่อเป็นแหล่งดึงดูดการท่องเที่ยวจุดใหม่แบบครบวงจรที่มีกาสิโนเป็นส่วนหนึ่ง

"ผมคิดว่าที่เขายังสนใจเรื่องการพนัน เพราะมองว่าเป็นช่องทางสร้างรายได้ให้รัฐบาล" ทามาดะ กล่าวกับบีบีซีไทย

ทามาดะ ยังคงเชื่อว่าโครงการดังกล่าวยังมีศักยภาพในการกู้ภาพลักษณ์ทางเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทยเพื่อพลิกเกมการเมืองครั้งนี้ พร้อมเปรียบเทียบกับนโยบายหวยบนดินในอดีตว่า "ถ้าทำจริง ๆ ก็อาจได้ผลดีเหมือนหวยบนดินที่เคยสร้างรายได้ให้รัฐ"

ด้าน มอนเตซาโน วิพากษ์ถึงความแตกต่างระหว่าง

สองนโยบายหลักของเพื่อไทยครั้งนี้ว่า แม้จะเป็นนโยบายด้านเศรษฐกิจคล้ายกัน แต่รากฐานกลับมาจากฐานคิดคนละแบบ โดยแนวคิดการตั้ง "เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์" ไม่ได้มีรากฐานทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนนักเมื่อเทียบกับนโยบายกระเป๋าเงินดิจิทัล ซึ่งมีรากฐานมาจากยุคไทยรักไทยที่พยายามกระตุ้นเศรษฐกิจจากฐานราก

กระนั้น นักวิชาการทั้งสองก็เห็นพ้องกันว่า พรรคการเมืองอายุกว่าสองทศวรรษนี้ยังไม่ได้สูญเสียความยิ่งใหญ่ไปเสียทีเดียว มอนเตซาโนประเมินว่าเพื่อไทยยังมีคะแนนเสียงหลายล้านเสียง ขณะที่ทามาดะบอกว่า "ไม่ใช่ทุกคนจะเป็นสีส้ม"


พรรคก้าวไกล (กก.) ที่เติบโตมาจากพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) ชนะการเลือกตั้งเมื่อปี 2566 ด้วยคะแนนกว่า 14 ล้านเสียง

"เสื้อแดงจำนวนมากมีรายได้น้อย การศึกษาไม่สูง ขณะที่คนสีส้มมักมีการศึกษาดีและฐานะทางสังคมสูงกว่า" ทามาดะ กล่าวโดยอ้างอิงการเยือน จ.เชียงใหม่ ครั้งล่าสุดในงานแลกเปลี่ยนนักวิชาการช่วงต้นปีของเขา "มันเหมือนเป็นเรื่องของชนชั้น และชาวบ้านบางส่วนไม่ชอบความรู้สึกนั้น"

นักวิชาการชาวญี่ปุ่นสรุปว่า แม้ "พรรคสีส้ม" จะเติบโต แต่การสนับสนุนทักษิณและเพื่อไทยในหมู่ประชาชนระดับรากหญ้ายังไม่หมดไป และเห็นว่า "ยังมีอยู่พอสมควร"

ทามาดะยังเน้นย้ำอีกว่า นโยบายทางเศรษฐกิจเท่านั้นที่จะสามารถกู้สถานะของเพื่อไทยกลับคืนมาได้ "ตอนนี้ด้านการเมืองทำอะไรไม่ได้ ต้องพึ่งนโยบายเศรษฐกิจเท่านั้น"

สงครามแย่ง "บ้านใหญ่" เพื่อไทย-ภูมิใจไทย

"พรรคเพื่อไทยต้องการควบคุมกระทรวงมหาดไทยเพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการเลือกตั้ง เพราะฐานเสียงเดิม ทั้งกลุ่มทุนธุรกิจและประชาชนที่หวังนโยบายกระเป๋าเงินดิจิทัล ต่างก็เริ่มสั่นคลอน" มอนเตซาโน กล่าวกับบีบีซีไทย

ความขัดแย้งเกี่ยวกับเก้าอี้ รมว.มหาดไทย ได้นำไปสู่การแตกหักระว่างพรรคเพื่อไทย และพรรคการเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 อย่างภูมิใจไทยในที่สุด

แม้เอกสารที่ออกโดยพรรค ภท. เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ที่ผ่านมา จะระบุสาเหตุว่าต้องการแสดงจุดยืนปกป้องอธิปไตยหลังกรณี "คลิปเสียงหลุด" การสนทนาระหว่าง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร กับสมเด็จฮุน เซน แต่รอยร้าวระหว่างพรรคสีแดงและพรรคสีน้ำเงินเกิดขึ้นตั้งแต่การต่อรองเก้าอี้ รมว.มหาดไทย ก่อนการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุด

มอนเตซาโนชี้ว่า การแย่งชิงอำนาจควบคุมกระทรวงมหาดไทยระหว่างพรรคเพื่อไทยและภูมิใจไทย เป็นกระจกสะท้อนการแข่งขันในระดับท้องถิ่นระหว่างสองพรรค พร้อมชี้ด้วยว่า การแข่งขันเพื่อดึงตัวนักการเมืองท้องถิ่นที่มีอิทธิพลจะเป็นปัจจัยชี้ขาดในการเลือกตั้งครั้งหน้า


เครือข่ายของภูมิใจไทย เป็นหนึ่งตัวแปรสำคัญทางการเมืองไทยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา

"ก่อนการเลือกตั้งปี 2562 ผมอยู่ในภาคใต้และเห็นชัดว่า ภูมิใจไทยกำลังสร้างเครือข่ายอย่างจริงจัง ขยายตัวไกลกว่าเขตแดนของบุรีรัมย์มาก" เขาระบุ

ด้านอดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเกียวโต เห็นพ้องตรงกันว่าเพื่อไทยจะต้องเหนื่อยกับการแข่งขันที่ดุเดือดขึ้น โดยเสริมว่าการตัดสินใจของ "บ้านใหญ่" หรือกลุ่มการเมืองท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับสองปัจจัยหลัก คือ "สตางค์" และ "อุดมการณ์" และได้ยกตัวอย่างพรรคที่ชูอุดมการณ์ว่าได้แก่ พรรคประชาชน พรรคเพื่อไทย และพรรครวมไทยสร้างชาติ

"ถ้าตัวเองเป็นบ้านใหญ่ ผมจะเลือกพรรคไหน ผมจะเลือกพรรคที่มีสตางค์ แต่ก็ต้องเป็นพรรคที่มีอุดมการณ์ที่ประชาชนชอบ" นักวิชาการญี่ปุ่นเจ้าของแนวคิดเรื่อง "อิทธิพล" ในสังคมไทยซึ่งได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวาง ประเมินและชี้ต่อว่า หากยุบสภาวันนี้ พรรคเพื่อไทยอาจได้ ส.ส. ไม่ถึง 100 คน และจะมีสถานะเป็นพรรคอันดับสอง

"เพื่อไทยแพ้พรรคส้มแน่นอน แต่จะได้มากกว่าภูมิใจไทย เพราะภูมิใจไทยมีแต่สตางค์ ไม่มีอุดมการณ์" เขากล่าว

มรสุมทางกฎหมายของสองพ่อลูก ทักษิณ-แพทองธาร

เหตุการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราว ถือเป็นอีกครั้งที่ชะตากรรม "รัฐบาลค่ายแดง" ถูกแขวนบนเส้นด้ายโดยมีองค์กรอิสระเป็นผู้ชี้เป็นชี้ตาย

พรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชนเคยถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคในปี 2550 และ 2551 ตามลำดับ ต่อมาพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) ที่หลายฝ่ายมองว่าเป็นหนึ่งในพรรคสาขาของพรรคเพื่อไทย ก็ถูกยุบพรรคก่อนการเลือกตั้งปี 2562

ทั้งนี้ ในอดีตเคยมี "นายกฯ ค่ายแดง" จำนวน 3 ราย ถูกวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งมาก่อน ได้แก่ นายสมัคร สุนทรเวช ในปี 2551, น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปี 2557 และล่าสุด นายเศรษฐา ทวีสิน ปี 2567

นอกจากคดีในศาลรัฐธรรมนูญที่ริเริ่มโดยสมาชิกวุฒิสภา (สว.) 36 คน ซึ่งทำให้นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวอยู่ในขณะนี้แล้ว น.ส.แพทองธาร ยังเผชิญกับคดีในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งยื่นด้วยสำนวนเดียวกันด้วย

นอกจากนี้ แพทองธาร ยังเผชิญคดีอาญาจากการร้องทุกข์กล่าวโทษกับกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) โดย สมชาย แสวงการ อดีต สว. และแนวร่วมกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "รวมพลังแผ่นดิน" จากเหตุคลิปเสียงหลุด โดยกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 119, 120, 122, 128 และ 129
สมัคร สุนทรเวช กลายเป็นนายกรัฐมนตรีจาก "ค่ายสีแดง" รายแรกที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญ สั่งให้พ้นจากความเป็นนายกฯ เพราะกระทำต้องห้ามขัดต่อรัฐธรรมนูญเรื่องคุณสมบัตินายกฯ จากการรับเป็นพิธีกรกิตติมศักดิ์ของรายการ "ชิมไปบ่นไป" เมื่อเดือน ก.ย. 2551

ด้าน ทักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นศูนย์รวมจิตใจของพรรคเพื่อไทย ก็กำลังเผชิญขวากหนามทางกฎหมายเช่นกัน โดยมีทั้งคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ "คดีชั้น14" ซึ่งมีนัดไต่สวนพยานตลอดเดือน ก.ค.นี้

บทวิเคราะห์ของ ศ.ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ และโจชัว เคิร์ลแอนซิก ที่เขียนลงในเว็บไซต์ของสภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (The Council on Foreign Relations - CFR) วิเคราะห์ว่าคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญให้ น.ส.แพทองธาร หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกฯ เป็นขั้นแรกของการสิ้นสุดอำนาจทางการเมืองของตระกูลชินวัตร โดยมรสุมคดีของครอบครัวชินวัตรที่มีอยู่ในขณะนี้ "อาจถูกนำมาใช้เป็นยุทธศาสตร์เพื่อลดทอนอิทธิพลให้พวกเขาต้องติดคุก หรือ (มีแนวโน้มมากว่า) ปล่อยให้หนีออกนอกประเทศและจะไม่ได้กลับมาอีกเลย"

ในประเด็นนี้ มอนเตซาโนมองว่า ครอบครัวชินวัตรกำลังตกเป็นฝ่ายตั้งรับในสงครามทางกฎหมาย ส่วนทามาดะประเมินว่าเป้าหมายของคดีความที่มีต่อ น.ส.แพทองธาร อาจหวังผลแค่เปลี่ยนตัวนายกฯ เท่านั้น

"ไม่ใช่ว่าร้อยเปอร์เซ็นต์เขาจะถูกออกจากการเมืองตลอดชีวิต ผมคิดว่าไม่แน่ครับ" นักวิชาการญี่ปุ่น กล่าว

จากผู้นำ สู่เครื่องมือของชนชั้นนำ

ต่างจากกรณีของ น.ส.แพทองธาร นักวิชาการทั้งสองไม่วิเคราะห์ถึงอนาคตของทักษิณ ชินวัตร ในประเทศไทยจากสถานการณ์ด้านคดี เพราะความสัมพันธ์ระหว่างทักษิณกับฝ่ายอนุรักษนิยมเป็นผลจากการเมืองที่ไม่มีทางเลือก

ทามาดะมองว่า "ในระบบที่มีพรรคสีแดงและสีส้ม หากต้องเลือกเพียงหนึ่ง ฝ่ายอนุรักษนิยมไทยไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากเพื่อไทย" เขากล่าว พร้อมอธิบายว่า "เพื่อป้องกันไม่ให้พรรคสีส้มขึ้นสู่อำนาจ ฝ่ายอนุรักษนิยมจึงยังต้องจับมือกับทักษิณ แม้จะไม่เต็มใจ"

มอนเตซาโนเห็นไม่ต่างกัน พร้อมขยายความว่าบทบาทของทักษิณในสายตาชนชั้นนำนั้นถูกยอมรับในฐานะ "เครื่องมือ"

"ทักษิณในวันนี้ไม่ใช่ผู้นำที่ขับเคลื่อนประเทศอีกต่อไป แต่กลายเป็นเครื่องมือของกลุ่มผลประโยชน์อื่นในทางการเมือง" เขาเสริมต่อว่า "ทันทีที่บทบาทถูกพลิกแบบนี้ สถานะของตระกูลชินวัตรก็เปลี่ยนไปด้วย"

อย่างไรก็ตาม เขาตั้งข้อสังเกตว่าความตึงเครียดระหว่างทักษิณกับกลุ่มอำนาจเก่าตึงเครียดขึ้นเพราะการวางตัวของอดีตนายกฯ คนที่ 23 เอง ที่ไม่สงวนท่าทีดังที่อีกฝ่ายตั้งความคาดหมายไว้ และนานวันเข้าก็สั่งสมเป็นความไม่พอใจที่ปะทุขึ้นมา

"ทักษิณไม่ได้ทำตัวเป็นดังเครื่องมือ เขาเดินสายปราศรัย พูดเรื่องเศรษฐกิจ และแสดงบทบาทอย่างแข็งขัน แล้ว [ท่าทีอย่างนั้น] ก็กลับมาเตือนความทรงจำของชนชั้นนำว่า ทำไมพวกเขาไม่เคยไว้วางใจทักษิณ"

กรณีพิพาทเรื่องสิทธิในเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชาในอ่าวไทย ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กระตุ้นความไม่ไว้วางใจต่อทักษิณและครอบครัวกลับมาอีกครั้ง แม้ในเหตุการณ์ล่าสุดจะไม่มีการซื้อขายหรือข้อตกลงใด ๆ เกิดขึ้นโดยตรงก็ตาม

"คำว่า 'ขายชาติ' กลายเป็นวาทกรรมที่ฝังรากลึกในสังคมไทย จนไม่จำเป็นต้องมีรายละเอียดหรือหลักฐานใด ๆ ก็สามารถใช้เป็นเครื่องมือโจมตีได้" มอนเตซาโนกล่าว


คลิปเสียงระหว่าง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร และสมเด็จฮุน เซน อดีตนายกฯ กัมพูชา กลายเป็นชนวนที่จุดการประท้วงบนท้องถนน รวมถึงคดีความที่นายกฯ คนปัจจุบันต้องเผชิญ

"ผมคิดว่าทักษิณมีความเชื่อมั่นอย่างมากในความสามารถของตัวเองที่จะทำให้คนอื่นทำตามที่เขาต้องการ ดังนั้นเราต้องมีสมมติฐานว่าเขายังคงพูดคุยกับผู้คนอยู่ตลอดเวลา และพยายามโน้มน้าวว่า การอยู่กับเพื่อไทยคือวิธีที่ดีที่สุดในการกันพรรคส้มออกไป" มอนเตซาโนกล่าวกับบีบีซีไทย

เขาอธิบายต่อว่า ในระยะสั้นยังมีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลซึ่งมีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจะอยู่รอดได้ หากฝ่ายอนุรักษนิยมเห็นว่าแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีคนที่สามของเพื่อไทย (ชัยเกษม นิติสิริ) เป็นที่ "พอรับได้" ในหมู่ชนชั้นนำ จนยอมให้เพื่อไทยเป็นศูนย์กลางของรัฐบาลผสมต่อไป


สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2568 เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณ ก่อนเข้ารับตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2568

แม้พรรคภูมิใจไทยจะแสดงบทบาทแข็งขันในการพยายามเป็นตัวเลือกหลักของฝ่ายอนุรักษนิยม ทว่าทามาดะให้ความเห็นว่า ชนชั้นนำในประเทศไทยยังไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากพรรคเพื่อไทย เนื่องจากพรรคการเมืองอื่น เช่น พรรคภูมิใจไทย ยัง "ไม่มีฐานมวลชน" ทำให้ "ชนกับพรรคสีส้มไม่ได้"

เขาเปรียบเทียบต่อไปว่า พรรคเพื่อไทยยังไม่หมดประโยชน์เสียทีเดียว โดยเปรียบเทียบกับอดีตพรรคการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มอนุรักษนิยม ที่หมดพลังไปแล้ว

"เหมือนพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ตอนนี้ใช้ไม่ได้แล้ว แต่เพื่อไทยยังพอใช้ได้อยู่อีกสมัยหนึ่ง ไม่นานเท่าไหร่ แต่ยังใช้ได้อยู่ เพราะฉะนั้นผมคิดว่ายังใช้ต่อ" เขายืนยัน

ศาสตราจารย์เกียรติคุณผู้นี้ยังวิเคราะห์ด้วยว่า เพื่อหลีกเลี่ยงการรัฐประหาร กลุ่มอำนาจเก่าในสังคมไทยจึงต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการเลือกตั้ง เพราะหากพรรคสีส้มชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการรัฐประหารได้

"ถ้าหากว่าตอนนี้มีการเลือกตั้ง พรรคส้มอาจจะได้ [ที่นั่ง สส.] มากกว่าครึ่งหนึ่ง เมื่อนั้นผมสงสัยว่าเขาอาจจะมีการรัฐประหาร"

ฉากทัศน์ของการรัฐประหารถูกวิเคราะห์ไว้เช่นกันในบทความบนเว็บไซต์ของสภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยระบุว่าอาจเกิดขึ้นได้หากเกิดเงื่อนไขความรุนแรง

"หากสถานการณ์ในกรุงเทพฯ ทวีความวุ่นวายและรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ กองทัพก็อาจจะทำรัฐประหาร บังคับให้ตระกูลชินวัตรต้องหนีออกนอกประเทศในที่สุด" บทวิเคราะห์ที่เขียนโดย ศ.ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ และโจชัว เคิร์ลแอนซิก ซึ่งตีพิมพ์วันที่ 30 มิ.ย. 2568 ระบุ

ผู้สืบทอดการเมือง "ตระกูลชินวัตร"

เมื่อมองถึงอนาคตของตระกูลชินวัตรและเพื่อไทย เสียงของผู้เชี่ยวชาญทั้งสองที่บีบีซีไทยสนทนาด้วย ไม่ตรงกันเสียทีเดียว

ขณะที่บทวิเคราะห์โดย ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ และโจชัว เคิร์ลแอนซิก มองว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร จะเป็นนายกรัฐมนตรี "ชินวัตร" คนสุดท้าย ด้านทามาดะมองว่า ตัวเลือกการใช้คนนอกตระกูลอาจถูกเลือกกลับมาใช้อีกครั้ง

"เมื่อก่อนเขาเลือกสมัคร [สุนทรเวช] ตอนนี้ยังคิดในแง่ดีว่า มีสิทธิเลือกคนอื่นจากนอกตระกูลเหมือนกัน" อาจารย์ชาวญี่ปุ่นกล่าว

ส่วนมอนเตซาโน ชี้ว่าวิกฤต "การสืบทอดทางการเมืองของตระกูลชินวัตร" เกิดขึ้นมานานแล้ว

"แม้แต่ยิ่งลักษณ์และสมชายก็ไม่ใช่การส่งต่อ แพทองธารอาจเป็นการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น แต่ดูเหมือนจะไม่ได้ผล" เขาขยายความต่อว่า "แพทองธารไม่เคยเป็นผู้นำที่แท้จริง แต่เป็นกลไกของพ่อ"


ทักษิณ ชินวัตร และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปรากฏตัวที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2561 หลังออกจากประเทศไทยในปี 2560

"ในพรรคมีคนเก่งอยู่มาก ไม่มีข้อสงสัยเลย แม้แต่สุริยะก็เป็นคนที่มีความสามารถมาก แต่ทั้งหมดนั้นคือคนรุ่นของทักษิณ ไม่ใช่คนรุ่นใหม่" มอนเตซาโน ชี้

"ต่อให้เพื่อไทยจะได้เป็นพรรคใหญ่ที่สุดในการเลือกตั้งครั้งหน้าได้สำเร็จ ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะกลับไปสู่ยุครุ่งเรืองของไทยรักไทยหรือแม้แต่ยุคของยิ่งลักษณ์ มันจะเป็นเพียงเงาจาง ๆ ของสิ่งที่เคยเป็นเท่านั้น" มอนเตซาโน นักวิชาการด้านไทยศึกษาชาวตะวันตก สรุป

ด้านทามาดะเห็นพ้องว่า อนาคตของพรรคเพื่อไทยและครอบครัวชินวัตรกำลังอยู่ในช่วงขาลง "เรายังไม่สามารถพูดได้ว่าเขายังมีอนาคตทางการเมืองหรือไม่ ผมก็ว่ากำลังต่ำลงเรื่อย ๆ"

อย่างไรก็ตาม เขาคิดถึงเงื่อนไขอื่น ๆ ที่อาจต่อลมหายใจให้ตระกูลชินวัตรต่อไปได้

"ตอนนี้ประชาชนยังไม่เห็นว่าทักษิณน่าสงสาร แต่ถ้าเป็นอย่างนี้ต่อ อาจจะมีบางคนเริ่มคิดว่าทักษิณน่าสงสาร ถูกใช้ ถูกทิ้ง ตอนนั้นน่าจะเปลี่ยน มากน้อยแค่ไหนไม่รู้ แต่อาจจะเปลี่ยนก็ได้" ศาสตราจารย์ชาวญี่ปุ่นคาดการณ์

ทักษิณจะไม่ยอมตายจากการเมืองไทย

ตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกประเทศ ทักษิณ ชินวัตร วนเวียนและกลับมาอยู่ในการเมืองไทยเสมอ เช่น การปรากฏตัวผ่าน "โฟนอิน" เมื่อครั้งการชุมนุมของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)", การสนทนาในห้อง "คลับเฮ้าส์" ยุคโควิด-19 และในที่สุดได้กลับมายังประเทศไทยในปี 2566

มอนเตซาโนวิเคราะห์ว่า การ "กลับมา" ครั้งแล้วครั้งเล่าของทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้เกิดจากความคิดถึงบ้านหรือความต้องการล้างตาเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากความมั่นใจในตัวเองอย่างแรงกล้าว่าเขายังสามารถควบคุมการเมืองไทยได้

เขาอธิบายว่า ทักษิณไม่ได้ปิดบังบทบาทของตนเองหลังจากที่ผลักดันให้พรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งมีนายกฯ คือนายเศรษฐา ทวีสิน และต่อมาคือ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ได้สำเร็จ

"เขาไม่ได้ปิดบังเลยว่าเขาเป็นคนควบคุมอยู่เบื้องหลัง ตอนที่เศรษฐาถูกบีบให้ออก ถ้าผมจำไม่ผิด ไม่มีใครปิดบังเลยว่ามีการประชุมที่บ้านทักษิณ และทักษิณเป็นคนตัดสินใจว่าก้าวต่อไปคืออะไร"

มอนเตซาโนชี้ว่า เจตจำนงนี้สะท้อนบุคลิกของทักษิณ ชินวัตร เป็นอย่างมาก "ผมจำได้ดีในยุคก่อนที่เขาจะเข้าสู่การเมืองช่วงต้นทศวรรษ 1990 เขาเป็นคนที่มั่นใจอย่างแรงกล้าว่าเขาทำสิ่งต่าง ๆ ได้ในแบบที่ไม่มีใครทำได้" นักวิชาการอาคันตุกะอาวุโสของสถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษา ยูซุฟ อิสฮัค ในสิงคโปร์ ย้อนรำลึก

"เขาแลกอะไรไปมากมาย แต่เขาก็ได้ในสิ่งที่เขาต้องการ เขากลับมาและควบคุมรัฐบาล แม้จะไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจโดยตรง"


ไมเคิล มอนเตซาโน นักวิจัยคันตุกะอาวุโสแห่งสถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษายูซุฟ อิสฮัค (ISEAS-Yusof Ishak) ในสิงคโปร์ ผู้เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ทศวรรษ 2520 ในฐานะอาสาสมัครก่อนพัฒนาความสนใจมาศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและการเมือง

ศ.เกียรติคุณ ดร.ทามาดะ ให้ความเห็นตรงกันว่า นักรบการเมืองผู้กรำศึกรายนี้ไม่ออกจากสนามทางการเมืองง่าย ๆ "ผมว่าเขาไม่ยอม [และเขาก็] ไม่อยากจะยอม"

เขาเสนอความเป็นไปได้ว่า แม้หลังจากนี้ไปจะมีฉากทัศน์ที่ทักษิณอาจจะถูกบีบคั้นด้วยคดีหมิ่นสถาบันฯ แต่นักการเมืองรายนี้ก็จะกลับมาอีกในอนาคต

"[ทักษิณอาจ] เก็บตัวเงียบสัก 10 ปี อาจจะกลับมา แต่เป็นยังไงนี่ ผมไม่แน่ใจนะครับ แต่ไม่ยอมง่าย ๆ คิดว่าไม่ยอมง่าย ๆ" เขายืนยัน

มอนเตซาโนยังชวนตั้งคำถามสำคัญเกี่ยวกับอนาคตของพรรคเพื่อไทยในวันที่อาจไม่มีทักษิณ ชินวัตร อยู่ในฉากการเมืองด้วย เขาชี้ว่า เสน่ห์ของพรรคเพื่อไทยในช่วงที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ผูกติดอยู่กับตัวทักษิณโดยตรง "มันไม่ชัดเจนเลย เพราะเสน่ห์ของพรรคนี้ส่วนใหญ่เกิดจากทักษิณ และถ้าเขาไม่อยู่แล้ว ก็ไม่แน่ว่าพรรคจะยังมีเสน่ห์อยู่แค่ไหน"

มอนเตซาโน วิเคราะห์ว่า พรรคเพื่อไทยอาจกำลังอยู่บนเส้นแบ่งระหว่างการรักษาสถานะพรรคใหญ่ กับการค่อย ๆ เลือนหายไปจากฉากการเมืองไทย เช่นเดียวกับพรรคการเมืองหลายพรรคในอดีต เช่น พรรคชาติไทย พรรคความหวังใหม่ พรรคพลังธรรม ซึ่งล้วนแต่เคยเป็นตัวแสดงสำคัญในการเมืองไทยในยุคสมัยหนึ่ง

"สิ่งที่เราต้องจำไว้คือ พรรคการเมืองจำนวนมากที่เคยดูทรงพลังในบางช่วงเวลา ตอนนี้ไม่มีอะไรเหลือเลย พรรคประชาธิปัตย์เคยเป็นพรรคใหญ่ แต่ตอนนี้ประชาธิปัตย์ไม่มีอะไรเหลือแล้ว" เขากล่าว

"พรรคเพื่อไทยอยู่ตรงกลางระหว่างสองความเป็นไปได้ หนึ่งคือยังสามารถรักษาสถานะพรรคใหญ่และมีบทบาทในรัฐบาลผสมในอนาคต กับอีกทางหนึ่งคือกลายเป็นเหมือนพรรคอื่น ๆ ที่เคยสำคัญในอดีต แล้วก็หายไป" มอนเตซาโนสรุป


https://www.bbc.com/thai/articles/cx2j7gr75x1o


ไม่รู้ “ณัฐวุฒิ” จำคลิปนี้ได้หรือไม่ เมื่อปีที่แล้ว หนุนนิรโทษกรรมประชาชน รวมคดีมาตรา 112


#ณัฐวุฒิใสยเกื้อ หนุนนิรโทษกรรมประชาชน รวมคดี #มาตรา 112

UDD News Thailand

Feb 2, 2024

ดังนั้นไม่ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยเรื่องมาตรา 112 อย่างไร แต่ข้อเสนอของผมไม่เปลี่ยน เพราะนี้ไม่ได้มีการเจตนาทำร้ายทำลายสิ่งใด แต่เป็นการยื่นอ้อมกอดของความเมตตาให้กับเยาวชนลูกหลานเราเอง ณัฐวุฒิ กล่าว 
ถ้าบางคนบอกว่าไปนิรโทษกรรม คดี 112 ใครกระทำการที่กฎหมายบอกว่าผิดไม่ต้องรับผิดชอบอะไรหรือไม่ คำตอบของตนก็คือว่า 3 - 4 ปีมานี้ ลูกหลานของเราโดนอะไรกันไปไม่ใช่น้อยแล้ว บางคนติดคุกจำนวนครั้งมากกว่าตนไปแล้ว ถูกกระทำต่าง ๆ นานามากมาย เผชิญความเจ็บปวดทั้งร่างกายจิตใจ เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองจะต้องช่วยกันคิดแล้วก็ช่วยกันทำ ตนเองที่ผ่านมานั้นต้องสู้กับคดีเก่ามา 16 ปี ตอนนี้ ยังคงสู้คดีปี 2552 อยู่เลย แล้วคนหนุ่มสาวตอนนี้ที่มี 20 - 30 กว่าคดีจะต้องขึ้นศาลกันไปจนเกษียร เราจะปล่อยให้บ้านเมืองเดินต่อไปแบบนี้ไม่ได้ และนี่คือมิติของคำว่านิรโทษกรรม ตนมีความเห็นแบบนี้ ณัฐวุฒิ กล่าว 
และสำหรับการนิรโทษกรรมที่ไม่รวมคดีมาตรา 112 ด้วยนั้น ณัฐวุฒิมองว่า จะกลายเป็นการสร้างคู่กรณีขึ้นมาคู่หนึ่ง ซึ่งไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น ระหว่างคนหนุ่มสาวยุคปัจจุบันกับประมวลกฎหมายบางมาตรา เป็นคู่เผชิญหน้ากันอยู่ ความหมายมันลึก ช่วยกันคิด อย่าให้เป็นแบบนั้น ผมว่ามันดีที่สุดกับทุกฝ่าย อันนี้ด้วยความปรารถนาดี ณัฐวุฒิ กล่าว
บางส่วนในเสวนา “คนเสื้อแดง ภาพวาดปีศาจร้ายการเมืองไทย” 
2 กุมภาพันธ์ 2567 ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จัดโดยองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) และพิพิธภัณฑ์สามัญชน 

https://www.youtube.com/watch?v=MKmk66hv1EA



วันพุธที่ 9 กค.นี้ ร่าง #ร่างพรบ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน ที่ร่วมคดีมาตรา 112 จะเข้าสภา อ.พวงทอง เป็นหนึ่งที่จะขึ้นกล่าวในสภาฯ ถึงเหตุผลว่าทำไมสภาจึงควรผ่านกฎหมายฉบับนี้ แต่ยังอยู่ต่างประเทศ จึงขอนำร่างคำแถลงที่เตรียมไว้ก่อน มาให้ท่านได้อ่านกัน

.....

Puangthong Pawakapan
22 hours ago
·
วันพุธที่ 9 กค.นี้ ร่าง #ร่างพรบ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน ที่ร่วมคดีมาตรา 112 จะเข้าสภา เป็นการเลื่อนมาจากเมื่อวันที่ 9 เมย. ซึ่งดิฉันเป็นหนึ่งในคนที่ทาง I-law และศูนย์ทนายฯ ขอให้ขึ้นกล่าวในสภาฯ ถึงเหตุผลว่าทำไมสภาจึงควรผ่านกฎหมายฉบับนี้ แต่วันนี้ดิฉันยังอยู่ต่างประเทศ จึงขอนำร่างคำแถลงที่เตรียมไว้ตั้งแต่วันที่ 9 เมย. มาแปะไว้ให้ท่านได้อ่านกัน

ไม่ได้มีความหวังมากนัก แต่ก็เขียนจากใจ และยังอยากวิงวอนให้บรรดาสส. พรรคการเมือง ที่ป่าวร้องว่ารักประชาธิปไตยนักหนา มีความกล้าหาญ ไม่ทอดทิ้งประชาชนเพียงเพื่อความอยู่รอดของตัวเอง ขอวิงวอนให้ผู้สนับสนุนช่วยกันส่งเสียงเรียกร้องให้พรรคการเมืองของท่านทำสิ่งที่ถูกต้อง อย่าทิ้งเพื่อนๆ

#####################

เรียน ประธานสภาฯที่เคารพ เพื่อผ่านไปยังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่าน …

ดิฉันจะไม่ขออารัมภบทให้เสียเวลามากเกินไป ... พวกเราทราบดีว่า อุปสรรคสำคัญของ ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมประชาชนก็คือ การรวมเอาผู้ที่ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ไว้ด้วย ฉะนั้น ในวันนี้ดิฉันจะขอพูดถึงแต่ประเด็นเดียวว่า ทำไมท่านจึงควรสนับสนุนการนิรโทษกรรมคนกลุ่มนี้ไว้ด้วย และสังคมไทยจะได้ประโยชน์อย่างไร


ท่านประธาน... ดิฉันขออนุญาตกล่าวถึงเหตุการณ์ในอดีตที่เพิ่งผ่านไปไม่นาน ซึ่งดิฉันเชื่อว่าท่านประธาน และสมาชิกสภาฯส่วนใหญ่ ยังคงจดจำกันได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ สังคมไทยเคยออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับผู้ถูกดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และคดีการเมืองร้ายแรงอื่นๆ ให้กับคนจำนวนมากมาแล้ว

โดยเริ่มจากในปี 2521 เมื่อรัฐบาลของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ อันเป็นรบ.จากการรัฐประหาร ได้ผลักดันพรบ.นิรโทษกรรมให้กับผู้นำนักศึกษา 18 คน และตามมาด้วยการอนุญาตให้นิสิตนักศึกษากรรมกรชาวนาอีกนับพันคน ที่เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย สามารถกลับคืนสู่เมือง กลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง โดยรัฐไม่เอาผิดทางอาญา ซึ่งเราท่านก็ได้เห็นแล้วว่าบุคคลเหล่านี้ ณ วันนี้ ได้กลายเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ...เป็นนักการเมือง รัฐมนตรี ข้าราชการ และนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากมาย หลายคนจึงมีอำนาจวาสนาในวันนี้ได้ ... ถ้าเมื่อ 49 ปีที่แล้ว ผู้มีอำนาจของไทยปฏิเสธที่จะประนีประนอม ในวันนี้ ท่านเหล่านั้นจะมีชะตากรรมเช่นใด ก็ยากจะคาดเดาได้

ในฐานะที่ดิฉันศึกษาเกี่ยวกับสงครามเย็นมาบ้าง ดิฉันเห็นว่าการประนีประนอมทางการเมืองเมื่อ 5 ทศวรรษที่แล้ว เกิดจากการที่ผู้มีอำนาจรัฐ โดยเฉพาะในผู้นำทหารในขณะนั้น ตระหนักว่าสังคมไทยกำลังตกอยู่ในภาวะอันตรายทั้งในประเทศและนอกประเทศ หากยังมุ่งใช้วิธีกดปราบประชาชนอย่างเดียว ก็จะนำไปสู่ภาวะสิ้นชาติได้ ... มันเกิดอะไรขึ้นในขณะนั้น?

สถานการณ์นอกประเทศ ..ในปี 2518 ประเทศเพื่อนบ้านของไทย ได้แก่ ลาว เวียดนาม และกัมพูชา กลายเป็นประเทศคอมมิวนิสต์กันหมด ขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกา ที่รัฐบาลไทยฝากผีฝากประเทศไว้กับเขามาตลอด ก็ถอนตัวออกจากสงครามเวียดนาม ถอนทหารและปิดฐานทัพในไทยจนหมดสิ้น

ส่วนสถานการณ์ในประเทศ เป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไทยตกต่ำ ข้าวยากหมากแพง .. ผู้คนต้องเข้าคิวซื้อข้าวและน้ำตาล ... และที่รุนแรงที่สุด ก็คือการสังหารหมู่ประชาชนเมื่อวันที่ 6 ตุลา 2519 ผลักดันให้นิสิตนักศึกษากรรมกรชาวนา พากันหลั่งไหลเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ฯ ..ในช่วงเวลานั้น ข่าวการปะทะระหว่างกองกำลังของ พคท.กับเจ้าหน้าที่รัฐ เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน และรัฐบาลต้องประกาศพื้นที่สีแดงมากขึ้นทุกปี

ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ผู้นำทหารที่ขึ้นสู่อำนาจหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2520 ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์เสียใหม่ ซึ่งรวมถึงการปรับเปลี่ยนมุมมองต่อประชาชนใหม่ด้วย จากที่เคยมองประชาชนเป็น “ศัตรูของชาติ” ที่ต้องถูกทำลายให้สิ้นซาก ก็เริ่มมองว่าแท้ที่จริง พวกเขาคือเยาวชนที่รักชาติ ต้องการเห็นสังคมและผู้คนที่ทุกข์ยากมีชีวิตที่ดีขึ้น เพียงแต่พวกเขาใช้วิธีการที่แตกต่างจากรัฐไทยเท่านั้น นอกจากนี้ ยังเกิดการปรับเปลี่ยนมุมมองใหม่ว่ามีแต่การพัฒนา การเข้าใจความทุกข์ยากของประชาชน ประชาธิปไตย และการประนีประนอมทางการเมืองเท่านั้นที่จะทำให้รัฐเข้มแข็งขึ้น และทำให้พลังของฝ่ายต่อต้านรัฐอ่อนแอลง

ดิฉันขอเรียนว่าการเปิดกว้างทางการเมืองที่เริ่มขึ้นในต้นทศวรรษ 2520 มีความสำคัญต่อความอยู่รอดของประเทศอย่างยิ่ง คือ

ประการแรก มันทำให้สงครามระหว่างรัฐกับประชาชนที่ดำเนินมากว่า 2 ทศวรรษได้ยุติลง เราได้ยุติการสูญชีวิตของเจ้าหน้าที่รัฐและฝ่ายประชาชน รัฐสามารถนำการพัฒนาเข้าสู่พื้นที่ชนบท ที่เคยเป็นพื้นที่สีแดง ได้มากขึ้น

ประการที่สอง พลังของฝ่ายต่อต้านรัฐอ่อนแอลง ขณะที่ความรู้สึกคับแค้นต่อความอยุติธรรมก็บรรเทาลง เพราะประชาชนเห็นว่ารัฐยินดีประนีประนอม

ประการที่สาม เมื่อเข้าสู่ปลายทศวรรษ 2520 เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ยุค “โชติช่วงชัชวาล” แน่นอนว่ามันเป็นผลจากนโยบายเศรษฐกิจหลายประการ แต่ดิฉันเชื่อว่ามันเป็นผลจากการเมืองด้วย การเมืองที่ยุติการเป็นศัตรูกันของคนในชาติ รัฐไม่ต้องสูญเสียงบประมาณและกำลังคนไปกับการทำสงครามกับประชาชน

ท่านประธานที่เคารพ ดิฉันใฝ่ฝันเห็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของไทยได้พานพบกับความโชติช่วงชัชวาลอีกครั้งหนึ่ง ทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง ดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว แต่มันจะเป็นไปได้อย่างไร

ในขณะนี้ เราต่างรู้ดีว่าเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของไทยกำลังเผชิญกับวิกฤติครั้งใหญ่ ทั้งจากการดำเนินนโยบายของมหาอำนาจ และจากการทุจริตที่ลุกลามไปทุกองคาพยพของรัฐไทย ปัญหาที่อยู่ข้างหน้าเรามีมากเหลือเกิน แต่ก็น่าเสียใจเหลือเกินที่ดิฉันพบว่า 10 ปีที่ผ่านมา วิธีการแก้ไขปัญหาการเมืองของรัฐ ไม่สามารถประสานรอยร้าวในสังคม ได้เลย มีแต่ทำให้ประชาชนเจ็บปวดมากขึ้น เป็นสิ่งที่น่าเสียใจอย่างยิ่ง ที่ฝ่ายการเมืองไม่มีความกล้าหาญพอที่จะผลักดันแนวทางประนีประนอมเพื่อลดความขัดแย้งเลย ไม่เห็นความสำคัญของการประสานพลังของประชาชนกลุ่มต่างๆ เพื่อรับมือกับวิกฤตที่อยู่ตรงหน้า .. แต่กลับยังมุ่งลงโทษประชาชนที่คิดต่างต่อไป

ท่านประธาน.... ในความเป็นจริง ผู้ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 ต่างถูกลงโทษมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคนที่ถูกคุมขัง คนที่รอการตัดสินคดี หรือคนที่ลี้ภัยไปต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นคนวัยเกษียณ วัยทำงาน หรือเป็นเยาวชนที่ร่ำเรียนอยู่ พวกเขาและคนในครอบครัวของพวกเขาถูกลงโทษทั้งทางกายและทางใจตลอดหลายปีที่ผ่านมา ความทุกข์ที่พวกเขาได้รับนั้น มากเกินพอแล้ว และหลายปีที่ผ่านมา พวกเขาก็อยู่กับความกลัว อยู่กับความเงียบ พวกเขาอ่อนแอลงอย่างมากแล้ว ดิฉันจึงขอวิงวอนให้สมาชิกผู้ทรงเกียรติของสภาฯ ได้โปรดช่วยกันยุติการลงโทษพวกเขาเถิด

ดิฉันเชื่อว่ามีแต่การประนีประนอม หลักมนุษยธรรม และการเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของกันและกันเท่านั้น ที่จะสามารถทำให้สังคมไทยสามารถฝ่าฟันวิกฤติที่เรากำลังเผชิญนี้ได้อย่างมีพลังอีกครั้งหนึ่ง
ท่านประธานและท่านสมาชิกสภาฯผู้ทรงเกียรติ ดิฉันจึงขอวิงวอนให้พวกท่านได้โปรดลงมติสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมฉบับประชาชน ที่รวมคดีคดีอาญา 112 ไว้ด้วย

ดิฉันเชื่อเหลือเกินว่าด้วยแนวทางเช่นนี้เท่านั้น ที่จะทำให้ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย ได้มีโอกาสพบกับความโชติช่วงชัชวาลอีกครั้งหนึ่ง

ขอแสดงความนับถือ
พวงทอง ภวัครพันธุ์
#นิรโทษกรรมประชาชน

https://www.facebook.com/photo?fbid=24298120199812077&set=a.138005429583558



โทษนักฝัน


Kasian Tejapira
12 hours ago
·
โทษนักฝัน
%%%
อาชญากรพอให้อภัยได้
รับอาญาอยู่ใต้กรอบกฎกั้น
ที่มิยอมปล่อยปละละโทษทัณฑ์
คือบรรดานักฝันข้ามสังคม
...


Suchart Sawadsri
11 hours ago
·
Society often forgives the criminal,
it never forgives the dreamer.
Oscar Wilde
( มึง ) ให้อภัยพวกฆาตกรเสมอ
แต่กลับไม่ให้อภัยพวกนักฝัน
ออสคาร์ ไวล์ด
กวีและนักแต่งบทละครชาวไอริช


https://www.facebook.com/photo/?fbid=10237840130765344&set=a.2556231547988
https://www.facebook.com/photo?fbid=4275306702745808&set=a.1385633111713196



ออกกฏหมายนิรโทษกรรมมาแล้ว 23 ฉบับ ไม่เคยเขียนว่า ไม่รวม 112 ไม่เคย ไม่รวมบางคดี - ควรนิรโทษทั้งหมด ! - คนที่อยู่ในเรือนจำ ก็คนที่สู้เพื่อให้ได้ประชาธิปไตย เพื่อให้ได้เลือกตั้ง ให้พ่อคุณ นายคุณได้กลับบ้านสวยๆ ให้คุณได้ตำแหน่ง ได้เงินได้ทอง ได้ทำอีเว้นท์หารายได้ ค จริงๆ วิป รัฐบาล


iLaw
21 hours ago
·
9 กรกฎาคม 2568 สภาผู้แทนราษฎรมีนัดพิจารณาร่างกฎหมายนิรโทษกรรมในวาระหนึ่ง สี่ ฉบับ ข้อถกเถียงสำคัญ คือ จะรวมคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามมาตรา 112 หรือไม่ โดยมีร่างที่เสนอโดยภาคประชาชน ยืนยันนิรโทษกรรมคดีจากความขัดแย้งทางการเมือง ให้รวมคดี #มาตรา112 แต่ร่างจากพรรครวมไทยสร้างชาติเขียนชัดไม่รวมคดี 112 https://www.ilaw.or.th/articles/52989

แม้การออกกฎหมาย #นิรโทษกรรม เพื่อไม่เอาผิดการกระทำที่เกิดขึ้นไปแล้วจะไม่ใช่ลักษณะของระบบกฎหมายที่ดีนัก แต่ในทางปฏิบัติของประวัติศาสตร์การเมืองไทยมีการออกกฎหมาย #นิรโทษกรรมคดีการเมือง มาแล้วถึง 23 ฉบับ เป็นการยกเว้นโทษให้คณะรัฐประหารไปแล้วถึง 11 ครั้ง https://www.ilaw.or.th/articles/4873

นอกจากนี้หลังเหตุการณ์ความขัดแย้ง และความรุนแรงการชุมนุมทางการเมือง ที่ผ่านมายังออกกฎหมายนิรโทษกรรมมาทุกครั้ง ตั้งแต่

1) เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
กำหนดนิรโทษกรรมเป็นช่วงเวลาว่า การกระทำของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชน ที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินขบวนเมื่อ 13 ตุลาคม 2516 และกระทำระหว่าง 8-15 ตุลาคม 2516 หากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย ให้ผู้กระทำความผิดพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2516/A/145/1.PDF

2) เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
กำหนดนิรโทษกรรมเป็นช่วงเวลาว่า การกระทำความผิดของบุคคลที่กระทำระหว่างวันที่ 4-6 ตุลาคม 2519 ไม่ว่าจะได้กระทำในหรือนอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2521/A/097/1.PDF

3) เหตุการณ์พฤษภาคม 2535
นิรโทษกรรมการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมระหว่าง 17-21 พฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นอีกครั้งที่ “เหมาเข่ง” ยกเว้นความผิดให้ทั้งฝ่ายผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่รัฐที่ฆ่าหรือทำร้ายผู้ชุมนุม http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/063/1.PDF

จะเห็นว่าแนวทางการออกกฎหมายนิรโทษกรรมในอดีตของไทย ใช้วิธีกำหนด "ช่วงเวลา" และเหตุการณ์ความขัดแย้ง ทุกการกระทำที่เกี่ยวข้องได้นิรโทษกรรมทั้งหมดโดยไม่เลือกข้อกล่าวหา ไม่เคยมีการนิรโทษกรรมครั้งใดที่ยกเว้นบางข้อหา และไม่เคยมีการยกเว้นว่า คดีความตามมาตรา 112 ไม่เข้าข่ายการนิรโทษกรรม โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ปี 2519 มีผู้ถูกจับกุมคุมขังในคดีมาตรา 112 จากเหตุ "ละครแขวนคอ" ซึ่งเป็นที่มาของความขัดแย้งและการใช้ความรุนแรง ก็ได้รับนิรโทษกรรมไปพร้อมกันด้วย

นอกจากนี้ยังเคยมีการนิรโทษกรรมการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เมื่อปี 2532 https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2532/A/142/4.PDF ที่ยกเว้นความผิดให้กับขบวนการที่ใช้กำลังเข้าต่อสู้เพื่อ "ล้มล้าง" ระบอบการปกครองเดิม โดยเขียนชัดเจนว่า นิรโทษกรรมให้กับความผิดในหมวด "ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร" ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นทั้งหมด

ไม่เคยมีการนิรโทษกรรมครั้งใดที่ออกกฎหมายมาแต่ "ยกเว้น" ไม่ให้รวมความผิดบางประเภท บางข้อหาที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมและความขัดแย้งในเหตุการณ์เดียวกัน มีเพียงข้อเสนอในปี 2568 จากพรรคร่วมรัฐบาลเท่านั้นที่ให้ "ยกเว้น" คดีสำคัญๆ ท่ามกลางความขัดแย้งเอาไว้ แล้วให้นิรโทษกรรมเป็นเพียง "บางคดี"

https://www.facebook.com/photo/?fbid=1143899544450330&set=a.625664036273886




ร่าง พรบ. เสริมสร้างสันติสุข หรือนิรโทษกรรมของ รทสช. ซ่อนอะไรไว้บ้าง มันน่ากลัวกว่าที่เรารู้กัน


Yingcheep Atchanont
6 hours ago
·
นี่งงมากครับ ใครมีความรู้ช่วยที

นี่คือบัญชีแนบท้าย กฎหมายนิรโทษกรรมที่เสนอโดยพรรครวมไทยสร้างชาติ คดีความผิดต่อไปนี้จะได้นิรโทษกรรมเลย

การเสนอกฎหมายนี้ตอนแรกก็เข้าใจว่าจะช่วยเสื้อเหลือง-กปปส. จากคดีชุมนุม ซึ่งแน่นอนว่าไม่ช่วยคดีทุจริต แต่บัญชีแนบท้ายนิรโทษกรรมให้กับความผิดตามกฎหมายเลือกตั้งสส. กฎหมายการได้มาซึ่งสว. และกฎหมายกกต. คือยังไง???

ในกฎหมายเหล่านี้รวมทั้งข้อหาการ "ทุจริตเลือกตั้ง" หรือการซื้อเสียง หรือทุจริตอื่นๆ ด้วย ซึ่งถ้าหากนิรโทษกรรมออกมาตามนี้ เท่ากับว่าคดีทุจริตการเลือกสส. หรือสว. ที่เกิดขึ้นระหว่าง 2550-2557 เป็นอันเลิกไปหมดเลย ใครที่เคยโดนตัดสิทธิก็อาจเลิกการตัดสิทธิ ...

และที่งงเพิ่มคือบอกว่า กฎหมายเลือกตั้งสส. กฎหมายการเลือกสว. มีการแก้ไขเพิ่มเติมปี 2561 อันนี้ไม่น่าจะถูก เพราะตอนนั้นกฎหมายไม่ได้แก้ไข แต่มีกฎหมายใหม่ออกมาทั้งฉบับ เพราะระบบเลือกตั้งสส. และการเลือกสว. เปลี่ยนไปตามรัฐธรรมนูญ 2560 หมดแล้วจึงต้องออกกฎหมายใหม่ทั้งฉบับ ถ้าหากให้นิรโทษความผิดตามกฎหมายสว. ปี61 ก็คือคดีการ "โกงเลือกสว." สีน้ำเงินก็ยกหมดเลย

ผมคิดว่าไม่น่าจะเป็นความตั้งใจของคนร่าง
เพราะคนร่างจากพรรครวมไทยสร้างชาติน่าจะต่อต้านการทุจริต และอยากเห็นคนโกงเลือกตั้งต้องติดคุก (มั้ง)

อาจจะมีความตั้งใจจะช่วยคดี "ขัดขวางการเลือกตั้ง" ของกปปส. แต่ไม่รู้ว่าใส่เรื่องกฎหมายสว. มาด้วยทำไม และเดาว่า การใส่ปีพ.ศ.2561 น่าจะความรู้ไม่พอ หรือผิดพลาดอะไรสักอย่าง หวังว่าผมจะไม่ได้มองแง่ดีเกินไป ถ้าจะถือโอกาสนี้ "ซุก" คดีการโกงเลือกสส. สว. ไว้ในการนิรโทษกรรมจะเลวร้ายมาก แต่ก็คิดว่าไม่ เพราะเขาเสนอกฎหมายนี้ก่อนเลือกสว. ชุดนี้​เสร็จเสียอีก

ใครมีสติปัญญาช่วยกันอ่านหน่อย แล้วบอกทีว่า รวมไทยสร้างชาติกำลังจะทำอะไรในการเสนอกฎหมายนี้ครับ https://pis.parliament.go.th/PARFileDownloadProxy/download?s=gZCiQ0KStIt5s--EQE1xCDVD0Po2jJEhePi9QJLwL4YswVFjFC9QExbxAlvmZsGfRjEikw9vkDdgkuv14JxjCv4QUQXaou_zkyX9vlxGUs_z7VWPjfso6yLkRdczotRAXWeoCtjEkOXjVcAXb45LD354HzLWVBYaO_0=&ref=5508862&n=1
...

ร่าง พรบ. เสริมสร้างสันติสุข หรือนิรโทษกรรมของ รทสช. ซ่อนอะไรไว้บ้าง มันน่ากลัวกว่าที่เรารู้กัน


https://www.facebook.com/photo/?fbid=24256633983940599&set=a.164850830212251



การที่ พท/วิปรัฐบาลปัดตกร่างนิรโทษกรรม ของพรรคประชาชนและของภาคประชาชน อาจมีคนเข้าใจว่าเขาถูกขวางถูกล็อคไว้ว่าห้ามทำ : ไม่จริง : พท ทำเช่นนี้สะท้อนว่าพรรค พท ยังอยู่ใต้อำนาจของปีกนักการเมืองเก่าๆหรือบ้านใหญ่


Atukkit Sawangsuk
8 hours ago
·
(มิตรสหายนักวิชาการท่านหนึ่ง)
การที่ พท/วิปรัฐบาลปัดตกร่างนิรโทษกรรม ของพรรคประชาชนและของภาคประชาชน อาจมีคนเข้าใจว่าเขาถูกขวางถูกล็อคไว้ว่าห้ามทำ (ทั้งๆที่เป็นฝ่ายประชาธิปไตย อยากจะทำแต่ทำไม่ได้...) อย่างที่นักแบกทั้งหลายมักอ้าง
:
ไม่จริง
:
ผมเห็นว่าการที่ พท ทำเช่นนี้สะท้อนว่าพรรค พท ยังอยู่ใต้อำนาจของปีกนักการเมืองเก่าๆหรือบ้านใหญ่ ทักษิณและคนพวกนี้คิดไม่ต่างจาก ภจท รทสช พปชร เท่าไรนัก คิดไม่ต่างในเรื่อง 112 ด้วย
ความต่างมีเรื่องเดียวเท่านั้น...เรื่องเดียวจริงๆ...แต่เป็นเรื่องใหญ่มากใน 20 ปีที่ผ่านมา คือ โปรหรือแอนตี้ทักษิณ
:
ดังนั้น ความเชื่อที่ปีกประชาธิปไตยใน พท หรือคนที่เชียร์ พท ข้างนอก ยังเห็น พท เป็นฝ่าย ปชต จึงเป็นการเข้าใจผิด หลงผิดเอง
พท ใต้ปีกบ้านใหญ่นั้นคิดและทำ ไม่ต่างอะไรกับ ภจท พปชร รทสช
มีอย่างเดียวที่ต่าง คือรับนโยบายเศรษฐกิจจากทักษิณ
การที่ พท ลังเลการแก้รธน ก็เช่นกัน ไม่ใช่เพราะ ภจท ขวาง แต่พร้อมจะปล่อย ภจท ออกหน้าในการไม่แก้
:
เพราะนักการเมืองบ้านใหญ่ทั้งหลาย ไม่ว่าพรรคไหน ก็ไม่เห็นความจำเป็นต้องแก้ พวกเขาทำมาหากินต่อไปได้แทบจะปกติ ใต้ รธน 60 จะหาความเดือดร้อนไปทำไม การอ้างว่าภจท ขวางเป็นแค่ข้ออ้างโทษคนอื่น
:
การตระบัดสัตย์แต่ต้น ถึงที่สุดก็เพราะทักษิณและบ้านใหญ่ไปกันไม่ได้กับก้าวไกล(ปชน) พวกเขาสะดวกใจกว่าที่จะทำงานกับ ภจท รทสช ปชป
แต่พวกเขาก็รู้ว่าขืนหาเสียงแบบนั้นก็แพ้ จึงต้องโกหกในการหาเสียง
:
การโกหกประชาชนเริ่มตั้งแต่การหาเสียง ไม่ใช่เพิ่งมาตระบัดสัตย์ภายหลัง การตระบัดสัตย์ต่างหากคือความซื่อตรงว่าตัวเองเป็นยังไง
:
เช่นนี้แล้ว นักแบกทั้งหลายและผู้ที่คิดว่า พท เป็นปชต น่าจะสงสัยได้แล้วมั้งว่าตนถูกหลอก ถ้ายังไม่สำนึกย่อมแสดงว่าตนยอมร่วมสังฆกรรมโกหกประชาชนครั้งใหญ่
:
นัดการเมืองบ้านใหญ่ "เคย" เป็นฝ่าย ปชต เพราะเขาต่อสุ้กับการรวบอำนาจของอำมาตย์ในรัฐราชการ
การต่อสู้ของพวกเขามิได้มาจากสำนึกรู้ตัวเชิงอุดมการณ์แต่อย่างใด เพียงแต่จากจุดยืนและผล ประโยชน์ของพวกเขา ต้องสู้แย่งอำนาจมาจากรัฐราชการ
การกระทำตามปกติของนักการเมืองบ้านใหญ่จึงเป็นการกระจายอำนาจในตัวมันเอง
:
ในปัจจุบัน รัฐราชการของอำมาตย์ปฏิเสธเกมเลือกตั้งไม่ได้ ต้องยอมใช้บริการของนักการเมืองบ้านใหญ่ ซึ่งก็ได้บทเรียนแล้วว่าสู้กับรัฐราชการอำมาตย์หนักไปก็พังทั้งสองฝ่าย
จุดยืน ท่าที และการเมืองแบบสมศักดิ์ สุริยะ หรือแบบ ภจท ต่างหากที่พอเหมาะแล้วสำหรับพวกเขา
ถึงตอนนี้พวกบ้านใหญ่และอำมาตย์จึงต้องร่วมมือกันขวางพรรคประชาชนที่เป็นศัตรูร่วม

https://www.facebook.com/baitongpost/posts/24020102230978280


ณ วันนี้ ทรัมป์ยืนยันจะเก็บภาษีจากไทย 36%



Mr. Trump on Monday afternoon also announced separate tariffs on an additional 12 trade partners. Myanmar and Laos face a 40% tariff rate, the highest of the new levies the U.S. is threatening to deploy. Thailand and Cambodia face potential tariffs of 36%, while Mr. Trump announced slightly lower tariffs of 35% on both Bangladesh and Serbia.

Indonesia is the lone country facing a possible tariff rate of 32%. Imports from South Africa and Bosnia and Herzegovina will be subject to 30% duties as of August 1, while goods from Malaysia, Kazakhstan and Tunisia will be taxed at 25%, Mr. Trump said in letters posted on Truth Social.

White House press secretary Karoline Leavitt said during a media briefing Monday that Mr. Trump is set to sign an executive order extending the July 9 tariff freeze. The order delays the deadline to "August 1 so the reciprocal tariff rate, or these new rates that will be provided in this correspondence to these foreign leaders, will be going out the door within the next month," Leavitt said.

Leavitt also said Mr. Trump was planning to send tariff letters to "approximately 12 other countries" informing them of new U.S. levies on their goods. She did not indicate when the notices will be sent out, but said Mr. Trump will post them on Truth Social "so you can enjoy them yourself."

Trump is also expected to announce more deals with U.S. trade partners before the beginning of August, she said.

https://www.cbsnews.com/news/trump-japan-korea-tariffs-august-1/




“เราเป็นเพียงประชาชนธรรมดา…ที่รอวันกลับบ้าน” เมื่อผู้ต้องขังการเมืองส่งสารเรื่องนิรโทษกรรม



“เราเป็นเพียงประชาชนธรรมดา…ที่รอวันกลับบ้าน” เมื่อผู้ต้องขังการเมืองส่งสารเรื่องนิรโทษกรรม

7/07/2568
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

วันที่ 9 ก.ค. 2568 จะเป็นวันที่ประวัติศาสตร์เขียนใหม่ หรือเป็นเพียงวันที่ความหวังถูกเลื่อนออกไปอีกครั้ง เมื่อรัฐสภาเตรียมพิจารณาร่างกฎหมายนิรโทษกรรม 4 ฉบับ รวมทั้งร่าง “นิรโทษกรรมประชาชน” ที่รอคอยมาตั้งแต่ต้นปี 2567 นอกจากหลายชีวิตที่อยู่นอกเรือนจำต่างจดจ่อรอคอยกฎหมายฉบับนี้ ในปัจจุบันยังมี 51 คนที่กำลังนับวันอยู่หลังกำแพงคุก พวกเขาไม่ใช่อาชญากรธรรมดา แต่เป็นประชาชนที่แสดงออกทางการเมือง โดยเฉพาะ 32 คน ที่ติดคุกด้วยมาตรา 112 ที่เหมือนเงื่อนงำลึกลับที่ฝ่ายการเมืองพยายามไม่แตะต้อง

ในช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา สามัญชนจำนวนมากออกมาชุมนุมและแสดงออกทางการเมืองเพื่อเรียกร้องในประเด็นปัญหาทางการเมืองและประชาธิไตยสำหรับสังคมไทย บางคนสูญเสียชีวิต บางคนบาดเจ็บ และอีกหลายคนถูกตีตราว่าเป็นอาชญากร จนถูกคุมขัง แม้ว่าพวกเขาจะเป็นเพียงประชาชนธรรมดาที่มีเจตจำนงทางการเมือง ยิ่งสิ่งที่เกิดขึ้นกับหลาย ๆ คนในช่วงชุมนุมตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา มีคนเข้าออกเรือนจำเพราะเหตุทางการเมืองในจำนวนมาก และอีกมากมายที่ยังไม่ได้ออกมาจากสถานที่อันไร้เสรีภาพ

วันเวลาที่ผ่านมาผู้ต้องขังเหล่านี้ไม่ได้เงียบเฉย พวกเขาส่งเสียงออกมาจากภายในเรือนจำเสมอ ๆ บอกเล่าถึงความหวังที่มีต่อการนิรโทษกรรม บางคนเรียกร้องให้รวมมาตรา 112 ด้วย บางคนยอมรับว่าภายใต้สถานการณ์ที่มาตรา 112 ถูกปฏิเสธการนับรวม การนิรโทษกรรมเรื่องนี้อาจจะไม่เกิดขึ้น แต่ก็ขอแค่ให้คนอื่นได้กลับบ้านก่อน

ทั้ง 6 เสียงที่ส่งออกมาล้วนสะท้อนความเป็นคนธรรมดาที่ต้องการเสรีภาพ ความปรารถนาที่จะกลับไปใช้ชีวิตกับครอบครัว และมีส่วนสร้างสังคมที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

__________________________________________________________

“เก็ท โสภณ”: “ทุกสีทุกฝั่งต้องมานั่งคุยกันอย่างจริงจัง หากไม่เช่นนั้นก็จะมีคนต้องเคราะห์ร้ายจากการแสดงออกต่อไปเรื่อย ๆ”



สำหรับเก็ท เขาตระหนักว่าในทุก ๆ ครั้งของการต่อสู้อาจจะต้องมีการสูญเสีย แม้ไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่ประชาชนที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยออกมาเรียกร้องสิทธิ ก็เผชิญกับความสูญเสีย ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นของเสื้อสีอะไรก็ตาม

ทั้งที่จริง ๆ ตามขบวนการประชาธิปไตยและตามหลักสิทธิมนุษยชน รัฐควรให้สวัสดิภาพกับประชาชน ถ้าประชาชนพูดหรือแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะตามหลัก ควรได้รับความปลอดภัยไม่ว่าเขาจะพูดเรื่องอะไรก็ตาม

แต่ปัญหาคือสมดุลระหว่างประชาชนกับรัฐไม่เท่ากัน อำนาจของรัฐมากกว่า ความสูญเสียของประชาชนที่ออกมาขับเคลื่อนสังคมจึงเกิดขึ้น ทีนี้การชดเชยความเสียหายในสิ่งที่ไม่ควรเสียหายเหล่านั้นจะทำยังไง ใครต้องเป็นคนรับผิดชอบ แน่นอนว่าการจ่ายเงินชดเชยอย่างเดียวคงไม่พอ เพราะบางคนที่ออกมาขับเคลื่อน ไม่ได้เสียหายแค่ทุนทรัพย์ บางคนบาดเจ็บ ล้มตาย บางคนติดคุก บางคนถูกจั่วหัวเป็นอาชญากร บางคนถูกผลกระทบจากข้อมูลอันเป็นเท็จ ทำให้สังคมเข้าใจเขาผิด

ทีนี้เราจะชดเชยให้กับประชาชนผู้บริสุทธิ์และมีเจตนาดีต่อสังคมเหล่านี้อย่างไร จะสานต่อเจตนารมณ์เหล่านี้อย่างไร สิ่งนี้คือสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะอนุรักษ์นิยมหรือหัวก้าวหน้า เสื้อทุกสีทุกฝั่งต้องมานั่งคุยกันอย่างจริงจังด้วยเหตุผล หากไม่เช่นนั้นก็จะมีคนต้องเคราะห์ร้ายจากการแสดงออกต่อไปเรื่อย ๆ

จนถึงปัจจุบัน (7 ก.ค. 2568) เก็ท อายุ 26 ปี ถูกคุมขังด้วยคดีมาตรา 112 มาแล้ว 684 วัน

.
“บัสบาส”: “จะล้างมลทิน ก็ต้องล้างให้หมดเลย ไม่ใช่ครึ่ง ๆ กลาง ๆ”



สำหรับบัสบาส เคยกล่าวไว้ว่าจะสนับสนุนพรรคที่ยังรักษาอุดมการณ์ประชาธิปไตย ทั้งยังผลักดันเรื่องนิรโทษกรรม และช่วยเหลือผู้ถูกดำเนินคดีทางการเมือง ยังหวังว่าพรรคประชาชนจะยังคงอุดมการณ์เดิมและผลักดัน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ให้ได้ เขามองว่าการนิรโทษกรรมที่ไม่รวม ม.112 เป็นเหมือนการทอดทิ้งคนที่โดน รู้สึกเหมือนไร้ตัวตน และยังเชื่อมั่นว่าการนิรโทษกรรมคดีการเมือง จะต้องรวมถึงข้อหา 112 ด้วย

“มันจะล้างมลทิน ก็ต้องล้างให้หมดเลย ไม่ใช่ครึ่ง ๆ กลาง ๆ” ซึ่งบัสบาสยังหวังว่าจะมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ที่รวมข้อหามาตรา 112 ด้วยแน่นอนในสักวันหนึ่ง โดยทุก ๆ วันที่ผ่านไปเขามีความหวังเสมอ และมั่นใจว่าคนที่อยู่ด้านนอกจะต้องช่วยกันผลักดัน ซึ่งจะต้องประสบความสำเร็จไม่ช้าก็เร็ว

จนถึงปัจจุบัน (7 ก.ค. 2568) บัสบาส วัย 32 ปี ถูกคุมขังที่เรือนจำกลางจังหวัดเชียงรายด้วยคดีมาตรา 112 มาแล้ว 1 ปี 5 เดือน 12 วัน หลังถูกศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาลงโทษรวมกันในสามคดีคิดเป็นจำคุก 54 ปี 6 เดือน ซึ่งเป็นโทษที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์

.
“อัญชัญ”: “ป้าเห็นด้วยว่านิรโทษกรรมต้องรวม ม.112 ด้วย มันคดีการเมืองชัด ๆ เลย”



อัญชัญเคยกล่าวถึงแคมเปญนิรโทษกรรมประชาชนที่เธอได้รับฟังเนื้อหาว่า “ขอบคุณมาก ๆ เลยที่ยังสนใจผู้ต้องขังทางการเมือง ขอบคุณที่ยังสู้อยู่ ยังไม่ทิ้งกัน ป้าหวังว่าสักวันมันจะเป็นประโยชน์ ฝากให้กำลังใจพรรคการเมืองที่ร่วมกันผลักดันเรื่องนี้ด้วยนะลูก ถ้าประชาชนไม่สู้ เขาก็คงไม่รู้ว่าประชาชนคิดยังไง ป้าเห็นด้วยว่านิรโทษกรรมต้องรวม ม.112 ด้วย มันคดีการเมืองชัด ๆ เลย”

จนถึงปัจจุบัน (7 ก.ค. 2568) อัญชัญ วัย 70 ปี ถูกคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลางด้วยคดีมาตรา 112 มาแล้ว 1,631 วัน หรือ 4 ปี 5 เดือน 21 วัน ก่อนหน้านั้นเธอถูกคุมขังระหว่างสอบสวนและพิจารณาคดีมาแล้ว 3 ปี 9 เดือน 3 วัน เมื่อรวมสองช่วงเวลาเข้าด้วยกันขณะนี้อัญชัญรับโทษถึง 8 ปี 2 เดือน 24 วัน

.
“พรชัย”: “ผมคิดว่ามีความจำเป็นในการนิรโทษกรรมในคดีทางการเมือง ทุกข้อหา แบบไร้เงื่อนไข”



พรชัยเคยให้ความเห็นว่า สังคมไทยมีความจำเป็นในการนิรโทษกรรมในคดีทางการเมือง ทุกข้อหา แบบไร้เงื่อนไข เพราเราจะต้องมานั่งตั้งคำถามว่าเราทำผิดอะไร เราเป็นเพียงแต่ประชาชนธรรมดาที่ต้องการให้เกิดความเท่าเทียมในสังคม ไม่ได้มีอิทธิพลทางการเมือง ไม่ได้วางแผนก่อการร้าย ไม่ได้ล้มล้างอะไร

ในทัศนะของพรชัยการนิรโทษกรรม จะทำให้ประชาชนหลายคนได้ออกไปเริ่มต้นใหม่ สิ่งที่จะต้องแก้ไขก็แก้ไขกันใหม่ ได้กลับไปเจอครอบครัว เป็นการสะท้อนภาพรวมของประชาธิปไตยที่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น เป็นการให้โอกาสผู้ต้องขังทางการเมือง เพราะหลายคนถูกปฏิบัติแบบอาชญากร

“ผมเพียงแต่มีความเห็นต่างทางการเมืองเท่านั้น” ถึงที่สุดการนิรโทษกรรมถึงอย่างไรก็ควรรวมคดีมาตรา 112 เรื่องนี้เป็นเหมือนความหวังเดียวของผู้ต้องขังคดีนี้ แต่หากการผลักดันไม่สำเร็จ เกิดการนิรโทษกรรมคดีอื่น ๆ โดยยกเว้นมาตรา 112 ก็เห็นว่าอย่างน้อยก็ทำให้พี่น้องที่เคยออกมาชุมนุมเคลียร์คดีไปได้บางส่วน และอีกบางส่วนหากถูกคุมขังอยู่ ก็อาจจะได้กลับบ้าน

จนถึงปัจจุบัน (7 ก.ค. 2568) พรชัย ชาวปะกาเกอะญอ วัย 41 ปี ถูกคุมขังด้วยข้อหาตามคดีมาตรา 112 มาแล้ว 460 วัน หรือ 1 ปี 3 เดือน 5 วัน

.
“วิจิตร” : หวังพรรคการเมืองผ่านกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชน



“ผมคิดว่า พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเป็นกฎหมายที่ให้ผลบวกกับพรรคการเมืองทุกพรรคที่สนับสนุน เขาจะได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนบนถนนสายปาะชาธิปไตยแน่นอน คือมันให้ความช่วยเหลือผู้ต้องขังทางการเมือง

ซึ่งภาคประชาสังคมกับภาคประชาชนมีพลังมาก ที่จะทำให้พรรคการเมืองนิ่งเฉยไม่ได้ ก็ให้มันเป็นไปตามกลไกของสังคม แต่ถ้าได้ออกไปเร็ว ๆ ผมจะดีใจมากที่จะได้ออกไปทำงานด้วยตัวของผมเอง”

จนถึงปัจจุบัน (7 ก.ค. 2568) วิจิตร วัย 59 ถูกคุมขังจากข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาแล้ว 112 วัน

.
“ขุนแผน”: “ถ้านิรโทษกรรมไม่มี 112 ก็ช่างมัน ก็ปล่อยให้นิรโทษกรรมคดีอื่นไปก่อน แล้วค่อยมาเคลื่อนเรื่อง 112 เน้น ๆ”



“ผมว่าการยื้อมันแย่สุด เลยอยากให้จบไว ๆ ถ้านิรโทษกรรมไม่มี 112 ก็ช่างมัน ไม่เป็นไร ก็ปล่อยให้นิรโทษกรรมคดีอื่นไปก่อน แล้วค่อยมาเคลื่อนเรื่อง 112 เน้น ๆ ไปเลยหลังจากนั้น” ด้วยเพราะเห็นว่าถ้านิรโทษกรรมลากยาวจะเข้าเกมฝั่งผู้มีอำนาจ กฎหมายจะถูกดองไปเรื่อย ๆ คลุมเครือแบบนี้ยิ่งทำให้คนอยากให้มีนิรโทษกรรมทะเลาะกันเอง “เราเองก็ต้องทำใจ ว่าคดี 112 มันยาว รู้สภาพกันอยู่ อดทนหน่อย”

จนถึงปัจจุบัน (7 ก.ค. 2568) ขุนแผน หรือ เชน ชีวอบัญชา วัย 58 ปี ถูกคุมขังที่เรือนจำด้วยคดีมาตรา 112 มาแล้ว 355 โดยขุนแผนจะครบ 1 ปี ในวันที่ 18 ก.ค. 2568 นี้
.

อ่านเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ทำไม ม.112 ถึงเป็น “คดีทางการเมือง”: การนิรโทษกรรมที่ไม่นับรวม ยิ่งสะท้อนความเป็นการเมือง


https://tlhr2014.com/archives/76642



iLaw โพสต์ รายชื่อผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 (เท่าที่ทราบ) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549

https://www.youtube.com/watch?v=EXpPuWM8o9U

รายชื่อผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 (เท่าที่ทราบ) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549

iLaw

16 hours ago
.....


ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
12 hours ago
·
สถานการณ์ผู้ต้องขังทางการเมือง ก.ค. 68: ยอดทะลุ 51 ราย ภายใน 7 เดือน ผู้ต้องขัง ม.112 ถูกกีดกันไม่ให้ร่วมกิจกรรมในเรือนจำ – บัสบาสยังประท้วงอดอาหารต่อ
.
.
ในรอบเดือนที่ผ่านมา (11 มิ.ย. – 7 ก.ค. 2568) มีผู้ต้องขังทางการเมืองทั่วประเทศ อย่างน้อย 51 คน (เป็นคดีมาตรา 112 จำนวน 32 คน) โดยมีผู้ถูกคุมขังในเดือนที่ผ่านมาเพิ่มเติมอีก 3 คน โดยแยกเป็นผู้ถูกคุมขังในเรือนจำ 1 คน และผู้ถูกกักขังอีก 2 คน
.
ในจำนวนนี้ แยกเป็นผู้ต้องขังที่ไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างการต่อสู้คดี อย่างน้อย 26 คน ผู้ต้องขังที่คดีสิ้นสุดแล้ว 24 คน (เป็นคดีตามมาตรา 112 จำนวน 13 คน และเป็นผู้ลงโทษกักขัง 2 คน) และยังมีเยาวชน 1 คน ถูกคุมขังในสถานพินิจฯ ตามคำพิพากษาของศาลเยาวชน โดยในเดือนนี้ ยังไม่มีใครได้รับการปล่อยตัว
.

อ่านเนื้อหาทั้งหมดในลิงค์ใต้คอมเมนต์ : https://tlhr2014.com/archives/76620


https://www.facebook.com/photo?fbid=1139610228009446&set=a.656922399611567
https://www.youtube.com/watch?v=EXpPuWM8o9U



8 กรกฎาคม 2568 เวลา 9:30 น.❗️จับตาคำพิพากษาคดีมาตรา 112 ของอานนท์ นำภาคดีที่ 10 กรณีปราศรัยใน #ม็อบ17พฤศจิกา หน้ารัฐสภา ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 908 ศาลอาญา


iLaw
19 hours ago
·
จับตาคำพิพากษาคดีมาตรา 112 ของอานนท์ นำภาคดีที่ 10 กรณีปราศรัยใน #ม็อบ17พฤศจิกา หน้ารัฐสภา

8 กรกฎาคม 2568 เวลา 9:30 น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 908 ศาลอาญานัดอานนท์ นำภาฟังคำพิพากษาคดีมาตรา 112 ปราศรัยระหว่างการชุมนุม #กูสั่งให้มึงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563ที่หน้าอาคารรัฐสภา วันดังกล่าวที่ประชุมรัฐสภามีนัดพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเจ็ดฉบับ หนึ่งในนั้นเป็นร่างของภาคประชาชนที่รวบรวมรายชื่อได้มากกว่าหนึ่งแสนรายชื่อ ทำให้คณะราษฎร 2563 จัดชุมนุมที่หน้ารัฐสภาเพื่อติดตามการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามตำรวจมีการปิดกั้นพื้นที่และใช้กำลังกับผู้ชุมนุมด้วยการฉีดน้ำแรงดันสูงและยิงแก๊สน้ำตา นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อสีเหลืองใช้กำลังทำร้ายผู้ชุมนุมคณะราษฎร 2563 มีการ์ดอาชีวะได้รับบาดเจ็บจากระเบิดปิงปองและกระสุนจริง
.
วันดังกล่าวนักกิจกรรมผลัดเปลี่ยนกันปราศรัยและเป็นเหตุในคดีนี้คือ เพนกวิน พริษฐ์ ชิวารักษ์ที่ปราศรัยถึงสถานะระหว่างศักดินาและประชาชน และอานนท์ นำภาที่ปราศรัยถึงการปรับตัวของสถาบันพระมหากษัตริย์ ต่อมาสมชาย อิสระและประดิษฐ์ ต้นจาน ประชาชนทั่วไปเข้าร้องทุกข์ต่อตำรวจสน.บางโพ จากนั้นวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องคดี มีข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มาตรา 116 และมาตรา 215 พ.ร.บ.ชุมนุมฯ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
.
ศาลอาญานัดสืบพยานโจทก์และจำเลยระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ถึงเดือนพฤษภาคม 2568 ก่อนจะนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 8 กรกฎาคม 2568 ซึ่งจะมีอานนท์มาฟังคำพิพากษาเพียงคนเดียวเนื่องจากเพนกวินไม่ปรากฏตัวที่ศาล
คดีนี้นับเป็นคดีมาตรา 112 คดีที่สิบของอานนท์ที่ศาลจะมีคำพิพากษาจากทั้งหมด 14 คดี โดยเก้าคดีที่ผ่านมาเขามีโทษจำคุกรวมกัน 24 ปี 16 เดือน หรือประมาณ 25 ปี สี่เดือน

https://www.facebook.com/photo?fbid=1143932771113674&set=a.625664036273886



หากนิรโทษกรรมผ่านแค่ร่างรวมไทยสร้างชาติ- ครูไทยเพื่อประชาชน (ย้ายไปสังกัดพรรคกล้าธรรม) คดีการเมืองหลังปี 2565 จะไม่ได้รับนิรโทษกรรม


iLaw
8 hours ago
·
9 กรกฎาคม 2568 สภามีวาระพิจารณาร่างนิรโทษกรรมสี่ฉบับประกอบไปด้วย ร่างฉบับพรรคก้าวไกล (ย้ายไปสังกัดพรรคประชาชนหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก้าวไกล) ร่างฉบับพรรคครูไทยเพื่อประชาชน (ย้ายไปสังกัดพรรคกล้าธรรม) ร่างฉบับพรรครวมไทยสร้างชาติ และร่าง “นิรโทษกรรมประชาชน” ของภาคประชาชนที่เข้าชื่อ 36,723 คน โดยร่างแต่ละฉบับจะมีเนื้อหาสาระที่แตกต่างกันเช่น กรอบระยะเวลาในการนิรโทษกรรม ฐานความผิดที่เข้าข่ายการนิรโทษกรรม และฐานความผิดที่จะถูกยกเว้นในการนิรโทษกรรม

บทความชิ้นนี้จะมุ่งไปที่ช่องโหว่ของกรอบระยะเวลาในการนิรโทษกรรมของร่างพรรครวมไทยสร้างชาติและครูไทยเพื่อประชาชน โดยร่างกฎหมายนิรโทษกรรมทั้งสี่ฉบับกำหนดกรอบระยะเวลาไว้แตกต่างกัน

ร่างพรรครวมไทยสร้างชาติกำหนดให้เริ่มตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งเป็นช่วงที่กลุ่มคัดค้านรัฐบาลในเวลานั้นเริ่มก่อตัว ส่วนร่างฉบับพรรคครูไทยเพื่อประชาชนกำหนดเริ่มในวันที่ 19 กันยายน 2549 แต่วันสุดท้ายที่เข้าข่ายการนิรโทษกรรมกลับกำหนดไว้สั้นกว่าอีกฉบับพรรคก้าวไกลและเครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน ร่างฉบับรวมไทยสร้างชาติระบุไว้ให้สิ้นสุดในปี 2565 ในขณะที่ร่างฉบับครูไทยเพื่อประชาชนล็อกวันที่ไว้ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565

การกำหนดกรอบระยะเวลาวันสุดท้ายที่เข้าข่ายนิรโทษกรรมที่สั้นและตายตัวในลักษณะนี้อาจเหมาะสมสำหรับการคลี่คลายความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ และจบลงไปแล้ว ต่างกับบริบทความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ปี 2549 ที่มีการชุมนุมทางการเมืองขนาดใหญ่เกิดขึ้นเป็นห้วงเวลาและชะลอตัวลงตามบรรยากาศทางการเมือง โดยแม้การชุมนุมทางการเมืองขนาดใหญ่ห้วงล่าสุดในปี 2563 จะจบลงแล้วแต่ยังมีการแสดงออกเพื่อคัดค้านหรือต่อต้านอำนาจรัฐ หรือเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างต่อเนื่อง ทำให้หลังจากปี 2565 ยังคงมีคดีความทางการเมืองเกิดขึ้นใหม่

หากร่างฉบับพรรครวมไทยสร้างชาติและครูไทยเพื่อประชาชน ประกาศบังคับใช้จะมีคดีทางการเมืองที่เข้าข่ายต้องได้รับการนิรโทษกรรมตามบัญชีท้ายของร่างทั้งสองฉบับ ถูกทอดทิ้งเนื่องจากอยู่นอกกรอบเวลานิรโทษกรรม ข้อมูลจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่า ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2566จนถึงวันที่ 1 เมษายน 2568 มีคดีความทางการเมืองอย่างน้อย 24 คดีหรือจำเลย 92 คนที่ถูกกล่าวหาในความผิดที่จะได้รับการนิรโทษกรรมตามบัญชีท้ายของร่างฉบับพรรครวมไทยสร้างชาติและครูไทยเพื่อประชาชน แต่ช่วงเวลาที่เกิดเหตุอยู่หลังปี 2565

อ่านทั้งหมด : https://www.ilaw.or.th/articles/53119



วันจันทร์, กรกฎาคม 07, 2568

โอ้โห ไทยใช้งบประมาณกว่า ๒๐๐ ล้านบาท จ้างล้อบบี้ยิสต์เจรจาลดภาษีสหรัฐ ผลก็คือ ไทยสัญญาจะซื้อเครื่องบินโบอิ้ง และพลังงาน

 

ม้าลาย @stabilo_aa 7:47 PM • Jul 6, 2025 เมิง! การใช้งบ 97 ล้านเจรจาภาษีสหรัฐ พี่ไหมเคยถามตอน กมธ.งบเมื่อวันศุกร์ด้วย ได้คำตอบว่าที่ต้องใช้ 87 ล้านเพราะล็อบบี้ยิสที่ใช้เจรจาเป็นล็อบบี้ยิสพิเศษ ซึ่งแพงมาก ใช้ประมาณ 2 แสนดอลลาร์/เดือน และจ่ายทั้ง สศค.& พณ. รวม 4 แสน ซึ่งเวียดนามใช้แค่ 20 ล้าน แต่ไทยใช้เกือบๆ 200 ล้าน ละดูผลเจรจาล่าสุดดิ๊

นี่ไง :