วันเสาร์, กันยายน 30, 2566

ร่างกฎหมายเลิกเกณฑ์ทหารรอประชาชนวิจารณ์อยู่ขณะนี้ เบื้องต้น เลิกทันทีไม่ฉิบหายหรอกนะ ศึกมายังฝึกทันเพราะมีทหารกองเกินสำรอง

ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร ที่ พริษฐ์ วัชรสินธ์ ส.ส.พรรคก้าวไกลเสนอเข้าสู่กระบวนการของสภาฯ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการรับฟังความเห็นจากประชาชน 

เบื้องต้นบัญชีทวิตเตอร์ @ThaiArmedForce นำไปขยายต่อ มีปฏิกิริยาพอสมควร

ก่อนอื่นเขาสรุปเนื้อหาคร่าวๆ ไว้ว่า “ชาย/หญิงเป็นพลทหารได้หมด -เกณฑ์ชายเฉพาะตอนจะมีสงคราม –เป็นได้ ๕ ปีต่ออายุได้ มีความก้าวหน้า -รายได้สอดคล้องค่าครองชีพ -ฝึกต้องมีสิทธิมนุษยชน ปชต.” และสำคัญกว่าใดๆ

“ห้ามมีทหารรับใช้ ฝ่าฝืนผิดวินัยร้ายแรง -ใครเคยหนีทหารให้นิรโทษกรรม –กฎหมายผ่านเลิกเกณฑ์ทันที” ก็มีคอมเม้นต์ในทวี้ตนั้น บ้างส่อเสียดพอประมาณ Wichai Pornthanakase ว่า “เกณฑ์เฉพาะตอนจะมีสงคราม แล้วจะฝึกทันหรือครับ จะเอาไปเป็นเป้ากระสุนหรือ

@Roninsuper5 จึงซ้ำว่าใช่ “ทหารเกณฑ์ฝึก ๑๐ สัปดาห์กว่าจะพร้อมรบ เกณฑ์ตอนมีสงครามคงจะทันกินมั้ง ทำแบบนี้ไม่ต่างอะไรกับการส่งไปตายหรอก” ส่วน @champmaner33811 บอก “เลิกทันทีก็ฉิบหายสิครับกำลังพลหายไปเท่าไหร่”

ก็เลยต้องไปอ่านละอียดร่าง พรบ.ฉบับนั้นพบว่า การยกเลิก บังคับ เกณฑ์ทหารในยามปกติหมายถึง ให้มีการคัดเลือกจากบุคคล “ที่สนใจ” หรือสมัครใจเท่านั้น แสดงว่ายังมีการคัดเลือกกำลังพลใหม่อยู่เสมอ จะมากจะน้อยกว่าเดิมอีกเรื่อง

เกี่ยวกับที่มีการตั้งแง่ว่า จะฝึกไม่ทันยามสงครามมาถึง มันมีคำตอบอยู่ในร่างฯ แล้วนะ ที่ว่า “เปิดช่องให้ ครม. ตราพระราชกฤษฎีกาเรียกและตรวจเลือกคนเข้ากองประจำการ เฉพาะในยามที่มีเหตุปรากฎว่าประเทศอาจเผชิญสงครามในระยะเวลาอันใกล้”

ตรงตาม คำขวัญเสือป่า ที่สมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ทรงมีวิสัยทัศน์เอาไว้ “แม้หวังตั้งสงบ จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ์” ซึ่งร่างฯ ก็แนะไว้ในเรื่อง “ออกแบบขั้นตอนธุรการให้ทันสมัย” เช่น การขึ้นบัญชีทหารกองเกิน “เพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง”

ฉะนั้น การขึ้นทะเบียนทหารกองเกินไว้ เช่นที่ทำอยู่ทุกวันนี้สำหรับผู้ที่เรียนจบหลักสูตรนักศึกษาวิชาทหาร หรือ รด. (รักษาดินแดน) ก็ด้วยจุดประสงค์นี้ ในสหรัฐเขามีทะเบียน ‘Reserved’ ของผู้ที่เคยผ่านการฝึกและผ่านการรับราชการ เรียกมาฝึกเสริมเมื่อต้องการ

และใช้เวลาไม่นานถึง ๑๐ เดือน หรือ ๒ ปีอย่างที่มีผู้รู้เกินว่าไว้ ไอ้ที่ให้ทหารเกณฑ์อยู่นาน ๒ ปี นั่นน่าจะโดยเจตนาเอารัดเอาเปรียบค่าแรงฟรี ที่ร่างฯ เขียนป้องกันไว้ “ยกระดับคุณภาพชีวิตของพลหทาร ห้ามนำทหารไปทำงานรับใช้ส่วนตัว”

ไม่ต้องกลัวกำลังพลหาย ที่มีอยู่เดี๋ยวนี้จำนวนเกินต้องการสองเท่าตัว ทั้งไอ้เณรและนายพล ถึงตอนศึกมาจริงๆ แม้ไม่มีไอ้เณรแล้ว เกณฑ์พวกนายพลไปแทนเหลือจะพอ ให้พกไม้ก็อล์ฟไปด้วย พวกนี้หวดแม่นจะตาย รับรองฟาดข้าศึกหงายทุกรายไป

https://twitter.com/paritw92/status/1707651341328507373 และ https://twitter.com/ThaiArmedForce/status/1707660937929556350) 

“เวลาย่ำรุ่งจะมาถึงเสมอ การเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคตที่ดีกว่าอยู่ในมือของเราเอง” TLHR / ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรับรางวัล JUSTICE FOR DEMOCRACY DEFENDERS


TLHR / ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน @TLHR2014 15h

แมตต์ เดมอน, เอมิลี่ บลันท์, เมอรีล สตรีป, แอนน์ แฮทธาเวย์, และสการ์เลตต์ โจแฮนส์สัน ร่วมแสดงความยินดีกับ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนในฐานะผู้รับรางวัล The Albies สาขาผู้ปกป้องประชาธิปไตย (JUSTICE FOR DEMOCRACY DEFENDERS) ประจำปี 2023 Clooney Foundation for Justice)

ในพิธีรับรางวัล ศูนย์ทนายฯ ได้กล่าวถึงสถานการณ์ในประเทศไทย ที่ยังมีประชาชนหลายพันคนถูกดำเนินคดีจากการชุมนุมและการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ได้บอกเล่าเรื่องราวของทนายอานนท์ นำภา และเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีเกือบ 300 คน ในจำนวนนี้ ลูกความที่อายุน้อยที่สุดคือเด็กอายุ 12 ปี

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนคงไม่มีวันนี้ หากคนไทยไม่ได้ลุกขึ้นมาสู้กับรัฐเผด็จการที่ซ่อนตัวอยู่ในที่แจ้ง ในสถาบันตุลาการ ในกฎหมาย และในรัฐธรรมนูญที่มาจากรัฐประหาร 

เรายังต้องเดินทางกันไปอีกไกลเพื่อไปให้ถึงประชาธิปไตยที่แท้จริง การต่อสู้เพื่อความยุติธรรมนั้นไม่เคยง่าย

แต่เวลาย่ำรุ่งจะมาถึงเสมอ การเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคตที่ดีกว่าอยู่ในมือของเราเอง

https://twitter.com/TLHR2014/status/1707644673018466784 

สว.คนดังถูกไ่ล่ออกจากร้านที่ไอซ์แลนด์


 โปรดอย่าสะใจกับสิ่งนี้ แม้นว่าเจ้าของร้านสามารถสงวนสิทธิไม่ให้บริการแก่บุคคลที่ตนไม่ต้องการ ร้านรวงหลายแห่งในต่างประเทศจึงติดป้ายเป็นลายลักษณ์อักษร "We deserve the right not to give services to anyone."


และการใช้ถ้อยคำรุนแรงต่อผู้ที่ตนปฏิเสธให้บริการ ด้วยการขับไล่ออกไปจากร้าน ไม่ได้ทำให้ดูดีหรือน่ายกย่องเท่าไรนัก ในมาตรฐานกลางทั่วไป

แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นควรอย่างยิ่งที่จะเป็น 'คำเตือน' ต่อผู้ที่เป็นลิ่วล้อเผด็จการ หรือยอมตนรับใช้ชนชั้นนำที่กดขี่ เอาเปรียบประชาชนส่วนใหญ่ และเกื้อหนุนพวกทำร้าย ทำลายประชาธิปไตย

ว่าการได้เชิดหน้าชูคอภายในประเทศที่ศิโรราบ ยอมสยบต่ออำนาจ และศักดินาเหล่านั้น สำเหนียกว่าไม่สามารถหอบไปใช้ปกป้องตนในดินแดนที่รักษาคุณค่าประชาธิปไตยและความเท่าเทียมได้

“ยิ่งด่า จะยิ่งเข้าตัว (พรรครัฐบาล)” เรื่อง #หมออ๋อง ทำ ‘นิติกรรมอำพราง’ ให้พรรคไล่ออก รั้งตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนฯ

ดูแล้วเห็นว่า ที่ดาหน้าออกมาฉะ หมออ๋อง เรื่องให้พรรคขับออกเพื่อรั้งตำแหน่งรองประธานสภาต่อไปนั้น เหมือนว่าด่ากันไปมาในพวกตัวเอง ไม่ว่า ส.ส.เจ้าบทเจ้ากลอน หรือพวก สว.สืบทอดวิถีตู่ตั้ง

เอางี้ก่อน ดูที่ ตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส @PuneTreerat ออกมาโต้ “ยิ่งด่า จะยิ่งเข้าตัว (พรรครัฐบาล) เลยขอย้อนอดีตไม่ไกลนี้ มาเตือนความจำ” หนึ่งกรณี ไพบูลย์ นิติตะวัน

“ขับตัวเองออกพรรคฯ ยุบพรรคพระพุทธเจ้า แล้วไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ นั่ง รองหัวหน้าโดยยังมีสิทธิ์เป็น สส.อยู่” สอง “สส.กลุ่มธรรมนัส ๑๘ คน โดนขับออกจากพรรคพลังประชารัฐ เพื่อไปสังกัดพรรคเศรษฐกิจไทย (ชั่วคราว) แล้วก็กลับมาอยู่พลังประชารัฐใหม่ภายหลัง”

เขาว่าสองกรณีนี้พฤติการคล้ายคลึงกัน “แต่เจตนาต่างกันฟ้ากับเหว” กับเรื่องหมออ๋อง “คนนึงทำเพื่อประโยชน์ประชาชน ส่วนอีกกลุ่มนึงทำเพื่อตัวเอง” นั่นเป็นความเห็นพวกพ้อง ต้องคล้อยตามกันตามธรรมชาติ แต่

ที่ Dr Borisut Hanpanich @DrBorisutH เหน็บ “เป็นพรรค​การเมืองเดียวจริงๆ ที่มักจะส่งผู้คนในพรรค​มาให้ความเห็นเกี่ยวกับ​ กิจการภายในของพรรค​การเมืองอื่น และทำสม่ำเสมอด้วย” ก็หมายถึง ส.ส.นักกลอน อดิสร เพียงเกษ (สรรพนาม ด็อกเต้อ)

เรื่อง “กาเหว่าฝากไข่ให้กาฟัก” ไมยักนึกถึง วรนุส ชอบขโมยทั้งไข่และไก่เลี้ยงของชาวบ้านบ้างล่ะ หรืออย่างน้อยๆ เป็นพวกกิ้งก่าชอบเปลี่ยนสีให้อยู่ดีอยู่เป็น ก็ไม่น่าชมนักแล้ว ยิ่งวาทะ นิติกรรมอำพราง นั่นพวกทั่นๆ ที่ผสมเทียมทำประจำอยู่แล้ว

มาดูที่ติเพื่อก่อดีกว่า บก.ลายจุด เตือนไว้ก่อนหน้า วิธีการขับออกจากพรรคเพื่อรักษาตำแหน่ง และทำให้หัวหน้าพรรคได้เป็น ผู้นำฝ่ายค้านสมบูรณ์ นั้น “มันจะทำลายเกียรติ” ของตนและพรรค สำหรับ Somyot @pruksakasemsuk เตือนว่า

“อาจกลายเป็นประเด็นให้ พี่ศรีสุวรรณไปร้องเรียน ปปช.และ กกต.ให้ถอดถอนตำแหน่งและตัดสิทธิการเมืองได้” เรื่องนี้ยังไม่เห็นวี่แวว แต่ไม่รับประกันว่าจะไม่มา ส่วนเสียงชมจากนอกพรรค เห็นมีรายหนึ่งละ

Tosaporn Sererak / นพ. ทศพร เสรีรักษ์ @TSererak

ว่า “#หมออ๋อง ก็ทำหน้าที่รองประธานสภาได้ดีนะครับ การควบคุมการ #ประชุมสภา ทำได้นิ่ง มั่นคง เป็นรองประธานสภาต่อดีแล้วครับ” พูดแบบนี้เดี๋ยวโดนเบียดออกจากพรรคตนเองนะคุณหมอ

(https://twitter.com/ThaiPBS/status/1707597909280366717, https://matichon.co.th/politics/news_4205361 และ https://twitter.com/PuneTreerat/status/1707602129664499954) 

วันศุกร์, กันยายน 29, 2566

“เป็นโฆษกรัฐบาลประสาอะไร ไม่รู้ว่านายกรัฐมนตรีสามารถมอบหมายรัฐมนตรีอื่นมาตอบกระทู้แทนได้”

โวยกันใหญ่ รังสิมันต์ โรม จะเอาอะไรนักหนา ยื่นกระทู้กลางสภา นายกฯ ตั้ง ต่อศักดิ์ สุขวิมล เป็น ผบ.ตร.มาตรฐานอย่างไร ชัย วัชรงค์ โฆษกรัฐบาลซัดเอง “รู้ทั้งรู้ว่านายกฯ ติดภารกิจเยือนกัมพูชา แต่ก็ยังหาเรื่องตั้งกระทู้ถามสด”

แถมเหน็บบั้นท้าย “ทำอย่างนี้ไปเพื่ออะไร ประเทศชาติและประชาชนได้ประโยชน์อะไรครับ โรมก็เลยต้องตอบกลับ “รู้ทั้งรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในองค์กรตำรวจ รู้ทั้งรู้ว่าองค์กรตำรวจขัดแย้งกันขนาดไหน รู้ทั้งรู้ว่ามีเครือข่ายตำรวจเข้าไปเกี่ยวข้องกับธุรกิจสีเทามากมายเพียงใด”

เขาบอกอีกว่า “ปัญหาตำรวจเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข คงไม่ปกติแล้วที่ถึงขนาดมีการค้นบ้าน รอง ผบ.ตร.” และ “ท่านนายกจะเดินทางไปต่างประเทศ ก็ไปได้ถ้าคิดว่าสำคัญและเร่งด่วนมากกว่า...แต่ก็ช่วยทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับการประชุมสภา” หน่อยเป็นไร

“ช่วยส่ง รมต. คนอื่นมาตอบแทน” ได้ไหม “หรือช่วยกรุณาบอกก็ได้ว่าจะมาชี้แจงต่อสภาในเรื่องตำรวจเมื่อไหร่ ประชาชนเขาจะได้รู้ว่านายกจะแก้ปัญหาตำรวจยังไง ตั้ง ผบ.ตร.ใช้เกณฑ์อะไร จะได้รอว่าคำตอบเหล่านี้จะมาถึงเมื่อไหร่”

เพื่อนร่วมพรรค  chamnan chanruang @chamnanxyz ร่วมลงสรง “เป็นโฆษกรัฐบาลประสาอะไร ไม่รู้ว่านายกรัฐมนตรีสามารถมอบหมายรัฐมนตรีอื่นมาตอบกระทู้แทนได้หรือแจ้งเลื่อนก็ได้หากต้องการมาตอบด้วยตนเอง”

(https://twitter.com/RangsimanRome/status/1707304011517534689/photo/1) 

จะ ‘ส้มเทิร์นแดง’ หรือ ‘แดงเทิร์นส้ม’ มันอยู่ที่เขียนอย่างไร ว่าไหม

ประชาไทสัมภาษณ์ ๓ แอ็คทิวิสต์วัยรุ่น ส้มเทิร์นแดง น่าสนใจทีเดียว ถึงแม้ Atukkit Sawangsuk จะบอกว่า “จะได้เข้าใจคนรุ่นใหม่ส่วนน้อย (น้อยมาก ในขณะที่แดงเทิร์นส้มเพียบ)” และพวกปัญญาชนประเภทเดียวกัน

“พวกปัญญาชนที่ผลจากส้มเทิร์นแดง (ในภาพรวมไม่ใช่สามคนนี้) มักจะยกตนว่า เราเข้าใจความเป็นจริงของโลกมากกว่า พวกส้มไร้เดียงสา เราฉลาดกว่า เราล้ำลึกกว่า แล้วก็จะหนุนการเมืองแบบเก่ามากขึ้นๆ” กับ  “จริงๆ เป็นเรื่องปกติ ในหมู่นักกิจกรรม

ที่จะมีความเห็นไม่ลงรอยกัน ทั้งปัญหาความคิด ท่าที (คนเราเวลามีปัญหากันก็จะเริ่มจับจ้องจุดอ่อนข้อบกพร่อง) แล้วแยกทาง” ลองไปดูว่าเราจะได้ความรู้จาดสามคนนี้อย่างใดบ้าง คนแรก มายมิ้นต์ ศุกรียา วรรณายุวัฒน์ ครุศาสตร์ จุฬาฯ

ปัญหาของเธอกับ ส้มก็คือ “วิธีหาเสียงที่โจมตีคนอื่น” อันนี้เธอบอกเป็น “หนึ่งตัวอย่างของการเมืองใหม่ที่ไม่มีจริง” อีกปัญหาเป็นสิ่งที่เธอว่า “ไม่มีปัญหากับการที่ส้มเป็น กปปส.เก่า” แต่ปัญหาอยู่ที่พวกนี้เคย “ทำลายประชาธิปไตย (แล้ว) มาชี้หน้าด่าว่าคนอื่นไม่มีอุดมการณ์”

ศุกรียา “ยืนยันว่าเรื่องที่ตนเองเจอแม้จะดูเป็นประสบการณ์ส่วนตัว แต่ก็สะท้อนการทำงานของระบบในพรรคได้ดีมาก ถ้าพรรคยังไม่สามารถจัดการการทำงานในระดับเล็กๆ ให้ราบรื่นได้ แล้วจะไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประเทศได้อย่างไร”

ด้าน พัทภูมิภัสส์ หิรัญวีวิชญ์ ปี ๓ รัฐศาสตร์ มธ. คนนี้นิยมนโยบาย แอลบีจีที ของพรรคเพื่อไทยมาก ข้อสำคัญ “ไม่ชอบระบบการทำงานและท่าทีที่ดูไม่จริงใจของพรรคส้ม” แต่ขณะนี้ก็ต้องพบนักจิตบำบัดเป็นระยะ เพราะเจอทัวร์ลงหนักกว่าเก่า

“ปกติเวลาที่ตนพูดเรื่องเฟมินิสต์ในโซเชียลก็จะมีทัวร์แอนไทเฟมินิสต์จากเฟซบุ๊กมาลง ต่อมาที่ตนเปิดตัวเชียร์เพื่อไทยทัวร์ก็ลงบ่อยและหนักขึ้นกว่าเดิม”

สำหรับ ฟ้าน้ำฟ้า ปั้นเหน่งเพชร ชั้นปี ๓ รัฐศาสตร์ มธ.เหมือนกัน ยอมรับเต็มภาคภูมิว่าตนเป็นทั้ง เฟมินิสต์ และ นางแบกบอกว่าเคยทำกิจกรรมกับพรรคส้มมาก่อน “แต่รู้สึกไม่ซื้อในพฤติกรรมหลายๆ อย่างซึ่งดูขัดกับประเด็นที่พรรคพยายามนำเสนอ

...คนอื่นอาจจะซื้อ แต่เราไม่ซื้อ ไม่ได้บอกว่ามันไม่ดี แค่เราไม่ซื้อ” ประการสำคัญเธอเป็นนักปฏิบัตินิยม หรือ pragmatist หรือจะแปลให้ทันสมัยยุคข้ามขั้วก็ อยู่เป็นเธออธิบายอย่างนี้ “ผิดหวังที่เพื่อไทยไปจับมือกับพลังประชารัฐ รวมไทยสร้างชาติ

ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้จับมือกับก้าวไกลแล้วไปต่อด้วยกันได้ แต่สุดท้ายถ้ามีก้าวไกลยังไงก็ไม่ผ่าน สว. ๒๕๐ คน จึงมองว่าก็ต้องเลือกทางที่ไปต่อได้เพื่อจัดตั้งรัฐบาลให้เร็วที่สุด” อย่างนี้ต้องเอาไปประกบกับอีกชุดสัมภาษณ์ของประชาไท

ในชุด แดงเทิร์นส้มป้าผู้ตอบสัมภาษณ์คนหนึ่งบอกว่า “ไม่มีประชาชนคนไหนที่จะทำลายพรรคการเมืองได้ มีแต่พรรคการเมืองจะทำลายตัวเองด้วยการไม่ยึดหลัก ไม่ยึดอุดมการณ์ ไม่ยึดสัจจะวาจาตัวเอง

(https://prachatai.com/journal/2023/09/105976 และ https://prachatai.com/journal/2023/09/106122)

นี่หรือรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ? ปัดสิ่งโสโครกเข้าใต้พรมไปเรื่อย ๆ ??


kovitw @kovitw1
·Sep 27
เศร้า
.....
Suthichai Yoon
September 26 ·
ปัดสิ่งโสโครกเข้าใต้พรมไปเรื่อย ๆ หรือครับ?
นักการเมืองเกรงใจ ‘คนในเครื่องแบบ’ บางคนบางกลุ่มที่เป็นตัวถ่วงความเจริญของประเทศย่อมไม่สามารถอ้างว่า ‘ทำงานเพื่อประชาชน’
ทั้ง ๆ ที่บอกว่าเรื่องฉาวโฉ่ของตำรวจชั้นผู้ใหญ่เป็นเรื่อง ‘ใหญ่และเร่งด่วน’ แต่นายกฯบอกว่าคำว่า ‘สังคายนา’ แรงไป ต้องให้เกียรติสถาบันตำรวจ…แก้ปัญหาเป็นเรื่อง ๆ ไป!
การ ‘ให้เกียรติ’ ความเลวร้ายที่ทำลายศรัทธาสถาบันพิทักษ์สันติราษฎร์คือความรับผิดชอบของผู้นำหรือ?
Suthichai Live 9.15 น.



 



เดือนหน้า ก็เดือนตุลาอีกแล้ว


Fah Borkan
21h·

หลังโบสถ์พระประธาน
เราผ่านยุคของ “ไผ่แดง” มานานละ
เพราะสมภารกร่าง คึกฤทธิ์ ก็หมดฤทธิ์แล้ว
กำนันเจิม บ้านสี่เสาก็ถูกทุบแล้ว
พระประธานในโบสถ์ ก็คงไว้แค่วันหยุดราชการ
อ้ายแกว่นอ้วน แกว่นมิ้ง แกว่นเลี้ยบ
ก็เลิกเก็บเห็ดในป่า มาคอยเลียตีนนายกะลูกสาวนาย
เลิกปลุกระดม หันมาจูบปากกะพลพรรคท่านสมภาร
หยิบฉวยสันดานกำนันห้อย ไม่อดอยากปากแห้งต่อไป
มีจริตดูถูกประชาชน หว่านเงินโปรยทานสักพัก
ขี้คร้านจะเป็น ครูสำรวยลืมคำ เป็นความแดง
ลืมสิ้นคำมดเท็จ…
เดือนหน้า ก็เดือนตุลาอีกแล้ว
กลิ่นศพที่ท้องสนามหลวง คงจางจากรูจมูกของมัน
จมูกมันคงดอมดมแต่กลิ่นธนบัตร และซอกตีนชินวัตร
คอมมูนิสต์มันยังมาเป็นทุนนิยม 4 ทันสมัยแล้ว
กูจะดักดานเป็นซ้ายไปทำเหี้ยอะไรเล่า
เปลี่ยนสีมาเป็น จารีตนิยมฟัดกะเด็กสามนิ้วดีฝ่า
นี่คือฉากทัศน์ทางการเมือง ที่ไม่อาจปฏิเสธได้
ตราบใดที่ยังมีคนเดือนตุลาอย่างภูมิธรรม พรหมินทร์
หรือสุสานคนแก่อย่างพันศักดิ์ เฉลิม อดิศร รกสภา
การเมืองก็ยังคงยืดเยื้อไปอีกสักพัก รอมันตายจาก
กับการเมือง ในระบอบประชาธิปไตย
อันมีประชาชนเป็นเพียง ไม้ปรดับ
สิ่งโสมม และความอุจาดหลังโบสถ์พระประธาน
จะถูกสะสางด้วยการเติบโตของคนรุ่นใหม่
ลำพังอีลูกคุณหนูจะท้องโย้อีกกี่ท้อง
ก็ไม่อาจเปลี่ยนใจสังคมนี้หรอก
คืนสิทธิ์การประกันให้ คนไทยทุกคน
ฟ้า บ่กั้น

คลิปไม่เห็นหน้า ตำรวจ 3 คนชี้ว่าใช่ ศาลก็เชื่อว่าใช่ บอกว่า “ไม่มีเหตุโกรธเคืองมาก่อน” “วีรภาพ” เลยถูกศาลอาญาลงโทษจำคุก 3 ปี คดี ม.112 กรณีพ่นสีเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ก่อนส่งให้ศาลอุทธรณ์สั่งประกันตัว


ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
11h
·
ศาลอาญาลงโทษจำคุก 3 ปี “วีรภาพ” คดี ม.112 กรณีพ่นสีเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ก่อนส่งให้ศาลอุทธรณ์สั่งประกันตัว
.
28 ก.ย. 2566 ศาลอาญา รัชดาฯ นัดฟังคำพิพากษาคดีของ “รีฟ” วีรภาพ วงษ์สมาน อายุ 20 ปี ผู้ถูกกล่าวหาในคดีข้อหาหลัก “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ “ร่วมกันชุมนุมมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 โดยถูกกล่าวหาว่า พ่นสีสเปรย์ข้อความ “ควรปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ #ไอ้ษัตริย์” บริเวณแยกดินแดง ระหว่างการชุมนุมเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2564
.
ศาลอาญาคำพิพากษาว่า วีรภาพมีความผิดตามมาตรา 112 ลงโทษจำคุก 3 ปี ไม่รอลงอาญา ก่อนศาลอาญาส่งคำร้องขอประกันตัวไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ทำให้วีรภาพถูกนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
.
คดีนี้ วีรภาพถูกฟ้องใน 5 ข้อกล่าวหา เขายืนยันให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และมีการสืบพยานในวันที่ 16-17 ส.ค. 2566 โจทก์นำพยานเข้าเบิกความทั้งหมดรวม 3 ปาก ได้แก่ พ.ต.อ.พีรรัฐ โยมา กับ พ.ต.อ.ประวิทย์ กองชุมพล เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวน สน.ดินแดง และ พ.ต.ท.สุรพล จันทร์สมศักดิ์ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดี ในขณะที่ฝ่ายจำเลยนำพยานเข้าเบิกความ 1 ปาก ได้แก่ วีรภาพ ซึ่งอ้างตนเองเป็นพยาน
.
ช่วงเช้าของวันนี้ที่ห้องพิจารณา 909 “วีรภาพ” พร้อมภรรยาและลูกชายวัย 8 เดือน ได้เดินทางมาศาล นอกจากนี้ยังมีผู้รับมอบฉันทะทนายความ รวมทั้งเจ้าหน้าที่องค์กรสิทธิมนุษยชนและสื่อมวลชน ร่วมเข้าฟังการพิจารณาคดีด้วย
.
เวลา 10.00 น. ศาลออกนั่งพิจารณาก่อนอ่านคำพิพากษาโดยสรุปว่า พิเคราะห์จากพยานหลักฐานของโจทก์แล้วเห็นว่ามีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้ง 3 ปาก ที่เบิกความ ให้รายละเอียดถึงเหตุการณ์การชุมนุมโดยละเอียด เป็นขั้นตอนน่าเชื่อถือ ซึ่งพยานโจทก์ทั้ง 3 เป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำตามหน้าที่ ไม่ได้มีสาเหตุโกรธเคืองจำเลย จึงไม่มีเหตุให้เบิกความใส่ร้ายจำเลย
.
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่สืบสวนที่ได้จัดทำรายงานอย่างละเอียด ได้ติดตามสืบสวนจำเลยอย่างใกล้ชิด พบว่าก่อนหน้านี้จำเลยเคยเขาร่วมชุมนุมและขึ้นปราศรัย 2-3 ครั้ง และเห็นจำเลยปรากฏตัวในที่ชุมนุม เข้าร่วมชุมนุม พ่นสีสเปรย์ข้อความเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ พร้อมข้อความหยาบคายต่อท้าย
.
เมื่อดูจากคลิปวิดีโอที่เป็นพยานหลักฐาน แม้จะไม่เห็นด้านหน้าของจำเลยขณะพ่นสีสเปรย์ แต่หากเปรียบเทียบจากรูปพรรณสัณฐานของจำเลยกับคลิปวิดิโอดังกล่าว จะพบว่ามีลักษณะใกล้เคียงกัน จึงน่าเชื่อว่าเป็นจำเลยที่เข้าร่วมชุมนุม และพ่นสีในที่เกิดเหตุจริง คำเบิกความของโจทก์ที่บอกว่าเห็นจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด จึงมีน้ำหนักรับฟังได้
.
ในประเด็นเรื่องข้อความเรียกร้องการปฎิรูปสถาบันกษัตริย์ ศาลเห็นว่าคำว่าปฏิรูปสถาบันฯ นั้น เป็นคำแสดงความคิดเห็นโดยทั่วไป แต่เมื่อพิจารณาถึงคำไม่สุภาพที่พ่นต่อท้าย พบว่าเป็นคำสบถ หยาบคาย เจตนาว่าร้ายพระมหากษัตริย์ ประชาชนทั่วไปสามารถพบข้อความดังกล่าวได้ ทำให้เกิดความเกลียดชังและสร้างความเสื่อมเสียต่อในหลวงรัชกาลที่ 10
.
อีกทั้งพิจารณาจากคำเบิกความของจำเลย จำเลยได้อ้างตนเป็นพยานเพียงคนเดียว ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าจำเลยไม่ได้อยู่ในที่ชุมนุมตามที่กล่าวหา เป็นเพียงการเบิกความลอย ๆ ไม่อาจรับฟังได้
.
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรม แต่เนื่องจากอัยการไม่ได้บรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายบท ศาลไม่สามารถพิพากษาเกินคำขอได้ จึงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งเป็นบทหนักสุด จำคุก 3 ปี ข้อหาอื่นให้ยก
.
ภายหลังการอ่านคำพิพากษา วีรภาพได้บอกลาภรรยาและอุ้มลูกชายวัย 8 เดือนของตัวเอง ก่อนเดินออกจากห้องพิจารณา โดยเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้คล้องกุญแจมือเขาพาลงไปห้องเวรชี้ ขณะที่ทนายความและนายประกันได้ยื่นคำร้องขอประกันตัว
.
ต่อมาในเวลา 16.08 น. ศาลอาญามีคำสั่งส่งคำร้องขอประกันตัวของวีรภาพให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณา ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาอีก 2–3 วัน ก่อนจะทราบผล
.
ผลของคำสั่งศาลอาญาในวันนี้ ทำให้วีรภาพจะต้องนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และทำให้มีผู้ต้องขังคดีการเมืองที่อยู่ในระหว่างการต่อสู้คดีเป็นจำนวน 25 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 จำนวน 10 รายแล้ว แต่หากรวมผู้ต้องขังคดีที่สิ้นสุดแล้วจะมีทั้งหมด 35 ราย
.
สำหรับ “วีรภาพ” เป็นชาวกรุงเทพฯ อายุ 20 ปี เคยประกอบอาชีพขายเสื้อผ้ามือสอง แต่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และการบริหารล้มเหลวของรัฐบาล จนต้องปิดร้าน ทำให้เริ่มเกิดความสนใจทางการเมือง และเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองในช่วงปี 2563-64
.
ปัจจุบันมีภรรยาและลูกชายวัย 8 เดือนที่ต้องเลี้ยงดู แม้จะถูกดำเนินคดีมาตรา 112 เขาก็ยังยืนที่จะออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อไป เพราะอยากให้ลูกชายเขาที่เกิดมาเติบโตในสภาพบ้านเมืองที่เป็นปกติและอยู่ในระบอบประชาธิปไตย
.
.
อ่านบนเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/archives/60075

เปิดเบื้องหลังตั้ง 'ต่อศักดิ์' นายกฯ เสนอเอง ชี้ ผบ.ตร. ต้องสนองนโยบายรัฐบาล ทุกอย่างก็จบ เพราะนี่คือหนึ่งในสัญญาปีศาจที่ประยุทธ์ จันทร์โอชาตกลงไว้กับเศรษฐา ทวีสิน ในการโหวตนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566


Thanapol Eawsakul
19h
·
อ่านเบื้องหลังการแต่งตั้งต่อศักดิ์ สุขวิมล
จากเดิมที่มีความเห็นแย้งในก.ตร. จนต้องตั้งให้ รอย อิงคไพโรจน ผู้ที่มีอาวุโสลำดับที่ 1 นั่งรักษาการ ผบ.ตร.
แต่เมื่อเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานที่ประชุมเคาะว่าต้องเป็นต่อศักดิ์ สุขวิมล
ทุกอย่างก็จบ
เปิดเบื้องหลังตั้ง 'ต่อศักดิ์' นายกฯ เสนอเอง ชี้ ผบ.ตร. ต้องสนองนโยบายรัฐบาล
https://youtu.be/rM9kFIep1WI?feature=shared
เพราะนี่คือหนึ่งในสัญญาปีศาจที่ประยุทธ์ จันทร์โอชาตกลงไว้กับเศรษฐา ทวีสิน
ในการโหวตนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566
เศรษฐา ทวีสินอาจจะไม่ใช่ส่วนต่อขยายของ "รัฐบาลประยุทธ์" แต่เป็นร่างทรงของประยุทธ์เลยทีเดียว

เปิดเบื้องหลังตั้ง 'ต่อศักดิ์' นายกฯ เสนอเอง ชี้ ผบ.ตร. ต้องสนองนโยบายรัฐบาล

เรื่องเล่าเช้านี้

Sep 27, 2023 

เปิดเบื้องลึกที่ประชุม ก.ตร. เบื้องหลัง นายกฯเลือก บิ๊กต่อ เป็น ผบ.ตร.คนที่ 14 ผู้นำสีกากีคนใน เจ้าของนามเรียกขาน “พิทักษ์ 1” 

มีรายงานจากแหล่งข่าว ในที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร.ช่วงที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธาน ก.ตร.นัดถกวาระเลือก ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ 

โดยกำหนดนัดหมาย เวลาประมาณ 13.30 น. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยหลังจากที่นายกรัฐมนตรี ตรวจแถวกองเกียรติยศ แล้วเสร็จ 

ก็เข้าสู่กระบวนการประชุม ก.ตร. ซึ่งมีรายงานว่า นายกฯ หารือกับคณะกรรมการ ก.ตร.ทั้งหมด แต่ยกเว้น บิ๊กต่าย-พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ และ บิ๊กต่อ-พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ซึ่งเป็น คณะกรรมการ ก.ตร.โดยตำแหน่ง เพราะว่าทั้งคู่ ถือเป็นแคนดิเดต ที่มีส่วนได้เสีย/การหารือนอกรอบนี้เกิดขึ้นที่ห้องรับรอง ตรงข้ามกับห้องศรียานนท์ บนชั้น 2 ของอาคารสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 

การหารือนอกรอบผ่านไปประมาณ 1 ชั่วโมง มีรายงานว่า นายกฯ มีรายชื่ออยู่ในใจแล้ว และได้สอบถามกับ คณะกรรมการ ก.ตร.ว่า “หากผมเสนอ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. จะมีแรงต้านไหม” 

ต่อมา เวลาประมาณ 14.30 น. หลังการหารือนอกรอบ คณะกรรมการ ก.ตร.ทั้งหมด ก็เริ่มเข้าห้องประชุมศรียานนท์ โดยที่ประชุม เปิดโอกาสให้ คณะกรรมการ ก.ตร.ลุกขึ้นอภิปรายจนครบทุกคน /ซึ่งพล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ พยายามชี้แจงพร้อมเสนอแนะว่า ข้อกฎหมายระบุว่า การพิจารณาแต่งตั้ง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ยึดหลักอาวุโส มีความรู้ความสามารถ และมีคุณธรรม ซึ่งต้องไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ 

เมื่อมีข้อคิดเห็นจาก พล.ต.อ.เอก ทำให้ นายกฯเรียกฝ่ายกฎหมาย ก.ตร.มาชี้แจง พร้อมให้นำเสนอคุณสมบัติของ 4 นายตำรวจที่เป็นแคนดิเดต โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องของหลักอาวุโส 

จากนั้น นายกฯ ก็ใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดแล้ว ยืนยันคำเดิมว่า “ผมขอเสนอ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ” โดยนายกฯ ให้เหตุผลว่า “แคนดิเดตทั้ง 4 นาย อาวุโสต่างกันไม่มากนัก ทุกคนมีความรู้ความสามารถเท่าเทียมกัน ผ่านงานมาทุกรูปแบบ แต่ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คนใหม่ ต้องทำงานสนองนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะงานด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้องกับสถาบันฯ จึงมั่นใจว่า พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สามารถทำงานส่วนนี้ได้ดี” 

และนั่นทำให้ พล.ต.อ.เอก พยายามคัดข้นและให้ข้อเสนอแนะอีกครั้ง โดยเน้นย้ำเรื่องของประสบการณ์ความรู้ความสามารถของ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ ยังน้อยเมื่อเทียบกับอีก 3 นายตำรวจ 

แต่ นายกฯ ก็ยืนยันว่า การเสนอชื่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นดุลยพินิจและอำนาจโดยตรงของนายกฯ ในฐานะประธาน ก.ตร.อีกทั้ง พ.ร.บ.ตำรวจฯ ก็ไม่ได้ระบุว่าต้องยึดหลักอาวุโสเพียงอย่างเดียว แต่ให้คำนึงถึงหลักความรู้ความสามารถควบคู่ไปด้วย 

เมื่อมีข้อคิดเห็นที่แตกต่างกัน ที่ประชุม ก.ตร.จึงให้ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. อธิบายคุณสมบัติของ 4 แคนดิเดต ให้คณะกรรมการ ก.ตร.ได้รับฟัง โดย ผบ.ตร.ได้ชี้ให้เห็นว่าที่ผ่านมา มอบหมายงานให้ รอง ผบ.ตร.แต่ละคนรับผิดชอบด้านใดบ้าง โดยเฉพาะ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ ที่รับผิดชอบด้านงานป้องกันและปราบปราม ที่ดูเหมือนว่า จะได้แรงสนับสนุนที่ดีจาก พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ มากกว่า แคนดิเดต คนอื่น 

จากนั้น ที่ประชุม ก.ตร.ก็เปิดโอกาสให้ คณะกรรมการโหวตโดยเปิดเผย ด้วยการยกมือ สนับสนุน ผลก็ปรากฏว่า ก.ตร. 9 ท่านเห็นชอบตามที่นายกฯ เสนอ 

มีเพียง พล.ต.อ.เอก ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่เห็นชอบ / ส่วนนายกฯ ในฐานะประธานที่ประชุม และนายประทิต สันติประภพ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ งดออกเสียง เนื่องจากมีรายงานว่าสาเหตุที่ทั้ง 2 คนงดออกเสียง เพราะผลโหวตคะแนนเสียงขาดแล้ว 

ซึ่งจากผลโหวต มีรายงานว่า คณะกรรมการ ก.ตร.โดยตำแหน่ง ซึ่งเป็นคนนอก (ไม่ได้เป็นข้าราชการตำรวจ) จำนวน 2 ท่าน ยังเห็นชอบกับชื่อของ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ อีกทั้ง ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิท่านอื่นๆ ก็เห็นชอบด้วย จึงทำให้ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ มีความชอบธรรมและขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เจ้าของนามเรียกขาน “พิทักษ์ 1 “ คนใหม่ทันที 

อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ : https://ch3plus.com/news/political/mo...


https://www.facebook.com/insidethailand/videos/6764407216954392/
เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand
15h
·
เบื้องลึกมติ 9-1-2 ...ตั้ง “บิ๊กต่อ” | เจาะลึกทั่วไทย | 28 ก.ย. 66
มติ.....
--------------------------------
เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand
เล่าข่าวเจาะประเด็นโดย ดนัย เอกมหาสวัสดิ์ / อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์
...
Somsak Jeamteerasakul
9h
·
ผมเพิ่งมาฟัง เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand เล่ากระบวนการเลือก ผบ.ตร.
ฟังแล้ว disgusting (ขยะแขยง) อย่างยิ่ง ในตัวเศรษฐา
#ทำตัวเป็นเบ๊รับใช้วชิราลงกรณ์สุดลิ่มทิ่มประตู
รู้ทั้งๆที่รู้ว่าผิดระเบียบ ก็ยังดันทุรังผลักดันให้ได้ "ต้องทำงานสนองนโยบายรัฐบาล #โดยเฉพาะงานด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้องกับสถาบันฯ"
เบื้องหลังเศรษฐา แน่นอนทักษิณ และเบื้องหลังทักษิณ วชิราลงกรณ์
https://www.facebook.com/insidethailand/videos/6764407216954392/

ใครอยากรู้ว่า ต่อศักดิ์ สุขวิมล กระโดดข้ามหัวคนอื่นขึ้นมานั่งตำแหน่ง ผบ.ตร.คนที่ 14 ได้อย่างไร เชิญฟังอภิปรายรังสิมันต์ โรม ไม่เพียงแต่ต่อศักดิ์ สุขวิมล เท่านั้น ยังมี จิรภพ ภูริเดช อีกด้วย


Thanapol Eawsakul
15h
·
ใครอยากรู้ว่า ต่อศักดิ์ สุขวิมล กระโดดข้ามหัวคนอื่นขึ้นมานั่งตำแหน่ง ผบ.ตร.คนที่ 14 ได้อย่างไร
เชิญฟังอภิปรายรังสิมันต์ โรม
ไม่เพียงแต่ต่อศักดิ์ สุขวิมล เท่านั้น ยังมี จิรภพ ภูริเดช อีกด้วย ที่จะได้ดีตามมา
ดูจากชาติกำเนิดแล้ว ไม่แปลกที่ 2 คนนี้จะได้ดี
พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล เป็นน้องชาย พลอากาศเอก​ สถิตย์พงษ์ สุขวิมล เลขาธิการพระราชวัง
พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช เป็นน้องชาย พลเอก จักรภพ ภูริเดช รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
.....................
รังสิมันต์ โรม' อภิปรายไม่ไว้วางใจ เปิดโปง 'ตั๋วช้าง
https://www.youtube.com/watch?v=jpgiZDFe0YI...






'รังสิมันต์ โรม' อภิปรายไม่ไว้วางใจ เปิดโปง 'ตั๋วช้าง' | workpointTODAY

Feb 19, 2021 

รังสิมันต์ โรม ส.ส.พรรคก้าวไกล อภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กรณีการโยกย้ายแต่งตั้งตำรวจไม่ชอบมาพากล โดยระบุว่ามี "ตั๋วตำรวจ" มาแทรกแซงกระบวนการแต่งตั้งโยกย้ายปกติ วันที่ 19 ก.พ. 2564

คำบอกเล่าส่วนหนึ่งของ ดร.วิศัลย์ โฆษิตานนท์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ หนึ่งในเบื้องหลังคนสำคัญผลักดันศรีเทพให้กลายเป็นมรดกโลก


Kowit Boondham
September 20
·
คุยกับ “วิศัลย์ โฆษิตานนท์” เบื้องหลังมรดกโลกและอนาคตศรีเทพ
“วินาทีที่ประกาศศรีเทพเป็นเมืองมรดกโลก ไม่มีใครโต้แย้ง มีความปลื้มใจมาก จนน้ำตาแทบจะไหลออกมา นึกถึง 7 ปีที่ผลักดันกันมา”
คำบอกเล่าส่วนหนึ่งของ ดร.วิศัลย์ โฆษิตานนท์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ หนึ่งในเบื้องหลังคนสำคัญผลักดันศรีเทพให้กลายเป็นมรดกโลก
ดร.วิศัลย์ เล่าว่าที่ผ่านมาในเชิงพื้นที่มีการต่อสู้ อุปสรรคต่างๆเกิดขึ้น เช่น การขุดเจาะน้ำมัน ปัญหาที่ดินชุมชนรอบอุทยานฯ ที่ต้องให้ความรู้กับชาวบ้าน
การประกาศเมืองโบราณศรีเทพเป็นเมืองมรดกโลก ไม่เพียงแต่เป็นความภูมิใจของเพชรบูรณ์และประเทศไทย เมืองศรีเทพเป็นหลักฐานที่บ่งบอกประวัติศาสตร์ของชนชาติที่อยู่อาณาเขตประเทศไทย ที่ไม่ได้เริ่มต้นที่สมัยสุโขทัย มีกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ยาวนานมากตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุครัฐแรกเริ่มวัฒนธรรมทราวดี วัฒนธรรมขอม จนยุคสมัยสุโขทัย เมืองศรีเทพ คือ หลักฐานที่ยืนยันวัฒนธรรมเหล่านี้ พลิกฟื้นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ว่ามีที่มาอย่างยาวนานก่อนสมัยสุโขทัย
พื้นที่เมืองศรีเทพ ที่เสนอเป็นมรดกโลก อาศัยความโดดเด่นวัฒนธรรมทราวดีเป็นหลักเสนอพื้นที่ 3 บริเวณ คือ บริเวณเมืองโบราณ (เมืองนอก-เมืองใน) มีคูน้ำคันดิน ราว 2,800 ไร่ ,บริเวณโบราณสถานเขาคลังนอก,บริเวณเขาถมอรัตน์
บริเวณเมืองศรีเทพ มีมนุษย์อาศัยตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ หลักฐานสำคัญคือการค้นพบหลุมฝั่งศพ และเมื่อติดต่อค้าขายกับอินเดียจึงรับวัฒนธรรมทางศาสนาฮินดูการนับถือ พระวิษณุ พระกฤษณะ พระสุริยะเทพ เมื่อเริ่มต้นเป็นทราวดีขึ้นมีการนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน นิกายเถรวาท และมายุควัฒนธรรมขอม มีโบราณสถานสำคัญเช่นปรางค์สองพี่น้อง ปรางค์ศรีเทพ ฯลฯ
วัฒนธรรมศรีเทพ จึงมีความยาวนาน เมืองมรดกโลกศรีเทพ ได้ชูความโดดเด่นวัฒนธรรมทราวดี
-----วัฒนธรรมทราวดีที่โดดเด่นเมืองโบราณศรีเทพ----
“เขาคลังใน” ฐานเจดีย์มีคนแคระรองรับใต้ฐานตามคติความเชื่อสมัยทราวดี ดูแลศาสนสถานในพระพุทธศาสนา คนเเคระ5 หน้าต่างจากที่อื่นๆจะเป็นหน้าคนอย่างเดียว แต่เขาคลังในมีทั้ง หน้าคน สิงห์ ลิง ช้าง และวัว
“เขาคลังนอก” มีความยิ่งใหญ่สิ่งก่อสร้าง กว้าว ยาว ด้านละ 64 เมตร สูง 20 เมตร
“ถ้ำเขาถมอรัตน์” มีพระพุทธรูปแกะสลักบนหินปูน ในสมัยทราวดี มีพระพุทธรูป คือ พระโพธิสัตว์ ธรรมจักร สกู๊ป มีความสำคัญ คือ พุทธนิกายเถรวาท มีธรรมจักร กวางหมอบ สถูป ส่วนนิกายมหายานมีพระโพธิสัตว์ ในถ้ำเขาถมอรัตน์มีทั้งสองอย่างรวมอยู่ด้วยกัน สะท้อนถึงความหลากหลายคนนับถือศาสนาต่างกันแต่รวมอยู่ในเมืองโบราณศรีเทพ
แม้แต่ในศาสนาฮินดูเมืองศรีเทพ ก็ปรากฎรูปเทวรูปรูปเคารพที่แตกต่างกัน ซึ่งมีความหลากหลายของ 2 ศาสนา และนิกายต่างๆรวมอยู่ที่เดียวกัน สะท้อนถึงความหลากหลายที่ศาสนา นิกาย ที่สามารถอยู่ร่วมกันได้
---ความเก่าแก่และความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมเมืองศรีเทพ---
สุโขทัยเป็นราชธานี ราว 150 ปี พระนครศรีอยุธยา 417 ปี ศรีเทพมีอายุต่อเนื่องราว 1000 กว่าปี มีเรื่องราวต่างๆเกิดขึ้นมากมาย หลักฐานต่างๆอาจยังฝังอยู่ใต้ดิน ต้องมีการสำรวจและค้นหา เช่น บริเวณรอบเขาคลังนอก ที่มีการขุดแต่ง มีมหาสถูปและเจดีย์รอบทั้งสี่ทิศ จนเหมือนมหาวิทยาลัยนาลันทา และในสมัยอดีตยังมีสิ่งก่อสร้างอื่นที่ยังซ่อนอยู่กระจายที่ยังไม่ขุดอีกมากมาก
“เขาคลังหน้า” บริเวณเขากระจังเป็นเนินดินเหมือนเขาคลังนอก เขาคลังใน เมื่อสำรวจด้วยโดรนไลดาร์ เห็นขอบข่ายเป็นสี่เหลี่ยม คาดว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ยังไม่ขุดแต่ง
“เขาคลังสระแก้ว” บริเวณวัดป่าสระแก้วเป็นเนินดินทางต้องขุดค้นต่อไป
ปัจจุบันการขุดค้นในตัวเมืองบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ยังขุดค้นได้เพียง 5 เปอร์เซ็นต์ใน 2,800 ไร่ และบริเวณรอบๆเมืองรัศมีราว 10 กิโลเมตรที่ยังรอการขุดค้นทางโบราณคดี เมืองศรีเทพในอดีตจึงมีการตั้งถิ่นฐานเป็นเมืองใหญ่เป็นมหานครหนึ่งในแถบนี้
-----ผังเมืองศรีเทพออกแบบใช้ประโยชน์พื้นที่----
จ.เพชรบูรณ์ผลักดันเมืองศรีเทพให้เป็นเมืองมรดกโลก 7 ปีที่ผ่านมา เพราะหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลและกรมศิลปากร จะทุ่มเทงบประมาณ การขุดค้น สำรวจเพิ่มเติม รวมถึงการอนุรักษ์เมืองศรีเทพให้สวยงาม
ปัจจุบันแผนพัฒนาโดยรอบเมืองศรีเทพ โยธาธิการและผังเมือง ได้แบ่งการใช้ประโยชน์พื้นที่ ควบคุมการก่อสร้าง ยืนยันไม่มีการขับไล่ชาวบ้านที่อยู่รอบเมืองศรีเทพ แต่อาจมีการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น ห้ามสร้างอาคารสูงเกิน 10 เมตร ห้ามสร้างโรงงาน เช่น ก่อมลพิษ เสียงดัง ส่วนที่พักก็จะส่งเสริมที่พักแบบโฮมสเตย์ เพื่อชาวบ้านจะมีรายได้
“การผลักดันเมืองศรีเทพเป็นมรดกโลก เป้าหมายสูงสุด ท้องถิ่นต้องมีรายได้ มีเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น”
---อนาคตพัฒนาเมืองศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์----
จ.เพชรบูรณ์ตั้งเป้าพัฒนาเมืองมรดกโลกศรีเทพ 3 เรื่อง คือ
1.กรมศิลปากร ตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่เมืองศรีเทพ เพื่อจะได้นำโบราณวัตถุที่กระจัดกระจายตามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติต่างๆ หรือโบราณวัตถุที่ถูกลักลอบนำออกไปต่างประเทศ ต้องติดตามทวงคืนกลับคืนมา ขณะเดียวกันเชื่อว่าชาวบ้านที่เก็บโบราณวัตถุต่างๆไว้มากมายก็พร้อมจะให้คืนเพียงแต่มีสถานที่จัดแสดงที่มีความปลอดภัย
2.รัฐบาลต้องตั้งงบสำรวจเพิ่ม เช่น เขาคลังหน้า เขาคลังสระแก้ว
3.จังหวัดเพชรบูรณ์จะโปรโมทเส้นทางท่องเที่ยว โดยเชื่อมโยง 4 เมืองมรดกโลก จะเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีกำลังซื้อสูง

ยังไม่มีความยุติธรรม! คำพิพากษาออกมาแบบนี้เท่ากับว่าผ่านมา 9 ปียังไม่สามารถเอาผิดต่อการอุ้มฆ่า #บิลลี่

สีหน้าของ “ มึนอ “ ภรรยาของ“ บิลลี่ “ ขณะที่ให้สื่อมวลชลสัมภาษณ์ มีน้ำตาไหลอาบแก้มของเธออย่างต่อเนื่อง พร้อมบอกกับนักข่าวสั้นๆว่า ตั้งแต่ปี 2557 อยากรู้ว่า “ ที่ต่อสู้มา แค่อยากรู้ว่าพี่บิลลี่หายไป ไหน “
Mono News - ข่าวโมโน
.....






Pipob Udomittipong
9h·

สรุปว่า ศาลยกฟ้องชัยวัฒน์และพวกในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เพราะไม่เชื่อว่า #บิลลี่ ตายจริง “ศาลพิเคราะห์ว่า ผลการตรวจไมโทคอนเดรียดีเอ็นเอชิ้นส่วนกระดูกขมับด้านซ้ายที่ตรวจพบใต้น้ำในเขื่อนแก่งกระจาน เป็นของบุคคลที่เป็นบุตรของแม่หรือยายของบิลลี่เท่านั้น แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นบุคคลใด”
คนทั่วไปก็ต้องถามแหละครับ ถ้าบิลลี่ไม่ตาย แล้วบิลลี่ไปไหน? เขาจะทิ้งครอบครัวไปทำไม? บางครั้งกระบวนการศาลไทยไม่ให้คำตอบกับสังคม ไม่ให้ความยุติธรรมได้เลย

Cross Cultural Foundation (CrCF)
9h·

ในวันที่ 28 กันยายน 2566 เวลา 09.59 น. ณ ห้องพิจารณาคดี 303 ชั้น 3 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง คดีหมายเลขดำที่ อท.166/2565 ศาลอ่านคำพิพากษาว่า นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร จำเลยที่ 1 ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลาสามปี โดยไม่รอลงอาญา ในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบตามมาตรา 157 ด้วยจำเลยที่ 1 จับกุมนายพอละจี รักจงเจริญหรือบิลลี่ด้วยข้อหามีน้ำผึ้งของหวงห้ามไว้ในครอบครอง เป็นการกระทำความผิดตามกฎหมายอุทยาน เมื่อจับกุมแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ไม่ส่งตัวให้พนักงานสอบสวน ส่วนข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและอื่นๆ ศาลยกฟ้อง รวมทั้งยกฟ้อง จำเลยที่ 2 ที่ 3 และ 4 ที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของนายชัยวัฒน์ด้วย
.
ประเด็นสำคัญในการพิพากษาคดีนี้คือ ศาลไม่เชื่อว่าบิลลี่เสียชีวิตแล้ว จากข่าวแจกสื่อมวลชน บางส่วนของศาล ได้ระบุว่า “ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์และจำเลยตามทางไต่สวนแล้วเห็นว่า ผลการตรวจไมโทคอนเดรียดีเอ็นเอชิ้นส่วนกระดูกขมับด้านซ้ายที่ตรวจพบใต้น้ำในเขื่อนแก่งกระจานเป็นของบุคคลที่เป็นบุตรของแม่หรือยายของบิลลี่เท่านั้น แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นบุคคลใด และไม่มีแพทย์หรือผู้ตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ยืนยันได้ว่าชิ้นส่วนกระดูกวัตถุพยานเป็นของนายพอละจี มีผลให้ฟังไม่ได้ว่านายพอละจีหรือบิลลี่ถึงแก่ความตายแล้วหรือไม่ ทำให้ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานฆ่าผู้อื่น และความผิดข้อหาร่วมกันเผาทำลายศพและเก็บชิ้นส่วนศพที่เหลือจากการเผา บรรจุใส่ถังไปทิ้งใต้น้ำบริเวณสะพานแขวน เพื่อทำลายหลักฐาน ไม่มีประจักษ์พยานและพยานแวดล้อมใกล้ชิดเห็นหรือเชื่อมโยงได้ว่าจำเลยทั้งสี่นำถังน้ำมันของกลางไปทิ้งในเขื่อน จึงไม่มีพยานรับฟังลงโทษจำเลยทั้งสี่เช่นกัน”
.
“คำตัดสิน9 ปีหลังเกิดเหตุในวันนี้เป็นการยืนยันว่าพ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายเป็นกฎหมายที่จำเป็น กระบวนการยุติธรรมตามปกติไม่สามารถค้นหาหลักฐานได้ว่ามีการกระทำให้บุคคลสูญหายโดยเจ้าหน้าที่ ไม่สามารถค้นพบศพและพยานหลักฐานการฆาตกรรมผู้ถูกอุ้มหายได้ จึงต้องมีกฎหมายใหม่นี้เพื่อให้สามารถตั้งข้อหาและเอาผิดเจ้าหน้าที่ได้ หากมีหลักฐานเพียงว่าเจ้าหน้าที่ได้เอาตัวบุคคลไปและปฏิเสธหรือปกปิดชะตากรรมของบุคคลนั้น โดยไม่จำเป็นต้องพบตัวหรือศพ ซึ่งกฎหมายใหม่นี้จะเอื้อให้เกิดการพัฒนากระบวนการยุติธรรมและการรับฟังพยานหลักฐานตามมาตราฐานตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ เสียดายที่กฎหมายใหม่รัฐบาลเพิ่งออกใช้ ต่อแต่นี้การดำเนินคดีก็จะเอื้อให้เกิดความเป็นธรรมและป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเช่นนี้โดยเจ้าหน้าที่รัฐได้ดียิ่งขึ้น” นายสุรพงษ์ กองจันทึกประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรมกล่าว หลังฟังผลคำพิพากษา
.
“คดีนี้จะมีการดำเนินการทางแพ่งเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากหน่วยงานต้นสังกัดของนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษรต่อไป เพราะศาลชั้นต้นมีพิพากษาว่าเจ้าหน้าที่รัฐมีความผิดอาญาแล้ว ทั้งหน่วยงานต้นสังกัดต้องมีคำสั่งให้ออกจากราชการทันที เพราะเจ้าหน้าที่ที่กระทำความผิดถึงขั้นมีโทษจำคุกสามปี โดยเฉพาะในความผิดเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแล้ว นอกจากนี้นายชัยวัฒน์ก็ยังตกเป็นผู้ต้องหาคดีความผิดฐานฆาตกรรมโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและซ่อนเร้นศพซึ่งเป็นความผิดอุกฉกรรจ์ ซึ่งจะมีการอุทธรณ์ข้อหานี้” นายสุรพงษ์ กองจันทึก กล่าวเพิ่มเติม
.
ส่วนนางพิณนภา พฤกษาพรรณ ภริยาของบิลลี่ กล่าวหลังฟังคำพิพากษาว่า “หลังจากฟังคำพิพากษาคดีนี้แล้ว ยังมีความประสงค์จะดำเนินการตามกฎหมายโดยการยื่นอุทธรณ์ และดำเนินคดีให้ถึงที่สุด เพื่อตามหาความเป็นธรรมให้พี่บิลลี่ต่อไป “
.
นี่คือความยุติธรรมที่ครอบครัวและชาวบ้านบางกลอยนั้นตามหาหรือไม่ ทางมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ขอเชิญชวนสื่อมวลชนและผู้สนใจร่วมส่งกำลังใจให้ครอบครัวของบิลลี่ ชาวบ้านบางกลอย และทนายทุกคนที่สู้กับความอยุติธรรมอย่างถึงที่สุด แต่นี่คือบทสรุปของเรื่องนี้หรือไม่ โปรดติดตามเราอย่างใกล้ชิด
.
ข้อมูลคดีโดยสรุป
‘บิลลี่’ หรือ พอละจี รักจงเจริญ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ชาวชาติพันธุ์กะเหรี่ยง“บางกลอย-ใจแผ่นดิน” ผู้ซึ่งเป็นหลานชายของนายโคอิ มีมิ หรือปู่คออี้ ผู้นำจิตวิญญาณและนักต่อสู้เพื่อสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบิลลี่เป็นคนที่สามารถสื่อสารภาษาไทยและอ่านภาษาไทยได้ จึงทำให้บิลลี่ได้มาทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน รวบรวมข้อมูลให้ทนายความตระเตรียมข้อมูลฟ้องร้องดำเนินคดีปกครองต่อหน่วยงานรัฐที่กระทำละเมิดต่อชาวชาติพันธุ์กะเหรี่ยง“บางกลอย-ใจแผ่นดิน หลังเกิดเหตุการณ์การเผาบ้านปู่คออี้และชาวบ้านกะเหรี่ยง เมื่อปี 2554
.
เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 หลังถูกจับกุมและเอาตัวไปโดยเจ้าหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ในขณะนั้น กับพวกรวม 4 คน หลังจากนั้นไม่มีผู้ใดได้ทราบชะตากรรรมของเขาอีกเลย ห้าปีหลังจากที่เขาหายตัวไป สุดท้ายดีเอสไอได้สืบค้นหาหลักฐานที่บริเวณอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ก็พบพยานหลักฐานชิ้นสำคัญก็คือกระดูกของมนุษย์ และถังน้ำมัน 200 ลิตร และก็เหล็กเส้นประมาณสองแท่ง ดีเอสไอได้ออกมาแถลงการณ์ว่า จากการตรวจสอบสารพันธุกรรมพบว่ามันมีลักษณะตรงกับ โพเราะจี รักจงเจริญ มารดาของ บิลลี่ พอละจี รักจงเจริญอีกด้วย หลังจากพบเจอหลักฐาน กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอและอัยการได้ร่วมกันติดตามสอบสวนจนได้พยานหลักฐานที่เชื่อได้ว่าเจ้าหน้าที่ที่จับกุมนายบิลลี่ไป เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2565 จึงได้ฟ้อง นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร กับพวกรวม 4 คนต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในข้อหา 1. ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน 2. ร่วมกันโดยมีอาวุธข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจ 3. ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นหรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย เป็นเหตุให้ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวถูกกักขังหรือต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกายนั้นถึงแก่ความตาย 4. ร่วมกันโดยทุจริตหรืออำพรางคดีกระทำการใด ๆ แก่ศพหรือสภาพแวดล้อมในบริเวณที่พบศพ ก่อนการชันสูตรพลิกศพเสร็จสิ้นในประการที่น่าจะทำให้การชันสูตรพลิกศพหรือผลทางคดีเปลี่ยนแปลงไป และ 5. เจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งในการพิจารณาคดีได้มีการนัดสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสิ้น 10 นัด ตั้งแต่เดือน เมษายน- เดือนสิงหาคม 2566 เสร็จสิ้น และศาลได้อ่านคำพิพากษาดังกล่าวแล้วในวันนี้
#คดีบิลลี่ #บิลลี่ #บ้านบางกลอย #มูลนิธิผสานวัฒนธรรม #คำพิพากษา

“ยิ่งพักหนี้ ยิ่งเป็นหนี้” เสียงสะท้อนของเกษตรกรจากมาตรการพักหนี้ แต่ก็มีเกษตรกรบางส่วนที่เห็นว่าควรปรับลดอัตราดอกเบี้ยมากกว่า จะช่วยลดภาระได้อย่างเห็นผล

https://www.facebook.com/Mono29News/videos/1336503977260228

#เศรษฐา การบริจาคเป็นสิ่งที่ดี แต่การคุ้มครองสิทธิพื้นฐานในการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนไม่สามารถมาจากการ 'ไม่รับ' เงินภาษี หรือการสงเคราะห์ส่วนตัวแบบนี้ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์กับแค่คนไม่กี่คน เราต้องการให้นายกฯ ผลักดันนโยบาย #รัฐสวัสดิการ ถ้วนหน้า สำหรับประชากรหลายสิบล้านคนทั่วประเทศ


ภาพจาก "รัฐสวัสดิการ ทางเลือกสู่การสร้างคนให้เท่ากันในสังคม?"
The Active.Net





ประชาไท Prachatai.com
June 24, 2022 ·

ปาฐกถาเปิดเวทีขับเคลื่อนรัฐสวัสดิการ 2565 สฤณี อาชวานันท์กุล "ถอดรื้อมายา(อ)คติรัฐสวัสดิการในสังคมไทย" ชี้ไทยไม่ใช่สังคมที่สิ้นไร้ไม้ตอก ไม่ใช่สังคมที่ไม่มีเงินจ่ายเพื่อรัฐสวัสดิการ เป็นแค่สังคมที่รัฐยังไม่เห็นหัวประชาชนมากพอ
25 มิ.ย.65 – ในเวทีขับเคลื่อนรัฐสวัสดิการ 2565 WELFARE STATE 2022 ณ หอศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร จัดโดย เครือข่าย we fair และแนวร่วมรัฐสวัสดิการ #WELFARESTATE2022 ช่วงเช้า สฤณี อาชวานันทกุล กล่าวปาฐกถาหัวข้อ “การถอดรื้อมายา(อ)คติรัฐสวัสดิการในสังคมไทย" โดยช่วงท้ายสฤณีกล่าวถึงมายาคติหนึ่งเกี่ยวกับการสร้างรัฐสวัสดิการว่า “รัฐสวัสดิการทำได้แต่ในประเทศร่ำรวยเท่านั้น ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา จะหาเงินจากไหนมาจ่าย"
อย่างไรก็ตามสฤณีชี้ว่า ที่ผ่านมานักเศรษฐศาสตร์หลายคนได้ออกมาชี้ช่องทางมากมาย ตั้งแต่การปฏิรูประบบภาษีให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น เก็บภาษีจากฐานทรัพย์สินมากขึ้น ลดการรั่วไหลของภาษีลง แต่ดิฉันอยากชวนให้มองอีกมุมด้วย อยากให้เริ่มต้นจากคำถามที่ว่า วันนี้เราอยู่ในสังคมที่รัฐใช้เงินภาษีเราแบบไหน
เราอยู่ในสังคมที่รัฐตกลงจ่ายเงินเป็นหมื่นล้านเพื่อซื้อเรือดำน้ำที่ไม่มีเครื่องยนต์ มีนายพลมากเกินความจำเป็นโดยที่หลายร้อยคนไม่มีหน้าที่ความรับผิดชอบชัดเจน มีอภิมหาเศรษฐีหนีภาษีที่ดินชนิดไม่แคร์สื่อด้วยการปลูกกล้วยเป็นพันเป็นหมื่นต้น บางรายเอาไปโฆษณาว่านี่คือ “โครงการซีเอสอาร์” คืนกำไรสู่สังคมอีกต่างหาก เศรษฐีบางคนไปซอยที่แปลงใหญ่เป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวถี่ๆ สร้างที่ตาบอดขึ้นมา ดูไม่มีเหตุผลทางธุรกิจอะไรรองรับเลยยกเว้นว่าอยากเลี่ยงภาษี
ส่วนภาษีมรดกซึ่งผลักดันกันมานานหลายปี เคยถูกคาดหวังว่าจะช่วยสร้างรายได้เข้ารัฐเป็นกอบเป็นกำ ลดความเหลื่อมล้ำสองเด้งผ่านการเก็บภาษีมรดกจากเศรษฐี และการนำรายได้จากภาษีมาจัดสวัสดิการให้กับประชาชน สุดท้ายภาษีตัวนี้ได้ออกเป็นกฎหมายในยุคสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ คสช. แต่งตั้ง ผ่านมา 5 ปี รัฐเก็บภาษีจริงได้เพียงปีละไม่กี่ร้อยล้านบาท
สังคมไทยไม่ใช่สังคมที่สิ้นไร้ไม้ตอก ไม่ใช่สังคมที่ไม่มีเงินจ่ายเพื่อรัฐสวัสดิการ เป็นแค่สังคมที่รัฐยังไม่เห็นหัวประชาชนมากพอ ยังไม่วาง “คน” เป็นเป้าหมายและหัวใจของการพัฒนาอย่างแท้จริงเท่านั้นเอง
ดิฉันเชื่อว่า บททดสอบที่แท้จริงว่าสังคมของเรามีสิทธิเสรีภาพขนาดไหน มีความเจริญทางวัตถุและจิตใจเพียงใด วัดไม่ได้จากสิทธิเสรีภาพและความเป็นอยู่ของอภิสิทธิ์ชน คนที่อยู่บนสุดของยอดพีระมิด แต่ต้องวัดจากสิทธิเสรีภาพและความเป็นอยู่ของสมาชิกในสังคมที่อ่อนแอที่สุด ไร้อำนาจต่อรองที่สุด รวมทั้งเราต้องมองไปในอนาคต มองแนวโน้มสิทธิเสรีภาพและความเป็นอยู่ของคนรุ่นหลังที่ยังไม่เกิดมาด้วย ตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน
รัฐสวัสดิการถึงที่สุดแล้วไม่ได้เป็นแค่เรื่องของความยุติธรรมทางสังคม ไม่ได้เป็นแค่หนทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในศตวรรษที่ 21 ที่ตอบโจทย์ความท้าทายของเราได้ สุดท้ายมันเป็นเรื่องของคำถามที่ว่า เราอยากเป็นคนแบบไหน และเราอยากอาศัยอยู่ในสังคมประเภทไหน
ดิฉันมองว่ารัฐสวัสดิการเป็นหัวใจของการสร้างสังคมที่น่าอยู่ สังคมที่เอื้อให้สมาชิกในสังคมมีความเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน มีจิตสาธารณะ และมีภราดรภาพกับเพื่อนพลเมือง
รับชมเสวนาได้ที่: https://youtu.be/mVnkXqzQhk0
#รัฐสวัสดิการ #WELFARESTATE2022

ผู้นำฝ่ายค้านในสภาสำคัญอย่างไร ก้าวไกลถึงยอมให้ทัวร์ลง



ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรเป็นตำแหน่งที่ต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ผู้นำฝ่ายค้านจะอยู่ในตำแหน่งเท่ากับอายุของสภา เว้นแต่ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ

ที่มาที่ไป


ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์รัฐสภาระบุว่า ผู้นำฝ่ายค้านจะเกิดขึ้นในประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และมีเฉพาะในสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น มักจะเกิดขึ้นกับประเทศที่มีระบบ 2 พรรคหรือหลายพรรค อังกฤษซึ่งเป็นประเทศต้นแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาให้ความสำคัญกับพรรคฝ่ายค้านเป็นอย่างมาก เทียบเท่ากับพรรคฝ่ายรัฐบาล


ในส่วนของไทย ตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านเกิดขึ้นครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญ 2517 ซึ่งกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวระบุว่า “เราก็รับมาจากแนวของอังกฤษ” จากนั้นมีการบัญญัติเรื่องนี้ไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ รัฐธรรมนูญ 2521, 2534, 2540, 2550, 2560


ผู้นำฝ่ายค้านในอดีต


ในรอบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ไทยมีผู้นำฝ่ายค้านในสภาทั้งสิ้น 9 คน โดยพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ส่งหัวหน้าพรรคเข้ายึดครองเก้าอี้ผู้นำฝ่ายค้านในสภามากที่สุด 4 คน ขณะที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ (ควม.) บันทึกสถิติเป็นผู้นำฝ่ายค้านมากที่สุด 4 สมัย

1. ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช พรรคประชาธิปัตย์ 1 สมัย (22 มี.ค. 2518 - 12 ม.ค. 2519)

2. พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร พรรคชาติไทย 2 สมัย (24 พ.ค. 2526-1 พ.ค. 2529 และ 30 ต.ค. 2535-7 พ.ค. 2537 )

3. พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ พรรคความหวังใหม่ 4 สมัย (15 พ.ค.-16 มิ.ย. 2535, 26 พ.ย. 2540-2 มิ.ย. 2541, 2 ก.ย. 2541- 27 เม.ย. 2542, 12 พ.ค. 2542-9 พ.ย. 2543)

4. บรรหาร ศิลปอาชา พรรคชาติไทย 1 สมัย (27 พ.ค. 2537-19 พ.ค. 2538)

5. ชวน หลีกภัย พรรคประชาธิปัตย์ 3 สมัย (4 ส.ค. 2538-27 ก.ย 2539, 21 ธ.ค. 2539-8 พ.ย. 2540, 11 มี.ค. 2544-3 พ.ค. 2546)

6. บัญญัติ บรรทัดฐาน พรรคประชาธิปัตย์ 1 สมัย (23 พ.ค. 2546-5 ม.ค. 2548)

7. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พรรคประชาธิปัตย์ 3 สมัย 23 เม.ย. 2548-24 ก.พ. 2549, 27 ก.พ. 2551-17 ธ.ค. 2551, 16 ก.ย. 2554-9 ธ.ค. 2556)

8. สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ พรรคเพื่อไทย 2 สมัย (17 ส.ค. 2562-26 ก.ย. 2563, 6 ธ.ค. 2563-28 ต.ค. 2564)

9. ชลน่าน ศรีแก้ว พรรคเพื่อไทย 1 สมัย (23 ธ.ค. 2564-20 มี.ค. 2566)

สำหรับหัวหน้าพรรค ก.ก. คนต่อไป กำลังจะกลายเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาคนที่ 10 ของไทย



อำนาจหน้าที่


หากถามว่าตำแหน่งนี้สำคัญอย่างไร เชื่อว่าบทบาทของผู้นำฝ่ายค้านที่สังคมจดจำได้น่าจะเกิดขึ้นในระหว่างการประชุมนัดสำคัญ ๆ ของสภาล่าง โดยเฉพาะการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล และการอภิปรายร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปี

ผู้นำฝ่ายค้านในสภาจะรับบท “ผู้อภิปรายเปิด” โดยพูดเป็นคนแรกเพื่อโหมโรง-ฉายภาพรวม-กระตุ้นให้ประชาชนติดตามตอนต่อไป และเป็น “ผู้อภิปรายปิด” ขมวดปมสำคัญ ๆ ที่เพื่อนสมาชิกอภิปรายมาตลอดหลายวันหลายชั่วโมง ทิ้งคำถามคาใจไว้ให้สังคม และขยี้ข้อสังเกตที่เป็นเหตุให้ฝ่ายค้านไม่อาจไว้วางใจรัฐบาลได้

แต่ในระยะหลัง-ในยุคเพื่อไทยตกที่นั่งแกนนำพรรคฝ่ายค้าน ได้ใช้สูตรให้ผู้นำฝ่ายค้านในสภาอภิปรายเปิด และให้ประธานกรรมการประสานงานพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภา (ประธานวิปฝ่ายค้าน) รับหน้าที่อภิปรายปิด

ทว่าอำนาจหน้าที่สำคัญของผู้นำฝ่ายค้านที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560 คือ เป็นองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา 203) เป็นองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ 4 องค์กร (มาตรา 217) ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 5 จาก 7 คน (อีก 2 คนเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา), ผู้ตรวจการแผ่นดิน 3 คน, คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) 9 คน และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) 7 คน

สำหรับคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา, ประธานสภาผู้แทนราษฎร, ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร, ประธานศาลปกครองสูงสุด และบุคคลซึ่งองค์กรอิสระแต่งตั้งจากผู้มีคุณสมบัติตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ องค์กรละ 1 คน


นอกจากนี้ผู้นำฝ่ายค้านในสภายังเป็นหนึ่งในคณะกรรมการร่วม 5 คน เพื่อวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ใดเป็นกฎหมายปฏิรูป ตามรัฐธรรมนูญ หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ หรือไม่ ในกรณีที่ ครม. และสมาชิกรัฐสภาเห็นไม่ตรงกัน (มาตรา 270 วรรคสี่)

ขณะที่ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร 2562 ข้อ 15 กำหนดให้ผู้นำฝ่ายค้านในสภาเสนอให้ประธานสภาแต่งตั้งประธาน 1 คน และกรรมการวิปฝ่ายค้านไม่เกิน 24 คน

นั่นหมายความว่า หากไม่มีผู้นำฝ่ายค้านในสภา ก็ไม่อาจแต่งตั้งประธานวิปฝ่ายค้านได้ และอาจทำให้การทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติไม่ราบรื่น เพราะขาดการประสานงานการประชุมในนามพรรคร่วมฝ่ายค้าน

อำนาจหน้าที่ของวิปฝ่ายค้านที่ถือปฏิบัติกันมาช้านานในการประชุมสภานัดสำคัญ ๆ คือ เข้าร่วมประชุมกับประธานสภา วิปรัฐบาล และวิปวุฒิ (กรณีประชุมร่วมรัฐสภา) เพื่อกำหนดกรอบเวลาในการพิจารณาญัตติ/ร่างกฎหมายต่าง ๆ จากนั้นก็นำมติกลับมาแจ้งพรรคร่วมฝ่ายค้านเพื่อกำหนดกรอบเวลาในการอภิปรายของแต่ละพรรค พอถึงวันประชุมจริง ก็ทำหน้าที่จัดคิว-ดีลคน-กำกับทิศทางการลงมติของ สส.ฝ่ายค้าน

ดูเหมือนพิธาเองก็ตระหนักในสิ่งนี้ จึงต้องการเปิดทางให้พรรคมีผู้นำคนใหม่ และเปิดทางให้สภามีผู้นำฝ่ายค้าน

ที่มา
ผู้นำฝ่ายค้าน-รองประธานสภา สรุปเงื่อนไขที่ก้าวไกลต้องแลกหลังพิธาลาออกหัวหน้าพรรค
บีบีซีไทย