วันศุกร์, ธันวาคม 31, 2564

ปี ๖๕ มันแน่ ม้อบต้านประยุทธ์จะกลับมาแรง แถมในสภาฝ่ายค้านพร้อม ยื่นแก้รัฐธรรมนูญไล่ สว.อีก

มันเป็นเช่นนั้น ดัง ชำนาญ จันทร์เรือง@chamnanxyz ว่า ม็อบต้านประยุทธ์ไม่ได้ ‘แผ่ว’ แต่ ‘ผ่อน’ ชั่วคราวเท่านั้น “ปี ๖๕นี้ อย่ากระพริบตาก็แล้วกัน” ราษฎร-เยาวชน ลงถนนกันอีกแน่ แม้แต่ ‘เค้าท์ดาวน์’ ส่งปีเก่าคืนนี้ ก็ยังมีม็อบรับปีใหม่หน้าเรือนจำคลองเปรม

“ส่งกำลังใจให้เพื่อนของเรา ที่ยังต่อสู้อยู่ในเรือนจำ” ข้อความบนเพจ ราษฎรย้ำเตือนความยุติธรรม โดยชักชวน “พี่น้องราษฎรทุกท่าน...นับถอยหลังสู่ศักราชใหม่แห่งการต่อสู้ด้วยกัน” พบกันตั้งแต่เวลา ๕ โมงเย็นถึงตีห้า

บนสภาก็เช่นกัน ปีใหม่นี้ความพยายามยับยั้งการสืบทอดอำนาจรัฐประหาร คสช.ก็ไม่หยุดยั้ง ประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทยแจ้งว่า “เปิดปีใหม่มา เราพรรคร่วมฝ่ายค้านจะเรียกประชุมกันทันที” วันที่ ๔ มกรา ๖๕ หรือใกล้เคียง

เพื่อ “ยื่นเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจตามมาตรา ๑๕๒ หลังปีใหม่...กรอบแรกที่วางไว้ว่าจะยื่นภายในประมาณวันที่ ๑๕ มกราคม” แต่อาจปรับเปลี่ยนได้ ขณะที่ ผู้นำฝ่ายค้านหมอชลน่าน ศรีแก้ว เปิดเผยแผนยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเรื่องอายุขัย ๘ ปีการดำรงตำแหน่งของนายกฯ

“ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ ยังคงดำรงตำแหน่งอยู่ตั้งแต่วันที่ ๒๔ ส.ค. ๖๕ เป็นต้นไป ถือว่ามีเหตุอันควรที่จะต้องยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม...เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมองว่านายกฯ ดำรงตำแหน่งครบ ๘ ปี ในวันที่ ๒๓ ส.ค. ๖๕”

หมอชลน่านชี้แจงด้วยว่านั่นเป็นการตีความรัฐธรรมนูญที่ว่า เริ่มนับหนึ่งประยุทธ์เป็นนายกฯ เมื่อ ๒๔ สิงหา ๒๕๕๗ จึงต้องรอจังหวะประยุทธ์ครบวาระ ๒๔ สิงหาแล้วยื่น จึงจะเข้าเงื่อนไของค์ประกอบตาม รธน. มาตรา ๑๕๘ และ ๒๖๔

ไม่ใช่ตามการตีความของฝ่ายกฎหมายรัฐสภา ที่บอกว่าประยุทธ์จะครบกำหนดดำรงตำแหน่งนายกฯ ๘ ปี ใน พ.ศ. ๒๕๗๐ เนื่องจากไม่ใช่กงการของเจ้าหน้าที่รัฐสภาจะมาชี้สถานะนายกฯ ได้ หากจะให้มีผลบังคับ จักต้องผ่านการประชุมของรัฐสภา

นอกจากนั้นยังจะมีการยื่นญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๗๒ ยกเลิกอำนาจในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีและคณะในการประชุมรัฐสภา คงไว้แต่หน้าที่ตรวจสอบและกลั่นกรองร่างกฎหมายอันนี้เป็นข้อเสนอจาก สมชัย ศรีสุทธิยากร สมาชิกพรรคเสรีรวมไทย

ด้วยเหตุผลว่า “ส.ว.ชุดปัจจุบัน ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)” จึงสมควรที่การลงมติรับรองนายกรัฐมนตรี ต้องมาจากสภาผู้แทนฯ ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเท่านั้น

อย่างไรก็ดีจะมีกระบวนการรวบรวมรายชื่อประชาชนสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว “ตั้งเป้าว่าจะได้รายชื่อ ๗ หมื่นรายชื่อ และหากได้ตามกำหนด คาดว่าจะเสนอบรรจุเข้าวาระการประชุมได้ในสมัยประชุมหน้า หากไม่มีอุบัติเหตุยุบสภาไปก่อน”

การรวบรวมรายชื่อจะเริ่มตั้งแต่ต้นมกราไปจนถึงสิ้นมีนา ๖๕ และให้ประชาชนร่วมลงชื่อ “จะเป็นวิธีการผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น” สมชัยเอ่ยถึงการที่มีข้อเสนอกฎหมายลักษณะนี้เข้าถึงรัฐสภามาแล้ว ๓ ครั้ง แต่ถูกตีตกไปด้วยเสียงของ สว.ตู่ตั้ง

ทั้งนี้ทั้งนั้น ประเด็นปัญหาด่ากันไปด่ากันมาระหว่าง ติ่งส้มสามกีบกับติ่งเทิดทูน พี่โทนี่อันเป็นที่รักใคร่ของพรรคเพื่อไทย หมอชลน่านให้ความหวังว่า ถึงปีหน้าเป้าหมายเชิงอุดมการณ์ร่วมกันของพรรคฝ่ายค้านก็จะยังคงอยู่

“เราต้องการกำจัดประชาธิปไตยเผด็จการซ่อนรูปออกไปให้ได้...เราไม่มองว่าวิธีปฏิบัติที่แตกต่างเป็นความแตกแยกหรือทำงานร่วมกันไม่ได้...เมื่อเรามีเป้าหมายร่วมกันแม้วิธีต่างกันเราเชื่อว่าสามารถทำงานร่วมกันได้ ถ้าไม่มีเหตุผลทางการเมืองอื่นแอบแฝง”

(https://www.bangkokbiznews.com/news/976441, https://www.thairath.co.th/news/politic/2277470 และ https://www.matichon.co.th/politics/news_3111563)

หากคิดถึงเพื่อนเราในคุก ปีใหม่ปีนี้ ร่วมส่งท้ายปีที่เรือนจำ แล้วส่งรูปไปให้เพื่อนเราดู นานเท่าไรแล้วที่เพื่อนเราถูกทรราชสั่งกักขัง ?


แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม - United Front of Thammasat and Demonstration
8h ·

ปีใหม่ปีนี้ ร่วมส่งท้ายปีที่เรือนจำ
.
วันที่ 31 ธันวาคมนี้ มาร่วมกันเคาท์ดาวน์ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับศักราชใหม่แห่งการเปลี่ยนแปลง ที่หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ตั้งแต่เวลา 17:00 - 05:00 น.
.
ในปีที่เพื่อนเราไม่ได้กลับบ้านมาหามิตรสหายและครอบครัว สิ่งที่เราทำได้คือแสดงให้คนข้างในได้รู้ว่า ยังมีคนข้างนอกคอยให้กำลังใจและเฝ้ารอการกลับมาของพวกเขาอยู่เสมอ
.
มาอยู่เป็นเพื่อนและย้ำเตือนความยุติธรรมให้แก่เพื่อนเรา
#ปล่อยเพื่อนเรา
#ยกเลิก112
#สวัสดีปีใหม่


แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม - United Front of Thammasat and Demonstration
7h ·

นานเท่าไรแล้วที่เพื่อนเราถูกทรราชสั่งกักขัง?
.
เพนกวิน พริษฐ์ 144 วัน
ไผ่ดาวดิน 144 วัน
ทนายอานนท์ 142 วัน
ไมค์ ระยอง 98 วัน
เบนจา อะปัญ 85 วัน
.
ตัวเลขเหล่านี้คือจำนวนวันที่เพื่อนเราถูกกักขังอย่างมิชอบโดยกฎหมาย แต่ด้วยใบสั่งจากเบื้องบนที่หวาดกลัวต่อพลังของประชาชน เพื่อนเราจึงยังไม่ได้ออกมาสัมผัสเสรีภาพอย่างคนอื่น ๆ มากว่าหลายเดือนแล้ว
.
เมื่อความยุติธรรมยังไม่บังเกิด การเปลี่ยนแปลงจากประชาชนย่อมกำเนิดขึ้น เพื่อทำลายอำนาจของเผด็จการและสมบูรณาญาสิทธิราช

#ยกเลิก112
#ปล่อยเพื่อนเรา

🤴🏻⚠️จากกรณีขบวนเสด็จ ราชวงศ์รักประชาชนจริงหรือไม่?


ทะลุฟ้า - thalufah
Yesterday at 9:24 AM ·

ยกเลิก 112 สถาบันกษัตริย์ต้องวิจารณ์ได้ EP.2
จากกรณีขบวนเสด็จ ราชวงศ์รักประชาชนจริงหรือไม่?
เวลามีขบวนเสด็จหลายคนอาจจะนึกภาพออกว่าจะต้องมีการปิดถนน ปิดการจราจร เพื่อเคลียร์เส้นทางการเดินรถให้กับทางราชวงศ์ ทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดขึ้นอย่างหนัก ซึ่งในบางครั้งนั้นก็เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่คนทั่วไปนั้นรีบเร่ง ซึ่งนอกจากจะเคลียร์ถนนแล้วก็ยังมีการไล่ตะเพิดทั้งคนทั้งสัตว์ออกจากบริเวณสะพานลอยและบริเวณใกล้เคียงเยี่ยงหมูเยี่ยงหมาเพื่อไม่ให้มาเกะกะสายตาของราชวงศ์อีกด้วย ดังนั้นวันนี้พวกเราจึงอยากจะชวนทุกคนมาขบคิดกันว่ามันมีความจำเป็นมากมั้ยที่พวกเราจะต้องยอมเดือดร้อนให้คนเพียงไม่กี่คนนั้นสบาย และการที่ราชวงศ์ทำให้ประชาชนเดือดร้อนแบบนี้ ราชวงศ์รักประชาชนจริงๆน่ะหรือ หรือแค่แสร้งว่ารักเพื่อใช้เป็นแค่สิ่งของอำนวยความสะดวกให้แก่ตนเอง
ในแง่ของความเป็นสาธารณะของถนน แน่นอนว่าถนนที่ใช้สัญจรทั่วไปนั้นเกิดจากการอนุมัติงบประมาณซึ่งก็คงไม่ต้องถามว่าเงินที่ใช้สร้างนั้นมาจากไหน พูดง่ายๆมันก็มาจากเงินที่เรียกว่าภาษีที่ประชาชนทุกคนรวมหัวกันจ่ายเข้าประเทศเพื่อมาพัฒนาประเทศยังไงล่ะ ใช่แล้ว เงินสร้างถนนเหล่านั้นไม่ได้มาจากทรัพย์สินของราชวงศ์แม้แต่บาทเดียว แต่เป็นเงินที่ประชาชนใช้สร้าง ดังนั้นเหตุไฉนแล้วทางเชื้อราชวงศ์จึงเป็นเพียงคนกลุ่มเดียวที่สามารถใช้ถนนทุกสายได้อย่างอิสระเสรี ในขณะที่คนจ่ายเงินสร้างถนนยังต้องมาติดแหง็กอยู่ในรถ เพื่อให้คนที่ไม่ได้จ่ายเงินสร้างสร้างถนนมาขับรถไปไหนมาไหนอย่างสบายใจ แถมคนจ่ายยังต้องมาโดนไล่ออกจากพื้นที่เหมือนหมูเหมือนหมาอีก
ไม่เพียงแค่บนถนนเท่านั้น บางทีนั้นก็ถึงขั้นต้องมีการปิดน่านฟ้าเพื่อให้เครื่องบินพระที่นั่งได้บินก่อน ลงจอดก่อน ทำให้ผู้ที่ต้องเดินทางทางอากาศนั้นต้องเสียเวลาในการเดินทางอีกด้วย เพราะบางครั้งจะมีการปิดถนน/ปิดน่านฟ้าเพื่อให้คนหยุดนิ่งรออยู่นานนับชั่วโมงกว่าขบวนเสด็จจะมาถึงและผ่านไป นี่คืออีกตัวอย่างหนึ่งของการที่ราชวงศ์นั้นประพฤติตนราวกับว่าตนเองเป็นเจ้าของทุกอย่างในประเทศนี้ ซึ่งจริงๆแล้วก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้น
นอกจากคนทั่วไปจะเดือดร้อนแล้ว สัตว์ทั่วไปที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ก็ได้รับความเดือดร้อนเช่นกัน หากทุกคนยังพอจำได้ มีสุนัขข้างถนนหลายตัวต้องโดนวางยาโดนจับฉีดยาให้สลบ บางตัวถึงตาย เพื่อไม่ให้มาเดินเกะกะสายตาคนเหล่านั้น สิ่งนี้ค่อนข้างโหดร้ายและทารุณมาก ต่อให้ทางราชวงศ์จะไม่ได้เป็นคนสั่งให้ทำก็ตาม แต่นี่มันก็เกิดเป็นคำถามว่า ถ้าขบวนเสด็จไม่ทำตัวเรื่องมาก คนและสัตว์ทุกหย่อมหญ้าจะเดือดร้อนขนาดนี้หรือไม่
ในแง่ของความสิ้นเปลือง ในการเสด็จบางครั้งนั้นก็จะเป็นการเสด็จเพื่อไปทรงงานพิธีต่างๆ โดยค่าใช้จ่ายในการเสด็จนั้น บางครั้งมีค่าใช้จ่ายหลักหลายแสนบาทเลยทีเดียว เนื่องจากว่าการรับเสด็จต้องมีการจัดเตรียมสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆอีกด้วย ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้วคนๆนึงจำเป็นต้องใช้เงินสิ้นเปลืองขนาดนี้เลยหรือเปล่า แล้วทำไมถึงกล้าที่จะมาเป็นตัวอย่างสอนให้ผู้อื่นประหยัดและพอเพียงกัน
จากแง่มุมต่างๆที่ยกมาจึงสามารถพอสรุปได้ว่าแท้จริงแล้วบรรดาราชวงศ์นั้นไม่ได้มีความรักใคร่เอ็นดูพสกนิกรอย่างแท้จริงมาโดยตลอดไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคกี่สมัย เพราะราชวงศ์นั้นไม่เคยจะสนใจความเดือดร้อนของพสกนิกร และพร้อมที่จะลอยหน้าลอยตาใช้ชีวิตอย่างอิสระเสรีและสะดวกสบายอย่างไม่ต้องแคร์ว่าใครจะเดือดร้อนหรือรีบเร่งแค่ไหนก็ตาม เช่นนี้แล้วจึงไม่สามารถเรียกได้ว่าราชวงศ์รักพสกนิกร แต่ต้องเรียกว่าราชวงศ์นั้นรักเพียงแค่ตนเองเท่านั้น
แต่โดยทั่วไปแล้วการวิพากษ์วิจารณ์พฤติกรรมของราชวงศ์เช่นนี้นั้นไม่สามารถพูดได้และไม่เคยถูกตั้งคำถามอย่างเป็นทางการถึงปัญหาเพราะมีมาตรา 112 เข้ามาปิดปากคนทั่วไป และปัญหาของขบวนเด็จนั้นก็แทบจะพูดถึงไม่ได้เลยในรัฐสภา ทำให้ปัญหาของขบวนเสด็จนั้นยังคงมีอยู่และไม่ถูกแก้ไขสักที ดังนั้นเราทะลุฟ้าจึงต้องมายกเพดานในการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ผ่านบทความนี้ เพื่อเป็นอีกหนึ่งแคมเปญในการรณรงค์ยกเลิกมาตรา 112
รับเงินภาษีประชาชน = บุคคลสาธารณะ
บุคคลสาธารณะ = ต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้

#ทะลุฟ้า
#ยกเลิก112
#ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์

ชูป้ายผืนเดียว "ไอ้ษัตริย์ ปล่อยเพื่อนกู" ขณะกำลังจะมีขบวนเสด็จผ่าน เส้นบริเวณ ข้างลานพระบรมรูปทรงม้า เป็นเรื่อง ตำรวจเข้าคุมตัว 2นักกิจกรรม เป็นเยาวชน1คน


กิจกรรม #ปล่อยเพื่อนเรา หน้าเรือนจำคลองเปรม จัดทุกวัน เพื่อให้กำลังใจผู้ถูกคุมขังคดีการเมือง และยืนยันว่า "ไม่ใครลืมพวกเขา" #BreakingViews


weeranan
@weeranan

·10h

#BreakingViews พามาร่วมกิจกรรม #ปล่อยเพื่อนเรา หน้าเรือนจำคลองเปรม ทั้งร้องเพลง และปราศรัย โดยมวลชน-ศิลปินราษฎร จัดทุกวัน เพื่อให้กำลังใจผู้ถูกคุมขังคดีการเมือง และยืนยันว่า "ไม่ใครลืมพวกเขา" #ยกเลิก112 . ชมคลิปทาง https://youtu.be/pVzn1Tnf0TE

#VoiceTV #ปล่อยเพื่อนเรา #เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
Breaking Views 30 ธ.ค. 64 - 'จับขัง-ค้านประกัน' รอไต่สวนปี 65

Streamed live 12 hours ago

VOICE TV

'จับขัง-ค้านประกัน' รอไต่สวนปี 65

ปี 2564 ถือว่าเป็นปีแห่งการจับขัง-ค้านประกันแกนนำราษฎร ซึ่งจัดชุมนุมขับไล่รัฐบาล และขยับเพดานยกเลิก ม.112 มาตั้งแต่ปี 2563 ขณะที่ในปี 2565 จะกลายเป็นปีแห่งการไต่สวน และตัดสินคดี โดย เพนกวิน-ไมค์-อานนท์-ไผ่ ประกาศไม่ขอยื่นประกันตัวอีกแล้ว! คุยกับ 'กฤษฎางค์ นุตจรัส' ทนายความแกนนำราษฎร และไปฟังความรู้สึกของมวลชน ที่ยังจัดกิจกรรม 'ปล่อยเพื่อนเรา' หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

สมัครสมาชิกเพื่อรับสิทธิพิเศษ (Membership) 

VOICE TV



กิจกรรมรณรงค์ #ปล่อยเพื่อนเรามาคืนประชาธิปไตย ณ Icon siam 🔴Live 30 ธ.ค. 64


ภาพจาก ประชาไท

ทะลุฟ้า - thalufah
8h ·

ภาพบรรยากาศกิจกรรมรณรงค์ทะลุฟ้า
#ปล่อยเพื่อนเรามาคืนประชาธิปไตย
30 ธันวาคม 2564 ณ Icon Siam
อีก 2 วันก็จะเข้าปีใหม่ แต่เพื่อนเราอีกหลายคนยังต้องอยู่ในคุกอย่างโดดเดี่ยว คุกนั้นเหมาะกับการเป็นที่เคาน์ดาวน์สำหรับผู้เห็นต่างอย่างนั้นหรือ
ในขณะที่ทุกคนได้กลับบ้านเฉลิมฉลองและใช้เวลาในช่วงปีใหม่กับคนรักและครอบครัว แต่เพื่อนเราที่เรียกได้ว่าเป็น ‘ผู้หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายกษัตริย์’ ซึ่งถูกกล่าวหาตามมาตรา 112 ต้องนอนอย่างอ้างว้างภายในแดนขังไร้ซึ่งเสียงดนตรีและบรรยากาศการเฉลิมฉลองและความสุข ว่าด้วยมาตรา 112 ที่บัญญัติมาเพื่อปกป้องสถาบัน หากประชาชนจะรัก คงรักด้วยตัวตน หาใช่รักเพราะมีมาตรา 112 ไว้ปกป้องไม่
น่าเสียดายที่เราออกมาเรียกร้องเพื่อแก้ไขปัญหาให้ประเทศนี้แต่เรากลับได้คดีความ ในประเทศนี้ไม่รับฟังเสียงความจริง เจตนาที่เราออกมาเรียกร้องก็เพื่อพูดถึงปัญหาของสังคม แต่เขากลับไม่ฟังข้อเรียกร้องและนำไปปรับแก้ แต่เอาเพื่อนเรามาขังคุก
ต่อไปนี้คงถึงเวลาแล้วที่เราต้องออกมารวมพลัง ชัยชนะย่อมเกิดจากความหวังเล็กๆน้อยๆของผู้ที่ไม่ยอมแพ้

#ปล่อยเพื่อนเรา
#คุกไม่ใช่ที่เคาท์ดาวน์สำหรับคนเห็นต่าง
#ทะลุฟ้า






'ทะลุฟ้า' ใส่หน้ากาก-ถือป้าย ร้องคืนสิทธิ์ประกันตัวให้นักกิจกรรมการเมืองที่ไอคอนสยาม

ก่อนปีใหม่ 'ทะลุฟ้า' ใส่หน้ากาก ถือป้าย ทำกิจกรรมเรียกร้องคืนสิทธิ์ประกันตัวให้นักกิจกรรมการเมือง ณ ห้างไอคอนสยาม ท่ามกลางเจ้าหน้าที่ ตร. ทั้งในและนอกเครื่องแบบ ติดตามการทำกิจกรรมอย่างใกล้ชิด

30 ธ.ค. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานวันนี้ (30 ธ.ค.) เวลา 17.50 น. ที่หน้าจุดขายตั๋วภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้าไอคอนสยาม สมาชิกกลุ่มทะลุฟ้า จำนวนมากกว่า 10 คน สวมหน้ากากเป็นใบหน้านักกิจกรรมการเมืองที่ถูกคุมขัง เช่น ภาณุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์ อานนท์ นำภา พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน ทำกิจกรรม รณรงค์ #ปล่อยเพื่อนเรามาคืนประชาธิปไตย เรียกร้องสิทธิการประกันตัวให้ผู้ต้องขังทางการเมือง
.
กลุ่มทะลุฟ้า มีการถือป้ายภาพพิมพ์ รูปนักกิจกรรมทางการเมืองที่ยังคงถูกคุมขังในเรือนจำจากคดีมาตรา 112 เขียนว่า 'เพื่อนเราก็มีบ้านให้กลับ' และ 'ปีใหม่คุณได้กลับบ้าน แล้วนักโทษการเมืองล่ะ' พร้อมกับชูสามนิ้ว และตะโกนเปล่งเสียงข้อความ ในบทกวี 'ผู้ใดในโลกหล้า' ประพันธ์โดยวิสา คัญทัพ ความว่า

"ไม่มีอำนาจใดในโลกหล้า ผู้ปกครองต่างมาแล้วสาปสูญ
ไม่มีใครล้ำเลิศน่าเทิดทูน ประชาชนสมบูรณ์นิรันดร์ไป
เมื่อยืนหยัดต่อสู้ผู้กดขี่ ประชาชนย่อมมีชีวิตใหม่
เมื่อท้องฟ้าสีทองผ่องอำไพ ประชาชนย่อมเป็นใหญ่ในแผ่นดิน"


หลังจากนั้น กลุ่มนักกิจกรรมได้ร่วมกันตะโกน "ปล่อยเพื่อนเรา" และ "ยกเลิกมาตรา 112" พร้อมเดินรณรงค์ลงมาจนถึงลานน้ำพุของห้างที่ชั้นหนึ่ง ท่ามกลางนักท่องเที่ยวจำนวนมากในช่วงหยุดยาวสิ้นปี 2564

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ทางเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไอคอนสยาม ประกาศผ่านโทรโข่งว่า สถานที่ส่วนบุคคลห้างไอคอนสยาม ขอสงวนสิทธิ์ในการใช้พื้นที่ทั้งภายในและบริเวณโดยรอบอาคาร อนุญาตเฉพาะกิจกรรมที่มีการขออนุญาตล่วงหน้าเท่านั้น กรณีที่มีการฝ่าฝืนบริษัทขอสงวนสิทธิ์ที่จะดำเนินการตามกฎหมาย รวมถึงฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย

ขณะนี้ มีสื่อมวลชนคอยติดตามรายงาน รวมถึงเจ้าหน้าที่ห้าง และเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบหลายนาย เดินติดตามการทำกิจกรรมของกลุ่มทะลุฟ้าอย่างใกล้ชิด

เวลา 18.13 น. นักกิจกรรมร่วมกันร้องเพลงชาติ และยังคงยืนถือป้ายอย่างสงบอยู่บริเวณลานน้ำพุ ด้านหลังห้าง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยยังไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือ รปภ.ห้างเข้าไปขัดขวาง

เวลา 18.20 น. ต๋ง ทะลุฟ้า ตัวแทนกล่าวก่อนจบกิจกรรมถึงเพื่อนของพวกเขาที่ยังคงถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดีโดยไม่ได้รับสิทธิประกันตัว ทั้งที่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องปกติ แต่พวกเขาควรได้รับสิทธิประกันตัวออกมา เพราะคดียังคงไม่คำพิพากษาว่าพวกเขาได้กระทำความผิด และพวกเขาเพียงออกมาพูดถึงสถาบันกษัตริย์ อีกทั้งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองก็รับรองไว้

พวกเขาควรได้ออกมาใช้ชีวิตปกติในช่วงวันหยุดปีใหม่เหมือนคนอื่นๆ แต่พวกเขากลับต้องถูกขังข้ามปี ขออย่าให้ทุกคนลืมพวกเขาด้วย

หลังกล่าวเสร็จ กลุ่มทะลุฟ้า ยุติการทำกิจกรรม และแยกย้ายออกจากพื้นที่

ที่มา ประชาไท

To Inspire you, Please listen to Amanda Gorman Inspiring Poem Dedicated to the New Year "We will forever overcome"

ลิงค์ 

https://www.instagram.com/p/CYEpCgxBTAf/?utm_source=ig_embed&ig_rid=0d0b5b8e-faba-4ae5-90fa-92bea01ba19f



AMANDA GORMAN RECITES INSPIRING POEM DEDICATED TO THE NEW YEAR
Titled “A New Day’s Lyric.”

Amanda Gorman, a National Youth Poet Laureate who delivered “The Hill We Climb” at this year’s presidential inauguration, has returned with a brand new poem titled “A New Day’s Lyric.”

Debuted by Instagram, the performance was filmed inside a theater starring Gorman dressed in a pearly white one-shoulder dress. “This hope is our door, our portal,” Gorman recites. “Even if we never get back to normal, someday we can venture beyond it, to leave the known and take the first steps. So let us not return to what was normal, but reach toward what is next.”

“I wrote ‘A New Day’s Lyric’ both to celebrate the new year and honor both the hurt and the humanity of the last one,” the poet and activist explains in her caption. In addition to her inspiring words, Gorman is raising funds for the International Rescue Committee (IRC), which aims to provide “lifesaving programs to vulnerable communities worldwide.” As of writing, Instagram has pledged $50,000 USD to the cause.

Source: Hypebae.com

ชาวเน็ตจีนร่วมรำลึกครบรอบ 2 ปี แพทย์คนแรกแจ้งเตือนโควิด-19



ชาวเน็ตจีนร่วมรำลึกครบรอบ 2 ปี แพทย์คนแรกแจ้งเตือนโควิด-19

30 ธันวาคม 2564
จส.100

ชาวจีนหลายพันคนโพสต์ข้อความทาง เวยปั๋ว (Weibo) สื่อสังคมออนไลน์ยอดนิยมของจีน ในวันนี้ (30 ธันวาคม 2564) ครบ 2 ปีนับแต่นายแพทย์หลี่ เหวินเหลียง จักษุแพทย์ประจำโรงพยาบาลกลางอู่ฮั่น (Wuhan Central Hospital) ทางภาคกลางของจีน ทราบเรื่องเกี่ยวกับเชื้อโคโรนาไวรัส ที่มีลักษณะคล้ายโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง หรือโรคซาร์ส เป็นครั้งแรก และยังเป็นไวรัสที่สามารถจะทำให้เกิดโรคปอดบวมด้วย พร้อมทั้งแชร์ข้อมูลเรื่องนี้ถึงบรรดาเพื่อนแพทย์ชาวจีน เพื่อให้ทราบอันตรายจากเชื้อไวรัสตัวนี้ ซึ่งต่อมา องค์การอนามัยโลก(WHO)ตั้งชื่อว่า โควิด-19

ผู้ใช้สื่อออนไลน์จีนคนหนึ่ง โพสต์ข้อความว่า ‘สุขสันต์วันปีใหม่ นพ.หลี คุณจะอยู่ในความทรงจำของพวกเราตลอดไป’ ขณะที่คนอื่นๆโพสต์รูปภาพจุดเทียน ส่งข้อความสั้นๆว่า ‘ขอบคุณ ระยะเวลาสองปีผ่านไปเร็วมาก’

ในตอนแรก นพ.หลี่ ได้เห็นบันทึกทางการแพทย์ฉบับหนึ่งเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2562 ชี้ว่า โรคโควิด-19 อาจจะแพร่ระบาดในเมืองอู่ฮั่น โพสต์ข้อความแจ้งเรื่องนี้ทางสื่อออนไลน์วีแชต กรุ๊ป(We Chat goup)แจ้งข่าวสารใหม่ๆด้านการแพทย์ในกลุ่มแพทย์ชาวจีน เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ต่อมาต้นเดือนมกราคม 2563 ตำรวจท้องถิ่นได้เรียก นพ.หลี่ไปให้ปากคำที่สถานีตำรวจเมืองอู่ฮั่น กรณีเผยแพร่ข้อความ ที่อาจจะสร้างความตื่นตระหนกให้กับสาธารณชนในจีน

หลังหยุดช่วงเทศกาลปีใหม่ นพ.หลี่ กลับเข้ามาทำงานที่โรงพยาบาลกลางอู่ฮั่นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2563 และติดโรคโควิด-19 จนกระทั่งอาการทรุดหนักและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563

ครั้งนั้น ชาวเน็ตจีนจำนวนมากร่วมไว้อาลัยการเสียชีวิตของ นพ.หลี่ ซึ่งเป็นช่วงที่โรคโควิด-19 ระบาดอย่างหนักในเมืองอู่ฮั่น ชาวเน็ตจีนส่วนใหญ่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลจีนว่าไม่มีความโปร่งใส ไม่เปิดเผยข้อมูลสำคัญเรื่องนี้ให้สาธารณชนในประเทศจีนทราบ เพื่อเฝ้าระวังตั้งแต่เริ่มแรก โดยเฉพาะวิจารณ์กรณี ตำรวจสอบปากคำ นพ.หลี่ทั้งๆที่ในความเป็นจริง เป็นคนที่เปิดเผยข้อมูลเรื่องการระบาดของโรคโควิด-19 ให้สาธารณชนทราบ

ปัจจุบัน จีนมีผู้ป่วยสะสม 101,683 คน เสียชีวิต 4,636 ราย


The Story Of Coronavirus Whistleblower: Dr Li Wenliang

Mar 18, 2020

Brut India

He was silenced by Chinese authorities for warning against the coronavirus outbreak, and soon died from the illness. This is the story of Dr. Li Wenliang.

ปี 65 หยุด“นักบุญทุนชาวบ้าน”ร่วมสร้างรัฐสวัสดิการทั้งแผ่นดิน



Jom Petchpradab
19h ·

ปี 65 หยุด“นักบุญทุนชาวบ้าน”ร่วมสร้างรัฐสวัสดิการทั้งแผ่นดิน
“วิ่งเพื่อบริจาค-วิ่งเพื่อการกุศล” ของเหล่านักบุณทุนชาวบ้านไม่ใช่เรื่องผิดเป็นเรื่องดี แต่ผิดที่เป็นการปิดบังความล้มเหลวของรัฐบาลทหารที่ใช้จ่ายเงินภาษีของประชาชนไปกับการรักษาไว้ซึ่งอำนาจและผลประโยชน์ของตัวเอง ผิดที่ไม่พยายามที่จะแก้ปัญหาที่ต้นตอของปัญหาไปพร้อมๆ กัน ผิดที่ในภาวะคนทั้งแผ่นดินต้องปากกัดตีนถีบ อยู่กับการเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายด้วยโรคภัยและพิษเศรษฐกิจแต่ยังจะมารีดเงินจากประชาชนไปช่วยค้ำยันรัฐบาลเฮงซวย
ดังนั้นถึงเวลาเสียทีที่จะให้ปี 2565 เป็นปีที่คนไทยทั้งแผ่นดินร่วมกันส่งเสียง เรียกร้องให้มี“รัฐสวัสดิการถ้วนหน้า” เพื่อสร้างและรักษาชีวิตของคนไทยทุกคนให้มีคุณภาพ ขจัดความคิดย้ายประเทศ(กันเถอะ)
นี่คือรูปธรรมในความหมายของคำว่า “ประชาธิปไตยกินได้” ที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง จะเริ่มต้นกันอย่างไร ?
ปัจจัยอะไรที่ยังเป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้ ชีวิตของคนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ? ฟังคำอธิบายเรื่องนี้จากนักวิชาการที่เชี่ยวชาญเรื่องรัฐสวัสดิการที่สุดในประเทศ 2 ท่านคืออาจารย์เดชรัต สุขกำเนิด อดีตหัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร และทรัพยากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอาจารย์ ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี วิทยาลัยสหวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ไลฟ์สดผ่านเฟสบุ๊ค Jom Petchpradab คืนนี้ตั้งแต่เวลา สองทุ่มเป็นต้นไป ตามวันเวลาประเทศไทย ห้ามพลาด ที่นี่ที่เดียวเท่านั้น


หยุด“นักบุญทุนชาวบ้าน”ร่วมสร้างรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า

Dec 30, 2021

หยุด“นักบุญทุนชาวบ้าน”ร่วมสร้างรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า
 
“วิ่งเพื่อบริจาค-วิ่งเพื่อการกุศล” ของเหล่านักบุณทุนชาวบ้านไม่ใช่เรื่องผิด เป็นเรื่องดี แต่ผิดที่เป็นการพยายามปิดบังความล้มเหลวของรัฐบาลทหารที่ใช้จ่ายเงินภาษีของประชาชนไปกับการรักษาอำนาจและผลประโยชน์ของตัวเอง ผิดที่ไม่พยายามที่จะแก้ปัญหาที่ต้นเหตุไปพร้อมๆ กัน ผิดที่ขณะคนทั้งแผ่นดินต้องปากกัดตีนถีบ อยู่กับการเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายทั้งโรคภัยและพิษเศรษฐกิจแต่ยังจะมารีดเงินจากประชาชนอีก ดังนั้นถึงเวลาเสียทีที่จะให้ปี 2565 เป็นปีที่คนไทยทั้งแผ่นดินร่วมกันส่งเสียง เรียกร้องให้มี“รัฐสวัสดิการถ้วนหน้า” เพื่อสร้างและรักษาชีวิตของคนไทยทุกคน เพราะนี่คือรูปธรรมในความหมายของคำว่า “ประชาธิปไตยกินได้” ที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง
 
จะทำได้อย่างไร และมีปัจจัยอะไรที่ยังเป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้ ชีวิตของคนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ? ฟังคำอธิบายเรื่องนี้จากนักวิชาการที่เชี่ยวชาญเรื่องรัฐสวัสดิการที่สุดในประเทศ 2 ท่านคืออาจารย์เดชรัต สุขกำเนิด อดีตหัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร และทรัพยากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอาจารย์ ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี วิทยาลัยสหวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พวกสกปรก คกก.วัฒนธรรมแห่งชาติ มีมติยกเลิกตำแหน่ง ‘ศิลปินแห่งชาติ’ ปี’54 ของสุชาติ สวัสดิ์ศรี อย่างเป็นทางการ เหตุโพสต์ข้อความหมิ่นเหม่ต่อสถาบันกษัตริย์ ประเด็นขัดแย้งในสังคม ทำให้ตำแหน่งศิลปินแห่งชาติเสื่อมเสีย


สุชาติ สวัสดิ์ศรี
12h ·

ด่วนที่สุด
ที่ วธ ๐๕๐๓.๕/๔๓๑๖ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
เลขที่ ๑๔ ถนนเทียมร่วมมิตร เขตห้วยขวาง กทม.๑๐๓๑o
๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
เรื่อง แจ้งมติคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๔/๒๕๖๔
เรียน นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี
สิ่งที่ส่งมาด้วย ประกาศคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เรื่อง การยกเลิกการยกย่องเชิดชูเกียรติการเป็นศิลปินแห่งชาติ ลงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ จำนวน ๑ ฉบับ
ด้วยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๔ เมื่อวันจันทร์ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นการพิจารณาสืบเนื่องจากการยกเลิกการยกย่องเชิดชูเกียรติการเป็นศิลปินแห่งชาติของนายสุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๕๔ โดยนายสุชาติ สวัสดิ์ศรี ได้รับทราบหนังสือกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ที่ วธ ๐๕๐๓.๕/๓๑๐๕ ลงวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๖๔ โดยที่ประชุมมีมติให้จัดทำประกาศการยกเลิกการยกย่องเชิดชูเกียรติการเป็นศิลปินแห่งชาติของนายสุชาติ สวัสดิ์ศรี และแจ้งให้นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี ทราบ
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม จึงขอส่งประกาศการยกเลิกการยกย่องเชิดชูเกียรติการเป็นศิลปินแห่งชาติให้แก่ท่าน รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(นางสาวลิปิการ์ กำลังชัย)
รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
สำนักงานเลขานุการกรม
โทร. --------
โทรสาร.-------
----------------
ประกาศคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
เรื่อง การยกเลิกการยกย่องเชิดชูเกียรติการเป็นศิลปินแห่งชาติ
ตามที่คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๔ เมื่อวันจันทร์ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๔ ซึ่งที่ประชุมได้มีการพิจารณาในการประชุมลับ กรณีการประกาศยกเลิกการยกย่องเชิดชูเกียรติการเป็นศิลปินแห่งชาติ นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี ซึ่งเป็นการพิจารณาสืบเนื่องจากการยกเลิกการยกย่องเชิดชูเกียรติการเป็นศิลปินแห่งชาติ นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๕๔ ในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๔ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๔ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่เข้าร่วมประชุมให้ยกเลิกการยกย่องเชิดชูเกียรตินายสุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ เนื่องจากนายสุชาติ สวัสดิศรี ได้ทำการโพสต์ข้อความที่เป็นประเด็นขัดแย้งในสังคมลงในสื่อเฟซบุ๊กอยู่เป็นประจำ โดยมีถ้อยคำหรือภาพที่หมิ่นเหม่ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นสถาบันหลักที่คนไทยทั้งชาติ ให้ความเคารพเทิดทูน โดยไม่สมควรและไม่เหมาะสม ซึ่งตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๖ องค์พระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ เรื่องนี้ถือเป็นวัฒนธรรมในสังคมไทยที่สำคัญ ซึ่งศิลปินแห่งชาติจะต้องเคารพในหลักวัฒนธรรมไทย และศิลปินแห่งชาติจะต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม ประพฤติปฏิบัติโดยแสดงออกทางกาย วาจา และจิตใจ ที่ไม่ส่งผลให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย และมีความประพฤติที่เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม โดยคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้ให้ นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี ชี้แจงหรือโต้แย้งคัดค้านการมีมติดังกล่าวภายในสามสิบวันแล้ว แต่มิได้มีการชี้แจ้งหรือโต้แย้งคัดค้านใดๆ ดังนั้น คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติจึงเห็นว่า การกระทำดังกล่าวของนายสุชาติ สวัสดิ์ศรี เป็นพฤติกรรมที่มีความประพฤติเสื่อมเสียต่อการเป็นศิลปินแห่งชาติ ตามข้อ ๑๐ วรรคสอง ของกฎกระทรวงกำหนดสาขา คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก และประโยชน์ตอบแทนของศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕ และแก้ไขเพิ่มเติมในกฎกระทรวงกำหนดสาขา คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือก และประโยชน์ตอบแทนของศิลปินแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๒
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงเห็นควรออกประกาศฉบับนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
(นายวิษณุ เครืองาม)
รองนายกรัฐมนตรี
ประธานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
...
สุชาติ สวัสดิ์ศรี
14h ·
ก่อนสิ้นปี 2564
นี่คืออีกหนึ่งโพสต์ที่กระทรวงวัฒนธรรม ( โดยการกำกับของ "คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ" ที่มีนายวิษณุ เครืองาม" เป็นประธานในที่ประชุม ) ได้ให้ตัวอย่างกล่าวหามาว่าเป็นโพสต์ที่ "หมิ่นเหม่สถาบัน"


สุชาติ สวัสดิ์ศรี
15h ·
ก่อนจะสิ้นปี 2564
อีกหนึ่งตัวอย่างของข้อกล่าวหาที่กระทรวงวัฒนธรรม ( ภายใต้การกำกับของ "คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ" ที่มีนายวิษณุ เครืองาม เป็นประธาน และนายอิทธิพล คุณปลื้ม เป็นรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม ) ได้แจ้งว่า "ศิลปินแห่งชาติ"ที่ชื่อนายสุชาติ สวัสดิ์ศรี ได้โพสต์ ฟ.บ. "หมิ่นเหม่สถาบัน" ดังนั้นจึงออกเสียงร่วมกัน 2 ใน 3 เพื่อ "ปลด" ออกจากการเป็น "ศิลปินแห่งชาติ" เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2564




ประเทศนี้นับวัน ดูแปลกๆ เบลอๆ ไม่มีอนาคต


บทสัมภาษณ์ อ.ปวิน ว่าด้วยรักต้องห้ามและการตายของร.8 ในหนังสือเล่มใหม่ของ อ.ปวิน


WanderingBook Podcast Ep.25-ปวิน ชัชวาลย์พงศ์พันธ์ ว่าด้วยรักต้องห้ามของรัชกาลที่ 8

Dec 30, 2021

WanderingBook

หนังสือเล่มใหม่ของปวิน ชัชวาลย์พงศ์พันธ์ 'Love and Death of King Ananda Mahidol of Thailand' เรื่องราวต้องห้ามที่ไม่ถูกพูดถึงในสังคมไทยเกี่ยวกับความรักและความตายของรัชกาลที่ 8 
ความตายของรัชกาลที่ 8 สามารถละในฐานที่เข้าใจได้ว่าเหตุใดจึงห้ามพูดในสังคมไทย แต่เหตุใดความรักต้องถูกทำให้เลือนหายไปด้วย ปวินวิเคราะห์ว่าเพราะสิ่งนี้แสดงถึงความเป็นปุถุชนคนธรรมดาซึ่งขัดแย้งกับภาพลักษณ์ความเป็นเทพที่สถาบันกษัตริย์ไทยสร้างขึ้นมาตลอดหลายทศวรรษ 
.
ยังไม่นับว่าบริบทการเมืองไทยในห้วงทศวรรษ 1940 ก็ช่างล่อแหลมและสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งต่อความเป็นตายของสถาบันกษัตริย์ แม่ของรัชกาลที่ 8 หรือสมเด็จย่าจำต้องทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาราชวงศ์ให้คงอยู่ รวมถึงกีดกันความรักของบุตรชาย เพราะรักกับหญิงต่างชาติคือเป็นรักต้องห้ามที่ชนชั้นสูงไทย ณ เวลานั้นยังไม่ยอมรับ


WanderingBook


หนุ่มเตือน เกษตรโคกหนองนาโมเดล ไม่ได้สวยหรูอย่างที่คิด




หากพูดถึงการทำเกษตรในปัจจุบัน มีการแนะนำกันอยู่เสมอว่า โคกหนองนาโมเดล เป็นอีกหนึ่งทางเลือกการทำเกษตรแบบผสมผสาน ที่มีการเคลมว่ามีประสิทธิภาพ ได้ประสิทธิผล และผลผลิตมีตลอดปี

แต่วันนี้เรามีอีกหนึ่งมุมของโคกหนองนาโมเดล ที่เกษตรกรท่านนี้มองว่าไม่มีประสิทธิภาพ โดยได้โพสต์ว่า….

ขออนุญาตเจ้าของภาพนะคับ นี่คือจุดจบของการเกษตรแบบโลกสวย โคกหนองนาไม่สวยหรูอย่างที่หลายคนคิด การบริหารจัดการทรัพพย ากรณ์อย่างไม่ถูกที่หรือไม่เหมาะสมคือจุดจบของการเกษตร คิดใหม่นะคับการเกษตรต้องตั้งอยุ่บนพื้นฐานของปัจจัยการผลิต หลายคนหมดเ งิ นไปกับการลงทุนแบบเรื่อยเปื่อย หาหลักไม่เจอ จะบอกให้นะคับ อย่างแรกที่คุณต้องมีไม่ว่าจะทำอะไร คือใจรัก สองคุณต้องหัดเรียนรู้และเข้าใจ สามคุณต้องมีหลัก หลักในที่นี้คือทำอะไรสักอย่างเพื่อให้การเกษตรของคุณดำรงอยู่ได้ มนุษย์เป็นผู้ที่ปรับตัวเก่ง แต่บ างคนกว่าจะปรับตัวได้หมดเนื้อหมดตัว #ฝากด้วยนะคับไม่ว่าทำอะไรอย่าโลกสวย


วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 30, 2564

’๖๕ ปีเสือดุ ลุแก่อำนาจมากขึ้น แต่เผด็จการล้มได้ "ถ้าไม่จากการลุกฮือลงถนน ก็ต้องผ่านคูหาเลือกตั้ง”

ใครๆ ก็ว่า ๖๕ ปีเสือ ดุเริ่มที่ สฤณี อาชวานันทกุล เอ่ยถึงมิติทางศีลธรรมและวัฒนธรรม “ดูทรงแล้วเผด็จการอำพราง aka ฟาสซิสต์แบบไทยๆ น่าจะลุแก่อำนาจมากขึ้น ใช้อำนาจแบบไม่แคร์ใครมากขึ้น” ชัดแจ้งในทาง อยุติธรรม และขาด มโนธรรมชัดเจน

เธอบอกให้ #ตามดูอย่างใกล้ชิดกันต่อไป ในกรณี “ปราบปรามคอร์รัปชัน แต่ไม่แตะการฉ้อฉลเชิงอำนาจ” “เรียกร้องรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ไม่แตะบทบาทสถาบันฯ และกองทัพ” กับ “ดันเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่ไม่พูดถึงคดี ๑๑๒ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน”

อีกทั้ง “ผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่ไม่แตะเมกะโปรเจกต์ที่รัฐไม่ (อยาก) กำกับ” และ “เรียกร้องให้ลดความเหลื่อมล้ำ แต่ไม่แตะอำนาจผูกขาด ไม่แตะการเก็บภาษีทรัพย์สินจากเศรษฐีในอัตราก้าวหน้า” เหล่านี้จะชี้ให้เห็นว่า เป็นกลางจริงๆ หรือแค่ แท่ง กลาง

ส่วนทางปีกซ้ายของฝั่งโน้นเขียนไว้เป็นร้อยกรอง ว่า “ปีขาลปีเสือใหญ่ ความดุร้ายก็ย่อมมี” ทั้งจากโควิดใหม่กลายพันธุ์ คนตกงาน กิจการขาดทุน การเมืองไม่มีใครยอมใคร เสียแต่ว่า บัญญัติ บรรทัดฐาน แนะให้ “เศรษฐกิจก็พอเพียง” เอาแค่นี้ไม่ต้องโต

ถ้างั้นด้านการเมืองต้องหันมาฟังฝั่งนี้ จากสองนักรัฐศาสตร์ พวงทอง ภวัครพันธุ์ กับ ประจักษ์ ก้องกีรติ เอารายหลังนี่ก่อน เขาบอก “ระบอบเผด็จการจะถูกโค่นล้มได้ผ่านสองช่องทาง” ถ้าไม่จากการลุกฮือลงถนน ก็ต้องช่วยกันทำ “ผ่านคูหาเลือกตั้ง”

จารย์ประจักษ์ว่า พรรคการเมืองที่เป็นแก่นให้คณะสืบทอดอำนาจรัฐประหาร ในปี ๒๕๖๕ จะไม่เหมือนตอนปี ๒๕๖๒ เพราะความแตกแยก แก่งแย่ง หรือแค่ระหองระแหงก็ตามที “อย่าลืมว่าทั้งหมดนี้ที่เราพูดกัน การเลือกตั้งครั้งที่แล้วมันเกิดก่อนโควิด”

แน่นอนว่าโควิดทำให้รัฐบาลประยุทธ์บักโกรกไปกับประเทศ คนตายกว่าสองหมื่น “เป็นการเสียชีวิตที่ไม่จำเป็น ด้วยระบบสาธารณสุขที่ดีแบบไทย” แต่การบริหารจัดการของรัฐบาล ล้มเหลวแม้ตอนนี้รู้ตัวและพยายามไล่ตามให้ทัน

จากการที่ อนุทิน ชาญวีรกูล “แทงหนังสือด่วนที่สุดถึงปลัด สธ. สั่งการให้ทุกองคาพยพของ สธ.พร้อมรับมือ Omicron หลังผู้ติดเชื้อพุ่งพรวด” คงจำกันได้นะว่านายคนนี้พูดไว้หลายหนว่า “โควิดกระจอก” คราวนี้ก็ยังพูดอย่างนั้นแต่การกระทำตรงข้าม

ถึงอย่างไรโบราณว่า สันดาน แก้ไม่หาย ๗ ปีกว่าผิดพลาดซ้ำซากอย่างไร อีก ๑ ปี (และถ้าบวกสี่ได้) ก็มีโอกาสสูงกลับไปอย่างเดิม ฉะนั้นจึงมาลงที่ อจ.พวงทองว่า แม้เวลานี้คณะประยุทธ์จะแจกแหลก ก็ไม่ทำให้ พลังประชารัฐ ได้แต้มต่อ

ในเมื่อประชากรไม่ได้ต้องการเป็น ขอทาน ไปตลอดชีพ “ตรงกันข้าม ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการโครงการขนาดใหญ่ที่จะพัฒนาสภาพเศรษฐกิจโดยรวมให้ดีขึ้น จนส่งผลให้พวกเขาได้รับผลประโยชน์ที่เป็นกอบเป็นกำในระยะยาวมากกว่านี้”

อาจารย์รัฐศาสตร์จุฬาฯ ผู้เป็นศิษย์เก่า มธ.กลับเป็นห่วงเรื่องอื่น ถ้า เลือกตั้งครั้งหน้าเกิด แลนด์สไล้ด์ได้เหมือนฝัน ฝ่ายประชาธิปไตยเป็นรัฐบาลละก็ จะจัดการอำนาจกันอย่างไร จึงย้อนไปถึงข้อกังวลของ 'สฤณี' มีอะไรต้องขุดรากถอนโคนบ้าง

“เบื้องต้นเลยขุดเรื่องคอร์รัปชั่น เพื่อที่จะชี้ให้เห็นว่าไอ้ตัวระบอบที่มันขาดการตรวจสอบ ในที่สุดแล้วมันสร้างภาระให้กับประชาชนอย่างไร ไม่ต้องพูดถึงว่าหลายปีที่ผ่านมา เราสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจหรือสูญเสียชีวิตของประชาชนไปในช่วงโควิดอย่างไร”

กับความวิเศษวิโสของ องค์กรอิสระซึ่ง พวงทองยกตัวอย่าง “เช่น ถ้าพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งแต่กลับถูกยุบพรรคอีกหน ก็มีความสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะผลักให้ คนเสื้อแดง ไปผนึกรวมกำลังกับ คนรุ่นใหม่ เต็มตัว” จึงย้อนมาที่ปัญหาเวลานี้

“แนวคิดที่มองว่าพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล ไม่ควรตัดคะแนนกันเองในสนามเลือกตั้งทุกระดับ...พวงทองทักท้วงว่า การแข่งขันกันระหว่างพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยนั้นถือเป็นเรื่องปกติ” ฝ่ายตรงข้ามก็ลงแข่งกันเองในสนามเลือกตั้งเช่นกัน

“ถ้าคุณเริ่มบอกว่าก้าวไกลอย่าลงผู้ว่าฯ กทม. (เพราะ) ไปตัดคะแนนคุณชัชชาติ ซึ่งเราก็รู้กันอยู่ว่าคุณชัชชาติสนิทกับพรรคอะไร แล้วมวลชนพรรคไหนที่สนับสนุนเขาอยู่ มันก็จะเป็นก้าวต่อไปว่าในการเลือกตั้งระดับชาติ ก้าวไกลก็ไปแย่งที่นั่ง”

มันจึงเกิดประเด็นอัปลักษณ์ขึ้นว่าถ้างั้นก้าวไกลอย่าลงเลือกตั้ง ส.ส.ไปด้วยหรือ “ดิฉันคิดว่าเป็นการพูดที่ไม่แฟร์” พวงทองว่า เสียงเลือกตั้งไม่มีใครผูกขาด เปลี่ยนได้เสมอ ประชาธิปไตยที่ดี มันต้องมีทางเลือก แข่งกันที่นโยบายสิ”

ยิ่งกว่านั้นที่ผ่านมาสองปีกว่า พรรคน้องนุชของฝ่ายนี้เป็นพวกที่ทำงานตรวจสอบ จี้ไช กระตุก กระทุ้ง และรับแรงกระแทกมากกว่าใครๆ คนที่งานหนักและเหนื่อยย่อมหงุดหงิดและเฮี้ยวเป็นธรรมดา จะให้คอยจ๊ะจ๋า คะ-ครับพี่ เท่านั้นหรือ

(https://www.matichonweekly.com/column/article_501631e8, https://facebook.com/100001454030105/posts/4823280137730406/?d=n และ https://www.facebook.com/SarineeA/posts/475986210563738) 

วิธีการสกปรกใช้คุกคามเสรีภาพ ในปี 2564


iLaw
14h ·

ตลอดปี 2564 นักกิจกรรมและคนที่ออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองต้องเผชิญหน้ากับปรากฏการณ์การคุกคามเสรีภาพการแสดงออกโดยใช้กระบวนการกฎหมายเป็นเครื่องมืออย่างหนัก นอกจากปี 2564 จะมีสถิติการชุมนุมทางการเมืองนับเป็นจำนวนครั้งมากที่สุด และก็มีคดีความทางการเมืองพุ่งสูงอย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์แล้ว ยังเป็นปีที่ได้พบกับรูปแบบหรือเครื่องมือใหม่ๆ ที่ถูกนำมาใช้เพื่อคุกคาม สร้างอุปสรรค รวมถึงเพิ่มต้นทุนทางสังคมให้แก่ผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง

การคุกคามรูปแบบเดิมๆ ต่อนักกิจกรรมที่เคลื่อนไหวทางการเมืองยังคงเกิดขึ้นและเกิดขึ้นในปริมาณที่มากขึ้น เช่น การตั้งข้อหาดำเนินคดี ถูกคุกคามโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ การไปหาที่บ้าน การพาตัวไปทำประวัติ เพื่อสร้างความกลัวต่อการออกมาเคลื่อนไหว วิธีการใหม่ๆ ที่ถูกนำมาใช้นี้เองที่แสดงให้เห็นว่า ฝ่ายรัฐไม่อาจยินยอมให้การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นดำเนินต่อไปได้ง่ายๆ เมื่อไม่สามารถหาดำเนินคดีจากข้อหาที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายได้ ก็ยังคงต้องหาวิธีการอื่นมาใช้เพื่อตอบโต้ต่อไป เท่าที่จะสามารถทำได้

๐ ยกเลิกพาสปอร์ตนักกิจกรรม

17 พฤศจิกายน 2564 อั๋ว จุฑาทิพย์ นักกิจกรรม โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวว่า “ชีวิตนักศึกษาปี 4 ที่กำลังจะเรียนจบและวางแผนทำนั่นทำนี่เยอะมาก เมื่อคืนรู้มาว่าโดนยกเลิกพาสปอร์ตจากคดีทางการเมือง ออกนอกประเทศไม่ได้แล้ว ชีวิตโคตรพัง” พร้อมทั้งโพสต์ภาพหนังสือของสถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์ถึงอธิบดีกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ที่มีเนื้อหาใจความระบุถึงสาเหตุที่มีการขอให้ยกเลิกหนังสือเดินทางของผู้ต้องหาความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร จำนวน 6 คน จากเหตุชุมนุมทางการเมือง ได้แก่ จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ , กรกช แสงเย็นพันธ์ , สุวรรณา ตาลเหล็ก , บารมี ชัยรัตน์ , เดชาธร บำรุงเมืองและภาณุมาศ สิงห์พรม สืบเนื่องจากทั้ง 6 คนถูกดำเนินคดีเป็นคดีอาญาหมายเลขที่ 428/2563 ซึ่งพนักงานอัยการได้มีคำสั่งเห็นควรให้สั่งฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 จึงทำให้บุคคลเหล่านี้ยังเป็นที่ต้องการตัว อย่างไรก็ดีในคดีดังกล่าว มีผู้ต้องหารวม 11 คนและทางสถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์ได้ยื่นหนังสือขอให้ยกเลิกหนังสือเดินทางทุกคน แต่ทางกรมการกงศุลได้ระบุว่าผู้ต้องหาอีก 5 คนที่เหลือบางคนหนังสือได้ถูกยกเลิก หมดอายุไปแล้ว บางคนไม่มีหนังสือเดินทาง จึงไม่สามารถยกเลิกได้

เดชาธร นักร้องนำวง Rap against dictatorship ได้ออกมาเผยแพร่หนังสือของสถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์ฉบับเดียวกันต่อสาธารณะ โดยได้ให้สัมภาษณ์ต่อเว็บไซต์บีบีซีไทยว่า การขอระงับหนังสือเดินทางของตำรวจ นอกจากจะรู้สึกว่าถูกละเมิดสิทธิแล้วยังสร้างความกังวลเนื่องจากกระทบกับงานที่ต้องเดินทางต่างประเทศบ่อยครั้ง และกระทบต่อการวางแผนไปต่างประเทศกับครอบครัว

กระบวนการยกเลิกพาสปอร์ตนั้น เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ.2548 หมวด 7 การปฏิเสธหรือยับยั้งคําขอหนังสือเดินทาง โดยในข้อ 21 กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถปฏิเสธหรือยับยั้งการขอหรือแก้ไขหนังสือเดินทางในกรณีที่เมื่อได้รับแจ้งว่าผู้ร้องเป็นผู้ซึ่งกำลังรับโทษในคดีอาญาหรืออยู่ระหว่างปล่อยตัวชั่วคราว หรือเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาที่ได้มีการออกหมายจับไว้แล้ว ซึ่งศาลหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเห็นว่าไม่ควรออกหนังสือเดินทางให้ และเมื่อผู้ร้องขอหนังสือเดินทางเป็นผู้ที่ศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายอื่นสั่งห้ามไม่ให้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร โดยในในระเบียบฯข้อที่ 23 กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถยกเลิกและเรียกคืนหนังสือเดินทางได้ เมื่อปรากฎภายหลังว่าผู้ถือหนังสือเดินทางเป็นบุคคลซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจออกหนังสือเดินทางให้ตามเงื่อนไขท่ีระบุในข้อ 21


๐ เนรเทศชาวฝรั่งเศส ตลกล้อการเมืองไทย

27 พฤศจิกายน 2564 Yan Marchal ชาวฝรั่งเศสที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ถูกเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองที่สนามบินจังหวัดภูเก็ตกักตัวไม่ให้เดินทางเข้าประเทศไทยโดยได้พยายามผลักดันให้เดินทางกลับประเทศฝรั่งเศส ในหนังสือแจ้งคำสั่งระบุว่า Yan Marchal เป็นคนต้องห้ามเข้าเมือง ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 12 (7) ซึ่งมีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม Yan Marchal คาดว่าการที่เขาถูกห้ามไม่ให้เข้าประเทศไทยเป็นเพราะการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆในโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง

อย่างไรก็ตาม เขาได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และหลังจากที่ได้ปรึกษากับทนายความ Yan Marchal ได้ตัดสินใจเดินทางกลับฝรั่งเศส เนื่องจากมีความกังวลว่าหากอยู่ต่ออาจะถูกแจ้งข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

Yan Marchal มีชื่อเสียงบนแพลตฟอร์มออนไลน์จากการแต่งเพลงและทำวิดิโอที่มีเนื้อหาล้อเลียนคณะรักษาความสงบแห่งชาติในช่วงปี 2562 จนมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปพบที่บ้านพักและขอให้ลบวิดิโอออกจากแพลตฟอร์มออนไลน์พร้อมให้ลงลายเซ็นว่าจะไม่วิจารณ์ คสช.อีก

กระบวนการห้ามเข้าประเทศนั้น เป็นไปตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 12 ที่กำหนดห้ามมิให้คนต่างด้าวซึ่งมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้เข้ามาในราชอาณาจักร

(1) ไม่มีหนังสือเดินทาง
(2)ไม่มีปัจจัยยังชีพตามสมควรแก่การเข้ามาในราชอาณาจักร
(3)เข้ามาเพื่อทำงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ
(4)วิกลจริต
(5)ยังไม่ได้ปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ
(6)เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาศาลไทยหรือคำพิพากษาศาลต่างประเทศ เว้นแต่เป็นความผิดลหุโทษหรือความผิดอันยอมความได้
(7)มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคมหรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
(8)มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเข้ามาเพื่อค้าประเวณี ยาเสพติด ลักลอบหนีภาษี หรือประกอบกิจการอื่นที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
(9)ไม่มีเงินติดตัว
(10)รัฐมนตรีไม่อนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา 14
(11)ถูกรัฐบาลไทยหรือรัฐบาลต่างประเทศเนรเทศ

ซึ่งในมาตรา 22 ได้กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้คนต่างด้าวที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 12 กลับออกไปนอกราชอาณาจักรได้ โดยจะต้องมีคำสั่งเป็นหนังสือ ถ้าคนต่างด้าวผู้นั้นไม่พอใจคำสั่ง อาจอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ โดยคำสั่งของรัฐมนตรีให้ถือเป็นที่สุด


๐ Watchlist เก็บข้อมูลนักกิจกรรม โดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

9 สิงหาคม 2564 มีการเปิดเผยเอกสารระบุว่า “ลับที่สุด” เป็นรายชื่อนักกิจกรรม นักการเมือง และคนทำงานภาคประชาสังคม รวม 183 รายชื่อที่ถูก “จับตา” (Watchlist) มีการระบุถึง ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด เลขบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง สถานะทางคดี สถานภาพการเดินทาง และรูปภาพหน้าตรง ท้ายเอกสารระบุชื่อผู้อัพเดตข้อมูลว่า “พ.ต.ท.หญิง โสภิดาฯ สว.กก.สส.ปป.บก.ตม.2 (กองกำกับการสืบสวนปราบปราม กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2)”

ในรายชื่อเหล่านี้ มีทั้งนักเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่าง เช่น อานนท์ นำภา, ปนัสยา (รุ้ง) สิทธิจิรวัฒนกุล, ปิยรัฐ จงเทพ มีทั้งนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล เช่น รังสิมันต์ โรม, ปิยบุตร แสงกนกกุล, วัฒนา เมืองสุข มีบางคนที่มีแถบสีแดงขึ้นว่าออกนอกประเทศแล้ว เช่น ปวิน ชัชวาลย์พงศ์พันธ์ รวมทั้งมีการระบุถึงเจ้าของเพจเฟซบุ๊กต่างๆ ที่ไม่ทราบชื่อนามสกุลจริงด้วย

๐ พบจีพีเอส แอบติดใต้รถนักเคลื่อนไหว

พรรณิการ์ วานิช - อดีตส.ส.พรรคอนาคตใหม่ เปิดเผยผ่านทวิตเตอร์ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2564 ว่า เมื่อหลายเดือนก่อนในขณะที่เอารถไปซ่อม ช่างได้ตรวจพบอุปกรณ์ติดตามตัว ข้างหลังเป็นแถบแม่เหล็กติดอยู่ที่ใต้ท้องรถ ด้านในมีซิมการ์ด และมีลักษณะของวิธีการติดอย่างมืออาชีพ ด้าน เพจทะลุฟ้า - กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564 ว่า ตรวจพบเครื่องติดตามและดักฟังใต้ท้องรถยนต์ โดยคาดว่าอุปกรณ์ดังกล่าวจะถูกเจ้าหน้าที่นำมาติดตั้ง เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 หลังกลุ่มทะลุฟ้าโดนจับกุมและถูกยึดรถจากหน้าสโมสรตำรวจไว้ที่สน.ทุ่งสองห้อง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://freedom.ilaw.or.th/blog/GPDnotlegal

ปัจจุบันไม่มีกฎหมายไทยฉบับใดที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่หาข้อมูลสืบสวน หรือติดตามผู้ที่เคลื่อนไหวทางการเมืองด้วยวิธีการนี้ได้
 

๐ ส่งสปายแวร์แฮ็คโทรศัพท์นักกิจกรรม

ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 นักกิจกรรมและนักวิชาการหลายคนทยอยได้รับอีเมลล์แจ้งเตือนจาก Apple โดยระบุว่าทางบริษัทฯ พบว่าผู้ใช้บริการอาจตกเป็นเป้าหมายการดำเนินการที่เข้าข่ายว่าเป็นการโจมตีโดยสปายแวร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ซึ่งมีอย่างน้อย 5 รายที่ได้รับการแจ้งเตือนและออกมาเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ได้แก่ เดฟ-ชยพล ดโนทัย กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม และสมาชิกกลุ่ม WeVo, เอเลียร์ ฟอฟิ กลุ่มศิลปะปลดแอก, รพี อาจสมบูรณ์ กลุ่มศาลายาเพื่อประชาธิปไตย, รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์

เนื้อหาในอีเมลล์จาก Apple ส่วนหนึ่งระบุว่า “Apple เชื่อว่าคุณกำลังตกเป็นเป้าหมายของแฮ็กเกอร์ที่รัฐให้การสนับสนุน ซึ่งพยายามแฮ็ก iPhone จากระยะไกลด้วย Apple ID ของคุณ แฮ็กเกอร์เหล่านี้อาจมุ่งโจมตีคุณส่วนตัว สืบเนื่องจากสิ่งที่คุณเป็นหรือสิ่งที่คุณทำ หากอุปกรณ์ของคุณถูกโจมตีโดยแฮ็กเกอร์ที่รัฐให้การสนับสนุน พวกเขาอาจสามารถเข้าถึงข้อมูล การสื่อสารที่อ่อนไหว หรือแม้แต่อาจเข้าถึงกล้องและไมโครโฟนจากระยะไกลได้ ถึงแม้ว่านี่อาจเป็นคำเตือนที่ผิดพลาด แต่ก็ขอให้ระวังไว้” นอกจากนี้มีข้อสังเกตว่า ก่อนที่นักกิจกรรมทางการเมืองในไทยจะได้รับอีเมลแจ้งเตือนเรื่องความปลอดภัย Apple สำนักงานใหญ่ได้ยื่นฟ้องบริษัท NSO Group ผู้สร้างมัลแวร์ Pegasus ที่สามารถเข้าควบคุมเครื่องได้อย่างสมบูรณ์โดยที่ไม่รู้ตัว และสามารถแฮ็กได้ทั้ง Android และ iOS
 

๐ ประกาศผ่านรถตำรวจ หวังประจานผู้ชุมนุม

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ระบุว่า วันที่ 31 ตุลาคม 2564 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ขับรถไปจอดหน้าบ้าน ‘ขจรศักดิ์’ หนึ่งในผู้ต้องหาจากเหตุชุมนุมหน้าสน.พญาไทและถูกกล่าวหาว่าปาระเบิดป้อมจราจรบริเวณแยกพญาไท พร้อมกับประกาศผ่านเครื่องขยายเสียงว่า “ผู้ต้องหาครอบครองวัตถุระเบิด นายขจรศักดิ์อยู่บ้านหลังนี้นะ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเฝ้าระวังเป็นพิเศษสำหรับผู้ต้องหารายนี้นะ นายขจรศักดิ์ ครอบครองวัตถุระเบิด ครอบครองวัตถุระเบิด มีการประดิษฐ์วัตถุระเบิด อยู่บ้านหลังนี้นะ บ้านหลังสีขาว…” และกระทำการคล้ายๆกันอีกสามครั้ง คือนำรถมาจอดหน้าบ้านหลายคัน บีบแตรและเปิดเสียงสัญญาณไซเรน โดยครั้งล่าสุดเท่าที่ทราบคือวันที่ 12 ธันวาคม 2564 เจ้าหน้าที่ตำรวจมาพร้อมรถยนต์ 9 คัน บางคันมีเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนอยู่ท้ายกระบะ ขับมาวนเวียนและจอดอยู่ชั่วครู่บริเวณบ้านก่อนจะขับออกไป โดยแม่ของขจรศักดิ์ได้ให้สัมภาษณ์กับทางศูนย์ทนายฯว่า นี่คือการคุกคามสร้างความกลัวและเป็นการประจานเพื่อให้เกิดความเกลียดชังอันกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตของคนในครอบครัว

อ่านบทสัมภาษณ์ครอบครัวของขจรศักดิ์ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ที่ https://tlhr2014.com/archives/37745
หมายเหตุ : ขจรศักดิ์ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2564
 

๐ ใช้ข้อมูลนัดหมายฉีดวัคซีน ตามจับนักกิจกรรม

23 พฤศจิกายน 2564 ศุภกร ขุนชิต นักกิจกรรมและนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ได้โพสต์ข้อความพร้อมรูปหมายจับผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่าตนโดนตำรวจล้อมจับขณะมาฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ศูนย์ฉีดวัคซีนภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งเจ้าหน้าที่แจ้งว่าเป็นหมายจับคดี มาตรา112 จากศาลจังหวัดพัทลุง โดยศุภกรได้เปิดเผยบนเว็บไซต์ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เล่าถึงเหตุการณ์ขณะถูกล้อมจับว่า หลังเขาเดินทางไปฉีดวัคซีนป้องกันโควิดเป็นเข็มที่ 2 แล้วเสร็จ ระหว่างเดินออกมา ได้มีชายนอกเครื่องแบบคนหนึ่งติดตามมาร้องเรียก “น้องๆ” เขาจึงคิดว่าเป็นชาวบ้านจะมาสอบถามข้อมูล จึงเดินเข้าไปหา กลับพบว่ามีชายนอกเครื่องแบบอีก 3-4 คน รุมกันออกมาล้อมเขา พร้อมแสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ และแสดงหมายจับที่ออกโดยศาลจังหวัดพัทลุง จากนั้น ยังมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบอีกไม่ต่ำกว่า 7-8 นาย ออกมาจากรถ เข้ามาล้อมเขาเพิ่ม บางนายห้อยป้ายเป็นตำรวจ ระหว่างการถูกควบคุมตัว ศุภกรยังพยายามสอบถามเจ้าหน้าที่ว่าทำไมถึงมีหมายจับเลย เขาไม่เคยได้หมายเรียกมาก่อน ตำรวจชุดจับกุมรับว่าไม่ทราบ ศุภกรยังระบุว่าเมื่อเดือนก่อนหน้านี้ คือเดือนตุลาคม เขาเพิ่งเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาในคดีร่วมกิจกรรมคาร์ม็อบหาดใหญ่ ที่ สภ.คอหงส์ แต่หมายจับออกมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม ทำไมเจ้าหน้าที่ถึงไม่จับกุมเขาทันที กลับมารอจับในตอนนี้ ตำรวจได้ระบุว่าเขาก็เพิ่งทราบเรื่อง

ต่อมา 24 พฤศจิกายน 2564 อาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อนนักศึกษา และทนายความ ได้เดินทางไปยังสถานีตำรวจเพื่อเข้าพบศุภกร และร่วมฟังการสอบปากคำโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งข้อหากระทำความผิดทั้งหมด 3 ข้อหา ได้แก่ ข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 , ข้อหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และข้อหาร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากเหตุถ่ายภาพตามสถานที่ต่างๆในจังหวัดพัทลุงและใส่ข้อความในภาพดังกล่าว จำนวน 15 ภาพและโพสต์ลงในเพจเฟซบุ๊ก "พัทลุงปลดแอก" และ "ประชาธิปไตยในด้ามขวาน" โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าภาพและข้อความดังกล่าวเป็นการดูหมิ่น และใส่ความพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินี ทำให้พระองค์ท่านเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง และมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ศุภกรได้ให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ต่อมาพนักงานสอบสวนได้ยื่นฝากขังต่อศาลจังหวัดพัทลุง ศาลเห็นว่าเป็นคดีมีอัตราโทษสูงต้องมีประกัน สุทธิชัยซึ่งเป็นอาจารย์และคณบดีคณะนิติศาสตร์ จึงยื่นคำร้องขอประกันโดยใช้ตำแหน่งทางวิชาการ และศาลอนุญาตให้ประกันตัว

อ่านรายละเอียดคดีนี้ได้ที่ https://tlhr2014.com/archives/38275


๐ เอาตัวไปทำประวัติก่อน ส่วนข้อหาคิดวันหลัง

ในการตัดสินใจว่า จะดำเนินคดีตามกฎหมายกับนักเคลื่อนไหวคนใด หรือจะใช้มาตรการอื่นใด ตำรวจอาจต้องการหาข้อมูลให้ได้มากที่สุดก่อน จึงมีกระบวนการที่ตำรวจแอบทำประวัตินักกิจกรรม โดยที่ไม่ได้มีกฎหมายใดให้อำนาจไว้ หรือไม่ใช่ขั้นตอนใดๆ ในกระบวนการยุติธรรม แต่นักกิจกรรมส่วนใหญ่ก็จะยินยอมให้ข้อมูลเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ ตัวอย่างเช่น กลางดึกของคืนวันที่ 11 กันยายน 2564 ตำรวจใช้กำลังสลายการชุมนุมบริเวณแยกดินแดงและจับกุมผู้ที่อยู่ในพื้นที่ไปจำนวนมาก ในจำนวนนี้ 25 คนเป็นทีมแพทย์อาสาจากหลายกลุ่ม ตำรวจเอาตัวไปไว้รวมกันที่ สน.ดินแดง และไม่อนุญาตให้ทนายความเข้าพบ โดยอ้างว่า ไม่ได้จับกุมมาดำเนินคดีใดๆ "เดี๋ยวก็ได้กลับ" เมื่อทนายความไปถึงก็ได้แต่พูดคุยกับคนถูกจับแค่ 2-3 ประโยคและต้องรอในห้องประชุม โดยผู้ถูกจับได้ปล่อยตัวในเวลา 2-3 ชั่วโมงให้หลัง และเล่าว่าตำรวจสอบถามข้อมูลส่วนตัว ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ประวัติการทำกิจกรรม ของแต่ละคนทีละคนและบันทึกไว้ ต่อมาชาญชัย ผู้ประสานงานของทีมแพทย์อาสาที่ถูกจับ ถูกสน.ดินแดงเรียกไปรับทราบข้อกล่าวหาจากการร่วมชุมนุมร่วม 12 คดี

อีกกรณีหนึ่งในคืนวันที่ 31 ตุลาคม 2564 หลังการชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์ ตำรวจติดตามจับกุมตัวคนขับรถเครื่องเสียงของเครือข่ายคนรุ่นใหม่นนทบุรี และคนที่นั่งมาด้วยรวมสองคน ไปที่สน.ลุมพินี เพื่อตั้งข้อหาฐานร่วมชุมนุมฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หลังจากกระบวนการสอบสวนเสร็จทั้งสองคนถูกสั่งให้ขึ้นไปที่ชั้นสองเพื่อพิมพ์ลายนิ้วมือ แต่กลับใช้เวลามากกว่า 30 นาที เมื่อลงมาทั้งสองคนเล่าว่ามีตำรวจนอกเครื่องแบบ อายุไม่มาก อีกชุดหนึ่ง 4-5 คนมาเอาตัวไปซักประวัติและบันทึกไว้ โดยถามคำถามทำนองว่า การไปร่วมชุมนุมมีใครชักชวนให้ไป และได้รับเงินจากใครหรือไม่ ซึ่งเป็นกระบวนการนอกขั้นตอนของกฎหมาย


๐ กสทช. ออกตัวคุมสื่อ ขอเลี่ยงนำเสนอข่าวปฏิรูปสถาบันฯ-มาตรา 112

26 พฤศจิกายน 2564 พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ ประธานคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ เชิญตัวแทนสื่อมวลชนเพื่อมาพูดคุยถึงการนำเสนอข่าวโดยเฉพาะในประเด็นที่มีข้อกฎหมายต่างๆ เช่น ผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อผู้ถูกร้อง 3 รายได้แก่ อานนท์ นำภา, ไมค์ ภาณูพงศ์, รุ้ง ปนัสยา จากกรณีปราศรัยถึงการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ โดยขอความร่วมมือสื่อมวลชนแต่ละสำนักให้หลีกเลี่ยงการนำเสนอเนื้อหา 10 ข้อเรียกร้องของแกนนำการชุมนุมที่มีต่อสถาบันกษัตริย์ เนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญได้ตีความว่าเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ซึ่งเป็นการกระทำผิดกฎหมาย และการเผยแพร่ข่าวนั้นอาจจะเป็นการกระทำซ้ำ โดยเสนอให้สื่อมวลชนนำเสนอข่าวโดยหลีกเลี่ยงลักษณะการสัมภาษณ์แหล่งข่าว เช่น แกนนำที่ถูกคำวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ชุมนุม หรือบุคคลที่มีความคิดเข้าข่ายลักษณะเดียวกับข้อเรียกร้อง 10 ข้อ โดยสามารถรายงานตามปรากฎการณ์ข้อเท็จจริงได้ และขอให้หลีกเลี่ยงการรายงานสดแช่บรรยากาศนาน เพื่อป้องกันการนำเสนอซ้ำจากเสียงการปราศรัยในการชุมนุม รวมถึงการพูดถึงบรรยากาศที่เข้าลักษณะการชักชวน นอกจากนี้ได้ขอความร่วมมือสื่อมวลชนหลีกเลี่ยงการนำเสนอประเด็นการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่เป็น 1ใน 10 ข้อเสนอ

กระบวนการกำกับดูแลเนื้อหาในสื่อมวลชนนั้น เป็นอำนาจของ กสทช. ตามมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ซึ่งให้อำนาจกสทช. ตรวจสอบและให้ระงับการออกอากาศรายการ ที่มีเนื้อหาสาระที่ก่อให้เกิดการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีการกระทำซึ่งเข้าลักษณะลามกอนาจาร หรือมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง หากไม่ปฏิบัติตามอาจปรับ 50,000 - 500,000 บาท หรือเพิกถอนใบอนุญาตได้ (สั่งปิดช่อง)
 

๐ ขู่แบนนิทานเด็ก ศธ.ชี้ยุยงปลุกปั่น-ครอบงำความคิด

นิทานชุด ‘วาดหวังหนังสือ’ มีเนื้อหาพูดถึงการเมืองไทย เรื่องราวประวัติศาสตร์ สะท้อนบทเรียนเรื่องพลเมือง สิทธิมนุษยชน นำเสนอแตกต่างจากแบบเรียนทั่วไปจนกลายเป็นที่โด่งดังในโลกออนไลน์ ต่อมา 27 กันยายน 2564 ดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย โฆษกประจำตัวรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกมาระบุว่า ตามที่ปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์ว่า ขณะนี้มีการผลิตหนังสือนิทานสำหรับเด็กคล้ายตำราเรียนและนำออกมาจัดจำหน่ายให้กับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 5 ขวบขึ้นไป ที่มีเนื้อหาเข้าข่ายบิดเบือนและอาจให้เด็กเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้หากไม่ได้รับการชี้แนะอย่างถูกต้องโดยครูหรือผู้ปกรอง โดยได้ตั้งทีมเฉพาะกิจทำงานประสานกับฝ่ายความมั่นคงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบเนื้อหาของนิทานชุดดังกล่าว นอกจากนี้ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และสนธิญา สวัสดี ที่ปรึกษากรรมาธิการ การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ก็ได้ร้องเรียนเพื่อให้ตรวจสอบกรณีหนังสือดังกล่าวเช่นกัน อย่างไรก็ดี ทางเพจวาดหวังหนังสือที่เป็นคณะผู้จัดทำได้โพสต์ข้อความระบุว่าหลังจากเกิดกระแสข่าวที่หน่วยงานรัฐจะเข้ามาตรวจสอบทำให้หนังสือจำนวน 17,000 เล่มขายหมดภายในไม่กี่วัน สร้างความสนใจให้กับนักอ่านจำนวนมาก

กระบวนการตรวจสอบสิ่งพิมพ์เป็นไปตามพ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2551 มาตรา 10 ที่ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีอำนาจสั่งห้ามการนำเข้าสิ่งพิมพ์ที่อาจเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี โดยอำนาจที่มีคือการสั่งห้าม "นำเข้า" เท่านั้น ไม่ได้ห้ามการพิมพ์และเผยแพร่ในราชอาณาจักร ทางตำรวจจึงยังไม่มีอำนาจตามกฎหมายใดที่จะสั่งห้ามพิมพ์หรือเผยแพร่นิทานชุดนี้ได้
 

๐ ไล่ปิดแอคเค้าท์ ส่งหมายเรียกทางช่องแชท

ช่วงกลางปี2564 หลังศาลอาญาได้มีแนวบรรทัดฐานว่า คำร้องขอให้ศาลสั่งบล็อคเว็บต้องไต่สวนโดยให้ผู้เกี่ยวข้องมีโอกาสคัดค้านได้ ก็ปรากฏว่า เมื่อเจ้าหน้าที่จากกระทรวงดีอียื่นคำร้องต่อศาล ศาลก็ออกหมายนัดไต่สวนคำร้องส่งไปยังผู้ที่น่าจะเป็นเจ้าของข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น และหลายกรณีที่ไม่ทราบว่า เจ้าของบัญชีที่แท้จริง คือใคร และมีที่อยู่ที่ใด จึงใช้วิธีการส่งหมายนัดไปทางช่องทางบนโลกออนไลน์ เช่น DM ของ Twitter หรือ Inbox ของ Facebook โดยหมายนัดของศาลจะระบุที่มุมซ้ายบนว่า เป็น "หมายนัดไต่สวนคำร้อง" พร้อมข้อความว่า ศาลมีคำสั่งนัดไต่สวนคำร้องในวันใด เวลาใด พร้อมกับระบุว่า หากจะคัดค้านประการใดให้คัดค้านต่อศาลก่อนเวลานัด และมีผู้ใช้โซเชี่ยลมีเดียหลายรายโพสข้อความว่า ได้รับหมายเรียกลักษณะนี้ สร้างความตื่นตระหนก เพราะผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่า เป็นกระบวนการอะไรและจะมีผลกระทบอะไรต่อตนเองบ้าง

ต่อมา 26 กรกฎาคม 2564 สำนักงานศาลยุติธรรมออกเอกสารแจกให้สื่อมวลชน โดยอธิบายว่า สำหรับผู้ที่มีชื่ออยู่ในหมายแจ้งไต่สวนนั้นไม่ได้ถือว่ามีสถานะทางกฎหมายเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาที่ว่าหากไม่มาศาลตามนัดแล้วจะถูกออกหมายจับ หรือมีความผิดที่ไม่มาศาล หมายนัดไต่สวนคำร้องขอปิดเว็บไซต์การส่งจะดำเนินการในรูปแบบหมายอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ด้วยเหตุผลที่ว่าสามารถดำเนินการได้รวดเร็ว ขณะเดียวกันก็สอดคล้องกับสภาพของผู้เกี่ยวข้องล้วนอยู่ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงช่องทางนั้นได้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://freedom.ilaw.or.th/blog/BlockProcess

๐ ร่างพ.ร.บ. เอ็นจีโอฯ มุ่งควบคุมองค์กรทำงานรณรงค์

ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งกัน พ.ศ. ... ถูกจัดทำขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเข้ามาควบคุมการดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงหารายได้ โดยที่หากร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว มีเนื้อหาที่น่ากังวลว่าจะส่งผลให้สมาคม มูลนิธิ คณะบุคคลที่ดำเนินกิจกรรมโดยไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงกำไร ต้องจดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย และให้อำนาจเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบและมีอำนาจในการพิจารณาว่าจะทำกิจกรรมใดไม่ได้บ้าง ถ้าองค์กรนั้นได้รับเงินทุนจากต่างประเทศ ซึ่งในระหว่างการจัดทำร่างกฎหมายฉบับนี้ เครือข่ายภาคประชาชนหลายองค์กรได้ออกมาคัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยชี้ว่าการรวมกลุ่มเพื่อขับเคลื่อนในประเด็นต่างๆควรเป็นเสรีภาพที่ไม่ถูกควบคุม แต่ร่างกฎหมายนี้มีขึ้นเพื่อมุ่งจำกัดเสรีภาพในการรวมกลุ่ม อันจะขัดกับหลักสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในรัฐธรรมนูญ

อย่างไรก็ตาม ร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวได้มีการปรับแก้เนื้อหาสองครั้ง โดยสาเหตุที่มีการยกร่างขึ้นใหม่ คณะกรรมการกฤษฎีการะบุว่าเพื่อมุ่งเน้นการส่งเสริมองค์กรไม่แสวงหากำไร เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน และกำหนดกลไกการกำกับดูแลเท่าที่จำเป็น ไม่เป็นภาระเกินสมควร โดยก่อนที่จะมีการยกร่างใหม่ ทางคณะรัฐมนตรีได้ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับหลักการในข้อกำหนดตามมาตรฐานสากลด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ รวมทั้งให้รับฟังความเห็นจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย ซึ่งล่าสุดวันที่ 21 ธันวาคม 2564 ทางคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือแจ้งต่อเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอร่างกฎหมายที่แก้ไขใหม่ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง โดยคาดว่าจะมีกำหนดเข้าที่ประชุมในวันที่ 28 ธันวาคม 2564 ซึ่งถ้าหากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบกับร่างฯนี้ ขั้นตอนต่อไปคือจะมอบหมายให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นและทำการประเมินผลกระทบของร่างกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 77 ก่อนจะสรุปผลและนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง