วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 28, 2566

หลังอ่านโพสต์ "ยิ่งชีพ" วันนี้ เห็นความเห็น จอน อึ๊งภากรณ์ เสนอให้รณรงค์ทำบัตรเสียเหมือนกันโดยการขีดฆ่าวรรคที่จำกัดสิทธิของประชาชน - น่าคิด



Yingcheep Atchanont
9h
·
มาออกรายการที่ไทยรัฐทีวีในวันที่ค่อนข้างรู้สึกหมองเศร้านิดหน่อย เพราะยังคิดไม่ออกว่าจะเอายังไงกับเรื่องประชามติ หลังรัฐบาลยืนยันแบบไม่เกรงใจแล้วว่าจะตั้งคำถาม ที่มีสองคำถามอยู่ในคำถามเดียว และห้ามแก้หมวด1-2
ผมพยามอธิบายทุกอย่างที่จะคิดได้และพูดได้ไปหมดแล้ว สื่อหลายเจ้าก็ให้พื้นที่เราพูดมันเต็มที่ทุกเรื่องเลย ในรายการวันนี้ท่านนิกรก็โฟนอินเข้ามา ท่านนิกรยืนยันว่าไปรับฟังผู้คนมาจำนวนมากแล้ว ส่วนใหญ่ต้องการไม่ให้แก้หมวด1-2 ถ้าไม่วางเงื่อนไขล็อคไว้จะไม่ผ่านประชามติ หรือจะเกิดความขัดแย้งมากมายตามมา
ผมก็ยืนยันว่าในส่วนที่ผมเห็นอยู่ ถ้าตั้งคำถามที่มีปัญหา วางเงื่อนไขเอาไว้ตั้งแต่ต้น นี่แหละจะทำให้เกิดปัญหา จะทำให้เกิดความขัดแย้ง และจะทำให้ประชามติไม่ผ่าน
วันนี้ในเมื่อรับรู้ข้อเท็จจริงจากคนละด้านก็ไม่เป็นไร เราไม่มีอำนาจแต่ว่าเขามี เขาก็ต้องตัดสินไปตามใจเขา
ผมยกมือไหว้ขอร้อง ว่าถ้าช่างน้ำหนักไม่เหมือนกันแต่ขอให้ตัดสินใจทำให้มันถูกต้องตามหลักการได้ไหม หลักการพื้นฐานง่ายๆ คือ การตั้งคำถามประชามติต้องมีคำถามเดียว ถามตรงไปตรงมา ให้ทุกคนอ่านคำถามแล้วรู้ว่าจะต้องกาซ้ายหรือขวา ไม่น่าเข้าใจยากอะไร แต่ทำไมเรื่องเหตุผลพื้นฐานธรรมดาประเทศนี้มันพูดกันยากเหลือเกิน
หัวข้อของรายการตั้งคำถามว่า คำถามประชามติแบบนี้เป็นการมัดมือชกหรือไม่ คุณนิกรมาถึงถามว่ามัดมือชกใครเหรอ?? ผมเลยยกมือบอกว่าผมนี่แหละ
นิกรยอมรับว่า คำถามนี้อาจจะมีปัญหาก็เฉพาะกับคนที่ต้องการเขียนใหม่ทั้งฉบับ เค้าไม่ได้พูดออกมาตรงๆแต่ จับทางได้ว่าเค้าเห็นว่าคนกลุ่มนี้น่ะมีน้อย ไม่มีนัยยะสำคัญอะไร ทั้งที่เราเพิ่งรวบรวมรายชื่อได้มากกว่า 200,000 ภายในเวลาแค่ 3 วัน ไม่มีการรวมตัวรวมพลังไหนที่จะยิ่งใหญ่กว่านี้แล้วเท่าที่นึกได้ 
สงสัยต้องเอาหลายล้านให้เค้าดู ยังไม่รู้ว่าจะทำทางไหนแต่รู้ว่าทางข้างหน้าแม่งเหนื่อยเหลือเกิน
เดินออกมาจากตึกไทยรัฐ พบว่าวันนี้อากาศไม่หนาวแล้ว เสียงรถราวิ่งบนถนนขวักไขว่ ประเทศนี้มีประชากรมากกว่าหกสิบล้าน เดาใจไม่ได้เลยว่าถ้ามีประชามติด้วยคำถามแบบนี้คนจะอยากออกเสียงไปทางไหน และเราควรจะรณรงค์ไปทางไหน
แล้วก็มาเจออันนึ้
ที่นี่เคยมีคนตาย
ตายเพราะต้องการให้คนได้ยิน
ให้คนได้ยินว่ายังมีคนสู้อยู่นะ
เลยหยุดยืนยกมือไหว้ เห็นพวงหรีดชื่อคนดังๆ มากมาย กล่าวขอโทษที่เมื่อปี 2549 เราเองไม่ได้ทำอะไรมากกว่านี้ และกล่าวขอบคุณที่ทำให้รู้ว่า เราไม่ได้สู้อยู่คนเดียว มีคนที่ทำสิ่งที่กล้าหาญ ซื้อสัตย์ และเสียสละกว่าเราอีกมาก ขอบคุณที่มาตั้งอยู่ตรงนี้ในวันนี้ วันที่กำลังต้องการใครสักคนมาบอกว่าทางข้างหน้ามันจะไม่ยากจนเกินไป
ใหญ่กว่านี้เราก็ทำได้
รัฐธรรมนูญต้องเขียนใหม่ทั้งฉบับ
สสร.ต้องเลือกตั้ง100%
ถ้าไม่ได้วันนี้ก็จะได้ในวันหน้า ถ้าไม่ได้ในรัฐบาลนี้ก็จะได้ในรัฐบาลที่ดีกว่านี้ครับ ลุงนวมทองไม่ได้ตายไปฟรีๆ
...
Yeesibsee Yeesibsee
คว่ำเลยครับ ไม่เห็นชอบ พอแล้วกับคำหลอกลวง "รับๆไปก่อนแก้ทีหลัง" สร้างปัญหามามากพอแล้ว ทั้งฉบับ 2550 2560 ใช้ลูกไม้นี้ตลอด

Nok Rocharake
ส่งกำลังใจมาให้นะคุณเป๋า จะให้ทำอะไรบอกมา เราจะเดินไปด้วยกันค่ะ

Thiraphong Kantarattanakul
พวกเราต้องสู้ต่อไปเพื่อนรุ่นลูกเราครับ

อ่านความเห็นเพิ่ม https://www.facebook.com/photo?fbid=7226776077352989&set=a.244499545580712
.....
Yingcheep Atchanont
1d
·
ถ้าหากพรุ่งนี้มีการทำ #ประชามติ #รัฐธรรมนูญใหม่ โดยรัฐบาลใช้คำถามว่า “เห็นชอบหรือไม่ที่จะเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด1 หมวด 2 ” ผมขอคาดเดาปรากฏการณ์ว่า จะมีผลกระทบจากคน 4 กลุ่ม ดังนี้ครับ
1) “กลุ่ม extreme” กลุ่มที่ต้องการให้แก้ไขพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ซึ่งเห็นว่าเป็นใจกลางที่ต้องแก้ไขก่อนเรื่องอื่น หรือต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง โดยจะอาศัยจังหวะมาทำในการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่นี้ กลุ่มนี้ผมคาดว่ามีไม่มาก หลักหลายแสน อย่างมากก็ 1,000,000 คน
2) ”กลุ่ม หลังตั้งตรง“ คือกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการยึดหลักการ ต้องการทำกระบวนการให้ถูกต้องโปร่งใส อยากเห็นรัฐธรรมนูญใหม่ที่ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ ไม่ได้มีธงชัดเจนหรอกว่าหมวด1-2 จะแก้อะไร เมื่อเห็นว่าคำถามมีปัญหา เขียนใหม่ไม่ได้จริงทั้งฉบับ จงใจตั้งคำถามเชิงซ้อนให้เกิดความสับสน ก็จะปฏิเสธที่ ”กระบวนการ“ ที่เป็นปัญหา กลุ่มนี้ผมจะเดาว่ามีจำนวนมาก เอาแค่หนึ่งในสามของคนโหวตพรรคก้าวไกล ตีไป 4-5 ล้านคน
3) ”กลุ่มงงๆ เบลอๆ“ คือ กลุ่มคนที่ไม่ได้ติดตามการเมืองใกล้ชิดนัก ไม่รู้ว่าหมวด1-2 คืออะไร ไม่ได้ศึกษามาก่อน ก็รู้แหละว่ามีรัฐธรรมนูญใหม่ก็คงดี แต่ไม่ได้มีธงอะไรชัดเจน เมื่อทราบว่ามีการกำหนดวันทำประชามติก็เดินไปใช้สิทธิวันนั้นเลย พอเข้าไปในคูหาอ่านคำถามละเอียดๆ เป็นครั้งแรก ก็ตกใจว่า การแก้ได้บางอย่างและแก้ไม่ได้บางอย่างมันเป็นเรื่องน่าแปลกประหลาดและไม่น่าจะเป็นเรื่องดี ไม่มีเวลาศึกษาอะไรเพิ่มเติมในคูหา ก็ต้องกา No ไว้ก่อน จะสันนิษฐานว่ากลุ่มนี้มีจำนวนมาก ถ้าทำประชามติพรุ่งนี้้้เลยอาจมีถึง 10 ล้านคน ยกเว้นเสียแต่ว่าก่อนวันลงประชามติฝ่ายที่ต้องการให้ผ่านได้รณรงค์อย่างหนักและสำเร็จว่า หมวด1-2 ของปัจจุบันคืออะไร และดียังไง ก็จะลดจำนวนคนกลุ่มนี้ได้มาก แต่ผมเชื่อว่ารัฐบาลก็จะไม่ทำอย่างนั้น เพราะไม่อยากพูดถึงเนื้อหาส่วนเหล่านี้ที่เป็นเรื่องพระมหากษัตริย์ในทางสาธารณะ จึงยังไม่เห็นโอกาสที่คนกลุ่มนี้จะลดจำนวนลง และขอบอกเลยว่าผมจะไม่ช่วยทำด้วย
4) ”กลุ่มไม่แก้“ คือคนที่ไม่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 เพราะชื่นชอบในการปกครองของคสช. และระบอบประยุทธ์ คนกลุ่มนี้ก็คือคนที่ในปี66 เลือกพรรครวมไทยสร้างชาติและพรรคไทยภักดีรวมกัน ประมาณ 4,000,000 กว่าคน
คนทั้งสี่กลุ่มไม่ได้คิดอะไรเหมือนกัน ไม่ได้เป็นเพื่อนกัน เอาจริงก็คือคิดแตกต่างกันอย่างสุดขั้วและอาจจะเกลียดกันมากด้วยซ้ำไป แต่ถ้าเดินไปทำประชามติด้วยแบบที่รัฐบาลตั้งใจไว้ คนทั้งสี่กลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะลงคะแนนไปทางเดียวกัน คือ Vote NO
ซึ่งถ้าจำนวนมันมากขนาดนี้จริงก็จะรวมกันได้ประมาณ 20 ล้านคน หรือถ้าใครคิดว่าผมประเมินเวอร์ก็ช่วยลดลงซักครึ่งนึงก็เหลือประมาณ 10 ล้านคน จะสิบหรือยี่สิบก็ทำให้ผลของการทำประชามติมีโอกาสไม่ผ่านสูง (ประชามติปี59 คนเห็นชอบ 16.8 ล้านคน)
ผลร้ายหลังจากนั้นก็คือกลุ่มคนกลุ่มที่ 4) ที่ไม่ต้องการให้แก้ไขอะไรเลยก็จะเคลมคะแนนทั้งหมดของทั้งสามกลุ่มแรกว่าเห็นด้วยกับตัวเอง คือไม่ต้องการให้แก้ไขอะไรเลย แล้วเราก็จะเริ่มกระบวนการทำรัฐธรรมนูญใหม่ไม่ได้เลยตามผลที่ออกมา หรือถ้าเสียงส่วนใหญ่ยังคงให้ผ่านไปได้อยู่ กลุ่มคนกลุ่มที่ 4) ก็จะเคลมอยู่ดีว่ามีคนเห็นด้วยกับตัวเองเท่านั้นเท่านี้ ซึ่งมันไม่เป็นความจริง แค่ลองจินตนาการดูก็เห็นภาพอันน่ารังเกียจเสียแล้ว
เรื่องที่ผมเขียนมาอย่างยืดยาวนี้ไม่ได้เข้าใจยาก
คนที่มีมันสมองระดับคณะกรรมการศึกษาแนวทางประชามติที่เป็นทั้งนักการเมืองและนักวิชาการควรจะต้องคิดได้ หรือถ้าคิดไม่ได้ผมก็เดินไปบอกมาแล้วด้วยตัวของผมเอง มีช่องทางไหนที่พยามสื่อสารเรื่องนี้ได้ก็พยามพูดมาตลอด และไม่เข้าใจจริงๆว่าคนอย่างอาจารย์สิริพรรณ อาจารย์พรสันต์ อาจารย์ยุทธพร มองไม่เห็นความเป็นไปได้นี้เลยได้อย่างไร และปล่อยให้คำถามนี้ออกมาได้อย่างไร
การจะทำความเข้าใจรัฐบาลชุดนี้มันก็ไม่ได้ยากเกินไปที่จะมองเห็นว่ากว่าจะมาเป็นรัฐบาลได้เค้าต้องผ่านการต่อรองอะไรมาบ้าง เขาต้องยอมก้มหัวให้กับอำนาจเก่าอย่างมาก รวมทั้งการปกป้องหมวด1-2 สว. จึงจะยอมโหวตให้และให้เขาตั้งรัฐบาลขึ้นมาได้ ความเข้าใจเช่นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่นาทีแรกที่เศรษฐาเป็นนายกแล้ว แต่ที่ไม่เข้าใจคือทำไมรัฐบาลต้องพยายามทำตัวเป็นศัตรูกับข้อเสนอให้เขียนใหม่ทั้งฉบับ แล้วพูดจาต่อกันเหมือนผมกำลังทำตัวเป็นศัตรู ทั้งที่ข้อเสนอของเรานั้นแสนจะพื้นฐานและทำรัฐธรรมนูญใหม่มาแล้ว 20 ฉบับก็เขียนใหม่มันทุกมาตรามาตลอด
การตั้งคำถามประชามติที่มีปัญหาตั้งแต่แรกจะเป็นการเริ่มกระบวนการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ที่มีปัญหาตั้งแต่แรก และมีปัญหายาวไปไม่ได้รับการยอมรับจนสุดทาง
ท่ามกลางความอึดอัดอัด และความไม่เข้าใจอันนี้ ผมยังคงแบกความเชื่อที่มั่นคงอยู่ว่า ประชาชนในประเทศนี้ได้เปลี่ยนไปแล้วและไม่เหมือนประชาชนที่พวกเขาเคยรู้จัก เขาจึงตัดสินใจโดยการประเมินทุกอย่างต่ำเกินไป แล้วถ้าเรารวมพลังกันได้เราจะสร้างปรากฏการณ์อย่างอื่นแบบที่เขาคาดไม่ถึงได้ แต่ผมยังคิดไม่ออกว่า จะทำอะไรดี?? ตอนนี้คือต้องส่งเสียงไปยังคณะรัฐมนตรีให้ชัดเจนก่อนว่าเราไม่เอาคำถามที่มีเงื่อนไขแบบนี้โดยเด็ดขาด
เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ต้องเขียนใหม่ทั้งฉบับ
ไม่ยกเว้นหมวด1 หมวด2 หรือจะยกเว้นหมวด 3 หมวด 10 หมวดไหน ถ้าจะยกเว้นอะไรก็ไม่เห็นด้วยเท่ากันทั้งหมด
.....
Jirawat Jpspn
เครมไม่ได้ครับ เพราะผมก็อยากให้แก้หมวด 1 หมวด 2 ได้ ๆเลยต้องไปโหวต No ครับ

Charasdech Kiatdechpanya
ผมคิดว่ากลุ่มที่ 3 ตามที่วิเคราะห์ ถ้าไม่มีกระแสให้โหวต no จะโหวต yes ไว้ก่อน เหมือนตอนที่มีการทำประชามติรัฐธรรมนูญ 60 และคำถามพ่วงครับ

Thanu Rungrotreungchai ·
ประชามติรัฐธรรมนูญ60 อย่างน้อยก็ยังแยกคำถามพ่วงออกมา

อ่านความเห็นเพิ่ม https://www.facebook.com/pow.ilaw/posts/7223910367639560?ref=embed_post