วันอาทิตย์, ธันวาคม 24, 2566

งานวิจัยพบ พรรคก้าวไกล มาอันดับหนึ่ง ที่ประชาชนขอปรึกษาหารือ เพื่อให้แก้ปัญหา ผลการวิจัยได้เปลี่ยนความเข้าใจที่สำคัญของสังคมว่า สส. มีบทบาทเพียงด้านนิติบัญญัติ และการจัดตั้งตรวจสอบรัฐบาลเท่านั้น ทว่าความจริงแล้ว สส.ไทยยังมีบทบาทสำคัญด้านการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน


ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์
19h
·
วิจัยพบ พรรคก้าวไกล อันดับหนึ่ง ที่ขอปรึกษาหารือในเวทีสภาเพื่อให้แก้ปัญหาประชาชน ตามด้วย เพื่อไทย และภูมิใจไทย
งานวิจัยปริญญาตรีของนายนราเชษฐ รอดเมือง นักศึกษาปี 4 เรื่อง "การขอปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร" ได้รับรางวัลวิจัยยอดเยี่ยมของคณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต ปี 2566 มี รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชเลิศอนันต์ เป็นที่ปรึกษา
ผลการวิจัยได้เปลี่ยนความเข้าใจที่สำคัญของสังคมว่า สส. มีบทบาทเพียงด้านนิติบัญญัติ และการจัดตั้งตรวจสอบรัฐบาลเท่านั้น ทว่าความจริงแล้ว สส.ไทยยังมีบทบาทสำคัญด้านการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในท้องถิ่นจังหวัดด้วยอย่างเป็นทางการ โดยใช้เวทีสภาเป็นเครื่องมือผลักดันเพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชนจังหวัดต่างๆ ซึ่ง สส. จะมีเวลาคนละ 2 นาทีในวาระการขอปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะมีเวลาราว 1.30 ชม. ก่อนที่จะเข้าสู่วาระการประชุมต่อไป
ทั้งนี้ ทางฝ่ายสภาผู้แทนราษฎรจะมีหน่วยงานส่งเรื่องประเด็นปัญหาที่ สส. นำเสนอ ไปยังกระทรวงต่างๆ และติดตามรายงานผลการแก้ไขปัญหาของกระทรวงนั้นๆ ให้ สส. ได้รับทราบในท้ายสุด
งานวิจัยนี้ได้ใช้การประชุมสภาสมัยสามัญที่ 1 หลังเลือกตั้งพฤษภาคม 2566 ระหว่างครั้งที่ 3-12 (20 ก.ค.-31 ส.ค.) รวมการประชุม 10 ครั้ง มี สส. ร่วมขอปรึกษาหารือจำนวน 295 คน/ครั้ง รวม 879 ประเด็นปัญหา
ด้านพรรคการเมือง (ที่สมาชิกพรรคเสนอขอปรึกษาหารือ)
อันดันแรก ก้าวไกล 74 คน/ครั้ง (28.14% เป็นสส.บัญชีรายชื่อ 7 คน) 284 ประเด็นปัญหา (32.32%)
อันดับที่ 2 เพื่อไทย 65 คน/ครั้ง (24.71% สส.บัญชีรายชื่อ 4 คน) ) 216 ประเด็นปัญหา (24.52%)
อันดับที่ 3 ภูมิใจไทย 51 คน/ครั้ง (19.39%) 136 ประเด็นปัญหา (15.48%)
ด้านประเด็นปัญหาแยกตามภูมิภาค
(ส่วนใหญ่เป็นเรื่องปัญหาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้าถนน น้ำประปา น้ำชลประทาน)
อันดับแรก ภาคกลาง ร้อยละ 37.51 (314 ประเด็นปัญหา) อันดับที่ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 30.47 (255 ประเด็นปัญหา) อันดับที่ 3 ภาคใต้ ร้อยละ 18.16 (152 ประเด็นปัญหา) อันดับที่ 4 ภาคเหนือ ร้อยละ 13.86 (116 ประเด็นปัญหา)
ด้านกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหา (1 ประเด็นปัญหา อาจเกี่ยวข้องกับหลายกระทรวง)
อันดับแรก ก.มหาดไทย (การไฟฟ้านครหลวง/ภูมิภาค การประปานครหลวง/ภูมิภาค) ร้อยละ 51.88 (456 ประเด็นปัญหา)
อันดับที่ 2 ก.คมนาคม (กรมทาง) ร้อยละ 37.43 (328 ประเด็นปัญหา)
อันดับที่ 3 ก.เกษตรและสหกรณ์ ร้อยละ 16.72 (147 ประเด็นปัญหา)
รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับบทบาท สส. ต่อการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ว่า "บทบาทนี้มีมาตั้งแต่แรกมี สส. ในไทยเมื่อ 90 ปีมาแล้ว เพราะไทยมีระบบราชการรวมศูนย์อำนาจและการตัดสินใจที่ชนชั้นนำที่กรุงเทพ เมื่อมี สส. บทบาทสำคัญที่ไม่ด้อยไปกว่าบทบาทด้านการออกกฎหมาย คือต่อรองแบ่งปันจัดสรรงบประมาณและความเจริญให้กระจายลงไปยังจังหวัดท้องถิ่นต่างๆ รวมทั้งเป็นเสมือนเกราะช่วยเหลือประชาชนจากการรังแกของข้าราชการเจ้าใหญ่นายโตในจังหวัดอำเภอ และจากการที่ไทยมีการรัฐประหารเป็นระยะ การรัฐประหารจะมุ่งฟื้นอำนาจข้าราชการทุกหน่วย ฟื้นอำนาจรัฐรวมศูนย์ส่วนกลาง จึงทำให้องค์กรท้องถิ่นชะงักงันในการทำหน้าที่แก้ไขปัญหาของประชาชนในท้องถิ่นจังหวัด ดังนั้น เมื่อมีการเลือกตั้งอีกครั้งหลังว่างเว้นไปหลายปี สส. จึงมีบทบาทหน้าที่ในการช่วยเหลือประชาชน ด้วยการประสานเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ดังที่เราเห็นคือ ไฟฟ้า ถนน น้ำประปา เพราะที่ผ่านมาหน่วยงานเหล่านี้เป็นหน่วยงานที่แทบไม่ได้ถูกตรวจสอบเร่งรัดการทำงานอย่างจริงจัง ดังนั้น บทบาท สส. ไทยจึงยังมีบทบาทประสานช่วยเหลือประชาชนโดยเฉพาะด้านสาธารณูปโภคในวิถีชีวิตประจำวัน