วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 30, 2566

ตั้ง ‘ประยุทธ์’ เป็นองคมนตรี ไม่ใช่เรื่องเล็ก แสดงความจงใจ “ไม่ยึดมั่นรัฐธรรมนูญ”

ไม่เล็กไม่น้อย เกี่ยวกับการตั้ง ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นองคมนตรี นอกจากราชกิจจาฯ จะไม่มีคนรับสนองพระบรมราชโองการ เช่นเดียวกับราชโองการฯ อื่นๆ หลายอย่างในรัชกาลนี้ ประดุจด้วยเจตนาจะแจ้งละเมิดรัฐธรรมนูญ

แล้วยังองคมนตรีคนนี้เป็นคนแรกที่เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร แม้นว่าจะมีองคมนตรีอื่นที่รัชกาลนี้แต่งตั้งไว้แล้วก่อนหน้านี้ ที่เป็นสมาชิกคณะรัฐประหาร (คสช.) มาก่อน อีกทั้งองคมนตรี ๕ คนที่เคยเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ๓ คนแต่งตั้งจากผลแห่งการยึดอำนาจปกครอง

เมื่อดูความจงใจละเมิดรัฐธรรมนูญในการตั้งประยุทธ์ครั้งนี้ ไม่ใช่ครั้งแรก เมื่อประยุทธ์เข้ารับตำแหน่งนายกฯ หลังรัฐประหาร ๒๕๕๗ เขากล่าวคำถวายสัตย์ในพิธีเข้ารับตำแหน่งไม่ครบถ้วนตามธรรมเนียมปฏิบัติ เนื่องจากมีของแสลงอยู่ในคำถวายสัตย์ปกติ

นั่นคือ การสาบานตนที่จะเคารพและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ครั้งนั้นประยุทธ์แสดงชัดแจ้งว่าไม่ยึดมั่นรัฐธรรมนูญ เขาเพียงถวายสัตย์ต่อพระมหากษัตริย์ แล้วตัดห้วนไม่ยอมกล่าวถึงการปกป้องรัฐธรรมนูญ อาจเป็นด้วยถือดีว่าตนเป็นคนฉีกรัฐธรรมนูญมาก่อน

ต่อการที่องคมนตรีชุดนี้มาจากนายทหารเสียกว่าครึ่ง ๕๒.๖๓ เปอร์เซ็นต์ คือ ๑๐ คน สามคนเคยเป็นผู้บัญชาการทหารบก ได้แก่ สุรยุทธ์ จุลานนท์ เฉลิมชัย สิทธิสาท และ ประยุทธ์ จันทร์โอชา และมีทหารถึง ๗ คนที่มีส่วนร่วมทำรัฐประหาร ๕๗

นอกจากประยุทธ์ (หัวหน้า) และเฉลิมชัยแล้ว ก็มี ไพบูลย์ คุ้มฉายา ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ กัมปนาท รุดดิษฐ์ อำพน กิตติอำพน (ประยุทธ์ตั้งให้เป็น สนช. สภานิติบัญญัติฯ) และ จอม รุ่งสว่าง รวมความแล้ว “เหมือนการตบหน้าประชาชนฉาดใหญ่”

ดังที่ Somsak Jeamteerasakul ระบุไว้ “ยังเป็นการลอยหน้าว่าการทำรัฐประหารไม่ผิด เป็นการทำงานรับใช้ราชบัลลังก์” นอกเหนือจากถือเป็นพระราชอำนาจจำเพาะของพระมหากษัตริย์ แล้วก็รับประทานเงินเดือน แสนกว่าบาท จากภาษีที่เก็บจากประชาชน

(https://ilaw.or.th/node/6703)

ประกาศแต่งตั้ง พลเอก #ประยุทธ์ จันทร์โอชา องคมนตรี คนดีย์ ๆ ทั้งนั้น ถ้าลองไปดูรายชื่อองคมนตรีตั้งแต่ 2519 เป็นต้นมา จะพบว่ามีคนที่เคยมีส่วนร่วมกับการรัฐประหารแล้วเป็นองคมนตรีเกิน 10 กว่าคนไปแล้ว คนเด่น ๆ ก็เช่น ธานินทร์ กรัยวิเชียร, เปรม ติณสูลานนท์, สุรยุทธ์ จุลานนท์, ประยุทธ์, คมช 1 คน คสช 5 คน ศาลรธน 1 คน


ตราประจำคณะองคมนตรีไทย




 


Thanapol Eawsakul
8h·

ตัวเลขน่าสนใจ องคมนตรี ในหลวงรัชกาลที่ 10
ตอนนี้มี 19 คน
10 คน เป็นทหาร 52.63%
จาก 10 คน 3 คนเคยเป็น ผบ.ทบ.มาก่อน
สุรยุทธ์ จุลานนท์ เฉลิมชัย สิทธิสาท ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(ก่อนหน้ามีธีรชัย นาควานิช ด้วยแต่ลาออกไปแล้ว)
3 คนเป็นผู้พิพากษา
2 ใน 3 เป็นประธานศาลฎีกามาก่อน อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ ศุภชัย ภู่งาม
อีก 1 เป้ฯประธานศาลรัฐธรรมนูญ นุรักษ์ มาประณีต
นักเศรษฐศาสตร์ 2 คน
จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา อำพน กิตติอำพน
5 คนเป้นองคมนตรี 2 รัชกาล

ณ บัดนาว “เพื่อไทย” แสดงท่าทีเชิงบวกต่อร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมมากขึ้น - แต่ถ้าทักษิณ ชินวัตร ต้องขึ้นศาลใน คดี 112 ( อัยการสั่งฟ้องแล้ว) พรรคเพื่อไทยก็จะกลับลำ เสนอให้มีการนิรโทษกรรม คดี 112 ด้วย


.....

ยูดีดีนิวส์ - UDD news
11h
·
“ทนายแจม” ยินดี “เพื่อไทย” แสดงท่าทีเชิงบวกต่อร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมมากขึ้น ชี้เป็นจุดยืนที่ทั้งสองพรรคเห็นร่วมกันมาตั้งแต่การเซ็น MOU ประธานสภาฯ ย้ำรายละเอียดร่างฯ มุ่งคืนความเป็นธรรมให้แก่ทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียม
.
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ สส.กรุงเทพฯ พรรคก้าวไกล ให้ความเห็นต่อกรณีที่สมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ให้สัมภาษณ์ว่าพรรคเพื่อไทยจะไม่ขัดขวางและพร้อมให้ความช่วยเหลือในการผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของพรรคก้าวไกล โดยระบุว่า ตนมีความยินดีที่พรรคเพื่อไทยมีท่าทีที่เป็นบวกมากขึ้นต่อร่างกฎหมายดังกล่าว เพราะเป็นจุดยืนที่ทั้งสองพรรคเห็นร่วมกันเมื่อครั้งจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) เกี่ยวกับตำแหน่งประธานสภาฯ
.
ศศินันท์ย้ำว่า ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่พรรคก้าวไกลเสนอไม่ควรเป็นประเด็นปัญหาตั้งแต่ต้น เพราะหากได้อ่านในรายละเอียดของร่างฯ อย่างครบถ้วนแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าเป็นไปเพื่อการนิรโทษกรรมให้กับทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
.
การนิรโทษกรรมจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการแก้ไขปัญหาและคลี่คลายความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากกระบวนการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมืองในการเล่นงานฝ่ายตรงข้าม ขณะที่หลายบุคคลในพรรคร่วมรัฐบาลเวลานี้ก็เคยได้รับผลกระทบมาก่อน จึงเป็นเรื่องดีที่เราได้เห็นพรรคเพื่อไทยมีจุดยืนที่เป็นบวกมากขึ้น
.
ทั้งนี้ ตนเข้าใจว่าในพรรคร่วมรัฐบาลเองอาจมีความเห็นที่แตกต่างกันไปเกี่ยวกับการนิรโทษกรรม แต่ในเมื่อร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ถูกเสนอโดย ครม. และไม่ได้มีผลต่อการร่วมรัฐบาลระหว่างพรรคต่าง ๆ สส.พรรคเพื่อไทยจึงสามารถแสดงความเห็นร่วมได้ โดยตนหวังว่าการตัดสินใจของ สส.พรรคเพื่อไทยต่อจากนี้จะเป็นไปในทิศทางบวกต่อร่างฯ นี้ด้วยเช่นกัน
.
“เป็นเรื่องน่าดีใจที่พรรคเพื่อไทยมีทิศทางที่เป็นบวกมากขึ้นต่อ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่พรรคก้าวไกลเสนอ เพราะนี่คือสิ่งที่ประชาชนที่ได้ไปลงคะแนนเลือกตั้งกันมา มีความคาดหวังต่อพวกเราทั้งสองพรรคที่ได้คะแนนสูงสุด ก็หวังว่ากระบวนการต่อจากนี้จะเป็นไปในทิศทางบวกมากขึ้น เพื่อคืนความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมาต่อไป” ศศินันท์กล่าว
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #นิรโทษกรรมประชาชน


จตุพรและณัฐวุฒิ เห็นด้วยกับให้นิรโทษคดีมาตรา 112


พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ไม่ให้สังคมแตกแยก ต้องเป็นแบบไหน? | THE STANDARD NOW

The Standard

Streamed live on Nov 28, 2023 

พูดคุยกับ จตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน และอดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) 

พบกันในรายการ THE STANDARD NOW กับ ออฟ พลวุฒิ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD 

กดติดตาม และ กดกระดิ่ง : https://bit.ly/3Naelc3


ข้อเรียกร้อง น้ำตา ณัฐวุฒิ “ปล่อยหนุ่มสาวเผชิญกฎหมายลำพัง สังคมเดินหน้าไม่ได้” | Economic Forum 2023

The Standard

Nov 27, 2023 

ข้อเรียกร้องของณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ให้อำนาจรัฐ-ฝ่ายค้านจับมือผลักดันนิรโทษกรรม รวมถึงคดี 112 “การปล่อยคนหนุ่มสาวเผชิญหน้ากฎหมายเพียงลำพังไม่สามารถจะทำให้สังคมไทยเดินไปข้างหน้าได้” รวมถึงต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ในยุคที่ค้นหาประชาธิปไตยยากกว่าหาแป้ง นาโหนด

99 วันที่เขา ไม่ได้อยู่ในเรือนจำ! (อยู่ไหน ‘ภูมิธรรม’ ยังไม่รู้เลย!)



 

จับโป๊ะ io เม้นท์เชียร์นโยบาย #ซอฟต์พาวเวอร์ ของ #รัฐบาลเพื่อไทย โดยทุกบัญชีจะมีแพทเทิร์นแบบเดียวกันหมด เช่น ตั้งชื่อขึ้นต้นด้วย cxllme








ARM WORAWIT @armupdate

จับโป๊ะไอโอชมรัฐบาล เพจ Drama-addict ซึ่งมีผู้ติดตาม 3 ล้านคน จับโป๊ะไอโอที่มาแสดงความเห็นคอมเม้นต์ชื่นชมนโยบายซอฟต์พาวเวอร์

เมื่อกดเข้าไปดูโปรไฟล์ทั้ง 3 แอคเคาท์ที่มาโพสต์ชมนโยบาย มีโพสต์ข้อความให้ดูเหมือนเป็นคนปกติแต่ในช่วงเวลาเดียวกัน กลับพบข้อความคล้ายกันจนมีพิรุธ ว่าไม่น่าจะใช้แอคเคาต์ปกติ


นายกเศรษฐาสั่งรัฐมนตรีทุกกระทรวงเตรียม ‘ของขวัญปีใหม่’ ให้ประชาชน (ใช้ภาษีประชาชนอย่าเรียก ‘ของขวัญ’ ครับ)

ทำเนียบรัฐบาล 28 พ.ย. – โฆษกรัฐบาล เผยนายกฯ สั่งทุกกระทรวงเตรียมของขวัญปีใหม่มอบให้ประชาชน




 


suthichai @suthichai
เรื่อง ‘รัฐมนตรี’ ให้ ‘ของขวัญปีใหม่ประชาชน’ เป็นทัศนคติแบบผู้ปกครองประเทศคิดว่าประชาชนรอของแจกตลอด ให้เรารู้สึกเป็นหนี้บุญคุณนักการเมือง

เกิดค่านิยมเพี้ยน ๆ และความเข้าใจผิด ๆ ว่าผู้มีอำนาจเป็น ‘ผู้ให้’ และผู้ถูกปกครองเป็น ‘ผู้รับ’ เสมอ

ทั้ง ๆ ที่ใช้เงินภาษีประชาชนมาลด, แลก, แจก, แถมจนกลายภาระต่องบประมาณรายจ่ายที่ควรจะเอาไปทำเรื่องสำคัญ ๆ มากมายที่รอการ ‘ปฏิรูป’ ระยะกลางและระยะยาว

การอ้างว่ารัฐบาลก่อน ๆ ก็ทำ ไม่ใช่ข้ออ้างสำหรับรัฐบาลนี้ที่จะต้องทำ ไหนว่า ’คิดใหม่ ทำใหม่’ ไง

สำหรับผม รัฐมนตรีทุกคนเป็น ‘ลูกจ้าง’ ของประชาชน และยังอยู่ในช่วง ‘ทดลองงาน’ (probation) จึงต้อง ‘ส่งการบ้าน’ ให้ประชาชนตรวจให้คะแนนว่าสอบผ่านหรือไม่

ดูจากเกือบ 3 เดือนที่ผ่านมา รัฐมนตรีเกินครึ่ง ครม. ไม่มีแผนงาน, ผลงานหรือรายงานภาระหน้าที่ของตนเองดีพอที่ประชาชนจะให้สอบผ่านด้วยซ้ำ!

แทนที่จะ ‘มอบของขวัญปีใหม่’ ท่านต้อง ‘ส่งการบ้าน’ ให้ประชาชนตรวจครับ!

‘ของขวัญ’ ดีที่สุดจากรัฐมนตรีให้ประชาชนคือทำงานให้คุ้มค่าใช้จ่ายของประชาชนครับ!
...
แทนที่จะเรียกว่า ‘ของขวัญ’ ควรเรียกเป็น ‘ส่งการบ้าน’ ให้ประชาชนตรวจให้คะแนนว่าผ่านช่วงทดลองงานนี้หรือไม่




 

“ป้า ๆ รู้จักนักปกป้องสิทธิมนุษยชนไหม?” “มันเป็นยังไงล่ะ" “เป็นแบบป้าไง” “อ้าวเหรอ…" คุยกับ “ป้าสาคร” เจ้าของรางวัลสิทธิมนุษยชนคนธรรมดา เนื่องในวันนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงสากล


จิตแท้และวิญญาณขอมอบให้กับเสรีภาพของประชาชน: คุยกับ “ป้าสาคร” เจ้าของรางวัลสิทธิมนุษยชนคนธรรมดา เนื่องในวันนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงสากล

29/11/2566
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

“ป้า ๆ รู้จักนักปกป้องสิทธิมนุษยชนไหม?”

“มันเป็นยังไงล่ะ คือเรารู้แต่ว่าอะไรไม่ถูกต้องเราก็ต้องแก้ไข แต่ไอ้นักปกป้องสิทธิอะไรเนี่ย เป็นยังไง ”

“เป็นแบบป้าไง”

“อ้าวเหรอ… เป็นแบบป้าคือเป็นยังไง?”

นิยามความหมายของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจากเว็บไซต์ของ Amnesty ถูกเปิดออกเพื่ออ่านให้ ‘ป้าสาคร’ หญิงวัย 59 ปี ฟัง ตัวอักษรที่บรรยายคุณลักษณะต่าง ๆ ของคนที่เป็นนักปกป้องสิทธิว่ามีแบบใดบ้างที่ตรงกับสิ่งที่เป็นตัวเธอ

“โหย จะร้องไห้แล้วเนี่ยที่มีคนเห็นคุณค่าเราขนาดนี้” เธอกล่าวด้วยความตื้นตันใจหลังรู้ความหมายของนักปกป้องสิทธิที่กำลังเป็นประเด็นของบทสนทนาอยู่ในขณะนั้น และขอเล่าต่อด้วยความบริสุทธิ์ใจว่า ที่เธอพยายามช่วยเหลือนักกิจกรรมไร้ญาติที่ไม่มีคนส่งข้าวส่งน้ำให้ในเรือนจำ และรวบรวมเรื่องราวของพวกเขาออกมาโพสต์บนเฟซบุ๊กส่วนตัวของตัวเอง หรือส่งข่าวให้เพื่อนนักกิจกรรมช่วยเผยแพร่ข้อมูลผู้ถูกละเมิดสิทธิ เป็นเพียงการสนับสนุนแบบคนธรรมดาเท่านั้น เธอไม่ได้คิดอะไรที่มีเบื้องลึกเบื้องหลังไปมากกว่านี้อีกแล้ว

ที่ไหนมีชุมนุม ที่นั่นมี ‘ป้าสาคร’ คงเป็นนิยามที่บ่งบอกตัวตนของผู้หญิงคนนี้ได้ดีที่สุด เธอไม่ได้มีอะไรโดดเด่นกว่าผู้ชุมนุมหรือแกนนำคนไหน เธอไม่ได้เป็นนักกิจกรรม หากแต่เป็น ‘บุคคลสำคัญ’ ของนักกิจกรรมและผู้ถูกดำเนินคดีทางการเมืองหลาย ๆ คน ซึ่งมักจะขาดกำลังใจจากหญิงคนนี้ไปเสียมิได้

ในบรรดาเหล่าผู้ถูกดำเนินคดีการเมือง อาจคุ้นหน้าคุ้นตาหญิงวัย 59 ปี คนนี้ในลุคผมสั้นดำขลับ สวมเสื้อยืดแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เป็นรูปการ์ตูนแมวตัวส้ม มีเครื่องหมายยกเลิกมาตรา 112 กางเกงวอร์ม 5 ส่วน และรองเท้าผ้าใบที่พร้อมลุยไปทุกที่ เธอบอกว่าตัวเองยังคงแข็งแรงดี และพร้อมที่จะยืนเคียงข้างคนรุ่นใหม่ในประเทศนี้ต่อไปอีกนานแสนนาน

เนื่องในวันนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงสากล (29 พ.ย. ของทุกปี) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้มีโอกาสพูดคุยกับป้าสาคร หนึ่งในประชาชนที่ติดตามสังเกตการณ์คดีการเมืองมาอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ปี 2563 เธอกล่าวว่าที่ทำอยู่ในทุกวันนี้ก็เพราะ ‘ป้าก็คือป้า’ ผู้ไม่ขึ้นตรงกับสังกัดกลุ่มกิจกรรมใด ๆ ในประเทศนี้ เธอยืนยันว่าตนเองไม่ได้ฝักใฝ่กลุ่มผู้ชุมนุมกลุ่มใดเป็นพิเศษ “ป้าไม่ชอบไปกับใคร เวลามีม็อบ เราก็ไปของเรา ไม่วุ่นวายคน ไม่ต้องรอใคร”

สาวโรงงานเย็บผ้าจากนครสวรรค์

ปี พ.ศ. 2506 เป็นปีที่อยู่ในช่วงการปกครองบ้านเมืองของเผด็จการจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และเป็นปีที่ป้าสาครลืมตาขึ้นมาดูโลกในชีวิตแบบชาวนครสวรรค์ เธอกล่าวว่าตั้งแต่ลืมตาดูโลกใบนี้ในชีวิตแบบคนต่างจังหวัดก็ไม่ได้สุขสบายตั้งแต่แรก แม้ปัจจุบันสังคมจะก้าวไปข้างหน้า แต่ชีวิตคนต่างจังหวัดก็ยังดูเหมือนถูกทิ้งไว้ข้างหลังเสมอ

“ป้าเป็นคนนครสวรรค์ สมัยนั้นได้เรียนจนถึง ป.4 เอง เพราะบ้านป้าไม่ได้มีเงิน รองเท้าจะใส่ไปเรียนก็ยังไม่มีเลย แล้วสมัยนั้นโรงเรียนเราก็ต้องช่วยกันสร้างด้วยนะ ครูจะเอาตะปูให้เราคนละ 8 – 9 ตัว ไปช่วยกันตอกนู่นตอกนี่ในโรงเรียน” แม้เวลาจะล่วงเลยมานานนับ 40 ปี แต่ป้าบอกว่ายังจำเรื่องราวในสมัยเด็กได้อยู่บ้าง ทั้งในตอนพักกลางวันที่จะต้องวิ่งกลับบ้านเท้าเปล่าเพื่อไปกินข้าว และวิ่งกลับมาโรงเรียนเพื่อเรียนหนังสือต่อให้ทันในช่วงบ่าย เธอกล่าวว่า ช่วงที่ลำบากที่สุดน่าจะเป็นฤดูฝนที่พื้นเปียกแฉะไปทุกสารทิศ ทั้งไม่มีรองเท้าให้ใส่เดินก็ต้องใช้วิธีหนีบเท้าให้จ้ำได้ไวขึ้น

“พอเรียนถึง ป.4 ก็ต้องออกมารับจ้างทำนู่นทำนี่ มีอะไรให้ทำเราก็ไปทำ” ป้าเริ่มทำมาหากินตั้งแต่เด็ก ๆ เธอเข้าสู่วงการเย็บผ้าด้วยการไปรับงานจากคนแถวบ้าน แล้วเริ่มเรียนรู้ไปทีละนิดละน้อยจากประสบการณ์เหล่านั้น “แต่ถ้าเอามาให้ตัดผ้า อันนี้ทำไม่ได้นะ ป้าไม่ได้เรียนมา ป้าเรียนเย็บอย่างเดียว”

พอเติบโตขึ้น สาครในวัยสาวก็มีสามี เธอบอกว่าตนเองมีลูกชาย 2 คน ซึ่งทั้งคู่ได้เติบโตแยกย้ายกันไปมีครอบครัว และมีหลานตัวน้อยให้เธอเลี้ยงดูแล้วอีก 2 คน “ป้าเคยมีสามี แต่ก็เลิกและแยกย้ายกันไป ป้าเลี้ยงดูลูกชายมาด้วยตัวคนเดียว” สาครในวัยนั้นถูกทิ้งให้เผชิญหน้ากับความท้าทายในการหาเลี้ยงครอบครัวหลังเริ่มอาชีพสาวโรงงานเย็บผ้าได้ไม่นาน

“แต่ตอนที่ทำงานโรงงาน เราก็ได้มีโอกาสเข้าร่วมสหภาพแรงงาน เวลามีอะไร ป้าก็จะเป็นคนหนึ่งที่ไปร่วมเคลื่อนไหวอยู่เสมอ เพราะเรารู้ว่าข้าวหนึ่งจานมันก็เป็นเรื่องการเมือง แต่สมัยนั้นก็จะไปม็อบแรงงานเป็นส่วนใหญ่นะ”

“แต่ระหว่างนั้น ป้าก็ต้องเลี้ยงลูกคนเดียวมาตลอดตั้งแต่ลูกยัง 3 – 4 ขวบ จะบอกว่าเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวก็ได้” การเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวไม่ง่าย ภายหลังมาเธอรับรู้ว่าอดีตสามีได้เสียชีวิตไปแล้ว แต่ความสัมพันธ์ที่ตัดขาดกันมานาน ทำให้เธอไม่ได้อาลัยอาวรณ์ต่อกันอีกแล้ว “จะห่วงก็แต่หลาน เราก็หาเงินส่งให้หลานใช้อยู่ทุกเดือน”

เรื่องค่าใช้จ่ายเป็นเรื่องที่ป้าสาครเล่าออกมาด้วยความเต็มใจ เธอกล่าวว่า ไม่ได้รู้สึกอึดอัดใจที่จะเล่าเรื่องนี้ เพราะจริง ๆ ตัวเธอก็ไม่ได้มีรายได้อะไรมากมาย ปัจจุบันเธอรับเงินบำนาญจากประกันสังคมเดือนละประมาณ 2,000 – 3,000 บาท และมีรายได้จากการขายเสื้อยืดตามพื้นที่ชุมนุมต่าง ๆ “ตอนนี้อีก 1 ปี ก็จะได้เบี้ยคนชราแล้ว ก็จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ส่วนเสื้อที่ทำขายช่วงนี้ขายไม่ค่อยได้ แต่ก็จะมีขาประจำมาซื้ออยู่บ้าง”

สาคร ในวัย 59 ปี ยังคงหาลู่ทางหาเลี้ยงชีพพร้อมกับการเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองอยู่เสมอ ในกระเป๋าเป้ใบใหญ่ที่เธอมักสะพายไปไหนมาไหน ก็จะอัดแน่นไปด้วยสินค้าที่พร้อมขายให้กับผู้คนมากหน้าหลายตา หรือในบางครั้งบางคราก็มักจะเป็นอาหารสไตล์ Homemade ที่ป้าทำมาขายให้กับผู้ชุมนุมที่มาเฝ้าให้กำลังใจผู้ต้องหาหรือนักกิจกรรมตามพื้นที่ต่าง ๆ

“ป้าไม่เคยเปิดรับบริจาค หรือขอความช่วยเหลือจากใครนะ อยากทำเราก็ทำของเราเอง ไม่เคยคาดหวังเอาอะไรกับใครเลย”

จากสาวโรงงาน สู่การเป็นสาวเสื้อแดง

ป้าสาครบอกว่า ห้วงเวลาที่บรรยากาศทางการเมืองเริ่มมีหวังที่สุดเกิดขึ้นในช่วงปี 2544 โดยรัฐบาลจากปลายปากกาของประชาชนภายใต้การนำของ ทักษิณ ชินวัตร จากพรรคไทยรักไทย ผลงานของรัฐบาลไทยรักไทยในช่วงนั้นสร้างความประทับใจให้กับคนธรรมดาอย่างเธอสุด ๆ

หลังรัฐประหารปี 2549 สาครที่เป็นสาวโรงงานเริ่มหันหน้าเข้าสู่การเป็นสาวเสื้อแดงเต็มตัว “เราเห็นแก่นายกทักษิณ เราเห็นเขาถูกทำร้ายก็รับไม่ได้ มันเลยทำให้เราต้องออกมาเคลื่อนไหว”

สาครเล่าต่อว่า พอมาปี 2552 การเมืองมันแย่ มันถอยหลังลงเรื่อย ๆ คนเสื้อแดงทุกเฉดจึงรวมเป็นแดงเดียวมุ่งสู่ใจกลางเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร ประชาชนทุกภูมิภาคต่างหลั่งไหลเข้ามาชุมนุม เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ยุบสภา และเลือกตั้งใหม่ แต่ในช่วงเวลาเหล่านั้น ป้าสาครบอกว่ามันเป็นเหมือนความทรงจำที่เจ็บปวดอย่างสาหัสสำหรับเธอ

“มันเจ็บปวดมากนะเว้ย คือมันคืออะไรอะ การเข้าปราบประชาชนแบบนั้น”

“…”

“ตอนปี 53 ที่คนเสื้อแดงถูกปราบน่ะ เราเสียใจนะ” ป้าสาครไม่ได้บรรยายอะไรไปมากกว่าบอกว่าเธอหมดหวังกับประเทศเสียเหลือเกินในช่วงเวลานั้น

“ก่อนวันที่ 10 เมษา มันมีทหารที่ถูกยิงเสียชีวิต แล้วหลังจากนั้นเขาก็เริ่มเข้าสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงที่ราชประสงค์ ป้าไม่ได้อยู่ในวันนั้น เพราะออกมาได้ก่อน แล้วพอจะกลับเข้าไปเขาก็ไม่ให้เราเข้าไปแล้ว การชุมนุมในสมัยนั้นมันทุลักทุเล และน่ากลัวมาก เพราะบางพื้นที่จะเข้าแล้วออกไม่ได้ หรือเข้าไปแล้วอาจจะออกไม่ได้เลยก็มี” ป้าอธิบายต่อว่า ถึงอย่างนั้นเธอก็ได้เผชิญหน้ากับแก๊สน้ำตา และกระสุนยางอยู่หลายครั้งในระหว่างที่ชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดง

“ป้าไม่ได้มีเพื่อนสนิทที่ไปม็อบด้วย เพราะเราไปก็ไปคนเดียว ไปหาเพื่อนเอาข้างหน้า ไปหลายคนมันก็ต้องรอกัน” สาครบอกว่า ถึงจะเป็นคนตัวคนเดียว ไม่สังกัดกลุ่มไหน แต่เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2553 ก็สร้างความสะเทือนใจให้เธอไม่น้อยไปกว่าคนที่มีกลุ่มก้อน เพราะอย่างน้อยที่สุดเธอก็เป็นหนึ่งในประชาชนที่ยืดหยัดเพื่อประชาชนมาตลอดเหมือนกับทุก ๆ คน

“ตอนนั้นที่เราไปชุมนุม เราคิดว่ายังไงเราก็จะชนะแน่ ๆ เพราะประชาชนไม่พอใจมาก มันมีคนตายหลายศพ มันมีแต่ความโศกเศร้า”

“…”

“แล้วทุกวันนี้เรายังไม่รู้เลยว่าใครฆ่าคนเสื้อแดง”

สาวเสื้อแดงที่ผันตัวมาเป็น ‘แม่สาคร’ ของเด็กในม็อบ และการหยอดเงินวันละ 20 บาท เพื่อคนในเรือนจำ

สาครเล่าความแตกต่างของการชุมนุมในปี 2553 กับปี 2563 ด้วยคำอธิบายว่า “สังคมมันก้าวหน้าไปมาก การที่เยาวชนคนรุ่นใหม่หันมาทำการเมือง จัดการชุมนุมกันเองเป็นเหมือนการทำให้ประชาชนตาสว่าง”

เมื่อคดีการเมืองจำนวนมากจากการออกมาเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่เริ่มเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีในชั้นศาล สาครบอกว่า เธอติดตามสถานการณ์การละเมิดสิทธิดังกล่าวอยู่อย่างสม่ำเสมอ ทั้งจากคนที่รู้จักในม็อบและข่าวสารบนโลกออนไลน์ สาครกล่าวว่าที่เธอยังยึดติดและไม่ปล่อยวาง แม้คนในวัยเดียวกันหรือเพื่อนที่ร่วมกิจกรรมชุมนุมมาด้วยกันจะลดละเลิกกันไปแล้วก็ด้วยเหตุผลหลายอย่าง

“ป้าเห็นว่ามันไม่ยุติธรรม เด็ก ๆ ไม่ได้ทำอะไรผิด ไม่ได้ทำให้ใครตาย แต่เอาเขาไปติดคุกติดตาราง เรื่องพวกนี้มันคืออะไรอะ พวกผู้ใหญ่ต้องคิดนะ ทุกวันนี้เราผิดหวังกับกระบวนการยุติธรรมมาก”

“หลายคนหมดศรัทธา แต่ป้าก็อยากไปให้กำลังใจพวกเขา ไปโอบกอดพวกเขา เพราะเรารักทุกคนเหมือนลูก”

เธอกล่าวว่าในทุกครั้งที่ไปติดตามสังเกตการณ์คดีการเมือง เธอมักจะเลือกไปดูคดีมาตรา 112 เพราะด้วยความสัตย์จริงเธอไม่เห็นด้วยกับข้อกฎหมายข้อนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว “เราทำอะไรได้เราก็ทำ เราไปดูได้เราก็ต้องไปดู เพราะสังคมมันไปข้างหน้า และเวลามันจะไม่มีวันย้อนกลับไปอีกแล้ว”

“คดีที่เราไปดูแล้วสะเทือนใจนี่มีเยอะมาก คือสะเทือนใจไปหมด อย่างคดีของเก็ท ที่โดนเรื่องกิจกรรมทัวร์มูล่าผัว ใจจริงป้าอยากยกมือถามศาลมากเลยนะว่า เขาผิดอะไร”

ส่วนเรื่องเวลาเตรียมตัวไปศาลในแต่ละครั้ง ป้าสาครบอกว่าเธอไม่ได้มีความลับอะไรเป็นพิเศษ “เด็กคนไหนที่โดนคดี เขาก็จะส่งข้อความมาบอกว่าเขามีนัดอะไรบ้าง ถ้าเราว่างเราก็ไป”

สาครกล่าวเชิญชวนทุกคนเพราะว่าใคร ๆ ก็เข้าไปดู ไปให้กำลังใจได้ ที่สำคัญการเดินเข้าห้องพิจารณาคดีต่าง ๆ ก็ไม่ได้ต้องการอะไรไปมากกว่าตัวและหัวใจ บวกรองเท้าผ้าใบที่ดูสุภาพหน่อยก็พอแล้ว

นอกจากนี้ ป้าสาครยังบอกว่า เธอไม่เคยลืมรายชื่อของผู้ต้องขังคดีการเมืองเลยแม้แต่คนเดียว เธอยังคงจดจำชื่อของผู้ต้องขังที่น่าเป็นห่วงในความรู้สึกของเธอไว้เสมอ “ล่าสุดมีคนที่ชื่อเจมส์ ณัฐกานต์ใช่มั้ย ป้ารู้ข่าวมาว่าเขาไม่มีญาติ หาตัวครอบครัวยากมาก นี่ป้าก็ไปพัทลุงมา ไปขอเข้าเยี่ยมซื้อของใช้ของกินให้เขา แต่เรือนจำไม่ยอมให้ป้าเยี่ยมหรอก เพราะเราไม่ใช่ญาติ” หญิงในวัย 59 ปี เล่าเรื่องภารกิจทางการเมืองที่เธอทำเป็นการส่วนตัวต่อ เธอกล่าวว่า ในทุก ๆ วันจะเก็บออมเงินวันละ 20 บาท เพื่อไว้ใช้ซื้อของเข้าเรือนจำในทุก ๆ สิ้นเดือน โดยเธอมักจะเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะที่ราคาถูกที่สุดอย่างรถเมล์ และรถไฟ ก็แล้วแต่ว่าจะเป็นอะไร แต่ก็มักจะเลือกที่ถูกไว้ก่อนเสมอ

“ผู้ต้องขังบางคนเขาไม่มีใครจริง ๆ นะ โดยเฉพาะวันแรกที่ต้องเข้าไปในเรือนจำ เรายิ่งต้องรีบไปดูว่าเขาจะมีอะไรกินไหม เขาจะมีของใช้หรือเปล่า แต่เราก็ไม่เคยขอบริจาคจากใครนะ แต่ก็มีคนมาให้ร้อยสองร้อย ป้าไม่เคยถือมาใช้ส่วนตัว เอาให้เด็ก ๆ ที่ต้องการหมด”

ในงานรำลึก 46 ปี 6 ตุลา เมื่อปี 2565 มูลนิธิศักยภาพชุมชนประกาศรางวัลสิทธิมนุษยชนคนธรรมดา หนึ่งในคนที่ได้รับเลือกก็คือป้าสาคร เธอเล่าย้อนกลับไปว่าในตอนนั้นเป็นอะไรที่ตื้นตันใจสุด ๆ เพราะสิ่งที่เธอทำมาตลอด ไม่ได้หวังให้ใครมายกย่องสรรเสริญเลยสักนิดเดียว

“ป้าบริจาคเงินรางวัลทั้งหมดให้กองทุนราษฎรประสงค์ เพื่อนำไปใช้ประกันตัวประชาชนด้วยกันที่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีทางการเมือง เราไม่อยากเก็บเงินไว้ใช้คนเดียว”

“ต้องบอกไว้ตรงนี้เลยนะว่า ไม่ว่าป้าจะได้รับเงินหรือรางวัลอะไรต่อจากนี้ ไม่ว่ามันจะเป็นเงินหลักร้อยหรือหลักแสนบาท ป้าจะขอบริจาคให้กองทุนราษฎรฯ ทั้งหมด”

“นี่ไม่ได้รวยเลยนะ” ป้าสาครเสริม

เมื่อถูกถามว่าภารกิจทางการเมืองที่ทำเป็นส่วนตัวอยู่ทุกวันนี้ ป้าจะทำไปถึงเมื่อไหร่ เธอก็ตอบกลับทันทีว่า “ทั้งหมดนี้ ป้าทำด้วยใจบริสุทธิ์ ทั้งจิตแท้และวิญญาณขอมอบให้กับเสรีภาพของประชาชน ตายก็คือตาย ตายก็จบกัน”

ทั้งนี้ บทสนทนาเรื่องความช่วยเหลือถูกปิดท้ายด้วยความตลกขบขัน โดยป้าสาครกล่าวว่าเธอได้เก็บใบเสร็จหรือตั๋วรถที่เดินทางไปตามสถานที่ต่าง ๆ ไว้แล้ว เมื่อถามว่าทำไมเธอถึงทำแบบนั้น จึงได้คำตอบว่า “ก็เก็บไว้ก่อน วันไหนที่ประชาชนชนะ ค่อยเอาไปเบิกเงิน”

“แต่จะต้องเอาไปเบิกกับใครก็ไม่รู้หรอกนะ (หัวเราะ)”
 
ประชาชนต้องชนะ ประชาชนต้องได้นิรโทษกรรม

สาคร ในวัย 59 ปี บอกเล่าความฝันและจินตนาการถึงวันที่ประเทศไทยมีประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน เธอกล่าวว่าเราอาจได้ปูถนนทองคำแท้สักวันหนึ่ง และขอให้วันนั้นเธอจะมีชีวิตอยู่ได้เห็นถนนสายนั้นไปกับเด็ก ๆ ในม็อบของเธอ

“ถ้าการเมืองดี ถนนเราจะปูด้วยทองแท้ก็ได้ แล้วก็ถ้าถามว่าอยากให้เป็นแบบประเทศไหนมั้ย ก็อยากให้เป็นแบบฝรั่งเศสนะ คือเขาให้ความสำคัญกับสิทธิของประชาชน ป้าเห็นในข่าวที่เขาออกมาเผา มาชุมนุมก็ไม่เห็นใครโดนจับแบบบ้านเรา”

“นี่อะไร บ้านเมืองนี้ แค่ประชาชนเคลื่อนไหวเรียกร้องเรื่องไม่กี่เรื่อง ก็จับเข้าคุกเข้าตารางหมด”

เมื่อถามเธอว่าอยากฝากบอกอะไรถึงรัฐบาลตอนนี้ ป้าสาครกล่าวว่า เธอไม่ได้พอใจในสิ่งที่รัฐบาลเป็น แต่อย่างน้อยที่สุดขอให้ฟังเสียงของประชาชนที่เลือกเข้ามา และขอให้ผู้มีอำนาจได้โปรดฟังเรื่องนิรโทษกรรมคดีการเมือง

“ได้เป็นแล้วก็ทำหน่อยเถอะ ต้องช่วยกันดันให้ผ่านให้ได้นะ เพราะคนที่เจ็บคือประชาชน คุณกินเงินเดือนจากภาษีประชาชน”

แต่เมื่อสร้างสมมุติฐาน

ว่าหากนิรโทษกรรมคดีการเมืองไม่เกิดขึ้น เธอก็บอกว่าพร้อมลงถนนเสมอ “จริง ๆ การเลือกรัฐบาลก็เหมือนเลือกผัวนะ (หัวเราะ) มันไม่ดีก็เปลี่ยนใหม่แค่นั้นแหละ”

“ทำไมเราต้องจมปลักอยู่กับคนแย่ ๆ ล่ะ ในเมื่อเรามีโอกาส เราก็เปลี่ยนใหม่สิ ใช่ไหม?”

สิ่งที่น่ากังวล คือ ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนรัฐบาลแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ก็ยังมาตามคุกคาม ติดตามเฝ้าบ้าน และยังคงปิดกั้นการใช้สิทธิเสรีภาพของ ปชช.อยู่ ทั้งที่ไม่ได้มีกฎหมายใดให้อำนาจ - ท่านนายกฯว่าไง ?!?

TLHR / ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน @TLHR2014 ·17h
“บอย” ธัชพงศ์ แกดำ นักกิจกรรม โพสต์เผยว่ามีหน่วยความมั่นคง ทั้งทหาร-กอ.รมน. เข้าไปติดตามถึงบ้าน ขณะเขาไม่อยู่บ้าน เนื่องจากอาทิตย์นี้มีการเสด็จในงาน #รับปริญญา ที่ มธ.ศูนย์รังสิต

Bencha Saengchantra @BenchaMFP ·14h
สิ่งที่น่ากังวล คือ ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนรัฐบาลแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ก็ยังมาตามคุกคาม ติดตามเฝ้าบ้าน และยังคงปิดกั้นการใช้สิทธิเสรีภาพของ ปชช.อยู่ ทั้งที่ไม่ได้มีกฎหมายใดให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการเช่นนั้นได้เลย

รายการ “ปิยบุตรทัวร์” ปิยบุตร พูดเรื่องการนิรโทษกรรมคดีการแสดงออกทางการเมือง


#ปิยบุตร ทัวร์ EP5 “นิรโทษกรรม พุทธอิสระ?“ กับปิยบุตร แสงกนกกุล

Friends Talk

Streamed live 8 hours ago

9พ.ย.66 ปิยบุตรทัวร์รายการที่สนับสนุนความสามัคคีของคนในชาติมากที่สุดในขณะนี้ 

จรรยา ยิ้มประเสริฐ ได้นำเสนอเรื่องเบอร์รี่เลือดกับที่ประชุมสหประชาชาติ เจนีวา และยังมีแอคชั่นเรียกร้อง เรื่อง 112 #ปล่อยนักโทษการเมือง #ยกเลิกม112

เครือข่ายแรงงานเก็บเบอร์รี่ป่าในสวีเดนและฟินแลนด์
Yesterday ·

14 ปีแห่งการต่อสู้เพื่อหยุดยั้งการค้ามนุษย์แรงงานเก็บเบอร์รี่ เมื่อวานนี้ (27 พ.ย. 66) "เบอร์รี่เลือด" หรือกรณีปัญหาการค้ามนุษย์ชาวไทยในสวีเดนและฟินแลนด์ ได้ขึ้นนำเสนอที่ประชุมสหประชาชาติ หรือ United Nations ปีที่ 12 ว่าด้วยเรื่องธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
คุณจรรยา ยิ้มประเสริฐ ได้นำเสนอเรื่องเบอร์รี่เลือดกับที่ประชุมสหประชาชาติพร้อมเรียกร้องให้จัดอุตสาหกรรมเบอร์รี่ป่าของสวีเดนและฟินแลนด์อยู่ในกลุ่มธุรกิจใช้แรงงานจากการค้ามนุษย์ "Human trafficking blacklist" จนกว่าจะมีการแก้ไขปัญหา จ่ายค่าชดเชยให้เกษตรกรคนงานไทยที่เสียหาย และมีระบบใหม่จ้างงานใหม่ที่รับประกันรายได้อย่างเหมาะสมตามกฎหมายแรงงานสวีเดนและฟินแลนด์
นอกจากนี้คุณจรรยายังได้นำเสนอผังความสัมพันธ์ของขบวนการนี้ และจำนวนโควต้าตลอด 18 ปี ร่วม 120,000 วีซ่า และมีคนงานเคยและร่วมร้องเรียนปัญหากว่า 2,500 คน โดยเป็นกลุ่มที่ยังอยู่ในกระบวนการร้องเรียนกว่า 600 คน
ทั้งนี้ได้นำเสนอผลสำรวจความเสียหายของคนงานเมื่อปี 2556 และ 2565 จำนวน 250 คน พบว่าหนี้เบอร์รี่เพียง 1 ปี พุ่งสูงขึ้นถึง 220% และคนงานเสียหายหนักมาก ทั้งขายทรัพย์สิน (อาทิเช่น ทอง ที่ดิน บ้านและรถยนต์) เพื่อใช้หนี้ ถูกยึดรถ ถูกเจ้าหนี้เร่งรัด ต้องพักการเรียนของบุตร ฯลฯ
คุณจรรยา เน้นย้ำตอนท้ายว่า ปัญหานี้ที่ถูกละเลยในประเทศไทย เพราะประเทศไทย เป็นเพียงไม่กี่ประเทศ ที่ไม่ยอมรับอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ที่คุ้มครองการรวมตัวและต่อรองของลูกจ้าง และเกษตรกรไทยไม่อาจรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานได้ในกรอบกฎหมายไทยปัจจุบัน จึงเป็นกลุ่มคนที่ไม่คุ้นเคยกับกฎหมายแรงงาน ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิการรวมตัวต่อรอง พวกเขาจึงกลายเป็นเหยื่อของขบวนการค้าแรงงานไทยมาอย่างยาวนาน
ย้อนชม LIVE โดยที่ประชุมสหประชาชาติ: https://webtv.un.org/en/asset/k1p/k1pgbtmri5
#เบอร์รี่เลือด


Junya Yimprasert
1d·

14 ปีแห่งการต่อสู้เพื่อหยุดยั้งการค้ามนุษย์แรงงานเก็บเบอร์รี่ เมื่อวานนี้ bloodberries เบอร์รี่เลือด ได้ขึ้นนำเสนอที่ประชุมยูเอ็นปีที่ 12 ว่าด้วยเรื่องธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ณ กรุงเจนีวา
จรรยา นำเสนอเรื่องเบอร์รี่เลือดที่ยูเอ็น พร้อมเรียกร้องให้จัดอุตสาหกรรมเบอร์รี่ป่าของสวีเดนและฟินแลนด์ อยู่ในกลุ่มธุรกิจใช้แรงงานจากการค้ามนุษย์ Human-trafficking-blacklists จนกว่าจะมีการแก้ไขปัญหา จ่ายค่าชดเชยให้เกษตรกรคนงานไทยที่เสียหาย และมีระบบใหม่จ้างงานใหม่ที่รับประกันรายได้อย่างเหมาะสมตามกฎหมายแรงงานสวีเดนและฟินแลนด์
จรรยาได้นำเสนอผังความสัมพันธ์ของขบวนการนี้ และจำนวนโควต้าตลอด 18 ปี ร่วม 120,000 วีซ่า และมีคนงานเคยและร่วมร้องเรียนปัญหากว่า 2,500 คน โดยเป็นกลุ่มที่ยังอยู่ในกระบวนการร้องเรียนกว่า 600 คน
ทั้งนี้ได้นำเสนอผลสำรวจความเสียหายของคนงานเมื่อปี 2556 และ 2565 จำนวน 250 คน พบว่าหนี้เบอร์รี่เพียง 1 ปี พุ่งสูงขึ้นถึง 220% และคนงานเสียหายหนักมาก ทั้งขายทรัพย์สิน (ทอง ที่ดิน บ้าน รถ) ใช้หนี้ ถูกยึดรถ ถูกเจ้าหนี้เร่งรัด ต้องพักการเรียนลูก
จรรยาย้ำตอนท้ายว่า ปัญหานี้ที่ถูกละเลยในประเทศไทย เพราะประเทศไทย เป็นเพียงไม่กี่ประเทศ ที่ไม่ยอมรับอนุสัญญา ILO 87 และ 98 ที่คุ้มครองการรวมตัวและต่อรองของลูกจ้าง และเกษตรกรไทย ไม่อาจรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานได้ในกรอบกฎหมายไทยปัจจุบัน จึงเป็นกลุ่มคนที่ไม่รู้เรื่องกฎหมายแรงงาน ไม่รู้เรื่องการใช้สิทธิการรวมตัวต่อรอง พวกเขาจึงกลายเป็นเหยื่อของขบวนการค้าแรงงานไทยมายาวนาน






 

ลุงตู่ยังอยู่นะจ๊ะ เป็นองคมนตรีด้วยจ้า ผลงานเด่นของ #องคมนตรี คนใหม่


ไข่แมวชีส
4h·






การตั้ง ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นองคมนตรี โดยไม่มีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ อาจจะเป็นการขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่? เนื่องจาก รธน.กำหนดให้“ประธานรัฐสภา ประธานองคมนตรีต้องเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ”


Thairath_News @Thairath_News ·6h
ด่วน! ในหลวง โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง “บิ๊กตู่” เป็น องคมนตรี มีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป 
#บิ๊กตู่ #องคมนตรี #ข่าวการเมืองไทยรัฐออนไลน์
.....
TOTO Piyarat CH @TOTOPiyarat
การแต่งตั้งหรือปลดองคมนตรี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 มาตรา11 ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย และใน วรรคสาม ระบุไว้ชัดเจนว่า เมื่อมีการแต่งตั้งองคมนตรีอื่น ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง 
แต่เหตุใดในประกาศราชกิจจาแต่งตั้งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ล่าสุดจึงไม่มีประธานองคมนตรีรับสนองฯ เหตุนี้จะเป็นการทำผิดรัฐธรรมนูญหรือไม่




 

วันพุธ, พฤศจิกายน 29, 2566

พรรณิการ์ วานิช พูดถึงงบฯ ‘ซ้อฟพาวเวอร์’ บอก “เพื่อนข้าราชการฝากมาว่าขอร้อง...ไม่ต้องเป็นงบฝาก งบเบี้ยบ้ายรายทาง งบกระจัดกระจาย งบละลายแม่น้ำ"

อาทิตย์ที่แล้ว สุทธิชัย หยุ่น ตีฆ้องร้องป่าวให้ “จับตางบมโหฬารที่จะจัด หมื่นอีเวนต์ของรัฐบาลในปีหน้า” มาวันนี้ พรรณิการ์ วานิช ย้อนไปดู ซ้อฟพาวเวอร์อีกครั้ง นัยว่ามีข้าราชการบ่นเหนื่อยหน่ายกับความสะเปะสะปะของโครงการนี้

@suthichai พาดพิงถึงโครงการ เออีซี’ (Asean Economic Community) ของรัฐบาลก่อนว่าประโคมกันขนานใหญ่ “หลังใช้งบจัดอีเวนต์หมด ทุกอย่างก็สงบนิ่ง รัฐบาลไทยและคนไทยไม่พูดถึง AEC อีกเลย Soft Power จะเป็นอย่างกรณี AEC หรือไม่”

สำหรับ ช่อต่างกัน เธอว่ามีข้าราชการฝากมา “ว่าเหนื่อยมากเนื่องจากว่าตอนนี้ยังไม่มีหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพเรื่องซ้อฟพาวเวอร์โดยตรง ก็เลยเกิดการกระจายเบี้ยบ้ายรายทางงบประมาณซ้อฟพาวเวอร์ประจำหน่วยงานต่างๆ ทำให้รู้สึกว่ามันจะเข้าอีหรอบเดิม”

นั่นก็คือเอา ซ้อฟพาวเวอร์ ไปต่อสร้อยโครงการต่างๆ ให้คล้องจองกับ เรือธง ของรัฐบาลนี้ “แล้วใช้งบกันอีรุ่ยฉุยแฉก” เธอยกตัวอย่างโครงการขับเคลื่อน ๑ ครอบครัว ๑ ซ้อฟพาวเวอร์ผ่าน ๑๑ กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (OFOS)

อันเป็นการ Re-skill และ Up-skill แรงงาน ซึ่งหาเสียงไว้ว่าจะให้คน ๒๐ ล้านได้เรียนฟรี แต่ช่อตั้งคำถามว่างบประมาณที่จัดให้ ปีแรก ๑๗๗ ล้านบาทนั้น จะรีสกิล อัพสกิลได้กี่คนกันแน่ “ที่สำคัญโครงการนี้...ไม่ใช่เอาไปสอนอาชีพคนอย่างเดียวนะ

...จะมีการจัดอีเว้นต์ด้วย มหกรรมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่สากล เฉพาะอีเว้นต์อย่างเดียวน่าจะหลายสิบล้านบาทแล้ว เลยเป็นห่วงว่าพี่น้องที่ได้รีสกิลอัพสกิลกันนี้ จะเหลือจริงๆ กี่คน”

ต่อไป โครงการ ๑ อำเภอ ๑ ลานสร้างสรรค์ พรรคเพื่อไทยหาเสียงไว้ว่าจะทำ ๑ ตำบล ๑ ลานสร้างสรรค์ ไม่ว่ากัน ปีแรกอาจจะนำร่องก่อน ประเด็นก็คือ “ให้งบประมาณ ๔๓.๙๐ ล้านบาท มี ๘๗๘ อำเภอ ตกลานละ ๕ หมื่นบาทเท่านั้น”

พรรณิการ์ว่าต่อ “ดิฉันทำงานท้องถิ่นมาได้เห็น แค่สร้างสนามเด็กเล่นก็ใช้เงินหลักแสนแล้ว ๕ หมื่นบาทต่อลานนี่แค่ปรับที่ให้เรียบจะได้ครบหรือเปล่ายังไม่รู้ “ก็เลยคิดว่า ๑ ลานสร้างสรรค์นี้สุดท้ายแล้วจะลงเอยเหมือนตลาดประชารัฐ ก็คือร้างค่ะ”

มีอีก โครงการเที่ยวชุมชนยลวิถี ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน งบประมาณ ๖๐.๘๙ ล้านบาท นี่เป็นงบประมาณเล็กๆน้อยๆ ที่ให้เลือก “๑๐ สุดยอดชุมชนต้นแบบ แล้วพัฒนาศักยภาพเล่าเรื่องเที่ยวชุมชนยลวิถี ผลิตสื่อสารคดีเพื่อการประชาสัมพันธ์

และพัฒนาแอ็พเที่ยวเท่ๆ เสน่ห์เมืองไทย” เอ้า “ทำแอ็พอีกแล้วครับพี่น้อง” ช่อบอกว่านี่มันก็คือทำในสิ่งที่เขาทำกันอยู่แล้ว สุดท้าย ไม่รู้ว่าจะทำให้เกิดซ้อฟพาวเวอร์ได้อย่างไร...ยังมีอีกเยอะ เช่น ๑๐ ตลาดบก ๖ ตลาดน้ำ ๗๖ จังหวัด ๗๖ เทศกาลประเพณี”

งบฯ ส่วนนี้ ๒๓๔ ล้านบาท งานหลักอยู่ที่จัดอีเว้นต์ ตกลงยังไม่รู้ว่าอะไรที่เป็นหน้าปกของโครงการ “เพื่อนข้าราชการฝากมาว่าขอร้อง อยากรู้ว่าตกลงจะทำซ้อฟพาวเวอร์อะไร จะได้มีทักษะเดินหน้าไปด้วยกัน

แล้วก็ใช้งบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ต้องเป็น งบฝาก งบเบี้ยบ้ายรายทาง งบกระจัดกระจาย งบละลายแม่น้ำ แบบที่กำลังจะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ ๒๕๖๗”

(https://twitter.com/skongki2000/status/1729438108410863753 และ https://twitter.com/suthichai/status/1726825195678421408)

ชั้น 14 ช้างอยู่ทั้งตัว (โธ่เอ้ย) มองไม่เห็น






ปุจฉา-วิสัชนา

@brian_the_lover
.....
Atukkit Sawangsuk
14h·
พรรคเพื่อไทยไม่พอใจโรมพูดถึงคนชั้น 14
ก็ควรย้อนไปตบปากอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด ที่พูดน่าสะอิดสะเอียน
พรรคก้าวไกลมุ่งทำกฎหมายนิรโทษให้คนรุ่นใหม่ จำเป็นต้องหาจุดร่วม ไปคุยกับพุทธอิสระ
เป็นการหาจุดร่วมเฉพาะเรื่องนิรโทษกรรม ไม่ใช่สมคบกันเสวยอำนาจเหมือนเพื่อไทยกับพรรคประยุทธ์ประวิตร
พรรคก้าวไกลมุ่งทำกฎหมายนิรโทษให้คนรุ่นใหม่ อนุสรณ์ว่าถ้าไม่โดนกับพวกพ้องจะลุกขึ้นมาเสนอร่าง พรบ.นิรโทษหรือไม่
แล้วพวกเมริงล่ะ นิรโทษสุดซอย ลักหลับตีสี่ นิรโทษคนฆ่าเสื้อแดงเพื่อเอาทักษิณกลับบ้าน
แพ้เลือกตั้งแล้วตระบัดสัตย์ ทรยศจุดยืน สวามิภักดิ์อำนาจ เพื่อเอาทักษิณกลับมานอน รพ.ตำรวจชี่น 14
แต่พอจะนิรโทษม็อบ นิรโทษคนที่เขาต่อสู้จนพวกเมริงมีวันนี้ มาขัดขวางแล้วเย้ยหยาม
กรวย

"เฉลิม"ฟันธงย้ายอธิบดีดีเอสไอ โดนอิทธิพลหมูเถื่อน จี้ถามหาความผิดชอบ "เศรษฐา"สั่งกวาดล้างทำไมยังโดนเด้ง เผยบางแห่งผูกพันกับผู้บริหารประเทศ


"เฉลิม"ถามหาความรับผิดชอบ "เศรษฐา"สั่งดีเอสไอกวาดล้างหมูเถื่อนแล้วโดนเด้ง

Nov, 28 2023
The Better

"เฉลิม"ฟันธงย้ายอธิบดีดีเอสไอโดนอิทธิพลหมูเถื่อนจี้ถามหาความผิดชอบ "เศรษฐา"สั่งกวาดล้างทำไมยังโดนย้าย

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย กล่าวถึงการโยกย้ายอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอว่า เรียนพี่น้องประชาชนที่เคารพและสื่อมวลชนที่รัก ตามที่ผมได้แสดงความเห็นเรื่องหมูเถื่อน เนื้อเถื่อน ว่าไม่ควรใช้ดีเอสไอ มาปฏิบัติการกวาดล้างจับกุม เพราะผมรู้ว่าเบื้องหลังใครเป็นนายทุน ใครเป็นผู้บงการ และประมาณในช่วง2-3 วันมานี้ อธิบดี ดีเอสไอ ก็ได้สั่งการให้มีการตรวจสอบขยายผลแหล่งต้องสงสัย ในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งทราบว่ามีบางแห่งมีความผูกพันกับผู้บริหารประเทศ เลยถูกย้าย

"ผมไม่ได้กล่าวหาว่าใครสั่งย้าย แต่มันต้องมีคนย้ายอธิบดีดีเอสไอ แน่เพราะมีคำสั่งออกมา นายกรัฐมนตรีที่สั่งกวาดล้าง จะรับผิดชอบอะไรบ้างหรือไม่ ก็คงเป็นเวรกรรมของเจ้าหน้าที่ต่อไป"ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว

อดีตรองนายกฯ กล่าวอีกว่า ตนเองยังยืนยัน มีรัฐมนตรี อักษรย่อ ป.ส.ฉ.ยังมีบทบาทกับขบวนการนี้ ทางที่ดีควรให้กรมศุลกากรเป็นเจ้าภาพร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเหมาะสมกว่า หากมอบหมายให้หน่วยงานเล็กๆทำงานก็จะถูกย้ายอีก

เมื่อวาน อธิบดี DSI ตรวจ #หมูเถื่อน ที่แมคโคร เร่งออกหมายจับ วันนี้ เด้งอธิบดี DSI เรียบร้อย


Uninspired by Current Events @UninspiredBy ·5h
Nom Nom



 


Thanapol Eawsakul
16h·

คุณคิดว่า 2 ข่าวนี้เกี่ยวพันกันไหมครับ
เด้งอธิบดี DSI ที่ ได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องหมูเถื่อน
จบข่าวที่หุ้น CPAXT ของเครือ CP ร่วง หลังจาก DSI พบ ว่า Makro รับซื้อหมูเถื่อน
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=742002557965333&id=100064667864722&mibextid=Nif5oz

ไม่โยงถึงนักโทษชั้นที่ 14 ก็ได้ - บันทึกเยี่ยม 5 ผู้ต้องขังคดี 112 “ภูมิ-เก็ท-อารีฟ-น้ำ-แม็กกี้


บันทึกเยี่ยม 5 ผู้ต้องขังคดี 112 “ภูมิ-เก็ท-อารีฟ-น้ำ-แม็กกี้”: “เก็ท” ถูกขังใกล้ครบ 100 วัน เริ่มเตรียมใจว่าจะต้องอยู่นานเป็นปี หรือมากกว่านั้น

28/11/2566
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

ระหว่างวันที่ 19 พ.ย. 2566 – 23 พ.ย. 2566 ทนายความได้เข้าเยี่ยมผู้ต้องขังทางการเมืองซึ่งถูกคุมขังในคดีมาตรา 112 ได้แก่ “ภูมิ” ที่บ้านเมตตา, “เก็ท” โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง, “อารีฟ” วีรภาพ วงษ์สมาน, “แม็กกี้” ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และเยี่ยม “น้ำ” วารุณี ที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์

ล่วงถึงปลายปีเดือนพฤศจิกายน อากาศเริ่มเย็นลง ส่งผลให้ผู้ต้องขังมีอาการป่วยไข้จากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ยิ่งเฉพาะในเรือนจำที่เป็นห้องลูกกรงเหล็กและมุ้งลวดซึ่งไม่อาจกั้นลมที่พัดเข้ามาได้ กับชีวิตของนักโทษทางความคิด มีบางส่วนที่เข้าใจยอมรับถึงสถานการณ์ชีวิตที่เกิดขึ้น เช่น เก็ท เริ่มเตรียมใจว่าระยะของการอยู่ในนั้นอาจจะนานกว่าที่คิด หรือแม็กกี้ ที่เริ่มปรับตัวชีวิตในนั้นได้ ขณะที่ภูมิคิดกับตัวเองหลังใช้ชีวิตในบ้านเมตตาผ่านการอดอาหารว่า “ไม่รู้ต้องรู้สึกยังไง ยังคิดอะไรไม่ออก” โดยเฉพาะหลังคำสั่งของศาลที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงให้ภูมิต้องพ้นจากบ้านเมตา

ถึงที่สุดพวกเขาทั้ง 5 คน ยังมีความหวังว่าจะได้ออกไปใช้ชีวิตข้างนอก มันอาจเป็นสิ่งเดียวที่ปรารถนาและอยากให้บังเกิดในเร็ววันที่สุด

.
“ภูมิ”: ไม่รู้ต้องรู้สึกยังไง ตอนนี้รู้สึกคิดอะไรไม่ออก



วันที่ 23 พ.ย. 2566 ที่ปรึกษาฯ เข้าเยี่ยมภูมิผ่านวิดีโอคอลอีกครั้ง ภูมิมีสีหน้าเคร่งเครียด ที่ปรึกษาฯ แจ้งคำสั่งยกคำร้องของศาล หลังแม่ยื่นคำร้องขอให้ศาลเปลี่ยนแปลงคำสั่งกรณีให้ควบคุมตัวในสถานพินิจฯ ไปเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2566 และได้อ่านคำสั่งศาลให้ภูมิฟังความว่า “พิเคราะห์แล้ว กรณียังไม่มีเหตุอันสมควรให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต่อจำเลย ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ มาตรา 137 จึงไม่อนุญาต ยกคำร้อง” ภูมิถามถึงมาตรา 137 ว่าเกี่ยวกับอะไร

ที่ปรึกษาฯ อธิบายว่า เป็นมาตราว่าหากมีข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าศาลจะเห็นเอง หรือ ผอ.สถานพินิจฯ หรือผู้ปกครองยื่น แล้วศาลเห็นว่ามีเหตุสมควร ศาลก็มีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวกับการลงโทษหรือวิธีการสำหรับเยาวชนได้ ภูมินั่งนิ่งและถามว่าคำสั่งออกมาเมื่อไหร่ ที่ปรึกษาฯ แจ้งว่า วันพุธช่วงบ่ายสามโมง แต่ที่ปรึกษาฯ ยังไม่สามารถเข้าเยี่ยมภูมิวันพฤหัสเพื่อแจ้งคำสั่งศาลได้ เพราะวันพฤหัสเป็นวันเยี่ยมแบบใกล้ชิดเท่านั้น ซึ่งภูมิต้องกักตัวอยู่ทำให้เข้าเยี่ยมแบบใกล้ชิดไม่ได้

เมื่อถามความรู้สึกภูมิหลังจากได้ฟังคำสั่ง ภูมิบอกว่า ไม่รู้ต้องรู้สึกยังไง ตอนนี้รู้สึกคิดอะไรไม่ออก สภาพจิตใจย่ำแย่ ที่ปรึกษาฯ ถามถึงเรื่องการปรับตัวและความเป็นอยู่ข้างใน ภูมิบอกว่า “รู้สึกปรับตัวดีขึ้น เรื่องบรรยากาศข้างในก็โอเคระดับหนึ่ง อาจจะมีที่รู้สึกไม่โอเคเฉพาะบุคคล อย่างผู้คุมหรือเด็กที่อยู่ในนี้บางคนที่รู้สึกว่าเขาปิดกั้นเรา มองเราแปลก ๆ ว่าเป็นคดีแบบนี้”

ภูมิเล่าถึงอาการช่วงอดอาหารอีกว่า คืนวันอาทิตย์ มีอาการอาเจียนเป็นเลือดหนัก ต้องพาส่งโรงพยาบาลสิรินธร หมอที่นั่นล้างท้องและให้น้ำตาล กลับจากโรงพยาบาลประมาณ 6 โมงเช้า จึงขอยุติการอดอาหารเพราะร่างกายไม่ไหว

ภูมิบอกเล่าสภาพความเป็นอยู่ล่าสุดว่า “ตอนนี้ก็กินข้าวได้ปกติ แต่กิจกรรมไม่ได้ทำอะไร เพราะกักตัวอยู่ข้างบน มีคนกักตัวร่วมกัน 5-6 คน เป็นคนที่ออกไปศาลเหมือนกัน ห้องกักตัวเป็นห้องนอนรวม”

จนถึงปัจจุบัน (28 พ.ย. 2566) ภูมิถูกคุมขังมาแล้ว 42 วัน

.
“อารีฟ” วีรภาพ: ช่วงนี้อากาศเริ่มเย็น แล้วป่วยอีก กลายเป็นว่าตอนกลางคืนทรมานมาก



วันที่ 20 พ.ย. 2566 อารีฟบอกทนายที่เข้าเยี่ยมว่า กลับมาเริ่มป่วยอีกแล้ว น่าจะเพราะอากาศเปลี่ยนแปลง เลยเริ่มมีอาการรุม ๆ เหมือนจะเป็นไข้ ขณะนี้ยังได้ไม่พบหมอ ก่อนเล่าว่า วันที่ 29 พ.ย. 2566 นี้จะมีการจัดงานลอยกระทงข้างใน ซึ่งอารีฟได้เป็นนายนพมาศประจำห้อง และจับฉลากได้แห่เป็นห้องแรก ไม่รู้จะเป็นยังไงเหมือนกัน

อารีฟเล่าอีกว่า ช่วงนี้มีการแข่งฟุตบอลกันในแดน อารีฟเป็นหนึ่งในคนที่ลงแข่งด้วย แต่ล่าสุดเพิ่งแพ้มา อาจจะเพราะป่วยด้วยเลยเล่นได้ไม่เต็มที่ แต่ก็สนุกดี หลังจากได้แข่งบอล อารีฟเลยนึกถึงการจัดแข่งฟุตบอลกระชับมิตรของกลุ่มราษฎรว่าน่าจะแข่งช่วงนี้เหมือนกัน

เกี่ยวกับสถานการณ์ในเรือนจำ อารีฟบอกว่า เพื่อนนักโทษการเมืองเล่าว่าเหมือนผู้คุมจะใหัทุกคนย้ายไปแดน 4 น่าจะเริ่มจากธีก่อน แต่ต้องรอดูอีกทีว่าจะเป็นยังไง

อารีฟย้ำว่า ช่วงนี้อากาศเริ่มเย็นแล้ว และป่วยอีก เลยกลายเป็นว่าตอนกลางคืนทรมานมาก เพราะห้องเป็นลูกกรงกับมุ้งลวด เลยมีลมโกรก พอกลางคืนอากาศเย็น คนที่ป่วยก็เลยทรมาน ก่อนบอกทิ้งท้ายว่า ยังได้อ่านหนังสือบ้างประปราย เล่มหนึ่งใช้เวลาค่อนข้างนานเพราะหนามาก เลยอ่านไปเรื่อย ๆ อ่านก่อนนอน

จนถึงปัจจุบัน (28 พ.ย. 2566) อารีฟถูกคุมขังมาแล้ว 62 วัน

.
“เก็ท” โสภณ: คงต้องเตรียมใจว่าจะต้องอยู่ในนี้นานเป็นปี หรือมากกว่านั้น



20 พ.ย. 2566 เป็นครั้งแรกที่เก็ทเริ่มต้นบทสนทนาด้วยการถอนหายใจ ก่อนบอกกับทนายว่า ทุกวันนี้เห็นโดมิเมล (Domimail) มาแล้วแอบกลัว กลัวเนื้อหามันทำร้ายจิตใจอีก ไม่อยากอ่าน เก็ทพูดถึงโดมิเมลว่า จะถูกส่งไปที่คณะกรรมการตรวจโดยตรงเลย ไม่ต้องผ่านคนตรวจในแดน ฉบับล่าสุดเก็ทเขียนเรื่องโพรมีธีอุสที่นำไฟมาให้มนุษยชาติแล้วถูกเทพลงโทษ อดัมกับอีฟขโมยแอปเปิ้ลแล้วโดนลงโทษ เปรียบกับเรื่องการลงโทษผู้ใต้ปกครองในการต่อต้าน

เก็ทฝากบอกคนที่จะส่งโดมิเมลเข้ามาว่า ให้กรองเรื่องละเอียดอ่อนต่อความรู้สึกด้วย การอยู่ในเรือนจำมันไม่มีอะไรให้ทำมาก จดหมายบางฉบับที่เนื้อหาทำร้ายจิตใจ มันก็จะอยู่กับเราไปทั้งวัน เพราะไม่มีเรื่องอื่นมาดึงความสนใจมากนัก เก็ทกล่าวว่า ตอนนี้เจ้าหน้าที่รัฐทำร้ายเราไม่ได้แล้ว คนใกล้ตัวเราอย่าทำร้ายกันเองเลย

กับเรื่องการต่อสู้ เก็ทบอกว่าคุยกับอานนท์ นำภา ไว้แล้วว่า คงต้องเตรียมใจว่าจะต้องอยู่ในนี้นานเป็นปี หรือมากกว่านั้น หรืออาจจะถึงขั้นต้องเตรียมตัวไปเรือนจำคลองเปรม จากนั้นเก็ทเปลี่ยนมาเรื่องสุขภาพ อวดว่าวันนี้ชั่งน้ำหนัก น้ำหนักขึ้นมา 5 กิโลกรัม แบบไม่มีพุงเลย มั่นใจว่าเป็นกล้ามเนื้อล้วน ผลจากการออกกำลังกายหนักมาก ทั้งเวท ทั้งต่อยมวย ผู้ต้องขังที่เป็นเทรนเนอร์ให้ยังแซวว่า “เห็นมั้ยคุกให้อะไรมากกว่าที่คุณคิด”

เก็ทอยากย้ำว่า โดมิเมลของเก็ทกับอานนท์ถูกจับตามาก ตรวจมากกว่าคนอื่น ถ้าใครมีเรื่องสำคัญหรือเรื่องหลังบ้านอยากให้มาตีเยี่ยมที่เรือนจำเองจะดีกว่า เพราะถ้าส่งจดหมายมา ไม่รู้ใครได้อ่านบ้าง มันจะตรวจหลายขั้น ก่อนบอกอีก หลังจากนี้อาจจะเลิกเขียนโดมิเมล แล้วให้ทนายมาจดบันทึกส่วนตัวแทน หรือถ้าส่งได้ อยากให้ศูนย์ทนายฯ เปิดโดมิเมลไว้หน่อย เก็ทอยากฝากลงโดมิเมลของเขาแทนเพจของตัวเอง

จนถึงปัจจุบัน (28 พ.ย. 2566) เก็ทถูกคุมขังมาแล้ว 97 วัน หรือกว่า 3 เดือน

.
“น้ำ” วารุณี: ยิ้มกว้างเมื่อเห็นภาพตัวเองในนิทรรศการ “ผู้ใดหมิ่นประมาท”



วันที่ 22 พ.ย. 2566 ทนายสังเกตเห็นน้ำดูสดใสขึ้น เธอบอกว่าวันนี้แต่งหน้ามาสวยเลยเปิดแมสก์คุยกัน ก่อนอัพเดตว่า เธอยังกินยารักษาโรคไบโพล่าร์ในปริมาณเท่าเดิม ทนายถามว่ายาที่ส่งไปให้ยังไม่หมดเหรอ น้ำบอกว่าพยาบาลแจ้งว่ายังมีอยู่ แต่เธอเขียนใบสั่งยาเตรียมไว้แล้ว “วันศุกร์นี้มีรอบกลับแดนค่ะ แต่น้ำยังไม่รู้นะว่าจะได้กลับวันนั้นมั้ย ถ้าได้กลับก็ต้องให้น้องสาวซื้อของใช้ในแดนให้หน่อย แล้วคงไม่ได้อ่านหนังสือที่ทนายส่งให้แล้ว”

น้ำฝากทนายช่วยเช็คกฎระเบียบของทัณฑสถานหญิงกลางอีกครั้งว่า สามารถเอาหนังสือเข้าไปได้ไหม มีข้อห้ามอะไรหรือไม่ เพื่อที่จะไปคุยกับเจ้าหน้าที่ในแดน

สุดท้ายทนายให้น้ำดูภาพ นิทรรศการ 3 ปี 112 “ผู้ใดหมิ่นประมาท” ที่จัดที่อาคาร All Rise (สำนักงาน iLaw) และภาพเสวนาของเครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน น้ำยิ้มกว้างเมื่อเห็นภาพตัวเองในงาน กล่าวว่า “คนที่สนใจเขาก็สนใจจริง ๆ นะ ขอบคุณมากค่ะ”

จนถึงปัจจุบัน (28 พ.ย. 2566) น้ำถูกคุมขังมาแล้ว 154 วัน หรือกว่า 5 เดือน

.
“แม็กกี้”: “หนูอยู่ได้ เริ่มปรับตัวได้แล้วค่ะ”



วันที่ 23 พ.ย. 2566 แม็กกี้ย่อตัวไหว้อย่างสวยงามเพื่อทักทายทนายที่นั่งรออยู่แล้ว เธอยกหูโทรศัพท์ขึ้นมาพลางเปิดแมสก์ให้ดูว่าวันนี้ปากไม่ค่อยแดงเท่าไหร่ ระหว่างพูดคุยกันแม็กกี้ไอเป็นระยะ ทนายจึงถามว่ายังไม่ดีขึ้นเหรอ ก่อนได้คำตอบ

“ก็มีไอนิด ๆ หน่อย ๆ ค่ะแม่ เจ็บคอไม่จบไม่สิ้น วันนี้ก็รู้สึกมึน หนูเพิ่งกินยาไป 2 เม็ด”

ทนายให้แม็กกี้ดูภาพงาน นิทรรศการ 3 ปี 112 “ผู้ใดหมิ่นประมาท” เธอร้องวี้ดว้าย ถามว่ามีรูปหนูมั้ย ทนายตอบว่า ไม่มีหรอก เพราะแม็กกี้ไม่ได้ให้ความยินยอมในการเปิดเผยรูป ก็จะเป็นรูปดำ ๆ แล้วก็มีชื่อแบบนี้ แม็กกี้ยิ้ม บอกว่า “ไม่เป็นไรแม่ แค่นี้ก็ดีใจแล้ว เห็นแล้วก็ตื้นตันใจค่ะแม่”

แม็กกี้เล่าให้ฟังอีกว่า ได้จดหมายตอบกลับจากทางบ้านแล้ว เมื่อพูดถึงจดหมายฉบับนั้น เธอดูหม่นหมองลง “หนูเขียนทำนองว่า ตอนนี้อยู่เรือนจำ โดนมาตรา 112 ที่บ้านไม่ต้องเป็นห่วง มีคนดูแลอยู่ เขาก็เขียนบอกมาว่า ตกใจ ไม่คิดว่าหนูจะโดนมาตรา 112 ทางบ้านก็บอกให้หนูดูแลตัวเองดี ๆ แล้วจะบอกน้าให้มาเยี่ยม เพราะการเดินทางลำบาก แม่เลยมาหาไม่ได้ แต่น่าจะตามมาทีหลัง คือหนูก็รู้สึกสบายใจขึ้นว่า ทางบ้านรู้ข่าวแล้ว”

ส่วนเรื่องการย้ายแดน แม็กกี้บอกว่ายังไม่มีวี่แววว่าจะถูกย้ายไป “ตอนนี้ก็ยังมีปัญหาเรื่องความแออัดอยู่ค่ะ แต่รู้สึกว่าช่วงสิ้นเดือนนี้ เขาจะจำแนกคนที่คดีสิ้นสุดแล้วไปแดนอื่น ถ้าเป็นแบบนั้นจริง ปัญหาเรื่องความแออัดน่าจะลดลง”

ก่อนแม็กกี้พูดด้วยน้ำเสียงมีพลังใจ “หนูอยู่ได้ เริ่มปรับตัวได้แล้วค่ะ”

จนถึงปัจจุบัน (28 พ.ย. 2566) แม็กกี้ถูกคุมขังมาแล้ว 38 วัน

เมื่อพิจารณาจากคำแถลงของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหา "หนี้นอกระบบ" พบว่า เนื้อหาไม่แตกต่างจากแนวทางในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มากนัก



22 ปีรัฐบาลไทย แก้ปัญหา "หนี้นอกระบบ" สำเร็จหรือล้มเหลว อย่างไรบ้าง

28 พฤศจิกายน 2023
บีบีซีไทย

"หนี้นอกระบบ" เป็นปัญหาเรื้อรังในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน แต่ปัญหานี้ถูกหยิบยกมาเป็นนโยบายรัฐบาลเพื่อมาแก้ไขอย่างจริงจังอย่างน้อยก็เมื่อ 22 ปีที่แล้ว ทว่า จนถึงวันนี้ปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

ล่าสุด รัฐบาลของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ประกาศว่า การกำจัดปัญหานี้ให้สิ้นไปจากแผ่นดินไทยถือเป็น "วาระแห่งชาติ" แต่ดูเหมือนว่าแนวทางการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลเศรษฐายังขาดรายละเอียด เมื่อเทียบกับรัฐบาลชุดก่อนอย่างน้อย 3 ชุด ที่เคยลุกขึ้นมาแก้ปัญหานี้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากคำแถลงของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหา "หนี้นอกระบบ" พบว่า เนื้อหาไม่แตกต่างจากรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มากนัก

บีบีซีไทย สรุปรายละเอียดส่วนสำคัญจากคำแถลงของนายเศรษฐาต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 28 พ.ย. ดังนี้

สรุปแนวทางการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ของ "รัฐบาลเศรษฐา"

แนวทางที่นายเศรษฐา ประกาศส่วนใหญ่เป็นการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบตามกลไกเดิมที่มีอยู่แล้ว กล่าวคือ กระทรวงการคลังจะรับผิดชอบดูแลกลุ่มที่เป็นลูกหนี้นอกระบบหลังจากที่มีการปรับโครงสร้าง และไกล่เกลี่ยกันเรียบร้อยแล้ว ผ่านธนาคารของรัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)


นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง พร้อมด้วยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย, นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รมช.คลัง และ พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ร่วมแถลงข่าววาระแห่งชาติ การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

ธนาคารออมสิน ซึ่งขณะนี้มีโครงการอยู่แล้ว เงื่อนไขการขอแก้ไขหนี้นอกระบบ ประกอบด้วย
  • วงเงินกู้ส่วนบุคคลไม่เกินรายละ 50,000 บาท ในระยะเวลา 5 ปี
  • วงเงินกู้สำหรับผู้ที่มีอาชีพอิสระ วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ในระยะเวลาสูงสุด 8 ปี
สำหรับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะดูแลกลุ่มเกษตรกรที่นำที่ดินไปขายฝาก หรือติดจำนองกับทางหนี้นอกระบบและได้มีการแก้ไขแล้ว
  • วงเงินสำหรับเกษตรกรไม่เกินรายละ 2.5 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมให้มีผู้ประกอบการสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้กำกับ (สินเชื่อฟิโกไฟแนนซ์) โดยมีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นผู้กำกับดูแล เพื่อให้เป็นทางเลือกของประชาชนที่จะกู้ยืมเงินในระบบในยามฉุกเฉินและจำเป็น เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งทุน โดยผู้ประกอบการที่สนใจต้องมีทุนจดทะเบียนอย่างน้อย 5 ล้านบาท โดยจะเน้นการใช้เงินเพื่อเป็นเงินกู้เท่านั้น ไม่ใช่การรับฝากเงิน โดยคิดอัตราดอกเบี้ยตามที่กระทรวงการคลังกำหนด คือไม่เกิน 36% ต่อปี



อย่างไรก็ตาม "สินเชื่อฟิโกไฟแนนซ์" ไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากกระทรวงการคลังได้เริ่มให้มีและส่งเสริมการประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยประเภทนี้มาแล้วตั้งแต่ปี 2560

ส่วนในด้านการบังคับใช้กฎหมาย มีเพียงคำสั่งการให้กองบัญชาการตำรวจนครบาล ตำรวจภูธรภาค 1-9 ทำการเอกซเรย์พื้นที่ และส่งข้อมูลขึ้นบัญชีผู้ประกอบการหนี้นอกระบบทั้งหมด และเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเท่านั้น

"ปัญหาหนี้นอกระบบได้กัดกร่อนสังคมไทยมายาวนาน และเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาสังคมอีกหลายประการ รัฐบาลได้ประเมินจำนวนครัวเรือนที่มีปัญหาหนี้นอกระบบ คิดเป็นมูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งคิดว่า ตัวเลขนี้น่าจะประเมินไว้ค่อนข้างต่ำ และปัญหาจริง ๆ น่าจะมีมากกว่านั้น" นายเศรษฐากล่าวระหว่างการแถลงข่าว

"รัฐบาลประยุทธ์" กับ 5 แนวทางแก้หนี้นอกระบบ

บีบีซีไทยรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยและเอกสารที่เผยแพร่สาธารณะว่าด้วย การแก้ไขปัญหา "หนี้นอกระบบ" พบว่า มีรัฐบาลอย่างน้อย 3 รัฐบาลที่ชูประเด็นการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบขึ้นเป็นนโยบายสำคัญ พร้อมทั้งระบุถึงผลของการดำเนินการ แม้ว่าปัญหาดังกล่าวยังไม่หมดไปก็ตาม


พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี

ย้อยกลับไปในเดือน ก.ย. 2563 รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ประกาศแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบเช่นกัน โดยสรุปเป็น 5 ด้าน ดังนี้
  • พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 ซึ่งเพิ่มโทษกับเจ้าหนี้นอกระบบ และเปิดช่องทางให้เจ้าหนี้นอกระบบสามารถจดทะเบียนเป็นผู้ให้สินเชื่อในระบบได้
  • ลูกหนี้สามารถร้องทุกข์และขอคำปรึกษาปัญหาหนี้นอกระบบได้ที่ “จุดให้คำปรึกษาปัญหาหนี้นอกระบบ” ที่ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทุกสาขา ซึ่งจะช่วยประสานคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้นอกระบบในทุกจังหวัด เพื่อช่วยเจรจาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้
  • การจัดหาแหล่งเงินในระบบให้ เมื่อไกล่เกลี่ยจนมูลหนี้เป็นธรรมแล้ว โดยรัฐบาลได้สนับสนุนให้มีสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ (PICO Finance)
  • ฟื้นฟูศักยภาพลูกหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่ยังมีความสามารถในการชำระหนี้ต่ำเกินไป คณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการหารายได้ของลูกหนี้นอกระบบในทุกจังหวัด จะช่วยฟื้นฟูอาชีพ ปลูกฝังความรู้และวินัยทางการเงิน ฝึกอบรมอาชีพ หรือพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน
  • สร้างภูมิคุ้มกัน ภาครัฐจะพัฒนาเครือข่ายองค์กรการเงินชุมชนให้ทำหน้าที่ทดแทนเจ้าหนี้นอกระบบ พร้อมกับให้ความรู้ทางการเงินแก่ประชาชนและจัดทำฐานข้อมูลหนี้นอกระบบ เพื่อใช้กำหนดนโยบายที่เหมาะสมและตรงเป้าหมายต่อไป
ส่วนผลการดำเนินงานระหว่าง ส.ค. 2561 - ก.พ. 2563 ช่วยเหลือลูกหนี้ให้ได้รับทรัพย์สินคืนแล้ว 25,044 ราย คิดเป็นโฉนดที่ดินจำนวน 21,304 ฉบับ จับกุมผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบและผู้ติดตามทวงถามหนี้โดยวิธีการผิดกฎหมายได้จำนวน 6,002 ราย และการให้แหล่งเงินในระบบพิโกไฟแนนซ์ มียอดสินเชื่ออนุมัติสะสมจำนวน 269,880 บัญชี รวมเป็นจำนวนเงิน 7,018.34 ล้านบาท

"รัฐบาลอภิสิทธิ์" กับ “การลงทะเบียนหนี้นอกระบบ”

ในงานวิจัย "หนี้นอกระบบกับความเป็นธรรมทางสังคม" โดย ดร.สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล จากสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เผยแพร่ในการประชุมวิชาการในปี 2557 ได้ระบุถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่มีโครงการแก้ไขหนี้สินภาคประชาชน (หนี้นอกระบบ) ระหว่างปี 2552-2554 และถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีความคล้ายคลึงกับการลงทะเบียนคนจนในรัฐบาลชุดก่อน หรือ รัฐบาลของนายทักษิณ ชินวัตร

โครงการดังกล่าวมีกระทรวงการคลังเป็นเจ้าภาพหลัก ผ่านความร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงยุติธรรม ซึ่งตั้งเป้าหมายไปที่กลุ่มที่มีหนี้นอกระบบเท่านั้น


โครงการแก้ไขหนี้สินภาคประชาชน (หนี้นอกระบบ) ของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีความคล้ายคลึงกับการลงทะเบียนคนจนในรัฐบาลของนายทักษิณ ชินวัตร

สำหรับขั้นตอนการดำเนินการครั้งนั้น ประกอบด้วย การรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบที่มียอดคงค้างไม่เกิน 200,000 บาท ผ่านธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. แล้วประมวลผล คัดกรองและจัดประเภทลูกหนี้ แล้วส่งไปสู่การเจรจาประนอมหนี้เพื่อนำเข้าสู่ระบบ หากลูกหนี้มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การให้สินเชื่อของธนาคารภายใต้โครงการนี้ ก็สามารถกู้เงินได้

แต่สำหรับกรณีลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติไม่ผ่านเกณฑ์ จะได้รับการพิจารณาช่วยเหลือต่อไป


ในครั้งนั้น กระทรวงการคลังได้เผยแพร่ผลการดำเนินการว่า ยอดลูกหนี้ที่ขึ้นทะเบียนหนี้นอกระบบผ่าน ธ.ก.ส. และ ธนาคารออมสิน เป็นระยะเวลา 2 เดือน (ธ.ค. 2552 - ม.ค. 2553) มีจำนวน 1,183,355 ราย คิดเป็นจำนวนมูลหนี้ 122,672.19 ล้านบาท และมีการเจรจาประนอมหนี้สำเร็จ 602,803 ราย ไม่สำเร็จ 182,862 และขอยุติเรื่อง 397,690 ราย

"รัฐบาลทักษิณ" กับ "การลงทะเบียนคนจน"

ในยุครัฐบาลของนายทักษิณ ชินวัตร ได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าภาพหลัก และจัดตั้ง ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ หรือ ศตจ. ขึ้นในวันที่ 19 พ.ย. 2546 เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนโดยบูรณาการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

ในระยะแรก กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยดำเนินการจดทะเบียนประชาชนที่ประสบปัญหาสังคมและความยากจนเพื่อเป็นข้อมูลในการดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน ซึ่งเริ่มจดทะเบียน ระหว่างวันที่ 6 ธ.ค. 2546 - 31 มี.ค. 2547 โดยมีผู้จดทะเบียนรวมกว่า 8 ล้านคน พบว่าในจำนวนผู้ลงทะเบียนมีปัญหามากกว่า 12.3 ล้านเรื่อง


นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

ในขณะนั้นมีผู้ระบุว่าเป็นหนี้นอกระบบจำนวน 1,765,033 ราย คิดเป็นมูลหนี้ 136,750 ล้านบาท

รัฐบาลนายทักษิณดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวผ่านแนวทางสำคัญเบื้องต้น ดังนี้
  • ลงทะเบียนผู้ประสบปัญหา
  • การเจรจาและยุติเรื่อง โดยสามารถเจรจาและขอยุติเรื่องได้จำนวน 1,525,900 ราย คิดเป็น 86.5% ของลูกหนี้นอกระบบทั้งหมด
  • โอนหนี้นอกระบบมาเข้าสู่ในระบบ ลูกหนี้ที่ผ่านการเจรจาและประสงค์ขอกู้จำนวน 218,000 ราย ในจำนวนนั้นได้รับการอนุมัติ คิดเป็น 48.4% ของจำนวนผู้ผ่านกระบวนการเจรจาทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม ในงานวิจัยดังกล่าว ดร.สุรางค์รัตน์ ตั้งข้อสังเกตว่า นับตั้งแต่การยึดอำนาจการปกครองโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 รัฐบาลของ พล.อ. ประยุทธ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้า คสช. มีการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบไม่แตกต่างจากการดำเนินการในรัฐบาลก่อนหน้า

ขณะเดียวกัน จากคำแถลงของนายเศรษฐา เมื่อวันที่ 28 พ.ย. ที่ผ่านมา ก็มีเนื้อหาไม่แตกต่างจาก 5 แนวทางของการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของ "รัฐบาลประยุทธ์" ที่เคยแถลงไว้เมื่อเดือน ก.ย. 2563