วันศุกร์, ธันวาคม 29, 2566

28 ธค 66 ครย.112 และ มวลชนอิสระ จัดกิจกรรม “เดินเล่น แขวนป้าย ถ่ายรูป” พร้อมตะโกนว่า “นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง แก้ไขทุกหมวดทุกมาตรา” เพื่อส่งกำลังใจให้เพื่อนในเรือนจำ


ไข่แมวชีส
9h ·

28 ธค 66 ครย.112 และ มวลชนอิสระ จัดกิจกรรม
“เดินเล่น แขวนป้าย ถ่ายรูป” พร้อมตะโกนว่า
“นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง แก้ไขทุกหมวดทุกมาตรา”
เพื่อส่งกำลังใจให้เพื่อนในเรือนจำ
โดยกิจกรรมเริ่มเวลา 16.00 น. ณ สกายวอร์ค MBK และได้เดินไปที่สามย่านมิตรทาวน์ ไปจบที่สนามหลวง
จากนั้นกลุ่มนักกิจกรรมได้ ทานข้าวร่วมกัน และยุติกิจกรรม เวลา 18.00 น.



ประชาไท Prachatai.com
18h·

ก่อนหมดปี 2566 ยังคงมีผู้ถูกคุมขังเพราะ ม.112 อีกจำนวนมาก ทั้งผู้ถูกกล่าวหาที่ยังไม่ได้รับการประกันตัว และผู้ที่คดีมีคำพิพากษาถึงที่สิ้นสุดแล้ว
กฎหมายอาญามาตรา 112 ยังคงมีปัญหาทั้งในแง่ตัวบทและการบังคับใช้ โดยถูกนำกลับมาใช้อย่างแข็งขันหลังการรัฐประหารของ คสช. และหลังเกิดกระแสการชุมนุมเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา
อีกทั้งการพิจารณาคดียังไม่มีความคงเส้นคงวา เมื่อนำฐานความผิดสามอย่าง 'ดูหมิ่น-หมิ่นประมาท-อาฆาตมาดร้าย' ซึ่งแนวทางการตีความก็ยังไม่แน่นอนเข้าไว้ด้วยกัน โดยมีโทษจำคุกระหว่าง 3-15 ปี
"พอเราไม่มีวิธีคิดในเรื่องของการวิพากษ์วิจารณ์ ทุกอย่างก็เลยถูกตีความว่าเสื่อมเสียพระเกียรติยศ"
#ยกเลิก112 #แก้ไข112 #ปล่อยนักโทษการเมือง #คืนสิทธิประกันตัว
.....

ประชาไท Prachatai.com posted a video to playlist งานเสวนา.
12h
·
ผศ.รณกรณ์ บุญมี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ พยานผู้เชี่ยวชาญคดีมาตรา 112 หลายคดี เล่าที่มา การ ระวาง โทษ ไม่สอดคล้องกับสิทธิมนุษยชน ในวงเสวนา "3 ปี 112 : คนและคดียังเดินหน้ารอพิพากษา" ที่โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) จัดขึ้นวันที่ 12 พฤศจิกายน 2566
.
รณกรณ์ กล่าวว่า เรื่อง ระวางโทษ รัฐธรรมนูญห้ามไม่ให้มีการลงโทษที่เป็นการทรมานโหดร้ายมนุษยธรรมย่ำยีศักดิ์ศรี มีคดี Weeks VS UK ที่รับรองไว้ว่า การลงโทษทาอาญา การกำหนดโทษทางอาญาที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ ไม่ได้สัดส่วนกับความผิด ใช้เขาเป็นเครื่องมือเพื่อป้องกันไม่ให้คนอื่นทำความผิดตาม
"ศาลเชือดไก่ให้ลิงดู ใช้เขาแทนที่ลงโทษเขาเพราะสิ่งที่เขาผิด" เป็นการลงโทษที่ผิดหลักสิทธิมนุษยชนที่เรียกว่า 'สิทธิที่จะไม่ถูกทรมาน'ซึ่งการตีความในบางประเด็นอาจจะเกินตัวบทไปมาก แล้วอาจจะหลุดกรอบของกฎหมาย
.
“ถ้าเราอยากอยู่ในโลกที่มันได้มาตรฐานนานาชาติ อันนี้คือผมไม่ได้พูดว่าเราจะต้องเจริญก้าวหน้าเป็นผู้นำโลก แต่ผมพูดถึงมาตรฐานขั้นต่ำ เพราะเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของมาตรฐานขั้นต่ำในการอยู่ร่วมกัน ถ้าเราอยากเป็นรัฐที่ไปบอกชาวโลกได้ว่าเรามีประชาธิปไตยเราเคารพสิทธิมนุษยชน ผมว่าเรื่องพวกนี้อย่างแย่ที่สุดพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องควรจะต้องมีความกล้าหาญที่จะเอาข้อเสนอ 4-5 ข้อนี้ที่เสนอ ผมคิดว่าพรรคการเมืองที่เป็นตัวแทนในระบบประชาธิปไตยแย่ที่สุดก็ต้องเอาเรื่องพวกนี้มาพูดคุยกันว่าตกลงว่าเราจะมีการแก้ไขพวกนี้หรือไม่”
.
#มาตรา112 #กฎหมาย #คดีทางการเมือง #การเมือง
ชมคลิปเต็ม : https://youtu.be/6NLWgf7oI1U?t=5927
อ่านเพิ่มเติมที่ : https://prachatai.com/journal/2023/11/106815