วันเสาร์, ธันวาคม 30, 2566

แถลงการณ์กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ (Con for All) เรื่อง ขอให้คณะรัฐมนตรีใช้คำถามประชามติที่โอบอุ้มทุกความฝัน



CALL - Constitution Advocacy Alliance
13h ·

แถลงการณ์กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ (Con for All)
เรื่อง ขอให้คณะรัฐมนตรีใช้คำถามประชามติที่โอบอุ้มทุกความฝัน
ตามที่ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หรือ คณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติฯ ได้แถลงผลสรุปการทำงานไปเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2566 โดยมีสาระสำคัญอยู่สองประการ คือ
1. จะมีการจัดทำประชามติเพื่อเขียนรัฐธรรมนูญใหม่สามครั้ง ได้แก่
๐ หนึ่ง การทำประชามติถามประชาชนว่า เห็นด้วยหรือไม่กับการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่
๐ สอง การทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ตามที่มาตรา 256 กำหนดไว้
๐ สาม การทำประชามติรับรองร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
2. คำถามที่จะใช้ในการทำประชามติครั้งที่หนึ่งจะมีเพียงคำถามเดียว คือ “ท่านเห็นชอบหรือไม่ให้มีการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยไม่แก้ไข หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์”
จากผลสรุปดังกล่าว ทำให้ภาคประชาชนผิดหวังและมีความห่วงกังวลต่ออนาคตการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยประชาชนอยู่อย่างน้อยสี่ประการ ดังนี้
๐ หนึ่ง ภาคประชาชนผิดหวังที่คณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติฯ ไม่สามารถออกแบบกระบวนการประชามติให้เป็นที่ยอมรับได้
๐ สอง ภาคประชาชนผิดหวังที่การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติฯ เป็นเพียงพิธีกรรม
๐ สาม ภาคประชาชนกังวลว่า การตั้งคำถามประชามติของคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติฯ อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง
๐ สี่ ภาคประชาชนกังวลว่า การตั้งคำถามที่มีเงื่อนไขซับซ้อนตามใจรัฐบาลอาจทำให้เสียงของประชาชนถูกบิดเบือน
อย่างไรก็ดี ทางภาคประชาชนทราบดีว่า ผลสรุปของคณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติฯ ยังไม่ใช่บทสรุปสุดท้าย เนื่องจากการ "เคาะ" คำถามประชามติเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีเท่านั้น ซึ่งคณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติฯ จะต้องทำรายงานเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้พิจารณาต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นประมาณช่วงเดือนมกราคม 2567
ด้วยเหตุนี้ทางกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญจึงขอใช้โอกาสนี้มีข้อเรียกร้องไปยังคณะรัฐมนตรีที่นำโดย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้พิจารณาประเด็นนี้ให้รอบครอบยิ่งขึ้น ดังนี้
(1) ขอให้คณะรัฐมนตรีทบทวนการตั้งคำถามประชามติที่คณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติฯ เสนอ และใช้คำถามประชามติที่เปิดกว้าง ชัดเจน ต่อการสร้างฉันทามติว่า ทุกฝ่ายเห็นชอบกับการเดินหน้าสู่รัฐธรรมนูญใหม่ร่วมกัน
(2) ขอให้คณะรัฐมนตรีรับรองคำถามประชามติที่ประชาชนกว่า 211,904 รายชื่อ ใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอตามกฎหมายเป็นหนึ่งในคำถามประชามติ โดยให้คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดออกเสียงประชามติตามคำถามที่ประชาชนเสนอคู่ขนานไปพร้อมกับคำถามของคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติฯ
รายชื่อองค์กรที่ร่วมลงนามในแถลงการณ์
1. เครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ (CALL)
2. โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
3. คณะรณรงค์เพื่อนรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.)
4. เครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์เลือกตั้ง (We Watch)
5. ห้องทดลองนักกิจกรรม (ActLab)
6. ศิลปะปลดแอก (Free Art)
7. กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย (DRG)
8. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw)
9. ประชาไท
10. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)
11. สมัชชาคนจน
12. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR)
13. ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม Lagel Center For Human Rights
14. ขบวนการอีสานใหม่ New Isan Movement
15. ขบวนการสามัญชน
16. ดาวดิน
17. ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ(CAN)
18. คณะก่อการล้านนาใหม่(Neo Lanna)
19. Cafe Democracy
20. สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)
21. ขบวนการประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย(PDMT)
22. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
23. เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ
24. สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
25. คณะกรรมการนิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
26. องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
27. กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม
28. พรรคโดมปฏิวัติ
29. สหภาพคนทำงาน
30. พิพิธภัณฑ์สามัญชน
31. ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น
32. เครือข่ายคนรุ่นใหม่นนทบุรี
33. นครเสรีเพื่อประชาธิปไตย
34. เหนือเมฆเพื่อประชาธิปไตย
35. โมกหลวงริมน้ำ
36. ทำทาง
37. Secure Ranger
38. Law Long Beach
39. The Patani
40. We Volunteer
41. We Fair
42. WeVis
43. Vote62