วันพุธ, มกราคม 31, 2567

ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน นโยบายหาเสียงพรรคก้าวไกลแก้ไข ม.๑๑๒ ล้มล้างการปกครองฯ สั่งยุติกระทำการ

ตกลง ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินคดีพรรคก้าวไกลหาเสียง เรื่องแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ “เป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ตาม รธน.มาตรา ๔๙ วรรค ๑)”

พร้อมทั้งสั่งให้พรรคก้าวไกลยุติการกระทำใดๆ เช่นที่จะเป็นไปตามนโยบายหาเสียงนั้น ตามคาดหมาย ซึ่งไม่ใช่สั่งให้ยุบพรรคก้าวไกล หรือตัดสิทธิทางการเมืองต่อสมาชิกพรรค ๔๔ คน ก็ตาม หากจะเป็นไปตามนั้นต้องมีคนต่อยอด

“โดยเฉพาะฝ่ายตรงข้ามพรรคก้าวไกลรับลูกขยายผล ด้วยการไปยื่นต่อ กกต. เพื่อให้ กกต.ส่งคำร้องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคก้าวไกลและตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค ตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา ๙๒ ()” ไทยโพสต์จ่อไว้

และ “อาจมีบางคนนำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ...ไปยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช.ให้เอาผิดพิธาและ สส.พรรคก้าวไกล ว่ากระทำการขัดมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรงของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” ข้อ ๕ และ ๖ ด้วยก็ได้ นั่นคือผลที่จะตามมา

อีกทั้งคำวินิจฉัยจะมีใครไม่เห็นด้วย ว่าถูกผิดมากน้อยแค่ไหน ศาลทั่นก็ยังไม่ลืมสำทับด้วยว่า “ห้ามวิจารณ์คำวินิจฉัย และขู่ฟอด “จะมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๖๑ มาตรา ๓๘ วรรคท้าย”

โทษแรงถึงจำคุกนะจ๊ะ หรือปรับไม่เกิน ๕ หมื่นบาท

(https://twitter.com/KhaosodOnline/status/1752610789108982069 และ  https://www.thaipost.net/dominate-the-situation-news/526290/)

“กฏหมายร่างด้วยมือมนุษย์ มนุษย์ก็ต้องแก้ไขมันได้” ศาลรัฐธรรมนูญจะว่าอย่างไร

“กฏหมายไม่ได้ส่งแฟกซ์มาจากพระเจ้า กฏหมายร่างด้วยมือมนุษย์ ดังนั้นในเมื่อมันร่างด้วยมือมนุษย์ มนุษย์ก็ต้องแก้ไขมันได้ นี่คือหลักการพื้นฐาน” ประธานคณะก้าวหน้าเขาว่าอย่างนี้ ศาลรัฐธรรมนูญจะว่าอย่างไร

“ถ้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเรียกได้เต็มปากว่าเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่สามารถแก้ไขกฏหมายได้ ผมคิดว่าคงมีอะไรไม่ปกติแล้วล่ะในประเทศนี้” #ศาลรัฐธรรมนูญ คิดเหมือน ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ บ้างไหมล่ะ

ฤๅว่า กฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ specter ‘อสุรกายส่งมาให้เฉพาะประเทศไทย

(https://twitter.com/Jniisss_zJo/status/1752546186148630569) 

จะมีใครสำเหนียกบ้างไหม ไทยค้าจีนติดลบ ขาดดุลมาตลอด ๓๐ ปี พี้คสุดปีที่แล้ว ๑.๓ ล้านล้านบาท

ข้อมูลอย่างนี้ จะมีใครสำเหนียกบ้างไหม กรุงเทพธุรกิจ @ktnewsonline เปิดเบิ่งว่าตลอด ๓๐ ปีที่ผ่านมา ไทยขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่องกับจีนเรื่อยมา จนมาถึงพี้คเมื่อปีที่แล้ว ๒๕๖๖ วงเงินขาดดุลอยู่ที่ ๓๖,๖๓๕ ล้านดอลลาร์

นั่นถ้าเป็นเงินไทยก็ ๑.๓ ล้านล้านบาทนั่นทีเดียว กรุงเทพธุรกิจชี้ว่าเหตุหนึ่ง “ช่วง ๓ ปีที่ผ่านมา สิ้นค้าประเภทใช้ในบ้านนำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้น ๕๘%” และถ้าย้อนไปสิบปี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๖ นั้น จำนวนขาดดุลอยู่ที่ ๑๐,๔๙๔ ล้านดอลลาร์

คือเพียงหนึ่งในสามของปีที่แล้ว ยิ่งถ้าย้อนไปอีก ๑๐ ปีก่อนหน้านั้น คือ ๒๕๔๖ จำนวนขาดดุลกับจีนยังเพียง ๓๑๓ ล้านดอลลาร์ ผู้ประกาศให้รายละเอียดต่อไป ว่าถึงแม้สิบปีที่ผ่านมา มูลค่าส่งออกของไทยไปจีนเพิ่มปีละ ๔%

แต่ขณะเดียวกัน ก็มีการนำเข้าสินค้าจากจีนในช่วงเดียวกันเพิ่มเฉลี่ยปีละ ๙% เท่ากับนำเข้ามากกว่าส่งออก สองเท่าตัว ทำให้อัตราขาดดุลช่วงทศวรรษนั้นเพิ่มถึง ๑๖% หรือ ๑ แสนล้านบาทต่อปี ถามว่า “มันเกิดอะไรขึ้น”

ประการหนึ่ง สินค้านำเข้าจากจีนที่ขยายตัวอย่างสำคัญ เป็นพวกเครื่องไฟฟ้าและเครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ซึ่งมีสัดส่วนถึง ๔๐% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด ดูรายชื่อบริษัทใหญ่ๆ ที่นำเข้าสินค้าจากจีน ได้แก่

“แอ็ปเปิ้ลเซ้าท์เอเซีย หัวเหว่ยเทคโนโลยี่ โซนี่เทคโนโลยี่ ไทยแซมซังอีเล็คโทรนิค มิสซูบิสชิอีเล็คตริค สยามคูโบต้าคอร์ป โตชิบ้าแคร์เรียร์ และเดลต้าอีเล็คโทรนิค” จะเห็นบริษัทเหล่านี้ไม่ใช่มีแต่ไทย นอกจากจีนแล้วมีทั้งญี่ปุน และอเมริกัน

อันเป็นบริษัทซึ่ง “มีฐานผลิตอยู่ในจีน แล้วนำเข้าสินค้ามาขายในประเทศไทย หรือนำชิ้นส่วนมาประกอบในไทย เพื่อขายทั้งภายในประเทศและส่งออกต่อไปยังประเทศอื่น” ไม่แต่เพียงสินค้าประเภทเครื่องใช้ เครื่องตกแต่งในบ้าน

“มีสิ้นค้ากลุ่มใหม่ๆ ที่ไทยนำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้น ได้แก่ผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผักและผลไม้ ผ้าผืน” รวมไปถึงรถยนต์และรถบรรทุก รายงานข่าวยังชี้ด้วยว่า คนไทยหันไปกิน-ใช้ของจีนในชีวิตประจำวันมากขึ้นเพราะถูกกว่าของนอกอื่นๆ

เคล็ดลับอย่างหนึ่งของจีนก็คือ รัฐบาลมี subsidies หรือ อุ้ม ผู้ประกอบการส่งออกในเรื่องค่าขนส่ง อย่างหนึ่งคือจัดบริการคลังพักสินค้ารอกระบวนการส่งออกที่ท่าเรือ ที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนย้ายและถ่ายสินค้าได้เยอะ

(https://twitter.com/ktnewsonline/status/1752515039490433532)

กลัวจัง แก้กฎหมายที่สภาไม่ได้ ต้องไปแก้ที่ริมถนน ?


Atukkit Sawangsuk
4h ·

เบื่อคนที่บอกว่า
ถ้ายุบพรรคตัดสิทธิก้าวไกล
จะกลับมาชนะถล่มทลายในการเลือกตั้งครั้งหน้า
หะ? จะรอจนถึงปี 2570
โลกมันไม่หยุดนิ่งรอคุณอย่างนั้นหรอก
:
การยุบพรรคตัดสิทธิฝ่ายค้านจะทำให้เกิดการไม่เห็นทางออกในระบบรัฐสภา (ซึ่งเสียความชอบธรรมไปแล้วในการโหวตนายกฯ)
จะปะทุการต่อสู้นอกสภาขึ้นมาใหม่
แม้มันอาจไม่แรงเหมือนยุบอนาคตใหม่นำไปสู่ม็อบปฏิรูปสถาบัน ไล่ประยุทธ์
ไม่ลงถนนแบบเดิมเพราะรู้ว่าเปลี่ยนไม่ได้
แต่มันจะจุดปะทุอยู่ตลอด มีการแอนตี้อยู่ตลอด
อย่างน้อยก็จะนำไปสู่การเรียกร้องให้ยุบสภาเลือกตั้งใหม่ หลังจาก สว.หมดอำนาจโหวตนายกฯ
ภายใต้สถานการณ์โลกสถานการณ์ไทยที่จะเกิดความเปลี่ยนแปลงที่คาดเดาไม่ได้
ภายใต้เศรษฐกิจที่ผันผวนแก้ไม่ตก
ความเปลี่ยนแปลงมันจะมาเร็วกว่าการที่ก้าวไกลยังได้อยู่ในสภา
:
ชอบที่ อ.สมชายบอกว่า
คิดแบบซาดิสต์ก็อยากให้ชี้ว่าล้มล้างยุบพรรคตัดสิทธิไปเลย
แต่ไม่ใช่ว่าเราชอบซาดิสต์
เขาต่างหากเป็นฝ้ายเลือกว่าจะซาดิสต์ไหม

ถ้าคำวินิจฉัยวันที่ 31 มกราคมออกมาว่าการเสนอนโยบายแก้ไขมาตรา 112 ของพรรคก้าวไกลเป็นการล้มล้างการปกครอง อาจตามมาด้วยการยุบพรรค แต่ผลที่กว้างไกลว่าคือมาตรา 112 จะถูกแตะต้องไม่ได้อีกเลยหรือไม่ ซึ่งย่อมส่งผลต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างมีนัยสำคัญ คำถามตามมาคือในการร่างรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้น ศาลรัฐธรรมนูญยังควรคงอยู่หรือไม่ ถ้ายังต้องมี ควรเป็นอย่างไรจึงจะไม่ล้ำเส้น


ประชาไท Prachatai.com
6h·

“ข้อที่น่าสังเกตคือประเทศสําคัญอย่างเยอรมนีซึ่งมีมาตราเกี่ยวกับการล้มล้างระบอบรัฐธรรมนูญ แต่เขาจะดูว่าการกระทําดังกล่าวเป็นภยันตรายใกล้จะถึงต่อระบอบการเมืองจริงๆ หรือเปล่า ผมกําลังมองความได้สัดส่วนของการตีความว่าคุณร้อนตัวเกินไปไหม เรื่องแค่นี้ไม่มีทางเลยที่จะล้มล้างตัวระบอบการเมืองหรือสถาบันได้” - อานนท์ มาเม้า
.
ถ้าคำวินิจฉัยวันที่ 31 มกราคมออกมาว่าการเสนอนโยบายแก้ไขมาตรา 112 ของพรรคก้าวไกลเป็นการล้มล้างการปกครอง อาจตามมาด้วยการยุบพรรค แต่ผลที่กว้างไกลว่าคือมาตรา 112 จะถูกแตะต้องไม่ได้อีกเลยหรือไม่ ซึ่งย่อมส่งผลต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างมีนัยสำคัญ คำถามตามมาคือในการร่างรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้น ศาลรัฐธรรมนูญยังควรคงอยู่หรือไม่ ถ้ายังต้องมี ควรเป็นอย่างไรจึงจะไม่ล้ำเส้น
อ่าน "อานนท์ มาเม้า: คำวินิจฉัย 31 มกราคมและคำถามต่ออนาคตศาลรัฐธรรมนูญ" ได้ที่ : (https://prachatai.com/journal/2024/01/107846)
#พรรคก้าวไกล #มาตรา112 #แก้ไขมาตรา112 #ล้มล้างการปกครอง #ศาลรัฐธรรมนูญ






https://www.facebook.com/Prachatai/posts/790039949836981?ref=embed_post

รัฐธรรมนูญแห่งอนาคต #1 : เปิดจินตนาการใหม่ หลากโมเดล สสร.เลือกตั้ง


Atukkit Sawangsuk
18h
·
โมเดล สสร.เลือกตั้ง
ของอนุ กมธ. (ใน กมธ.พัฒนาการเมือง)
นำเสนอต่อสภาวันพุธนี้

ปกป้อง จันวิทย์ - Pokpong Junvith
22h
·
[รัฐธรรมนูญแห่งอนาคต #1 : เปิดจินตนาการใหม่ หลากโมเดล สสร.เลือกตั้ง]
ในฐานะประเทศที่เชี่ยวชาญในการ ‘ฉีก’ เอ๊ย ‘ร่าง’ รัฐธรรมนูญ ไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้น 20 ฉบับ ถ้านับการอภิวัฒน์สยาม 2475 เป็นหมุดหมายแรก เราก็เปลี่ยนรัฐธรรมนูญกันทุก 4.6 ปี โดยประมาณ
.
กระนั้น การมีรัฐธรรมนูญเยอะๆ บ่อยๆ ไม่ได้เปิดโลกจินตนาการเรื่องรัฐธรรมนูญของคนไทยมากนัก แต่กลับส่งผลตรงกันข้าม เราผ่านประสบการณ์ร้ายมากกว่าดีจนทำให้หลายคนหมดความไว้เนื้อเชื่อใจในระบบการเมือง และหมดกำลังใฝ่ฝันถึงการสร้างสังคมประชาธิปไตยที่ดีกว่านี้ได้ด้วยมือของเราเอง ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการออกแบบรัฐธรรมนูญใหม่ อันเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ทั้งความรู้ ความไว้วางใจ ความหวัง และจินตนาการใหม่ทางการเมือง
...............
1. ความชอบธรรม-สภาร่างรัฐธรรมนูญ-รัฐธรรมนูญใหม่
รัฐธรรมนูญคือสัญญาประชาคมของสังคมการเมือง เป็นกติกาสูงสุดที่กำกับชีวิตทางการเมืองของผู้คนและสถาบันต่างๆ ทั้งในเชิงโครงสร้าง พฤติกรรม สัมพันธภาพเชิงอำนาจ และผลลัพธ์จากปฏิสัมพันธ์ต่างๆ
.
เช่นนี้แล้ว หัวใจสำคัญของรัฐธรรมนูญคือความชอบธรรม กล่าวคือเป็นที่ยอมรับโดยถ้วนทั่วและได้รับการเคารพปฏิบัติตาม ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ นับรวมทุกคน โอบรับความหลากหลาย และเป็นเวทีเปิดที่ทุกฝ่ายต่อรองกันได้อย่างเสมอหน้า จนสามารถนำไปสู่ฉันทมติใหม่ที่ยอมรับร่วมกัน และตอบโจทย์แห่งอนาคตได้
.
สภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดทำรัฐธรรมนูญที่มีความชอบธรรม ควรถูกออกแบบขึ้นภายใต้หลักการพื้นฐานดังต่อไปนี้
.
(1) ความเป็นตัวแทนที่ยึดโยงกับประชาชน (Representation)
.
กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญต้องเป็นประชาธิปไตย สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ควรมีความยึดโยงกับประชาชนให้มากที่สุด ทำหน้าที่เป็นตัวแทนที่สะท้อนเจตจำนงของประชาชนส่วนใหญ่ และมีความพร้อมรับผิดชอบ (accountability) ต่อประชาชน ทั้งนี้ กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญควรมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนกลุ่มต่างๆ อย่างเปิดกว้างหลากหลาย
.
ความท้าทายประการหนึ่งของสภาร่างรัฐธรรมนูญคือ การแสวงหาความสมดุลระหว่างความเป็นตัวแทนประชาชนกับความเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ในการจัดทำรัฐธรรมนูญ เพราะบทบาทของ สสร.สายวิชาการหรือสายประสบการณ์ เช่น นักกฎหมายมหาชน นักรัฐศาสตร์ ผู้เคยดำรงตำแหน่งทางการเมือง (เช่น อดีตนายกฯ อดีตประธานสภา อดีต ส.ส. อดีต สสร.) ยังมีความสำคัญไม่น้อยในกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ เช่น บทบาทในการตั้งคำถามที่ ‘ใช่’ และการจัดกรอบความคิดในการถกเถียงเรื่องรัฐธรรมนูญ, การ shape วาระและวาทกรรมสาธารณะ, การนำเสนอหลักทฤษฎีประกอบการถกเถียง และการแบ่งปันประสบการณ์ในโลกแห่งความเป็นจริง กระนั้นมิได้หมายความว่า ความเป็นผู้เชี่ยวชาญต้องแลกมาด้วยความเป็นตัวแทนประชาชนที่ลดลงแต่อย่างใด แต่เราสามารถออกแบบให้ สสร.สายวิชาการหรือสายประสบการณ์มีความเชื่อมโยงกับประชาชนได้ด้วยเช่นกัน
.
(2) การนับรวมทุกคนและความหลากหลาย (Inclusion and diversity)
.
กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญต้องเปิดกว้างให้มากที่สุด โอบรับความหลากหลาย และมีหลักประกันให้กลุ่มคนที่มักไม่ถูกมองเห็น (The Invisibles) เช่น กลุ่มคนที่มีสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจต่ำกว่า ขาดอำนาจต่อรองในเชิงทรัพยากร ไม่ได้อยู่บนสนามแข่งขันที่เท่าเทียมในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ดังนั้น สภาร่างรัฐธรรมนูญควรมีสมาชิกที่สะท้อน ‘เสียง’ ที่หลากหลายในมิติต่างๆ เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ เพศสภาพ เยาวชน
.
(3) การมีส่วนร่วมของประชาชนตลอดกระบวนการ (Participation)
.
งานศึกษาเรื่องการจัดทำรัฐธรรมนูญจำนวนหนึ่งชี้ว่า ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญอย่างมากคือ ‘ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน' โดยเฉพาะในสังคมที่มีประสบการณ์ความขัดแย้งสูงในสังคมและอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง การร่างรัฐธรรมนูญที่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการจะทำให้เกิดการเจรจาต่อรองระหว่างกลุ่มต่างๆ ภายใต้กระบวนการที่เป็นประชาธิปไตย และมีโอกาสนำไปสู่การสร้างสันติภาพและความมั่นคงของประชาธิปไตยในระยะยาวได้
.
(4) ประสิทธิภาพในการทำงาน (Effectiveness)
.
กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญควรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่ผลลัพธ์ปลายทางที่พึงปรารถนาสำหรับทุกคน นั่นคือ การร่างรัฐธรรมนูญของประชาชนที่มีคุณภาพและความชอบธรรมได้สำเร็จ ดังนั้น การออกแบบกระบวนการทำงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญมีความสำคัญอย่างยิ่ง ตั้งแต่ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ สสร. จำนวน สสร. กรอบเวลาในการจัดทำ กระบวนการทำงาน การจัดแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ การใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า
...............
2. ระบบเลือกตั้ง สสร. แบบผสมผสาน
ที่ผ่านมา การถกเถียงเรื่องการเลือกตั้ง สสร. ในสังคมไทยมักถูกจำกัดจินตนาการว่า สสร.จากการเลือกตั้งต้องมีที่มาและองค์ประกอบแบบเดียวกันเท่านั้น เช่น มีความเป็นตัวแทนจากการเลือกตั้งเพียงประเภทเดียวที่ใช้ทั้งประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง หรือผ่านการเลือกตั้งรายเขตตามแต่ละจังหวัด ทั้งที่จริงแล้ว เราสามารถออกแบบสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มีองค์ประกอบหลากหลาย เพื่อตอบสนองหลักการพื้นฐานทั้ง 4 ประการข้างต้น โดยยังคงมีที่มาในทางยึดโยงกับประชาชนอย่างเต็มที่ได้
.
คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการจัดทำข้อเสนอระบบการเลือกตั้งและแนวทางการทำงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งอยู่ภายใต้คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร (ต่อไปจะเรียกชื่อย่อว่า อนุฯ สสร.เลือกตั้ง) ได้จัดทำข้อเสนอเพื่อปลดล็อกจินตนาการให้ประชาชนมองเห็นสารพัดทางเลือกอันแตกต่างหลากหลายของโมเดลสภาร่างรัฐธรรมนูญและระบบเลือกตั้ง โดยเสนอว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญจากการเลือกตั้งไม่จำเป็นต้องมี สสร.ประเภทเดียว แต่สามารถมี สสร.หลายประเภท และแต่ละประเภทมีฐานที่มาแตกต่างกันไป ซึ่งทุกทางล้วนมาจากประชาชน
.
ถ้าออกแบบดีๆ เราก็จะได้ สสร.ที่มีความหลากหลาย แต่มาผสมผสานทำงานร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ (ที่ไม่ได้แปลว่าต้องเหมือนกัน) โดยไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฝ่ายเดียวในสังคมการเมืองไทยสามารถเข้ายึดกุมสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นของตัวเองได้ทั้งหมด
.
โมเดลของอนุฯ สสร.เลือกตั้ง เสนอว่า สสร.ประกอบด้วยสมาชิกจาก 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีฐานที่มาแตกต่างกัน แต่ล้วนเชื่อมโยงกับประชาชนทั้งสิ้น ดังต่อไปนี้
:: กลุ่มที่ 1 สสร.ตัวแทนพื้นที่ ::
สะท้อนความเป็นตัวแทนของประชาชนในระดับพื้นที่ มีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน โดยอาจใช้จังหวัด กลุ่มจังหวัด หรือประเทศเป็นเขตเลือกตั้งก็ได้
.
โดยส่วนตัว ผมสนับสนุนให้ใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ด้วยเห็นว่า แม้ สสร.จะมีบทบาทหน้าที่ในระดับชาติ แต่การให้ สสร.สายตัวแทนประชาชนมาจากการเลือกตั้งในระดับจังหวัดมีข้อดีมากกว่า เพราะทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกคนในทุกพื้นที่มีตัวแทนแน่นอนไม่ตกหล่น (ต่างจากกรณีอิงกับกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มประเด็น หรือใช้บัญชีเดียวให้เลือกกันในระดับประเทศหรือกลุ่มจังหวัด)
.
นอกจากนั้น สสร.จังหวัดยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบการรับฟังและสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในแต่ละจังหวัด รวมถึงเป็นเจ้าภาพในการรณรงค์สร้างความเข้าใจเรื่องรัฐธรรมนูญในการลงประชามติอีกด้วย
.
ขณะที่การใช้ทั้งประเทศเป็นเขตเลือกตั้งมีแนวโน้มจะได้ สสร.ที่เด่นดังระดับชาติ และมีอคติเอนเอียงไปในทางเมืองใหญ่มากเกินไป เพราะเมืองใหญ่มีประชากรจำนวนมาก จึงมีสัดส่วนของเสียง ‘ดัง’ เป็นพิเศษ โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร
.
จำนวน สสร.จังหวัด อาจมีทางเลือกดังนี้ (1) แต่ละจังหวัดมีจำนวนเท่ากัน (2) แต่ละจังหวัดมีจำนวนไม่เท่ากัน โดยคำนึงถึงจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งของแต่ละจังหวัด ทั้งนี้ ทุกจังหวัดต้องมี สสร. จำนวนอย่างน้อย 1 คน และอาจมีการกำหนดจำนวน สสร. สูงสุดที่พึงมีในแต่ละจังหวัด เช่น สสร.กรุงเทพฯ มีจำนวนไม่เกิน 5 คน เพื่อมิให้สภาร่างรัฐธรรมนูญมีขนาดใหญ่เกินไป และแต่ละจังหวัดมีจำนวน สสร. ที่ไม่ห่างกันเกินไป (ไม่ Bangkok-centric เกินไป)
.
วิธีเลือกตั้ง สสร.จังหวัด อาจมีทางเลือกดังนี้
.
(1) ใช้ระบบเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากธรรมดา (single or multiple non-transferable voting)
.
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งแต่ละคนอาจเลือก สสร. ได้ 1 คน หรือเลือกได้มากเท่ากับจำนวน สสร.ในเขตเลือกตั้ง โดยผู้สมัคร สสร. ที่ได้คะแนนมากที่สุดตามลำดับจำนวน สสร. ที่พึงมีในแต่ละจังหวัด จะได้รับการเลือกตั้งเป็น สสร.
.
(2) ใช้ระบบเลือกตั้งแบบให้ความเห็นชอบ (approval voting)
.
โดยผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งจะเลือกผู้สมัครกี่คนก็ได้ตามที่ตนชื่นชอบหรือยอมรับ คล้ายเป็นการลงคะแนนเพื่อ ‘อนุมัติ’ ให้ผู้สมัครแต่ละรายเข้ามาทำงาน โดยผู้สมัคร สสร. ที่ได้คะแนนมากที่สุดตามลำดับจำนวน สสร. ที่พึงมีในแต่ละจังหวัด จะได้รับการเลือกตั้งเป็น สสร.
.
(3) ใช้ระบบเลือกตั้งแบบจัดเรียงลำดับความชอบ (preferential voting / Ranked-choice voting)
.
โดยผู้ชนะเลือกตั้งต้องได้รับคะแนนเสียงเกินกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ภายใต้ระบบนี้ ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งสามารถจัดเรียงลำดับความชอบของผู้สมัครในเขตของตนได้มากกว่าจำนวน สสร. ที่มีได้จริงในเขตนั้น เช่น จัดลำดับความชอบต่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเรียงกัน 3-5 ลำดับ หรือจะให้จัดเรียงกี่คนก็ได้
.
ในกรณีที่ผู้สมัครที่ถูกเลือกเป็นลำดับที่ 1 ได้รับคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด ก็จะถือว่าได้รับเลือกโดยไม่ต้องมีการนับคะแนนรอบต่อไป แต่หากยังไม่มีผู้ใดที่ได้รับคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด ก็จะจัดให้มีการนับคะแนนรอบต่อไป โดยผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงต่ำที่สุดในรอบแรกจะถูกตัดทิ้งไปก่อน และมีการถ่ายโอนคะแนนเสียงของผู้สมัครรายนั้นให้แก่ผู้สมัครรายอื่น โดยดูว่าผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งที่ชอบคนที่ถูกตัดทิ้งที่สุดนั้น ออกเสียงเลือกผู้สมัครคนใดเป็นลำดับที่ 2 คะแนนเสียงนั้นก็จะถูกถ่ายโอนไปยังผู้สมัครที่ถูกเลือกเป็นลำดับที่ 2 กระบวนการจะดำเนินต่อไปเช่นนี้เรื่อยๆ จนกระทั่งมีผู้ได้รับคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด
.
(4) ใช้ระบบเลือกตั้งแบบให้คะแนนตามลำดับความชอบ (score-voting)
.
เช่น ผู้ใช้สิทธิเลือกผู้สมัคร สสร. ที่ตนชอบที่สุด 3 ลำดับ ลำดับที่หนึ่งได้ 3 คะแนน ลำดับที่สองได้ 2 คะแนน และลำดับที่สามได้ 1 คะแนน เมื่อนับคะแนนรวมทั้งหมด ผู้สมัคร สสร. ที่ได้รับคะแนนมากที่สุดตามลำดับจำนวน สสร. ที่พึงมีในแต่ละจังหวัด ได้รับเลือกตั้งเป็น สสร.
.
ทางเลือกที่ (1) กับ (2) เป็นวิธีที่ให้น้ำหนักความสำคัญกับ ‘กระบวนการ’ (optimize for process) เพราะตรงไปตรงมา เข้าใจง่าย บริหารจัดการเลือกตั้งก็ง่าย ส่วนทางเลือกที่ (3) กับ (4) เป็นวิธีที่ให้น้ำหนักความสำคัญกับ ‘ผลลัพธ์’ (optimize for outcome) เพราะแม้ว่าจะเป็นวิธีที่ยากกว่าสำหรับผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งและคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แต่เป็นวิธีที่ได้ตัวแทนที่มีความหลากหลาย ต้องตอบสนองประชาชนวงกว้างกว่าฐานเสียงตัวเอง (ต้องหาเสียงให้ไปติดลำดับที่ 2, 3, 4, … ของฐานเสียงอื่นอีกด้วย ไม่ใช่แค่มุ่งเอาชนะใจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแล้วจบ)
.
วิธีเช่นนี้เหมาะกับการเลือกสรร สสร. ที่ไม่ต้องการ ‘คนสุดขั้ว’ มาทำหน้าที่ เพราะหน้าที่คือการร่างสัญญาประชาคมใหม่ร่วมกัน เราต้องการ สสร.ที่ตอบสนองกลุ่มฐานเสียงที่กว้างและหลากหลาย นอกจากนั้น ระบบเลือกตั้งแบบ (3) กับ (4) ยังไม่ซ้ำซ้อน โดยต่างจากระบบเลือก ส.ส. อย่างชัดเจน ซึ่งทำให้ได้ สสร. ที่มีลักษณะแตกต่างจาก ส.ส.
:: กลุ่มที่ 2 สสร.สายวิชาการและผู้มีประสบการณ์ ::
สะท้อนความเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน หรือการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะช่วยตอบโจทย์ด้านวิชาการและด้านประสบการณ์การเมืองในโลกความเป็นจริงให้กับกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ
.
หลายฝ่ายเห็นว่า การมี สสร.ตัวแทนพื้นที่เพียงประเภทเดียวก็เพียงพอแล้ว ส่วนพวกนักวิชาการหรือผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองค่อยตั้งมาเป็นคณะ(อนุ)กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นชุดย่อยภายใต้สภาร่างรัฐธรรมนูญ ก็ได้ ผมไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว เพราะเชื่อว่ากระบวนการร่างรัฐธรรมนูญต้องการกลุ่มคนที่มีหลักวิชา หลักคิด และประสบการณ์ด้านรัฐธรรมนูญและการเมืองร่วมอยู่ด้วย โดยเฉพาะในการตั้งโจทย์และจัดกรอบความคิดในการยกร่างรัฐธรรมนูญ
.
หากให้นักวิชาการเป็นเพียงคณะ(อนุ)กรรมาธิการยกร่างฯ ที่สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้งขึ้น ก็จะทำได้เพียงการทำงานภายใต้โจทย์และกรอบซึ่งสภาร่างรัฐธรรมนูญกำหนดไว้แล้ว ซึ่งถ้าตั้งโจทย์หรือกรอบที่ ‘ไม่ใช่’ หรือไม่ถูกทิศถูกทางมาตั้งแต่ต้น ก็ยากที่จะทำงานได้สัมฤทธิ์ผล สสร.สายวิชาการฯ มีความจำเป็นที่จะเข้าไปนั่งเป็นส่วนหนึ่งในสภาร่างรัฐธรรมนูญ และร่วมทำงานเคียงข้างกับ สสร.ตัวแทนพื้นที่ที่ใกล้ชิดกับประชาชนและเป็นตัวเชื่อมในการรับฟังความเห็นของประชาชน (แต่สัดส่วนของ สสร.ตัวแทนพื้นที่จะเป็นตัวหลักและมีจำนวนมากกว่า)
.
ที่ผ่านมา เวลานึกถึง สสร.สายวิชาการและผู้มีประสบการณ์ เรามักเคยชินกับ สสร.แต่งตั้งจากผู้มีอำนาจ ห่างไกลประชาชน และห่างไกลประชาธิปไตย แต่เราสามารถออกแบบ สสร.สายวิชาการและผู้มีประสบการณ์ ที่มีความเชื่อมโยงกับประชาชนอย่างเต็มที่ได้ โดยมีทางเลือกดังนี้
.
(1) ใช้ระบบบัญชีรายชื่อ โดยกำหนดให้ทั้งประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง รายชื่อมาจากการสมัครโดยตรงหรือจากการเสนอชื่อจากสถาบันต่างๆ (เน้นสถาบันการศึกษา) โดยได้รับความยินยอมจากผู้สมัคร
.
ทั้งนี้ อาจมีกระบวนการคัดสรรผู้สมัครรอบหนึ่งเพื่อให้บัญชีรายชื่อรอบสุดท้ายมีจำนวนผู้สมัครให้ประชาชนพิจารณาไม่มากจนเกินไป เช่น อาจให้ผู้สมัครคัดเลือกกันเอง หรือตั้งคณะกรรมการคัดสรรเบื้องต้นภายใต้กระบวนการที่อิงกับอำนาจประชาชน จนเหลือประมาณสัก 3-5 เท่าของตำแหน่งที่มีอยู่ เพื่อให้ประชาชนเลือกตั้งต่อไป นอกจากนั้น องค์กรเจ้าภาพที่ดูแลการจัดทำบัญชีรายชื่อแต่ละสาขาเพื่อให้ประชาชนเลือกตั้งอาจมีความแตกต่างกันไปตามความเหมาะสม เช่น บัญชีกฎหมายมหาชนอาจมีที่ประชุมร่วมของคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยที่คุณสมบัติเข้าข่ายเป็นเจ้าภาพ
.
บัญชีรายชื่ออาจจัดแบ่งเป็นสาขา เช่น จัดแบ่งออกเป็น 5 หมวดหมู่ ได้แก่ ก. กฎหมายมหาชน ข. รัฐศาสตร์-รัฐประศาสนศาสตร์-นโยบายสาธารณะ ค. สังคมศาสตร์สาขาอื่นๆ ง. ผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน การร่างรัฐธรรมนูญ และ จ. ผู้มีประสบการณ์ด้านการบริหารหรือขับเคลื่อนงานเชิงสังคมที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
.
ในส่วนของการเลือกตั้ง อาจเลือกแบบเลือกเป็นบุคคล-แยกตามหมวดหมู่ หรือเลือกเป็นบุคคล-รวมทุกหมวดหมู่เข้าด้วยกัน (ผู้สมัครเลือกว่าตัวเองอยู่หมวดหมู่ใด ผู้ใช้สิทธิเลือกผู้สมัครที่ตนชื่นชอบ แล้วผู้สมัคร สสร.ที่ได้คะแนนสูงสุดตามลำดับจำนวน สสร. ที่พึงมีในแต่ละหมวดหมู่ จะได้รับการเลือกตั้งเป็น สสร.) หรือเลือกเป็นทีม-แต่ละทีมต้องจับกลุ่มให้มีผู้สมัครทุกหมวดหมู่ แล้วให้ประชาชนกาเลือกทีม
.
โดยส่วนตัว ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับการให้เลือก สสร.เป็นทีมมากนัก แต่คิดว่าการเลือกฐานปัจเจกที่เป็นอิสระจะตอบโจทย์เรื่องความหลากหลายได้มากกว่า สำหรับการร่างรัฐธรรมนูญนั้นควรมีตัวแทนที่หลากหลาย เพื่อให้สะท้อนความหลากหลายของสังคมการเมืองที่เป็นจริง และนับรวมทุกคนให้ได้มากที่สุด ต้องพยายามให้ไม่มีบางกลุ่มรู้สึกถูกละเลยหรือพร่องพื้นที่ในการแสดงออก สสร.ไม่ควรทำงานด้วยวัฒนธรรมแบ่งฝ่ายเสียงข้างมาก-เสียงข้างน้อยแบบแข็งตัวตลอดกาลเหมือนฝ่ายค้าน-ฝ่ายรัฐบาล เราจึงจะได้รัฐธรรมนูญที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน
.
(2) ให้ สสร.ตัวแทนพื้นที่ที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเป็นผู้ลงคะแนนคัดเลือก สสร.สายวิชาการและผู้มีประสบการณ์
.
แม้ประชาชนไม่ได้ลงมือเลือก สสร.กลุ่มที่สองนี้เอง แต่ก็ยังถือว่ายึดโยงกับประชาชน เพราะในวันเลือกตั้ง สสร.ตัวแทนพื้นที่ ประชาชนรับรู้ล่วงหน้าว่า สสร.กลุ่มที่หนึ่งจะเป็นผู้คัดเลือกกลุ่มที่สอง (เหมาะสมกว่ายกหน้าที่นี้ให้ ส.ส. เพราะในวันเลือกตั้ง ส.ส. เราไม่เคยรู้ว่า ส.ส.จะมีหน้าที่เลือก สสร.) นอกจากนั้น สสร.ตัวแทนพื้นที่สามารถหาเสียงหรือให้ข้อมูลกับผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งได้ว่า ถ้าเลือกตน ตนจะไปเลือกใครต่อ
.
ถ้าให้น้ำหนักความสำคัญกับ ‘กระบวนการ’ วิธีที่ (2) ก็บริหารจัดการง่ายกว่า แต่ให้น้ำหนักความสำคัญกับ ‘ผลลัพธ์’ แน่นอนว่า วิธีที่ (1) จะทำให้ สสร.กลุ่มที่สองนี้เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง ยึดโยงกับประชาชนมากกว่า และมีความชอบธรรมทางการเมืองมากกว่า
.
:: กลุ่มที่ 3: สสร.กลุ่มความหลากหลาย (ตัวแทนเชิงประเด็น) ::
.
สะท้อนความเป็นตัวแทนของกลุ่มคนที่มีสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจต่ำกว่า ขาดอำนาจต่อรองในเชิงทรัพยากร ไม่ได้อยู่บนสนามแข่งขันที่เท่าเทียมในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อให้ สสร. มีความหลากหลายในเชิงตัวแทน และเปิดพื้นที่พิเศษให้กับกลุ่มคนที่ไม่ถูกมองเห็นเป็นพิเศษ
.
ความยากสำหรับกลุ่มนี้คือจะกำหนดประเภทหมวดหมู่ของกลุ่มความหลากหลายอย่างไร เพราะมีหลายกลุ่มมากและแบ่งได้หลายมุม เช่น กลุ่มเยาวชน กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มคนพิการ กลุ่มหลากหลายทางเพศ กลุ่มอาชีพ อีกทั้งอาจมีความซ้อนทับกัน เช่น เยาวชนชาติพันธุ์ผู้มีความหลากหลายทางเพศ
.
ในกรณีที่มีการกำหนดหมวดหมู่หรือคุณสมบัติเฉพาะ ควรกำหนดกลุ่มเฉพาะเชิงประเด็นให้ชัดเจน มีจำนวนจำกัด (ไม่ใช่กำหนดไว้อย่างกว้างขวางที่สุด) เฉพาะที่จำเป็นและสอดคล้องกับเป้าหมายการเปิดพื้นที่ให้แก่คนที่ไม่ถูกมองเห็นและไม่มีตัวแทน และมีการกำหนดคุณสมบัติที่ชัดเจนของแต่ละกลุ่มเฉพาะด้วย
.
ในกรณีที่ไม่มีการกำหนดหมวดหมู่หรือคุณสมบัติเฉพาะ ผู้สมัครลงสมัครได้อย่างอิสระโดยต้องระบุว่าตัวเองเป็นตัวแทนของกลุ่มความหลากหลายหรือกลุ่มประเด็นใด โดยให้ประชาชนตัดสินใจเองว่าจะให้น้ำหนักเลือกกลุ่มหลากหลายใดและเลือกใคร
.
ส่วนวิธีได้มานั้น อาจให้ประชาชนเลือกตั้งโดยตรง ทั้งแบบเลือกเป็นบุคคลตามหมวดหมู่หรือรวมหมวดหมู่ หรือเลือกเป็นทีมที่มีสมาชิกประกอบด้วยกลุ่มความหลากหลายต่างๆ หรืออาจกำหนดให้มีการคัดเลือกกันเองในกลุ่มผู้สมัครแต่ละหมวดหมู่ แล้วส่งรายชื่อให้สภาร่างรัฐธรรมนูญรับรอง หรือถ้าต้องการให้กระบวนการได้มาซึ่ง สสร.กลุ่มที่สามง่ายและกระชับขึ้นก็อาจให้ สสร.ตัวแทนพื้นที่ที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเป็นผู้ลงคะแนนคัดเลือก
...............
3. โจทย์ที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม
- จำนวน สสร.
อนุฯ สสร.เลือกตั้งส่วนใหญ่เห็นว่าช่วงจำนวน สสร.ที่เหมาะสมคือ 99-200 คน เพื่อ ‘ไม่ให้น้อยเกินไป’ จนทำให้ไม่มีตัวแทนเพียงพอต่อการขับเคลื่อนทุกภารกิจที่เกี่ยวข้อง สามารถรวบรวมความเห็นประชาชนได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ หรือสะท้อนความหลากหลายที่มีอยู่ในสังคม และ ‘ไม่ให้มากเกินไป’ จนทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หาข้อสรุปได้ยาก และสิ้นเปลืองงบประมาณ
.
ทั้งนี้ สสร.ตัวแทนพื้นที่ควรเป็นองค์ประกอบหลักของสภาร่างรัฐธรรมนูญ (เกินกึ่งหนึ่ง) ส่วนการจัดแบ่งทำได้หลากหลาย เช่น สูตร 150 คน (120-15-15)
- การรณรงค์หาเสียง
เนื่องจากรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญควรเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมให้กว้างขวางและคึกคักที่สุด จึงควรให้มีการรณรงค์หาเสียงกันอย่างเต็มที่ (ไม่ใช่แค่แนะนำตัว) ผู้สมัคร สสร. เป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้ และพรรคการเมืองสามารถประกาศ endorse (สนับสนุน) ผู้สมัครได้ แต่อาจไม่อนุญาตให้พรรคการเมืองให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้สมัคร
- กรอบระยะเวลาทำงาน : ระหว่าง 6-12 เดือน
- การทำงานของ สสร.
ควรให้ สสร.กำหนดกระบวนการทำงานภายในของสภาร่างรัฐธรรมนูญเอง ภายหลังจากที่ได้ สสร.ครบทุกประเภทแล้ว เช่น กลไกและกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญ การรับฟังความคิดเห็น
- การเชื่อมโยงกับรัฐสภา
แม้มีการยุบสภาหรือสภาหมดวาระ ทาง สสร.สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ โดยไม่ถูกกระทบ เพื่อความต่อเนื่องในการทำงาน
.
นอกจากนั้น ไม่ควรกำหนดให้รัฐสภาต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของ สสร. ก่อนลงประชามติ เพราะ สสร.มีฐานมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรงอยู่แล้ว แต่ควรให้ สสร. ส่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้สมาชิกรัฐสภาได้มีส่วนร่วมในการอภิปรายแสดงความเห็น (แบบไม่มีการลงมติและไม่มีผลผูกพัน) โดย สสร.อาจนำข้อคิดเห็นจากรัฐสภาไปแก้ไขปรับปรุงร่างฯ ภายใต้กลไกการทำงานที่เป็นอิสระของตัวเอง
- อำนาจในการจัดทำกฎหมายลูก (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ)
สสร.ควรมีอำนาจในการจัดทำกฎหมายลูก เนื่องจากมีความเข้าใจในรัฐธรรมนูญที่ร่างใหม่อย่างดี และมีช่วงให้ลงมือทำได้ระหว่างที่ส่งรัฐธรรมนูญเข้าสู่กระบวนการออกเสียงประชามติ
- การดำรงตำแหน่งทางการเมืองของ สสร. หลังปฏิบัติหน้าที่เสร็จ
ควรกำหนดให้ สสร. ห้ามลงสมัครรับเลือกตั้งหรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง (เช่น ส.ส. ส.ว. รัฐมนตรี ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ) เป็นระยะเวลาหนึ่ง (เช่น 3-5 ปี เป็นต้น) เพื่อป้องกันปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ
...............
4. โมเดลการเลือกตั้ง สสร. สูตรผสมของผม
จากโมเดล สสร.เลือกตั้งของคณะอนุกรรมาธิการ ผู้อ่านทุกท่านสามารถเลือกสูตรผสมของตัวเองได้ว่า หน้าตาของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เราอยากเห็นเป็นเช่นไร มี สสร.กี่ประเภท แต่ละประเภทมีจำนวนเท่าไหร่ ผ่านระบบเลือกตั้งแบบไหนดี
.
สำหรับสภาร่างรัฐธรรมนูญในสูตรผสมของผม ประกอบด้วยสมาชิก 150 คน
.
(1) สสร.ตัวแทนพื้นที่ จำนวน 120 คน ตามสัดส่วนจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด ทั้งนี้ แต่ละจังหวัดมี สสร. อย่างต่ำ 1 คน (แคปล่าง) และอย่างสูงไม่เกิน 5 คน (แคปบน) โดย สสร.จังหวัดมาจากการเลือกตั้งแบบจัดเรียงลำดับความชอบหรือแบบให้คะแนนตามลำดับความชอบ
.
จำนวน สสร.แต่ละจังหวัด (รวมทั้งสิ้น 120 คน) เป็นไปดังนี้
.
1 คน : ตราด ระนอง สมุทรสงคราม สิงห์บุรี ชัยนาท นครนายก พังงา มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ลำพูน สตูล อ่างทอง อำนาจเจริญ อุทัยธานี กระบี่ จันทบุรี ชุมพร ตาก น่าน บึงกาฬ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พะเยา พัทลุง พิจิตร เพชรบุรี แพร่ ภูเก็ต ยโสธร ยะลา สมุทรสาคร สระแก้ว หนองคาย หนองบัวลำภู อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร ฉะเชิงเทรา ตรัง นครพนม ลำปาง เลย สระบุรี สุโขทัย นราธิวาส ปัตตานี ระยอง ลพบุรี
.
2 คน: กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา พิษณุโลก ราชบุรี สุพรรณบุรี กาฬสินธุ์ นครปฐม นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ มหาสารคาม ชัยภูมิ เชียงราย ปทุมธานี สกลนคร สุราษฎร์ธานี นนทบุรี ร้อยเอ็ด สมุทรปราการ สุรินทร์ สงขลา
.
3 คน: ศรีสะเกษ ชลบุรี เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช บุรีรัมย์ อุดรธานี ขอนแก่น อุบลราชธานี
.
4 คน: นครราชสีมา
.
5 คน: กรุงเทพมหานคร
.
(2) สสร.สายวิชาการและผู้มีประสบการณ์ จำนวน 30 คน โดยมีสาขาต่างๆ ในบัญชีรายชื่อดังต่อไปนี้
.
ก. กฎหมายมหาชน จำนวน 8 คน
ข. รัฐศาสตร์-รัฐประศาสนศาสตร์-นโยบายสาธารณะ จำนวน 4 คน
ค. สังคมศาสตร์สาขาอื่นๆ จำนวน 4 คน
ง. ผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน การร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 8 คน
จ. ผู้มีประสบการณ์ด้านการบริหารหรือขับเคลื่อนงานเชิงสังคมที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ จำนวน 6 คน (กำหนดคุณสมบัติในทางที่ทำให้กลุ่มนี้ทำหน้าที่เสมือน สสร.กลุ่มความหลากหลายที่เป็นตัวแทนเชิงประเด็นไปด้วย)
.
สสร.สายวิชาการและผู้มีประสบการณ์มาจากการเลือกตั้งโดยตรงผ่านระบบบัญชีรายชื่อ (โดยมีกระบวนการคัดสรรแต่ละบัญชีที่อิงกับอำนาจประชาชนมาแล้วชั้นหนึ่ง จนในแต่ละบัญชีเหลือผู้สมัครไม่เกิน 3-5 เท่าของจำนวน สสร.ที่พึงมีในแต่ละบัญชี)
..................
เช้าวันพุธที่ 31 มกราคมนี้ ทางอนุฯ สสร.เลือกตั้ง จะนำเสนอรายงานผลการศึกษาเรื่องโมเดล สสร.เลือกตั้งในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชวนทุกคนติดตามรับชมกันครับ
.
ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับสมบูรณ์ว่าด้วย สสร.เลือกตั้งได้ที่ (https://t.ly/4C0oQ)
..................
หมายเหตุ: คณะอนุฯ สสร.เลือกตั้ง ประกอบด้วย พริษฐ์ วัชรสินธุ, สิริพรรณ นกสวน สวัสดี, เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง, เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช, ณัชปกร นามเมือง, นันทวัฒน์ ศักดิ์สกุลคุณากร, ปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์, อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด, ณัฐนันท์ กัลยาศิริ และปกป้อง จันวิทย์
.
ขอบคุณ ฉัตร คำแสง และเจณิตตา จันทวงษา ที่ช่วยกันคิดๆ เขียนๆ เรื่องสภาร่างรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ครั้ง 101 PUB

(https://www.facebook.com/photo/?fbid=122115579572175365&set=a.122113328822175365)


คนไทยต้องมูฟ ออน จากความแตกแยกทางการเมืองได้แล้ว ใครรอดคุกก็รอดไป ส่วนใครติดคุกก็ติดต่อไป


Thanapol Eawsakul
20h
·
ใครรอดคุกก็รอดไป
ส่วนใครติดคุกก็ติดต่อไป
คนไทยต้องมูฟ ออน จากความแตกแยกทางการเมืองได้แล้ว
เพราะพ่อของอุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร ไม่ต้องติดคุกแล้ว จึงพูดอะไรเช่นนี้ได้



เราไม่ลืม


วิวาทะ V2
14h
·
ช่วงหาเสียงโค้งสุดท้าย :
"เราไม่ยกเลิก 112 อันนี้ยืนยัน แต่ว่าเราต้องมาคุยกันที่บอกหลายที่ คือ ต้องคุยกันในสภา เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน
ทันทีถ้าเราเป็นรัฐบาล เราก็จะขอความเมตตาจากศาลที่มีน้องๆ ที่เข้าไปติดคุกอยู่อะไรแบบนี้ ให้พิจารณาว่าจะอย่างไรต่อ
เราต้องกำหนดตัวบทกฎหมาย ใครฟ้อง โทษของมัน maximum อยู่ที่ตรงไหน
เพราะว่าตอนนี้มันถูกดึงมาเป็นเกมการเมือง อันนี้คือสิ่งที่พรรคเพื่อไทยไม่ได้สนับสนุนเรื่องนี้ นึกออกไหม
ถ้าสมมติเราดึงลงมาเล่นมันไม่ใช่ มันต้องคิดเลยว่าคนที่ฟ้องได้ สำนักราชวังไหมอย่างไร
คือบ้านเมืองเรามีกษัตริย์เราก็ต้องมีกฎหมายที่คุ้มครองท่าน แต่ไม่ใช้ให้ประชาชนเอากฎหมายนี้มาใช้เป็นเกมการเมือง ใครฟ้องอะไร ตาสีตาสาฟ้องได้หมดมันก็ไม่ใช่ เราต้องฟังเสียงของประชาชน"
- แพทองธาร ชินวัตร, 8 พ.ค.66
"ถ้าเราเป็นรัฐบาลเรื่องแรกที่เราต้องดูคือเรื่องการให้การประกันตัว เพื่อที่ทางน้องๆ จะได้ออกมาต่อสู้ได้อย่างเป็นธรรมตรงนี้ และก็อาจไม่เสียการเรียนด้วย
...แต่ว่ายังไม่เป็นที่สบายใจเราก็มีพื้นที่ที่ปลอดภัยในรัฐสภาให้ถกกัน อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายจารีตประเพณีไทยที่สุภาพไม่ก้าวร้าว"
- เศรษฐา ทวีสิน, 8 พ.ค.66
2 แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีเพื่อไทย ร่วมไลฟ์สดกับ มดดำ คชาภา
.....

“ไม่ว่าจะยังไง ผมก็ยังคิดว่ามาตรา 112 เป็นปัญหา” ‘ต๋อม-ชัยธวัช’ เปิดเผยในรายการ TODAY LIVE ว่า การที่พรรคก้าวไกลเสนอร่างขึ้นมาเนื่องจากมีการใช้มาตรา 112 ดำเนินคดีสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ยังมีส่วนสำคัญที่ต้องพิจารณาอีกว่าควรจะใช้เวทีรัฐสภา ใช้กระบวนการนิติบัญญัติในการยุติเรื่องนี้หรือไม่


ชี้ชะตาก้าวไกล จุดยืนสั่นสะเทือน ศาลเตรียมฟัน แก้ 112 เท่ากับล้มล้างฯ I TODAY LIVE

Streamed live 11 hours ago 

สำนักข่าวทูเดย์

เปิดใจ จากอนาคตใหม่ ถึงก้าวไกล กับจุดยืนที่อาจสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ เมื่อศาลเตรียมพิจารณาว่าการหาเสียงแก้ไข ม. 112 เท่ากับล้มล้างการปกครองหรือไม่ 
คุยกับ ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล 
พรรณิการ์ วาณิช กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า 
ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการไอลอว์ 
ดำเนินรายการโดย นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ และอภิสิทธิ์ ดุจดา 
.....
TODAY @todayth

“ไม่ว่าจะยังไง ผมก็ยังคิดว่ามาตรา 112 เป็นปัญหา” 

‘ต๋อม-ชัยธวัช’ เปิดเผยในรายการ TODAY LIVE ว่า การที่พรรคก้าวไกลเสนอร่างขึ้นมาเนื่องจากมีการใช้มาตรา 112 ดำเนินคดีสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ยังมีส่วนสำคัญที่ต้องพิจารณาอีกว่าควรจะใช้เวทีรัฐสภา ใช้กระบวนการนิติบัญญัติในการยุติเรื่องนี้หรือไม่ 




ข้อมูลเงินภาษีที่ประชาชนบริจาคให้พรรคการเมืองที่ตนชอบ ชี้ว่า การเมืองไทยกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก คนไทยผูกพันกับพรรคการเมืองมากขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือสร้างชีวิตที่ดีขึ้น


ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์
17h·

คนไทยผูกพันกับพรรคการเมืองมากขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือสร้างชีวิตที่ดีขึ้น
ข้อมูลเงินภาษีที่ประชาชนบริจาคให้พรรคการเมืองที่ตนชอบ ชี้ว่า การเมืองไทยกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก พรรคการเมืองกำลังมีความเข้มแข็งขึ้น แม้ว่าฝ่ายวงจรอุบาทว์รัฐประหารจะกระเหี้ยนกระหือรือยุบทำลายพรรคการเมือง แต่วิธีคิดของประชาชนไทยเปลี่ยนไป ความเข้า


ใจเกี่ยวกับการบริจาคเงินภาษีให้พรรคการเมืองมีคนบริจาคปริมาณมากขึ้นในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา
จากเดิม วาทกรรมฝ่ายวงจรอุบาทว์รัฐประหารจะทำให้พรรคการเมืองนั้นมีภาพลักษณ์ขี้โกง แสวงหาประโยชน์ส่วนตน เป็นพรรคของใคร ไม่ทำตามที่หาเสียง ซึ่งบางพรรคก็ยังมีลักษณะดังกล่าว รวมทั้งพรรคฝ่ายวงจรอุบาทว์
แต่ชุดความรู้ในหลายสิบปีมานี้ ประชาชนเข้าใจยิ่งขึ้นว่าที่บ้านเมืองของเราไม่พัฒนา ไม่เจริญ ไม่มั่งคั่ง ชีวิตด้อยค่าต้อยต่ำ คนไม่เท่ากัน ทหารราชการอยู่ดีกินดี นั้นเพราะวงจรอุบาทว์รัฐประหาร 13 ครั้ง เฉลี่ยทุกๆ 7 ปี พวกนี้จะทำรัฐประหารเพื่อเข้าเป็นรัฐบาลจัดสรรทรัพยากรชาติให้กับพวกตนเอง แล้วสืบทอดอำนาจยาวๆ
ความรู้เหล่านี้เปลี่ยนความคิดและจิตใจให้ประชาชนร่วมสู้ผ่านพรรคการเมืองที่ตนชอบ
จากตัวเลขเงินบริจาคภาษี
พรรคก้าวไกลได้รับ 36.99 ล้าน ถ้าคิดบนฐาน 1 คนบริจากได้สูงสุด 500 บาท พรรคก้าวไกลก็มีแฟนพันธุ์แท้ที่อยู่ในระบบภาษีราว 7.4 หมื่นคน
จากการสอบถาม หลายคนโดยเฉพาะในหมู่ผู้ทำการค้าขายและข้าราชการ ยังไม่กล้าบริจาค เพราะกลัวมีปัญหากับระบอบวงจรอุบาทว์รัฐประหาร
พรรคเพื่อไทยกับพรรครวมไทยสร้างชาติ เงินบริจากภาษีได้รับใกล้เคียงกัน มีแฟนคลับในระบบภาษีราว 9 พันกว่าคน ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ราว 6 พันคน
คนไทยที่ต้องยื่นแบบภาษีมีราว 11 ล้านคน แต่ที่ต้องเสียภาษีจริงราว 4.2 ล้านคน เพราะที่เหลือนั้นเมื่อหักค่าใช้จ่าย รายได้ไม่เข้าเกณฑ์เสียภาษี
แต่ต้องเข้าใจให้ถูกต้องนะครับว่า ทุกคนไทย แม้แต่เด็ก ก็เสียภาษี นั้นคือภาษี Vat ที่รวมอยู่ในสินค้าที่ซื้อกินซื้อใช้ทุกวัน
ถ้ามองตัวเลขนี้ ผู้ที่บริจาคให้พรรคการเมืองมีราว 1 แสนคน พรรคการเมืองยังสามารถรณรงค์ได้เพิ่มขึ้น โดยต้องทำลาย "ความกลัว" ว่าฝ่ายวงจรอุบาทว์จะกลั่นแกล้งให้ได้ และสร้างความรู้สึกร่วมในการสร้างประเทศไทยให้ไม่เหมือนเดิม
ปี 2565 พรรคก้าวไกลได้เงินบริจาครวม 30.14 ล้านบาท
ปี 2566 พรรคก้าวไกลได้เงินบริจาครวม 47.45 ล้านบาท
ปี 2567 พรรคก้าวไกลได้เงินบริจาครวม 52.49 ล้านบาท (ตัวเลขจะเปลี่ยนแปลง เพราะยังไม่สิ้นสุดการเสียภาษีจนถึงสิ้นเมษายนนี้)
เห็นได้ชัดว่า ประชาชนเชื่อมั่นสูงมากว่า พรรคก้าวไกลคือพลังทางการเมืองที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้เจริญขึ้นในทุกด้าน เพื่อชาติและลูกหลานของเรา

การเมืองเรื่องยุบพรรคการเมือง บทความวิชาการของอาจารย์โย ฟันธงว่า #ก้าวไกล รอด ล้าน% คำถามสำคัญคือ ทำไมพรรคการเมืองไทยจึงไม่แข็งไม่แกร่งเสียที?


https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=968585684836419&id=100050549886530&ref=embed_post

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์
19h
·
การเมืองเรื่องยุบพรรคการเมือง บทความวิชาการของอาจารย์โย ฟันธงว่า #ก้าวไกล รอด ล้าน%
คำถามสำคัญคือ
ทำไมพรรคการเมืองไทยจึงไม่แข็งไม่แกร่งเสียที?
ทำไมพรรคการเมืองไทยจึงล้มหายตายจากไประลอกแล้วระลอกเล่า?
แม้แต่พรรคพลังประชารัฐที่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป ต่อให้มี ส.ส. ได้รับเลือกตั้งเข้ามาในการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 นี้
เราลองตั้งคำถามในใจและหาคำตอบด้วยความจริง เราคิดว่าพรรคพลังประชารัฐจะเป็นพรรคการเมืองแบบยั่งยืนนานอย่างน้อยๆ ก็อีกหนึ่งทศวรรษ หรือจะเป็นพรรคแบบเดี๋ยวก็ล้มหายตายจาก เหมือนเช่น พรรคเสรีมนังคศิลาของคณะทหารกลุ่มเครือข่ายจอมพล ป. พิบูลสงคราม
อ่านบทความนี้แล้วท่านจะได้คำตอบว่า ทำไมพวกฝ่ายวงจรอุบาทว์รัฐประหาร จึงมุ่งกระเหี้ยนกระหือรือ ยุบพรรคการเมือง?
ลิงค์ (https://www.the101.world/dissolution-of-political-party/)

อ.ปิยบุตร วิเคราะห์ นัยสำคัญ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ คดีที่ #พรรคก้าวไกล ถูกกล่าวหาว่าล้มล้างการปกครองฯ วันพุธที่ 31 มกราคม นี้

https://www.facebook.com/watch/?v=761042329218189&t=0
Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล
2d·

วันพุธที่ 31 มกราคม นี้
.
ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยคดีที่ #พรรคก้าวไกล ถูกกล่าวหาว่าล้มล้างการปกครองฯ จากกรณีเสนอกฎหมายแก้ไขมาตรา 112
.
คดีนี้ไม่เพียงสำคัญกับพรรคก้าวไกลเท่านั้น แต่ยังสำคัญกับการเมืองไทยด้วย
.
#สนามกฎหมาย #นิติสงคราม #ล้มล้างการปกครอง #มาตรา112 #ศาลรัฐธรรมนูญ

"อยากได้แร่ เจาะบ้านแม่มึงสิ" ชาวด่านขุนทด จี้ รบ.ปิดเหมืองโปแตชด่วน น้ำเค็มทะลัก กระทบการทำมาหากิน เพาะปลูกการเกษตรไร้ผล "อย่าเอาสิ่งแวดล้อมไปแลกเกลือ"



'น้ำเค็มทะลัก ทำมาหากินเพาะปลูกการเกษตรไร้ผล' ชาวด่านขุนทด จี้ รบ.ปิดเหมืองโปแตชด่วน

2024-01-26
ประชาไท

ภาพปก/ภาพประกอบ : ชนากานต์ เหล่าสารคาม / Thai News Pix

'กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทด' ชุมนุมร้อง รบ.ปิดเหมืองโปแตช บ.ไทยคาลิ หลัง ปชช.ได้รับผลกระทบหนัก น้ำเค็มทะลัก ปลูกพืชใช้ประปาทำมาหากินเหมือนเดิมไม่ได้ มีข้อกังวลเพิ่ม 'บริษัทเปลี่ยนผังทำเหมือง ขุดอุโมงค์ แต่ไม่มี EIA-ใบอนุญาต?' เตือนหากเมินเฉยเตรียมลงถนนมิตรภาพ มุ่งสู่เมืองกรุง

26 ม.ค. 2567 รายงานข่าวจากสำนักข่าวสิ่งแวดล้อม และประชาไท ถ่ายทอดสดออนไลน์วันนี้ (26 ม.ค.) ตั้งแต่เวลา 9.00-14.00 น. ประชาชนจาก ต.หนองไทร และ ต.หนองบัวตะเกียด อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา (โคราช) ในนาม "กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทด" ทำกิจกรรม "อยากกินข้าว ไม่ได้อยากกินเกลือ" โดยชุมนุมหน้าเหมืองโปแตช ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท ไทยคาลิ จำกัด โดยชาวบ้านมีการปราศรัยถึงปัญหาการทำเหมืองแร่โปแตช ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลมีคำสั่งยุติการทำเหมืองแร่โปแตชในพื้นที่โดยทันที มีการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ หากยังเมินเฉย เตรียมลงถนนมิตรภาพ มุ่งหน้าสู่กรุงเทพฯ

(https://www.facebook.com/watch/?v=758181846201446)

บรรยากาศการทำกิจกรรมวันนี้ ประชาชนในนามกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทด ได้รวมตัวกันที่วัดหนองไทร ต.หนองไทร อ.ด่านขุนทด ก่อนเดินทางไปทำพิธีกรรมที่ดอนปู่ตา ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนในท้องที่เคารพนับถือ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและเอาฤกษ์เอาชัย

ต่อมา ประชาชนชุมนุมหน้าเหมืองแร่โปแตช บริษัทไทยคาลิ ที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร (กม.) เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลมีคำสั่งปิดเหมืองแร่โปแตชโดยทันที

นอกจากนี้ ประชาชนร่วมใส่เสื้อสีดำ และมีการทำโลงศพจำลอง เขียนด้านหน้าข้อความว่า 'นาย ไทยคาลิ ชาตะ 2558 มรณะ 2565' และชาวบ้านได้ถือรูปเจ้าของบริษัทเดินนำหน้าโลง พร้อมเปิดเพลงธรณีกรรแสงประกอบการเดินขบวน รวมถึงมีการถือภาพถ่ายผลกระทบที่เกิดขึ้นจากพื้นที่ พร้อมถือป้ายระบุ "กลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดไม่เอาเหมืองแร่" "อย่าเอาสิ่งแวดล้อมไปแลกเกลือ"


ชาวบ้านตั้งแถวเตรียมเดินขบวนไปชุมนุม

ที่มาปัญหาเหมืองแร่โปแตชด่านขุนทด

ผู้สื่อข่าวระบุถึงที่ไปที่มาของปัญหาเหมืองแร่โปแตชที่ด่านขุนทด จ.โคราช ได้รับการประทานบัตรทำเหมืองหลังยุค คสช. ทำรัฐประหาร เมื่อปี 2558 โดยเหมืองแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ ต.หนองไทร อ.ด่านขุนทด โคราช โดยอาณาเขตของเหมืองกินพื้นที่ 2 ตำบล คือ หนองไทร และหนองวัวตะเกียด ดำเนินการโดย บริษัท ไทยคาลิ จำกัด

ส่วนเหตุผลที่ทำให้ประชาชนลุกขึ้นมาเรียกร้องให้รัฐบาลปิดเหมืองดังกล่าว เนื่องจากการทำเหมืองโปแตชส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทำกินของประชาชน เพราะว่ามีน้ำเกลือที่ไหลออกมาจากบริเวณเหมือง และเมื่อน้ำไหลเข้าลงสู่พื้นดิน และแหล่งน้ำสาธารณะ ส่งผลให้น้ำมีความเค็มที่สูงกว่าปกติ ชาวบ้านไม่สามารถทำมาหากินได้อย่างที่เคยเป็นมา
 


โดยปกติ ถ้าเป็นดินเค็มตามธรรมชาติ ตามพื้นที่ ดิน หญ้า หรือต้นไม้ จะสามารถเติบโตได้ตามปกติ แต่เมื่อเป็นดินเค็มที่มากับอุตสาหกรรม จะทำให้พืชตาย และปลูกพืชไม่ขึ้น เพราะว่าน้ำเค็มกว่าปกติ และแหล่งน้ำ ปลาน้ำจืดไม่สามารถอยู่ได้ บ้านเรือนของชาวบ้านผุกร่อนลงไป เนื่องจากได้รับผลกระทบจากน้ำเค็ม

ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า ก่อนหน้านี้ชาวบ้านมีการยื่นหนังสือร้องเรียนหน่วยงานรัฐหลายครั้ง แต่ไม่ได้รับการตอบรับ หรือดูแล แม้ว่าจะมีครั้งหนึ่งที่ทางจังหวัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมา เพื่อเก็บตัวอย่างดินและน้ำ แต่ไม่ได้มีการนำไปตรวจสอบ หรือว่าขยายหาข้อมูลใดๆ

ผู้สื่อข่าวระบุต่อว่า ขณะที่ยังไม่ได้มีการแก้ไขปัญหาใดๆ ซึ่งเป็นปัญหาที่ร้องเรียนไปแล้วก่อนหน้านี้ บริษัทจะมีการย้ายแผนเดิม ซึ่งทำแผนใหม่ในการที่ขุดเจาะสำรวจแหล่งแร่แห่งใหม่ โดยจะมีการขุดเพิ่ม 3 อุโมงค์ บริเวณดอนหนองโพ จ.โคราช ก่อนหน้านี้ประชาชนได้ตั้งคำถามว่าบริษัทมีการทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA หรือไม่ แต่ชาวบ้านพบว่าบริษัทมีการใช้ EIA ฉบับเก่า และไม่ได้มีการทำ EIA ฉบับใหม่กรณีที่มีการสำรวจแหล่งแร่ใหม่

ผู้สื่อข่าวระบุด้วยว่า นอกจากนี้ ประชาชนมีความกังวลด้านผลกระทบจากการระเบิดหลุมเพื่อสำรวจแร่อีกด้วย เพราะขั้นตอนการขุดเจาะสำรวจแร่ใหม่ จะมีการใช้ระเบิดหนัก 500 กก. (กิโลกรัม) ต่อ 1 หลุม และบริเวณที่ระเบิดอยู่ห่างจากชุมนุม ไม่ถึง 1 กม. (กิโลเมตร)

'เปลี่ยนผังสำรวจแร่ ระเบิดอุโมงค์' โดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐ?

นอกจากผลกระทบไม่ได้เกิดขึ้นพืชผลทางการเกษตร และแหล่งน้ำสาธารณะ ชาวบ้านยังต้องแบกรับค่าใช้จ่ายค่าน้ำ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเสียค่าน้ำมิเตอร์ หน่วยละ 10 บาท แต่ตอนนี้ขึ้นเป็น 25 บาท หรือเกินกว่าครึ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวบ้านต้องเผชิญมาหลายปี



เมื่อ 24 ม.ค.ที่ผ่านมา 'กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทด' ได้เดินทางไปที่ที่ว่าการอำเภอ เพื่อขอให้นายอำเภอช่วยตรวจสอบในการขยายพื้นที่ขุดเจาะ พื้นที่ใหม่ อย่างที่ได้กล่าวไป เพราะว่าบริษัทไม่ได้มีการทำ EIA ขึ้นมา แต่เป็นการใช้ EIA เดิม ในการขุดเจาะสำรวจแห่งใหม่

"ถ้าสรุปตามสิ่งที่สำนักงานอุตสหากรรมฯ ระบุมาแสดงว่าบริษัท ไทยคาลิ จำกัด ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโครงการ อีกทั้งยังไม่มีข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐที่แจ้งมายังกลุ่มว่า ทางบริษัทฯ ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขโครงการแต่อย่างใด แต่ในพื้นที่กลับมีการดำเนินโครงการตามแผนผังการทำเหมืองใหม่เรียบร้อยแล้ว" ผู้สื่อข่าวกล่าว

ขณะที่ใบอนุญาตทำหรือไม่ ได้รับอนุญาตเปลี่ยนแผนผังโครงการหรือไม่ หรือ EIA ทำหรือไม่ทำ แต่ในพื้นที่มีการดำเนินการตามแผนผังใหม่เรียบร้อยแล้ว ก็ยังไม่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานใดเลย แต่โรงงานกลับมีการดำเนินการขยายพื้นที่ขุดเจาะ และนอกจากนี้ อาจจะมีการใช้ระเบิดจำนวนหลายร้อย กก. ห่างจากหมู่บ้านไม่เกิน 1 กม. ทำให้ประชาชนกังวลทั้งผลกระทบเรื่องของเสียง และความปลอดภัยอื่นๆ อย่างที่กล่าวข้างต้น

ปราศรัยความเดือดร้อนของชาวบ้าน

สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม รายงานว่า เมื่อเวลาราว 11.00 น. กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทดเดินทางมาถึงบริเวณหน้าที่ทำการเหมือง และได้ปักหลักตั้งเต็นท์ และปราศรัย รวมถึงนำแผ่นผลึกเกลือที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองมาวาง โดยกล่าวว่า การมาชุมนุมในครั้งนี้มีข้อเรียกร้องให้เหมืองหยุดกิจการโดยทันที และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องสืบสวนเอาผิดกับหน่วยงานราชการ และบริษัทที่สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน



"เหมืองมาเมื่อปี 58 ตอนแรกๆ มันก็ยังไม่ได้กระทบอะไรมาก จนมาปี 59 เกิดการไหลทะลักของน้ำเกลือออกมาจากเหมือง ตั้งแต่ตอนนั้นที่ดินของเราก็เปลี่ยนไป มีผลึกเกลือเกิดขึ้นเต็มเลย ต้นไม้พืชผลทางการเกษตรก็ค่อยๆ ล้มตายไป ปลูกข้าวก็ได้ ปลูกอะไรก็ไม่ได้ ปลาก็ยังอยู่ในน้ำไม่ได้ ตายหมด พังหมดทุกอย่างเลย" ปริญญา สร้อยสูงเนิน กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทด กล่าว

หลังจากนั้น ตัวแทนชาวบ้านได้พลัดขึ้นปราศรัย แลกเปลี่ยนปัญหาจากการทำเหมืองโปแตช ของบริษัทไทยคาลิ
 
เผาพริกเผาเกลือสาปแช่งผู้บริหารบริษัทเหมืองแร่-อ่านแถลงการณ์ ลงถนนมิตรภาพ หากไร้ความคืบหน้า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 13.41 น. ประชาชนทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ "เผาพริกเผาเกลือ" เพื่อสาปแช่งเจ้าของบริษัทไทยคาลิฯ หุ้นส่วนบริษัทไทยคาลิ และมวลชนสัมพันธ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ขอให้จมธรณีเกลือ ขอให้มันจมลงไปกับกองเกลือที่ทำให้เรามีแต่ความทุกข์ความยาก





หนึ่งในชาวบ้านจาก ต.หนองวัวตะเกียด ที่ออกมาร่วมชุมนุมเรียกร้องให้มีการปิดเหมืองโปแตช ให้สัมภาาณ์ระบุว่า พื้นที่ประทานบัตร 9,005 ไร่ เป็นที่ดินของประชาชนตำบลหนองวัวตะเกียด 80% ได้รับผลกระทบเป็นคราบเกลือ และแหล่งน้ำเสียหาย เราไม่อยากให้เกิดผลกระทบต่อพวกเรา เลยออกมาเรียกร้องปิดเหมือง

ชาวบ้านรายเดิมมองว่า ตอนที่มาทำประชามติ เขาจะเอาเจ้าหน้าที่มาคุย และประชาชนส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรพอได้ยินว่า ‘โปแตช’ จะเอาไปทำปุ๋ย แล้วราคาปุ๋ยจะถูกลง ชาวบ้านเขาก็ดีใจ แต่ความจริงมันไม่ได้เป็นแบบนั้น ถ้าเราได้ปุ๋ยถูก แต่พื้นที่เราเป็นแบบ ต.หนองไทร มันก็ไม่มีประโยชน์ที่จะได้ปุ๋ยราคาถูก เพราะมันใช้ไม่ได้จริง

ชาวบ้านรายเดิม กล่าวต่อว่า พื้นที่หนองไทร ได้รับผลกระทบจากเหมืองคือน้ำมีความเค็มเกินมาตรฐาน ทำให้ประชาชนไม่สามารถใช้น้ำประปาได้อีกต่อไปแล้ว และถ้าน้ำจากบึงหนองไทรตรงนี้ไหลสู่ห้วยธรรมชาติชื่อว่า 'ห้วยลำมะหลอด' ซึ่งห้วยนี้จะไหลลงไปเชื่อมกับอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร ตอนล่าง ถ้าอ่างเก็บน้ำมีการปะปนสารเคมีต่างๆ จริง เขาเชื่อว่ามันจะเกิดความเสียหายต่อแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำทำมาหากินทางการเกษตรด้วย

"อย่าได้มองว่า คนที่ออกมาต่อต้านเป็นการขัดขวางความเจริญของประเทศ ให้มองดูอีกมุมหนึ่ง พวกเราเดือดร้อนจริงๆ เราไม่อยากให้เป็นแบบนี้ ความเจริญพวกผมก็อยากได้ แต่ถ้าแลกมาด้วยความเสียหายอย่างนี้ อยู่อย่างเดิมดีกว่า" ชาวบ้านระบุ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กิจกรรมสุดท้ายก่อนยุติการชุมนุมมีการเต้นรำวงฉลอง ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่มากับความสนุกสนาน แม้ว่าชาวบ้านจะรู้สึกเจ็บปวดจากผลกระทบที่เกิดขึ้น การต่อสู้ด้วยความสนุกสนานส่วนใหญ่เป็นการเย้ยหยันผู้มีอำนาจ ด้วยวิธีการสันติวิธี

หลังจากนั้น ประชาชนอ่านแถลงการณ์ "ปิดเหมืองแร่โปแตช" โดยมีข้อเรียกร้องทั้งหมด 3 ข้อ คือ 1. รัฐบาลต้องปิดเหมืองแร่โปแตชด่านขุนทด โดยทันที 2. เยียวยาและฟื้นฟูผลกระทบสภาพแวดล้อมที่เสียหาย และ 3. ดำเนินการเอาผิดตามกฎหมายอย่างรุนแรงต่อบริษัทที่เกี่ยวข้อง



ประชาชนกล่าวว่า หากรัฐบาลยังไม่มีการดำเนินการใดๆ พวกเขาจะมุ่งสู่ถนนมิตรภาพ เพื่อไปหานายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน เพราะการดำเนินนโยบายที่ดี รัฐบาลต้องลงมาดูประชาชน เมื่อประชาชนได้รับผลกระทบ ก็ต้องดำเนินการแก้ไขปัญหา ไม่ใช่ไม่สนใจ สนแต่เม็ดเงินทางเศรษฐกิจ

"กลุ่มคนรักบ้านเกิด ไม่เอาเหมืองแร่"

"เหมืองแร่ออกไปๆ"

เวลา 14.19 น. ผู้สื่อข่าวรายงานประชาชนได้ประกาศยุติการชุมนุม และขอบคุณเจ้าหน้าที่ที่มาดูแลการชุมนุม ชวนประชาชนจับตารัฐบาลจะดำเนินการอะไรหรือไม่

นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวระบุด้วยว่า มีการคุกคามประชาชนที่จะออกมาร่วมคัดค้านเหมืองโปแตช โดยผู้นำชุมชนคือกำนันผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนจึงได้ไปยื่นหนังสือให้นายอำเภอออกมาตรวจสอบกำนันฯ ที่มีพฤิตกรรมคุกคามแล้ว

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวเน้นย้ำด้วยว่า การชุมนุมครั้งนี้มีการจดแจ้งการชุมนุมตามกฎหมายตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ เรียบร้อย และไม่มีการใช้ความรุนแรงใดๆ แต่ตั้งข้อสังเกตว่า แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีการระบุในหนังสือจดแจ้งการชุมนุมว่า ชาวบ้านขอสนับสนุนรถสุขา เพราะในที่ทำกิจกรรมไม่มีห้องน้ำ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่าไม่สามารถนำรถสุชามาให้ชาวบ้านได้ ซึ่งน่าตั้งข้อสังเกตุว่าทั้งที่มีการแจ้งการขอชุมนุมไปแล้ว ทำไมถึงไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ



ที่มา (https://prachatai.com/journal/2024/01/107790)


ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัย คดีกล่าวหาพรรคก้าวไกล “ล้มล้างการปกครอง” ในวันที่ 31 ม.ค. นี้ คดีนี้ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความอดีตพระพุทธะอิสระ ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า การหาเสียงเลือกตั้ง ด้วยนโยบายให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง หรือไม่ ชวนอ่าน คำร้อง



เปิดคำร้องคดีหาเสียงแก้ ม. 112 กล่าวหา พิธา-ก้าวไกล “ล้มล้างการปกครอง”

หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
29 มิถุนายน 2023

บีบีซีไทยเปิดคำร้องของทนายความอิสระที่ส่งถึงอัยการสูงสุดและศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ตรวจสอบการหาเสียงด้วยการเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ซึ่งเขาพบว่า “มีปัญหาข้อกฎหมาย” ใน 5 ประเด็น โดยมือยื่นคำร้องรายนี้ยืนยันว่า ไม่ได้มีเจตนาแอบแฝงทางการเมือง แต่ทำตามหลักของกฎหมาย และต้องการ “ดับไฟกองใหญ่ไว้แต่ต้นลม”

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเมื่อ 26 มิ.ย. ให้สอบถามอัยการสูงสุด (อสส.) ว่า มีคำสั่งรับหรือไม่รับดำเนินการคำร้อง กรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรค ก.ก. หาเสียงด้วยการเสนอให้แก้ไขมาตรา 112 โดยให้แจ้งต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้

มติศาลรัฐธรรมนูญเกิดขึ้น หลังจากนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ว่า การกระทำของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค ก.ก. ผู้ถูกร้องที่ 1 และพรรค ก.ก. ผู้ถูกร้องที่ 2 ที่เสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ. …. เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้ง และยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง หรือไม่

นายธีรยุทธระบุในคำร้องว่า ได้ยื่นคำร้องต่อ อสส. เมื่อ 30 พ.ค. ขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งนายพิธา และพรรค ก.ก. “เลิกการกระทำที่เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพอันนำไปสู่การล้มล้างการปกครองฯ” แต่ไม่ปรากฏว่า อสส. ได้ดำเนินการส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง ซึ่งครบกำหนดไปเมื่อ 14 มิ.ย. เขาจึงใช้สิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 49 วรรคสอง

ต่อมา 27 มิ.ย. นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษก อสส. เปิดเผยว่า นายธีรยุทธเดินทางมายื่นคำร้องผ่านสำนักงาน อสส. จริง ซึ่งทาง อสส. ได้พิจารณาคำร้อง และตั้งคณะทำงานขึ้นพิจารณา โดยได้เชิญผู้ร้องมาให้ถ้อยคำประกอบคำร้องเพื่อความครบถ้วนสมบูรณ์ และประสานหาพยานหลักฐานเพิ่มเติมไปยังหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องมากกว่า 2 หน่วยงาน แต่หน่วยงานที่ประสานไปยังไม่ส่งเอกสารข้อมูลกลับมาประกอบการพิจารณา แม้ทางผู้ร้องไปยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงเเล้ว แต่ทาง อสส. พอได้รับคำร้องมา ก็จะดำเนินการควบคู่ไปด้วย เพียงแต่ต้องรอข้อมูลประกอบคำร้อง ไม่ใช่รับคำร้องอะไรมาก็ส่งศาลรัฐธรรมนูญเลย

“ไม่ได้มีจิตต้องการไปประหัตประหารพิธา-ก้าวไกล”


นอกจากยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยังยื่นคำร้องต่อประธาน กกต. ให้ตรวจสอบว่า การหาเสียงให้แก้ไขมาตรา 112 เป็นการกระทำอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยฯ ตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง มาตรา 92 (1) (2) หรือไม่

นายธีรยุทธกล่าวกับบีบีซีไทยว่า การใช้สิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพราะต้องการให้นายพิธา และพรรค ก.ก. “หยุดพิจารณาแก้ไข” หรือ “หยุดวาระที่อาจจะซ่อนอยู่ในคำว่าแก้ไข ก็คือการยกเลิกมาตรา 112” เนื่องจากเคยมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญคดีชุมนุม 10 ส.ค. 2563 และคดียุบพรรคไทยรักษาชาติ ซึ่งมีผลผูกพันต่อทุกองค์กรตามรัฐธรรมนูญ พร้อมยืนยันว่า ทำหน้าที่ในฐานะนักกฎหมายที่ต้องทำตามหลักการของกฎหมาย ไม่ได้มีเจตนาแอบแฝงทางการเมืองในช่วงที่พรรค ก.ก. เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล

“ผมไม่ได้มีจิตต้องการไปประหัตประหารท่านพิธา และพรรคก้าวไกล หรือตั้งใจทำลายทำร้ายอะไรเขา ท่านไม่ได้มาทำอะไรผม ท่านมีแนวความคิด มีการแสดงความคิดเห็นออกมา แต่สิ่งที่ท่านจะทำ จะเปิดช่อง เปิดโอกาสให้กลุ่มบุคคลหรือใครฉวยไปทำอะไรหรือเปล่า ศาลก็จะวินิจฉัยตรงนั้น” นายธีรยุทธกล่าว

ส่วนสาเหตุที่ออกมาเคลื่อนไหวยื่นคำร้องในช่วงนี้ ทั้ง ๆ ที่พรรค ก.ก. เสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ปี 2564 นั้น นายธีรยุทธชี้แจงว่า เรื่องนี้ต้องเคารพอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติและผู้กำกับดูแล เท่าที่ฟังจากนายชวน หลีกภัย อดีตประธานสภา เมื่อได้รับการยื่นญัตติเข้ามา ทางประธานและฝ่ายกฎหมายของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรตรวจดูแล้วเห็นว่า อาจมีเนื้อหาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้” จึงมีความเห็นให้ส่งร่างคืนพรรค ก.ก.

“พอทางสภาทำหนังสือตอบกลับไป พรรคก้าวไกลก็ออกมายืนยันว่าจะเสนอร่างต่อ แสดงว่าร่างนี้แม้ไม่ได้รับการบรรจุ แต่ยังคาอยู่ ถ้าพรรคก้าวไกลเขาได้ตำแหน่งประธานสภาไปจริง ๆ การบรรจุวาระจะเกิดขึ้นแน่นอน เพราะเขาพูดหลายครั้งว่าจะผลักดันต่อไปจนกว่าจะสำเร็จ ทุกอย่างปรากฏชัดในนามท่านพิธา และพรรคก้าวไกล” นายธีรยุทธกล่าว

ทนายความอิสระ วัย 49 ปี กล่าวว่า ส่วนตัวได้ศึกษา 300 นโยบายของพรรค ก.ก. พบว่า หลายอย่างเป็นประโยชน์ต่อสังคมและการพัฒนาประเทศ เข้าใจว่ามีผู้ทรงภูมิรู้ในพรรคจำนวนมาก หากไม่ทำเรื่องมาตรา 112 สักเรื่องหนึ่ง ก็ยังสามารถผลักดันนโยบายอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ

สำหรับนายธีรยุทธเป็นที่รู้จักในฐานะทนายความของนายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรืออดีต “พระพุทธะอิสระ” อดีตแกนนำ กปปส.

ยกบรรทัดฐาน “คดีทะลุเพดาน” ชี้เสนอแก้ ม. 112 ไม่ได้

บีบีซีไทยตรวจสอบคำร้องของนายธีรยุทธที่ส่งถึงศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 19 หน้า โดยมีการอ้างถึงบรรทัดฐานจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 19/2564 หรือที่รู้จักในชื่อ “คดีทะลุเพดาน” ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ บนเวทีการชุมนุมของกลุ่ม “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 กระทบต่อสถานะของสถาบันกษัตริย์

"การใช้สิทธิหรือเสรีภาพของผู้ถูกร้องที่ 1 (นายอานนท์ นำภา) ที่ 2 (นายภาณุพงศ์ จาดนอก) และที่ 3 (น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล) เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยไม่สุจริต เป็นการละเมิดกฎหมาย มีมูลเหตุจูงใจเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง"

ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องทั้ง 3 รวมทั้งกลุ่มองค์กรเครือข่ายเลิกกระทำการดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

คดีดังกล่าว มีนายณฐพร โตประยูร เป็นผู้ยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อขอให้พิจารณาวินิจฉัยและมีคำสั่งให้คณะบุคคลเลิกการกระทำ โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสอง เช่นกัน

1 ใน 10 ข้อเรียกร้องของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ คือ “ให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 รวมถึงเปิดให้ประชาชนได้ใช้เสรีภาพแสดงความคิดเห็นต่อสถาบันกษัตริย์ได้ และนิรโทษกรรมผู้ถูกดำเนินคดีเพราะวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ทุกคน”



นายธีรยุทธตีความว่า บรรทัดฐานจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญใน “คดีทะลุเพดาน” มีผลผูกพันว่า การใช้สิทธิหรือเสรีภาพเรียกร้องเพื่อให้มีการยกเลิกหรือแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นห้ามผู้ใดล่วงละเมิด หมิ่นประมาท หมิ่นพระบรมเดชานุภาพสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพที่เกินความพอเหมาะพอควร มีผลทำให้กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และจะนำไปสู่การบ่อนทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในที่สุด การกระทำใด ๆ ที่มีเจตนาเพื่อทำลายหรือทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องสิ้นสลายไป ไม่ว่าจะโดยวิธีการพูด การเขียน หรือการกระทำต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลเป็นการบ่อนทำลาย ด้อยคุณค่า หรือทำให้อ่อนแอลง ย่อมแสดงให้เห็นถึงการมีเจตนาเพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์

“ดังนั้นการกระทำของนายพิธา และพรรค ก.ก. จึงเข้าลักษณะองค์ประกอบความผิดตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 19/2564” นายธีรยุทธระบุในคำร้อง

5 ปัญหาร่างแก้ ม. 112 ฉบับก้าวไกล จากมุมมือยื่นคำร้อง

พรรค ก.ก. เสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ลงรับเลขรับที่ 27/2564 เมื่อ 25 มี.ค. 2564 อย่างไรก็ตามร่างกฎหมายดังกล่าวไม่ได้รับการการบรรจุเป็นวาระพิจารณา

นายธีรยุทธระบุในคำร้องว่า ร่างแก้ไขมาตรา 112 ฉบับก้าวไกล “มีปัญหาข้อกฎหมาย” ใน 5 ประเด็น สรุปได้ ดังนี้
  • ให้ “ยกเลิก” มิใช่เพียง “แก้ไข” มาตรา 112
  • แก้ไขลักษณะความผิด และลดสถานะความคุ้มครองลงมาอยู่ในหมวด 4 ว่าด้วยความผิดต่อสัมพันธไมตรี (จากเดิมอยู่ในหมวด 1 ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรไทย)
  • ลดอัตราโทษสำหรับความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ เหลือระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (จากเดิมต้องระวางโทษจำคุก 3-15 ปี) ซึ่งน้อยกว่าอัตราโทษหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไปที่ให้จำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท ส่วนความผิดต่อพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ลดอัตราโทษจำคุกเหลือไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (จากเดิมต้องระวางโทษจำคุก 3-15 ปี)
  • เปิดโอกาสให้บุคคลสามารถก้าวล่วง วิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยไม่มีความผิด หรือไม่ต้องรับโทษใด ๆ หากเป็นการ “ติชม แสดงความคิดเห็น หรือแสดงข้อความใดโดยสุจริต เพื่อธำรงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อธำรงไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ” และยังเพิ่มเหตุยกเว้นโทษ กรณีพิสูจน์ได้ว่าความผิดนั้นเป็นความจริง แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์เรื่องความเป็นอยู่ส่วนพระองค์/ส่วนตัว และการพิสูจน์ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
  • ให้คดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์เป็นความผิดอันยอมความได้ เหมือนกับความผิดหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไป และจำกัดให้เพียงสำนักพระราชวังเป็นผู้ร้องทุกข์และเป็นผู้เสียหายเท่านั้น (จากเดิมประชาชนทั่วไปสามารถฟ้องคดีได้)

รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรค เป็นผู้แถลงนโยบายการเมืองของพรรคก้าวไกล ในหมวดศาลและกระบวนการยุติธรรม เมื่อ 15 ต.ค. 2565 หนึ่งในนั้นคือการแก้ไขมาตรา 112

เขาบรรยายถึงพฤติกรรมของหัวหน้าพรรค ก.ก. และพรรค ก.ก.ที่ “ยังดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะยกเลิกมาตรา 112 สำเร็จ” ทั้งการเผยแพร่รณรงค์โฆษณานโยบายแก้ไขมาตรา 112 ผ่านเว็บไซต์ของพรรค ก.ก., กรณีนายพิธายืนยันนโยบายยกเลิกมาตรา 112 หลายครั้งในระหว่างหาเสียงเลือกตั้ง ในจำนวนนี้คือการนำสติ๊กเกอร์สีแดงปิดลงในช่อง “ยกเลิก ม.112” บนเวทีปราศรัยหาเสียงของพรรค ก.ก. ที่แหลมฉบัง จ.ชลบุรี เมื่อ 25 มี.ค. รวมถึงการตอบข้อซักถามสื่อมวลชนในวันลงนามข้อตกลงร่วมกันในการจัดตั้งรัฐบาล 8 พรรค เมื่อ 22 พ.ค. ว่าการแก้ไขมาตรา 112 “พรรคก้าวไกลยืนยันที่จะทำอยู่” หลังไม่ปรากฏเรื่องนี้เป็น 1 ใน 23 วาระร่วมของ 8 พรรคการเมือง

“จำเป็นเพื่อดับไฟกองใหญ่ไว้แต่ต้นลม”

นายธีรยุทธยังอ้างถึงความเห็นของ 3 บุคคลที่แสดงความเห็นผ่านสื่อมวลชน ประกอบคำร้องของเขาด้วย ได้แก่
  • นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการด้านกฎหมาย เขียนบทความถาม-ตอบเกี่ยวกับการเสนอแก้ไขมาตรา 112 ของพรรค ก.ก. เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์
  • นายสมเกียรติ อ่อนวิมล สื่อมวลชนอาวุโส แสดงความกังวลต่อการตอบคำถามผู้สื่อข่าวต่างประเทศของนายพิธา ในระหว่างแถลงข่าว 16 พ.ค. เกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับมวลชน
  • นายสนธิ ลิ้มทองกุล สื่อมวลชนอาวุโส วิจารณ์คำให้สัมภาษณ์บีบีซีของนายพิธา ในรายการของเขา
ทนายความรายนี้บอกกับบีบีซีไทยว่า เขาไม่รู้จักทั้ง 3 คนเป็นการส่วนตัว แต่เห็นว่าเป็นบุคคลสาธารณะ เป็นผู้อาวุโส และโพร์ไฟล์ดี เมื่อคนเหล่านี้แสดงความเห็นและมีข้อชี้แนะออกมา และได้รับการเผยแพร่โดยสื่อมวลชน เขาจึงแกะเทปนำคำกล่าวของคนเหล่านี้มายื่นประกอบคำร้อง


ประชาชนบางส่วนรวมตัวกันหน้าศาลรัฐธรรมนูญ ศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒะ เมื่อ 10 พ.ย. 2564 เพื่อฟังคำวินิจฉัยคดีล้มล้างการปกครอง กรณีชุมนุม "ทะลุเพดาน"

คำร้องของนายธีรยุทธระบุว่า การที่นายพิธา และพรรค ก.ก. ดำเนินการให้มีการยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 จะส่งผลให้สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่อยู่ในสถานะที่เคารพสักการะ อันนำไปสู่การสร้างความปั่นป่วนและความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพที่เกินความพอเหมาะพอควร มีผลทำให้กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และในประการที่อาจนำไปสู่การเซาะกร่อนบ่อนทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่มีลักษณะเฉพาะอันเป็นเอกลักษณ์ของราชอาณาจักรไทย อันอาจจะเป็นการนำไปสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบอื่น ย่อมไม่ไกลเกินเหตุที่เข้าข่ายจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

“ดังนั้น เพื่อเป็นมาตรการป้องกันความเสียหายร้ายแรงที่อาจจะเกิดแก่สถาบันหลักของประเทศไว้ก่อน อันเป็นรัฐประศาสโนบายที่จำเป็นเพื่อดับไฟกองใหญ่ไว้แต่ต้นลม” ผู้ร้องจึงขอศาลรัฐธรรมนูญโปรดพิจารณาวินิจฉัยสั่งให้นายพิธา และพรรค ก.ก. ดังนี้
  • ให้เลิกการดำเนินการใด ๆ หรือการกระทำใด ๆ เพื่อยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112
  • ให้เลิกการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น เพื่อให้มีการยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 ที่กระทำอยู่ และเลิกดำเนินการใด ๆ หรือการกระทำใด ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสอง
ที่มา (https://www.bbc.com/thai/articles/cd1xe2nzzyxo)


เฮียหงวน "สงวน คุ้มรุ่งโรจน์" แชร์ข่าวออกจากสถานทูตจีน ถึงข้อตกลงยกเว้นวีซ่าร่วมกันกับไทย ขอให้อ่าน 4 บรรทัดสุดท้าย คนที่เข้าเมืองเพื่อทำกิจกรรมบางจำพวก ยังต้องขอวีซ่า

ข่าวนี้ออกจากสถานทูตจีนเย็นนี้ กรุณาอ่านให้เข้าใจ โดยเฉพาะ 4 บรรทัดสุดท้าย ที่ยังต้องขอวีซ่า


วันอังคาร, มกราคม 30, 2567

มาไวทันใจ หนึ่งในกรรมธิการวิสามัญตรวจสอบกรณีกองทัพทำมาค้าคล่อง กำลังจะโดนฟ้องว่า ‘หนีทหาร’

อ๊ะ มาไวทันใจโก๋ ส.ส.จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ หนึ่งในกรรมธิการวิสามัญตรวจสอบกรณีกองทัพทำมาค้าคล่อง บนเนื้อนาทรัพย์สินอันควรเป็นสมบัติของชาติและประชาชน กำลังจะโดนทหารฟ้องว่า หนีทหาร

ถ้ามองอย่างพวกคิดก้าวหน้า นี่มันย้อนแย้งสิ้นดี

ก็นายจิรัฏฐ์นี่พรรคของเขามุ่งมั่นสลายอำนาจอิทธิพลเกินไปของกองทัพอยู่ รวมทั้งเรื่องการเกณฑ์ทหาร ถ้าสืบพบว่าในอดีตเขาไม่ต้องการเข้ารับการเกณฑ์ทหาร เฉกเช่นคนหนุ่มสมัยนั้นทั่วบ้านเมืองละก็

เขาย่อมเชื่อมั่นว่า การไม่เข้ารับการเกณฑ์ทหารไม่ใช่ความผิด

ไม่ว่ากฏระเบียบ และกฎหมายที่มีมาในเรื่องนี้จะมีอยู่อย่างไร หากเทียบเคียงความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามระบอบทหาร กับความผิดฉ้อราษฎร์บังหลวง ไม่ว่าจะทำตามอำนาจอิทธิพลล้นเกินที่มี หรือแค่ตามน้ำ อันไหนผิดมากกว่ากันล่ะ

เท่าที่ฟังรายละเอียดเรื่องนี้จากรายการ กรรมกรข่าวคุยนอกจอ ของสรยุทธ์ กับ น้องไบร๊ท์ สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับผู้บัญชาการหน่วยรักษาดินแดน คนที่กำลังรวบรวมหลักฐานฟ้อง ส.ส.จิรัฏฐ์ นั้น ทั่น ผบ.ใช้ตรรกะยุคพระเจ้าทรงธรรม์โน่น

พลโท ทวีพูล ริมสาคร บอกว่า สด.๔๓ ที่จิรัฏฐ์อ้างว่าได้มาจากการไปทำเรื่องปลดประจำการจากสำนักงานอำเภอ มีทหารยศนายพัน ๕ คนเซ็นอนุมัตินั้น จะได้มาอย่างไรก็แล้วแต่ ผู้ที่ไปดำเนินการขอใบนี้เป็นผู้ผิด ไม่ว่าผู้ออกใบนี้ให้จะทำโดยทุจริตก็ตาม

ผู้บัญชาการหน่วยทหารเขาคิดกันอย่างนี้หรือในศตวรรษที่ ๒๑ นี่ประเทศสวาสีแลนด์ในอาฟริกาหรือไร ทั่นผบ.ยืนกรานว่านายจิรัฏฐ์ไม่ได้ผ่านการเกณฑ์ทหาร (โดยจับใบดำใบแดง) แน่นอน แท้จริงไม่มีชื่อนี้ในสารบบการคัดเลือกทหารเลย

เพราะว่าจิรัฏฐ์ได้เปลี่ยนชื่อมาจาก นวรินทร์ หลังจากทำเรื่องขอผ่อนผันเกณฑ์ทหาร เรื่องไปถึงศาลเมื่อปี ๕๕ ว่ามีความผิดฐานหนีทหาร แล้วไม่ปรากฏนายนวรินทร์ไปรายงานตัวจนกระทั่งปี ๖๐ เมื่อพ้นเกณฑ์เข้ารับราชการทหาร

เท่ากับว่านวรินทร์หรือจิรัฏฐ์ได้หนีทหารจนหมดอายุความ อันไม่ทำให้พ้นความผิดแม้กระทั่งบัดนี้  ทั่น ผบ.อยากดู สด.๔๓ ที่จิรัฏฐ์อ้าง เพื่อวินิจฉัยว่าได้มาอย่างไร ปลอมแปลงขึ้นมาเอง หรือมีการยัดเงินสัสดีเพื่อให้ออกใบนี้ให้

แต่ทั่น ผบ.ก็ยังยืนตัวตรง กระต่ายขาเดียว ว่าจะได้มาอย่างไรก็ตาม คนผิดคือผู้เสนอ ไม่ใช่ผู้สนอง หลักการเดียวกับคดี ชำเรา ผู้ข่มขืนผิดเต็มเปา แม้นว่าเหยื่อจะเอออวยภายหลัง ไหนๆ ก็ไหนๆ ตกกระไดพลอยโจนก็ตาม

(https://twitter.com/Jniisss_zJo/status/1752165818404864302)