วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 28, 2566

ยกฟ้อง ม.๑๑๒ ที่เชียงราย ชี้ “ไม่เข้าข่าย การดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ เพราะข้อความไม่ได้หมายถึงบุคคลใด”

๒๘ ธันวา ศาลเชียงรายยกฟ้องคดีข้อหา ม.๑๑๒ กรณีแขวนป้าย งบสถาบันฯ>งบเยียวยาประชาชนที่บริเวณห้าแยกพ่อขุนเม็งราย เมื่อปี ๖๔” เป็นอีกตัวอย่างชี้ให้เห็นว่า การแจ้งความและฟ้องร้องตามมาตรานี้ มิได้ทำตามครรลองกฎหมายเสมอไป

ศาลเห็นคล้อยตามข้อต่อสู้ของจำเลย ว่า “พยานหลักฐานของโจทก์ ไม่สามารถระบุได้ว่าใครเป็นผู้วางป้ายข้อความตามฟ้อง” และ “ข้อความในป้าย ไม่ได้เข้าข้ายความผิดตามมาตรา ๑๑๒ แต่อย่างใด” อีกทั้งคดีคล้ายคลึงกันที่ลำปาง ศาลก็ยกฟ้องไปแล้ว

แม้ศาลจะตัดสินยกฟ้องตามข้อกฎหมาย แต่มีหลายประเด็นที่การดำเนินคดีเต็มไปด้วยการปฏิบัติอย่างมักง่าย ไม่สอดคล้องกับหลักคุณธรรม และข้อสำคัญหลักฐานอ่อน ดังเช่นอัยการโจทก์สืบพยานตั้ง ๑๒ ปาก แต่ไม่สามารถปรักปรำให้ประจักษ์ได้

อีกกรณี “หลังถูกดำเนินคดีนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจยังได้ไปคุกคามยายของเธอในจังหวัดเชียงรายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ยายได้รับผลกระทบทางสุขภาพ ป่วยจนถึงขั้นเข้าโรงพยาบาล” จำเลยเป็นนักกิจกรรม เคยทำงานเป็นเจ้าหน้าที่พรรคเพื่อไทย

โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับข้อความซึ่งใช้อ้างเป็นหลักฐานพยานต่อคำฟ้อง ที่ว่าแผ่นป้ายซึ่งจำเลยนำไปแขวนหน้าฉายาลักษณ์กษัตริย์รัชกาลที่ ๑๐ เรื่อง “งบประมาณสถาบันกษัตริย์มากกว่างบประมาณเยียวยาประชาชน ก็ไม่เข้าข่าย

การดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ เพราะข้อความไม่ได้หมายถึงบุคคลใด” พร้อมทั้ง “สถาบันมีองค์ประกอบที่กว้างกว่าตัวบุคคล และข้อความไม่ได้มีถ้อยความเป็นการบ่งบอกว่าดีหรือไม่ดี” แถมศาลยังระบุว่า

“หน้าที่จัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานต่าง ๆ เป็นของรัฐบาล ไม่ใช่สถาบันกษัตริย์” ทั้งนี้ สุปรียา ใจแก้ว จำเลยอ้างตนเป็นพยานให้แก่ตนเอง ให้การว่าทางการใช้เจ้าหน้าที่ถึง ๕๒ คนเข้าทำการจับกุมโดยไม่ใช้หมายค้น อ้างว่าพ้นเวลาไปแล้ว

แต่ก็ใช้วิธีข่มขู่ให้จำเลยลงลายมือชื่อ ยินยอมให้ตำรวจไปค้นบ้านพักขณะตนถูกควบคุมตัว ครั้นเมื่อจำเลยไม่ยอมให้ยึดโทรศัพท์มือถือ ก็ถูกขู่ว่าจะควบคุมตัวหลายวัน ตำรวจยังยึดของกลางเอาไปจากห้องพักจำเลยหลายอย่าง โดยไม่มีหมายศาล

(https://tlhr2014.com/archives/62612 และ https://twitter.com/TLHR2014/status/1740216712656720140)