วันพุธ, เมษายน 01, 2558

คำพิพากษา ที่สั่นสะเทือนโลกและไทย - Man sentenced to 25 years in prison for remarks critical of Thai monarchy


A portrait of King Bhumibol Adulyadej of Thailand. On Tuesday a Thai military court charged a man for making remarks critical of Thailand's monarch on Facebook. File Photo by UPI Photo/Cherie A. Thurlby/.Air Force.

The Thai court passed a 10-year sentence for each of five Facebook messages, but halved the sentence because the suspect admitted to his violation of Thailand defamation laws.

By Elizabeth Shim | March 31, 2015
UPI

BANGKOK, March 31 (UPI) -- A 58-year-old Thai businessman has been sentenced to 25 years in prison for slandering the Thai monarchy and posting messages on Facebook Thailand's military court found offensive toKing Bhumibol Adulyadej.

The man, Thiansutham Suttijitseranee, was identified by online Thai newspaper Prachatai as a Red Shirt, or a political supporter of the Pheu Thai Party deposed in the 2014 military coup. The military court originally sentenced Tiensutham to 50 years but halved the sentence when he pleaded guilty to defamation.

Thailand's lese majeste law makes speech that criticizes Thailand's king, or members of the monarchy, a crime.

The current Constitution of Thailand states "The King shall be enthroned in a position of revered worship and shall not be violated."

The sentenced man posted content from July to November 2014 that criticized the king's economic policies, raised speculation about the 2014 military coup and accused an unnamed, wealthy family as producers of opium.

In November, Thiansutham posted a message about "Uncle Somchai" – a Red Shirt reference to King Bhumibol.

The Thai court passed a 10-year sentence for each Facebook message, reported the Bangkok Post but halved the sentence.

Prachatai reported the man and his wife were detained on Dec. 18. During detention, Thiansutham pleaded guilty to the charges and was forced to provide passwords to his email and social network accounts.

The man's family submitted a $12,270 bail request, which was denied by the military court.

His family also told the military court the charged man ails from sinusitis, allergy and gastritis and has never committed a crime prior to his quarantine.

Thiansutham's trial on Tuesday took placed behind closed doors and relatives and observers were not allowed. Instead a camera trial took place, with the verdict read on video footage.

ooo

คุก 50 ปี! สารภาพลดกึ่งหนึ่ง ศาลทหารพิพากษาคดี 112 'ใหญ่ แดงเดือด'

Tue, 2015-03-31 12:36
ที่มา ประชาไท

31 มี.ค. ช่วงสายที่ผ่านมา ศาลทหารพิพากษาคดีที่นายเธียรสุธรรม หรือผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อว่า 'ใหญ่ แดงเดือด' ว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการโพสต์เฟซบุ๊ก 5 กรรม ลงโทษจำคุกกรรมละ 10 ปี รวม 50 ปี แต่เนื่องจากจำเลยรับสารภาพจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 25 ปี

ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึงเป็นทนายจำเลยกล่าวภายหลังฟังคำพิพากษาว่า การอ่านคำพิพากษาเป็นไปอย่างปิดลับ ญาติจำเลยและผู้สังเกตการณ์เข้าฟังไม่ได้ ในการอ่านคำพิพากษาศาลไม่อ่านข้อความที่กระทำผิด ระบุเพียงว่าเป็นการกระทำผิดตามฟ้อง นอกจากนี้ศาลยังให้เหตุผลที่ไม่รอลงอาญาว่าเนื่องจากเป็นการกระทำผิดต่อสถาบันกษัตริย์อันเป็นที่เคารพรักเทิดทูนของปวงชนชาวไทย ประกอบกับศาลลงโทษสถานเบาแล้วจึงไม่รอลงอาญา โทษจำคุกให้นับรวมการคุมขังในเรือนจำที่ผ่านมาด้วย แต่ไม่นับวันที่ถูกคุมตัวตามกฎอัยการศึก 7 วัน

เธียรสุธรรมอายุ 58 ปี จบการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว เขาถูกจับกุมตั้งแต่วันที่ 18 ธ.ค.57 ถูกนำตัวไปสอบสวนที่ค่ายทหารก่อนส่งให้ตำรวจเพื่อแจ้งข้อกล่าวหา ทำการฝากขัง และขังยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เรื่อยมาจนปัจจุบัน เคยยื่นประกันตัวแต่ศาลไม่อนุญาตให้ประกัน

ไอลอว์ระบุว่า “ใหญ่ แดงเดือด” มักโพสต์ข้อความวิพากษ์วิจารณ์การเมือง และโจมตีการทำงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) รวมทั้งการทำงานของคณะรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีเรื่อยมา โดยมีการทำกราฟฟิคภาพพร้อมข้อความที่มีเนื้อหาเสียดสีการทำงานของรัฐบาล และพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ คำฟ้องระบุการโพสต์ของเขา 5 ข้อความในระหว่างเดือนกรกฎาคม –พฤศจิกายน 2557

ที่มา ประชาไท

สหภาพยุโรป จัดสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้กฎหมายหมิ่นฯ จากยุโรป โดยมีผู้พิพากษาจากเดนมาร์ก และอัยการจากเสปนที่เคยพิจารณาคดีหมิ่นฯ เข้าร่วม ชี้หลักเสรีภาพการแสดงออกต้องมาก่อนเนื่องจากเป็นรากฐานของเสรีภาพทุกชนิด


หลังจากคำตัดสินลงโทษนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บ.ก. นิตยสารวอยซ์ ออฟ ทักษิณ และนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิแรงงาน เป็นเวลา 10 ปี เมื่อวันที่ 23 ม.ค. ที่ผ่านมา ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากการตีพิมพ์บทความสองบทความที่หมิ่นเบื้องสูงในนิตยสาร หนึ่งสัปดาห์ถัดมา สหภาพยุโรป ก็ได้จัดงานสัมมนาเรื่องเสรีภาพการแสดงออก และการปรองดอง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในประเด็นต่างๆ อาทิ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เสรีภาพสื่อ และพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มีนักวิชาการ นักกฎหมาย ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมราว 100 คน

โดยเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 56 มีวงเสวนาในหัวข้อ "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ - การใช้ ความท้าทาย และนัยสำคัญ" มีผู้พิพากษาจากเดนมาร์ก นายปีเตอร์ มอร์ค ธอมเสน ซึ่งเป็นเคยเป็นหัวหน้าคณะผู้พิพากษาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในเดนมาร์ก นายออกุสติน ไฮดัลโก จากสำนักงานอัยการสูงสุดของสเปน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้กฎหมายนี้ในยุโรป รวมถึงจอน อึ๊งภากรณ์ อนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ






นายออกุสติน ไฮดัลโก กล่าวว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คือการดำรงอยู่ระหว่างการปะทะกันของเสรีภาพการแสดงออก และสิทธิในการเชิดชูและให้การพิทักษ์เป็นพิเศษแด่สถาบันกษัตริย์ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาสมดุลที่เหมาะสมระหว่างสองอย่าง

เขากล่าวว่า รัฐธรรมนูญของสเปน นอกจากจะวางรากฐานเรื่องระบอบการปกครองคือรัฐสภาที่มีกษัตริย์ทรงเป็นประมุขแล้ว ยังกำหนดให้เสรีภาพ และความหลากหลายทางการเมือง มีคุณค่าสูงสุดในรัฐสเปน รวมถึงเรื่องเสรีภาพในทางอุดมการณ์ นอกจากนี้ ต้องตีความตามคำประกาศสิทธิมนุษยชนสากล และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมืองเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกด้วย

อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญของสเปน ก็ได้ระบุไว้ว่า เสรีภาพการแสดงออกก็ไม่ใช่ว่ามีขีดจำกัด โดยตามกฎหมาย ไม่อนุญาตให้มีการดูหมิ่นองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการใช้คำพูดที่เหยียดหยาม หากแต่อนุญาตให้ใช้คำพูดที่น่ารำคาญ (annoying) หรือเจ็บช้ำน้ำใจ (hurtful) ได้ ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย

ทั้งนี้ บทลงโทษตามกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของสเปน กำหนดให้ผู้ที่ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์หรือรัชทายาท ถูกจำคุกระหว่าง 6 เดือนถึง 2 ปี หากเป็นการดูหมิ่นร้ายแรง และ 6 เดือนถึง 12 เดือนหากเป็นการดูหมิ่นที่ไม่ร้ายแรง

อัยการอาวุโสของสเปน กล่าวว่า มาตรา 490 ของประมวลกฎหมายอาญา ระบุด้วยว่า บทลงโทษต่อการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ จะรุนแรงขึ้น หากว่าพระองค์อยู่ในขณะที่ทรงงานหรือปฏิบัติในหน้าที่ แต่หากมีการดูหมิ่นประมาทต่อองค์กษัตริย์หรือรัชทายาทที่ไม่ได้ทรงปฏิบัติงาน จะลดบทลงโทษเป็นเพียงการปรับเท่านั้น เนื่องจากศาลสูงสุดสเปนเห็นว่ากฎหมายหมิ่นฯ มีไว้เพื่อพิทักษ์เกียรติและศักดิ์ศรีประมุขของรัฐ และเพื่อการรักษาอำนาจและหน้าที่ของรัฐที่เหมาะสม

ไฮดัลโกกล่าวถึงกรณีการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญสเปนในปี 1990 ที่กลายมาเป็นหลักชี้วัดขอบเขตของการกระทำผิดตามกฎหมายหมิ่นฯ และเสรีภาพในการแสดงออก โดยศาลรัฐธรรมนูญได้กลับคำตัดสินของศาลฎีกาเมื่อปี 1987 ที่เอาผิดนักหนังสือพิมพ์ที่เขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ว่ามีความคล้ายคลึงกับเผด็จการสมัยฟรังโก

ศาลรัฐธรรมนูญระบุในกรณีดังกล่าวว่า สิทธิในการแสดงออกในความคิดและความเชื่อนั้นอยู่เหนือสิทธิในการเชิดชู โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับความคิดเห็นที่เกี่ยวกับสาธารณะในทางสังคมเรื่องการเมือง และยิ่งหากเป็นบุคคลที่มีหน้าที่สาธารณะ หรือเกี่ยวข้องกับความจำเป็นของสาธารณะ ก็ย่อมมีความเสี่ยงในการถูกกระทบจากความคิดเห็นหรือข้อมูลจากสาธารณะได้

"นั่นเป็นเพราะว่าเสรีภาพในการแสดงออก เป็นวิธีที่แสดงออกถึงสิทธิขั้นพื้นฐานได้ นั่นคือ เสรีภาพในอุดมการณ์ หรือมาตรา 16 ในรัฐธรรมนูญสเปน และหากว่าไม่มีเสรีภาพทางอุดมการณ์ คุณค่าของระบบกฎหมายซึ่งเป็นพื้นฐานของนิติรัฐในทางสังคมและการเมือง ก็จะไม่มีประสิทธิผลใดๆ" ไฮดัลโกกล่าว

เดนมาร์ค: เสรีภาพการแสดงออกถือว่าเป็น "ออกซิเจน" ของสิทธิทั้งหมด

นายปีเตอร์ มอร์ค ธอมเสน ผู้พิพากษาจากเดนมาร์ก กล่าวถึงความคล้ายคลึงของเดนมาร์คและไทย ทั้งการมีพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นประมุขของรัฐ เป็นประมุขของศาสนา และการที่กฎหมายหมิ่นฯ ถูกบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญหมวดความมั่นคงของรัฐและการก่อการร้าย นอกจากนี้ ประชาชนเดนมาร์คก็ยังมีความรู้สึกที่เป็น "เอกลักษณ์" ต่อราชินีของตนเอง เช่นเดียวกับคนไทยต่อสถาบันกษัตริย์ของตนเอง

อย่างไรก็ตาม บทลงโทษของกฎหมายหมิ่นฯ กำหนดไว้เป็นการจำคุกสูงสุด 4 ปีเท่านั้น และไม่มีบทลงโทษขั้นต่ำ และปัจจุบันการใช้กฎหมายนี้ในเดนมาร์ค ก็แทบจะไม่มีแล้ว โดยตั้งแต่ปี 1933 เป็นต้นมา เดนมาร์คได้ยกเลิกการเอาผิดคำพูด (statements) ที่หมิ่นประมาท และเอาผิดเพียงการกระทำ (action) ที่มุ่งจะทำให้เกิดภัยต่อกษัตริย์เท่านั้น

เขากล่าวว่า โดยทั่วไปแล้ว ผู้พิพากษาที่ดี ควรใช้สามัญสำนึกในการตัดสินและพิจารณาคดี ว่าตุลาการต้องการที่จะควบคุมการกระทำของพลเมืองแบบใด และควรต้องเข้าใจจุดประสงค์ของกฎหมาย มิใช่ตีความจากที่มาของกฎหมาย และตีความตามตัวอักษรเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ผู้พิพากษาจากเดนมาร์คกล่าวถึงคดีความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในเดนมาร์คเมื่อเร็วๆ นี้ ที่นักเคลื่อนไหวจากกลุ่มกรีนพีซได้บุกเข้าไประหว่างงานเลี้ยงอาหารค่ำของพระราชินีในปี 2009 เพื่อเรียกร้องให้ผู้นำประเทศต่างๆ ร่วมมือกันแก้ปัญหาเรื่องสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง จากนั้นในปี 2011 นักเคลื่อนไหวทั้งหมด 11 คน ได้ถูกตั้งข้อหาบุกรุก และหมิ่นประมาทพระราชินี

นายธอมเสน ในฐานะที่เป็นหัวหน้าคณะผู้พิพากษาคดีดังกล่าว ชี้ว่า กฎหมายหมิ่นกษัตริย์ในเดนมาร์คมิได้ถูกใช้มานานมากแล้ว เนื่องจากว่าเสรีภาพในการแสดงออกถือเป็นสิทธิหลักในเดนมาร์ค เมื่อมีึคดีนี้เกิดขึ้น จึงได้มีการหารือเรื่องนี้ในรัฐสภาด้วยว่าควรดำเนินการอย่างไร

"มันเป็นเสรีภาพที่เป็นฐานของเสรีภาพอื่นๆ ถือเป็นอ็อกซิเจนของเสรีภาพทั้งมวล และเสรีภาพในการแสดงออกนับเป็นสิ่งสำคัญในการท้าทายความคิดของระเบียบเดิม" เขากล่าว

คณะผู้พิพากษา ได้พิจารณาว่า เนื่องจากการกระทำที่มุ่งประทุษร้ายราชินี ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา อย่างไรก็ตาม พบว่าการกระทำของนักเคลื่อนไหวกรีนพีซ มิได้มุ่งก่อภัยอันตรายต่อราชินี เพราะบุกเข้าไปในงานเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อต้องการจะส่งข้อความทางการเมืองเท่านั้น แต่มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อราชินีแต่อย่างใด อัยการจึงยกฟ้องข้อหาดังกล่าว

เขากล่าวต่อว่า เป็นหน้าที่ของผู้พิพากษาที่จะทำให้ข้อกำกวมทางกฎหมายเป็นเรื่องที่ชัดเจน เนื่องจากเขาได้ยินมาว่า ประชาชนที่นี่ยังสับสนและมีความไม่ชัดเจนว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ตามกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่โดยตามหลักการแล้ว ควรจะเป็นหน้าที่ของศาลที่ทำให้สิ่งต่างๆ ชัดเจนกว่านี้

"มันน่าจะมีการจำกัดความการใช้หรือตีความกฎหมายที่ดีกว่านี้ อย่างบางกรณีที่มีชาวต่างชาติพ่นข้อความที่งี่เง่าลงไปบนพระบรมฉายาลักษณ์พระเจ้าอยู่ห้ว ก็ต้องถามว่าข้อความดังกล่าวเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติได้หรือไม่...ผมคิดว่าไม่ควรไปเอาข้อความดังกล่าวมาคิดอย่างจริงจัง" ธอมเสนกล่าว

โดยสรุป เขาเสนอว่า ควรให้ตุลาการค่อยๆ พิจารณาลดจำนวนการดำเนินคดีในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพลงไป และศาลควรจะต้องกำหนดแนวทางที่ชัดเจนออกมา ว่าสิ่งใดถือเป็นอาชญากรรมและอะไรบ้างที่ถือว่าไม่ใช่

จอน อึ๊งภากรณ์ กล่าวว่า ในประเทศไทยนั้น เป็นเรื่องยากที่จะตำหนิสถาบันโดยที่ไม่พูดชมไปด้วยพร้อมกัน เนื่องจากมีบรรยากาศของโฆษณาชวนเชื่อเต็มไปหมดทั้งในโทรทัศน์และวิทยุ นอกจากนี้ ศาลไทยก็ยังถือว่าเป็นผู้ปกป้องสถาบันมาก แต่มิได้มองตนเองว่าเป็นผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนของประชาชนทั่วไป มีการตีความตามตัวอักษร และไม่มีมุมมองที่ก้าวหน้า ทำให้ตีความกฎหมายไปในทางที่แย่ที่สุด

เขากล่าวว่า หลังจากการศึกษาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ได้สรุปออกมาเป็นข้อเสนอแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพคือ ให้กำหนดบทลงโทษสูงสุดเป็น 7 ปี โดยไม่มีโทษขั้นต่ำ และ หากว่าการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวข้องกับเรื่องประโยชน์สาธารณะและเป็นไปด้วยความตั้งใจที่ดี ก็จะเป็นข้อยกเว้นจากการเอาผิด นอกจากนี้ ยังเสนอให้ผู้มีสิทธิกล่าวหาฟ้องร้องเป็นสำนักพระราชเลขาธิการเท่านั้น