วันอาทิตย์, เมษายน 19, 2558

รธน.แอดโฮล 555 (ชาวเน็ตเขาว่า)




ร่างรัฐธรรมนูญเอี้ยๆ นี่อ่านผ่านๆ รอบแรก 315 มาตราแล้ว มีที่ให้ด่าเยอะเหลือเกิน เขียนด่า 1,000 หน้าก็ไม่จบ แต่เอาง่ายๆ ก่อน

นายกฯ คนนอกได้ต้องใช้คะแนน 2 ใน 3 นี่รู้กันอยู่แล้ว

สภาผู้แทน ระบบเลือกตั้งเยอรมันผัดสะตอ แบ่ง 6 ภาค โอเพนลิสต์ รองประธานคนที่หนึ่งมาจากฝ่ายค้าน อันนี้ก็รู้กันอยู่แล้ว

วุฒิสภา 200 คน มาจากอดีตปลัดกระทรวง 10 คน ปลัดกลาโหม ผบ.เหล่าทัพ 10 คน อันนี้เพิ่งโผล่มาหมาดๆ นะครับ โควต้าสีเขียว 10 คนที่พูดกันตอนแรกยังไม่แยกชัดเจนอย่างนี้

สว.องค์กรวิชาชีพเลือกกันเอง 15 คน ผู้แทนเกษตรกรรม แรงงาน วิชาการ ชุมชน ท้องถิ่นเลือกกันเอง 30 คน ผู้ทรงคุณวุฒิสารพัดด้าน (ข้ออ้างไม่ลงเลือกตั้งเพราะกูเป็นปราชญ์ชาวบ้าน) จากการสรรหา 58 คน และ ส.ว.ระบอบจีน-อิหร่าน ให้มีกรรมการปูลิตบูโรกลั่นกรองเหลือ 10 คน ก่อนให้ประชาชนผู้โง่เขลาเลือกตั้ง 77 จังหวัด 77 คน

ข้อสังเกต องค์กรวิชาชีพ องค์กรเกษตรกรรม ฯลฯ เป็นใครมาจากไหน มีกฎกติกาอย่างไร รธน.แม่-ไม่เขียนไว้

กรรมการสรรหา สว.ประเภท 4 เป็นใครมาจากไหน รธน.แม่-ไม่เขียนไว้ กรรมการกลั่นกรอง สว.ประเภท 5 ที่จะเป็นเทวดาคัดกรองก่อนให้ประชาชนเลือก แม่-ก็ไม่เขียนไว้ จะเอาไปหมกเม็ดในกฎหมายลูก พรบ.เลือกตั้ง ทั้งหมด

นี่แย่ยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญ 2550 อีกนะ เพราะฉบับหน้าแหลมฟันดำยังเขียนไว้ว่ากรรมการสรรหามาจากไหนบ้าง

..................................
หมวดศาล องค์กรอิสระ

อายุศาล ให้ตุลาการศาลยุติธรรมศาลปกครองเกษียณเมื่อ 65

องค์กรอิสระ ศาลรัฐธรรมนูญ ปปช. ยังคงวาระ 9 ปี กกต.6 ปี วิธีการสรรหาเปลี่ยนไปหน่อยนึงคือ

ศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน มาจากศาลฎีกา ศาลปกครอง ฝ่ายละ 2 เหมือนเดิม อีก 5 มาจากกรรมการสรรหาซึ่งมีสัดส่วนจาก 2 ศาล 4 คน จากรัฐบาล+ฝ่ายค้าน 1+1=2 คน จากคณบดีนิติศาสตร์ 2 คน คณบดีรัฐศาสตร์ 2 คน สมัชชาคุณธรรม 1 คน

กกต.5 คนมาจากศาลฎีกา 2 คนเหมือนเดิม อีก 3 คนให้มีกรรมการสรรหา 12 คน ซึ่งมาจาก 2 ศาล 4 คน รัฐบาล+ฝ่ายค้าน 4 คน ที่ประชุมอธิการบดี 2 คน สมัชชาคุณธรรม 2 คน

สูตรสรรหาเดียวกันใช้เลือก ปปช.ทั้ง 9 คน

ข้อสังเกต แม่-เขียนถึงสมัชชาคุณธรรม สภาพลเมือง สมัชชาพลเมือง แต่ไม่เขียนถึงที่มาที่ไปในรัฐธรรมนูญ เป็นใครมาจากไหน ผ่านการเลือกตั้งหรือเปล่า หรืองุบงิบเอากันเข้าไป ยึดโยงประชาชนอย่างไร ฯลฯ

นี่ทำนองเดียวกับกรรมการสรรหา+กลั่นกรองวุฒิสภา กะหมกเม็ดในกฎหมายลูก

บทเฉพาะกาล ม.310 เอี้ยเข้าไปอีกคือต่ออายุให้องค์กรอิสระที่ดำรงตำแหน่งขณะนี้ นั่งไปได้จนครบวาระแล้วค่อยสรรหาตามกติกาใหม่ รวมถึงองค์กรอิสระทุกเก้าอี้ที่ สนช.รัฐประหารแต่งตั้งด้วย โดยเฉพาะ คตง.ผู้ว่า สตง.ได้สิทธิพิเศษ เป็นจนครบแล้วไม่ห้ามเป็นใหม่

สมควรตบท้ายด้วยก้นเซเลนา โกเมซ

Atukkit Sawangsuk



ooo

ไปอ่านร่าง รธน. มา ส่วนใหญ่ ก็เคยผ่านหูผ่านตากันมาหมดแล้วนะครับ

ทั้งเรื่องว่า เพศหญิง สามารถขึ้นเป็น K ได้
สส มี 450 - 470 คน เป็นบัญชีรายชื่อ 200 - 220 คน
การเลือกตั้งใช้ระบบเยอรมัน บวกโอเพ่นลิสต์
สว มี 200 หน่อเลือกตั้ง 77 หน่อ ที่เหลือเลือกกันเอง
อำนาจ สว สามารถเห็นชอบ รัฐมนตรีได้ด้วย
ลดอำนาจ กกต แจกใบเหลืองได้อย่างเดียว ใบแดงเป็นเรื่องของศาลอุทธรณ์ การจัดการเลือกตั้งเป็นเรื่องของคณะกรรมการ
รวบผู้ตรวจการกับ กสม เข้าด้วยกัน
มีสภาขับเคลื่อนการปฏิรูป ทำหน้าที่คุมรัฐบาล ยังดีที่ข้อเสนอของสภาขับเคลื่อนต้องมีการผ่านปรามติของ ปชช ด้วย
ไอ้ที่ดูจะแอบๆ ทำกัน โผล่นิด นี่หน่อย ก็คือ สมััชชาคุณธรรม ที่มีหน้าที่ตรวจสอบนักการเมือง ข้าราชการ แถมมีผลผูกพันถึงการเลือกตั้ง
ปปช กับ ตลก อยู่ 9 ปีนะครับ โคตรนาน

แต่ที่งงคือเรื่องนายกคนนอก

บัญญัติว่า

มาตรา ๑๗๒ ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกตามมาตรา ๑๓๖
การเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่ง ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรรับรอง
มติของสภาผู้แทนราษฎรที่เห็นชอบด้วยในการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

แต่ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร การลงมติในกรณีเช่นว่านี้ให้กระทาโดยการลงคะแนนโดยเปิดเผย

มาตรา ๑๗๓ ในกรณีที่พ้นกาหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรได้มาประชุมเป็นครั้งแรกแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีบุคคลใดได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบให้ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๗๒ วรรคสาม ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรนาความขึ้นกราบบังคมทูลภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พ้นกาหนดเวลาดังกล่าวเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งบุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเป็นนายกรัฐมนตรี

เกิดสมมุตนะครับ

ตอนเลือกนายก หรือปาร์ตี้ลิสต์เบอ 1 ของพรรคชนะเลือกตั้ง มีเสียงหนุนไม่ถึงครึ่ง ก็ต้องมาเลือกอีกรอบ เสนอชื่อนายกคนนอกมา เกิดไอ้บ้านั่น มีเสียงมากกว่าปาร์ตี้ลิสต์เบอร์ 1 เท่ากับ เราต้องใช้บริการนายกคนนอกเลยนะครับ

ซึ่งก็เป็นไปตามที่สถาปนิกการเมืองออกแบบไว้

เพราะดูแล้ว สถาปนิกการเมือง ก็พยายาม ให้แต่ละพรรคได้ สส กันน้อยนิดกระจิ๊ดริด กันอยู่แล้วนี่ แล้วจะเอาเสียงเกินครึ่งที่ไหนไปหนุนนายกจากพรรคการเมืองหนึ่ง

ขณะเดียวกันเมื่อแต่ละพรรคมันมี สส น้อย มันไม่เข้มแข็ง มันก็กลายเป็นช่องให้ทหารเข้าไปต่อรอง เพื่อเพิ่มเสียงให้นายกคนนอก

เศร้าใจ
Kulwit