ภาพแต่งงานของหนุ่มสาวทิเบตคู่นี้กลายเป็น “ไวรัล” ชั่วข้ามคืน รายงานระบุว่า 80% ของผู้ใช้งาน wechat ในจีนได้ดูภาพเหล่านี้ (ประมาณ 400 ล้านคน) Xinhua ยังเอาไปทำเป็นข่าวหลัก ทั้ง ๆ ที่จีนกับทิเบตมีปัญหาความสัมพันธ์กันมาตลอด และทางการจีนมักกดดันไม่ให้แสดงอัตลักษณ์ที่เป็นทิเบต
เหตุใดเน็ตติเซ็นในจีนจึงมีความเห็นค่อนข้างบวกกับการแสดงอัตลักษณ์พื้นเมืองของหนุ่มสาวทิเบตคู่นี้? Phuntsok 31 ปีเจ้าบ่าวซึ่งแต่งกับ Dawa Drolma 27 ปีเจ้าสาวเมื่อ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา และมีเชื้อสายทิเบตทั้งคู่บอกว่า ไม่รู้เหมือนกัน แต่คิดว่าเป็นเพราะภาพแต่งงานของเขาที่มีทั้งภาพขณะใช้ชีวิตในเมือง ทันสมัย สลับกับภาพที่พวกเขาลงทุนไปถ่ายในชนบทของลาซา เมืองหลวงของทิเบต ถ่ายในกระโจมของชนเผ่าเร่ร่อน น่าจะสะท้อนภาพของหนุ่มสาวจำนวนมากในจีนที่มาจากกลุ่มชาติพันธุ์และเข้ามาตามหา “แสงนีออน” ในเมือง พวกเขาต้องการกลับไปหา “รากเหง้า” ของตัวเองอย่างภาคภูมิใจ
“เป็นตัวของตัวเองดีที่สุด” ขอให้เป็นกำลังใจสำหรับคนที่มีอัตลักษณ์แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ครับ
ปล. บางภาพเป็นการถ่ายในเมืองไทยด้วย
ดูภาพอื่น ๆ ในชุดนี้ http://www.zhangzishi.cc/20150410zh.html
ข่าวจาก Xinhua http://news.xinhuanet.com/english/2015-04/15/c_134154267.htm
ข่าวจาก BBC http://www.bbc.com/news/blogs-trending-32353687
ความเห็นจากเวปบางส่วน...
กอบัว สีบุญเรือง... ไม่รู้ทำไมคิดถึง "ฉันอยากไปเป็นชาวนา" ของคุณอุ้ม
หรือหนังสือ aday หลายๆเล่มที่นำเสนอชาวต่างชาติที่ทิ้งชีวิตทันสมัย มาเป็นชาวสวนชาวไร่ในไทย
หนุ่มสาวทิเบตคู่นี้ มาเลี้ยงไก่เลี้ยงล่อ ได้แค่ตอนถ่ายภาพเท่านั้นแหละค่ะ
เอาเข้าจริง ไม่มีใครอยากทิ้งชีวิตที่หรูหราสะดวกสบายมาทำไร่ไถนา
ทำไร่ไถนา คงไปเป็นชาวลอนดอนเนอร์ ไม่ได้
กอบัว สีบุญเรือง... ไม่รู้ทำไมคิดถึง "ฉันอยากไปเป็นชาวนา" ของคุณอุ้ม
หรือหนังสือ aday หลายๆเล่มที่นำเสนอชาวต่างชาติที่ทิ้งชีวิตทันสมัย มาเป็นชาวสวนชาวไร่ในไทย
หนุ่มสาวทิเบตคู่นี้ มาเลี้ยงไก่เลี้ยงล่อ ได้แค่ตอนถ่ายภาพเท่านั้นแหละค่ะ
เอาเข้าจริง ไม่มีใครอยากทิ้งชีวิตที่หรูหราสะดวกสบายมาทำไร่ไถนา
ทำไร่ไถนา คงไปเป็นชาวลอนดอนเนอร์ ไม่ได้
คนที่จะทำได้คือ รวยมากๆแล้วบอกว่าตัวเองพอเพียง แค่นั้นแหละค่ะ
ความเห็นส่วนตัวของบัวคือ รากเหง้าอยู่ที่ความคิด หาใช่เครื่องแต่งกายและฉากที่เสริมแต่งไม่
นี่ก็จะเป็นไวรัลหนึ่ง ที่จะผ่านไปอย่างรวดเร็วค่ะ