วันพฤหัสบดี, เมษายน 23, 2558

นศ.ซัด'กองทัพ'ตัวปัญหา ดักคอ'อย่าสำคัญตัวผิดไป'



ที่มา เดลินิวส์
วันพฤหัสที่ 23 เมษายน 2558

"2 นศ." กังวล หลังได้รับหนังสือเชิญตัวร่วมถก "ศปป." ซัดกองทัพคือตัวปัญหาของประเทศ ด้าน "เอกชัย"นักวิชาการ หอบเสื้อผ้ามาด้วย หวั่นใจสโมสร ทบ.เป็นสถานที่ยึดอำนาจ 22 พ.ค.

เมื่อวันที่ 23 เม.ย. ที่สโมสรทหารบก วิภาวดีรังสิต ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัตน์ และนายนัชชชา กองอุดม สองนักศึกษาที่ถูก พล.อ.พิสิทธิ์ สิทธิสาร ผอ.ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.) เชิญมาร่วมแสดงความคิดเห็นกำหนดแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าแสดงความเห็นต่อ ศปป. ว่า ตอนนี้กองทัพไม่มีความชอบธรรมที่จะเป็นตัวกลางในการแก้ปัญหาการเมืองไทยได้ กองทัพอย่าสำคัญตัวผิดไป เพราะกองทัพคือตัวปัญหา ที่สร้างปัญหาทางการเมืองขณะนี้ ตอนนี้รู้สึกกังวล เพราะมีการห้ามไม่ให้สื่อมวลชนเข้าไปภายในสโมสรฯ ด้วย จึงไม่รู้ว่าเขาจะทำการอะไรต่อไป อย่างไรก็ตามวันนี้ไม่ได้เตรียมอะไรมาพูด เพราะเป็นการแจ้งที่กระชั้นชิดมาก และไม่รู้เลยว่าจะมีเวลา หรือพื้นที่ให้เราได้พูดหรือไม่ หรือแค่เชิญมาเป็นพิธีกรรมเท่านั้น

ด้านนายนัชชชา กล่าวว่า น่ากังวล เพราะเพื่อนบอกกับตนว่ามีการยึดโทรศัพท์และปิดเครื่องมือสื่อสารด้วย อย่างไรก็ตามทางผู้ปกครองรับทราบ และบอกให้ติดต่อหาเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ทราบว่ายังอยู่ดี

ทางด้านนายเอกชัย ไชยนุวัติ นักวิชาการด้านกฎหมาย ที่ถูกเชิญมาประชุม กล่าวว่า วันนี้เตรียมกระเป๋า เตรียมเสื้อผ้ามา เผื่อไม่ได้ออกมา ตนได้รับคำเชิญจากทหารเมื่อวานนี้ (22 เม.ย.) โดยเจ้าหน้าที่มาหาถึงที่บ้านด้วยความสุภาพ โดยทางเจ้าหน้าที่ยืนยันว่าเป็นการเชิญจริง ๆ ไม่มีการควบคุมตัว เป็นการมาพูดคุยเพื่อหาทางออกให้กับประเทศชาติ แต่ตนก็รู้สึกหวั่นใจ เพราะยังมีภาพความทรงจำอันเลวร้าย และสถานที่สโมสรทหารบก วิภาวดี เป็นสถานที่ยึดอำนาจเมื่อวันที่ 22 พ.ค.57 และมีหลายท่านแสดงความเป็นห่วง รวมถึงภรรยาและครอบครัวของตนด้วย อย่างไรก็ตาม ตนยังเชื่อมั่นในเกียรติและคำพูดของทหาร สุดท้ายนี้ตนคิดว่าประเทศนี้เป็นของคนไทยทุกคน ไม่ว่าสีเหลือง หรือสีแดง ถ้าเราตั้งต้นแบบนี้ก็น่าจะอยู่ร่วมกันได้ แต่อย่างแรกที่ต้องตกลงคุยกันให้รู้เรื่อง คือคำว่าประชาธิปไตย หมายความว่าอย่างไร ซึ่งตนคิดว่าประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ในความหมายของนายกรัฐมนตรี จะต้องเป็นประชาธิปไตย ที่ไม่มีรัฐประหารเกิดขึ้นต่อไป.

ooo

"นศ." ยอมร่วมวงถกปรองดอง ชี้กองทัพไม่มีความชอบธรรมแก้ปัญหาการเมือง(คลิป)



http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1429765942

...



Atukkit Sawangsuk

กลับมาแล้วครับ สโมสรทหารบก บรรยากาศดี มีกาแฟสด มีก๋วยเตี๋ยวเลี้ยง ฟาดซะ 2 ชาม แอบถามทหาร มีที่ให้ออกไปสูบบุหรี่หลังห้องชมัยมรุเชษฐ์ด้วย (เสธ.ทบ.ติดตลก บอกตอนแรกจะจัดคุยห้องชมัย แต่กลัวหลายคนนึกถึงวันที่ 22 พฤษภา)

มีผู้ได้รับเชิญ 83 คน มีคนไปเกือบ 40 ปชป.มีอภิสิทธิ์ ชำนิ วิรัตน์ เพื่อไทยมีจาตุรนต์ ภูมิธรรม พงศ์เทพ นปช.มีจตุพร ณัฐวุฒิ อ.ธิดา (ฯลฯ) พรรคอื่นมีศุภชัย ใจสมุทร, สมศักดิ์ ปริศนา ส่วนอื่นๆมีสมชาย หอมลออ, ไพโรจน์ พลเพชร, อ.พิชิต. อ.เอกชัย ฯลฯ สื่อมีประดิษฐ์ มีก่อเขต

เป็นการเชิญไปให้ความเห็นโดยเน้นที่การปรองดองและรัฐธรรมนูญ ซึ่งตอนแรก ท่านประธาน (เสธ.ทบ.) จะให้พูดคนละ 5 นาที แต่มีคนต่อรองขอ 10 นาที ตอนแรกท่านชี้ให้พูด แต่ก็มีคนยกมือขอพูด ไปๆมาๆ ประชุมจนบ่ายสาม กินก๋วยเตี๋ยวก็กินในนั้น เพิ่งได้พูดแค่สิบกว่าคน

เอาละสิ ผิดคาด ท่านประธานจะขอยุติ เพราะสโมสร ทบ.จะต้องใช้ห้องจัดเลี้ยงงานแต่ง แต่มีหลายคนไม่ยอมเพราะยังไม่ได้พูด บอกอุตส่าห์ให้ทหารขึ้นรถยีเอ็มซีไปส่งจดหมาย จะมาเลิกง่ายๆ ได้ไง (เป็นงั้นไป 555) สุดท้ายท่านต้่องยอมขยายเวลาอีกครึ่ง ชม. โดยที่หลายคนก็ไม่ได้พูด ผมก็ไม่ได้พูด แต่ไม่เป็นไรจะเขียนเรื่องปรองดองซะเลย

ผมก็ไม่รู้เหมือนกันทำไมถึงได้รับเชิญ คงเพราะวิพากษ์รัฐธรรมนูญ เพราะเจตนาศูนย์ปรองดองเท่าที่ฟังคือต้องการให้ "มีอะไรพูดเต็มที่ตรงนี้ ไม่อยากให้พูดออกสื่อในสิ่งที่ไม่สร้างสรรค์" แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้บอกว่าห้ามวิพากษ์วิจารณ์ (ท่านก็รู้อยู่ละว่าห้ามไม่ได้) แต่พยายามจะบอกว่ามีอะไรให้เสนอมา ยินดีรับฟัง พรรคการเมืองจะทำบันทึกความเห็นต่อรัฐธรรมนูญก็ได้ ถ้าอยากพูด เดี๋ยวจะเสนอจัดเวทีให้อีก โดยอาจเปิดให้สื่อเข้าด้วย เพราะร่างรัฐธรรมนูญยังไม่จบ ยังเสนอความเห็นได้

หลายคนก็เลยพูดซะเต็มเหนี่ยว โดยเฉพาะตัวแทนพรรคการเมืองและ นปช. ในที่ประชุมไม่ได้ห้ามเล่าหรอกนะ เพราะเนื้อหาก็ไม่ใช่ความลับ เป็นความเห็น (มีคนเสนอไม่ให้เอามาพูดข้างนอก แต่ท่านประธานก็ไม่ได้สั่งห้ามซะทีเดียว) เพียงแต่โดยมารยาท ผมจะมาเล่าว่าคนอื่นพูดอะไร ก็คงไม่ได้ เช่นจะถามว่าอภิสิทธิ์พูดอะไร ก็ต้องไปถามอภิสิทธิ์ ณัฐวุฒิพูดอะไร ก็ต้องถามณัฐวุฒิ

ท่านประธานบอกใครไม่ได้พูดให้เขียนมา ฉะนั้นผมก็จะเขียนลงข่าวสด (แบบสร้างสรรค์ ฮิฮิ) ฉบับพรุ่งนี้นะ เพราะฉบับวันนี้เขียนด่าร่างรัฐธรรมนูญไปแล้วตั้งแต่ก่อนได้รับจดหมายเชิญ 55555

ooo



"เอกชัย" ย้ำ ประชาธิปไตยต้องไม่มีรัฐประหาร ทุกสีเสื้อต้องอยู่ร่วมกันให้ได้
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1429766406
ooo


ภาพหลุดจากห้องประชุม สโมสร ทบ. ‪#‎ปรองดองมว๊ากก‬ อิมาร์ค 100ศพ ท่ามกลางวงล้อม นปช. เพื่อไทย (จะว่าไปบรรยากาศช่างคล้ายวันนั้นของปี.. ปิดห้องประชุมปล้นประชาธิปไตย !!)

Credit Phattita Cheraiem

Voice TV

การหารือโดยศูนย์ปรองดองได้จบลงแล้ว บุคคลที่ได้รับเชิญส่วนใหญ่ ปฏิเสธเข้าร่วม และกลุ่มบุคคลในภาคประชาชนจำนวนมาก ยังสงสัยต่อการหารือในวันนี้

ตลอดช่วงเช้าที่ผ่านมา นักการเมือง นักกิจกรรม นักวิชาการ ได้ทยอยเดินทางมายังสโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี ตามคำเชิญศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป หรือ ศปป. ก่อนจะเริ่มการประชุม โดยไม่อนุญาตให้ผู้สื่อข่าวเข้าไปติดตาม

การหารือผ่านไปนานกว่า 5 ชั่วโมง ก่อนที่จะมีการปล่อยบุคคลทั้งหมดกลับ โดยไม่มีการควบคุมตัวเกิดขึ้น รวมทั้ง มีการขอความร่วมมือบุคคลที่ได้รับเชิญ งดให้ข่าวต่อสื่อมวลชนด้วย

แต่มีผู้ถูกเชิญบางราย เปิดเผยว่า บรรยากาศการพูดคุยเป็นไปโดยดี แต่ไม่มีอะไรที่เป็นรูปธรรม ทั้งนี้ได้ฝากประเด็นให้ คสช.นำกลับไปพิจารณา ในขณะที่ผู้เข้าร่วมบางส่วน มีความไม่พอใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากมองว่า มีการให้ความสำคัญแต่เฉพาะฝ่ายการเมืองเท่านั้น

สำหรับการหารือในวันนี้ ผู้ที่ได้รับเชิญเปิดเผยว่า มีผู้ให้ความร่วมมือมาหารือตามคำเชิญ เพียงประมาณ 30 ราย จากรายชื่อที่เชิญมาทั้งหมด 82 รายเท่านั้น

ooo

Thai government summons politicians, activists for peace talks
Source: Reuters - Thu, 23 Apr 2015

By Aukkarapon Niyomyat

BANGKOK, April 23 (Reuters) - Thailand's military government on Thursday summoned the leaders of the political party it toppled from power nearly a year ago for reconciliation talks at the site of the May 2014 coup staged by the army.

The summons comes as Thailand debates a draft constitution that the junta says will help heal the country's deep divisions, but which parties from both sides of the political spectrum have criticised as undemocratic.

Members of the conservative Democrat Party, academics and student activists also attended the meeting. Some called for the draft charter to be put to a referendum.

Thailand needs to reach a constitution acceptable to all, said Jatuporn Prompan, a leader of the opposition 'red shirt' movement and a former Puea Thai Party lawmaker.

"If the public does not agree, we have to amend the constitution," Jatuporn, who attended the meeting, told Reuters. "Even if it means wasting another year or two, it is better than moving forward to where problems will be waiting."

Thailand's military rulers have said a general election will be held in 2016 but warned a return to democracy could be pushed back if the country held a referendum.

Critics say a provision in the charter for proportional representation would lead to weak coalition governments.

They say the charter is an attempt to ensure limited powers for any future government allied to ousted former Prime Minister Thaksin Shinawatra.

The constitution also includes a curb on populist-style policies, such as those favoured by Thaksin and his sister Yingluck. Yingluck's administration was toppled in the 2014 coup, while Thaksin was the victim of another coup in 2006.

Thailand has suffered nearly a decade of political turmoil as Thaksin and his allies have vied for power with the traditional Bangkok elite threatened by his meteoric rise.

Thaksin lives abroad to avoid a jail sentence handed down for graft in 2008.

Since taking power, the junta has stifled dissent by detaining politicians and activists for 'attitude adjustments', targeting mostly supporters of the government it ousted.

The junta has been criticized for lifting martial law and replacing it with a security provision in the interim constitution, known as section 44, that gives sweeping powers to the military.

Prime Minister Prayuth Chan-ocha, who, as army chief, led the May coup, told reporters he would not use the security clause to force reconciliation.

"Reconciliation must come from each individual's heart." 

(Additional reporting by Kaweewit Kaewjinda and Panarat Thepgumpanat; Editing by Amy Sawitta Lefevre, Simon Webb and Clarence Fernandez)