ooo
Prayuth go home! Free thailand! Asean peoples" rally in Kuala Lumpur
Posted by Lee Siew Hwa on Friday, April 24, 2015
oooo
FRI, 04/24/2015 - 23:09 JOM
ที่มา Thai Voice Media
Irene Xavier - Founder Malaysia group for Democracy in Thailand ให้สัมภาษณ์ Thaivoicemedia หลังจากที่กลุ่มออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย ปล่อยนักโทษทางการเมืองในประเทศไทย และทุกประเทศในอาเซี่ยน ในการ ประชุุมภาคประชาสังคมอาเซี่ยน ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ระหว่างวันที่ 22 - 24 เมษายนที่ผ่านมา ว่า กลุ่มนี้ ตั้งขึ้นเพื่อที่จะเรียกร้องสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยในประเทศไทย เพราะเห็นว่า คนไทยเองไม่สามารถเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ได้อย่างเต็มที่ในประเทศไทย โดยกลุ่มจะทำงานร่วมกับ ประชาสังคมอาเซี่ยน และองค์กรสิทธิมนุษยชนจากทั่วโลก เฝ้าจับตา และกดดันรัฐบาลเผด็จการทหารไทย โดยเฉพาะให้ยกเลิกการบังคับใช้ ม.112 และ ม.44 ที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของคนไทยอย่างรุนแรงในขณะนี้ และเรียกร้องให้คืนประชาธิปไตยแก่ประชาชนไทยโดยเร็ว โดยกลุ่มฯจะเดินทางไปเยี่ยมนักโทษทางการเมืองในคุก ในประเทศไทยเร็ว ๆ นี้ เพื่อตรวจสอบสภาพความเป็นอยู่ จะได้นำไปรายงานให้ทั่วโลกรับรู้ ขอย้ำว่า อำนาจของฝ่ายอนุรักษ์นิยมในประเทศไทยนั้น หมดเวลาลงไปแล้ว คนไทยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในต่างจังหวัดมีความตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้นแล้ว
ที่มา Thai Voice Media
Irene Xavier - Founder Malaysia group for Democracy in Thailand ให้สัมภาษณ์ Thaivoicemedia หลังจากที่กลุ่มออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย ปล่อยนักโทษทางการเมืองในประเทศไทย และทุกประเทศในอาเซี่ยน ในการ ประชุุมภาคประชาสังคมอาเซี่ยน ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ระหว่างวันที่ 22 - 24 เมษายนที่ผ่านมา ว่า กลุ่มนี้ ตั้งขึ้นเพื่อที่จะเรียกร้องสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยในประเทศไทย เพราะเห็นว่า คนไทยเองไม่สามารถเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ได้อย่างเต็มที่ในประเทศไทย โดยกลุ่มจะทำงานร่วมกับ ประชาสังคมอาเซี่ยน และองค์กรสิทธิมนุษยชนจากทั่วโลก เฝ้าจับตา และกดดันรัฐบาลเผด็จการทหารไทย โดยเฉพาะให้ยกเลิกการบังคับใช้ ม.112 และ ม.44 ที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของคนไทยอย่างรุนแรงในขณะนี้ และเรียกร้องให้คืนประชาธิปไตยแก่ประชาชนไทยโดยเร็ว โดยกลุ่มฯจะเดินทางไปเยี่ยมนักโทษทางการเมืองในคุก ในประเทศไทยเร็ว ๆ นี้ เพื่อตรวจสอบสภาพความเป็นอยู่ จะได้นำไปรายงานให้ทั่วโลกรับรู้ ขอย้ำว่า อำนาจของฝ่ายอนุรักษ์นิยมในประเทศไทยนั้น หมดเวลาลงไปแล้ว คนไทยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในต่างจังหวัดมีความตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้นแล้ว
ooo
Sat, 2015-04-25 01:49
ที่มา ประชาไท
กิจกรรม "เดินอาเซียน" ในการประชุมภาคประชาสังคมอาเซียนวันสุดท้ายที่มาเลเซียเป็นเจ้าภาพ นับเป็นกิจกรรมส่งท้ายที่ภาคประชาสังคมทั่วอาเซียนประกาศข้อเรียกร้องของพวกเขา รวมไปถึงหลายเรื่องที่พวกเขาแทบไม่สามารถนำเสนอได้ในบ้านเกิด-กระทั่งเป็นเรื่องต้องห้าม ตั้งแต่ สิทธิ LGBT - เรียกร้องปล่อยตัวนักศึกษาพม่า จนถึงผู้ต้องหา ม.112 - ตามหาสมบัด สมพอน จนถึงการตามหา "บิลลี่ พอละจี" - การเรียกร้องประชาธิปไตยในลาวและไทย จนถึงการหารือถึงอนาคตของปาตานี
24 เม.ย. 2558 - ในการประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน (ACSC/APF 2015) ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 22 - 24 เม.ย. นั้น เมื่อวันที่ 24 เม.ย. ซึ่งเป็นการจัดงานวันสุดท้ายนั้น ในพิธีปิดของการประชุม ภาคประชาสังคมในอาเซียน 11 ประเทศ ซึ่งรวมถึงผู้เข้าร่วมประชุมจากติมอร์ตะวันออกด้วย ได้ร่วมกัน "เดินอาเซียน" หรือ "ASEAN Walk" จากสถานที่จัดงานคืออาคารพรรคสมาคมชาวจีนแห่งมาเลเซีย (Wisma MCA) มุ่งไปทาง ถนนอังปังใกล้ตึกแฝด KLCC และมีการกล่าวปิดการประชุมที่ลานกว้างริมถนนอัมปัง ย่านใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์
กิจกรรม "เดินอาเซียน" ในการประชุมภาคประชาสังคมอาเซียนวันสุดท้ายที่มาเลเซียเป็นเจ้าภาพ นับเป็นกิจกรรมส่งท้ายที่ภาคประชาสังคมทั่วอาเซียนประกาศข้อเรียกร้องของพวกเขา รวมไปถึงหลายเรื่องที่พวกเขาแทบไม่สามารถนำเสนอได้ในบ้านเกิด-กระทั่งเป็นเรื่องต้องห้าม ตั้งแต่ สิทธิ LGBT - เรียกร้องปล่อยตัวนักศึกษาพม่า จนถึงผู้ต้องหา ม.112 - ตามหาสมบัด สมพอน จนถึงการตามหา "บิลลี่ พอละจี" - การเรียกร้องประชาธิปไตยในลาวและไทย จนถึงการหารือถึงอนาคตของปาตานี
24 เม.ย. 2558 - ในการประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน (ACSC/APF 2015) ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 22 - 24 เม.ย. นั้น เมื่อวันที่ 24 เม.ย. ซึ่งเป็นการจัดงานวันสุดท้ายนั้น ในพิธีปิดของการประชุม ภาคประชาสังคมในอาเซียน 11 ประเทศ ซึ่งรวมถึงผู้เข้าร่วมประชุมจากติมอร์ตะวันออกด้วย ได้ร่วมกัน "เดินอาเซียน" หรือ "ASEAN Walk" จากสถานที่จัดงานคืออาคารพรรคสมาคมชาวจีนแห่งมาเลเซีย (Wisma MCA) มุ่งไปทาง ถนนอังปังใกล้ตึกแฝด KLCC และมีการกล่าวปิดการประชุมที่ลานกว้างริมถนนอัมปัง ย่านใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์
ขบวน "ASEAN Walk" หลังปิดการประชุมภาคประชาชนสังคมอาเซียน (ASCS/APF 2015) ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2558
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน ที่มาเลเซียปีนี้ ไม่มีกระบวนการร่างแถลงการณ์ร่วมกันในการประชุมใหญ่ แต่เปลี่ยนเป็นการติดตามข้อเรียกร้องของภาคประชาชนในรอบหลายปีที่ผ่านมาแทน รวมทั้งติดตามกรอบวิสัยทัศน์ 10 ปี ของอาเซียนที่จะเริ่มขึ้นหลังปี 2015 ดังนั้น ในช่วงที่มีกิจกรรม "เดินอาเซียน" หรือ ASEAN Walk กลุ่มประชาสังคม กลุ่มทางสังคมต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างจึงชูป้ายผ้า และตะโกนคำขวัญที่กลุ่มของพวกเขาต้องการรณรงค์ และส่งเสียงไปยังสังคมอาเซียน เช่น มีผู้ร่วมกันเรียกร้องให้ติดตามคนที่หายสาบสูญอย่าง สมบัด สมพอน นักพัฒนาอาวุโสชาวลาว สมชาย นีละไพจิตร ทนายด้านสิทธิมนุษยชนจากประเทศไทย และเรียกร้องให้ปล่อยตัว สมยศ พฤกษาเกษมสุข นักสิทธิแรงงานชาวไทย ที่ถูกตัดสินจำคุกคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
นอกจากนี้ชาวกะเหรี่ยงจากลุ่มน้ำแก่งกระจาน ที่มาร่วมกิจกรรมวันสุดท้ายดังกล่าว ยังเชิญชวนผู้ที่ร่วมเดินอาเซียนจากประเทศต่างๆ ติดป้ายชื่อ "บิลลี่" ที่หน้าอกเสื้อ เพื่อสื่อถึง "บิลลี่" พอละจี รักจงเจริญ นักต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนแห่งลุ่มน้ำแก่งกระจาน ที่หายตัวไปครบรอบ 1 ปีด้วย
นอกจากนี้มีชาวมาเลเซียถือป้ายต่อต้านการบังคับใช้ภาษีสินค้าและบริการ หรือ GST ที่ประกาศใช้อัตราใหม่ร้อยละ 6 ทำให้ราคาสินค้าในมาเลเซียเพิ่มสูงขึ้น ป้ายต่อต้านโทษประหารชีวิต ขณะที่ป้ายผ้าที่ผู้เข้าร่วมชาวไทยได้เตรียมไว้ให้ผู้เข้าร่วมจากประเทศต่างๆ เขียนข้อความลงในป้ายผ้าก็ปรากฏข้อความหลากหลายตั้งแต่การเรียกร้องประชาธิปไตยในไทย สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ เสรีภาพของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ ต่อต้านการสร้างเขื่อน ฯลฯ
ขบวน "ASEAN Walk" หลังปิดการประชุมภาคประชาชนสังคมอาเซียน (ASCS/APF 2015) ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2558
ด้านนักศึกษาพม่าที่มาร่วมงานประชาสังคมอาเซียน ได้เชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมการเดินจากประเทศต่างๆ ร่วมกันตะโกนคำขวัญ "ปล่อยนักศึกษาพม่า" เพื่อเรียกร้องให้ทางการพม่าปล่อยตัวนักศึกษาที่ถูกจับกุม หลังตำรวจพม่าสลายการชุมนุมของกลุ่มนักศึกษาที่เรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายการศึกษาฉบับใหม่ที่มีผลลิดรอนสิทธิการรวมกลุ่มของนักศึกษา และเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการศึกษาในพม่า
เช่นเดียวกับนักศึกษาจากปาตานี ได้ตะโกนคำขวัญ "Free Patani" และป้ายผ้าสนับสนุนให้ชาวปาตานี มีสิทธิในการกำหนดใจตนเองหรือ "Self-determination"
ขณะที่เครือข่ายแรงงานจากกัมพูชาได้ตะโกนคำขวัญปกป้องสิทธิแรงงานข้ามชาติ และตะโกนคำขวัญ "ไชโย กัมพูชา" "ไชโย ภาคประชาชนอาเซียน" "ไชโย ประชาธิปไตย" เพื่อให้กำลังใจภาคประชาสังคมกลุ่มต่างๆ ที่ร่วมกันเดินรณรงค์
ขบวน "ASEAN Walk" หลังปิดการประชุมภาคประชาชนสังคมอาเซียน (ASCS/APF 2015) ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2558
ในส่วนของเจ้าภาพมาเลเซีย เป็นผู้ตั้งขบวนหน้าสุด นำขบวนโดย มาเรีย ชิน อับดุลลาห์ คณะกรรมการจัดงานอาเซียนภาคประชาชน (ACSC/APF 2015) และประธานแนวร่วมเพื่อการเลือกตั้งที่สะอาดและเป็นธรรม (Bersih 2.0) ซึ่งรณรงค์ให้มีการปฏิรูประบบการเลือกตั้งมาเลเซีย นอกจากนี้มีคณะกรรมการจัดการประชุมอาเซียนภาคประชาชนร่วมเดินด้วย นอกจากนี้มีเครือข่ายปกป้องแม่น้ำซาราวัก จากรัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย ได้ประกาศต่อต้านโครงการสร้างเขื่อนในรัฐซาราวัก มีการถือป้ายกระดาษ เขียนข้อความ "หยุดตัดสินใจแทนพวกเรา" ทั้งนี้ประชากรในรัฐบนเกาะบอร์เนียว ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของมาเลเซีย เกรงว่าชาวบ้านที่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนจะได้รับผลกระทบต่อการดำรงชีวิต
ขณะเดียวกันนักศึกษามาเลเซีย นักกิจกรรมแรงงาน และผู้สนับสนุนพรรคสังคมนิยมมาเลเซีย (PSM) ได้ถือป้ายต่อต้านรัฐบาลทหารในไทย และตะโกนคำขวัญขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นอกจากนี้กิจกรรมเดินอาเซียน ยังเปิดโอกาสให้กลุ่มทางสังคมที่ไม่สามารถทำกิจกรรมได้ภายในประเทศได้ส่งเสียงของพวกเขา โดยนักกิจกรรมพลัดถิ่นชาวลาว ได้ชูธงชาติลาวสมัยรัฐบาลราชอาณาจักรลาว โดยพวกเขาได้ตะโกนคำขวัญเรียกร้องให้ลาวมีประชาธิปไตย ไม่เอาเขื่อนในแม่น้ำโขง และตามหาสมบัด สมพอน นักพัฒนาชาวลาวที่หายตัวไปกว่า 2 ปี
ขบวน "ASEAN Walk" หลังปิดการประชุมภาคประชาชนสังคมอาเซียน (ASCS/APF 2015) ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2558
เช่นเดียวกับกลุ่มรณรงค์สิทธิ LGBT ในนาม ASEAN SOGIE Caucus หรือ คณะประชุมเพื่อสิทธิมนุษยชนในการส่งเสริมสิทธิความหลากหลายทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ และการแสดงออกทางเพศ ได้เดินรณรงค์สิทธิทางเพศเช่นกัน นอกจากนี้ในระหว่างการเดินขบวน พวกเขายังได้เชิญชวนกลุ่มประชาสังคมจากประเทศต่างๆ มาประกาศข้อเรียกร้องของแต่ละกลุ่มในการเดินขบวนของพวกเขาด้วย
สำหรับพิธีปิดการประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน (ASCS/APF 2015) ได้เชิญผู้แทนเยาวชนจากสภาเยาวชนติมอร์ตะวันออก มาเรีย ฟิโลเมนา ซัวเรส อลอรันเตส และ เอเคพี ม็อคตัน รองเลขาธิการสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน เป็นหนึ่งในผู้กล่าวปิดงาน