ที่มา โพสต์ทูเดย์
26 เมษายน 2558
โดย...สุภชาติ เล็บนาค
ย่างเข้าสู่ 1 ปี หลังการยึดอำนาจรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อันมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้า
เหตุผลสำคัญของการประกาศรัฐประหารวันนั้น คือการยุติความขัดแย้ง หลังการชุมนุมของ กปปส.ยืดเยื้อยาวนาน และมีสัญญาณของความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกขณะ ขณะเดียวกัน สัญญาณของการเผชิญหน้ากับคนเสื้อแดง ซึ่งมีแนวคิดตรงกันข้ามกับ กปปส.ชัดเจน ก็มีความเป็นไปได้ทุกเมื่อ
1 ปีให้หลังการรัฐประหาร พล.อ.ประยุทธ์ อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ควบตำแหน่งหัวหน้า คสช.มีอำนาจเด็ดขาดผ่านมาตรา 44 อยู่เหนือทั้งอำนาจบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ และเพิ่งแถลงผลงาน 6 เดือนรัฐบาล โดยเน้นเรื่องสำคัญคือการรักษาความสงบเรียบร้อย ขณะเดียวกัน ก็อยู่ระหว่างเดินหน้าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อส่งผ่านอำนาจให้กับรัฐบาลชุดต่อไปตามโรดแมป ซึ่งกำหนดไว้ตั้งแต่แรกว่าจะอยู่ที่ต้นปี 2559
ส่วนฝ่ายตรงข้ามอย่างยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เจ้าของพรรคเพื่อไทยตัวจริง นักการเมืองในซีกทักษิณ หรือแม้แต่กลุ่ม นปช. ล้วนอยู่ในสถานะสงบนิ่ง กลับกลายเป็นกลุ่มอิสระกลุ่มอื่นๆ ที่ออกมาเคลื่อนไหวจนถูกดำเนินคดี ขณะที่อีกหลายคนเลือกที่จะเดินทางออกไปต่างประเทศ ซึ่งสามารถเคลื่อนไหวได้เป็นอิสระกว่า
ในฐานะนักวิชาการที่แสดงความไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารชัดเจน เราสัมภาษณ์ ศ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอาวุโส เพื่อให้ประเมิน 1 ปีของสังคมไทยหลังการปกครองของคณะทหาร และประเมินทิศทางการเมืองหลังจากนี้ว่าจะเดินหน้าอย่างไรต่อ
“ผมคิดว่ามันเปลี่ยนไปในทางเลวลง ที่เห็นชัดก็คือเศรษฐกิจที่มันได้รับผลกระทบร้ายแรง ส่วนด้านอื่นผมก็ไม่เห็นมีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เป็นต้นว่า ตอนแรกคุณบอกจะไม่ทำรถไฟความเร็วสูง แต่สุดท้ายคุณก็ทำ หรือถ้าพูดถึงการปฏิรูป อย่างปฏิรูปการศึกษาหรือปฏิรูปเรื่องอื่น ผมก็เห็นมีแต่ตั้งคณะกรรมการ จะปฏิรูปอะไรก็ยังไม่ชัดเจน นี่คือความไม่ได้เรื่องที่ผมเห็นชัดเจน” นิธิ ตอบคำถามเรื่อง 1 ปีหลังยุค คสช.
นิธิ บอกว่า ความไม่เป็นชิ้นเป็นอันของนโยบายเหล่านี้ ทำให้ยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ และอนาคตของประเทศยังมองไม่เห็นว่าจะเดินต่อไปอย่างไร โดยเฉพาะในวันที่ อินโดนีเซีย เวียดนาม หรือแม้กระทั่งพม่า ซึ่งไทยเคยมีปัจจัยการผลิตเหนือกว่า มีแรงงานที่มีคุณภาพกว่า กำลังค่อยๆ แซงขึ้นนำ และไทยไม่มีอะไรที่จะสามารถแข่งขันได้
ก่อนจะบอกอีกว่า โจทย์เดียวที่รัฐประหาร 22 พ.ค. ตอบได้ก็คือ การ “หยุด” ไม่ให้การเมืองมวลชนเดินหน้าไปต่อ และย้อนเวลากลับไปใช้อำนาจนอกระบบ เพื่อให้ระบบ “การเมืองมวลชน” ที่เติบโตขึ้นมาในช่วง 10 ปีให้หลังมานี้ ช้าลงไป เพื่อให้ชนชั้นนำกลับมาเป็นผู้นำเหนือกลุ่มการเมืองมวลชนแทน
การเมืองมวลชน ในนิยามของนิธิก็คือ การให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมือง ผ่านการเลือกตั้ง และผ่านการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย มากกว่าจะให้ชนชั้นนำมาเดินหน้าการเมืองเพียงกลุ่มเดียวอย่างในอดีต
“ที่เห็นชัดก็คือชนชั้นนำเราถูกปลูกฝังในระบบเก่าแยะ ทั้งที่เขาสามารถรักษาผลประโยชน์ในระบบการเมืองมวลชนแบบสร้างสรรค์ไว้ได้ ใน อังกฤษ อเมริกา ชนชั้นนำที่ได้ประโยชน์จากการเมืองมวลชนก็มีอยู่มาก ถามว่าชนชั้นนำไทยทำแบบนั้นได้ไหม ผมเชื่อว่าทำได้ เพราะคุณมีต้นทุนสูงมาก พราะคุณเป็นผู้กุมวัฒนธรรมชั้นสูง คุณถือครองทรัพย์สินสูงมาก คุณใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นในการที่จะทำให้คุณได้เปรียบในการแข่งขันกับการเมืองมวลชนได้ แต่หลังการรัฐประหารที่ผ่านมาสะท้อนว่าเขาไม่ทำ แล้วกลับมาหาทางหยุดยั้งการเติบโตของการเมืองมวลชนแทน”
“แต่ในที่สุดคุณก็ไม่สามารถหยุดยั้งได้ นอกจากใช้อำนาจนอกระบบมาหยุดยั้งมันผ่านการรัฐประหาร ถามว่าอะไรเกิดขึ้นหลังการรัฐประหาร ก็คือการเมืองมวลชนมันช้าลงไป ถ้าคุณอยู่ปีก็ช้าไปปี ถ้าอยู่สองปีก็ช้าไปสองปี แต่บอกได้เลยว่าสิ่งที่คุณทำตอนนี้ ไม่สามารถอยู่ได้ในประเทศไทย เพราะประเทศมันเปลี่ยนไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญ หรืออย่างอื่นที่คุณทำมา มันไม่ใช่สิ่งที่จีรังยั่งยืนทั้งสิ้น มันได้แค่เบรกการเมืองมวลชนได้แค่ช่วงหนึ่ง แล้วเบรกไปทำไมก็ไม่รู้เหมือนกัน” นิธิ ระบุ
ส่วนข้ออ้างในการรักษาความสงบของ คสช.นั้น นิธิตั้งคำถามว่า ตั้งแต่เริ่มชุมนุมในเดือน ต.ค. 2556 ลากยาวมานานหลายเดือน ทำไมทหารไม่ออกมารักษาความสงบในช่วงที่ยังมีประชาธิปไตยอยู่ แต่กลับเลือกที่จะยึดอำนาจแล้วบริหาร ซึ่งสุดท้ายก็สร้างปัญหาอื่นตามมา
“ผมไม่เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศเชื่อว่ารัฐประหารทำให้ประเทศสงบ ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา คุณก็เห็นว่ามันไม่สงบแล้ว มันเกิดอะไรต่อมิอะไรตามมาหลังจากนั้น และถ้าหากย้อนหลังกลับไปตั้งแต่รัฐประหารของ รสช.ปี 2534 คุณก็จะพบว่ามันก็ไม่สงบ รัฐประหารเป็นเครื่องมือที่ใช้ไม่ได้นานแล้ว ถ้าคุณรู้จักคิดย้อนหลังกลับไป คุณจะรู้ว่ามันไม่ใช่เครื่องมือที่เคยใช้ได้ผลอย่างที่สมัยหนึ่งเคยใช้มา”
“คือคุณจะทะเลาะกับยิ่งลักษณ์ก็ทะเลาะไป จะเรียก ‘อีปู’ ก็ตามสบายเรื่องของคุณ แต่ตราบใดที่มันมีกติกาอยู่ คุณก็ต้องคิดสิว่าจะทำอย่างไรให้อีปูได้คะแนนเสียงไม่เท่ากับคุณ คุณก็หาทางทำให้อีปูไม่ได้คะแนนเสียงเท่ากับคุณสิ นี่คือวิธีการต่อสู้ แต่นี่คุณไม่ทำ คุณก็เรียกหาทหารมาวางแผนกันยึดอำนาจแทน” นิธิ กล่าว
ขณะที่เสียงต้านหลังรัฐประหารที่หลายคนเห็นว่า “แผ่ว” เกินกว่าที่ควรจะเป็นนั้น นิธิเห็นตรงกันข้าม และระบุว่า กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับ คสช.นั้นมีจำนวนมาก และมากจนถึงขนาดที่ว่าทำให้คณะทหารยังคงใช้ “กฎหมายพิเศษ” รักษาความมั่นคงของรัฐบาลตัวเองอยู่
“ถ้ามันแผ่ว แล้วทำไมเสียงจากภายนอกทั้งจากสหรัฐอเมริกา ทั้งจากสหภาพยุโรป ต้องออกมาต่อต้านรัฐประหาร มันไม่ใช่หรอก ถ้าเปรียบเทียบกับทุกครั้งที่ผ่านมา คุณจะพบว่าไม่มีการต่อต้านรัฐประหารครั้งไหนที่มีการต่อต้านมากเท่านี้ และมีเสียงต้านออกมาตั้งแต่วันแรกด้วย”
ด้วยเหตุนี้ ทหารจึงยังต้องคงอำนาจไว้ เพราะรู้ว่าวันใดก็ตามที่ไม่เหลืออำนาจนี้อยู่ คนจะออกมาที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิอีก ซึ่งนิธิบอกว่า หากวันนี้ทหารเชื่อมั่นว่าคนสนับสนุนทั้งในเมืองและสนับสนุนทั้งประเทศจริง ก็ขอให้ยกเลิกมาตรา 44 และยกเลิกกฎหมายพิเศษอื่นๆ ในการคุมอำนาจ
นิธิยืนยันว่า วันนี้ กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร ไม่ได้กลัวกฎหมายพิเศษอีกต่อไป สะท้อนชัดจากปฏิกิริยาเมื่อวันที่นักศึกษายืนล้อมกันเป็นวงกลมที่หน้าศาลทหาร เพื่อกดดันไม่ให้ทหารจับตัวกลุ่ม “พลเมืองโต้กลับ” จนในที่สุดทหารก็ต้องเลือกปล่อยตัว
“ผมไม่แน่ใจว่าสยบได้จริงไหม การที่นักศึกษาไปยืนล้อมที่ศาลทหารแล้วชูสามนิ้วบอกว่าจับเลย เขาพร้อมให้จับ อันนั้นมันแสดงว่าเขาไม่กลัว แล้วมันจะจำกัดเฉพาะนักศึกษากลุ่มนั้นหรือ ซึ่งไม่น้อยนะ หรือมันจะกระจายต่อไปอีก คุณอย่าลืมนะว่า ถ้ามีคนที่พร้อมจะเข้าคุกเป็นพันๆ คนในประเทศไทย คุณก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรแล้ว เพราะฉะนั้นคุณฝืนมันไม่ได้หรอก”
ด้วยฝีมือขนาดนี้ "เขา" อยู่นานไม่ได้
แม้ พล.อ.ประยุทธ์ จะประกาศโรดแมปว่ารัฐบาลจะอยู่ไม่เกินต้นปี 2559 แต่ก็มีเสียงยุส่งให้รัฐบาลอยู่ต่อไปนานเกิน 2 ปีอยู่จำนวนมาก แม้กระทั่งจากพรรคการเมืองสำคัญอย่างพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยเหตุผลที่ว่า เวลาขณะนี้สั้นเกินไปที่จะจัดโครงสร้างการเมือง แก้ปัญหาความขัดแย้งและดำเนินการเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปประเทศ ขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญที่ร่างออกมา ก็ยังมีหลายจุดที่เป็นช่องโหว่ซึ่งอาจเกิดปัญหาหากนำมาใช้จริง
นิธิเดาไม่ถูกว่ารัฐบาลชุดนี้จะอยู่นานขนาดไหน แต่เขาเชื่อว่า ด้วยฝีมือขนาดนี้จะไม่สามารถอยู่นานได้ เพราะเห็นชัดว่ายิ่งอยู่ยิ่งสร้างศัตรูมากขึ้นทุกวัน และผลงานในการประคับประคองเศรษฐกิจก็ชัดเจนว่าต่ำกว่ามาตรฐาน แต่จะเดินต่อไปอย่างไรนั้น สูตรสำเร็จในอดีต ก็มีอยู่ 3 ทางก็คือ คืนอำนาจให้ประชาชน ปล่อยให้ประชาชนล้ม หรือลงจากอำนาจแล้วหาทางสืบทอดอำนาจต่อ
“ก็แน่นอน รัฐประหารทุกครั้ง มีความพยายามสืบทอดอำนาจ ถ้าใช้สำนวน อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริก็คือ คุณขึ้นหลังเสือ แล้วคุณไม่รู้จะลงยังไง เว้นแต่มีบันไดทอดลงมา แล้วเสือไม่กัดคุณเท่านั้น แต่ผมยังไม่พบว่ามันประสบความสำเร็จสักครั้ง ยกเว้นครั้งจอมพลสฤษดิ์ส่งต่ออำนาจให้ จอมพลถนอมจอมพลประภาส แต่สุดท้ายหลังจอมพลถนอมทำรัฐประหารตัวเองก็อยู่ได้แค่สองปี สุดท้ายก็เกิด
เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ขึ้น ถามว่า วันนี้จะสืบทอดอำนาจ มันไม่ง่ายนะ”
“วันนี้ ที่เราเห็นเฉพาะศัตรูของ คสช.ที่อยู่นอกกองทัพ แต่ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา สะท้อนว่าการสืบทอดอำนาจมันไม่ง่าย เพราะคนนอกอย่างเราไม่รู้ว่า ในกองทัพมีศัตรูเกิดขึ้นหรือเปล่า เอาง่ายๆ ก็คือ การแต่งตั้งโยกย้าย ผบ.เหล่าทัพ หรือ ผบ.ทบ.คนใหม่ คุณจะตั้งใคร แล้วมันจะเกิดความขัดแย้งหรือเปล่า เพราะไม่ว่าจะตั้งใครก็ตาม ทุกคนที่จะได้ขึ้นเป็น ผบ.ทบ.ได้สั่งสมกำลังสายตัวเองไว้ทั้งนั้นซึ่งคงไม่มีใครสะสมไว้เล่นๆ หรอก”นิธิ ระบุ
ขณะที่ความรังเกียจนักการเมือง ซึ่งยังคงฝังอยู่นั้น นิธิบอกว่า เกิดจากการปลูกฝังเรื่อง “นักการเมืองโกง” และการเรียกการเมืองว่าเป็น “นักเลือกตั้ง” ซึ่งแม้จะจริงในระดับหนึ่ง แต่ระบบที่เคยมีก็ยังทำให้นักเลือกตั้งถูกตรวจสอบได้
“ถ้าคุณเข้ามาในระบอบที่เลือกตั้งสม่ำเสมอ ผมว่าไอ้การเป็นนักเลือกตั้งมันก็ค่อยๆ น้อยลงเองผมว่าเหลวไหล ที่บอกว่าไปหาคนดีมาให้คนเลือก ที่ถูกคือคุณต้องสร้างอำนาจของสังคม ที่คุณสามารถกำกับควบคุม สส.ได้ ไม่ใช่ให้ สส.มันดีในตัวมันเอง มันก็มนุษย์ขี้เหม็นเหมือนเรา พอมีโอกาสที่จะเอาเปรียบคนอื่นก็เอาเปรียบ แต่คุณต้องคิดว่าทำอย่างไรให้สังคมมีระบบที่จะเข้าไปกำกับควบคุมได้ ไม่ให้มันทำชั่วอย่างนั้น ไม่ใช่เอาแต่คนอีกพวกหนึ่งไปคุม”เขาแสดงความเห็น
ส่วนสาเหตุที่ พรรคเพื่อไทย และกลุ่มคนเสื้อแดง “เงียบ” จนเกินเหตุนั้น นิธิมองว่า เพราะ 1.พรรคเพื่อไทยถูกล็อกจนขยับไม่ได้ และ 2.นโยบายตอนแรกๆ ของพรรคเพื่อไทยคือยอมเว้นวรรคทางการเมืองเพื่อหวังว่าเมื่อรัฐธรรมนูญออกมาแล้ว ตัวจะชนะอีก ก็เลยเลือกที่จะเว้นวรรคทางการเมือง และคิดว่าหลังจากทหารปล่อยวางอำนาจ พรรคเพื่อไทยก็จะกลับมาชนะอีกครั้ง
“เมื่อปี 2550 ผมรณรงค์ให้ไม่รับรัฐธรรมนูญ 2550 แล้วก็พ่ายแพ้ ซึ่งเหตุผลที่พ่ายแพ้ ไม่ใช่เพราะทหารไปล็อกคนอยู่ที่อีสานหรอก ที่พ่ายแพ้ก็เพราะว่าพรรคพลังประชาชนขณะนั้น รวมถึงคุณทักษิณ แกต้องการให้มีการเลือกตั้งแล้วตัวจะได้กลับมา ซึ่งก็จริงของแก แต่ว่า แล้วประชาชนได้ประโยชน์อะไร คำตอบคือประชาชนไม่ได้อะไรเลย”
“คือถามว่าคุณทักษิณเป็นนักปฏิรูป นักปฏิวัติ ใช่ไหม ไม่ใช่ คุณทักษิณเป็นนักการเมืองคนหนึ่งเพียงแต่คุณทักษิณอาจจะฉลาดกว่าคุณชวน (ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี) หรือคุณอภิสิทธิ์ เท่านั้นแต่ยุทธวิธีที่ใช้ในการดำรงอำนาจทางการเมืองยังเป็นยุทธวิธีเก่าเป็นส่วนใหญ่เท่านั้นเอง”
หมดเวลาทหารคุมนักการเมือง
หนึ่งในทฤษฎีที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยก็คือการเรียกขานว่าเป็น “วงจรอุบาทว์” กล่าวคือ มีนักการเมืองซื้อเสียงเลือกตั้งเข้ามาคอร์รัปชั่นเกิดวิกฤตการณ์จนทหารต้องยึดอำนาจ และพอทหารเข้ามาร่างรัฐธรรมนูญ ลงจากอำนาจแล้วก็เลือกตั้งใหม่ หลังจากนั้นก็เกิดปัญหาอีกครั้ง ซ้ำซากไม่รู้จบ
“ถ้าคุณเชื่อว่าเป็นวงจรจริงก็ขอให้สังเกตว่าหลังเหตุการณ์14 ตุลาฯ วงจรมันห่างขึ้นเรื่อยๆที่ผมคิดว่าน่าสนใจก็คือ ในขณะที่ทหารเข้ามาแล้วบอกว่ามาปราบนักการเมือง ปัจจุบันมันไม่จริงแล้ว เพราะปรากฏว่านักการเมืองนั้น ทหารปราบมันไม่ได้ เวลานี้ทั้งประชาธิปัตย์ ทั้งเพื่อไทยกำลังเริ่มดิ้นรน กระด้างกระเดื่องกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เมื่อปี 2549คุณหวังว่าจะปราบไทยรักไทยมันก็มีพรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย โผล่ขึ้นมาเป็นแถว มันสะท้อนชัดว่าอำนาจในการปราบทำไม่ได้แล้ว ฉะนั้นวงจรเหล่านั้นมันไม่ได้เดินซ้ำที่เก่า มันเริ่มเปลี่ยนแล้ว” นิธิ อธิบาย
ถามว่าจะจัดการกับสถานะของทหารที่มีอำนาจเหนือการเมืองมาตลอดเวลาได้อย่างไร นิธิบอกว่า ไม่มีกองทัพที่ไหนที่ปีหนึ่งต้องเกณฑ์คนกว่า 1-2 แสนคนมา ทั้งที่ไม่ได้ไปรบกับใคร นอกจากรบกับประชาชน โดยอ้างว่าช่วยป้องกันประเทศไทยให้พ้นจากความระยำตำบอน รวมถึงไม่มีกองทัพประเทศไหนที่มีอำนาจเหนือพลเรือนเท่ากับการจัดการโครงสร้างกองทัพในบ้านเรา
“ผมว่าปล่อยไม่ได้ คุณต้องสลายมัน ต้องสลายอำนาจนอกระบบออกไปทั้งหมด ลองคิดดูว่า 1.ถ้าเผื่อกองทัพเหลือแต่เพียงส่วนบัญชาการการรบ สำหรับวางแผนยุทธศาสตร์เท่านั้น ถามว่าเหลือแค่นี้คุณจะเข้ามายุ่งการเมืองได้อย่างไร และ 2.ฝึกคนด้วยการเกณฑ์ทหารเข้ามา 6เดือน แล้วค่อยปล่อยเขาออกไปก็พอ หลังจากนั้น ก็ค่อยเรียกผลัดใหม่เข้ามา เราไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่ต้องมีทหารประจำการมากมายขนาดนั้น”
“ผมคิดว่าทหารอยู่ด้วยผลประโยชน์เท่านั้น ไม่มีเรื่องอื่นสิ่งที่น่าเสียใจก็คือ รัฐบาลอย่างยิ่งลักษณ์ หรือรัฐบาลทักษิณที่ชนะมาท่วมท้น ก็ไม่กล้าแตะกับทหารทั้งที่เขาควรแตะตั้งแต่วันแรก บอกไปเลยว่า จะเปลี่ยน พ.ร.บ.กลาโหมที่ออกสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์กลับไปเป็นอย่างเก่า ให้อำนาจรัฐบาลในการแต่งตั้งโยกย้าย แล้วก็ให้รู้ไปเลยว่า ถ้าเขากล้ารัฐประหารวันนั้น เพราะไปแตะ พ.ร.บ.กลาโหมก็เอาเลย แต่ยิ่งลักษณ์ก็ไม่กล้าเพราะคุณไม่มีกึ๋น คุณกลับไปใช้วิธีแบบเลียเท้าเขาแล้ว แล้วก็เชื่อว่าทหารจะยอมให้คุณอยู่ คุณไปเชื่อผิดตั้งแต่ต้น วันนี้คุณก็แก้อะไรไม่ทันแล้ว"นิธิสรุป
ย่างเข้าสู่ 1 ปี หลังการยึดอำนาจรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อันมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้า
เหตุผลสำคัญของการประกาศรัฐประหารวันนั้น คือการยุติความขัดแย้ง หลังการชุมนุมของ กปปส.ยืดเยื้อยาวนาน และมีสัญญาณของความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกขณะ ขณะเดียวกัน สัญญาณของการเผชิญหน้ากับคนเสื้อแดง ซึ่งมีแนวคิดตรงกันข้ามกับ กปปส.ชัดเจน ก็มีความเป็นไปได้ทุกเมื่อ
1 ปีให้หลังการรัฐประหาร พล.อ.ประยุทธ์ อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ควบตำแหน่งหัวหน้า คสช.มีอำนาจเด็ดขาดผ่านมาตรา 44 อยู่เหนือทั้งอำนาจบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ และเพิ่งแถลงผลงาน 6 เดือนรัฐบาล โดยเน้นเรื่องสำคัญคือการรักษาความสงบเรียบร้อย ขณะเดียวกัน ก็อยู่ระหว่างเดินหน้าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อส่งผ่านอำนาจให้กับรัฐบาลชุดต่อไปตามโรดแมป ซึ่งกำหนดไว้ตั้งแต่แรกว่าจะอยู่ที่ต้นปี 2559
ส่วนฝ่ายตรงข้ามอย่างยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เจ้าของพรรคเพื่อไทยตัวจริง นักการเมืองในซีกทักษิณ หรือแม้แต่กลุ่ม นปช. ล้วนอยู่ในสถานะสงบนิ่ง กลับกลายเป็นกลุ่มอิสระกลุ่มอื่นๆ ที่ออกมาเคลื่อนไหวจนถูกดำเนินคดี ขณะที่อีกหลายคนเลือกที่จะเดินทางออกไปต่างประเทศ ซึ่งสามารถเคลื่อนไหวได้เป็นอิสระกว่า
ในฐานะนักวิชาการที่แสดงความไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารชัดเจน เราสัมภาษณ์ ศ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอาวุโส เพื่อให้ประเมิน 1 ปีของสังคมไทยหลังการปกครองของคณะทหาร และประเมินทิศทางการเมืองหลังจากนี้ว่าจะเดินหน้าอย่างไรต่อ
“ผมคิดว่ามันเปลี่ยนไปในทางเลวลง ที่เห็นชัดก็คือเศรษฐกิจที่มันได้รับผลกระทบร้ายแรง ส่วนด้านอื่นผมก็ไม่เห็นมีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เป็นต้นว่า ตอนแรกคุณบอกจะไม่ทำรถไฟความเร็วสูง แต่สุดท้ายคุณก็ทำ หรือถ้าพูดถึงการปฏิรูป อย่างปฏิรูปการศึกษาหรือปฏิรูปเรื่องอื่น ผมก็เห็นมีแต่ตั้งคณะกรรมการ จะปฏิรูปอะไรก็ยังไม่ชัดเจน นี่คือความไม่ได้เรื่องที่ผมเห็นชัดเจน” นิธิ ตอบคำถามเรื่อง 1 ปีหลังยุค คสช.
นิธิ บอกว่า ความไม่เป็นชิ้นเป็นอันของนโยบายเหล่านี้ ทำให้ยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ และอนาคตของประเทศยังมองไม่เห็นว่าจะเดินต่อไปอย่างไร โดยเฉพาะในวันที่ อินโดนีเซีย เวียดนาม หรือแม้กระทั่งพม่า ซึ่งไทยเคยมีปัจจัยการผลิตเหนือกว่า มีแรงงานที่มีคุณภาพกว่า กำลังค่อยๆ แซงขึ้นนำ และไทยไม่มีอะไรที่จะสามารถแข่งขันได้
ก่อนจะบอกอีกว่า โจทย์เดียวที่รัฐประหาร 22 พ.ค. ตอบได้ก็คือ การ “หยุด” ไม่ให้การเมืองมวลชนเดินหน้าไปต่อ และย้อนเวลากลับไปใช้อำนาจนอกระบบ เพื่อให้ระบบ “การเมืองมวลชน” ที่เติบโตขึ้นมาในช่วง 10 ปีให้หลังมานี้ ช้าลงไป เพื่อให้ชนชั้นนำกลับมาเป็นผู้นำเหนือกลุ่มการเมืองมวลชนแทน
การเมืองมวลชน ในนิยามของนิธิก็คือ การให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมือง ผ่านการเลือกตั้ง และผ่านการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย มากกว่าจะให้ชนชั้นนำมาเดินหน้าการเมืองเพียงกลุ่มเดียวอย่างในอดีต
“ที่เห็นชัดก็คือชนชั้นนำเราถูกปลูกฝังในระบบเก่าแยะ ทั้งที่เขาสามารถรักษาผลประโยชน์ในระบบการเมืองมวลชนแบบสร้างสรรค์ไว้ได้ ใน อังกฤษ อเมริกา ชนชั้นนำที่ได้ประโยชน์จากการเมืองมวลชนก็มีอยู่มาก ถามว่าชนชั้นนำไทยทำแบบนั้นได้ไหม ผมเชื่อว่าทำได้ เพราะคุณมีต้นทุนสูงมาก พราะคุณเป็นผู้กุมวัฒนธรรมชั้นสูง คุณถือครองทรัพย์สินสูงมาก คุณใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นในการที่จะทำให้คุณได้เปรียบในการแข่งขันกับการเมืองมวลชนได้ แต่หลังการรัฐประหารที่ผ่านมาสะท้อนว่าเขาไม่ทำ แล้วกลับมาหาทางหยุดยั้งการเติบโตของการเมืองมวลชนแทน”
“แต่ในที่สุดคุณก็ไม่สามารถหยุดยั้งได้ นอกจากใช้อำนาจนอกระบบมาหยุดยั้งมันผ่านการรัฐประหาร ถามว่าอะไรเกิดขึ้นหลังการรัฐประหาร ก็คือการเมืองมวลชนมันช้าลงไป ถ้าคุณอยู่ปีก็ช้าไปปี ถ้าอยู่สองปีก็ช้าไปสองปี แต่บอกได้เลยว่าสิ่งที่คุณทำตอนนี้ ไม่สามารถอยู่ได้ในประเทศไทย เพราะประเทศมันเปลี่ยนไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญ หรืออย่างอื่นที่คุณทำมา มันไม่ใช่สิ่งที่จีรังยั่งยืนทั้งสิ้น มันได้แค่เบรกการเมืองมวลชนได้แค่ช่วงหนึ่ง แล้วเบรกไปทำไมก็ไม่รู้เหมือนกัน” นิธิ ระบุ
ส่วนข้ออ้างในการรักษาความสงบของ คสช.นั้น นิธิตั้งคำถามว่า ตั้งแต่เริ่มชุมนุมในเดือน ต.ค. 2556 ลากยาวมานานหลายเดือน ทำไมทหารไม่ออกมารักษาความสงบในช่วงที่ยังมีประชาธิปไตยอยู่ แต่กลับเลือกที่จะยึดอำนาจแล้วบริหาร ซึ่งสุดท้ายก็สร้างปัญหาอื่นตามมา
“ผมไม่เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศเชื่อว่ารัฐประหารทำให้ประเทศสงบ ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา คุณก็เห็นว่ามันไม่สงบแล้ว มันเกิดอะไรต่อมิอะไรตามมาหลังจากนั้น และถ้าหากย้อนหลังกลับไปตั้งแต่รัฐประหารของ รสช.ปี 2534 คุณก็จะพบว่ามันก็ไม่สงบ รัฐประหารเป็นเครื่องมือที่ใช้ไม่ได้นานแล้ว ถ้าคุณรู้จักคิดย้อนหลังกลับไป คุณจะรู้ว่ามันไม่ใช่เครื่องมือที่เคยใช้ได้ผลอย่างที่สมัยหนึ่งเคยใช้มา”
“คือคุณจะทะเลาะกับยิ่งลักษณ์ก็ทะเลาะไป จะเรียก ‘อีปู’ ก็ตามสบายเรื่องของคุณ แต่ตราบใดที่มันมีกติกาอยู่ คุณก็ต้องคิดสิว่าจะทำอย่างไรให้อีปูได้คะแนนเสียงไม่เท่ากับคุณ คุณก็หาทางทำให้อีปูไม่ได้คะแนนเสียงเท่ากับคุณสิ นี่คือวิธีการต่อสู้ แต่นี่คุณไม่ทำ คุณก็เรียกหาทหารมาวางแผนกันยึดอำนาจแทน” นิธิ กล่าว
ขณะที่เสียงต้านหลังรัฐประหารที่หลายคนเห็นว่า “แผ่ว” เกินกว่าที่ควรจะเป็นนั้น นิธิเห็นตรงกันข้าม และระบุว่า กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับ คสช.นั้นมีจำนวนมาก และมากจนถึงขนาดที่ว่าทำให้คณะทหารยังคงใช้ “กฎหมายพิเศษ” รักษาความมั่นคงของรัฐบาลตัวเองอยู่
“ถ้ามันแผ่ว แล้วทำไมเสียงจากภายนอกทั้งจากสหรัฐอเมริกา ทั้งจากสหภาพยุโรป ต้องออกมาต่อต้านรัฐประหาร มันไม่ใช่หรอก ถ้าเปรียบเทียบกับทุกครั้งที่ผ่านมา คุณจะพบว่าไม่มีการต่อต้านรัฐประหารครั้งไหนที่มีการต่อต้านมากเท่านี้ และมีเสียงต้านออกมาตั้งแต่วันแรกด้วย”
ด้วยเหตุนี้ ทหารจึงยังต้องคงอำนาจไว้ เพราะรู้ว่าวันใดก็ตามที่ไม่เหลืออำนาจนี้อยู่ คนจะออกมาที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิอีก ซึ่งนิธิบอกว่า หากวันนี้ทหารเชื่อมั่นว่าคนสนับสนุนทั้งในเมืองและสนับสนุนทั้งประเทศจริง ก็ขอให้ยกเลิกมาตรา 44 และยกเลิกกฎหมายพิเศษอื่นๆ ในการคุมอำนาจ
นิธิยืนยันว่า วันนี้ กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร ไม่ได้กลัวกฎหมายพิเศษอีกต่อไป สะท้อนชัดจากปฏิกิริยาเมื่อวันที่นักศึกษายืนล้อมกันเป็นวงกลมที่หน้าศาลทหาร เพื่อกดดันไม่ให้ทหารจับตัวกลุ่ม “พลเมืองโต้กลับ” จนในที่สุดทหารก็ต้องเลือกปล่อยตัว
“ผมไม่แน่ใจว่าสยบได้จริงไหม การที่นักศึกษาไปยืนล้อมที่ศาลทหารแล้วชูสามนิ้วบอกว่าจับเลย เขาพร้อมให้จับ อันนั้นมันแสดงว่าเขาไม่กลัว แล้วมันจะจำกัดเฉพาะนักศึกษากลุ่มนั้นหรือ ซึ่งไม่น้อยนะ หรือมันจะกระจายต่อไปอีก คุณอย่าลืมนะว่า ถ้ามีคนที่พร้อมจะเข้าคุกเป็นพันๆ คนในประเทศไทย คุณก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรแล้ว เพราะฉะนั้นคุณฝืนมันไม่ได้หรอก”
ด้วยฝีมือขนาดนี้ "เขา" อยู่นานไม่ได้
แม้ พล.อ.ประยุทธ์ จะประกาศโรดแมปว่ารัฐบาลจะอยู่ไม่เกินต้นปี 2559 แต่ก็มีเสียงยุส่งให้รัฐบาลอยู่ต่อไปนานเกิน 2 ปีอยู่จำนวนมาก แม้กระทั่งจากพรรคการเมืองสำคัญอย่างพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยเหตุผลที่ว่า เวลาขณะนี้สั้นเกินไปที่จะจัดโครงสร้างการเมือง แก้ปัญหาความขัดแย้งและดำเนินการเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปประเทศ ขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญที่ร่างออกมา ก็ยังมีหลายจุดที่เป็นช่องโหว่ซึ่งอาจเกิดปัญหาหากนำมาใช้จริง
นิธิเดาไม่ถูกว่ารัฐบาลชุดนี้จะอยู่นานขนาดไหน แต่เขาเชื่อว่า ด้วยฝีมือขนาดนี้จะไม่สามารถอยู่นานได้ เพราะเห็นชัดว่ายิ่งอยู่ยิ่งสร้างศัตรูมากขึ้นทุกวัน และผลงานในการประคับประคองเศรษฐกิจก็ชัดเจนว่าต่ำกว่ามาตรฐาน แต่จะเดินต่อไปอย่างไรนั้น สูตรสำเร็จในอดีต ก็มีอยู่ 3 ทางก็คือ คืนอำนาจให้ประชาชน ปล่อยให้ประชาชนล้ม หรือลงจากอำนาจแล้วหาทางสืบทอดอำนาจต่อ
“ก็แน่นอน รัฐประหารทุกครั้ง มีความพยายามสืบทอดอำนาจ ถ้าใช้สำนวน อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริก็คือ คุณขึ้นหลังเสือ แล้วคุณไม่รู้จะลงยังไง เว้นแต่มีบันไดทอดลงมา แล้วเสือไม่กัดคุณเท่านั้น แต่ผมยังไม่พบว่ามันประสบความสำเร็จสักครั้ง ยกเว้นครั้งจอมพลสฤษดิ์ส่งต่ออำนาจให้ จอมพลถนอมจอมพลประภาส แต่สุดท้ายหลังจอมพลถนอมทำรัฐประหารตัวเองก็อยู่ได้แค่สองปี สุดท้ายก็เกิด
เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ขึ้น ถามว่า วันนี้จะสืบทอดอำนาจ มันไม่ง่ายนะ”
“วันนี้ ที่เราเห็นเฉพาะศัตรูของ คสช.ที่อยู่นอกกองทัพ แต่ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา สะท้อนว่าการสืบทอดอำนาจมันไม่ง่าย เพราะคนนอกอย่างเราไม่รู้ว่า ในกองทัพมีศัตรูเกิดขึ้นหรือเปล่า เอาง่ายๆ ก็คือ การแต่งตั้งโยกย้าย ผบ.เหล่าทัพ หรือ ผบ.ทบ.คนใหม่ คุณจะตั้งใคร แล้วมันจะเกิดความขัดแย้งหรือเปล่า เพราะไม่ว่าจะตั้งใครก็ตาม ทุกคนที่จะได้ขึ้นเป็น ผบ.ทบ.ได้สั่งสมกำลังสายตัวเองไว้ทั้งนั้นซึ่งคงไม่มีใครสะสมไว้เล่นๆ หรอก”นิธิ ระบุ
ขณะที่ความรังเกียจนักการเมือง ซึ่งยังคงฝังอยู่นั้น นิธิบอกว่า เกิดจากการปลูกฝังเรื่อง “นักการเมืองโกง” และการเรียกการเมืองว่าเป็น “นักเลือกตั้ง” ซึ่งแม้จะจริงในระดับหนึ่ง แต่ระบบที่เคยมีก็ยังทำให้นักเลือกตั้งถูกตรวจสอบได้
“ถ้าคุณเข้ามาในระบอบที่เลือกตั้งสม่ำเสมอ ผมว่าไอ้การเป็นนักเลือกตั้งมันก็ค่อยๆ น้อยลงเองผมว่าเหลวไหล ที่บอกว่าไปหาคนดีมาให้คนเลือก ที่ถูกคือคุณต้องสร้างอำนาจของสังคม ที่คุณสามารถกำกับควบคุม สส.ได้ ไม่ใช่ให้ สส.มันดีในตัวมันเอง มันก็มนุษย์ขี้เหม็นเหมือนเรา พอมีโอกาสที่จะเอาเปรียบคนอื่นก็เอาเปรียบ แต่คุณต้องคิดว่าทำอย่างไรให้สังคมมีระบบที่จะเข้าไปกำกับควบคุมได้ ไม่ให้มันทำชั่วอย่างนั้น ไม่ใช่เอาแต่คนอีกพวกหนึ่งไปคุม”เขาแสดงความเห็น
ส่วนสาเหตุที่ พรรคเพื่อไทย และกลุ่มคนเสื้อแดง “เงียบ” จนเกินเหตุนั้น นิธิมองว่า เพราะ 1.พรรคเพื่อไทยถูกล็อกจนขยับไม่ได้ และ 2.นโยบายตอนแรกๆ ของพรรคเพื่อไทยคือยอมเว้นวรรคทางการเมืองเพื่อหวังว่าเมื่อรัฐธรรมนูญออกมาแล้ว ตัวจะชนะอีก ก็เลยเลือกที่จะเว้นวรรคทางการเมือง และคิดว่าหลังจากทหารปล่อยวางอำนาจ พรรคเพื่อไทยก็จะกลับมาชนะอีกครั้ง
“เมื่อปี 2550 ผมรณรงค์ให้ไม่รับรัฐธรรมนูญ 2550 แล้วก็พ่ายแพ้ ซึ่งเหตุผลที่พ่ายแพ้ ไม่ใช่เพราะทหารไปล็อกคนอยู่ที่อีสานหรอก ที่พ่ายแพ้ก็เพราะว่าพรรคพลังประชาชนขณะนั้น รวมถึงคุณทักษิณ แกต้องการให้มีการเลือกตั้งแล้วตัวจะได้กลับมา ซึ่งก็จริงของแก แต่ว่า แล้วประชาชนได้ประโยชน์อะไร คำตอบคือประชาชนไม่ได้อะไรเลย”
“คือถามว่าคุณทักษิณเป็นนักปฏิรูป นักปฏิวัติ ใช่ไหม ไม่ใช่ คุณทักษิณเป็นนักการเมืองคนหนึ่งเพียงแต่คุณทักษิณอาจจะฉลาดกว่าคุณชวน (ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี) หรือคุณอภิสิทธิ์ เท่านั้นแต่ยุทธวิธีที่ใช้ในการดำรงอำนาจทางการเมืองยังเป็นยุทธวิธีเก่าเป็นส่วนใหญ่เท่านั้นเอง”
หมดเวลาทหารคุมนักการเมือง
หนึ่งในทฤษฎีที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยก็คือการเรียกขานว่าเป็น “วงจรอุบาทว์” กล่าวคือ มีนักการเมืองซื้อเสียงเลือกตั้งเข้ามาคอร์รัปชั่นเกิดวิกฤตการณ์จนทหารต้องยึดอำนาจ และพอทหารเข้ามาร่างรัฐธรรมนูญ ลงจากอำนาจแล้วก็เลือกตั้งใหม่ หลังจากนั้นก็เกิดปัญหาอีกครั้ง ซ้ำซากไม่รู้จบ
“ถ้าคุณเชื่อว่าเป็นวงจรจริงก็ขอให้สังเกตว่าหลังเหตุการณ์14 ตุลาฯ วงจรมันห่างขึ้นเรื่อยๆที่ผมคิดว่าน่าสนใจก็คือ ในขณะที่ทหารเข้ามาแล้วบอกว่ามาปราบนักการเมือง ปัจจุบันมันไม่จริงแล้ว เพราะปรากฏว่านักการเมืองนั้น ทหารปราบมันไม่ได้ เวลานี้ทั้งประชาธิปัตย์ ทั้งเพื่อไทยกำลังเริ่มดิ้นรน กระด้างกระเดื่องกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เมื่อปี 2549คุณหวังว่าจะปราบไทยรักไทยมันก็มีพรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย โผล่ขึ้นมาเป็นแถว มันสะท้อนชัดว่าอำนาจในการปราบทำไม่ได้แล้ว ฉะนั้นวงจรเหล่านั้นมันไม่ได้เดินซ้ำที่เก่า มันเริ่มเปลี่ยนแล้ว” นิธิ อธิบาย
ถามว่าจะจัดการกับสถานะของทหารที่มีอำนาจเหนือการเมืองมาตลอดเวลาได้อย่างไร นิธิบอกว่า ไม่มีกองทัพที่ไหนที่ปีหนึ่งต้องเกณฑ์คนกว่า 1-2 แสนคนมา ทั้งที่ไม่ได้ไปรบกับใคร นอกจากรบกับประชาชน โดยอ้างว่าช่วยป้องกันประเทศไทยให้พ้นจากความระยำตำบอน รวมถึงไม่มีกองทัพประเทศไหนที่มีอำนาจเหนือพลเรือนเท่ากับการจัดการโครงสร้างกองทัพในบ้านเรา
“ผมว่าปล่อยไม่ได้ คุณต้องสลายมัน ต้องสลายอำนาจนอกระบบออกไปทั้งหมด ลองคิดดูว่า 1.ถ้าเผื่อกองทัพเหลือแต่เพียงส่วนบัญชาการการรบ สำหรับวางแผนยุทธศาสตร์เท่านั้น ถามว่าเหลือแค่นี้คุณจะเข้ามายุ่งการเมืองได้อย่างไร และ 2.ฝึกคนด้วยการเกณฑ์ทหารเข้ามา 6เดือน แล้วค่อยปล่อยเขาออกไปก็พอ หลังจากนั้น ก็ค่อยเรียกผลัดใหม่เข้ามา เราไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่ต้องมีทหารประจำการมากมายขนาดนั้น”
“ผมคิดว่าทหารอยู่ด้วยผลประโยชน์เท่านั้น ไม่มีเรื่องอื่นสิ่งที่น่าเสียใจก็คือ รัฐบาลอย่างยิ่งลักษณ์ หรือรัฐบาลทักษิณที่ชนะมาท่วมท้น ก็ไม่กล้าแตะกับทหารทั้งที่เขาควรแตะตั้งแต่วันแรก บอกไปเลยว่า จะเปลี่ยน พ.ร.บ.กลาโหมที่ออกสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์กลับไปเป็นอย่างเก่า ให้อำนาจรัฐบาลในการแต่งตั้งโยกย้าย แล้วก็ให้รู้ไปเลยว่า ถ้าเขากล้ารัฐประหารวันนั้น เพราะไปแตะ พ.ร.บ.กลาโหมก็เอาเลย แต่ยิ่งลักษณ์ก็ไม่กล้าเพราะคุณไม่มีกึ๋น คุณกลับไปใช้วิธีแบบเลียเท้าเขาแล้ว แล้วก็เชื่อว่าทหารจะยอมให้คุณอยู่ คุณไปเชื่อผิดตั้งแต่ต้น วันนี้คุณก็แก้อะไรไม่ทันแล้ว"นิธิสรุป
ฤๅษีที่เหาะได้กำลังปฏิรูปประเทศ
มอตโตที่สำคัญที่สุดตลอดการชุมนุมของ กปปส.ระหว่างเดือน ต.ค. 2556 ไปจนถึงเดือน พ.ค. 2557 ก็คือ “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” จนสามารถผลักดันคนเรือนแสนให้ลงมาบนท้องถนน เพื่อยืนยันจุดยืนการปฏิรูป
หลัง พล.อ.ประยุทธ์ ยึดอำนาจ คสช.ได้แต่งตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อดำเนินการปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน ทำงานควบคู่ไปกับรัฐบาล และในรัฐธรรมนูญที่กำลังร่างอยู่ ก็มีข้อกำหนดผูกพันให้รัฐบาลชุดใหม่ต้องทำตามโดยไม่มีเงื่อนไข เนื่องจากมีคณะกรรมการปรองดอง และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ คอยทำหน้าที่ต่อ
ขณะที่ผลพวงสำคัญอย่างหนึ่งจากการปฏิรูปการเมืองและกรอบคิดที่ว่านักการเมืองเลวก็คือ การตั้ง “สมัชชาพลเมือง” สำหรับตรวจสอบนักการเมืองทุกคนก่อนเข้ารับตำแหน่ง
นิธิ แสดงความคิดเห็นว่า องค์กรเหล่านี้ไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชน แต่เป็นตัวแทนของชนชั้นนำ ที่คิดตื้นๆ แต่เพียงว่าจะเอาคนที่ดีกว่ามาปกครองคนที่เลวกว่า
“มันกลายเป็นว่า สมัชชาพลเมือง แต่ไม่ใช่ตัวแทนของพลเมือง ขณะที่วุฒิสภา ก็ไม่ใช่ตัวแทนของประชาชน ถ้าเราเชื่อในเรื่องการตรวจสอบ ก็ต้องถามว่าใครตรวจสอบสมัชชาคุณธรรม ใครตรวจสอบคณะกรรมการปรองดอง หัวใจของระบบการปกครองที่คุณเรียกว่า ‘ธรรมาภิบาล’ ก็คือ การสร้างระบบตรวจสอบกันและกัน ไม่ใช่มีนายที่ฉลาด เมตตากรุณา แล้วก็ปกครองอย่างดีที่สุดมาทำหน้าที่กลุ่มเดียว ไม่มีการปกครองแบบไหนในโลกนี้ทำกัน”
“การปฏิรูปทั้งหลายในทัศนะผม มันต้องทำด้วยความยินยอมพร้อมใจของคนส่วนใหญ่ในประเทศ คุณเป็นฤๅษีเทวดาที่ไหนไม่รู้แล้วเหาะลงมาจะเปลี่ยนแปลงประเทศนั้น ผมว่าเป็นไปไม่ได้ ผมไม่เชื่อในทฤษฎีชาดกแบบเรื่อง ‘พระมหาชนก’ ว่าอยู่ดีๆ มีเทวดาเหาะลงมาแล้วทำปัญหาทุกอย่างให้มันหมดไป ไม่มีหรอก มันไม่เคยเกิดขึ้นจริง” นิธิ ระบุ
ในฐานะนักประวัติศาสตร์ นิธิ ยืนยันว่า ตั้งแต่หมดยุคจอมพลสฤษดิ์ การปฏิรูปในรัฐบาลรัฐประหาร ไม่เคยประสบความสำเร็จเลยสักเรื่อง ยกตัวอย่างเช่น การปฏิรูปการศึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) พูดตั้งแต่เมื่อรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อปี 2531 แต่จนถึงบัดนี้ การศึกษาไทยก็ยังย่ำอยู่กับที่
“คือถ้าคุณจะปฏิรูปการศึกษา คุณต้องได้รับความยินยอมพร้อมใจเห็นด้วยจากคนจำนวนมาก ไม่ใช่แค่ครูอย่างเดียวนะ แต่ต้องผู้ปกครอง และคนอีกจำนวนมหาศาล ยกตัวอย่างถ้าคุณจะย้ายครูที่ไม่ได้เรื่องออก 1 คน เขาก็จะไปรวมพวกมาสู้กับคุณ ทั้งที่สอนไม่ได้เรื่องเอง แล้วการปฏิรูปนั้นก็จะมีปัญหา เพราะคุณเอาแต่ย้ายครูที่ไม่ได้เรื่อง แต่ไม่ได้สนใจที่จะเปลี่ยนการเรียนการสอนในห้องเรียนภาพรวม เพราะฉะนั้นการปฏิรูปไม่อาจเกิดขึ้นได้ หากไม่เริ่มจากการทำให้คนยินยอมพร้อมใจ” นิธิ แสดงความเห็น
ส่วนการปฏิรูปการเมือง ที่แม้จะมีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาร่วมด้วยเป็นจำนวนมากนั้น นิธิ ก็บอกว่า คนเหล่านี้คือ “ฤๅษีที่เหาะลงมา” แล้วชี้เลยว่าอะไรดี และอะไรไม่ดีเท่านั้น ไม่ได้สนใจว่าประชาชนคิดอย่างไร และสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปถึงไหนแล้ว
“ฤๅษีที่เหาะมาเหล่านี้ ทำเหมือนการเมืองเป็นศาสตร์ลี้ลับ ที่เฉพาะผู้รู้จากขอบจักรวาลเท่านั้นจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงได้ ขอโทษ คุณเป็นพระโพธิสัตว์หรือเปล่า ผมคิดว่าเขาไม่ใช่ เมื่อไม่มีพระโพธิสัตว์ เหตุฉะนั้น เราจึงต้องการการยินยอมพร้อมใจ การยินยอมพร้อมใจจึงหมายถึงการที่เขาค้านได้ เปลี่ยนได้ ท้วงติงได้ แก้ไขได้ เขาถึงจะยินยอมพร้อมใจกับคุณ ปราศจากสิ่งเหล่านี้ก็เป็นไปไม่ได้ ไม่มีการปฏิรูปที่ไหนจะเดินไปได้ ไอ้นั่นคุณต้องกลับไปอ่านคัมภีร์โบราณแล้ว”
ด้วยเหตุนี้ นิธิ จึงเชื่อว่าทั้งโรดแมปและรัฐธรรมนูญจาก คสช.จะมีอายุสั้นมาก และไม่สามารถใช้ได้จริง เพราะกระบวนการการรับฟัง การท้วงติงโดยประชาชน แทบจะไม่เกิดขึ้นเลยในช่วงของการร่างรัฐธรรมนูญ
“มันเป็นไปไม่ได้หรอก ไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาลก็แล้วแต่ ยกเว้นแต่พวกเขาเอง ใครก็ตามที่เข้ามาเดินไม่ได้ วางนโยบายไม่ได้ คุณวางนโยบาย ถ้าเขาไม่ชอบหน้าคุณ ก็ให้อีกสภาหนึ่งมาบอกว่านี่เป็นประชานิยม คุณก็อยู่ไม่ได้ เพราะฉะนั้นคุณบริหารไม่ได้ จบ” นิธิ ระบุ
“ส่วนคุณจะปกครองได้ไหม คุณต้องเข้าใจว่าอะไรเกิดความเปลี่ยนแปลงไปบ้าง รัฐประหารที่ประสบความสำเร็จสมัยนี้ ถามว่าจะเกิดได้ไหม คำตอบคือไม่รู้ ถามว่าเป็นไปได้ไหม ก็อาจจะเป็นไปได้ เช่น คุณดำเนินนโยบายเหมือนกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง คุณก็จะสามารถสยบคนจำนวนหนึ่งที่เขาต้องการการอุดหนุนจากรัฐไปได้ตามเดิม คำถามก็คือ แล้วจะปฏิวัติไปทำไมวะ”
“ผมอยากบอกว่า มันไปไม่ได้ที่เขาจะปกครอง เพราะมันขัดกับความเป็นจริงของประเทศ สังคมไทยมันเปลี่ยนไปแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีเพื่อให้พวก...(นิ่งคิด) ตรงไปตรงมาเลยคือ รัฐธรรมนูญฉบับอื่นก่อนหน้านี้ มันก็เหมือนอย่างนี้แหละ แต่มันซ่อนเงื่อน มันแฝงเอาไว้ไม่ให้คุณรู้สึก แต่ฉบับนี้พูดกันอย่างตรงไปตรงมาเลยว่า ประเทศนี้เป็นของชนชั้นนำ คุณไม่เกี่ยว ชนชั้นนำจะเป็นคนปกครองคุณเอง” นิธิ สรุป
ขายทรัพยากร ทางรอดเดียวของทุนไทย
ปรากฏการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น1 ปี หลังการก้าวขึ้นสู่อำนาจของคสช. ก็คือ ดูเหมือนว่าการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ จะเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น โดยมีกองทัพเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กับเจ้าของธุรกิจ
พล.อ.ประยุทธ์ นั้นชัดเจนว่าสนับสนุนการก่อสร้างท่าเรือนน้ำลึกปากบารา ที่ อ.ละงู จ.สตูล ทั้งที่มีเสียงคัดค้านจากคนในพื้นที่อย่างหนาแน่น ขณะเดียวกันภาพที่สะท้อนชัดอีกภาพหนึ่งก็คือ การที่กำลังทหารนำกำลังคุ้มกันนายทุนเข้าพื้นที่หมู่บ้านนามูล-ดูนสาด อ.กระนวน จ.ขอนแก่นเพื่อขุดเจาะสำรวจตามสัมปทานปิโตรเลียม เมื่อต้นเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา จนชาวบ้านต้องก้มลงกราบทหารกับพื้
“ทุนไทยอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขันในระดับภูมิภาคลำบาก เพราะว่าทุกอย่างเกือบเรียกได้ว่ามันสายไปแล้ว อย่างการผลิตคนที่มีความสามารถในตัวเองเข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้นก็ทำไม่ได้เลยในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาขณะที่ค่าแรงเราก็สูงกว่าคนอื่น ส่วนการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน มันก็ไม่ทันเขา แม้จะมีโครงการรถไฟความเร็วสูง มันก็คือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่จะให้แก้ปัญหารากลึกวันนี้มันไม่ทันแล้ว เพราะฉะนั้นถามว่า ทุนไทยจะอยู่รอดยังไง คำตอบก็คือ เอาทรัพยากรไปขาย มีฟอสเฟต มีก๊าซ มีอะไร ก็เอาไปขายให้หมด”
ในความเห็นนิธิ ทั้งทหารและนายทุน อยู่ในสถานะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะเปิดสัมปทาน หรือขุดเจาะสำรวจ และมองข้ามปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ เพราะด้วยปัจจัยขณะนี้ กลุ่มทุนไทยไม่เหลือทางเลือกอื่นมากนัก
“แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะสู้ไม่ได้นะ เวลาที่คนขอนแก่นก้มไปกราบเท้าทหารจนภาพออกสื่อออนไลน์ไปหมด ผมคิดว่าเขาสู้แล้ว การก้มไปกราบเท้าทหาร ทหารพอใจหรือไม่ที่มีคนมากราบเท้าตัวเอง เขาไม่พอใจหรอก แต่แน่นอน เขาหยุดขุดทันทีไม่ได้ เขาหยุดทำเหมืองก็ไม่ได้เหมือนกัน แต่แค่ทำให้นายทุนรู้สึกว่ามีแรงต้านทานก็พอแล้ว วันหนึ่งคุณอยากจะกู้เงินกับธนาคารต่างประเทศ ถ้ามีคนมาต้าน ธนาคารต่างประเทศเขาจะบอกทันทีว่าเสี่ยงเกินไปที่จะปล่อยกู้ แต่ถ้าคุณอาจจะขอกู้กับไทยพาณิชย์ได้ผมไม่รู้”
“คือถ้ามันมีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ในรัฐบาลปกติ เขาก็ต้องกลัวเพราะประชาชนที่ไปกราบเขา ก็คะแนนเสียงของเขาทั้งนั้น คือบอกอำนาจประชาชน มันมาจากไหน หลายอย่างด้วยกัน แต่ที่ขาดไม่ได้คือคะแนนเสียง ยังไงก็ทิ้งไม่ได้ แต่บอกว่าคะแนนเสียงอย่างเดียว ไม่ใช่ มันมีอำนาจอื่นๆ อีก แต่คะแนนเสียงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ และคะแนนเสียงนี่แหละที่จะสะท้อนอำนาจประชาชนว่าเขาต้องการอะไร นี่คือสิ่งที่คะแนนเสียงสามารถให้คำตอบเราได้ และเผด็จการให้เราไม่ได้”