6 เดือน คสช.ส่งให้เศรษฐกิจไทยปี 58 "เผาจริง"
SAT, 04/18/2015 - 10:56 JOM
ที่มา Thai Voice Media
อาจารย์พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ Thaivoicemedia หลังจาก การแถลงผลงานรัฐบาล คสช. โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมาว่า กว่า 2 ชั่วโมงที่นายกรัฐมนตรีแถลงผลงาน ไม่ได้รับความสนใจจากประชาชนเท่าที่ควร เพราะไม่มีอะไรที่เป็นความหวัง แต่กลับซ้ำเติมประเทศในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ที่ตกต่ำซบเซามาตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว จนถึงรัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร ได้ซ้ำเติมเศรษฐกิจของประเทศ เพราะถูกหลายประเทศกดดัน การส่งออกในไตรมาสแรกลดลงร้อยละ 5.0 เป็นผลให้เศรษฐกิจไทยเติบโตต่ำกว่าที่คาดการณ์ร้อยละ 1.6
อาจารย์พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ Thaivoicemedia หลังจาก การแถลงผลงานรัฐบาล คสช. โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมาว่า กว่า 2 ชั่วโมงที่นายกรัฐมนตรีแถลงผลงาน ไม่ได้รับความสนใจจากประชาชนเท่าที่ควร เพราะไม่มีอะไรที่เป็นความหวัง แต่กลับซ้ำเติมประเทศในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ที่ตกต่ำซบเซามาตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว จนถึงรัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร ได้ซ้ำเติมเศรษฐกิจของประเทศ เพราะถูกหลายประเทศกดดัน การส่งออกในไตรมาสแรกลดลงร้อยละ 5.0 เป็นผลให้เศรษฐกิจไทยเติบโตต่ำกว่าที่คาดการณ์ร้อยละ 1.6
ทั้งนี้นอกจากเป็นเพราะสภาวะเศรษฐกิจคู่ค้าของไทยและการที่สินค้าส่งออกของไทยหลายร้อยรายการถูกสหภาพยุโรปตัดสิทธิพิเศษทางการค้าแล้ว ก็ยังมีสาเหตุ การสูญเสียความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยโดยรวมที่ยังคงล้าหลัง ยังคงใช้แรงงานราคาถูกและทักษะต่ำ เน้นแข่งขันด้วยราคา ขณะที่ประเทศคู่แข่งกำลังไล่ตามมาด้วยแรงงานที่ราคาถูกกว่า แต่เทคโนโลยีและผลิตภาพใกล้เคียง แล้วยังได้สิทธิพิเศษทางการค้ามากกว่าอีกด้วย ดังนั้น ต้นปี 2558 เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณบวกเพียงตัวเดียวคือ จำนวนนักท่องเที่ยวในสองเดือนแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งหมดนี้ เป็นผลให้การจัดเก็บรายได้ภาครัฐลดลงร้อยละ 5.5 ในเดือนมกราคมและร้อยละ 10.8 ในเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนดุลเงินสดมียอดติดลบสูงถึงหนึ่งแสนล้านบาทในเดือนมกราคมเพียงเดือนเดียว
เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกปี 2558 จึงยังอยู่ในสภาวะซบเซาอย่างหนัก และคงไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างแข็งแรงในครึ่งหลังของปี เพราะเศรษฐกิจสหภาพยุโรปจะยังคงอ่อนแอ ขณะที่ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจะทำให้เงินทุนในเอเซียและประเทศไทยไหลกลับไปตลาดสหรัฐฯ เป็นแรงกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่สามารถลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้อีก ในขณะที่ค่าเงินตราประเทศในเอเซียจะอ่อนตัวลงจากการไหลออกของเงินทุน ผลก็คือ เงินบาทไทยจะแข็งค่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง ทั้งหมดนี้ จะทำให้การใช้จ่ายภายในประเทศซบเซาต่อไปและการส่งออกของไทยไม่ฟื้นตัว ทั้งหมดนี้ ทำให้เป้าหมายการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2558 ที่ร้อยละ 4.0-4.5 ไม่อาจเป็นจริงได้อย่างแน่นอน