วันพุธ, เมษายน 22, 2558

‘อียู’แจกใบเหลืองสินค้าประมงไทย ขีดเส้น 6 เดือนประเมินใหม่ หากถูกแดงกระทบส่งออก3หมื่นล้าน



ที่มา ข่าวสดออนไลน์
วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

เมื่อวันที่ 21 เม.ย. ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรฯ เรียกนายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรฯ นายจุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมประมง และนายฉันทานนท์ วรรณเขจร ผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชุมด่วนรับมือกรณีสหภาพยุโรป(อียู) ออกประกาศให้ใบเหลืองสินค้าประมงไทยอย่างเป็นทางการ ในเวลาประมาณ 17.00 น. ตามเวลาประเทศไทย หลังจากก่อนหน้านี้อียู พิจารณาว่าสินค้าประมงไทยเข้าข่ายการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และขาดการควบคุม(ไอยูยู) ตามหลักเกณฑ์ของอียู

นายชวลิต กล่าวว่า สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำอียู ได้แจ้งให้รับทราบว่า อียูประกาศให้ใบเหลืองแก่สินค้าประมงไทยอย่างเป็นทางการ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าเข้าข่ายไอยูยู ตามหลักเกณฑ์ของอียู อย่างไรก็ตามการออกใบเหลืองอย่างเป็นทางการของอียูในครั้งนี้ จะยังไม่มีผลทันทีต่อการส่งออกสินค้าประมงไทยไปตลาดอียู ซึ่งมีปริมาณเฉลี่ยปีละ 200,000 ตัน มูลค่าเฉลี่ยปีละประมาณ 30,000 ล้านบาท เนื่องจากอียู จะให้เวลาประเทศไทยปรับปรุงกฎหมาย และมาตรการต่างๆ ในการควบคุมการทำการประมง เป็นระยะเวลา 6 เดือน

“ในระหว่างนี้ อียูก็จะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาประเมินความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหาไอยูยูของไทยเป็นระยะ ก่อนที่จะมีการพิจารณาอีกครั้งในช่วงเดือนต.ค.นี้ ว่าจะประกาศถอดใบเหลือง หรือออกใบแดงห้ามไทยส่งออกสินค้าประมงทั้งหมดไปอียู”

ทั้งนี้ ใบเหลืองที่อียูประกาศให้ไทยอย่างเป็นทางการครั้งนี้ ไม่ได้เกิดจากอียูไม่พอใจมาตรการแก้ปัญหาไอยูยูของรัฐบาลชุดปัจจุบัน แต่เป็นผลจากการทำประมงของไทยในช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งขณะนี้รัฐบาลและกระทรวงเกษตรฯ เร่งเดินหน้ามาตรการแก้ไขปัญหาไอยูยู ไปพร้อมๆกับแจ้งเตือนและทำความเข้าใจกับอียูอย่างต่อเนื่องใน 6 มตรการที่ไทยกำลังเดินหน้าอย่างจริงจัง ประกอบด้วย 1.การจดทะเบียนเรือประมงและออกใบอนุญาตทำการประมง 2.การควบคุมและเฝ้าระวังการทำประมง 3.การจัดทำระบบติดตามตำแหน่งเรือ (วีเอ็มเอส) 4.การปรับปรุงระบบการตรวจสอบย้อนกลับ 5.ปรับปรุงพระราชบัญญัติการประมงและกฎหมายลำดับรอง และ 6. จัดทำแผนระดับชาติในการป้องกันสินค้าไอยูยู

นายปีติพงศ์ กล่าวหลังการประชุมด่วนรับมือกรณีอียูออกใบเหลืองให้แก่สินค้าประมงไทยอย่างเป็นทางการว่า กระทรวงเกษตรฯ วางแผนเร่งรัด 6 มาตรการแก้ไขปัญหาไอยูยู ให้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิมเพื่อแก้ไขปัญหาให้ทันภายในเส้นตายระยะเวลา 6 เดือนที่อียูกำหนด หรือในช่วงประมาณเดือนต.ค.นี้ และเมื่อถึงเวลานั้นอียูจะพิจารณาไทยอีกครั้ง โดยอาจเป็นได้ 3 แนวทาง คือ การออกใบเขียว ยกเลิกการเตือนสินค้าประมง การออกใบแดงห้ามนำเข้าสินค้าประมงไทย ซึ่งจะเป็นเรื่องใหญ่ หรือยืดเวลาให้ไทยแก้ปัญหาต่อไปอีก

“ผมสั่งการให้ใช้แผนเร่งรัดเดินหน้า 6 มาตรการ แก้ไขปัญหาไอยูยูที่ประกาศออกมาให้เร็วที่สุด และจะนำแผนเร่งรัดนี้รายงานให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)รับทราบต่อไป นอกจากนี้ จะนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาไอยูยู ที่มีรมวเกษตรฯ รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และรมช.คมนาคม ที่กำกับดูแลกรมเจ้าท่า ให้พิจารณาแนวทางการเร่งรัดมาตรการแก้ไขปัญหาไอยูยูร่วมกันต่อไป”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลการส่งออกสินค้าประมงไทยไปอียูโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) ระบุว่า ในปี 57 ไทยส่งออกสินค้าทะเลไปอียูปริมาณ 148,995 ตัน มูลค่า 26,292 ล้านบาท ในปี 56 ส่งออกปริมาณ 176,939 ตัน มูลค่า 31,072 ล้านบาท และปี 55 ส่งออกปริมาณ 189,904 ตัน มูลค่า 33,782 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในวันที่ 22 เม.ย.นี้ รมว.เกษตรฯ สั่งการให้มีการจัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เพื่อชี้แจงกรณีอียูออกใบเหลืองให้แก่ไทยอย่างเป็นทางการในครั้งนี้ด้วย

ooo

Thailand Faces EU Threat of Seafood Ban on Fishing Rules

In this handout photograph released by Indonesia’s Ministry of Fishery on April 8, 2015, hundreds of rescued foreign fishermen mostly from Myanmar and Thailand are gathered during an operation at the private Indonesian fishing firm Pusaka Benjina Resources located in remote Benjina island of Maluku province. (AFP Photo/Ugeng Nugroho/Ministry of Fishery)


by Jonathan Stearns
Bloomberg
April 21, 2015

The European Union threatened to ban imports of seafood from Thailand because of concerns about unlawful fishing, a step that would hit trade of more than 600 million euros ($641 million) a year.

The European Commission said Thailand has been too lax in the international fight against illegal, unreported and unregulated fishing. Thai authorities have six months to enact “a corrective tailor-made action plan” or risk an EU trade ban, said the commission, the 28-nation bloc’s regulatory arm.

“There are serious shortcomings in Thailand’s fisheries monitoring, fisheries control and sanctioning systems,” EU Fisheries Commissioner Karmenu Vella told reporters on Tuesday in Brussels. “Failure to take strong action against illegal fishing will carry consequences.”

The EU is seeking to use the size of its seafood market to prod exporting countries around the world to promote sustainable fisheries. The total value of EU imports of fish products last year was 20.7 billion euros, of which Thailand accounted for 642 million euros, or 3.1 percent, according to the commission.

The EU already prohibits imports of seafood from Cambodia, Guinea and Sri Lanka because those three countries allegedly haven’t done enough to tackle illegal fishing. The bloc last year added Belize to the European fisheries blacklist before lifting the curbs on that nation following “reforming efforts” by authorities there.
Fishing Regulation

Also today, the commission withdrew warnings it had issued against South Korea and the Philippines about fishing regulation. Both countries have since improved their legal systems and are “now fully equipped to tackle illegal fishing,” Vella said.

The Thai government called the warning it received today from the commission unjustified, saying the country has made “substantial and tangible progress” in combating illegal, unreported and unregulated fishing.

“Thailand is deeply disappointed at the EU’s decision,” the Thai Foreign Ministry in Bangkok said in an e-mailed statement.

Vella said the EU intends to work with Thailand to improve fishing regulation and prefers resolving the issue through dialog rather than trade restrictions.
Corrective Measures

“The burden is now on them -- on the Thai authorities -- to take corrective measures,” he said. “Analyzing what is actually happening in Thailand, we noticed that there are no controls whatsoever, there are no efforts whatsoever.”

The commission’s warning against Thailand amounts to a “yellow card” and any EU ban on Thai seafood would follow a possible “red card” against the country over its fishing regulation, according to Vella.

“It is only if, after those six months, no progress whatsoever is realized that we as the commission can then issue what we call the red card, which could then lead to trade sanctions as well,” he said.

An official at the Thai central bank warned about the damage to Thailand’s economy that would result from any EU prohibition on imports of seafood from the country.

“If they ban us, the impact will be significant at a time when our exports are not in good shape,” Don Nakornthab, the Bank of Thailand’s director for macroeconomic policy, told reporters on Tuesday in Bangkok.