ที่มา มติชนออนไลน์
29 เมษายน พ.ศ. 2558
ในงานประชุมสามัญประจำปีของสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทยที่โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานตอนหนึ่งว่า เศรษฐกิจไทยยังคงชะลอตัวทั้งจากภาวะการส่งออกที่ลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ราคาพลังงานที่ปรับตัวลดลงในตลาดโลกกว่าร้อยละ 50 รวมถึงการที่รัฐบาลเร่งจัดการเศรษฐกิจนอกระบบ ซึ่งมีขนาดถึง 1 ใน 5 ทั้งการปราบปรามยาเสพติด และการจัดระเบียบต่างๆ ทำให้ความคึกคักในการใช้จ่ายลดลง อาจส่งผลให้เศรษฐกิจ ยังชะลอตัวไปอีกประมาณ 2 ปี
อย่างไรก็ตาม หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร ระบุว่า การลงทุนของภาคเอกชน กลับมาขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง อาจเป็นเพราะก่อนหน้านี้ ภาคเอกชนชะลอการลงทุนไว้เนื่องจากความไม่มั่นใจในปัญหาการเมือง นอกจากนี้ ภาคการท่องเที่ยวที่กลับมาฟื้นตัว รวมถึงการใช้จ่ายภาครัฐที่เบิกจ่ายได้มากขึ้น จะเป็นตัวผลักดันเศรษฐกิจไทย
ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558
ศัลยา ประชาชาติ
มติชนสุดสัปดาห์ 24-30 เมษายน 2558
สถานการณ์ปัญหาด้านการบิน อันเนื่องมาจากประเทศไทยไม่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยในเกณฑ์ที่ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) กำหนด กลายเป็นข่าวร้ายในยามที่ประเทศกำลังหวังพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยว เพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในขณะนี้
แม้ว่ากรมการบินพลเรือนของไทย (บพ.) และกระทรวงคมนาคมจะเร่งดำเนินการจัดทำแผนแก้ไขข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concern : SSC) ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) อย่างเร่งด่วน
แต่ด้วยกระบวนการขั้นตอนของการทำงานทำให้ไทยไม่สามารถดำเนินงานได้ตามกรอบเวลาที่ไอซีเอโอขีดเส้นได้
"พล.อ.อ.ประจินจั่นตอง" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยอมรับว่า มีแนวโน้มว่าแผนแก้ไขปัญหาเร่งด่วน (Corrective Action Plan) ที่ บพ. กำลังเร่งดำเนินการแก้ไขนั้นอาจไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาครบทุกรายการของไอซีเอโอ เพราะกระบวนการทำแผนนั้นต้องใช้เวลาถึงเดือนกรกฎาคม ซึ่งช้ากว่าเดดไลน์ที่ทางไอซีเอโอกำหนดให้แล้วเสร็จภายในต้นดือนมิถุนายนนี้
ขณะเดียวกันก็ยอมรับว่าเมื่อถึงเวลานั้นปัญหาดังกล่าวจะส่งผลกระทบหนักหน่วงต่อธุรกิจท่องเที่ยวไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ไม่เพียงแต่สายการบินเช่าเหมาลำหรือชาร์เตอร์ไฟลต์เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ สายการบินพรีเมี่ยมและให้บริการเที่ยวบินประจำก็อาจเจอแจ๊กพ็อตด้วยเช่นกัน
นี่คือสิ่งสำคัญที่บรรดาผู้ประกอบทั้งสายการบินและธุรกิจท่องเที่ยวมีความกังวล
โดยเฉพาะในช่วงตารางบินฤดูหนาว ซึ่งปกติทุกสายการบินจะทำการขออนุมัติเส้นทางบินใหม่กันในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี
จากสถานการณ์ที่ยังไม่คลี่คลายและมีแนวโน้มที่จะเป็น"ลบ"มากขึ้นทุกขณะ บรรดาผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องจึงมีคำถามตามมาว่า หากไทยไม่สามารถปลดล็อกปัญหานี้ได้ทันเวลา รัฐบาลมีแผนรองรับอย่างไร เพื่อไม่ให้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวของไทยได้รับผลกระทบ ขณะเดียวกันก็ต้องดิ้นรนหาทางช่วยตัวเองอีกแรงหนึ่ง
โดยเฉพาะสายการบินต่างๆ ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงเป็นด่านแรก
ไม่เฉพาะผู้ประกอบการภาคเอกชนเท่านั้นที่ลุ้นระทึกแต่"บิ๊กตู่-พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี เองก็ยังแสดงท่าทีหวั่นไหวต่อกรณีนี้ไม่น้อยเช่นกัน
ขณะที่ "กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวนี้ว่า เพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยง กระทรวงท่องเที่ยวฯ ได้คุยกับภาคเอกชนให้มองหาทางเลือกใหม่ๆ ไว้ด้วย เพื่อไม่ให้ธุรกิจท่องเที่ยวของไทยในภาพรวมมีปัญหา
ด้าน "ศุภฤกษ์ ศูรางกูร" กรรมการผู้จัดการ บริษัท หนุ่มสาวทัวร์ จำกัด ในฐานะนายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (ทีทีเอเอ) กล่าวว่า ถ้าเดือนมิถุนายนนี้ ไทยยังแก้ปัญหาไม่ได้ ประเมินว่าจะส่งผลกระทบต่อการจองแพ็กเกจทัวร์ที่ใช้เที่ยวบินประจำของสายการบินสัญชาติไทย
ที่สำคัญ จะทำให้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวมูลค่า 2.2 ล้านล้านบาทของไทยในปีนี้สะเทือนแน่นอน โดยเฉพาะตลาดทัวร์อินบาวนด์ (นักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทย) ที่ตั้งเป้าหมายรายได้ไว้ถึง 1.4 ล้านล้านบาท
ความกังวลดังกล่าวทำให้บริษัททัวร์ต่างๆได้เพิ่มความระมัดระวังในการใช้สายการบินสัญชาติไทยมากขึ้นพร้อมทั้งหันไปใช้บริการสายการบินต่างชาติด้วย เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาและได้รับผลกระทบน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
"ภาพลักษณ์ของธุรกิจการบินของไทยตอนนี้ได้รับผลกระทบหนักมากโอเปอเรเตอร์ทัวร์ในต่างประเทศก็ไม่มั่นใจคุณภาพทำให้เปลี่ยนไปใช้สายการบินสัญชาติอื่นแทนสายการบินของไทยแล้ว" นายกสมาคมทีทีเอเอ ย้ำ
สอดคล้องกับความเห็นของ "ศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร" ที่ปรึกษานายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) ที่มองว่า ขณะนี้ประเด็นปัญหาดังกล่าวไม่ได้กระทบแค่ตลาดเอาต์บาวนด์ (คนไทยเที่ยวต่างประเทศ) เท่านั้น แต่มีแนวโน้มกระทบตลาดอินบาวนด์ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ด้วย
"ตอนนี้สายการบินสัญชาติไทยก็กำลังร่วมมือกับ บพ. เร่งแก้ปัญหาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่องค์การการบินพลเรือนของแต่ละประเทศและบริษัททัวร์แล้ว"
"อิทธิฤทธิ์กิ่งเล็ก"ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ สทท. ประเมินว่า หากแก้ไขปัญหาไม่ทันจะส่งผลกระทบลามถึงเที่ยวบินประจำของสายการบินสัญชาติไทย 3 สายการบินหลักๆ ได้แก่ การบินไทย บางกอกแอร์เวย์ส และไทยแอร์เอเชีย ที่ทำการตลาดขายตั๋วบินตลาดต่างประเทศในสัดส่วนที่สูง
"คาดว่า 3-4 สายการบินสัญชาติไทยที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศจะได้รับผลกระทบราว 10-20% เพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติอาจกังวลใจ ไม่กล้าใช้บริการ และหันไปจองสายการบินสัญชาติอื่นแทน"
ขณะที่ฟากผู้ประกอบการสายการบินเองแม้จะเอาใจช่วยและสนับสนุนการทำงานของบพ. และกระทรวงคมนาคมอย่างเต็มที่ แต่ก็ไม่ได้มั่นใจถึงขนาดที่จะฝากอนาคตไว้ที่ บพ. เพียงทางเดียวอีกต่อไป
"ชัยรัตน์ แสงจันทร์" กรรมการผู้จัดการ สายการบินเจ็ทเอเซีย แอร์เวย์ บอกว่า ขณะนี้สายการบินต่างๆ ไม่ได้รอความหวังจากฝ่ายรัฐบาลอย่างเดียว สายการบินทุกแห่งต่างกลับมาดูเรื่องมาตรฐานและความปลอดภัยของตัวเองควบคู่ไปด้วย เพราะเชื่อว่าหากสายการบินมีมาตรฐานก็ไม่น่าจะได้รับผลกระทบ
"เรายังมีความหวังเพราะมาตรฐานของแต่ละประเทศก็ไม่เหมือนกันอย่างกรณีที่ผ่านมากรมการบินพลเรือนของญี่ปุ่นหรือ JCAB ก็ยังอะลุ่มอล่วย ขณะที่กรมการบินพลเรือนของจีนก็ไม่ค่อยกังวลกับเกณฑ์ของไอซีเอโอมากนัก สิ่งสำคัญที่สุดในตอนนี้คือ ทุกสายการบินต้องทำให้ตัวเองมีมาตรฐาน" ชัยรัตน์กล่าวย้ำ
หากไทยแก้ไขปัญหาไม่ทันกรอบเวลาของไอซีเอโอ เชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยอย่างมหาศาล
จึงเป็นที่มาของความเคลื่อนไหวของบรรดาสายการบินต่างๆ ที่นอกจากจะกลับไปทบทวนเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยของตัวเองแล้วยังต้องเตรียมประสานงานกับคู่ค้าในแต่ละประเทศเพื่อให้คู่ค้าเกิดความมั่นใจและยังเชื่อมั่นในมาตรฐานการบินของประเทศไทยและยังใช้บริการต่อไป
มุมมองจากผู้เชี่ยวชาญวงการการบินระบุว่าถึงที่สุดแล้วประเด็นปัญหาหลักที่ทำให้ไอซีเอโอเข้ามาตรวจเข้มมาตรฐานการบินของไทย เกิดจากกรณีที่ บพ. ไทยออกใบอนุญาตประกอบการบินให้กับผู้ประกอบการสายการบินของไทยเป็นจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา
ดังนั้นทางแก้ปัญหาที่น่าจะตรงจุดนั่นคือ ต้องการให้กรมการบินพลเรือน ระงับการอนุญาตให้ปฏิบัติการบินแบบพิเศษ และให้มาเริ่มกระบวนการพิจารณาตรวจสอบ เพื่อออกใบรับรองใหม่ทั้งหมดอีกครั้ง
แนวทางดังกล่าวสายการบินที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่จะเป็นสายการบินขนาดเล็กที่ให้บริการแบบเช่าเหมาลำหรือชาร์เตอร์ไฟลต์และสายการบินโลว์คอสต์เป็นหลัก
ขณะที่สายการบินที่ให้บริการแบบพรีเมี่ยมอย่างการบินไทยคงไม่ได้รับผลกระทบมากนักเพราะได้รับการรับรองมาตรฐานด้านความปลอดภัยจากองค์กรต่างๆแล้ว ไม่ว่าจะเป็นองค์การความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป หรือ EASA, องค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (FAA) องค์การความปลอดภัยการบินพลเรือนของออสเตรเลีย (CASA) รวมถึงหน่วยงานความปลอดภัยของประเทศต่างๆ ในเอเชียอีกจำนวนหนึ่งด้วย
สิ่งที่พอจะทำได้ในตอนนี้คือ ภาวนาของให้กระทรวงคมนาคมและ บพ. ของไทยให้ทำแผนปลดล็อกได้ทันกำหนดเวลา
หรืออย่างน้อยๆ ทำให้ "ไอซีเอโอ" เห็นถึงความตั้งใจในการแก้ไขปัญหา และใช้มาตรการอะลุ่มอล่วยกับสายการบินสัญชาติไทย เพื่อให้ภาคท่องเที่ยวของไทยเดินหน้าต่อไปได้นั่นเอง
มติชนสุดสัปดาห์ 24-30 เมษายน 2558
สถานการณ์ปัญหาด้านการบิน อันเนื่องมาจากประเทศไทยไม่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยในเกณฑ์ที่ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) กำหนด กลายเป็นข่าวร้ายในยามที่ประเทศกำลังหวังพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยว เพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในขณะนี้
แม้ว่ากรมการบินพลเรือนของไทย (บพ.) และกระทรวงคมนาคมจะเร่งดำเนินการจัดทำแผนแก้ไขข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concern : SSC) ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) อย่างเร่งด่วน
แต่ด้วยกระบวนการขั้นตอนของการทำงานทำให้ไทยไม่สามารถดำเนินงานได้ตามกรอบเวลาที่ไอซีเอโอขีดเส้นได้
"พล.อ.อ.ประจินจั่นตอง" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยอมรับว่า มีแนวโน้มว่าแผนแก้ไขปัญหาเร่งด่วน (Corrective Action Plan) ที่ บพ. กำลังเร่งดำเนินการแก้ไขนั้นอาจไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาครบทุกรายการของไอซีเอโอ เพราะกระบวนการทำแผนนั้นต้องใช้เวลาถึงเดือนกรกฎาคม ซึ่งช้ากว่าเดดไลน์ที่ทางไอซีเอโอกำหนดให้แล้วเสร็จภายในต้นดือนมิถุนายนนี้
ขณะเดียวกันก็ยอมรับว่าเมื่อถึงเวลานั้นปัญหาดังกล่าวจะส่งผลกระทบหนักหน่วงต่อธุรกิจท่องเที่ยวไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ไม่เพียงแต่สายการบินเช่าเหมาลำหรือชาร์เตอร์ไฟลต์เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ สายการบินพรีเมี่ยมและให้บริการเที่ยวบินประจำก็อาจเจอแจ๊กพ็อตด้วยเช่นกัน
นี่คือสิ่งสำคัญที่บรรดาผู้ประกอบทั้งสายการบินและธุรกิจท่องเที่ยวมีความกังวล
โดยเฉพาะในช่วงตารางบินฤดูหนาว ซึ่งปกติทุกสายการบินจะทำการขออนุมัติเส้นทางบินใหม่กันในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี
จากสถานการณ์ที่ยังไม่คลี่คลายและมีแนวโน้มที่จะเป็น"ลบ"มากขึ้นทุกขณะ บรรดาผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องจึงมีคำถามตามมาว่า หากไทยไม่สามารถปลดล็อกปัญหานี้ได้ทันเวลา รัฐบาลมีแผนรองรับอย่างไร เพื่อไม่ให้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวของไทยได้รับผลกระทบ ขณะเดียวกันก็ต้องดิ้นรนหาทางช่วยตัวเองอีกแรงหนึ่ง
โดยเฉพาะสายการบินต่างๆ ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงเป็นด่านแรก
ไม่เฉพาะผู้ประกอบการภาคเอกชนเท่านั้นที่ลุ้นระทึกแต่"บิ๊กตู่-พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี เองก็ยังแสดงท่าทีหวั่นไหวต่อกรณีนี้ไม่น้อยเช่นกัน
ขณะที่ "กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวนี้ว่า เพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยง กระทรวงท่องเที่ยวฯ ได้คุยกับภาคเอกชนให้มองหาทางเลือกใหม่ๆ ไว้ด้วย เพื่อไม่ให้ธุรกิจท่องเที่ยวของไทยในภาพรวมมีปัญหา
ด้าน "ศุภฤกษ์ ศูรางกูร" กรรมการผู้จัดการ บริษัท หนุ่มสาวทัวร์ จำกัด ในฐานะนายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (ทีทีเอเอ) กล่าวว่า ถ้าเดือนมิถุนายนนี้ ไทยยังแก้ปัญหาไม่ได้ ประเมินว่าจะส่งผลกระทบต่อการจองแพ็กเกจทัวร์ที่ใช้เที่ยวบินประจำของสายการบินสัญชาติไทย
ที่สำคัญ จะทำให้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวมูลค่า 2.2 ล้านล้านบาทของไทยในปีนี้สะเทือนแน่นอน โดยเฉพาะตลาดทัวร์อินบาวนด์ (นักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทย) ที่ตั้งเป้าหมายรายได้ไว้ถึง 1.4 ล้านล้านบาท
ความกังวลดังกล่าวทำให้บริษัททัวร์ต่างๆได้เพิ่มความระมัดระวังในการใช้สายการบินสัญชาติไทยมากขึ้นพร้อมทั้งหันไปใช้บริการสายการบินต่างชาติด้วย เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาและได้รับผลกระทบน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
"ภาพลักษณ์ของธุรกิจการบินของไทยตอนนี้ได้รับผลกระทบหนักมากโอเปอเรเตอร์ทัวร์ในต่างประเทศก็ไม่มั่นใจคุณภาพทำให้เปลี่ยนไปใช้สายการบินสัญชาติอื่นแทนสายการบินของไทยแล้ว" นายกสมาคมทีทีเอเอ ย้ำ
สอดคล้องกับความเห็นของ "ศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร" ที่ปรึกษานายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) ที่มองว่า ขณะนี้ประเด็นปัญหาดังกล่าวไม่ได้กระทบแค่ตลาดเอาต์บาวนด์ (คนไทยเที่ยวต่างประเทศ) เท่านั้น แต่มีแนวโน้มกระทบตลาดอินบาวนด์ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ด้วย
"ตอนนี้สายการบินสัญชาติไทยก็กำลังร่วมมือกับ บพ. เร่งแก้ปัญหาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่องค์การการบินพลเรือนของแต่ละประเทศและบริษัททัวร์แล้ว"
"อิทธิฤทธิ์กิ่งเล็ก"ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ สทท. ประเมินว่า หากแก้ไขปัญหาไม่ทันจะส่งผลกระทบลามถึงเที่ยวบินประจำของสายการบินสัญชาติไทย 3 สายการบินหลักๆ ได้แก่ การบินไทย บางกอกแอร์เวย์ส และไทยแอร์เอเชีย ที่ทำการตลาดขายตั๋วบินตลาดต่างประเทศในสัดส่วนที่สูง
"คาดว่า 3-4 สายการบินสัญชาติไทยที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศจะได้รับผลกระทบราว 10-20% เพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติอาจกังวลใจ ไม่กล้าใช้บริการ และหันไปจองสายการบินสัญชาติอื่นแทน"
ขณะที่ฟากผู้ประกอบการสายการบินเองแม้จะเอาใจช่วยและสนับสนุนการทำงานของบพ. และกระทรวงคมนาคมอย่างเต็มที่ แต่ก็ไม่ได้มั่นใจถึงขนาดที่จะฝากอนาคตไว้ที่ บพ. เพียงทางเดียวอีกต่อไป
"ชัยรัตน์ แสงจันทร์" กรรมการผู้จัดการ สายการบินเจ็ทเอเซีย แอร์เวย์ บอกว่า ขณะนี้สายการบินต่างๆ ไม่ได้รอความหวังจากฝ่ายรัฐบาลอย่างเดียว สายการบินทุกแห่งต่างกลับมาดูเรื่องมาตรฐานและความปลอดภัยของตัวเองควบคู่ไปด้วย เพราะเชื่อว่าหากสายการบินมีมาตรฐานก็ไม่น่าจะได้รับผลกระทบ
"เรายังมีความหวังเพราะมาตรฐานของแต่ละประเทศก็ไม่เหมือนกันอย่างกรณีที่ผ่านมากรมการบินพลเรือนของญี่ปุ่นหรือ JCAB ก็ยังอะลุ่มอล่วย ขณะที่กรมการบินพลเรือนของจีนก็ไม่ค่อยกังวลกับเกณฑ์ของไอซีเอโอมากนัก สิ่งสำคัญที่สุดในตอนนี้คือ ทุกสายการบินต้องทำให้ตัวเองมีมาตรฐาน" ชัยรัตน์กล่าวย้ำ
หากไทยแก้ไขปัญหาไม่ทันกรอบเวลาของไอซีเอโอ เชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยอย่างมหาศาล
จึงเป็นที่มาของความเคลื่อนไหวของบรรดาสายการบินต่างๆ ที่นอกจากจะกลับไปทบทวนเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยของตัวเองแล้วยังต้องเตรียมประสานงานกับคู่ค้าในแต่ละประเทศเพื่อให้คู่ค้าเกิดความมั่นใจและยังเชื่อมั่นในมาตรฐานการบินของประเทศไทยและยังใช้บริการต่อไป
มุมมองจากผู้เชี่ยวชาญวงการการบินระบุว่าถึงที่สุดแล้วประเด็นปัญหาหลักที่ทำให้ไอซีเอโอเข้ามาตรวจเข้มมาตรฐานการบินของไทย เกิดจากกรณีที่ บพ. ไทยออกใบอนุญาตประกอบการบินให้กับผู้ประกอบการสายการบินของไทยเป็นจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา
ดังนั้นทางแก้ปัญหาที่น่าจะตรงจุดนั่นคือ ต้องการให้กรมการบินพลเรือน ระงับการอนุญาตให้ปฏิบัติการบินแบบพิเศษ และให้มาเริ่มกระบวนการพิจารณาตรวจสอบ เพื่อออกใบรับรองใหม่ทั้งหมดอีกครั้ง
แนวทางดังกล่าวสายการบินที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่จะเป็นสายการบินขนาดเล็กที่ให้บริการแบบเช่าเหมาลำหรือชาร์เตอร์ไฟลต์และสายการบินโลว์คอสต์เป็นหลัก
ขณะที่สายการบินที่ให้บริการแบบพรีเมี่ยมอย่างการบินไทยคงไม่ได้รับผลกระทบมากนักเพราะได้รับการรับรองมาตรฐานด้านความปลอดภัยจากองค์กรต่างๆแล้ว ไม่ว่าจะเป็นองค์การความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป หรือ EASA, องค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (FAA) องค์การความปลอดภัยการบินพลเรือนของออสเตรเลีย (CASA) รวมถึงหน่วยงานความปลอดภัยของประเทศต่างๆ ในเอเชียอีกจำนวนหนึ่งด้วย
สิ่งที่พอจะทำได้ในตอนนี้คือ ภาวนาของให้กระทรวงคมนาคมและ บพ. ของไทยให้ทำแผนปลดล็อกได้ทันกำหนดเวลา
หรืออย่างน้อยๆ ทำให้ "ไอซีเอโอ" เห็นถึงความตั้งใจในการแก้ไขปัญหา และใช้มาตรการอะลุ่มอล่วยกับสายการบินสัญชาติไทย เพื่อให้ภาคท่องเที่ยวของไทยเดินหน้าต่อไปได้นั่นเอง
ooo
หนักหนา สาหัส เศรษฐกิจ การเมือง บนบ่า′คสช.′
ที่มา มติชนออนไลน์
เหมือนกับการให้ "ใบเหลือง" จากสหภาพยุโรปจะเป็นเรื่องในทาง"เศรษฐกิจ" เพราะมีมูลฐานมาจากอุตสาหกรรมประมง และอุตสาหกรรมประมงแปรรูป
แต่เอาเข้าจริงๆ ก็เป็นเรื่อง"การเมือง"
เพราะว่าแม้รัฐบาลจะส่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เดินทางไปยังหลายประเทศในยุโรปเพื่อทำความเข้าใจ
แต่ก็ไม่มี "การเจรจา"
เพราะว่าท่าทีของสหภาพยุโรปมีความเด่นชัดและแน่วแน่ตั้งแต่ภายหลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 มาแล้ว
นั่นก็คือ ยุติ "ธุรกรรม" ทุกอย่าง
เงื่อนไขมีประการเดียวเท่านั้น จนกว่าจะมีการคืนประชาธิปไตย จนกว่าจะมีการเลือกตั้งและได้รัฐบาลพลเรือน
"เลือกตั้ง" เท่านั้นทุกอย่างจึงจะ "เริ่มต้น"
หมายความว่า การเจรจาในเรื่องเขตการค้าเสรี (FTA) ที่ค้างๆ อยู่ก็ให้ค้างต่อไป ส่งผลให้ข้อตกลงในเรื่องสิทธิพิเศษในทางศุลกากร (GSP) หมดสิ้นไปโดยอัตโนมัติ
นี่คือ "เศรษฐกิจ" อันกลายเป็น "การเมือง"
อย่าได้แปลกใจหากแม้จะมีข้อเสนอให้ "เลื่อน" การเลือกตั้งไม่ว่าจะจาก นายจตุพร พรหมพันธุ์ ไม่ว่าจะจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
จึงไม่มีเสียง "ขานรับ"
ไม่ว่าจะเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ว่าจะเป็น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ทั้งๆ ที่เคยมีสัญญาณมาจากเทือกเขาหิมาลัย
"ฤาษีเกวาลัน" ส่งผ่าน "โหรานุโหน"
เพราะไม่เพียงแต่สหภาพยุโรปจะยืนยันในเรื่อง "การเลือกตั้ง" ในเรื่องคืน"ประชาธิปไตย" โดยเร็ว
หากสหรัฐอเมริกาก็ยืนกระต่ายขาเดียว
กระบวนการรุกไล่ในทางการเมืองอาจไม่เด่นชัด แต่กระบวนการกดดันในทางเศรษฐกิจนั้นนับวันยิ่งมีความเข้มข้น
ขอให้ดู ICAO ขอให้ดู EU
แม้ว่าใบเหลืองของ EU จะให้เวลาอีก 6 เดือน แต่ใบเหลืองของสหรัฐอเมริกาในเรื่องประมงในเรื่องการค้ามนุษย์ก็ไปจ่อรอ "ใบแดง" ด้วยความระทึกในดวงใจเป็นอย่างยิ่ง เช่นเดียวกับเส้นตายของ ICAO ในเดือนมิถุนายน
ทุกเรื่องล้วนชวนให้ "หวาดเสียว" ทั้งสิ้น
การยืนยันใน "โรดแมป" จึงเท่ากับเป็นคำตอบเบื้องต้น นั่นก็คือ ความพยายามให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในต้นปี 2559
แต่การเลือกตั้งโดยรัฐธรรมนูญ "36 มหาปราชญ์" ก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องดี
เสียงเตือนจากรอบทิศทางโดยเฉพาะจากนักเลือกตั้งอย่าง นายชัย ชิดชอบ จากพรรคการเมืองอันถือว่าเป็นพวกเดียวกันอย่างพรรคประชาธิปัตย์
ยิ่งกว่าเสียงทักของ "จิ้งจก" แน่นอน
เพราะรูปแบบการสืบทอดอำนาจโดยผ่าน 11 องค์กรที่ "36 มหาปราชญ์" ตระเตรียมเอาไว้ไม่น่าจะเป็นบำเหน็จรางวัล แต่น่าจะเป็น "ทุกขลาภ" มากกว่า
นั่นก็คือ เท่ากับเป็น "ระเบิด" ที่รอการส่งเสียง
คนที่เดือดร้อนมิใช่ประเทศชาติ มิใช่ประชาชนอันเป็นเหยื่อสังเวยให้กับการทดลองวิชาของประดา "36 มหาปราชญ์" เท่านั้น หากแม้กระทั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ก็เท่ากับอยู่บนตะแลงแกง
รอการ "ย่างสด" ทางการเมืองสถานเดียว
ในทางต่างประเทศ คสช.ต้องเผชิญกับกระแสต่อต้านจากมหาอำนาจ ภายในประเทศยังต้องบริหารจัดการกับ "รัฐธรรมนูญ"
หากทำไม่ดีก็มีโอกาส "เปรี้ยง" เกลี้ยงทั้งยวง
มองสถานการณ์เบื้องหน้าประชาชนไทยต้องเอาใจช่วย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาอย่างเต็มเปี่ยม
ปัญหาที่ดาหน้าเข้ามาหนักหนาสาหัสเป็นลำดับ ตั้งแต่เรื่องทางเศรษฐกิจกระทั่งเรื่องทางการเมืองล้วนทับถมลงไปอย่างหนักอึ้ง ทดสอบความอดทน แข็งแกร่ง
ทดสอบศักย์การบริหาร ทดสอบศักย์การนำ
(มติชนรายวัน 29 เมษายน 2558)
ooo
Thailand Unexpectedly Cuts Rate After Growth Forecast Cut
by Suttinee Yuvejwattana
Bloomberg
Thailand’s central bank unexpectedly cut its benchmark interest rate for a second straight meeting, roiling markets already digesting a reduction in the 2015 economic growth forecast.
The Bank of Thailand lowered its one-day bond repurchase rate by a quarter of a percentage point to 1.5 percent on Wednesday, a move predicted by only two of 20 economists in a Bloomberg survey. The baht slid as much as 0.6 percent, and the benchmark SET index fell as much as 1.2 percent, heading to its lowest close since March 31.
The central bank is using a “strong dose of medicine” because exports may contract, hurting private investment and consumption, which can’t be offset by a rebound in tourism and government spending, Assistant Governor Mathee Supapongse said. The finance ministry earlier lowered its forecast for gross domestic product growth this year to 3.7 percent from an earlier estimate of 3.9 percent.
“This cut will not be the magic medicine to heal the Thai economy, which has very weak growth, but at least it will help bolster some confidence among consumers and businesses,” said Arthid Nanthawithaya, chief executive of Siam Commercial Bank Pcl. “The rate cut will help weaken the baht and support our exports.”
Outflows Rules
Monetary policy committee members voted five-to-two in favor of today’s decision, and the central bank said it sees lower-than-estimated inflation and higher risks from the baht’s strength on exports. It said it will hold a briefing on Thursday to issue more rules to accommodate outflows as part of an existing plan. It gave no other details.
The economy expanded at its weakest pace in three years in 2014 and has struggled to recover, with exports falling for a third month in March and consumer confidence dropping to a nine-month low. The finance ministry today lowered the 2015 export growth forecast to 0.2 percent from 1.4 percent.
“Thai exports face limitations this year because of the uncertainty in the global economic recovery, especially with China’s slowdown,” Krisada Chinavicharana, head of fiscal policy at the finance ministry, said before the decision. “We expect the economy to pick up in the second half because of government spending.”
Thai consumer prices fell for a third month in March. The last time Thailand experienced deflation in 2009, the benchmark rate was at 1.25 percent.
The Thai central bank joined at least 30 global peers in providing monetary stimulus this year after it unexpectedly cut borrowing costs last month. The government’s official forecaster, the National Economic and Social Development Board, last week reiterated its February estimate for the economy to grow 3.5 percent to 4.5 percent this year if exports recover.
Thailand’s central bank unexpectedly cut its benchmark interest rate for a second straight meeting, roiling markets already digesting a reduction in the 2015 economic growth forecast.
The Bank of Thailand lowered its one-day bond repurchase rate by a quarter of a percentage point to 1.5 percent on Wednesday, a move predicted by only two of 20 economists in a Bloomberg survey. The baht slid as much as 0.6 percent, and the benchmark SET index fell as much as 1.2 percent, heading to its lowest close since March 31.
The central bank is using a “strong dose of medicine” because exports may contract, hurting private investment and consumption, which can’t be offset by a rebound in tourism and government spending, Assistant Governor Mathee Supapongse said. The finance ministry earlier lowered its forecast for gross domestic product growth this year to 3.7 percent from an earlier estimate of 3.9 percent.
“This cut will not be the magic medicine to heal the Thai economy, which has very weak growth, but at least it will help bolster some confidence among consumers and businesses,” said Arthid Nanthawithaya, chief executive of Siam Commercial Bank Pcl. “The rate cut will help weaken the baht and support our exports.”
Outflows Rules
Monetary policy committee members voted five-to-two in favor of today’s decision, and the central bank said it sees lower-than-estimated inflation and higher risks from the baht’s strength on exports. It said it will hold a briefing on Thursday to issue more rules to accommodate outflows as part of an existing plan. It gave no other details.
The economy expanded at its weakest pace in three years in 2014 and has struggled to recover, with exports falling for a third month in March and consumer confidence dropping to a nine-month low. The finance ministry today lowered the 2015 export growth forecast to 0.2 percent from 1.4 percent.
“Thai exports face limitations this year because of the uncertainty in the global economic recovery, especially with China’s slowdown,” Krisada Chinavicharana, head of fiscal policy at the finance ministry, said before the decision. “We expect the economy to pick up in the second half because of government spending.”
Thai consumer prices fell for a third month in March. The last time Thailand experienced deflation in 2009, the benchmark rate was at 1.25 percent.
The Thai central bank joined at least 30 global peers in providing monetary stimulus this year after it unexpectedly cut borrowing costs last month. The government’s official forecaster, the National Economic and Social Development Board, last week reiterated its February estimate for the economy to grow 3.5 percent to 4.5 percent this year if exports recover.