วันพุธ, เมษายน 01, 2558

‘ไอซีเจ’จี้เลิกอัยการศึก-ม.44 นำไทยกลับสู่อำนาจพลเรือน


ที่มา ข่าวสดออนไลน์
วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

วันที่ 31 มี.ค. คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล หรือ ไอซีเจ ออกแถลงการณ์ ประเทศไทย: ยกเลิกกฎอัยการศึกและนำประเทศกลับสู่อำนาจพลเรือน
ประเทศไทยต้องยกเลิกการใช้กฎอัยการศึกและนำประเทศกลับสู่การปกครองโดยพลเรือนแทนที่จะใช้อำนาจโดยอำเภอใจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากลกล่าวในวันนี้

ในวันนี้ นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวว่าได้ยื่นเสนอทูลเกล้าฯ ยกเลิกกฎอัยการศึก ซึ่งได้มีการประกาศใช้ทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค. 2557 ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และยังกล่าวว่าจะใช้บังคับมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว ซึ่งให้อำนาจการปกครองโดยปราศจากข้อจำกัดทางกฎหมายหรือความรับผิดใดๆ

“การเลิกกฎอัยการศึกเป็นก้าวที่จำเป็น แต่การนำมาตรา 44 มาใช้บังคับแทนที่ไม่ได้ช่วยจัดการปัญหาการละเมิดอย่างร้ายแรงอันเป็นพันธกรณีของประเทศไทยภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ทั้งนี้ มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราวถูกร่างขึ้นอย่างกว้างมากโดยอาจให้อำนาจแก่หัวหน้าคณะรัฐบาลทหารมากขึ้นกว่ากฎอัยการศึกเสียด้วยซ้ำ” นายวิลเดอร์ เทเลอร์ เลขาธิการคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากลกล่าว “มาตรา 44 อนุญาตให้หัวหน้า คสช. ออกคำสั่งใดๆ ที่ตนต้องการได้โดยการอ้างว่าเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีของประชาชนและความมั่นคงของชาติ รวมทั้งให้ถือว่าคำสั่งใดๆ ที่ออกมานั้นเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการกำจัดโอกาสในการตรวจสอบของฝ่ายตุลาการ”

มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว ให้อำนาจแก่คสช. ในการออกคำสั่งใดๆ ที่เห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อ “...ประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่างๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน...” และบัญญัติให้คำสั่งใดๆ เป็นคำสั่งที่ “...ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด...”

“มาตรา 44 ละเมิดเสาหลักพื้นฐานของหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน รวมไปถึงหลักความเสมอภาค การตรวจสอบได้ และการคาดการณ์ได้ และมาตรา 44 อาจยินยอมให้มีการปกครองตามอำเภอใจโดยหัวหน้าคสช. ด้วย ดังนั้น การใช้บทบัญญัติดังกล่าวจึงไม่อาจถือเป็นการแก้ไขปัญหาการใช้กฎอัยการศึกอย่างแท้จริง ซึ่งอย่างน้อยที่สุดก็เคยมีการใช้บังคับมาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2457 และมีระดับความชัดเจนในขอบเขตและการบังคับใช้” นายเทเลอร์กล่าว “คสช. ควรยกเลิกกฎอัยการศึกและให้คำมั่นอย่างแน่ชัดว่าจะปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศของประเทศไทย ซึ่งหมายถึงการหลีกเลี่ยงการใช้มาตรา 44 ไม่ว่าในทางใดๆ ก็ตาม”

กฎหมายระหว่างประเทศควบคุมดูแลความพยายามของรัฐบาลในการที่จะระงับหรือจำกัดการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างเคร่งครัด “การงดเว้นสิทธิบางประการ” ดังกล่าวสามารถทำได้ภายใต้ข้อบท ที่ 4 แห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นภาคี หากแต่ต้อง “อยู่ในช่วงเวลาที่มีสถานการณ์ฉุกเฉินที่เป็นภัยคุกคามต่อความคงอยู่ของประเทศชาติ” เท่านั้น

“สถานการณ์ของประเทศไทยยังไม่ถึงเกณฑ์ที่สูงมากที่จะทำให้สามารถงดเว้นสิทธิบางประการตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศได้” นายเทเลอร์กล่าว “เจ้าหน้าที่รัฐไทยได้มีการให้คำมั่นสัญญามาตลอดว่าจะคืนหลัก นิติธรรมอย่างรวดเร็วและจะเคารพสิทธิมนุษยชนในประเทศ แต่การแทนที่กฎอัยการศึกด้วยมาตรา44 ไม่ได้แสดงถึงการปรับปรุงหลักนิติธรรมหรือให้ความเคารพแก่สิทธิมนุษยชนเลย”

ooo

Thailand: Lift martial law and return the country to civilian authority


Thailand must lift martial law and return the country to civilian rule, instead of invoking arbitrary powers under Article 44 of the country’s interim constitution, said the ICJ today.

Today, Prime Minister and head of the ruling National Council for Peace and Order (NCPO), General Prayut Chan-o-cha, announced that he had submitted a revocation of the Martial Law, imposed nationwide on 20 May 2014, to King Bhumibol Adulyadej.

Gen. Prayut stated that in place of Martial Law, he would invoke Article 44 of the Interim Constitution, which effectively gives him the authority to rule without any legal restrictions or accountability.

“Ending Martial Law is a necessary step, but replacing it with Article 44 does not address the serious violations of Thailand’s obligations under international human rights law. Article 44 of the Interim Constitution is drafted so broadly that it could give the head of the junta even greater powers than Martial law,” said Wilder Tayler, Secretary General of the ICJ. “Article 44 would allow the head of the NCPO to issue any orders he wishes under the pretext of strengthening public unity and national security, and also deems any such order to be legal and constitutional, removing any possibility of judicial oversight.”

Article 44 of the interim Constitution gives the NCPO power to give any order deemed necessary for “…the benefit of reform in any field and to strengthen public unity and harmony, or for the prevention, disruption or suppression of any act which undermines public peace and order or national security, the Monarchy, national economics or administration of State affairs …,” and provides that any such order “…is deemed to be legal, constitutional and conclusive…”

“Article 44 violates the fundamental pillars of the rule of law and human rights, including equality, accountability, and predictability. Article 44 could potentially allow for arbitrary rule by the head of the NCPO, so using it would not be a real improvement over the Martial Law, which at least has been in existence since 1914, and has a degree of clarity to its scope and application,” said Tayler.

“The NCPO should revoke Martial Law and also explicitly commit itself to observing Thailand’s international obligations, which means avoiding any use of Article 44,” he added.

International law strictly regulates attempts by governments to suspend or restrict protection for human rights on grounds of emergency.

Such “derogations” are permissible under Article 4 of the International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR), to which Thailand is a State Party, only “in time of public emergency which threatens the life of the nation”.

“The situation in Thailand does not meet the extremely high threshold required for derogating from international human rights law,” said Tayler. “Thai authorities have repeatedly promised a rapid return to the rule of law and respect for human rights in the country, but replacing Martial Law with rule by Article 44 doesn’t suggest an improvement for the rule of law or respect for human rights.”

Thailand-Martial Law-Article 44-News-Press release-2015-THA (Thai version, full text in PDF)