วันเสาร์, เมษายน 22, 2560

ชวนอ่าน ฟ้าเดียวกัน 12 เล่มนี้ จะเข้าใจวิกฤตการเมืองไทย บางเล่ม เปลี่ยนชีวิตเลย




ที่มา https://www.facebook.com/sameskybook/posts/1260227834026273




1. กำเนิดรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์

กล้องของเบนที่ประดิษฐ์ขึ้นจากวิธีวิทยาเปรียบเทียบสองมิติ นอกจากส่องเห็นปีศาจแล้ว ที่อัศจรรย์คือมันฉายให้เห็นตัวละครผู้กระทำการในหน้าประวัติศาสตร์อย่างหลากหลายยิ่ง คงไม่จำเป็นต้องกล่าวแล้วว่าเบนให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ mentality ของผู้มีอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นนักล่าอาณานิคมผิวขาว กษัตริย์ท้องถิ่น ผู้นำกองทัพ และนักการเมือง กระนั้นก็ตาม กล้องนี้ยังส่องเห็นชีวิตจิตใจของคนเล็กๆ จำนวนนับไม่ถ้วน ตั้งแต่นักชาตินิยมผู้หาญกล้า (ซึ่งเบนเตือนว่าอย่าได้หลงลืมพวกเขาเป็นอันขาด) ชนกลุ่มน้อยชาวจีน (ผู้เป็นพลังและตัวแปรสำคัญเสมอในการเมืองสมัยใหม่) คนอีสาน (ผู้ถูกหมิ่นแคลนเสมอในสื่อไทย) ชาวอิเรียนตะวันตก ชาวติมอร์ตะวันออก ชาวเขา ชาวเล ตลอดจนชนกลุมน้อยอื่นๆ ทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คำนำสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ใน เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน ศึกษารัฐไทย ย้อนสภาวะไทยศึกษา
เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน





2. ความคิด ความรู้ และอำนาจการเมือง กับการปฏิวัติสยาม

นี่มิได้เป็นเพียงหนังสือรวมบทความเท่านั้น หากแต่งานชิ้นนี้เป็นการนำเสนอการศึกษา “เหตุการณ์ 24 มิถุนา” โดยมีจุดมุ่งหมายและวิธีการศึกษาที่แน่ชัดคือการเผยให้เห็นว่า ความคิด ความรู้ และอำนาจการเมือง ที่ควบคุมความรับรู้เกี่ยวกับ “เหตุการณ์ 24 มิถุนา” นั้นมีอะไรบ้าง ทำงานอย่างไร ส่วนการตีความ/ช่วงชิงความหมายเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้คงจะเป็นหน้าที่ของผู้อ่าน

คำนำสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ใน
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์

ความคิด ความรู้ และอำนาจการเมือง ในการปฏิวัติสยาม 2475

http://www.sameskybooks.net/books/kwarmkid-patiwatsiam/





3. สู่การปฏิวัติสยาม 2475

งานชิ้นนี้ถือเป็นการสรุปรวบยอดทางความคิดเกี่ยวกับ “การปฏิวัติสยาม” ของนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ก็ว่าได้ ไม่เพียงแต่ก้าวข้ามความคิด “ชิงสุกก่อนห่าม” เท่านั้น งานชิ้นนี้ยังอธิบายให้เห็นถึง “ความจำเป็นทางประวัติศาสตร์” ที่จะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยเหตุปัจจัยแวดล้อมในมิติต่างๆ

คำนำสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
ใน นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475
http://www.sameskybooks.net/books/revolution-2475/





4 ปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม กำเนิดระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


ณัฐพล ใจจริงเป็นหนึ่งในนักวิชาการร่วมสมัยปัจจุบันที่ช่วยบุกเบิก “รื้อ” ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพปัญหาการเมืองไทย รวมทั้งบทบาทของสถาบันกษัตริย์และกลุ่มกษัตริย์นิยมต่อระบอบการเมือง โดยใช้เอกสารหลักฐานเป็นจำนวนมาก ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ เพื่อแสดงให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้วปัญหาและความพิกลพิการต่างๆ ของการเมืองไทยนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของสถาบันกษัตริย์และกลุ่มกษัตริย์นิยมด้วยอย่างมีนัยสำคัญ
คำนำสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ใน
ณัฐพล ใจจริง
ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ
http://www.sameskybooks.net/books/counter-revolution/





5 กำเนิดกษัตริย์ประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลา

ท่ามกลางยุคสมัยที่ดูประหนึ่งอะไรๆ ก็กลับตาลปัตรไปเสียหมด อาจกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้ “มาก่อนกาล” และทำหน้าที่เป็นกระจกสะท้อนประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ตัวละครทั้งหลายยังโลดแล่นมีบทบาทมีชีวิตอยู่ร่วมยุคร่วมสมัยกับเรา ดังที่ผู้เขียนทิ้งท้ายไว้ว่า “ผลงานทางปัญญาที่ทำไว้ในวันนี้ อาจจะไม่ได้มีบทบาททางการเมืองเพียง ณ เวลาที่มันถูกผลิตขึ้นมา เพราะในฐานะการเป็นคลังสมบัติทางปัญญา มันมีศักยภาพที่จะกลับมามีบทบาทได้เสมอในวันใดวันหนึ่ง เมื่อการเมืองของอดีตมาบรรจบกับการเมืองของปัจจุบัน”
คำนำสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ใน
ประจักษ์ ก้องกีรติ

และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ
http://www.sameskybooks.net/…/%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%…/





6. ประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่เหนือการเมือง

ในฐานะนักประวัติศาสตร์ธงชัย วินิจจะกูล ได้คลี่ให้เห็นเค้าโครงประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทยแบบเป็นกระแสซ้อนกัน โดยดูจากประวัติศาสตร์ ในช่วงยาว ซึ่งเริ่มจากการสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 มาจนถึงประชาธิปไตย แบบอำมาตย์ท่ามกลางวิกฤตการเมืองเหลือง – แดงที่ยังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน

คำนำสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ใน
ธงชัย วินิจจะกูล
ประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่เหนือการเมือง
http://www.sameskybooks.net/books/democratization/





7.รัฐประหารเพื่อ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


ทำไมผู้ที่อ้างตัวว่าเป็นฝ่ายประชาธิปไตย จึงสยบยอมต่ออำนาจ “ศักดินา-ขุนศึก” ยอมแม้กระทั่งการขอ “นายกฯ พระราชทาน” หรือออกบัตรเชิญให้มารัฐประหาร?

ทำไมปัญญาชนไทย ซึ่งควรจะเป็นแนวหน้าในการพิทักษ์ เจตนารมณ์ประชาธิปไตย จึงกลายมาเป็นทนายแก้ต่างให้อำนาจเผด็จการทหาร?

ทำไมพลังอำมาตยาธิปไตยซึ่งดูเหมือนจะหมดพลังไปอย่างสิ้นเชิงหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 จึงกลับมาอีกครั้งในรัฐบาล สุรยุทธ จุลานนท์และพลังเหล่านี้ยังเป็นความหวังของสังคมในการฝ่าวิกฤต?

ทำไมเครื่องแบบทหารที่เคยเป็นเครื่องแบบต้องห้ามหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 กลายมาเป็นแฟชั่นยอดฮิต?
ทำไมอาวุธสงครามซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความรุนแรงจึงกลายมาเป็นเครื่องมือเพื่อระงับความรุนแรง?

ทำไมสถาบันกษัตริย์ซึ่งต้องอยู่ “เหนือ” การเมือง จึงกลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญของคณะรัฐประหาร?

บทบรรณาธิการใน
รัฐประหาร 19 กันยา
http://www.sameskybooks.net/books/19-sep-coup/





8.“โฉมหน้า” ของ “ราชา¬ชาตินิยม”

การเผยให้เห็น “โฉมหน้า” ของ “ราชา¬ชาตินิยม” ผ่านหนังสือเล่มนี้ จะช่วยให้สังคมไทยได้เปิดมุมมองใหม่ๆ ที่ต่างจากมุมมองของเจ้ากรุงเทพฯ ซึ่งครอบงำเรามานานนับศตวรรษ และมุมมองใหม่ๆ นี้อาจมีที่ว่างให้กับประวัติศาสตร์ของประชาชนไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์บาดแผล ประวัติ¬ศาสตร์ท้องถิ่น (ที่ข้ามพ้นกรอบอุดมการณ์แบบชาตินิยมที่มีกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลาง) กระทั่งประวัติศาสตร์การสร้างชาติที่ถือกำเนิดจากประชาชนจริงๆ ต่อไปในอนาคต

คำนำสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ใน
ธงชัย วินิจจะกูล
โฉมหน้าราชาชาตินิยม

http://www.sameskybooks.net/books/royal-nationalism/





9. ประชาธิปไตยในยุคเปลี่ยนผ่าน


หนังสือเล่มนี้ทำให้เราหยั่งถึงรากเหง้าของปัญหาทางการเมืองไทย ซึ่งอยู่ลึกลงไปในประวัติ, โครงสร้าง, และองค์ประกอบของการเมืองไทย มันทั้งยาวนาน ทั้งสลับซับซ้อนจนเกินกว่าจะแก้ได้ด้วยการใช้ดาบฟันปมการเมืองที่พัวพันยุ่งเหยิงแก้ไม่ออกให้หลุดจากกัน ไม่ว่าจะฟันไปที่ปมของกลุ่มผลประโยชน์ตามประเพณี หรือฟันลงไปที่ปมของกลุ่มก้าวหน้า ล้วนไม่ใช่การแก้ปมที่จีรังยั่งยืนทั้งสิ้น ชอบหรือไม่ชอบก็ต้องค่อยๆ สางปมทั้งหลายลงอย่างใจเย็นๆ โดยไม่เสียหลักการของตนเอง จึงจะพอมีความหวังที่จะคลี่คลายปมการเมืองของไทยลงได้
คำนำเสนอ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ใน
ประจักษ์ ก้องกีรติ
ประชาธิปไตยในยุคเปลี่ยนผ่าน
http://www.sameskybooks.net/books/transitiontodemocracy/





10. การเมืองของการเลือกตั้งและพลวัตของชนบทไทย 

หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นจากความปรารถนาและความตั้งใจทางวิชาการที่จะเปิดมุมมองใหม่ๆเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องการเลือกตั้งในสังคมไทย ด้วยการใช้เครื่องมือทางวิชาการที่พ้นไปจากการศึกษาเชิงตัวบทกฎหมายและแนวทางพฤติกรรมนิยมเครื่องมือเหล่านี้ได้แก่การวิเคราะห์ในเชิงการเมืองวัฒนธรรมเชิงวาทกรรมและมานุษยวิทยาการเมือง บทความแต่ละชิ้นช่วยเผยให้เห็นว่าการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองเรื่อง“การเลือกตั้ง” มิควรถูกศึกษาในลักษณะที่เป็นเอกเทศโดยไม่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับการศึกษาทำความเข้าใจโครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจอันซับซ้อนและความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมในภาคชนบทที่มิเคยหยุดนิ่ง

บทบรรณาธิการ ประจักษ์ ก้องกีรติ
การเมืองว่าด้วยการเลือกตั้ง
http://www.sameskybooks.net/books/karnmuang‎/





11. พลังของชาวนาการเมือง

ยุทธศาสตร์ทางการเมืองที่สำคัญของชาวนารายได้ปานกลางจึงอยู่ที่การเพิ่มผลิตภาพ ด้วยการดึงงบประมาณของรัฐและทุนเอกชนเข้าสู่หมู่บ้าน และการเลือกตั้งก็เป็นช่องทางสำคัญในการใช้อำนาจของพวกเขา เพื่อให้ได้มาซึ่งนโยบายและโครงการต่างๆ ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและดึงทรัพยากรจากภายนอกเข้ามาพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
คำนำสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ใน
ชาวนาการเมือง
ผู้เขียน แอนดรู วอล์คเกอร์ / ผู้แปล จักรกริช สังขมณี
http://www.sameskybooks.net/books/modernruraleconomy/





12. สู่การสถาปนารัฐธรรมนูญโดยประชาชน

งานของปิยบุตร แสงกนกกุลเล่มนี้ จะเป็นฐานทางภูมิปัญญาหนึ่งให้แก่ “การเปลี่ยนผ่าน” ไปสู่ประชาธิปไตยของประชาชน ณ หัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญแห่งยุคสมัยของสังคมนี้
คำนำสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ใน
ปิยบุตร แสงกนกกุล

รัฐธรรมนูญ: ประวัติศาสตร์ข้อความคิด อำนาจสถาปนา และการเปลี่ยนผ่าน
http://www.sameskybooks.net/books/constitution/