วันพฤหัสบดี, เมษายน 20, 2560

การต่อสู้เชิงสัญญลักษณ์ ของเครือข่ายผู้กุมอำนาจรัฐเดิม กับ เครือข่ายผู้ต่อสู้เพื่อประชาชาติใหม่ ผ่านการ ถอนหมุด แล้วปักใหม่





In conclusion: the new and the old plaques...
กล่าวโดยย่อ หมุดทั้ง 2 นั้น พิจารณาศึกษา ได้ 2 ทาง

หนึ่ง)
สำหรับหมุดเดิม 2475
ในแง่ของวิทยาศาสตร์สังคม social science
(ซึ่งเปนทั้ง สังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และ รัฐศาสตร์)
เปนการสร้างสัญญลักษณ์ของรัฐบาล
ที่นำโดย นรม.นายพันเอก พระยาพหลฯ (พจน์ พหลโยธิน)
ทั้งนี้เพื่อลงหลักปักฐาน ระบอบประชาธิปไตย & รัฐธรรมนูญ
สร้างสังคมประเทศชาติใหม่ หรือ New Thai Nation
(ที่ คนเท่ากัน ยืนตัวตรง)

สอง)
สำหรับหมุดใหม่ 2560
ในแง่ของไสยศาสตร์ และโหราศาสตร์
(animism and astronomy)
เปนการถอน และปักสัญญักษณ์ แทน ของเครือข่ายสถาบันเดิมๆ
ที่แอบแฝงซ่อนเร้น อำพราง ไม่ปรากฏนามชัดเจน
ทั้งนี้เพื่อแก้เคล็ด และหวนกลับไปสู่
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์ ของรัฐเดิม หรือ Old Siamese State
(ที่ มีชนชั้นวรรณะ กราบไหว้ หมอบคลาน)

อนึ่ง)
การปักหมุดปฏิวัติ 24 มิถุนา 2475
ที่นำโดย นายพันเอก พระยาพหล (พจน์ พหลโยธิน)
เปน สัญญลักษ์ของอดีต ของการปฏิวัติ ที่ไม่นองเลือด
และประนีประนอมกัน
ระหว่าง คณะราษฎร กับ คณะเจ้า

แต่การถอนหมุด แล้วปักใหม่ น่าจะเป็น
สัญญลักษณ์ ในปัจจุบัน ของการไม่ปรองดอง
ไม่ปฏิรูป และความรุนแรง กับการนองเลือด
ที่จะอุบัติ เพิ่มขี้นๆ

ระหว่างตัวแทน และ/หรือ ผู้นำ
ของฝ่ายอประชาธิปไตย กับฝ่ายประชาธิปไตย
Democracies versus Un-democracies
ในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน ครั้งยิ่งใหญ่
และสำคัญสุดของชาติไทย
ที่มีมากว่าหนึ่งทศวรรษ ของย่ำสนธยา ตะวันตกดิน
และการผลัดแผ่นดิน

นี่ คือ การต่อสู้เชิงสัญญลักษณ์
ของเครือข่ายผู้กุมอำนาจรัฐเดิม
กับ
เครือข่ายผู้ต่อสู้เพื่อประชาชาติใหม่
(Old Thai State-ancient regime
versus
New Thai Nation-new regime)

Ck@20Apr2017

หมายเหตุ
ช้อความข้างล่าง คัดมาจาก
"หน้าแรกผู้จัดการ Online | Hot Share
โหรตั้งข้อสังเกตหมุดทองเหลืองหาย
คือ การทำลายอาถรรพ์เก่า
18 เมษายน 2560 11:29 น.
(แก้ไขล่าสุด 18 เมษายน 2560 16:40 น.)"

ว่าด้วยเรื่องหมุด-หมุดในทางโหราศาสตร์

หลายวันมานี้ หลายท่านคงได้ยินได้ฟังข่าวเกี่ยวกับ *หมุดหาย* กัน โดยหมุดที่ว่านี้ คือ หมุดทองเหลืองของคณะราษฎร ที่ได้ฝังไว้ใกล้พระบรมรูปทรงม้า อันมีข้อความจารึกไว้ว่า “๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง ณ ที่นี้ คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ”

ในวันที่ 21 เมษายน ปี พ.ศ. 2325 อันเป็นวันสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นนั้น ได้เป็นวันที่มีพระราชพิธีฝังเสาหลักเมืองขึ้น โดยฤกษ์วางไว้ในเวลา 06.54 น.

ครั้นถึงเวลาพระฤกษ์ พระยาโหราธิบดีก็ย่ำฆ้อง พ่อพราหมณ์เป่ามหาสังข์ เจ้าพนักงานประโคมดุริยางค์พิณพาทย์ ยิงปืนใหญ่ เพื่ออัญเชิญเสาหลักเมืองลงหลุม แต่ทันใดนั้นเอง ก็ปรากฏว่ามีงูตัวเล็ก 4 ตัว นอนอยู่ในหลุมนั้น ซึ่งไม่ทันการณ์แล้ว จำเป็นต้องวางเสาหลักเมืองลงตามเวลาพระฤกษ์ และกลบฝังงูทั้ง 4 นั้นไป

เมื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเช่นนั้น จึงทำให้เกิดความปริวิตกไปทั่ว ว่า จะเป็นอาเพศลางร้ายต่อบ้านเมืองหรือไม่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระมหากษัตริย์และเป็นองค์ประธานในพิธีฝังเสาหลักเมืองในวันนั้น จึงรับสั่งทรงเรียกประชุมโหราจารย์และสมณชีพราหมณ์มาปรึกษาหารือวิเคราะห์กันว่า ลางที่อุบัติขึ้นนั้น จะเป็นไปในทางใด

จนในที่สุด แม้ยังไม่มีคำตอบแน่ชัดว่า ลางจะบอกอะไร แต่ทุกฝ่ายก็ลงความเห็นว่า งูทั้ง 4 ตัวนั้น จะต้องนำพาเรื่องเสื่อมโทรมเสียหายมาให้กับพระนครอย่างแน่นอน

นอกจากนั้นแล้ว ในวันอาทิตย์ เดือน 7 ขึ้น 1 ค่ำ ปีระกา เวลา 15.36 น. ก็มีฟ้าผ่าลงมาจนเกิดไฟไหม้ปราสาทในเขตพระราชวัง เหตุการณ์ดังกล่าว มีจดหมายเหตุของกรมหลวงนรินทรเทวี บันทึกเรื่องนี้ไว้ว่า

“...พระโองการตรัสว่า เราได้ยกพระไตรปิฎก เทวาให้โอกาสแก่เรา ต่อเสียเมืองถึงจะเสียปราสาท ด้วยชะตาเมืองคอดกิ่วใน 7 ปี 7 เดือน เสร็จสิ้นพระเคราะห์เมือง จะถาวรลำดับกษัตริย์ถึง 150 ปี”

ความว่า ชะตาเมืองอยู่ในเกณฑ์ร้าย ในเวลาอีก 7 ปี 7 เดือน จึงจะสิ้นเคราะห์ แต่หากพ้นเคราะห์แล้ว จะถาวรกษัตริย์ไปได้อีก 150 ปี หากนับจากปี พ.ศ. 2325 จะครบเวลา 150 ปี ในปี พ.ศ. 2475 นั่นเอง

ลุมาจนถึงในรัชกาลสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ก็ได้มีการจัดสร้างเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ เพื่อทดแทนของเดิมที่เก่าชำรุดไป ซึ่งการณ์นี้ ทำให้เราจึงมีเสาหลักเมืองอยู่ 2 ต้นอยู่ด้วยกัน

** ปัจจุบัน ภายในศาลพระหลักเมืองกรุงเทพฯ ยังเป็นที่ประดิษฐานพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าพ่อเจตคุปต์ และเจ้าพ่อหอกลอง เทพารักษ์ 5 องค์ ที่จะช่วยปกปักรักษาแผ่นดินเพิ่มด้วย

แล้วปี 2475 ก็มาถึง ในปี 2475 ก็ได้มีเจ้านายเชื้อพระวงศ์ 4 ท่าน ทรงพระราชสมภพ (ถือกำเนิด) ใน ปีมะเส็ง (ปีงูเล็ก) เหมือนกัน แม้จะต่างรอบต่างเวลา ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเพ็ชรบุรีราชสิรินทร

เจ้านายทั้ง 4 พระองค์จึงได้ร่วมกันสร้างอนุสรณ์เพื่อแก้เคล็ดอาถรรพ์ไว้ที่สถานเสาวภา ดังที่เรียกกันว่า ตึกสี่มะเส็ง

** ปัจจุบันอาคารดังกล่าวถูกรื้อถอนไปแล้ว แต่สภากาชาดไทยได้สร้างอาคารหลังใหม่ในบริเวณเดิม และยังคงใช้ชื่ออาคารว่า “ตึกสี่มะเส็ง”

แต่แล้ว ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เวลา “ย่ำรุ่ง” หรือ 04.45 ก็มีการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง ดังที่มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ นับจากวันลงเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ ครั้งแรกแล้ว ก็เป็นเวลาได้ 150 ปี 2 เดือน 3 วัน ในทางโหราศาสตร์ วันนั้น เป็นเวลาที่ดาวพุธเสวยอายุดวงเมือง ดาวอาทิตย์แทรก ดาวเสาร์เป็นกาลกิณีจร จนมาถึงในปีนี้ 2560 ในเดือนเมษายนนี้ ก็มีข่าวว่า “หมุดคณะราษฎร” ได้หายไป ซึ่งยังเป็นที่ติดตามถามหาและถกเถียงกันอยู่ว่าหายไปไหน โดยมีหมุดใหม่มาแทนที่

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 6 เมษายน 2560 เวลา 15.00 น. ที่ผ่านมานี้ ประวัติศาสตร์ก็ได้บันทึกวันสำคัญอีกครั้งหนึ่ง นั่นคือ เป็นวันประกาศพระราชพิธีประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งในวันเวลาดังกล่าว ลัคนาดวงฤกษ์สถิตยังราศีสิงห์ ซึ่งถือกันว่าเป็นราศีประจำประเทศไทย โดย ลัคนาเสวยฤกษ์ที่ 10 มฆานักษัตร ในภพเรือนที่ 5 ของดวงเมือง


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ Charnvit Kasetsiri shared Charnvit Kasetsiri's post.