เปิดร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยกคุณภาพชีวิตรายได้สูง
By กองบรรณาธิการ ข่าวการเมือง
25 เมษายน 2560
ที่มา Voice TV
เปิดร่างกรอบยุทธศาสตร์ 20 ปี ต้องปฏิรูป-ปรับเปลี่ยนขนานใหญ่ มุ่งเศรษฐกิจ สังคมของประเทศเหมาะกับภูมิทัศน์ใหม่ของโลก ยึดพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นประเทศพัฒนาแล้ว
ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) แบบสรุปย่อจำนวน 21 หน้า ได้กำหนดกรอบการพัฒนาระยะยาว เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำไปสู่การพัฒนาให้คนไทยมีความสุขและตอบสนองต่อการบรรลุ ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติในการพัฒนาคุณภาพชีวิตสร้างรายได้ระดับสูงเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และสร้างความสุขของคนไทย สังคมมีความมั่นคง เสมอภาคและเป็นธรรม
โดยร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ เกิดขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 เห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีอำนาจหน้าที่จัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
ขณะเดียวกัน ร่างกรอบยุทธศาสตร์นี้ยังระบุว่า ประเทศไทยมิได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ประเทศ เป้าหมายและยุทธศาสตร์ของประเทศในระยะยาว การบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารจึงให้ความสำคัญกับนโยบายพรรคการเมือง หรือนโยบายของรัฐบาล เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลทำให้การดำเนินนโยบายขาดความต่อเนื่อง ถือเป็นการสูญเสียโอกาสและสิ้นเปลืองทรัพยากรของประเทศ ดังนั้นเพื่อเป็นการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทยให้มีเป้าหมายการพัมนาในระยะยาว และเพื่อเป็นการกำหนดให้ฝ่ายบริหารมีความรับผิดชอบที่จะต้องขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมายที่ยอมรับร่วมและเป็นเอกภาพ ประเทศจำเป็นจะต้องมี "ยุทธศาสตร์ชาติ"
ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเทศไทยต้องปฏิรูปและปรับเปลี่ยนอย่างเป็นระบบขนานใหญ่ เพื่อให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเหมาะสมกับภูมิทัศน์ใหม่ของโลก ยืดหยุ่นปรับตัวได้เร็วรับมือกับความเสี่ยงและภัยคุกคามแบบใหม่ได้
สำหรับวิสัยทัศน์ ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ความมั่นคง คือการมีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยและการเปลี่ยนแปลงภายในและภายนอกประเทศในทุกระดับ ประเทศมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ที่เข้มแข็งเป็นศูนย์กลางและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน สังคมมีความปรองดองและมีความสามัคคี ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต มีงานและรายได้ที่มั่นคงพอเพียง
ความมั่งคั่ง ประเทศไทยมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ยกระดับเป็นประเทศในกลุ่มประเทศรายได้สูง ความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาลดลง ประชากรได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น เศรษฐกิจมีคามสามารถในการแข่งขันสูง สามารถสร้างรายได้ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ความสมบูรณ์ในทุนที่จะสามารถสร้างการพัฒนาต่อเนื่อง
ความยั่งยืน คือการพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญรายได้ และคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่ไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกินพอดีไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมจนเกินความสามารถในการรองรับและเยียวยาของระบบนิเวศน์ ประชาชนทุกภาคส่วนยึดและปฏิบัติตามเศรษฐกิจพอเพียง
โดยร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ เกิดขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 เห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีอำนาจหน้าที่จัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
ขณะเดียวกัน ร่างกรอบยุทธศาสตร์นี้ยังระบุว่า ประเทศไทยมิได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ประเทศ เป้าหมายและยุทธศาสตร์ของประเทศในระยะยาว การบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารจึงให้ความสำคัญกับนโยบายพรรคการเมือง หรือนโยบายของรัฐบาล เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลทำให้การดำเนินนโยบายขาดความต่อเนื่อง ถือเป็นการสูญเสียโอกาสและสิ้นเปลืองทรัพยากรของประเทศ ดังนั้นเพื่อเป็นการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทยให้มีเป้าหมายการพัมนาในระยะยาว และเพื่อเป็นการกำหนดให้ฝ่ายบริหารมีความรับผิดชอบที่จะต้องขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมายที่ยอมรับร่วมและเป็นเอกภาพ ประเทศจำเป็นจะต้องมี "ยุทธศาสตร์ชาติ"
ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเทศไทยต้องปฏิรูปและปรับเปลี่ยนอย่างเป็นระบบขนานใหญ่ เพื่อให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเหมาะสมกับภูมิทัศน์ใหม่ของโลก ยืดหยุ่นปรับตัวได้เร็วรับมือกับความเสี่ยงและภัยคุกคามแบบใหม่ได้
สำหรับวิสัยทัศน์ ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ความมั่นคง คือการมีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยและการเปลี่ยนแปลงภายในและภายนอกประเทศในทุกระดับ ประเทศมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ที่เข้มแข็งเป็นศูนย์กลางและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน สังคมมีความปรองดองและมีความสามัคคี ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต มีงานและรายได้ที่มั่นคงพอเพียง
ความมั่งคั่ง ประเทศไทยมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ยกระดับเป็นประเทศในกลุ่มประเทศรายได้สูง ความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาลดลง ประชากรได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น เศรษฐกิจมีคามสามารถในการแข่งขันสูง สามารถสร้างรายได้ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ความสมบูรณ์ในทุนที่จะสามารถสร้างการพัฒนาต่อเนื่อง
ความยั่งยืน คือการพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญรายได้ และคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่ไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกินพอดีไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมจนเกินความสามารถในการรองรับและเยียวยาของระบบนิเวศน์ ประชาชนทุกภาคส่วนยึดและปฏิบัติตามเศรษฐกิจพอเพียง
ooo
แต่คุณภาพชีวิต ณ บัดนาว...
ตัวอย่างเศรษฐกิจดี ขำน้ำตาเล็ด pic.twitter.com/f61CtlyVeR— บก.ลายจุด (@nuling) April 25, 2017