จากบทความ "กบฎบวรเดช"
ผู้เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.สนธิ เตชานันท์
ที่มา: เว็บไซต์สถาบันพระปกเกล้า
"องค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงวิเคราะห์ไว้ในพระราชบันทึกส่วนพระองค์พระราชทานนายเจมส์ แบกซเตอร์ (James Baxter) ที่ปรึกษากระทรวงการคลังชาวอังกฤษในเดือนสิงหาคมว่า มีความอัดอั้นตันใจในหมู่บุคคลสามประเภทด้วยกัน
"ซึ่งทรงจำแนกเป็น
"หนึ่ง 'พวกอนุรักษนิยมแข็งตัว' (Hardened Conservative) ซึ่งยังคงเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทรงมีพระบารมีวิเศษ แต่ก็พร้อมที่จะต่อว่าพระองค์หากไม่ทรงตอบสนองต่อความปรารถนาของเขา
"สอง 'พวกนิยมกษัตริย์ในระบอบรัฐธรมนูญ' (Constitutional Monarchists) ซึ่งใคร่ที่จะเห็นบุคคลที่ค่อนไปทางอนุรักษนิยมเป็นผู้อยู่ในอำนาจ และจึงมีความคิดจะทำการรัฐประหารรัฐบาลของพระยาพหลฯ หากแต่ว่าพวกนี้ไม่มีการจัดองค์กรที่ดีพอและขาดผู้นำ เพราะผู้นำตามความเคยชินของเขาก็คือเจ้านายในพระราชวงศ์ ในส่วนของพระองค์เองนั้นทรงเห็นเป็นมั่นเหมาะว่า 'ถ้าเจ้าพยายามจะนำ (พวกเขา) สถาบันพระมหากษัตริย์ก็จะถึงแก่กาลอวสาน'
"สาม 'พวกนิยมสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างถอนตัวไม่ขึ้น' (Die-hard Absolute Monarchists) ซึ่งคาดหวังให้พระมหากษัตริย์ทรงรวบรวมทหารหัวเมืองเข้า “ทำสงครามกับทหารกรุงเทพ” เพื่อที่จะได้ทรงทำการปกครองด้วยพระองค์เองอีกครั้ง ซึ่งแนวคิดนี้ พระองค์ทรงเห็นว่าเป็น 'ความบ้าดีๆ นี้เอง' (sheer madness)
"จึงทรงสรุปว่า 'ไม่มีทางหันหลังกลับ จะต้องระดมความพยายามทั้งปวงเพื่อทำให้รัฐธรรมนูญทำงานให้ได้' "
ที่มา FB
Nithinand Yorsaengrat
https://www.facebook.com/NithinandY/posts/10158492735360117?pnref=story
...
ใบตองแห้งแนะนำ...