ตร.แจงร่างแก้ ป.วิอาญา ให้ดักฟังคดีก่อการร้าย-อาชญากรรมข้ามชาติ-โทษสูง ยันไม่กระทบสิทธิคนดี
26 เม.ย. 60
ที่มา มติชนออนไลน์
เมื่อวันที่ 26 เมษายน ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) ซึ่งเกี่ยวกับการให้อำนาจการเข้าถึงพยานหลักฐานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยในร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวมีเรื่องเกี่ยวกับการเพิ่มอำนาจการดักฟังข้อมูลของเจ้าหน้าที่เพราะเจ้าหน้าที่เมื่อได้รับการอนุมัติจากศาลว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นการเพิ่มอำนาจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในการสืบสวนโดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวข้องกับ 3 เรื่องได้แก่ คดีก่อการร้าย คดีที่เกี่ยวข้องกับการก่ออาชญากรรมข้ามชาติ และคดีที่มีความซับซ้อนที่มีอัตราโทษมากกว่า 10 ปีขึ้นไป เพื่อให้การสืบสวนสอบสวนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยลำดับขั้นตอนการใช้อำนาจดังกล่าวอย่างชัดเจน เช่น หากเป็นคดีที่กองบังคับการปราบปราม เจ้าพนักงานก็ต้องทำเรื่องถึงผู้บังคับการกองปราบปราม จากนั้นต้องทำเรื่องขออนุมัติไปยังศาลว่าจะอนุมัติหรือไม่ และเป็นการเข้าถึงข้อมูลในลักษณะใด โดยจะต้องไม่กระทบสิทธิส่วนบุคคลของประชาชน
รองโฆษก ตร.กล่าวว่า ทั้งนี้ ไม่อยากให้มองว่าอำนาจการเข้าถึงข้อมูลเครื่องมือในการดักฟังผู้บริสุทธิ์ เนื่องจากมีกระบวนการในการใช้อำนาจอย่างชัดเจนและต้องผ่านการอนุมัติของศาล และเป็นการดำเนินการเฉพาะกลุ่มบุคคลที่มีความชัดเจนว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด เช่น ผู้ต้องสงสัยคดีฟอกเงิน เป็นต้น
...
#RIPเสรีภาพ แก้กฎหมาย แค่สงสัยก็ดักขัอมูลได้
>>>> ในกะลาแลนด์ มีอะไรดีกว่าที่คิด
- แค่สงสัย ก็ดักขัอมูลได้
- แค่คิด กล้องวงจรปิดก็เสียได้
- แค่อยากดู ก็ไม่ให้ดูได้
- แค่ถ่ายรูป ก็โดนอัดฟรี เผลอๆโดนยัดยา
- แค่ยื่นร้องเรียน ก็โดนอุ้มเข้าค่ายทหาร
@>>>> ประเทศนี้ ประชาธิปไตยแบบไทย 99.99%
#OpSingleGateway
#OpStopArticle44
>>>>>>>>>>>>>>>
สรุปเรื่อง
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบกฎหมายอนุญาตให้ตำรวจดักฟัง-ดักข้อมูล สืบคดีอาญา
.
วันนี้ (25 เมษายน) มีรายงานว่า พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ครม. มีมติชนเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยในร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ มีเรื่องการดักฟังข้อมูลด้วย แต่อย่างไรก็ตาม พล.ท.สรรเสริญ ก็บอกว่า ไม่อยากให้กังวล เพราะตำรวจจะต้องขอการอนุมัติจากศาล และจะทำได้ในคดีอาญาเท่านั้น "ดังนั้นจะไม่เป็นการล้วงความลับประชาชน"
.
iLaw เคยพูดถึงร่างแก้ไขวิ.อาญาฯ ไว้ ในปี 2558 (ในส่วนข่าวของวันนี้ยังไม่มีประกาศว่าเป็นร่างฉบับเดียวกันหรือไม่ อาจมีการตัดทอน หรือแก้ไขแล้ว แต่ใจความที่พล.ท.สรรเสริญ กล่าวถึงมีความพ้องกันหลายจุด เราจะนำข้อมูลใหม่มาเพิ่มและแก้ไขต่อไปเมื่อมีการประกาศให้สาธารณชนทราบ) ว่าจะเพิ่ม มาตรา 131/2 ให้อำนาจดักข้อมูลเพื่อป้องกันปราบปรามการกระทำความผิด การรวบรวมหลักฐานในคดีอาญาทั่วไป และการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมาย โดยกำหนดว่า
.
“มาตรา 131/2 ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งการสืบสวนคดีความมั่นคงของรัฐ ความผิดที่มีลักษณะเป็นองค์กรอาชญากรรม หรือที่ยุ่งยากซับซ้อน พนักงานสอบสวนโดยอนุมัติของผู้บังคับการ ซึ่งเป็นหัวหน้าของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบอาจยื่นคำร้องขอต่ออธิบดีผู้พิพากษาหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล เพื่อให้มีคำสั่งอนุญาตในการเข้าถึงและได้มาซึ่งข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์หรือข้อมูลข่าวสารใดๆ เช่น การตรวจสอบหรือการดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลการติดต่อสื่อสาร หรือข้อมูลทางการเงิน ของบุคคลที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดนั้นได้"
.
โดย iLaw ให้ความเห็นไว้ว่า คำจำกัดความของความผิดยังไม่ชัดเจนและกว้างเกินไป และยังขาดรูปแบบการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ด้วย เช่น ไม่มีการกำหนดให้ชัดเจนว่าจะคุ้มครองความปลอดภัยของข้อมูลที่ได้มาอย่างไร และยังแสดงความเป็นห่วงต่อการที่ให้ศาลเป็นผู้ถ่วงอำนาจเพียงผู้เดียวด้วย รวมทั้งข้อสังเกตจากข้อมูลที่ผ่านมาว่า "ศาลอนุมัติคำขอแทบทั้งหมด"
.
ที่มา
ข่าววันนี้
ผ่านแล้ว! ครม.เห็นชอบร่างกฎหมายล้วงความลับ-ดักฟังข้อมูล สืบคดีอาญา
http://www.matichon.co.th/news/540130
ข่าวเดียวกันจาก Voice TV
http://news.voicetv.co.th/thailand/483954.html
iLaw ตั้งข้อสังเกตถึง ร่างแก้ไขวิ.อาญาฯ: เพิ่มอำนาจดักฟังโทรศัพท์ ใครใช้สิทธิไม่ให้การให้สันนิษฐานว่าผิด (ปี 58)
https://ilaw.or.th/node/3400
ก่อนหน้านี้ ก็มีความคืบหน้าในปี '59
ครม.ไฟเขียว แก้ป.วิอาญา ตำรวจดักข้อมูลคดีร้ายแรง ซับซ้อน ชงสนช.พิจารณา
http://www.matichon.co.th/news/244048
ขอบคุณข้อมูลสรุปจาก The Matter
พลเมืองต่อต้าน Single Gateway เพื่อเสรีภาพและความยุติธรรม #opsinglegateway
....
ไม่เชื่อหรอกครับว่ามีเจตนาบริสุทธิ์
เพราะเช่นเดียวกับทุกกฎหมายเมืองไทยตอนนี้
ที่ตีกรอบว่าคนวิจารณ์การเมืองหรือกษัตริย์คือผู้ก่อการร้ายและภัยความมั่นคงของชาติ
มีหรือไอ้การให้สิทธิ์ดักฟังกับเจ้าหน้าที่รัฐเช่นนี้ จะไม่กระทบกับประชาชน
เพราะยิ่งประชาชนอึดอัดและต่อต้านเผด็จการมากเท่าไร
พวกเขาก็จะถูกหมายหัวเข้าค่ายผู้ก่อการร้ายได้ทั้งนั้น
และทำไปทำมา มันก็จะถูกใช้ครอบคลุมกับคนทั้งประเทศ
ในข้ออ้างเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
เช่นข้ออ้างในการออกกฎหมายมาตรา 44 และในอีกหลายมาตรานั่นล่ะ
เสรีภาพต้องมาก่อน เพื่อสร้างกระบวนการยุติธรรมมาตรฐานเดียว
เมื่อกระบวนการยุติธรรมมีมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศแล้วเมื่อนั้นล่ะ
ค่อยหยิบยกข้ออ้างเหล่านี้มาพูดกันใหม่
Junya Yimprasert