ภาพจาก #ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ New Democracy Movement – NDM
สุรพศ ทวีศักดิ์: ปล่อยไผ่ไปรับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน
Sun, 2017-04-30 12:17
ที่มา ประชาไท
สุรพศ ทวีศักดิ์
คิม ยัง แร ผู้อำนวยการมูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก (May 18 Memorial Foundation) ได้ทำหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ร้องขอให้ปล่อยตัวจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ “ไผ่ ดาวดิน” เพื่อให้เดินทางไปรับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน ปี 2560
เนื่องจากไผ่ถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 จากการแชร์เฟซบุ๊กข่าวเกี่ยวกับพระราชประวัติของ ร.10 ที่เผยแพร่ในบีบีซีไทย โดยไผ่ไม่ได้รับสิทธิประกันตัวอันเป็นสิทธินั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนพึงมี เขาถูกควบคุมตัวอยู่ที่ทัณฑสถานบำบัด จังหวัดขอนแก่น มาตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค.2559 หนังสือของคิม ยัง แร ให้เหตุผลสำคัญตอนหนึ่งว่า
“ ทางมูลนิธิได้ให้เสนอชื่อให้ จตุภัทร์ ได้รับรางวัล เพราะเขาเป็นตัวอย่างที่หาได้ยากยิ่งในการต่อสู้เพื่อพิทักษ์ประชาธิปไตยของไทย และเชิดชูไว้ซึ่งหลักแห่งความเสรีภาพ ความเสมอภาค และสิทธิมนุษยชน แม้ในขณะที่การกระทำดังกล่าวจะต้องเสียสละซึ่งความปลอดภัย ผลประโยชน์ แม้กระทั่งอนาคตของตนเอง
…ทางมูลนิธิเชื่อว่าทางการไทยควรปรับภาพพจน์ใหม่เป็นรัฐที่เคารพในสิทธิและเดินหน้าสู่การคืนการปกครองแบบประชาธิปไตย ด้วยการปล่อยตัวจตุรภัทร์ตั้งแต่บัดนี้ เพื่อให้เขาเข้าร่วมพิธีรับรางวัลกวางจูในวันที่ 18 พฤษภาคม 2560 ที่กวางจู ประเทศเกาหลีใต้ “
ผมมีข้อสังเกตบางอย่างคือ ขณะที่นักกิจกรรม นักเคลื่อนไหวจำนวนไม่น้อยในบ้านเรา มักมองเรื่องสิทธิเป็นส่วนๆ เน้นการเคลื่อนไหวเฉพาะสิทธิของคนบางกลุ่ม เช่น สิทธิสตรี, สิทธิของคนไม่มีศาสนา,สิทธิชุมชน, สิ่งแวดล้อมฯลฯ โดยเลี่ยงที่จะพูดถึงปัญหาการเมืองระดับชาติ
หรือยิ่งกว่านั้นบางกลุ่มก็เรียกร้องสิทธิในกลุ่มของตนเองไปพร้อมๆ กับเรียกร้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้งที่ไม่อิงวิถีทางประชาธิปไตย ทั้งยังผลักดันวาระของพวกตนผ่านการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ คสช.อีกด้วย
อีกประเภทหนึ่ง คือปัญญาชนที่พูดเรื่องประชาธิปไตย แต่เข้าไปมีตำแหน่ง บทบาทภายใต้อำนาจรัฐบาล คสช.โดยอ้างจริยธรรมว่าต้องการทำประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง
ผมไม่ได้คิดว่า การเรียกร้องสิทธิ, ผลประโยชน์ของคนเป็นกลุ่มๆ หรือการมีจริยธรรมบนสำนึกคำนึงถึงประโยชน์ของชาติเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ เพราะอันที่จริงประวัติศาสตร์ความก้าวหน้าของประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน มักเกิดจากการที่ปัจเจกบุคคล, กลุ่มบุคคลกลุ่มต่างๆ ที่ถูกกดขี่แล้วตระหลักถึงปัญหาการไม่มีสิทธิเท่าเทียมของตนเอง และลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้อง อย่างที่ริชาร์ด รอร์ตีกล่าวว่า “ความก้างหน้าของสิทธิมนุษยชนไม่ได้เกิดจากหลักปรัชญาหรือความคิดทางศีลธรรมที่สูงส่ง แต่เกิดจากเรื่องเล่าความเจ็บปวดในการต่อสู้ของบรรดาผู้ถูกกดขี่” หรืออย่างที่บางคนมองว่าการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในทางสังคมการเมือง ไม่ได้เกิดจากนักคิด ปัญญาชนที่มีชื่อเสียง แต่เกิดจากการเคลื่อนไหว การต่อสู้ของบรรดาผู้คนที่โนเนม ผู้ซึ่งไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจที่กดขี่
ขณะเดียวกันจริยธรรมของปัจเจกบุคคลที่ต้องการทำประโยชน์แก่ส่วนรวมก็จำเป็น แต่มันต้องสอดคล้องกับ “กติกากลาง” ของส่วนรวม การเป็นนักปฏิบัตินิยม (Pragmatists) แบบไทยที่เลือกให้ความสำคัญและมุ่งความสำเร็จเฉพาะสิทธิของกลุ่มตน โดยกระตือรือร้นผลักดันวาระของตนผ่านกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย หรืออ้างจริยธรรมที่ต้องการทำประโยชน์ส่วนรวมให้ความชอบธรรมกับการเข้าไปมีตำแหน่ง บทบาทภายใต้รัฐบาลเผด็จการ มันคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังคมเราเดินมาถึงวันนี้
คือเดินมาถึงจุดที่สังคมไม่มี “กติกากลาง” ที่ให้หลักประกันสิทธิทางการเมืองของทุกคนทุกฝ่าย ทำให้ไม่มีหลักอ้างอิง หรือช่องทาง, เวทีต่อรองบนหลักการของการมีสิทธิที่เท่าเทียมได้อีกต่อไป
ถึงตรงนี้ผมต้องการจะเน้นให้เห็นว่า ความโดดเด่นของไผ่ คือการเชื่อมโยงสิทธิด้านต่างๆ ของชาวบ้านเข้ากับสิทธิทางการเมืองระดับชาติ เพราะเขาชี้ให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า เมื่อการเมืองระดับชาติไม่เป็นประชาธิปไตย สิทธิชุมชน สิทธิในที่ทำกิน สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ ของชาวบ้าน ที่เขาเคยร่วมต่อสู้มาย่อมถูกกระทบไปด้วย ในเมื่อไม่มี "กติกากลาง" ที่เป็นประชาธิปไตย ก็ไม่มีพื้นที่ ไม่มีเวทีให้ชาวบ้านได้ต่อรองและเรียกร้องสิทธิด้านต่างๆ ของพวกเขาได้
นี่คือเหตุผลที่ทำให้ไผ่และเพื่อนๆ เป็นกลุ่มแรกๆ ที่ออกมาต่อต้านเผด็จการ โดยการออกมายืนเผชิญหน้ากับหัวหน้ารัฐบาล คสช.อย่างกล้าหาญ และยืนหยัดเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่องผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย แม้จะมองไม่เห็นโอกาสที่จะทำได้สำเร็จก็ตาม
การที่ไผ่ได้รับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน จึงเป็นการยืนยันอุดมการณ์ประชาธิปไตยและความกล้าหาญที่มูลนิธิ May 18 Memorial แห่งประเทศเกาหลีใต้มองเห็น แน่นอนว่า ประชาชนไทยจำนวนมากที่รักประชาธิปไตยย่อมจะมองเห็นด้วยเช่นกัน ยกเว้นบรรดาชนชั้นปกครอง หรือคนประเภทที่พูดคำว่า "ประชาธิปไตย" แต่ปากเท่านั้นที่ไม่เคยมองเห็น
ที่มา ประชาไท
สุรพศ ทวีศักดิ์
คิม ยัง แร ผู้อำนวยการมูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก (May 18 Memorial Foundation) ได้ทำหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ร้องขอให้ปล่อยตัวจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ “ไผ่ ดาวดิน” เพื่อให้เดินทางไปรับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน ปี 2560
เนื่องจากไผ่ถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 จากการแชร์เฟซบุ๊กข่าวเกี่ยวกับพระราชประวัติของ ร.10 ที่เผยแพร่ในบีบีซีไทย โดยไผ่ไม่ได้รับสิทธิประกันตัวอันเป็นสิทธินั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนพึงมี เขาถูกควบคุมตัวอยู่ที่ทัณฑสถานบำบัด จังหวัดขอนแก่น มาตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค.2559 หนังสือของคิม ยัง แร ให้เหตุผลสำคัญตอนหนึ่งว่า
“ ทางมูลนิธิได้ให้เสนอชื่อให้ จตุภัทร์ ได้รับรางวัล เพราะเขาเป็นตัวอย่างที่หาได้ยากยิ่งในการต่อสู้เพื่อพิทักษ์ประชาธิปไตยของไทย และเชิดชูไว้ซึ่งหลักแห่งความเสรีภาพ ความเสมอภาค และสิทธิมนุษยชน แม้ในขณะที่การกระทำดังกล่าวจะต้องเสียสละซึ่งความปลอดภัย ผลประโยชน์ แม้กระทั่งอนาคตของตนเอง
…ทางมูลนิธิเชื่อว่าทางการไทยควรปรับภาพพจน์ใหม่เป็นรัฐที่เคารพในสิทธิและเดินหน้าสู่การคืนการปกครองแบบประชาธิปไตย ด้วยการปล่อยตัวจตุรภัทร์ตั้งแต่บัดนี้ เพื่อให้เขาเข้าร่วมพิธีรับรางวัลกวางจูในวันที่ 18 พฤษภาคม 2560 ที่กวางจู ประเทศเกาหลีใต้ “
ผมมีข้อสังเกตบางอย่างคือ ขณะที่นักกิจกรรม นักเคลื่อนไหวจำนวนไม่น้อยในบ้านเรา มักมองเรื่องสิทธิเป็นส่วนๆ เน้นการเคลื่อนไหวเฉพาะสิทธิของคนบางกลุ่ม เช่น สิทธิสตรี, สิทธิของคนไม่มีศาสนา,สิทธิชุมชน, สิ่งแวดล้อมฯลฯ โดยเลี่ยงที่จะพูดถึงปัญหาการเมืองระดับชาติ
หรือยิ่งกว่านั้นบางกลุ่มก็เรียกร้องสิทธิในกลุ่มของตนเองไปพร้อมๆ กับเรียกร้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้งที่ไม่อิงวิถีทางประชาธิปไตย ทั้งยังผลักดันวาระของพวกตนผ่านการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ คสช.อีกด้วย
อีกประเภทหนึ่ง คือปัญญาชนที่พูดเรื่องประชาธิปไตย แต่เข้าไปมีตำแหน่ง บทบาทภายใต้อำนาจรัฐบาล คสช.โดยอ้างจริยธรรมว่าต้องการทำประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง
ผมไม่ได้คิดว่า การเรียกร้องสิทธิ, ผลประโยชน์ของคนเป็นกลุ่มๆ หรือการมีจริยธรรมบนสำนึกคำนึงถึงประโยชน์ของชาติเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ เพราะอันที่จริงประวัติศาสตร์ความก้าวหน้าของประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน มักเกิดจากการที่ปัจเจกบุคคล, กลุ่มบุคคลกลุ่มต่างๆ ที่ถูกกดขี่แล้วตระหลักถึงปัญหาการไม่มีสิทธิเท่าเทียมของตนเอง และลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้อง อย่างที่ริชาร์ด รอร์ตีกล่าวว่า “ความก้างหน้าของสิทธิมนุษยชนไม่ได้เกิดจากหลักปรัชญาหรือความคิดทางศีลธรรมที่สูงส่ง แต่เกิดจากเรื่องเล่าความเจ็บปวดในการต่อสู้ของบรรดาผู้ถูกกดขี่” หรืออย่างที่บางคนมองว่าการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในทางสังคมการเมือง ไม่ได้เกิดจากนักคิด ปัญญาชนที่มีชื่อเสียง แต่เกิดจากการเคลื่อนไหว การต่อสู้ของบรรดาผู้คนที่โนเนม ผู้ซึ่งไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจที่กดขี่
ขณะเดียวกันจริยธรรมของปัจเจกบุคคลที่ต้องการทำประโยชน์แก่ส่วนรวมก็จำเป็น แต่มันต้องสอดคล้องกับ “กติกากลาง” ของส่วนรวม การเป็นนักปฏิบัตินิยม (Pragmatists) แบบไทยที่เลือกให้ความสำคัญและมุ่งความสำเร็จเฉพาะสิทธิของกลุ่มตน โดยกระตือรือร้นผลักดันวาระของตนผ่านกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย หรืออ้างจริยธรรมที่ต้องการทำประโยชน์ส่วนรวมให้ความชอบธรรมกับการเข้าไปมีตำแหน่ง บทบาทภายใต้รัฐบาลเผด็จการ มันคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังคมเราเดินมาถึงวันนี้
คือเดินมาถึงจุดที่สังคมไม่มี “กติกากลาง” ที่ให้หลักประกันสิทธิทางการเมืองของทุกคนทุกฝ่าย ทำให้ไม่มีหลักอ้างอิง หรือช่องทาง, เวทีต่อรองบนหลักการของการมีสิทธิที่เท่าเทียมได้อีกต่อไป
ถึงตรงนี้ผมต้องการจะเน้นให้เห็นว่า ความโดดเด่นของไผ่ คือการเชื่อมโยงสิทธิด้านต่างๆ ของชาวบ้านเข้ากับสิทธิทางการเมืองระดับชาติ เพราะเขาชี้ให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า เมื่อการเมืองระดับชาติไม่เป็นประชาธิปไตย สิทธิชุมชน สิทธิในที่ทำกิน สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ ของชาวบ้าน ที่เขาเคยร่วมต่อสู้มาย่อมถูกกระทบไปด้วย ในเมื่อไม่มี "กติกากลาง" ที่เป็นประชาธิปไตย ก็ไม่มีพื้นที่ ไม่มีเวทีให้ชาวบ้านได้ต่อรองและเรียกร้องสิทธิด้านต่างๆ ของพวกเขาได้
นี่คือเหตุผลที่ทำให้ไผ่และเพื่อนๆ เป็นกลุ่มแรกๆ ที่ออกมาต่อต้านเผด็จการ โดยการออกมายืนเผชิญหน้ากับหัวหน้ารัฐบาล คสช.อย่างกล้าหาญ และยืนหยัดเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่องผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย แม้จะมองไม่เห็นโอกาสที่จะทำได้สำเร็จก็ตาม
การที่ไผ่ได้รับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน จึงเป็นการยืนยันอุดมการณ์ประชาธิปไตยและความกล้าหาญที่มูลนิธิ May 18 Memorial แห่งประเทศเกาหลีใต้มองเห็น แน่นอนว่า ประชาชนไทยจำนวนมากที่รักประชาธิปไตยย่อมจะมองเห็นด้วยเช่นกัน ยกเว้นบรรดาชนชั้นปกครอง หรือคนประเภทที่พูดคำว่า "ประชาธิปไตย" แต่ปากเท่านั้นที่ไม่เคยมองเห็น