วันพฤหัสบดี, กันยายน 06, 2561

ภารกิจของ"สุเทพ" จาก"ตระบัติสัตย์เพื่อชาติ" สู่ “รับใช้กษัตริย์” และ “ขจัดระบอบทักษิณ” (มาเล่นการเมืองทำไม? ทำไมไม่ไปทำงานในสำนักพระราชวัง?!?)



LIGHTROCKET VIA GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพสุเทพนำมวลชน กปปส. ที่อยู่ระหว่างชุมนุม "ปิดกรุงเทพฯ" สวมเสื้อสีเหลืองเพื่อแสดงความจงรักภักดี เนื่องในวันฉัตรมงคล 5 พ.ค. 2557


Exclusive: สุเทพปฏิญาณ “รับใช้กษัตริย์” และ “ขจัดระบอบทักษิณ” คือภารกิจ รปช.


โดย หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ & วิดีโอโดย วสวัตติ์ ลุขะรัง
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย


เวลาเกินกว่าสองในสามของชีวิตของ สุเทพ เทือกสุบรรณ ถูกใช้จ่ายไปในแวดวงการเมือง

ท่ามกลางมิตรมากหน้า และสายสัมพันธ์การเมืองแน่นหนากับบุคคลทุกระดับ นักการเมืองวัย 69 ปีเพิ่งพบ "มิตรแท้" ในยามถอดสูท ทิ้งสภา ไปเล่นการเมืองข้างถนน สถาปนามวลชนที่เรียกตัวเองว่าคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) เมื่อปี 2556-2557

ประชาชน คือมิตรแท้ทางการเมืองตามทัศนะของเขา โดยมี "ระบอบทักษิณ" เป็น ศัตรูถาวร

ด้วย "สัญญาณพิเศษ" และ "เงื่อนไขที่ไม่อาจปฏิเสธ" ทำให้ชีวิตของเขา "หักเห" กลับมาที่การเมืองในระบบอีกครั้ง เปิดตัว เปิดหน้าเป็นผู้ก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) และประกาศผ่านบีบีซีไทยว่าการต่อสู้กับ "ระบอบทักษิณ" เป็นภารกิจภาคต่อ พร้อมกับภารกิจของพรรค รปช. ที่ประกาศในวันเปิดตัวว่าจะทำหน้าที่ "พรรคพลเมืองที่เป็นพสกนิกรปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์"

สุเทพ ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ บีบีซีไทย ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ จ.สุราษฎร์ธานี เล่าที่มาของแนวคิดนี้ว่ามาจากการแลกเปลี่ยนความคิดกับประชาชน "ผู้ตื่นรู้ทางการเมือง" ตั้งแต่ช่วงชุมนุม กปปส. เมื่อ 5 ปีก่อน จนเกิดความตระหนักร่วมกันว่าเป็นหน้าที่ของประชาชนที่ต้องรับผิดชอบบ้านเมือง แม้ขณะนั้นยังไม่คิดถึงการตั้งพรรค คิดเพียงให้พลังของประชาชนไปสนับสนุนพรรคที่ยอมรับแนวคิดปฏิรูปประเทศก็ตาม แต่เมื่อสองพรรคใหญ่ คือ ประชาธิปัตย์และเพื่อไทย ประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในชั้นประชามติเมื่อปี 2559 ประชาชนจึงมองไม่เห็น "พรรคที่พึ่งหวังได้"

"เราทั้งหลายเป็นข้าแผ่นดิน เป็นคนของพระเจ้าแผ่นดิน ดังนั้นเราก็มีหน้าที่ต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน รับใช้พระมหากษัตริย์ เพราะพระมหากษัตริย์เป็นธงชัยของประเทศนี้" สุเทพแจกแจงเหตุผลความจำเป็นในการตั้งพรรคด้วยน้ำเสียงที่จริงจัง พร้อมแววตาที่มุ่งมั่น

เห็นนักการเมืองบางกลุ่ม "ไม่เอาเจ้า"

แม้ประกาศตัวเป็น "พรรคพสกนิกร" แต่ผู้ก่อตั้งแถวหน้ายืนยันว่า รปช. ไม่ใช่ "พรรคโหนเจ้า"

"ตอนที่เราชุมนุมปี 2556-2557 เหตุผลหนึ่งเราก็เป็นห่วงสถาบันพระมหากษัตริย์นะ เพราะว่าตอนนั้นมีการลบหลู่ มีความพยายามที่จะใส่ร้ายสถาบันอยู่มาก แต่ถ้าสังเกตดูบนเวทีทุกคืนเราไม่เคยพูดเลย ผมไม่เคยพูดเลย คนของเราไม่เคยพูดเลย ประชาชนที่มาชุมนุมก็ไม่พูดเลย เก็บไว้ในใจ เพราะฉะนั้นนี่ไม่ใช่พฤติกรรมของคนที่จะโหนเจ้า แต่ว่าเมื่อจะทำการเมืองเราเริ่มเห็นว่ามีนักการเมืองบางกลุ่มบางพวกได้แสดงท่าทีชัดเจนว่าไม่เอาเจ้า เราจึงได้กำหนดเป็นอุดมการณ์ข้อหนึ่งของเราเลยว่าเราเทิดทูนจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ว่าจะไม่เอาประเด็นเหล่านี้ไปพูดจาหาเสียง ไม่ใช่โหนเจ้าอย่างนั้น"

ด้วยภารกิจที่สุเทพกับพวกบอกว่าต้องทำอย่าง "สุดชีวิตและจิตใจ" บุคคลที่จะมายืนเป็นแนวหน้าของพรรคจึงผ่านการขบคิดและคัดสรรมาเป็นอย่างดี โดยเชื่อกันว่าหากได้ "ราชนิกุล" มานำทัพ ทิศทางการขับเคลื่อนพรรคจะแจ่มชัดยิ่งขึ้น พร้อมกับภาพของ 2 "คุณชาย" ที่สุเทพมีสายสัมพันธ์อันดีที่ลอยเด่นขึ้น

คนหนึ่งคือ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตผู้ว่าราชการ กทม. สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ "มิตรการเมือง" ที่ควักเงิน 10 ล้านบาทบริจาคสร้างหอสมุดของวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ อาณาจักรแห่งใหม่ของ "ลุงกำนัน" หลังลาเวทีการชุมนุม

อ่านบทความเต็มได้ที่

https://www.bbc.com/thai/thailand-45420226

...

Nattapak Wattanavatee นี่ไงนักการเมืองรับใช้กษัตริย์แต่ไม่รับใช้ประชาชน แพ้ทุกครั้งก็ไม่แปลก

นิชา ลาวดวง มันโหน...

ooo




ด่านักการเมือง เท่ากับ ถ่มน้ำลายขึ้นฟ้า สุดท้าย..ก็ตกใส่หน้าตัวเอง - นักการเมืองเล่นปาหี่กันได้ เพราะ ประชาชนไทยถูกทำให้ไร้เดียงสาทางการเมือง "ใครละ..? ...กลุ่มไหนละ...? " ทำให้ประชาชนอ่อนด้อย ถูกทำให้เชื่องเพื่อควบคุม.... อย่าอวดฉลาด โดยมองกลุ่มคนที่ด่าได้ วิจารณ์ได้ ประณามได้ เพียงฝ่ายเดียวนักเลย คณะมหกรรมปาหี การเมือง ....


Jom Petchpradab shared a video.