ธนาธร ‘on the west coast of’
สหรัฐอเมริกานี่อื้อฮือเชียวละ
เทียบกับประวิตรไปกาฬสินธุ์นั่นเป๋ไม่เป็นท่า แม้ลิ่วล้อออกมาช่วยแก้ต่างให้ ว่าสิ่งที่ทักกี้พูดไม่มีใครเห็น
แต่มีคนรู้จริงยันแน่ๆ “ก็ไปขอ”
การตระเวนดูงาน (ไฮเปอร์ลู้ป) และบรรยาย
หลายเมืองบนทวีปอเมริกาเหนือ ของทีม ‘อนาคตใหม่’ จากแอล.เอ.ไปเนวาด้า แล้วจะข้ามไปมอนทรีโอล จากนั้นจึงย้อนมานิวยอร์ค แค่สองจุดแรก
แอล.เอ.-เนวาด้า ก็ฮือฮาน่าดู เพราะเขาเล่นประเด็นใหม่
ล้ำหน้าไปไกลในอนาคตเลยเชียว
หลังจากที่คณะของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
และพรรณิการ์ วานิช เข้าพบรองนายกเทศมนตรีนครลอส แองเจลีส สนทนาประเด็นการเมืองไทย
การบ้านแอล.เอ. แล้วก็พากันไปดูงานการค้นคว้าทดลองระบบขนส่งมวลชนแบบ Hyperloop ที่มลรัฐเนวาด้า
ตรงนี้ก่อให้เกิดการสนทนา ซักค้าน ตอบสนอง และต่อยอดทางความคิดกันอย่างกว้างขวาง
อย่างน้อยๆ ทางหน้ากระดานอีเล็คทรอนิค จากการเขียนเล่าของธนาธรบนหน้าเฟซบุ๊คของเขา
การเมืองไทย :นินา ฮาชิเกียน ‘เดพพิวตี้ แมร์’ ลอส แองเจลีส เคยเป็นทูตในอาเซียนในช่วงปีหลังรัฐประหาร ๒๕๕๗ “จึงคุ้นเคยกับสถานการณ์การเมืองไทยดี
เธอได้ให้กำลังใจผมและคนไทยทั้งประเทศ
ในภารกิจทวงคืนประชาธิปไตยและการเมืองไทยให้กลับมาอยู่ในมือของประชาชนอีกครั้ง”
การบ้าน แอล.เอ.
:“คุณนินายืนยันว่า ยิ่งเปิดเผยข้อมูลมาก รัฐยิ่งโปร่งใส
เพราะประชาชนจะมีอำนาจตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาลท้องถิ่น
ในขณะเดียวกันรัฐบาลท้องถิ่นเองก็จะประเมินการทำงานของตนเองได้ถูก
ว่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้มากน้อยแค่ไหน”
Hyperloop :
“ถ้าจะไปอนาคต อย่ามองแค่ปัจจุบัน
ทั้งรถไฟความเร็วปานกลาง และรถไฟความเร็วสูง อาจไม่ใช่คำตอบสำหรับระบบขนส่งมวลชนไทยอีกต่อไป ผมและทีมอนาคตใหม่ได้ไปคุยกับผู้พัฒนานวัตกรรมไฮเปอร์ลูประดับโลกถึง ๓ แห่ง รวมทั้ง Virgin Hyperloop One ถึงความเป็นไปได้ที่จะเอามาสร้างในไทย
ในเมื่อมีเทคโนโลยีที่ประหยัดงบประมาณได้มากกว่า
ทำความเร็วได้มากกว่า แถมยังกระตุ้นอุตสาหกรรมและการจ้างแรงงานไทยได้อีกมากมาย
เพราะหลายๆ ส่วนสามารถผลิตได้ในประเทศ เราจะรออะไรครับ”
จากการที่เขาได้คุยกับ ร็อบ เฟอร์เบอร์
ผอ.ฝ่ายวิศวกรรมของ Virgin Hyperloop One “ยืนยันว่าไฮเปอร์ลูปเป็นระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพที่สุดในโลก
รวดเร็วระดับ ๑,๐๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ใช้พลังงานเพียง ๑๕%
ของรถไฟแมกเลฟที่ทันสมัยที่สุดของญี่ปุ่น
ทำให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แถมยังมีราคาถูกกว่า ทั้งในด้านการลงทุนราง และระบบปฏิบัติการ
(ทั้ง capex และ opex) โดยใช้เงินเพียงครึ่งเดียวของรางรถไฟความเร็วสูง
ซึ่งการใช้งบประมาณน้อยกว่าเท่ากับระยะเวลาคืนทุนที่สั้นกว่าด้วย”
ข้อสำคัญ “ระบบอื่นเช่น ราง ตัวรถ
รวมถึงอุโมงค์สูญญากาศที่ใช้สำหรับควบคุมสภาพแวดล้อมของระบบรางรถไฟ
สามารถผลิตได้ในไทย” ซึ่งธนาธรหวังว่า “ก่อเกิดการจ้างงานและการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศขนานใหญ่ด้วย”
แต่กระนั้น Pipob
Udomittipong นักแปลและสื่อข่าวต่างประเทศชื่อดัง
โพสต์ติติง #ควรฟังความทั้งสองด้านครับ
เขาอ้างว่าค่าใช้จ่ายที่ อีลอน มัสค์ เสนอสำหรับการสร้างไฮเปอร์ลู้ปจาก
แอล.เอ.ไปซาน ฟรานซิสโกนั้น
“เป็นการเสนอตัวเลขที่ต่ำกว่าความจริงมาก (https://goo.gl/Y9N7Pd) ตัวเลขที่ใกล้ความจริงกว่าคือ 100
พันล้านเหรียญ
ซึ่งแพงว่าระบบรถไฟความเร็วสูงในเส้นทางเดียวกันเสียอีก (https://goo.gl/wjEJMr)
เพราะการสร้าง Hyperloop
คือการเอารถไฟความเร็วสูงแบบ maglev ไปวิ่งในท่อสุญญากาศขนาดใหญ่
การสร้างท่อขนาดใหญ่ที่รักษาแรงดันคงที่ (เพื่อลดแรงเสียดทาน) ระยะทางหลายร้อย กม.แบบนั้น
ไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่ถูก”
ซึ่งก็มีผู้ใช้นาม Chorika
Cherry Wanich เขียนตอบว่า “ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ
เดี๋ยวกลับไทยเราจะพูดเรื่องไฮเปอร์ลูปแบบลงรายละเอียดอีกครั้ง
จะได้แลกเปลี่ยนความเห็นและข้อมูลต่างๆ กันมากขึ้นสำหรับความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบรางในไทยนะคะ
ส่วนเรื่องต้นทุน อันที่จริง 3
บริษัทที่เราไปคุยด้วยก็ให้ข้อมูลไม่ตรงกันค่ะ แต่ทุกที่ยืนยันว่าถูกกว่ารถไฟแมกเลฟแน่นอน”
นอกจากนั้นธนาธรได้ตอบคอมเม้นต์ของผู้ใช้นาม
Sayan Moladook ทั้งสี่ข้อ ดังนี้ “ขอบคุณที่ถามคำถามน่าสนใจและมีประโยชน์มากครับ
ผมตอบตามนี้นะครับ
1. ผมกังวลเช่นกันเรื่องอากาศ แต่ร็อบยืนยันว่าระบบถูกออกแบบมาให้อัดอากาศเข้าอุโมงค์ทั้งระบบทันทีที่เกิดเหตุฉุกเฉินใดๆขึ้น ออกซิเจนจะเข้าสู่ระบบภายใน 15 วินาที ซึ่งจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์แน่นอน
2. อุโมงค์สามารถอยู่ได้ทั้งบนพื้นดิน ลอยฟ้า และใต้ดิน แต่การทำใต้ดินจะแพง ทำบนดินต้องเวนคืนที่ดินมาก สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน การทำลอยฟ้าจะดีที่สุด เรื่องต้านทานแรงระเบิดผมไม่แน่ใจ แต่รถไฟไฮเปอร์ลูปถูกออกแบบให้วิ่งได้ตามปกติในแผ่นดินไหวระดับ 7 แมกนิจูด เพราะฉะนั้นก็ถือว่ามีโครงสร้างที่แข็งแรงกว่ารถไฟชนิดอื่น
3. อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้น้อยมาก เพราะในความเร็วระดับ 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่สามารถใช้คนคุมได้อยู่แล้ว ไฮเปอร์ลูปมีทั้งระบบคอมพิวเตอร์และเครื่องจักรที่รองรับหลายชั้น และการมีอุโมงค์เป็นระบบปิดก็ทำให้เกิดความปลอดภัยมากกว่าระบบรางปกติอยู่แล้ว
4. เป็นเรื่องจริงที่ว่าเราจะไม่สามารถชมวิวได้หากนั่งไฮเปอร์ลูป แต่หลายบริษัทออกแบบหน้าต่างจำลองเพื่อสร้างภาพวิว (augmented reality) ไม่ให้ผู้โดยสารอึดอัดเกินไป หน้าต่างเหล่านี้ยังสามารถแปลงเป็นหน้าจอดูหนัง หรือโฆษณาได้ด้วย ส่วนคนที่ต้องการชมทิวทัศน์จริงๆ ผมคิดว่าการเดินทางด้วยวิธีอื่นๆเช่นเรือ รถยนต์ หรือรถโดยสาร ก็สามารถตอบโจทย์ได้ครับ”
1. ผมกังวลเช่นกันเรื่องอากาศ แต่ร็อบยืนยันว่าระบบถูกออกแบบมาให้อัดอากาศเข้าอุโมงค์ทั้งระบบทันทีที่เกิดเหตุฉุกเฉินใดๆขึ้น ออกซิเจนจะเข้าสู่ระบบภายใน 15 วินาที ซึ่งจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์แน่นอน
2. อุโมงค์สามารถอยู่ได้ทั้งบนพื้นดิน ลอยฟ้า และใต้ดิน แต่การทำใต้ดินจะแพง ทำบนดินต้องเวนคืนที่ดินมาก สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน การทำลอยฟ้าจะดีที่สุด เรื่องต้านทานแรงระเบิดผมไม่แน่ใจ แต่รถไฟไฮเปอร์ลูปถูกออกแบบให้วิ่งได้ตามปกติในแผ่นดินไหวระดับ 7 แมกนิจูด เพราะฉะนั้นก็ถือว่ามีโครงสร้างที่แข็งแรงกว่ารถไฟชนิดอื่น
3. อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้น้อยมาก เพราะในความเร็วระดับ 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่สามารถใช้คนคุมได้อยู่แล้ว ไฮเปอร์ลูปมีทั้งระบบคอมพิวเตอร์และเครื่องจักรที่รองรับหลายชั้น และการมีอุโมงค์เป็นระบบปิดก็ทำให้เกิดความปลอดภัยมากกว่าระบบรางปกติอยู่แล้ว
4. เป็นเรื่องจริงที่ว่าเราจะไม่สามารถชมวิวได้หากนั่งไฮเปอร์ลูป แต่หลายบริษัทออกแบบหน้าต่างจำลองเพื่อสร้างภาพวิว (augmented reality) ไม่ให้ผู้โดยสารอึดอัดเกินไป หน้าต่างเหล่านี้ยังสามารถแปลงเป็นหน้าจอดูหนัง หรือโฆษณาได้ด้วย ส่วนคนที่ต้องการชมทิวทัศน์จริงๆ ผมคิดว่าการเดินทางด้วยวิธีอื่นๆเช่นเรือ รถยนต์ หรือรถโดยสาร ก็สามารถตอบโจทย์ได้ครับ”