๑๙ ก.ย.นี้ กระทรวงต่างประเทศไทยจะไปเถียงผู้ช่วยเลขาธิการสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชน
แอนดรูว์ กิลมัวร์ ที่ Palais des Nations กรุงเจนีวา ต่อรายงานประจำปีเรื่องขอบข่ายและผลกระทบจากการแก้แค้นกับผู้ตกเป็นเหยื่อ
นักกิจกรรม และผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน
ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศ
‘น่าละอาย’ ต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน ๓๘ แห่ง
และเป็นหนึ่งในหมู่ประเทศที่เพิ่งติดโผใหม่ในปีนี้ ๒๙ แห่ง
ไม่ว่ากระทรวงต่างประเทศไทยจะสามารถเสนอข้อโต้แย้ง
“รายงานดังกล่าวยังขาดความสมดุลของข้อมูล” (อ้างว่าคดีที่ยูเอ็นรายงานเป็นเพียงประเด็นย่อย
ไม่กระทบต่อการปฏิบัติตามพันธกรณีเรื่องสิทธิมนุษยชนของไทยต่อองค์การฯ) ให้นานาชาติฟังขึ้นหรือไม่
แต่ในการเสนอข่าวคัดง้างรายงานดังกล่าวที่ออกมาเบื้องต้นๆ
นั้นเต็มไปด้วยความสับสน ซึ่งผู้สนับสนุนรัฐบาล คสช.
พยายามจะบิดเบือนว่ารายงานชิ้นนี้ไม่มีความสำคัญแต่อย่างใด “คนที่ออกมาบอกว่าไทยน่าละอายคือยูเอ็นจริงหรือ? UNHRC และ UNHCR คืออันเดียวกันหรือเปล่า?
เปลี่ยนชื่อไหม? เกี่ยวข้องกันอย่างไร?
สรุปใครมีหน้าที่นี้กันแน่?”
โฆษก
คสช.เองกล่าวหาว่าเหตุที่เป็นข่าวฮือฮาเพราะฝ่ายการเมืองจงใจปั่นกระแส
บางคนได้เห็นข้อเขียนของ 'เปลว สีเงิน' นสพ.ไทยโพสต์ ซึ่งดูเหมือนต้องการ ‘ดิสเครดิต’ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน หรือ UNHRC ผู้เสนอรายงานว่าเป็นองค์กรเดียวกับ
UNHCR หรือสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ
นักเขียนและผู้ประกอบการสื่อสิ่งพิมพ์ผู้นี้
โจมตีว่าองค์กรสิทธิมนุษยชนดังกล่าวเคยเสนอรายงานให้ร้ายประเทศไทยมาก่อน
เพื่อความกระจ่างแก่คนทั่วไป ‘แอมเนสตี้ อินเตอร์แน้ทชั่นแนล’ ได้อธิบายความแตกต่างระหว่างสององค์กรสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาตินี้ไว้
“สรุปสั้นๆ ก็คือ คนที่ออกรายงานฉบับนี้คือ
UNHRC เป็นหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนในสังกัด UN
แน่นอน และงานนี้ไม่เกี่ยวกับ UNHCR ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัด
UN ที่ทำเรื่องผู้ลี้ภัย
คำตอบยาวๆ คือ รายงานฉบับนี้เป็นรายงานประจำปีของ ‘คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ’ (United Nations Human Rights Council หรือ UNHRC) สังกัดอยู่กับสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly หรือ UN) โดยเป็นหน่วยงานที่มาทำหน้าที่แทน "คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ" (United Nations Commission on Human Rights หรือ UNCHR) ซึ่งทำงานใกล้ชิดกับ "สํานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน" (The Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights หรือ OHCHR)
โดยมีหน้าที่สําคัญในการสอดส่องดูแลการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นทั่วโลก
สร้างบรรทัดฐานและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและให้ข้อเสนอแนะ
รวมทั้งส่งเสริมขีดความสามารถสําหรับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ
ส่วน UNHCR ย่อมาจาก United Nations High Commissioner for Refugees คือ "สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ" ทำงานเพื่อผู้ที่ถูกบังคับให้ออกจากประเทศเนื่องจากสงคราม ความขัดแย้งและความรุนแรง เราให้ความช่วยเหลือ ให้ความคุ้มครอง และหาทางออกที่ยั่งยืนแก่บุคคลในความห่วงใยทั่วโลก”
ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อไม่ให้เกิดการสับสน
เกี่ยวกับอักษร ๓ ตัว C / H / R ไหนอยู่หน้า ไหนอยู่หลัง
ไหนอยู่กลาง ดูกันดีๆ ก่อนมีคอมเม้นต์
(หมายเหตุ ผู้เขียนขออภัยอย่างยิ่งในความสะเพร่าที่เอ่ยถึง สุทธิชัย หยุ่น เมื่อ ๗ ชั่วโมงก่อนหน้านี้อย่างผิดพลาด แทนที่จะเป็น เปลว สีเงิน ดังเช่นที่ได้แก้ไขแล้ว)
(หมายเหตุ ผู้เขียนขออภัยอย่างยิ่งในความสะเพร่าที่เอ่ยถึง สุทธิชัย หยุ่น เมื่อ ๗ ชั่วโมงก่อนหน้านี้อย่างผิดพลาด แทนที่จะเป็น เปลว สีเงิน ดังเช่นที่ได้แก้ไขแล้ว)