คนไทยโล่งใจได้นิดเมื่อไต้ฝุ่นมังคุดเลยไปถล่มฮ่องกง
แต่อย่าไว้ใจทางอย่าวางใจ คสช. ช่วงนี้คอการเมืองในกรุงฯ ใส่ใจเรื่องเลือกตั้งกันมาก
จนเผลอลืมไปว่ายังมีสถานการณ์น้ำท่วมบ้านนอกอยู่
ดูเหมือนสิ่งที่ คสช.เป็นห่วงก็แต่ภาพลักษณ์
ทั้งที่ผ่านมาหลายวัน ทั่นโฆษกฯ ยังติดใจแถลงของยูเอ็นเรื่องไทยติดรายชื่อ ‘น่าละอาย’ ด้านสิทธิมนุษยชนอยู่ ออกมาโต้ด้วยข้อแก้ตัวเสล่อๆ
ไปดูสถานการณ์น้ำท่วมกันก่อน จากแถลงจากกรมป้องกันสาธารณภัยล่าสุดเมื่อ
๑๖ ก.ย. ๑๖.๑๖ น. ว่าสถานการณ์คลี่คลายแล้ว ๑๔ จังหวัด แต่ยังมัดขมึงเกลียวอยู่อีก
๖ ได้แก่ บึงกาฬ นครพนม สกลนคร นครนายก ปราจีนบุรี และเพชรบุรี
“นายชยพล ธิติศักดิ์
อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า อิทธิพลมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
ตั้งแต่วันที่ ๑๗ สิงหาคม – ๑๕ กันยายน ๒๕๖๑ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน
น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินถล่มในพื้นที่ ๒๐ จังหวัด”
ก่อผลกระทบผู้คน ๒๐๘,๙๐๐ รายใน ๖๕,๕๗๙ ครัวเรือน
และมีผู้เสียชีวิตแล้ว ๔ ราย ส่วนที่ยังไม่คลี่คลายอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำโขง ๒
จังหวัด ลุ่มน้ำอูนและลุ่มน้ำสงคราม ๑ จังหวัด ลุ่มน้ำปราจีน ๒ จังหวัด
และลุ่มน้ำเพชรบุรีอีก ๑ จังหวัด
(รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://news.mthai.com/general-news/672044.html)
วันเดียวกัน พ.อ.วินธัย สุวารี จวกแหลก ‘ฝ่ายการเมือง’ กล่าวหาว่าช่วยโอกาสนำแถลงการณ์ขององค์การสหประชาชาติ
“มาใช้ขยายผลเพื่อให้ดูเป็นผลลบต่อประเทศไทย”
อันนี้ต้องเรียนทั่นโฆษกฯ ว่าความรู้สึกช้าจัง ผลกระทบที่เป็นลบต่อประเทศไทยนั้นมันเกิดตั้งแต่นาย
อันโตนิโอ กูแตร์เรส ออกมาแถลงเมื่อ ๑๒ กันยาโน่นแล้ว
ทั่วโลกเขาได้ยินแม้ในกองบัญชาการทหารไทยจะไม่ได้ฟัง
และยังจะสร้างแรงกระแทกกระทั้นอีกระลอกเมื่อมีการรายงานทางการต่อที่ประชุมใหญ่ในวันที่
๑๙ กันยานี้ จะอ้างอย่างไรว่า “ไม่น่าเกี่ยวข้องกับความร่วมมือในด้านสิทธิมนุษยชน
เพราะรัฐบาลให้ความสำคัญในการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนมาตลอด” นั้นพูดได้
แต่ฟังไม่ขึ้น
โฆษกฯ วินธัยแถไถอย่างตาบอดตาใสอีกว่า “ข้อมูลในรายงานมีที่มาอยู่ในกรอบที่จำกัด
หรืออาจมีที่มาจากเพียงบุคคลเฉพาะกลุ่มเท่านั้น” ทั่นได้ฟังรายงานของเขาหรือเปล่า ฟังแล้วเข้าใจไหม
หรือแค่ คัมๆ โกๆ
นายกูแตร์เรสเขาบอกว่าข้อมูลได้มา “จากการเดินทางไปค้นหาข้อเท็จจริงในประเทศไทยของคณะตัวแทนพิเศษสหประชาชาติเมื่อเดือนพฤษภาคม
๒๕๖๐” เขาลงพื้นที่เสาะหาข้อเท็จจริงเหล่านี้ทั่วโลกอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่เอาฟังแต่ฟังรายงาน
‘ไอโอ’ ของศูนย์ไซเบอร์ทัพบก
ข้อมูลเจ๋งๆ จริงๆ อย่างที่เอ่ยข้างต้น
ถ้าทั่นไม่บล็อค ‘ไทยอีนิวส์’ ที่นี่ https://thaienews.blogspot.com/2018/09/blog-post_68.html
ละก็ ป่านนี้ทั่นจะไม่ต้องเผยอขี้เท่อให้ชาวโลกเห็น)
รวมทั้งข้อมูลความจริงเรื่องเก่าที่พยายามปกปิดบิดเบือนมานานแล้ว
อย่างไรก็ปิดไม่มิดเรื่องการใช้กำลังทหาร รถถัง สลายชุมนุมเรียกร้องการเลือกตั้งเมื่อปี
๒๕๕๓ มีประชาชนมือเปล่า (อย่างดีแค่หนังสติ๊กและไม้รวกเหลา) ตายด้วยกระสุนจริง ๙๙
ราย
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ หนึ่งในแกนนำ นปช.
ของการชุมนุมนั้นตั้งข้อเกตุจากบทความที่เขาอ่านหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับ ๖ กันยา
ว่า “มีนายทหารระดับนายพลเดินทางไปยังสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับสำนวนคดีสลายการชุมนุมกลุ่มนปช.
เมื่อปี ๒๕๕๓...
โดยนายพลขอให้ผู้ใหญ่ฝ่ายอัยการยุติเรื่องดังกล่าว
โดยเฉพาะกรณีเกือบ ๒๐ ศพที่ศาลไต่สวนสาเหตุการตายเป็นที่ยุติแล้วว่าเสียชีวิตเพราะถูกกระสุนปืนความเร็วสูงจากฝั่งเจ้าหน้าที่
ให้ทำเป็นสำนวนมุมดำ หาตัวผู้กระทำความผิดไม่ได้ จึงไม่ต้องส่งฟ้องศาล”
แกนนำ นปช. ยังปรารภด้วยว่า “ผมพยายามระมัดระวังไม่ให้การติดตามเรื่องนี้ก่อกระแสความขัดแย้งระหว่างคนต่างความคิด
และพร้อมร่วมมือกับทุกฝ่ายสร้างสังคมประชาธิปไตย
แต่สิ่งนี้จะเป็นไปไม่ได้เลยหากละเว้นความยุติธรรมสำหรับคนบางกลุ่ม”
ข้อมูลอย่างนี้แหละที่องค์การสหประชาชาติและหน่วยงานสิทธิมนุษยชนนานาชาติเขารับรู้และเก็บบันทึกไว้แล้ว
ถึงเวลาเมื่อไรที่ทหารไทยนักยึดอำนาจพยายามฟอกขาวตัวเอง ทำไม่รู้ไม่ชี้
โป้ปดและบิดเบือนอย่างที่โฆษกฯ วินธัยพยายามทำ ก็จะสามารถเอามายันกันได้
ณ จุดนี้ที่ไม่ว่าผู้ปกครองจะทรงอำนาจขนาดไหน
ก็ยังไม่สามารถผ่อนคลายทุกข์ยากจากภัยธรรมชาติได้เหมือนกับการคลายล็อคพรรคการเมือง
สังคมยังคละคลุ้งด้วยความเกลียดชัง (หรืออย่างน้อยวาทกรรมที่สร้างความแปลกแยก)
ระหว่างขั้ว
กรรมวิธีสยบฝ่ายหนึ่งไว้ด้วยกำลังอาวุธ อิทธิพลการเงิน
จริยธรรมจอมปลอมของ ‘คนดี’ ต่อ ‘คนไม่ดี’
ตัวบทกฎหมายที่ฝ่ายหนึ่งเขียนขึ้นมาบังคับอีกฝ่าย และการตัดสินคดีความอย่าง ‘อธรรม’ พวกเขาผิด พวกเราแค่พลาด ละก็