ต้องเชื่อเขาละ รัฐบาลคณะยึดอำนาจคุยนักคุยหนาสี่ปีปราบคอรัปชั่น
‘นอกวงทหาร’ ได้เนี้ยบ
แต่ผลงานที่เห็นวันสองวันนี้กลับโอละพ่อ
คดีทุจริตแค่ ๓ แสน ๖ หมื่นบาท ปปช.ทำงานล่าช้า
๑๔ ปี แล้วแจ้งผิดแต่ลงโทษไม่ได้ ส่วนคดี ปรส. หลังวิกฤติต้มยำกุ้ง ผิดแน่ๆ ประเทศเสียหาย
๖ แสนล้าน ผ่านมา ๑๖ ปี ติดตามชำระบัญชีได้แค่ ๑๔ เปอร์เซ็นต์กว่าๆ
คลังแจ้งหัวหน้าใหญ่นักรัฐประหารว่าพอแระ จบแล้ว
ต่อกรณีที่นายวีระ สมความคิด
เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอรัปชั่น
เปิดโปงผลสรุปคดีคอรัปชั่นที่ตนร้องเรียนไว้เมื่อ ๑๔ ปีที่แล้ว ว่าสำนักงาน ปปช.
เพิ่งแจ้งกลับเมื่อวันที่ ๘ กันยา
“ถึงแม้จะตรวจสอบพบว่ามีการกระทำความผิดจริง และให้ลงโทษผู้กระทำ ความผิด
แต่ในความเป็นจริง ก็ไม่สามารถลงโทษผู้ใดได้เลย ทั้งทางวินัยและทางอาญา เนื่องจากคดีหมดอายุความ
ส่งไปให้อัยการก็ทำอะไรไม่ได้”
มาวานนี้ (๑๐ กันยา) ปปช.ร้อนใจ เลขาฯ
ออกมาแถลงว่าคดีดังกล่าว “ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขมิ้น
อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี กับพวกรวม ๙ ราย
ว่าทุจริตเกี่ยวกับการดำเนินโครงการซ่อมแซมถนนลูกรังสายบ้านกกตาด-นิคมกระเสียว
วงเงินงบประมาณ ๓๖๐,๐๐๐ บาท”
นายวรวิทย์
สุขบุญ แจงยิบแต่ไม่ค่อยยับว่า “ป.ป.ช.ได้พิจารณาสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงแล้วมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ชี้มูลความผิดทั้งทางอาญาและทางวินัยแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ดังนี้”
ผู้ต้องหาหมายเลข ๑ ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นประธานฯ
มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา...แต่ความผิด...ได้ขาดอายุความแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไป
เช่นเดียวกับผู้ต้องหาหมายเลข ๔ ซึ่งครั้งนั้นเป็นหัวหน้าส่วนโยธา
“มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง
และมีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา...” บลา บลา บลา ทว่าความผิด “ได้ขาดอายุความแล้ว
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไป” อีกคน
จะมีก็แต่ผู้ต้องหาที่
๘ และที่ ๙ ซึ่งคดีได้ขาดอายุความ ไม่สามารถนำมาฟ้องร้องอีก “จึงให้ยุติการดำเนินคดี”
หากสั่ง “ให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็น ไปยังผู้บังคับบัญชา
เพื่อพิจารณาโทษทางวินัย”
พร้อมทั้งส่งเรื่องไปยังอัยการสูงสุด
“เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาลซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี”
กับสองคนที่เคยดำรงตำแหน่งปลัด อบต. และหัวหน้าส่วนการคลังได้
ที่ชาวบ้านพูดกันว่า
ในยุคเผด็จการทหารไทย เมื่อมีเหตุปฏิบัติหน้าที่ไม่ดี
ประพฤติมิชอบเกิดขึ้นในแวดวงราชการ จับได้ไล่ทันละก็ พวกตัวเล็กๆ ชั้นผู้น้อยจะเจ็บหนักหน่อย
หรือไม่ก็กลายเป็นแพะรับบาปแทนนาย
ยิ่งถ้าเป็นคดีใหญ่เสียหายหนักระดับหลายแสนล้าน
อย่างคดี ปรส. ขึ้นอยู่กับว่านายๆ ที่รับผิดชอบเป็นพวกใคร
ตัวใหญ่จริงนั่นลอยนวลไปแล้ว ตัวรองอย่าง อมเรศ ศิลาอ่อน โดนคุกแค่สองปี
แต่ให้รอลงอาญา และปรับอีกไม่กี่หมื่นบาทลอยชายไป
จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการผู้ชำระบัญชีของ ปรส.
ได้แจ้งต่อหัวหน้า คสช. ให้รับทราบว่าการชำระบัญชีได้เสร็จสิ้นแล้ว
ยอดหนี้ทั้งหมดที่ศาลสั่งให้ตามเก็บจากสถาบันการเงินผู้กระทำความผิด ๖๒๙,๒๙๑
ล้านบาท
จนถึงวันนี้ส่วนใหญ่มลายหายไปหมด
เหลือแค่ส่วนที่สามารถติดตามเก็บได้ตลอด ๑๖ ปีที่ผ่านมาเพียง ๑๔ เปอร์เซ็นต์กว่าๆ
ของจำนวนเต็มเท่านั้น
นอกจากนั้นตัวองค์กรเองซึ่งอันตรธานไปหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยุบ
ปรส. เมื่อปลายตุลาคม ๒๕๔๕ แล้วมีการแต่งตั้งกรรมการชำระบัญชี โดย
ปรส.มีคดีที่ถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมอยู่ ๒๕ คดี วงเงินเสียหายตามทุนทรัพย์กว่า ๖๑๕
ล้านบาทนั้น
“ศาลได้พิพากษายกฟ้อง
และคดีสิ้นสุดทั้งหมด โดยคดีสุดท้ายที่ศาลฎีกาได้พิพากษายกฟ้อง เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม
๒๕๖๐” กระนั้นก็ดีท้ายที่สุด ปรส.ยังอุตส่าห์มีเงินส่งคืนคลังตั้งเกือบ ๘๗๒
ล้านบาท ซึ่งก้อนใหญ่ในนั้น ๕๐๐ ล้าน เป็นทุนเดิมขององค์กร
ที่สุดของที่สุด
ปรส. ทิ้งท้ายวีรกรรม (หรือเวรก็ไม่รู้) ปิดบัญชีรวบเงินส่งคลังได้ตั้ง ๓๘ ล้าน กับอีกเกือบ
๖ แสนบาท รวมทั้งเงินสดสำรองจ่ายงวดสุดท้าย ๓,๗๐๐ บาทด้วย
ฮู่เล่
เจริญพวง