ทหารให้ลูกและ กสม.เข้าเยี่ยม ‘สาววินมอเตอร์ไซค์ลูกสอง’ ขายเสื้อยืด อาจคุมตัวถึง 7 วันแล้วส่งดำเนินคดี
โดย TLHR
09/09/2018
9 ก.ย. 61 เวลา 09.15 น. ที่กองพันทหารราบ มณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ. 11) นางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นำลูกชาย 2 คน ของนางวรรณภา (สงวนนามสกุล) ผู้ถูกนำตัวจากที่พักมาควบคุมไว้ที่ มทบ.11 เป็นวันที่ 4 เข้าเยี่ยมนางวรรณภา โดยมี พ.อ. บุรินทร์ ทองประไพ คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย คสช. มารับคณะผู้เข้าเยี่ยมที่ประตู มทบ.11 โดยไม่อนุญาตให้ทนายความ สื่อมวลชน และบุคคลอื่นเข้าเยี่ยมด้วย
กรณีนี้ สืบเนื่องจากนางวรรณภาถูกเจ้าหน้าที่ทหารเข้าควบคุมตัวไปจากห้องเช่าย่านสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อเช้าตรู่วันที่ 6 ก.ย. 61 โดยเหตุเกี่ยวข้องกับการมีเสื้อยืดสีดำ ลายโลโก้สี่เหลี่ยมลายสีขาวสลับแดง (ดูรายงานข่าวก่อนหน้านี้)
หลังจากนั้นประมาณ 1 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ทหารนำคณะผู้เข้าเยี่ยมมาส่งที่ประตูค่าย ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนทราบจากนางอังคณาว่า เจ้าหน้าที่ทหารได้พาเข้าไปในอาคารกองพันทหารราบ โดยเจ้าหน้าที่ได้จัดให้ทั้งสามคนเข้าเยี่ยมที่โต๊ะนั่งเล่น หน้าอาคารดังกล่าว และมีการพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารอยู่ร่วมตลอดการพูดคุย
นางวรรณภาบอกลูกชายว่าตนสบายดี มีอาหารรับประทาน โดยบอกให้ลูกชายไม่ต้องห่วง แต่กำชับให้ลูกชายคนโตให้ดูแลน้องให้ดี ให้รีดเสื้อผ้าให้น้องไปโรงเรียน และถามถึงเรื่องเงินไปโรงเรียนของลูกว่าเพียงพอหรือไม่ ลูกชายบอกว่าไม่มีเงินไปโรงเรียน
นางอังคณาให้ข้อมูลอีกว่า นางวรรณภาพักที่อาคารกองพันฯ ดังกล่าว ซึ่งข้างในมีการจัดเตียงเดี่ยวให้พัก และมีเจ้าหน้าที่ทหารหญิง 2 คนดูแลตลอดเวลา
เจ้าหน้าที่ทหารแจ้งว่า หลังจากการควบคุมตัวที่ มทบ. 11 แล้ว จะมีการนำนางวรรณภาส่งให้ตำรวจดำเนินคดีต่อไป คาดว่าประมาณวันที่ 11 หรือ 12 ก.ย. 61 โดยให้เตรียมหลักทรัพย์ประกันตัวไว้
ทั้งนี้ ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เจ้าหน้าที่รักษาความสงบแห่งชาติสามารถควบคุมตัวบุคคลเพื่อซักถามได้ไม่เกิน 7 วัน ซึ่งกรณีนี้ นางวรรณภาจะถูกควบคุมตัวครบ 7 วัน ในวันที่ 12 ก.ย. 61
อย่างไรก็ตาม ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเห็นว่า รูปแบบการจับกุมและควบคุมตัวดังกล่าวนี้ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังการรัฐประหารเมื่อปี 2557 เป็นการควบคุมตัวบุคคลโดยใช้อำนาจตามอำเภอใจ ซึ่งแม้จะอ้างว่า กฎหมายให้อำนาจไว้ แต่ก็เป็นกฎหมายที่อาศัยอำนาจจากการรัฐประหาร อันมีผลทำให้บุคคลถูกควบคุมตัวในที่ลับ ไม่สามารถติดต่อบุคคลอื่นได้ เสี่ยงต่อการกระทำทรมานและการปฏิบัติที่เลวร้ายอื่น ยิ่งไปกว่านั้น กรณีที่มีการดำเนินคดีกับผู้ถูกควบคุมตัวในภายหลัง ข้อเท็จจริงที่ได้มาระหว่างการควบคุมดังกล่าวกลับถูกรวมเข้าในสำนวนการสอบสวน ซึ่งขัดต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและหลักการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม
การใช้อำนาจในลักษณะดังกล่าวโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ควรถูกทำให้กลายเป็น “เรื่องปกติ” ที่เกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องในสังคม
ทั้งนี้ กรณีการใส่ และขายเสื้อยืดที่มีลักษณเดียวกันนี้ จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน มีข้อมูลชัดเจนว่า มีคนถูกควบคุมตัวไปแล้วอย่างน้อย 2 คน คือนางสุรางคณาง และนางวรรณภา ซึ่งนางสุรางคณางได้รับการปล่อยตัวโดยไม่มีการส่งดำเนินคดี หลังการควบคุมตัวไปราว 13 ชม. แต่นางวรรณภายังไม่ได้รับการปล่อยตัว และจะมีการส่งตัวดำเนินคดีดังกล่าวข้างต้น
นอกจากนี้ ศูนย์ทนายฯ ยังได้รับข้อมูลว่า อาจจะมีการควบคุมตัวและดำเนินคดีบุคคลในกรณีที่เกี่ยวข้องกับเสื้อยืดดังกล่าวอีก 3 ราย ซึ่งยังต้องรอการตรวจสอบข้อมูลที่ชัดเจนอีก
กรณีนี้ สืบเนื่องจากนางวรรณภาถูกเจ้าหน้าที่ทหารเข้าควบคุมตัวไปจากห้องเช่าย่านสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อเช้าตรู่วันที่ 6 ก.ย. 61 โดยเหตุเกี่ยวข้องกับการมีเสื้อยืดสีดำ ลายโลโก้สี่เหลี่ยมลายสีขาวสลับแดง (ดูรายงานข่าวก่อนหน้านี้)
หลังจากนั้นประมาณ 1 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ทหารนำคณะผู้เข้าเยี่ยมมาส่งที่ประตูค่าย ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนทราบจากนางอังคณาว่า เจ้าหน้าที่ทหารได้พาเข้าไปในอาคารกองพันทหารราบ โดยเจ้าหน้าที่ได้จัดให้ทั้งสามคนเข้าเยี่ยมที่โต๊ะนั่งเล่น หน้าอาคารดังกล่าว และมีการพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารอยู่ร่วมตลอดการพูดคุย
นางวรรณภาบอกลูกชายว่าตนสบายดี มีอาหารรับประทาน โดยบอกให้ลูกชายไม่ต้องห่วง แต่กำชับให้ลูกชายคนโตให้ดูแลน้องให้ดี ให้รีดเสื้อผ้าให้น้องไปโรงเรียน และถามถึงเรื่องเงินไปโรงเรียนของลูกว่าเพียงพอหรือไม่ ลูกชายบอกว่าไม่มีเงินไปโรงเรียน
นางอังคณาให้ข้อมูลอีกว่า นางวรรณภาพักที่อาคารกองพันฯ ดังกล่าว ซึ่งข้างในมีการจัดเตียงเดี่ยวให้พัก และมีเจ้าหน้าที่ทหารหญิง 2 คนดูแลตลอดเวลา
เจ้าหน้าที่ทหารแจ้งว่า หลังจากการควบคุมตัวที่ มทบ. 11 แล้ว จะมีการนำนางวรรณภาส่งให้ตำรวจดำเนินคดีต่อไป คาดว่าประมาณวันที่ 11 หรือ 12 ก.ย. 61 โดยให้เตรียมหลักทรัพย์ประกันตัวไว้
ทั้งนี้ ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เจ้าหน้าที่รักษาความสงบแห่งชาติสามารถควบคุมตัวบุคคลเพื่อซักถามได้ไม่เกิน 7 วัน ซึ่งกรณีนี้ นางวรรณภาจะถูกควบคุมตัวครบ 7 วัน ในวันที่ 12 ก.ย. 61
อย่างไรก็ตาม ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเห็นว่า รูปแบบการจับกุมและควบคุมตัวดังกล่าวนี้ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังการรัฐประหารเมื่อปี 2557 เป็นการควบคุมตัวบุคคลโดยใช้อำนาจตามอำเภอใจ ซึ่งแม้จะอ้างว่า กฎหมายให้อำนาจไว้ แต่ก็เป็นกฎหมายที่อาศัยอำนาจจากการรัฐประหาร อันมีผลทำให้บุคคลถูกควบคุมตัวในที่ลับ ไม่สามารถติดต่อบุคคลอื่นได้ เสี่ยงต่อการกระทำทรมานและการปฏิบัติที่เลวร้ายอื่น ยิ่งไปกว่านั้น กรณีที่มีการดำเนินคดีกับผู้ถูกควบคุมตัวในภายหลัง ข้อเท็จจริงที่ได้มาระหว่างการควบคุมดังกล่าวกลับถูกรวมเข้าในสำนวนการสอบสวน ซึ่งขัดต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและหลักการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม
การใช้อำนาจในลักษณะดังกล่าวโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ควรถูกทำให้กลายเป็น “เรื่องปกติ” ที่เกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องในสังคม
ทั้งนี้ กรณีการใส่ และขายเสื้อยืดที่มีลักษณเดียวกันนี้ จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน มีข้อมูลชัดเจนว่า มีคนถูกควบคุมตัวไปแล้วอย่างน้อย 2 คน คือนางสุรางคณาง และนางวรรณภา ซึ่งนางสุรางคณางได้รับการปล่อยตัวโดยไม่มีการส่งดำเนินคดี หลังการควบคุมตัวไปราว 13 ชม. แต่นางวรรณภายังไม่ได้รับการปล่อยตัว และจะมีการส่งตัวดำเนินคดีดังกล่าวข้างต้น
นอกจากนี้ ศูนย์ทนายฯ ยังได้รับข้อมูลว่า อาจจะมีการควบคุมตัวและดำเนินคดีบุคคลในกรณีที่เกี่ยวข้องกับเสื้อยืดดังกล่าวอีก 3 ราย ซึ่งยังต้องรอการตรวจสอบข้อมูลที่ชัดเจนอีก
...