ธงชัย วินิจจะกูล : ส่องไทยแลนด์ 4.0 ในยุคโลกพลิกผัน-Disruption Era และปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4
มติชนสุดสัปดาห์
ฉบับวันที่ 31 สิงหาคม - 6 กันยายน 2561
ประเทศไทย 4.0 ไม่ใช่เรื่องที่ผมคิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆ ที่ควรมองไว้ประชดผู้นำหรือคนบางคนที่เสนอเรื่องนี้ แต่เป็นเรื่องที่ควรใส่ใจจริงจัง
ไทยแลนด์ 4.0 คำนี้อาจจะเป็นการตั้งชื่อให้ดูเท่ ไม่มีสาระสำคัญอะไร เป็นไปได้ อาจเป็นการรีแบรนดิ้งภาวะย่ำแย่ในปัจจุบันให้ดูดีขึ้น เป็นไปได้ ผมไม่รู้เจตจำนงคนที่คิดขึ้นมา แต่สิ่งที่ผมจะพูดนี้ เป็นไทยแลนด์ 4.0 หรืออะไรก็แล้วแต่ 4.0 ที่ทั้งโลกพูดกัน แล้วเราในห้องนี้มีซักกี่คน ไม่ใช่ดูถูกอะไรแต่อาจอยู่นอกความสนใจจากพวกเรา เพราะคนในวงการเทคโนโลยีที่มองถึงอนาคตของประเทศจะรู้เรื่องนี้
ผมเพิ่งกลับจากอินโดนีเซีย ไปเป็นผู้ร่วมเสวนาของงานสัมมนาใหญ่เรื่องอุดมศึกษา โดยเฉพาะทางสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ กับยุคพลิกผัน (Disruption Era) และเมื่อไม่กี่วันก่อน ก็มีการพูดถึงในงาน 70 ปี รัฐศาสตร์ จุฬาฯ
โลกทั้งโลกตอนนี้ ทุกวงการรวมถึงวงการการศึกษา อุดมศึกษา กำลังสนใจเรื่องนี้ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง Disruption Era เกิดขึ้นคาบเกี่ยวกับการปฏิวัติของโลกยุคดิจิตอลที่เราเคยได้ยินมานานแล้ว
การปฏิวัติดิจิตอล (Digital Revolution) ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่จากหัวถึงเท้า ซ้ายถึงขวา ทั่วด้าน และสังคมไทยดูเหมือนจะหลีกเลี่ยงภาวะนี้ไม่พ้น
แต่สังคมไทยตระหนักเรื่องนี้แค่ไหนและรับมือมันอย่างไร เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องคิดเอา เผชิญเอา
และรัฐบาลก็เช่นกัน ถ้าเขาคิด ไทยแลนด์ 4.0 เป็นแค่การรีแบรนด์สิ่งที่ย่ำแย่ให้ดูดี อันนี้ก็เป็นเรื่องน่าเสียดายมากๆ
ทั้งๆ ที่เรื่องที่เกิดขึ้น มันมีความหมายอย่างมาก ประเทศไทยอาจจะเปลี่ยนไปตามโลกตะวันตก แต่ประเทศไทยถูกกระทบแน่ๆ
Disruption Era ที่เกิดจาก Digital Revolution คืออะไร? ซึ่งจะไม่ลงรายละเอียดเพราะเป็นเรื่องของเทคโนโลยี แต่จะส่งผลกระทบทางสังคม
นอกจากเราเล่นอินเตอร์เน็ตแล้ว เล่นเฟซบุ๊กกันได้ มันยังทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างพื้นฐานคือ สังคม การเมือง เศรษฐกิจ
ดังต่อไปนี้
1)ปัจเจกชนแต่ละคนสามารถเข้าถึงข้อมูล สามารถจัดการกับข้อมูลด้วยตัวเอง อันนี้พื้นฐานที่สุด ไม่ใช่แค่การเข้าถึงระบบจัดการ
เมื่อ 10-20 ปีก่อน เรามักบ่นการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่ดี
ผมคิดว่าข้อมูลปัจจุบันก็ล้น การจัดการข้อมูลก็ล้น แต่ความสามารถในการจัดการข้อมูลไม่ใช่แค่เพียงคุณเข้าไป มันอยู่ที่ขั้นตอนการจัดการข้อมูล แต่ข้อมูลที่มีไว้เยอะนั้นเพื่อเปิดโอกาสให้มนุษย์จำนวนหลายร้อย หลายล้านในโลกเลือกใช้ตามที่ต้องการ
สิ่งที่ผมเรียกเป็นขยะอาจจะเป็นทองของคุณ
ผมทิ้งขยะตรงนั้นในขณะที่คุณเก็บเอาไปเป็นทอง เอาไปทำงานหากำไรได้
ข้อมูลที่ล้นหลามมีลักษณะแบบนี้ ไม่ได้มีไว้ให้คนคนหนึ่งรับรู้มากเกินไป
แต่มีไว้เพื่อเป็นโอกาสให้คนเข้าไปใช้และจัดการได้
2)เกิดขึ้นในทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิตอล บางคนเรียกว่าเป็น 4.0 หรือ 3.0 นี่ไม่ใช่ 4G 3G แต่ 4.0 มันเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Fourth Industrial Revolution) ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ พอดิจิตอลเข้ามา ทำให้ความสามารถในการเข้าถึง และ Internet of Thing (IOT) การเคลื่อนไหวของกิจกรรมไม่ใช่แค่ข่าวสาร กิจกรรมหลายอย่างไม่ใช่แค่เงินด้วย มันกระทำในอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะสิ่งที่เรียกในเวลาต่อมาว่า “บล๊อกเชน” (Block chain) คุณห้ามไม่ได้แล้ว บล๊อกเชนจะเปลี่ยนคุณลักษณะของการประกอบการทางธุรกิจ
ในทางการเมืองเล่า? อัตลักษณ์ของคนซึ่งเคยระบุตัวตนของคนหมู่มากอย่าง “ชาติ” จะเกิดอัตลักษณ์ซ้อนสอง-สาม-สี่ เช่น ชาติแต่จังหวัดนี้ โรงเรียนนี้ แต่รุ่นนี้ เรียกอัตลักษณ์หลายอย่างพร้อมกัน เพราะถึงที่สุด คุณสามารถระบุอัตลักษณ์บุคคลคือข้าพเจ้าเองได้ง่ายขึ้น ว่าข้าพเจ้าต่างจากคนอื่นยังไง จนสามารถมี เวทีประกาศความเป็นข้าพเจ้าหนึ่งคนได้ เช่น เฟซบุ๊ก
อัตลักษณ์แบบนี้มีผลทางการเมือง จะทำให้รัฐบาลที่ใหญ่ควบคุมประชาชนได้ยากยิ่งขึ้น เพราะผลประโยชน์ของกลุ่มคนมันได้แตกย่อยละเอียดเป็นปัจเจกชน
ผลของ Disruption Era ที่เรียกว่าโลกพลิกผัน อย่างที่ผมบอก กราบเรียนว่าไม่ใช่ความกลัวนะ แต่บางทีบรรดานักเคลื่อนไหว นักกิจกรรมต่างๆ มีแนวโน้มมองลบหรือกลัวการเปลี่ยนแปลง
บรรดาแอ็กติวิสต์ไม่ควรกลัวความเปลี่ยนแปลง
ยุค Disruption Era ต้องการกำลังคน (Workforce) แบบไหน?
หลายคนเริ่มคิดแล้วว่ารัฐบาลคงเป็นรัฐบาลแบบเก่าไม่ได้ ขณะที่ทุกคนบอกว่าระบอบประชาธิปไตยมันเป็นระบอบที่อยู่กับสภาพนี้ได้ เพราะประชาธิปไตยออกแบบสำหรับการปรับตัว คือเถียงกันไปแล้วก็เปลี่ยน ถ้าประชาธิปไตยมีความหมายในเชิงอุดมคติ เถียงกันไปแล้วปรับ กฎหมายปรับได้ มีนโยบายใหม่ปรับได้
ระบอบอื่นที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยต่างหาก ระบอบที่มีคุณพ่อรู้ดี ระบอบเผด็จการมาบอกทำอย่างนั้นอย่างนี้ พวกนี้จะปรับตัวยากมาก เพราะจะรู้ดีไปหมด
ผลประโยชน์ของคนที่หลากหลายมันมากซับซ้อนเกินกว่าใครก็แล้วแต่ที่รู้ดีควรมาจัดการ ควรปล่อยให้มีพลวัต มีปฏิสัมพันธ์กันเอง คุณทำแค่คุมกติกา อย่าให้ตีหัวกัน เปิดโอกาสให้พลังอันสร้างสรรค์นี้เปิดตัวได้แล้วอย่าไปทำร้ายคนอื่น รัฐมีไว้ปกป้องคนที่จะเกิดผลเสีย เกิดผลกระทบจากการปรับตัว และส่งเสริมสวัสดิการ รัฐต้องเอื้ออำนวยโครงสร้างพื้นฐาน รัฐต้องทำเรื่องการศึกษา นี่เป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อจะผลิตคน
รัฐต้องผลิตคนที่เหมาะกับการเปลี่ยนแปลง และป้องกันไม่ให้คนที่เกิดผลกระทบเดือดร้อนจนเกินไป
3)ภาวะความเปลี่ยนแปลงของเมือง อันนี้ไม่ใช่เรื่องการเมือง แต่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ความเป็นเมือง (Urbanization) กำลังเปลี่ยนรูปร่าง ความสัมพันธ์ระหว่างจุดต่างๆ เช่น เมืองใหญ่-เล็ก ระหว่างเมือง ไม่ใช่ชาติ-ชาติ การเชื่อมโยงยุคนี้สามารถข้ามชาติได้อย่างรวดเร็ว
และชีวิตคนในช่วงไม่ถึง 30 ปีที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกของมนุษยชาติที่ประชากรส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในเมือง ไม่ใช่ชนบท ของไทยเพิ่งเปลี่ยนเข้ามาในปี 2532-2533 คนส่วนใหญ่อยู่ในเมืองไม่ใช่ชนบทอีกต่อไป ความเป็นเมืองสร้างชีวิตอีกแบบ มีการแข่งขัน
จนมีประเด็นว่า สังคมไหนชราหรือสังคมใดเป็นของคนหนุ่มสาว ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีวันหวนกลับ
วิกฤตการเมืองไทย 12 ปีที่ผ่านมา ก่อผลยั่งยืนอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ตลอดกาลแต่เป็นอีกนานกว่าจะแก้ได้ คือมันได้ทำลายการก่อรูปก่อร่างของสถาบันทางการเมืองที่กำลังเติบโตขึ้นมาและทำลายกระบวนการยุติธรรม
ระบบการเมืองก็สำคัญ แต่ต่อให้ฟื้นระบบการเมืองในวันพรุ่งนี้ คุณสามารถใช้รัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาใช้ประกาศเลือกตั้งอีก 2 เดือนข้างหน้า กระบวนการยุติธรรมที่เข้าที่เข้าทาง น่าเชื่อถือ น่าศรัทธาได้ ก็ต้องการเวลามากกว่านั้นในการรื้อขนานใหญ่
สังคมทุกสังคมที่ต้องการจะปรับตัวได้เก่ง อันนี้เป็นอีกหนึ่งที่หลายคนไม่ค่อยสังเกต
สังคมทุกสังคมที่ต้องการปรับตัวได้เก่ง ต้องเป็นสังคมที่สถาบันต่างๆ เข้มแข็ง เข้มแข็งในที่นี้ไม่ได้แปลว่าตายตัว ตรงกันข้าม เข้มแข็งคือยืนอยู่ได้ ปรับได้ ไทยแลนด์ 4.0
หรือการปรับตัวในอนาคต อาจจำเป็นต้องการสถาบันที่มั่นคงในด้านต่างๆ ย้ำว่าไม่ใช่ตายตัวหรืออำนาจมาก
หมายถึง สถาบันที่ประพฤติอย่างมีหลักการพร้อมปรับตัวต่างๆ ได้
แต่สังคมไทยกลับเป็นตัว L ในทางเศรษฐศาสตร์คือเศรษฐกิจซึมยาว
แต่ตัว L ดังกล่าวไม่ใช่แค่เศรษฐกิจแต่ทุกด้าน
ถ้าหากข้อความนี้ส่งไปถึงคนรุ่นหลัง รุ่นลูกรุ่นหลาน เรามีภารกิจอยู่ข้างหน้า ภารกิจรื้อฟื้นประเทศไทย พยายามก่อร่างสร้างสถาบันขึ้นมาอีกครั้ง
ในภาวะปัจจุบัน เราไม่ได้จบเมื่อไหร่ เรากลับเห็นทิศทางที่น่ากลัวก็คือ การเห็นอิงตัวบุคคลมากเกินไป ปล่อยให้ความอำเภอใจของคนจำนวนน้อย ไม่ว่าวงการไหน ไปได้ด้วยผู้รู้ดีจำนวนน้อยเหล่านั้น แม้กระทั่งเศรษฐกิจ ที่พยายามแตกย่อยให้มีพลวัต
แต่ประเทศไทยมีโครงการประชารัฐ ความร่ำรวยกลับไปอยู่ในมือธุรกิจใหญ่ ธุรกิจกลางจมสนิท
เราไม่มีทางอื่น จะยุค 4.0 หรือ 5.0 บอกได้คือ เราต้องการการสร้างสถาบันที่ลงหลักปักฐาน มีหลักมีเกณฑ์ ไม่ใช่ปล่อยตามอำเภอใจ
นี่คือสิ่งที่ประเทศไทยกำลังเป็นในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา ได้เวลาสร้างเนื้อสร้างตัวกันใหม่ ไม่รู้เมื่อไหร่แต่ต้องพยายาม ถ้าเห็นแก่ประเทศชาติ เห็นแก่เพื่อนในสังคมไทย เห็นแก่เพื่อนทั้งหลายที่ยังเห็นอยู่ ไม่ใช่อยู่ในมือของคนรู้ดีจำนวนน้อย ไม่ใช่เพื่อจะขึ้นเป็นใหญ่
แต่เพื่อก่อร่างสร้างสถาบัน สร้างสังคมให้มีหลักมีเกณฑ์
ประเทศไทย 4.0 ไม่ใช่เรื่องที่ผมคิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆ ที่ควรมองไว้ประชดผู้นำหรือคนบางคนที่เสนอเรื่องนี้ แต่เป็นเรื่องที่ควรใส่ใจจริงจัง
ไทยแลนด์ 4.0 คำนี้อาจจะเป็นการตั้งชื่อให้ดูเท่ ไม่มีสาระสำคัญอะไร เป็นไปได้ อาจเป็นการรีแบรนดิ้งภาวะย่ำแย่ในปัจจุบันให้ดูดีขึ้น เป็นไปได้ ผมไม่รู้เจตจำนงคนที่คิดขึ้นมา แต่สิ่งที่ผมจะพูดนี้ เป็นไทยแลนด์ 4.0 หรืออะไรก็แล้วแต่ 4.0 ที่ทั้งโลกพูดกัน แล้วเราในห้องนี้มีซักกี่คน ไม่ใช่ดูถูกอะไรแต่อาจอยู่นอกความสนใจจากพวกเรา เพราะคนในวงการเทคโนโลยีที่มองถึงอนาคตของประเทศจะรู้เรื่องนี้
ผมเพิ่งกลับจากอินโดนีเซีย ไปเป็นผู้ร่วมเสวนาของงานสัมมนาใหญ่เรื่องอุดมศึกษา โดยเฉพาะทางสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ กับยุคพลิกผัน (Disruption Era) และเมื่อไม่กี่วันก่อน ก็มีการพูดถึงในงาน 70 ปี รัฐศาสตร์ จุฬาฯ
โลกทั้งโลกตอนนี้ ทุกวงการรวมถึงวงการการศึกษา อุดมศึกษา กำลังสนใจเรื่องนี้ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง Disruption Era เกิดขึ้นคาบเกี่ยวกับการปฏิวัติของโลกยุคดิจิตอลที่เราเคยได้ยินมานานแล้ว
การปฏิวัติดิจิตอล (Digital Revolution) ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่จากหัวถึงเท้า ซ้ายถึงขวา ทั่วด้าน และสังคมไทยดูเหมือนจะหลีกเลี่ยงภาวะนี้ไม่พ้น
แต่สังคมไทยตระหนักเรื่องนี้แค่ไหนและรับมือมันอย่างไร เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องคิดเอา เผชิญเอา
และรัฐบาลก็เช่นกัน ถ้าเขาคิด ไทยแลนด์ 4.0 เป็นแค่การรีแบรนด์สิ่งที่ย่ำแย่ให้ดูดี อันนี้ก็เป็นเรื่องน่าเสียดายมากๆ
ทั้งๆ ที่เรื่องที่เกิดขึ้น มันมีความหมายอย่างมาก ประเทศไทยอาจจะเปลี่ยนไปตามโลกตะวันตก แต่ประเทศไทยถูกกระทบแน่ๆ
Disruption Era ที่เกิดจาก Digital Revolution คืออะไร? ซึ่งจะไม่ลงรายละเอียดเพราะเป็นเรื่องของเทคโนโลยี แต่จะส่งผลกระทบทางสังคม
นอกจากเราเล่นอินเตอร์เน็ตแล้ว เล่นเฟซบุ๊กกันได้ มันยังทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างพื้นฐานคือ สังคม การเมือง เศรษฐกิจ
ดังต่อไปนี้
1)ปัจเจกชนแต่ละคนสามารถเข้าถึงข้อมูล สามารถจัดการกับข้อมูลด้วยตัวเอง อันนี้พื้นฐานที่สุด ไม่ใช่แค่การเข้าถึงระบบจัดการ
เมื่อ 10-20 ปีก่อน เรามักบ่นการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่ดี
ผมคิดว่าข้อมูลปัจจุบันก็ล้น การจัดการข้อมูลก็ล้น แต่ความสามารถในการจัดการข้อมูลไม่ใช่แค่เพียงคุณเข้าไป มันอยู่ที่ขั้นตอนการจัดการข้อมูล แต่ข้อมูลที่มีไว้เยอะนั้นเพื่อเปิดโอกาสให้มนุษย์จำนวนหลายร้อย หลายล้านในโลกเลือกใช้ตามที่ต้องการ
สิ่งที่ผมเรียกเป็นขยะอาจจะเป็นทองของคุณ
ผมทิ้งขยะตรงนั้นในขณะที่คุณเก็บเอาไปเป็นทอง เอาไปทำงานหากำไรได้
ข้อมูลที่ล้นหลามมีลักษณะแบบนี้ ไม่ได้มีไว้ให้คนคนหนึ่งรับรู้มากเกินไป
แต่มีไว้เพื่อเป็นโอกาสให้คนเข้าไปใช้และจัดการได้
2)เกิดขึ้นในทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิตอล บางคนเรียกว่าเป็น 4.0 หรือ 3.0 นี่ไม่ใช่ 4G 3G แต่ 4.0 มันเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Fourth Industrial Revolution) ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ พอดิจิตอลเข้ามา ทำให้ความสามารถในการเข้าถึง และ Internet of Thing (IOT) การเคลื่อนไหวของกิจกรรมไม่ใช่แค่ข่าวสาร กิจกรรมหลายอย่างไม่ใช่แค่เงินด้วย มันกระทำในอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะสิ่งที่เรียกในเวลาต่อมาว่า “บล๊อกเชน” (Block chain) คุณห้ามไม่ได้แล้ว บล๊อกเชนจะเปลี่ยนคุณลักษณะของการประกอบการทางธุรกิจ
ในทางการเมืองเล่า? อัตลักษณ์ของคนซึ่งเคยระบุตัวตนของคนหมู่มากอย่าง “ชาติ” จะเกิดอัตลักษณ์ซ้อนสอง-สาม-สี่ เช่น ชาติแต่จังหวัดนี้ โรงเรียนนี้ แต่รุ่นนี้ เรียกอัตลักษณ์หลายอย่างพร้อมกัน เพราะถึงที่สุด คุณสามารถระบุอัตลักษณ์บุคคลคือข้าพเจ้าเองได้ง่ายขึ้น ว่าข้าพเจ้าต่างจากคนอื่นยังไง จนสามารถมี เวทีประกาศความเป็นข้าพเจ้าหนึ่งคนได้ เช่น เฟซบุ๊ก
อัตลักษณ์แบบนี้มีผลทางการเมือง จะทำให้รัฐบาลที่ใหญ่ควบคุมประชาชนได้ยากยิ่งขึ้น เพราะผลประโยชน์ของกลุ่มคนมันได้แตกย่อยละเอียดเป็นปัจเจกชน
ผลของ Disruption Era ที่เรียกว่าโลกพลิกผัน อย่างที่ผมบอก กราบเรียนว่าไม่ใช่ความกลัวนะ แต่บางทีบรรดานักเคลื่อนไหว นักกิจกรรมต่างๆ มีแนวโน้มมองลบหรือกลัวการเปลี่ยนแปลง
บรรดาแอ็กติวิสต์ไม่ควรกลัวความเปลี่ยนแปลง
ยุค Disruption Era ต้องการกำลังคน (Workforce) แบบไหน?
หลายคนเริ่มคิดแล้วว่ารัฐบาลคงเป็นรัฐบาลแบบเก่าไม่ได้ ขณะที่ทุกคนบอกว่าระบอบประชาธิปไตยมันเป็นระบอบที่อยู่กับสภาพนี้ได้ เพราะประชาธิปไตยออกแบบสำหรับการปรับตัว คือเถียงกันไปแล้วก็เปลี่ยน ถ้าประชาธิปไตยมีความหมายในเชิงอุดมคติ เถียงกันไปแล้วปรับ กฎหมายปรับได้ มีนโยบายใหม่ปรับได้
ระบอบอื่นที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยต่างหาก ระบอบที่มีคุณพ่อรู้ดี ระบอบเผด็จการมาบอกทำอย่างนั้นอย่างนี้ พวกนี้จะปรับตัวยากมาก เพราะจะรู้ดีไปหมด
ผลประโยชน์ของคนที่หลากหลายมันมากซับซ้อนเกินกว่าใครก็แล้วแต่ที่รู้ดีควรมาจัดการ ควรปล่อยให้มีพลวัต มีปฏิสัมพันธ์กันเอง คุณทำแค่คุมกติกา อย่าให้ตีหัวกัน เปิดโอกาสให้พลังอันสร้างสรรค์นี้เปิดตัวได้แล้วอย่าไปทำร้ายคนอื่น รัฐมีไว้ปกป้องคนที่จะเกิดผลเสีย เกิดผลกระทบจากการปรับตัว และส่งเสริมสวัสดิการ รัฐต้องเอื้ออำนวยโครงสร้างพื้นฐาน รัฐต้องทำเรื่องการศึกษา นี่เป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อจะผลิตคน
รัฐต้องผลิตคนที่เหมาะกับการเปลี่ยนแปลง และป้องกันไม่ให้คนที่เกิดผลกระทบเดือดร้อนจนเกินไป
3)ภาวะความเปลี่ยนแปลงของเมือง อันนี้ไม่ใช่เรื่องการเมือง แต่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ความเป็นเมือง (Urbanization) กำลังเปลี่ยนรูปร่าง ความสัมพันธ์ระหว่างจุดต่างๆ เช่น เมืองใหญ่-เล็ก ระหว่างเมือง ไม่ใช่ชาติ-ชาติ การเชื่อมโยงยุคนี้สามารถข้ามชาติได้อย่างรวดเร็ว
และชีวิตคนในช่วงไม่ถึง 30 ปีที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกของมนุษยชาติที่ประชากรส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในเมือง ไม่ใช่ชนบท ของไทยเพิ่งเปลี่ยนเข้ามาในปี 2532-2533 คนส่วนใหญ่อยู่ในเมืองไม่ใช่ชนบทอีกต่อไป ความเป็นเมืองสร้างชีวิตอีกแบบ มีการแข่งขัน
จนมีประเด็นว่า สังคมไหนชราหรือสังคมใดเป็นของคนหนุ่มสาว ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีวันหวนกลับ
วิกฤตการเมืองไทย 12 ปีที่ผ่านมา ก่อผลยั่งยืนอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ตลอดกาลแต่เป็นอีกนานกว่าจะแก้ได้ คือมันได้ทำลายการก่อรูปก่อร่างของสถาบันทางการเมืองที่กำลังเติบโตขึ้นมาและทำลายกระบวนการยุติธรรม
ระบบการเมืองก็สำคัญ แต่ต่อให้ฟื้นระบบการเมืองในวันพรุ่งนี้ คุณสามารถใช้รัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาใช้ประกาศเลือกตั้งอีก 2 เดือนข้างหน้า กระบวนการยุติธรรมที่เข้าที่เข้าทาง น่าเชื่อถือ น่าศรัทธาได้ ก็ต้องการเวลามากกว่านั้นในการรื้อขนานใหญ่
สังคมทุกสังคมที่ต้องการจะปรับตัวได้เก่ง อันนี้เป็นอีกหนึ่งที่หลายคนไม่ค่อยสังเกต
สังคมทุกสังคมที่ต้องการปรับตัวได้เก่ง ต้องเป็นสังคมที่สถาบันต่างๆ เข้มแข็ง เข้มแข็งในที่นี้ไม่ได้แปลว่าตายตัว ตรงกันข้าม เข้มแข็งคือยืนอยู่ได้ ปรับได้ ไทยแลนด์ 4.0
หรือการปรับตัวในอนาคต อาจจำเป็นต้องการสถาบันที่มั่นคงในด้านต่างๆ ย้ำว่าไม่ใช่ตายตัวหรืออำนาจมาก
หมายถึง สถาบันที่ประพฤติอย่างมีหลักการพร้อมปรับตัวต่างๆ ได้
แต่สังคมไทยกลับเป็นตัว L ในทางเศรษฐศาสตร์คือเศรษฐกิจซึมยาว
แต่ตัว L ดังกล่าวไม่ใช่แค่เศรษฐกิจแต่ทุกด้าน
ถ้าหากข้อความนี้ส่งไปถึงคนรุ่นหลัง รุ่นลูกรุ่นหลาน เรามีภารกิจอยู่ข้างหน้า ภารกิจรื้อฟื้นประเทศไทย พยายามก่อร่างสร้างสถาบันขึ้นมาอีกครั้ง
ในภาวะปัจจุบัน เราไม่ได้จบเมื่อไหร่ เรากลับเห็นทิศทางที่น่ากลัวก็คือ การเห็นอิงตัวบุคคลมากเกินไป ปล่อยให้ความอำเภอใจของคนจำนวนน้อย ไม่ว่าวงการไหน ไปได้ด้วยผู้รู้ดีจำนวนน้อยเหล่านั้น แม้กระทั่งเศรษฐกิจ ที่พยายามแตกย่อยให้มีพลวัต
แต่ประเทศไทยมีโครงการประชารัฐ ความร่ำรวยกลับไปอยู่ในมือธุรกิจใหญ่ ธุรกิจกลางจมสนิท
เราไม่มีทางอื่น จะยุค 4.0 หรือ 5.0 บอกได้คือ เราต้องการการสร้างสถาบันที่ลงหลักปักฐาน มีหลักมีเกณฑ์ ไม่ใช่ปล่อยตามอำเภอใจ
นี่คือสิ่งที่ประเทศไทยกำลังเป็นในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา ได้เวลาสร้างเนื้อสร้างตัวกันใหม่ ไม่รู้เมื่อไหร่แต่ต้องพยายาม ถ้าเห็นแก่ประเทศชาติ เห็นแก่เพื่อนในสังคมไทย เห็นแก่เพื่อนทั้งหลายที่ยังเห็นอยู่ ไม่ใช่อยู่ในมือของคนรู้ดีจำนวนน้อย ไม่ใช่เพื่อจะขึ้นเป็นใหญ่
แต่เพื่อก่อร่างสร้างสถาบัน สร้างสังคมให้มีหลักมีเกณฑ์