GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพ"ฉันขอเตือนคนหนุ่มสาวทั้งหลายให้อยู่ห่างจากเกาะเต่า ฉันไม่รู้สึกปลอดภัยที่จะกลับไปที่นั่นอีกแล้ว" นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่อ้างว่าถูกข่มขืนบนเกาะเต่าให้สัมภาษณ์กับสื่อ
คดี "ข่มขืน" เกาะเต่า ผ่านมาเกือบ 3 เดือน เรื่องไปถึงไหน?
ที่มา บีบีซีไทย
ผ่านมาเกือบ 3 เดือนแล้ว หลังเกิดเหตุที่หญิงนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษวัย 19 ปี อ้างว่าถูกมอมยา ถูกลักทรัพย์ และถูกข่มขืนบนเกาะเต่า ล่าสุด วันนี้ (8 ก.ย.) เว็บไซต์ เดอะ ไทม์ส ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ของหญิงผู้เสียหาย ซึ่งเป็นการให้สัมภาษณ์ครั้งแรกของเธอจากที่พักในกรุงลอนดอน โดยเธอได้กล่าวเตือนคนหนุ่มสาวไม่ให้ไปเที่ยวเกาะเต่า เธอบอกกับเว็บไซต์เดอะไทม์สว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจไทยพยายามทำให้เธอเสียชื่อเสียงอย่างเปิดเผยมากกว่าที่จะช่วยสอบสวนคดีของเธอ และไม่ได้ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นหรือช่วยตรวจหลักฐานนิติวิทยาศาสตร์
เธอกล่าวหาว่าพวกเขาพยายามปกปิดความจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะเกรงว่าจะสร้างภาพพจน์ในแง่ลบต่อการท่องเที่ยวของไทย "ฉันขอเตือนคนหนุ่มสาวทั้งหลายให้อยู่ห่างจากเกาะเต่า ฉันไม่รู้สึกปลอดภัยที่จะกลับไปที่นั่นอีกแล้ว" เธอกล่าว
อย่างไรก็ตาม เธอบอกว่า เธอไม่ได้บอกว่าไม่ควรไปเที่ยวเมืองไทยเลย เพราะประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เธอชอบมากที่สุด แต่เป็นประเทศที่มีความสวยงามที่มีด้านมืดพรางตัวอยู่
สถานที่ท่องเที่ยว 5 แห่งใน 5 ประเทศ กำลังรับมือกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่มากเกินไป
นาทีระทึก นักท่องเที่ยวถูกชีตาห์ไล่กวดหลังลงจากรถในสวนซาฟารีเนเธอร์แลนด์
ในบทสัมภาษณ์ เธอบอกกับผู้สื่อข่าวว่า คืนที่เกิดเรื่องเป็นคืนสุดท้ายของเธอและเพื่อน ๆ ที่เกาะเต่า เธอออกไปดื่มกับเพื่อนที่บาร์ โดยเธอดื่มรัมผสมโค้ก ต่อมาเริ่มรู้สึกเพลียจึงบอกเพื่อนว่าอยากกลับที่พัก เพื่อนของเธออาสาเดินไปส่ง แต่ระหว่างทางทั้งเธอและเพื่อนก็รู้สึกง่วงซึมขึ้นมาทันทีจนต้องนั่งพักที่ชายหาด เมื่อเธอรู้สึกตัวอีกทีก็พบว่าตัวเองอยู่บนชายหาด รู้สึกเจ็บไปหมดทั้งตัว ขณะกำลังพยายามจะยันตัวลุกก็เห็นผู้ชายคนหนึ่งยืนอยู่ข้าง ๆ เธอไม่แน่ใจว่าชายคนนั้นเห็นว่าเธอได้สติแล้วหรือไม่ แต่เขารีบเดินออกไป เธอจึงรีบลุกหนี ตอนนั้นเธอมองไปรอบ ๆ ก็พบว่าข้าวของหายไปหมดแล้ว และเธอไม่รู้ว่าเธออยู่ที่ไหน เธอพบเสื้อผ้าของเธอ จึงรีบแต่งตัวและเดินไปย่านที่มีผู้คน หลังจากกลับถึงห้องพักเธอไม่ได้พูดคุยกับใครและรีบเดินทางออกจากเกาะเต่าไปยังเกาะพะงัน
GETTY IMAGES
นอกจากจะมีความสับสนในเรื่องของข้อมูลจากผู้เสียหายและจากตำรวจแล้ว ยังดูเหมือนว่าไม่ค่อยมีความคืบหน้าในการดำเนินคดีมากนัก จนถึงตอนนี้ เรารู้ข้อเท็จจริงอะไรแล้วบ้าง
ลำดับเหตุการณ์
ช่วงปลายเดือนส.ค. สื่อไทยและอังกฤษหลายแห่งตีพิมพ์อีเมลที่นางซาราห์ (สงวนนามสกุล) แม่ของผู้เสียหาย เขียนถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจท่องเที่ยวไทย ซึ่งระบุว่าลูกสาวของเธอถูกข่มขืนที่เกาะเต่าในช่วงดึกของวันที่ 25 มิ.ย. ล่วงเข้าเช้าวันที่ 26 มิ.ย. หลังเกิดเหตุผู้เสียหาย ได้เดินทางจากเกาะเต่า ไปยังเกาะพะงันทันทีเนื่องจากเกรงอันตรายต่อชีวิต เมื่อไปถึงเกาะพะงันได้เข้าแจ้งความต่อตำรวจที่สภ.เกาะพะงัน เรื่องถูกข่มขืนและถูกลักทรัพย์ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจสภ. เกาะพะงันแจ้งว่าไม่สามารถรับแจ้งความกรณีข่มขืนได้ เนื่องจากอยู่นอกพื้นที่ แต่ได้รับแจ้งความคดีลักทรัพย์ไว้
ผู้เสียหายเดินทางกลับอังกฤษในวันที่ 2 ก.ค. และเล่าเหตุการณ์ทั้งหมดให้นางซาราห์ฟัง เธอจึงเข้าแจ้งความกับตำรวจอังกฤษ หลังจากนั้น ในวันที่ 13 ก.ค. นางซาราห์เขียนอีเมลถึงตำรวจท่องเที่ยวไทยเพื่อรายงานเหตุข่มขืนที่เกิดขึ้น และเจ้าหน้าที่ได้ตอบกลับด้วยการขอให้ส่งหลักฐานให้ จากนั้นนางซาราห์ได้ติดต่อสถานกงสุลอังกฤษในไทย และสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษในไทยเพื่อแจ้งเรื่องและขอความช่วยเหลือด้วย
หากผู้เสียหายเข้าแจ้งความเหตุข่มขืน ทำไม ตร. จึงไม่รับแจ้งความนอกเขตพื้นที่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หมวด 2 อำนาจสืบสวนและสอบสวน มาตรา 18 ระบุว่า ในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัด ธนบุรี พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ และ ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่า นายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้
สถานที่ทางธรรมชาติสุดมหัศจรรย์ของโลก
นั่นหมายความว่า เมื่อผู้เสียหายเข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจใด ๆ ก็ตาม อย่างแรก พนักงานสอบสวนต้องพิจารณาว่าเหตุร้ายดังกล่าวเกิดขึ้นในเขตนั้น เชื่อว่าเกิดในเขตนั้น หรือผู้เสียหายอ้างว่าเกิดในเขตนั้น หรือผู้ต้องหาอาศัยอยู่ในเขตนั้น หรือถูกจับในเขตนั้น ถ้าเข้าองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งก็มีอำนาจรับแจ้งความเพื่อดำเนินคดีต่อไปได้เลย ในกรณีนี้ พนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจเกาะพะงันจึงไม่มีอำนาจรับแจ้งความตามหลักกฎหมาย
พยานหลักฐานใดที่จะช่วยให้สรุปได้ว่ามีเหตุข่มขืนจริง
พล.ต.ต. สุรเชษฐ์บอกว่า ขณะนี้ยังรอพยานหลักฐานทั้งพยานบุคคลและวัตถุพยาน ในกรณีนี้คือ 1. คราบอสุจิบนเสื้อยืดที่ผู้เสียหายเก็บไว้ซึ่งสามารถนำมาตรวจหาดีเอ็นเอผู้กระทำผิดได้ 2. ผลการตรวจร่องรอยการข่มขืนบนร่างกาย และ 3. คำให้การของผู้เสียหาย
เนื่องจากผู้เสียหายเดินทางออกนอกประเทศไทยกลับไปอังกฤษแล้ว ขณะนี้ตำรวจกำลังประสานงานกับสถานกงสุลอังกฤษในไทยเพื่อให้ผู้เสียหายไปให้ปากคำกับตำรวจอังกฤษ และส่งบันทึกสอบปากคำรวมทั้งเสื้อที่มีคราบอสุจิมาให้ตรวจสอบต่อ
'เพื่อนบ้านผมข่มขืนคนอื่น'
"ในความเป็นจริง ตำรวจอังกฤษสามารถตรวจคราบอสุจิได้เอง เดิมทีทางนั้นจะตรวจดีเอ็นเอให้เอง จะตรวจวัตถุพยานเองเลย แต่จากการหารือกับสถานกงสุลอังกฤษเมื่อวานนี้ (6 ก.ย.) ท่านกงสุลอังกฤษประจำประเทศไทย บอกว่าทางอังกฤษจะส่งกลับมาให้เราตรวจเองทั้งหมดโดยที่ทางอังกฤษจะไม่ตรวจเลย เพราะเกรงว่าพยานหลักฐานนั้นจะเสียไป" พล.ต.ต. สุรเชษฐ์กล่าว
พล.ต.ต. สุรเชษฐ์บอกด้วยว่า เมื่อได้รับเอกสารทั้งหมดจากสถานกงสุลอังกฤษและตรวจสอบดูแล้ว ถ้ามีพยานหลักฐานใหม่ก็จะดำเนินการสอบสวน หรือจะขอสอบปากคำผู้เสียหายจากประเทศอังกฤษ หรืออาจประสานให้ผู้เสียหายเดินทางเข้ามาสอบปากคำที่ไทยก็ได้
ทั้งนี้ นางซาราห์บอกกับบีบีซีไทยวานนี้ว่า ได้รับการติดต่อจากสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษในไทย และได้ส่งมอบเสื้อที่มีคราบอสุจิให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปแล้ว โดยขณะนี้เสื้อตัวดังกล่าวอยู่กับอินเตอร์โพล แต่ไม่รู้ว่าขั้นตอนในการตรวจสอบต้องใช้เวลานานแค่ไหน แต่เธอเกรงว่าตำรวจไทยอาจบิดเบือนผลการตรวจดีเอ็นเอได้
นอกจากนี้เธอบอกว่า ลูกสาวของเธอได้ผลการตรวจสภาพร่างกายและสภาพจิตใจจากแพทย์ที่อังกฤษแล้ว
พล.ต.ต. สุรเชษฐ์ บอกว่าผู้ที่มีอำนาจในการตรวจคือเจ้าหน้าที่นิติวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้รองผู้บัญชาการสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจซึ่งรับผิดของเรื่องนิติวิทยาศาสตร์บอกกับเขาว่า ถึงแม้จะผ่านมาเกือบ 3 เดือนแล้ว แต่ถ้าพยานหลักฐานนั้นไม่ถูกทำลายไปก็สามารถตรวจได้ ในกรณีนี้ เสื้อเดินทางจากไทยไปอังกฤษ และจะถูกส่งกลับมายังไทย ถ้าหากรักษาดี ๆ ไม่ให้พยานหลักฐานสูญเสียไป ก็สามารถตรวจสอบได้ แต่ถ้าเก็บรักษาพยานหลักฐานไว้ไม่ดี เกิดการเสียหายก็จะตรวจไม่ได้
ตำรวจอังกฤษมีอำนาจในการสอบสวนคดีนี้หรือไม่?
ข้อมูลจากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศอังกฤษหมวดที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตำรวจระบุว่า "ตำรวจสหราชอาณาจักรไม่สามารถสอบสวนเหตุที่เกิดในต่างประเทศ หรือร้องขอให้มีการสอบสวนเหตุร้ายได้ กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจในต่างประเทศไม่มีพันธะผูกพันต้องดำเนินการสอบสวนคดี หากท่านไม่ได้เข้าแจ้งความต่อตำรวจตอนอยู่ต่างประเทศ ท่านสามารถรายงานเรื่องเหตุดังกล่าวที่สถานีตำรวจในสหราชอาณาจักรได้ กำลังตำรวจทั้งหมดมีเจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญในการสอบสวนเรื่องคดีข่มขืนและการละเมิดทางเพศ โดยเจ้าหน้าที่สามารถเก็บหลักฐานและส่งเรื่องต่อให้ตำรวจท้องถิ่นของคุณได้ เจ้าหน้าที่อาจแบ่งปันข้อมูลเรื่องหลักฐานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจต่างชาติได้ แต่อาจใช้เวลาในการดำเนินการเป็นเวลานาน บริการของตำรวจอาจมีความแตกต่างกันบ้างในเรื่องของการจัดหาความช่วยเหลือ และท่านควรปรึกษาพวกเขาถึงทางเลือกที่คุณมี ท่านสามารถเลือกได้ว่าต้องการคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงหรือชาย"
นั่นหมายถึงว่า ในกรณีนี้ ตำรวจของสหราชอาณาจักรสามารถรับแจ้งความและตรวจสอบพยานหลักฐานได้ ซึ่งผลการตรวจสอบอาจถูกส่งให้ตำรวจไทยเพื่อใช้ในการสอบสวนคดีต่อไป
ขั้นตอนต่อไป
พล.ต.ต. สุรเชษฐ์กล่าวผ่านการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ว่า ขณะนี้ตำรวจไทยมุ่งแสวงหาพยานหลักฐานเพราะตั้งใจอยากหาความจริงให้ปรากฏ ระบบการสอบสวนของประเทศไทยเป็นระบบกล่าวหา จึงต้องเริ่มจากการสอบสวนผู้เสียหาย
"ประเด็นหลักคือต้องสอบสวนเธอให้ได้ก่อน แต่ตอนนี้ยังสอบสวนไม่ได้เลย "
อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้นางซาราห์เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อไว้ว่าจะไม่ยอมให้ลูกสาวของเธอกลับไปที่นั่นอีก หากต้องมีการดำเนินเรื่องใด ๆ เธอจะเป็นผู้เดินทางไปเอง โดยทางสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษและสถานกงสุลในไทยได้ยืนยันช่วยเหลือดูแลเรื่องความปลอดภัยของเธอ
...
คดี "ข่มขืน" เกาะเต่า ผ่านมาเกือบ 3 เดือน เรื่องไปถึงไหน?
ที่มา บีบีซีไทย
ผ่านมาเกือบ 3 เดือนแล้ว หลังเกิดเหตุที่หญิงนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษวัย 19 ปี อ้างว่าถูกมอมยา ถูกลักทรัพย์ และถูกข่มขืนบนเกาะเต่า ล่าสุด วันนี้ (8 ก.ย.) เว็บไซต์ เดอะ ไทม์ส ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ของหญิงผู้เสียหาย ซึ่งเป็นการให้สัมภาษณ์ครั้งแรกของเธอจากที่พักในกรุงลอนดอน โดยเธอได้กล่าวเตือนคนหนุ่มสาวไม่ให้ไปเที่ยวเกาะเต่า เธอบอกกับเว็บไซต์เดอะไทม์สว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจไทยพยายามทำให้เธอเสียชื่อเสียงอย่างเปิดเผยมากกว่าที่จะช่วยสอบสวนคดีของเธอ และไม่ได้ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นหรือช่วยตรวจหลักฐานนิติวิทยาศาสตร์
เธอกล่าวหาว่าพวกเขาพยายามปกปิดความจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะเกรงว่าจะสร้างภาพพจน์ในแง่ลบต่อการท่องเที่ยวของไทย "ฉันขอเตือนคนหนุ่มสาวทั้งหลายให้อยู่ห่างจากเกาะเต่า ฉันไม่รู้สึกปลอดภัยที่จะกลับไปที่นั่นอีกแล้ว" เธอกล่าว
อย่างไรก็ตาม เธอบอกว่า เธอไม่ได้บอกว่าไม่ควรไปเที่ยวเมืองไทยเลย เพราะประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เธอชอบมากที่สุด แต่เป็นประเทศที่มีความสวยงามที่มีด้านมืดพรางตัวอยู่
สถานที่ท่องเที่ยว 5 แห่งใน 5 ประเทศ กำลังรับมือกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่มากเกินไป
นาทีระทึก นักท่องเที่ยวถูกชีตาห์ไล่กวดหลังลงจากรถในสวนซาฟารีเนเธอร์แลนด์
ในบทสัมภาษณ์ เธอบอกกับผู้สื่อข่าวว่า คืนที่เกิดเรื่องเป็นคืนสุดท้ายของเธอและเพื่อน ๆ ที่เกาะเต่า เธอออกไปดื่มกับเพื่อนที่บาร์ โดยเธอดื่มรัมผสมโค้ก ต่อมาเริ่มรู้สึกเพลียจึงบอกเพื่อนว่าอยากกลับที่พัก เพื่อนของเธออาสาเดินไปส่ง แต่ระหว่างทางทั้งเธอและเพื่อนก็รู้สึกง่วงซึมขึ้นมาทันทีจนต้องนั่งพักที่ชายหาด เมื่อเธอรู้สึกตัวอีกทีก็พบว่าตัวเองอยู่บนชายหาด รู้สึกเจ็บไปหมดทั้งตัว ขณะกำลังพยายามจะยันตัวลุกก็เห็นผู้ชายคนหนึ่งยืนอยู่ข้าง ๆ เธอไม่แน่ใจว่าชายคนนั้นเห็นว่าเธอได้สติแล้วหรือไม่ แต่เขารีบเดินออกไป เธอจึงรีบลุกหนี ตอนนั้นเธอมองไปรอบ ๆ ก็พบว่าข้าวของหายไปหมดแล้ว และเธอไม่รู้ว่าเธออยู่ที่ไหน เธอพบเสื้อผ้าของเธอ จึงรีบแต่งตัวและเดินไปย่านที่มีผู้คน หลังจากกลับถึงห้องพักเธอไม่ได้พูดคุยกับใครและรีบเดินทางออกจากเกาะเต่าไปยังเกาะพะงัน
GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพผู้เสียหายบอกว่า เธอรู้สึกว่าตำรวจไทยคิดว่าเธอต่อต้านประเทศไทย พยายามทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงทางด้านท่องเที่ยวและชื่อเสียงของประเทศ
เธอบอกด้วยว่า เธอเข้าแจ้งความเหตุข่มขืนที่เกาะพะงัน แต่ตำรวจบอกว่าไม่มีอำนาจสอบสวนนอกพื้นที่จึงรับแจ้งความเหตุลักทรัพย์เท่านั้น
"ฉันงงมาก เพื่อนฉันที่มาด้วยกันก็โมโหมาก ตำรวจพูดซ้ำ ๆ ว่านี่ไม่ใช่พื้นที่เกาะของเขา ไม่มีแม้แต่จะจัดหาความช่วยเหลือ หรือแนะนำให้คุยปรึกษากับใคร ไม่มีชุดอุปกรณ์ตรวจหาร่องรอยการข่มขืน ฉันไม่ได้กลับไปเกาะเต่าอีกเพราะฉันรู้สึกกลัว เพื่อนฉันกลับไปแจ้งความเรื่องนี้ที่เกาะเต่าแต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น"
เธอบอกว่า คืนที่เกิดเหตุเธอสวมเสื้อยืดของเพื่อนเธอ จากนั้นเพื่อนเธอบอกว่าให้นำเสื้อตัวนี้ใส่ถุงไปให้ตำรวจเพราะเสื้อตัวนี้เต็มไปด้วยสิ่งที่ดูเหมือนคราบอสุจิ แต่ถึงอย่างนั้นตำรวจที่เกาะพะงันก็ยังไม่ยอมดูหลักฐานที่นำไปให้
ผู้เสียหายบอกว่า เธอรู้สึกว่าตำรวจไทยคิดว่าเธอต่อต้านประเทศไทย พยายามทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงทางด้านท่องเที่ยวและชื่อเสียงของประเทศ "ฉันแค่รายงานสิ่งที่เกิดขึ้นกับฉัน แต่ไม่มีใครช่วยฉันเลย"
เธอบอกด้วยว่า เธอเข้าแจ้งความเหตุข่มขืนที่เกาะพะงัน แต่ตำรวจบอกว่าไม่มีอำนาจสอบสวนนอกพื้นที่จึงรับแจ้งความเหตุลักทรัพย์เท่านั้น
"ฉันงงมาก เพื่อนฉันที่มาด้วยกันก็โมโหมาก ตำรวจพูดซ้ำ ๆ ว่านี่ไม่ใช่พื้นที่เกาะของเขา ไม่มีแม้แต่จะจัดหาความช่วยเหลือ หรือแนะนำให้คุยปรึกษากับใคร ไม่มีชุดอุปกรณ์ตรวจหาร่องรอยการข่มขืน ฉันไม่ได้กลับไปเกาะเต่าอีกเพราะฉันรู้สึกกลัว เพื่อนฉันกลับไปแจ้งความเรื่องนี้ที่เกาะเต่าแต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น"
เธอบอกว่า คืนที่เกิดเหตุเธอสวมเสื้อยืดของเพื่อนเธอ จากนั้นเพื่อนเธอบอกว่าให้นำเสื้อตัวนี้ใส่ถุงไปให้ตำรวจเพราะเสื้อตัวนี้เต็มไปด้วยสิ่งที่ดูเหมือนคราบอสุจิ แต่ถึงอย่างนั้นตำรวจที่เกาะพะงันก็ยังไม่ยอมดูหลักฐานที่นำไปให้
ผู้เสียหายบอกว่า เธอรู้สึกว่าตำรวจไทยคิดว่าเธอต่อต้านประเทศไทย พยายามทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงทางด้านท่องเที่ยวและชื่อเสียงของประเทศ "ฉันแค่รายงานสิ่งที่เกิดขึ้นกับฉัน แต่ไม่มีใครช่วยฉันเลย"
นอกจากจะมีความสับสนในเรื่องของข้อมูลจากผู้เสียหายและจากตำรวจแล้ว ยังดูเหมือนว่าไม่ค่อยมีความคืบหน้าในการดำเนินคดีมากนัก จนถึงตอนนี้ เรารู้ข้อเท็จจริงอะไรแล้วบ้าง
ลำดับเหตุการณ์
ช่วงปลายเดือนส.ค. สื่อไทยและอังกฤษหลายแห่งตีพิมพ์อีเมลที่นางซาราห์ (สงวนนามสกุล) แม่ของผู้เสียหาย เขียนถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจท่องเที่ยวไทย ซึ่งระบุว่าลูกสาวของเธอถูกข่มขืนที่เกาะเต่าในช่วงดึกของวันที่ 25 มิ.ย. ล่วงเข้าเช้าวันที่ 26 มิ.ย. หลังเกิดเหตุผู้เสียหาย ได้เดินทางจากเกาะเต่า ไปยังเกาะพะงันทันทีเนื่องจากเกรงอันตรายต่อชีวิต เมื่อไปถึงเกาะพะงันได้เข้าแจ้งความต่อตำรวจที่สภ.เกาะพะงัน เรื่องถูกข่มขืนและถูกลักทรัพย์ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจสภ. เกาะพะงันแจ้งว่าไม่สามารถรับแจ้งความกรณีข่มขืนได้ เนื่องจากอยู่นอกพื้นที่ แต่ได้รับแจ้งความคดีลักทรัพย์ไว้
ผู้เสียหายเดินทางกลับอังกฤษในวันที่ 2 ก.ค. และเล่าเหตุการณ์ทั้งหมดให้นางซาราห์ฟัง เธอจึงเข้าแจ้งความกับตำรวจอังกฤษ หลังจากนั้น ในวันที่ 13 ก.ค. นางซาราห์เขียนอีเมลถึงตำรวจท่องเที่ยวไทยเพื่อรายงานเหตุข่มขืนที่เกิดขึ้น และเจ้าหน้าที่ได้ตอบกลับด้วยการขอให้ส่งหลักฐานให้ จากนั้นนางซาราห์ได้ติดต่อสถานกงสุลอังกฤษในไทย และสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษในไทยเพื่อแจ้งเรื่องและขอความช่วยเหลือด้วย
GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพเคยเกิดเหตุอาชญากรรมกับนักท่องเที่ยวต่างชาติบนเกาะเต่ามาแล้วก่อนหน้านี้หลายเหตุการณ์ รวมถึงเหตุฆาตกรรม น.ส.ฮันนาห์ วิทเธอริดจ์ และ นายเดวิด มิลเลอร์ บริเวณหาดทรายรี เมื่อ ก.ย. 2557
เหตุใดจึงยังไม่มีการดำเนินคดี
พล.ต.ต. สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ในฐานะรองผอ.ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ศปอส.ตร.) บอกกับบีบีซีไทยวานนี้ (7 ก.ย.) ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบเหตุจากการที่ผู้เสียหายให้สัมภาษณ์ออกข่าวในสื่อของอังกฤษ จึงลงพื้นที่ไปตรวจสอบหลักฐาน ตรวจสอบร่องรอยนิติวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เท่าที่สามารถตรวจสอบได้ และสอบปากคำพยานในพื้นที่ จากพยานหลักฐานเท่าที่มีอยู่ในตอนนี้ ยังไม่พบว่ามีการวางยา หรือมีเหตุข่มขืนเกิดขึ้นตามที่กล่าวอ้างจริง จนถึงตอนนี้ ผู้เสียหายยังไม่มาให้ปากคำกับตำรวจ จึงไม่สามารถหาพยานหลักฐานใหม่ได้
ในส่วนของการแจ้งความ ผู้เสียหายบอกกับสื่ออังกฤษว่า ได้มีการแจ้งความเหตุข่มขืนที่สภ. เกาะพะงันจริง แต่เจ้าหน้าที่ตร. ไม่รับแจ้งความ ด้านพล.ต.ต.สุรเชษฐ์ บอกว่า จากการตรวจสอบบันทึกประจำวัน การแจ้งความที่เกาะพะงันเป็นการแจ้งความเรื่องเอกสารหาย โทรศัพท์หาย เงินหาย 3,000 บาท และบัตรเครดิตธนาคารหาย แต่ไม่ได้แจ้งเรื่องถูกข่มขืน อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 4 ก.ค. เพื่อนชายของผู้เสียหายย้อนกลับไปแจ้งความที่ สภ. เกาะเต่าว่าผู้เสียหายถูกข่มขืน แต่ตามกฎหมายต้องให้ผู้เสียหายมาแจ้งเอง คนอื่นมาแจ้งแทนไม่ได้ จึงไม่สามารถรับแจ้งความได้
เหตุใดจึงยังไม่มีการดำเนินคดี
พล.ต.ต. สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ในฐานะรองผอ.ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ศปอส.ตร.) บอกกับบีบีซีไทยวานนี้ (7 ก.ย.) ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบเหตุจากการที่ผู้เสียหายให้สัมภาษณ์ออกข่าวในสื่อของอังกฤษ จึงลงพื้นที่ไปตรวจสอบหลักฐาน ตรวจสอบร่องรอยนิติวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เท่าที่สามารถตรวจสอบได้ และสอบปากคำพยานในพื้นที่ จากพยานหลักฐานเท่าที่มีอยู่ในตอนนี้ ยังไม่พบว่ามีการวางยา หรือมีเหตุข่มขืนเกิดขึ้นตามที่กล่าวอ้างจริง จนถึงตอนนี้ ผู้เสียหายยังไม่มาให้ปากคำกับตำรวจ จึงไม่สามารถหาพยานหลักฐานใหม่ได้
ในส่วนของการแจ้งความ ผู้เสียหายบอกกับสื่ออังกฤษว่า ได้มีการแจ้งความเหตุข่มขืนที่สภ. เกาะพะงันจริง แต่เจ้าหน้าที่ตร. ไม่รับแจ้งความ ด้านพล.ต.ต.สุรเชษฐ์ บอกว่า จากการตรวจสอบบันทึกประจำวัน การแจ้งความที่เกาะพะงันเป็นการแจ้งความเรื่องเอกสารหาย โทรศัพท์หาย เงินหาย 3,000 บาท และบัตรเครดิตธนาคารหาย แต่ไม่ได้แจ้งเรื่องถูกข่มขืน อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 4 ก.ค. เพื่อนชายของผู้เสียหายย้อนกลับไปแจ้งความที่ สภ. เกาะเต่าว่าผู้เสียหายถูกข่มขืน แต่ตามกฎหมายต้องให้ผู้เสียหายมาแจ้งเอง คนอื่นมาแจ้งแทนไม่ได้ จึงไม่สามารถรับแจ้งความได้
GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพพล.ต.ต. สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว กล่าวว่า ยังไม่พบว่ามีการวางยา หรือมีเหตุข่มขืนเกิดขึ้นตามที่กล่าวอ้างจริง จนถึงตอนนี้ ผู้เสียหายยังไม่มาให้ปากคำกับตำรวจ จึงไม่สามารถหาพยานหลักฐานใหม่ได้
หากผู้เสียหายเข้าแจ้งความเหตุข่มขืน ทำไม ตร. จึงไม่รับแจ้งความนอกเขตพื้นที่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หมวด 2 อำนาจสืบสวนและสอบสวน มาตรา 18 ระบุว่า ในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัด ธนบุรี พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ และ ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่า นายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้
สถานที่ทางธรรมชาติสุดมหัศจรรย์ของโลก
นั่นหมายความว่า เมื่อผู้เสียหายเข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจใด ๆ ก็ตาม อย่างแรก พนักงานสอบสวนต้องพิจารณาว่าเหตุร้ายดังกล่าวเกิดขึ้นในเขตนั้น เชื่อว่าเกิดในเขตนั้น หรือผู้เสียหายอ้างว่าเกิดในเขตนั้น หรือผู้ต้องหาอาศัยอยู่ในเขตนั้น หรือถูกจับในเขตนั้น ถ้าเข้าองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งก็มีอำนาจรับแจ้งความเพื่อดำเนินคดีต่อไปได้เลย ในกรณีนี้ พนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจเกาะพะงันจึงไม่มีอำนาจรับแจ้งความตามหลักกฎหมาย
พยานหลักฐานใดที่จะช่วยให้สรุปได้ว่ามีเหตุข่มขืนจริง
พล.ต.ต. สุรเชษฐ์บอกว่า ขณะนี้ยังรอพยานหลักฐานทั้งพยานบุคคลและวัตถุพยาน ในกรณีนี้คือ 1. คราบอสุจิบนเสื้อยืดที่ผู้เสียหายเก็บไว้ซึ่งสามารถนำมาตรวจหาดีเอ็นเอผู้กระทำผิดได้ 2. ผลการตรวจร่องรอยการข่มขืนบนร่างกาย และ 3. คำให้การของผู้เสียหาย
เนื่องจากผู้เสียหายเดินทางออกนอกประเทศไทยกลับไปอังกฤษแล้ว ขณะนี้ตำรวจกำลังประสานงานกับสถานกงสุลอังกฤษในไทยเพื่อให้ผู้เสียหายไปให้ปากคำกับตำรวจอังกฤษ และส่งบันทึกสอบปากคำรวมทั้งเสื้อที่มีคราบอสุจิมาให้ตรวจสอบต่อ
'เพื่อนบ้านผมข่มขืนคนอื่น'
"ในความเป็นจริง ตำรวจอังกฤษสามารถตรวจคราบอสุจิได้เอง เดิมทีทางนั้นจะตรวจดีเอ็นเอให้เอง จะตรวจวัตถุพยานเองเลย แต่จากการหารือกับสถานกงสุลอังกฤษเมื่อวานนี้ (6 ก.ย.) ท่านกงสุลอังกฤษประจำประเทศไทย บอกว่าทางอังกฤษจะส่งกลับมาให้เราตรวจเองทั้งหมดโดยที่ทางอังกฤษจะไม่ตรวจเลย เพราะเกรงว่าพยานหลักฐานนั้นจะเสียไป" พล.ต.ต. สุรเชษฐ์กล่าว
GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพตำรวจของสหราชอาณาจักรสามารถรับแจ้งความและตรวจสอบพยานหลักฐานได้ ซึ่งผลการตรวจสอบอาจถูกส่งให้ตำรวจไทยเพื่อใช้ในการสอบสวนคดีต่อไป
พล.ต.ต. สุรเชษฐ์บอกด้วยว่า เมื่อได้รับเอกสารทั้งหมดจากสถานกงสุลอังกฤษและตรวจสอบดูแล้ว ถ้ามีพยานหลักฐานใหม่ก็จะดำเนินการสอบสวน หรือจะขอสอบปากคำผู้เสียหายจากประเทศอังกฤษ หรืออาจประสานให้ผู้เสียหายเดินทางเข้ามาสอบปากคำที่ไทยก็ได้
ทั้งนี้ นางซาราห์บอกกับบีบีซีไทยวานนี้ว่า ได้รับการติดต่อจากสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษในไทย และได้ส่งมอบเสื้อที่มีคราบอสุจิให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปแล้ว โดยขณะนี้เสื้อตัวดังกล่าวอยู่กับอินเตอร์โพล แต่ไม่รู้ว่าขั้นตอนในการตรวจสอบต้องใช้เวลานานแค่ไหน แต่เธอเกรงว่าตำรวจไทยอาจบิดเบือนผลการตรวจดีเอ็นเอได้
นอกจากนี้เธอบอกว่า ลูกสาวของเธอได้ผลการตรวจสภาพร่างกายและสภาพจิตใจจากแพทย์ที่อังกฤษแล้ว
พล.ต.ต. สุรเชษฐ์ บอกว่าผู้ที่มีอำนาจในการตรวจคือเจ้าหน้าที่นิติวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้รองผู้บัญชาการสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจซึ่งรับผิดของเรื่องนิติวิทยาศาสตร์บอกกับเขาว่า ถึงแม้จะผ่านมาเกือบ 3 เดือนแล้ว แต่ถ้าพยานหลักฐานนั้นไม่ถูกทำลายไปก็สามารถตรวจได้ ในกรณีนี้ เสื้อเดินทางจากไทยไปอังกฤษ และจะถูกส่งกลับมายังไทย ถ้าหากรักษาดี ๆ ไม่ให้พยานหลักฐานสูญเสียไป ก็สามารถตรวจสอบได้ แต่ถ้าเก็บรักษาพยานหลักฐานไว้ไม่ดี เกิดการเสียหายก็จะตรวจไม่ได้
ตำรวจอังกฤษมีอำนาจในการสอบสวนคดีนี้หรือไม่?
ข้อมูลจากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศอังกฤษหมวดที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตำรวจระบุว่า "ตำรวจสหราชอาณาจักรไม่สามารถสอบสวนเหตุที่เกิดในต่างประเทศ หรือร้องขอให้มีการสอบสวนเหตุร้ายได้ กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจในต่างประเทศไม่มีพันธะผูกพันต้องดำเนินการสอบสวนคดี หากท่านไม่ได้เข้าแจ้งความต่อตำรวจตอนอยู่ต่างประเทศ ท่านสามารถรายงานเรื่องเหตุดังกล่าวที่สถานีตำรวจในสหราชอาณาจักรได้ กำลังตำรวจทั้งหมดมีเจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญในการสอบสวนเรื่องคดีข่มขืนและการละเมิดทางเพศ โดยเจ้าหน้าที่สามารถเก็บหลักฐานและส่งเรื่องต่อให้ตำรวจท้องถิ่นของคุณได้ เจ้าหน้าที่อาจแบ่งปันข้อมูลเรื่องหลักฐานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจต่างชาติได้ แต่อาจใช้เวลาในการดำเนินการเป็นเวลานาน บริการของตำรวจอาจมีความแตกต่างกันบ้างในเรื่องของการจัดหาความช่วยเหลือ และท่านควรปรึกษาพวกเขาถึงทางเลือกที่คุณมี ท่านสามารถเลือกได้ว่าต้องการคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงหรือชาย"
นั่นหมายถึงว่า ในกรณีนี้ ตำรวจของสหราชอาณาจักรสามารถรับแจ้งความและตรวจสอบพยานหลักฐานได้ ซึ่งผลการตรวจสอบอาจถูกส่งให้ตำรวจไทยเพื่อใช้ในการสอบสวนคดีต่อไป
ขั้นตอนต่อไป
พล.ต.ต. สุรเชษฐ์กล่าวผ่านการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ว่า ขณะนี้ตำรวจไทยมุ่งแสวงหาพยานหลักฐานเพราะตั้งใจอยากหาความจริงให้ปรากฏ ระบบการสอบสวนของประเทศไทยเป็นระบบกล่าวหา จึงต้องเริ่มจากการสอบสวนผู้เสียหาย
"ประเด็นหลักคือต้องสอบสวนเธอให้ได้ก่อน แต่ตอนนี้ยังสอบสวนไม่ได้เลย "
อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้นางซาราห์เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อไว้ว่าจะไม่ยอมให้ลูกสาวของเธอกลับไปที่นั่นอีก หากต้องมีการดำเนินเรื่องใด ๆ เธอจะเป็นผู้เดินทางไปเอง โดยทางสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษและสถานกงสุลในไทยได้ยืนยันช่วยเหลือดูแลเรื่องความปลอดภัยของเธอ
...
British newspaper @thetimes has an extensive report today on the latest alleged rape on Thai "death island" Koh Tao. Instead of properly investigating the rape, the Thai authorities are persecuting and arresting those who reported the news. https://t.co/t8ggarVBmG— Andrew MacGregor Marshall (@zenjournalist) September 8, 2018
More international media coverage of Thai junta's disgraceful response to latest alleged rape on notorious "death island" Koh Tao. When will Thai police start investigating this case properly and stop harassing the victims and those who reported the crime? https://t.co/hTyLxTMhiE— Andrew MacGregor Marshall (@zenjournalist) September 8, 2018