
โดย อิทธิพล โคตะมี
Way magazine
19 Apr 2017
ภาพประกอบ: Shhhh
หมุด ‘ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ’ หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ‘หมุดคณะราษฎร’ ถูกขุดทิ้ง แทนที่ด้วย ‘หมุดหน้าใส’ มีรั้วรอบขอบชิดและห้ามถ่ายรูปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
สิ่งที่กำลังถูก ‘ขุด’ ต่อคือ ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ บทบาทของคณะราษฎรในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ซึ่งเดิมก็ถูกทำให้พร่าเลือนอยู่แล้ว และยิ่งเกิดเป็นข้อถกเถียงบนมายาคติการรับรู้ของคนใน พ.ศ.ปัจจุบัน
นี่คือตัวอย่างมายาคติเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ 2475 ที่มีหลักฐานข้อสรุปทางวิชาการไปแล้ว แต่เรายังเถียงกันอยู่

1. ชิงสุกก่อนห่าม
‘ชิงสุกก่อนห่าม’ เป็นคำอธิบายการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ที่แพร่หลายในช่วงต้นทศวรรษที่ 2510 โดยมุ่งให้ภาพเชิงลบต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ว่าเป็นเรื่องของ ‘พวกที่ใจร้อน ทนรอไม่ได้ โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนฝรั่งเศส’
งานเขียนกลุ่มนี้มีอิทธิพลอย่างสูงต่อสังคมไทย ระหว่างช่วงรัฐบาลเผด็จการทหาร โดยมีสาระสำคัญคล้ายคลึงกับงานสารคดีการเมืองในช่วงทศวรรษที่ 2490 ที่เหล่านักโทษการเมืองในคดีกบฏบวรเดชได้รับการอภัยโทษ เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นผลจากความพยายามคืนดีกับฝ่ายอนุรักษนิยมของ ปรีดี พนมยงค์ [1]
การอธิบาย ‘2475’ ในความหมาย ‘ชิงสุกก่อนห่าม’ ถูกยกขึ้นมาโต้แย้งครั้งแรกๆ โดย เสกสรรค์ ประเสริฐกุล เขียนบทความเรื่อง ‘ความจำเป็นทางประวัติศาสตร์ของการเคลื่อนไหว 24 มิถุนายน 2475’ ในปี 2525 [8] เพื่อชำระคำอธิบายดังกล่าว เสกสรรค์พิจารณาสถานะทางประวัติศาสตร์ของ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จากสามปัจจัย ได้แก่
หนึ่ง – แบบแผนรัฐธรรมนูญที่พระองค์ศึกษา
สอง – เนื้อหาของรัฐธรรมนูญที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 รับสั่งให้ร่าง
สาม – ประเด็นขัดแย้งกับคณะราษฎรอันนำไปสู่การสละราชสมบัติ เพื่ออธิบายว่า ‘2475’ ไม่ใช่ชิงสุกก่อนห่าม หากแต่หมายถึง ‘ความจำเป็นทางประวัติศาสตร์’ ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ขณะที่ในจดหมายโต้ตอบระหว่างพระปกเกล้ากับที่ปรึกษาชาวอเมริกัน ชื่อ ฟรานซิส บี. แซยร์ (Francis Bowes Sayre) หรือ ‘พระยากัลยาณไมตรี’ ซึ่งงานของ เบนจามิน เอ. บัทสัน (Benjamin A. Batson) นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ระบุว่า ตามความเห็นของที่ปรึกษา (ฟรานซิส บี. แซยร์) การปกครองโดยมีระบบผู้แทน ไม่ใช่สิ่งที่น่าพึงประสงค์ [4]
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับพระยากัลยาณไมตรี หรือ ‘Outline of Preliminary Draft’ 12 มาตรา (ฉบับแปลโดยวิษณุ เครืองาม)
มาตรา 1 อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์
มาตรา 2 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีนายหนึ่ง ซึ่งรับผิดชอบต่อพระองค์ในการบริหารราชการแผ่นดินทั้งปวง และให้นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งตามพระราชอัธยาศัย
มาตรา 3 ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการแต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรีทั้งหลาย ซึ่งเป็นเจ้ากระทรวงต่างๆ โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์ในกิจการทั้งปวงของแต่ละกระทรวง และจะต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติภารกิจตามนโยบายทั่วไปของรัฐบาล ดังที่มีพระบรมราชโองการ และรับผิดชอบในการประสานงานระหว่างกระทรวงต่างๆ เพื่อให้บรรลุนโยบายดังกล่าว
มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีแต่ละนายรับผิดชอบโดยตรงต่อนายกรัฐมนตรี สำหรับงานในกระทรวงของตน และให้ร่วมปฏิบัติภาคกิจตามนโยบายทั่วไปของรัฐบาลตามคำบัญชาของนายกรัฐมนตรี
มาตรา 5 ให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรี โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยให้คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยรัฐมนตรีทุกนาย คณะรัฐมนตรีอาจอภิปรายปัญหาสำคัญอันเป็นประโยชน์ได้เสียร่วมกันได้ แต่ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการลงมติทั้งปวง
มาตรา 6 ให้นายกรัฐมนตรีกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อขอรับพระบรมราชวินิจฉัย ในปัญหาทั้งปวงอันเกี่ยวด้วยนโยบายทั่วไป และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดก็ตาม นายกรัฐมนตรีต้องปฏิบัติตามพระบรมราชโองการ
มาตรา 7 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งมนตรี 5 นาย ประกอบกันเป็น อภิรัฐมนตรีสภา ให้นายกรัฐมนตรีเป็นสมาชิกอภิรัฐมนตรีสภาโดยตำแหน่ง แต่ห้ามรัฐมนตรีนายอื่นดำรงตำแหน่งสมาชิกด้วย อภิรัฐมนตรีไม่มีอำนาจทางบริหาร ไม่ว่าในกรณีใดๆ ก็ตาม อำนาจหน้าที่ของอภิรัฐมนตรีสภามีเพียงถวายความคิดเห็นแด่พระมหากษัตริย์ ในปัญหาเกี่ยวด้วยนโยบายทั่วไป หรือปัญหาอื่นใดอันมิใช่รายละเอียดเกี่ยวกับงานบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลเท่านั้น อภิรัฐมนตรีสภาไม่มีอำนาจเสนอแนะให้แต่งตั้งใครดำรงตำแหน่งใดตลอดจนเสนอแนะรายละเอียดเกี่ยวกับการปกครอง อย่างไรก็ตาม อภิรัฐมนตรีสภามีอำนาจเปลี่ยนแปลงผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี
มาตรา 8 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและถอดถอนสมาชิกองคมนตรีสภาตามพระราชอัธยาศัย
มาตรา 9 ภายในระยะเวลา 3 วันนับแต่วันเสวยราชสมบัติ พระมหากษัตริย์จะทรงเลือกบุคคลหนึ่ง เป็นทายาทด้วยคำแนะนำและยินยอมขององคมนตรีสภา บุคคลผู้จะเป็นรัชทายาทได้นั้น จะต้องเป็นโอรสของพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระบรมราชินี หรือเป็นบุคคลอื่นซึ่งอยู่ในราชตระกูล แต่ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในลำดับฐานะมีพระอิสริยยศสูง หรือมีอาวุโสสูง การกำหนดบุคคลใดให้เป็นรัชทายาทย่อมไม่อาจเพิกถอนได้ แต่อาจถูกทบทวนใหม่ได้ในเวลาสิ้นสุดของทุกกำหนด 5 ปี โดยพระมหากษัตริย์ด้วยคำแนะนำและยินยอมขององคมนตรีสภา หากพระมหากษัตริย์สวรรคตก่อนมีการเลือกรัชทายาท ให้องคมนตรีสภาเลือกบุคคลหนึ่งขึ้นเป็นรัชทายาททันทีหลังจากที่พระมหากษัตริย์สวรรคต ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดก็ตาม สามในสี่ของสมาชิกองคมนตรีสภา ซึ่งอยู่ในราชอาณาจักร ย่อมประกอบกันเป็นองค์ประชุมกำหนดตัวรัชทายาท
มาตรา 10 ภายใต้บังคับแห่งพระราชอำนาจสูงสุด ศาลฎีกาและศาลอื่นใดทั้งหลายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตั้งขึ้นเป็นคราวๆ เป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการ
มาตรา 11 อำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติเป็นของพระมหากษัตริย์
มาตรา 12 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญนี้กระทำได้โดย พระมหากษัตริย์ ประกอบด้วยคำแนะนำและยินยอมจากสามในสี่ของสมาชิกองคมนตรีสภา
อ้างอิงข้อมูลจาก: วิษณุ เครืองาม.2523. กฎหมายรัฐธรรมนูญ. พิมพ์ครั้งที่ 2. หน้า 132-4. กรุงเทพฯ; โรงพิมพ์แสวงสุทธิการพิมพ์
ต้นฉบับภาษาอังกฤษ
https://en.wikisource.org/wiki/Siam%27s_outline_of_preliminary_draft_of_constitution
ในร่างรัฐธรรมนูญอีกฉบับ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รับสั่งให้ เรมอนด์ บี. สตีเวนส์ (Raymond B. Stevens) กับ พระยาศรีวิสารวาจา เขียนขึ้น มีเนื้อหามุ่งไปสู่การเอื้ออำนวยให้เกิดความชอบธรรมแก่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่แก้ไขใหม่ ดังตัวอย่าง สิทธิ์ของกษัตริย์ในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
“นายกรัฐมนตรีจักต้องได้รับการเลือกสรร โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และรับผิดชอบต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการบริหารรัฐบาล อำนาจของพระมหากษัตริย์ในการเลือกสรร (นายกรัฐมนตรี) จักต้องไม่ถูกจำกัดโดยสิ่งใดทั้งสิ้น”
ถึงกระนั้นพระประสงค์นี้ก็เป็นสิ่งที่ถือว่า ‘มากเกินไป’ ในสายตาของ เรมอนด์ บี. สตีเวนส์ และเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่ไม่พึงประสงค์การปฏิรูประบอบตามพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ไม่สามารถประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ได้ในวันที่ 6 เมษายน 2475 หรือครบรอบ 150 ปีของการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ตามพระราชประสงค์ตั้งต้น
อีกสาเหตุหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงคือ บริบทของสังคมไทยในปี 2475 ประสบปัญหาในระดับรากฐาน กล่าวคือ มีการลดลงของเงินคงคลังในรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าอยู่หัว และภาวะข้าวยากหมากแพงแพร่กระจาย ซึ่งระบอบการเมืองแบบเดิมไม่สามารถปรับตัวรองรับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ขณะที่บริบทโลกเอง ก็เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจ จึงทำให้เกิดกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญที่การปฏิวัติไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ [2]

2. พระราชหัตถเลขา
“ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป
แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยฉะเพาะ เพื่อใช้
อำนาจนั้นโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร”
ข้อความที่คุ้นเคยนี้มักถูกจัดวางประกอบกับภาพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า พระราชทานรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 แต่ข้อเท็จจริงคือ เป็นพระราชหัตถเลขาในบริบทสละราชสมบัติเมื่อปี 2477 หลังเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองสองปี
งานวิชาการหลายชิ้นยอมรับกันว่า การสละราชสมบัติของรัชกาลที่ 7 นั้น มีสาเหตุมาจากความพยายามอันล้มเหลวที่จะเพิ่มพระราชอำนาจให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์ มิใช่การเรียกร้องสิทธิประชาธิปไตยให้กับประชาชน นักวิชาการหลายท่านจึงสรุปตรงกันว่า การสละราชย์เป็นเครื่องมือต่อรองสุดท้ายที่จะบังคับให้คณะราษฎรยอมทำตามข้อเรียกร้อง
งานเขียนของ ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ คืองานสำคัญชิ้นหนึ่ง ซึ่งใช้เอกสารกระทรวงต่างประเทศอังกฤษ (จดหมายส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 7 ถึงที่ปรึกษารัฐบาลไทยชาวอังกฤษ) เพื่อชี้ให้เห็นว่าพระองค์ทรงใช้การสละราชย์มาต่อรองรัฐบาลของคณะราษฎร โดย ม.ล.วัลย์วิภา สรุปว่า
“เนื่องมาจากประเทศอังกฤษเคยแย้มพรายว่า หากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯสละราชย์ ประเทศไทยจะต้องเกิดจลาจลแน่ ซึ่งในภาวะเช่นนั้นอังกฤษจำเป็นจะต้องเข้าแทรกแซงกิจการภายในประเทศไทยทันที…ทรงทราบว่ารัฐบาลหวั่นเกรงภัยจากการแทรกแซงของต่างชาติมาก…ฉะนั้นคำขู่เรื่องการแทรกแซงจากต่างประเทศจะได้ผลและทำให้รัฐบาลประนีประนอมต่อพระองค์ท่าน” [7]
ถึงกระนั้น พระราชหัตถเลขาสละราชสมบัตินี้ ก็กลายมาเป็นข้อความทรงพลังในเวลาต่อมา เพราะเนื้อหานั้นเลือกที่จะหันเข้าหาหลักการประชาธิปไตย จากการค้นคว้าของ ประจักษ์ ก้องกีรติ พบว่า พระราชหัตถเลขานี้ มีศักยภาพที่จะกลายเป็นเอกสารสำหรับใช้โฆษณาชวนเชื่อต่อต้านรัฐบาลทหาร ระหว่างการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษา ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
ในวิธีการสร้างวาทกรรมขบวนการนักศึกษาได้มีการใช้สัมพันธบท โดยนำพระราชหัตถเลขาของรัชกาล 7 ตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ของขบวนการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคลื่อนไหวใหญ่ของขบวนการนักศึกษา ซึ่งเป็นการหยิบยืมถ้อยแถลงในอดีตของพระมหากษัตริย์มาวางกับบริบทใหม่ที่ถูกจัดวางให้เป็นประชาธิปไตย เรียกว่าวาทกรรม ‘กษัตริย์ประชาธิปไตย’ หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็น ‘การอ้างอิงความหมายนอกบริบท’ [5]

3. เผด็จการทหารเป็นมรดกคณะราษฎร
ความเข้าใจนี้เกิดขึ้นในหมู่ขบวนการนักศึกษาก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม โดยเฉพาะงานเขียนของกลุ่มอนุรักษนิยมซึ่งอธิบายว่า คณะราษฎรเป็นต้นตอของ ‘วงจรอุบาทว์’ ที่ทำให้การเมืองประเทศไทยตกอยู่ในวังวนของการรัฐประหาร ยึดอำนาจ เพื่อผลประโยชน์ของพวกพ้อง
คำอธิบายนี้มีอิทธิพลอยู่ภายใต้บริบทในเวลานั้น ที่การต่อต้านรัฐบาลทหารของ จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งสืบทอดอำนาจมาจากรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ทว่า จากการค้นคว้าของ ประจักษ์ ก้องกีรติ [5] พบว่า เกิดจากการตัดตอนความทรงจำทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากว่า หลังการรัฐประหาร 2490 และการรัฐประหารของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้มีการทำลายความทรงจำของคณะราษฎรลงไปอย่างมาก
ตัวอย่างสำคัญคือ หนังสือนักศึกษาในช่วงทศวรรษนี้ ได้ปิดฉากลงด้วยการปฏิวัติของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อ 20 ตุลาคม 2501 หนังสือนักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัยที่กำลังจัดทำอยู่ถูกยึดไปตรวจ บางเล่มถูกเซนเซอร์ข้อความออกไปจำนวนมาก
ก่อนหน้านั้นไม่นาน ในทศวรรษที่ 2490 เริ่มมีงานเขียน (โดยมากอยู่ในรูปแบบสารคดีทางการเมือง) อธิบายการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ในเชิงลบมากขึ้น โดยมองว่าการปฏิวัติ 2475 คือการแย่งอำนาจการปกครองหรือการรัฐประหารธรรมดาๆ ไม่ได้ให้ความสำคัญว่าเป็นกำเนิดของระบอบการปกครองใหม่ ซึ่งนำความก้าวหน้ามาให้กับชาติแบบงานในช่วงแรกหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ทางออกของการรับรู้นี้คือ การยกย่องเชิดชูสถาบันกษัตริย์ (พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว) ให้เป็นผู้นำต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแทนประชาชน ควบคู่ไปกับความใกล้ชิดระหว่างนักศึกษาและกษัตริย์องค์ปัจจุบัน ที่มีโครงเรื่องอยู่ภายใต้อุดมการณ์ราชาชาตินิยม ซึ่งสร้างคู่ตรงข้ามระหว่างสถาบันกษัตริย์และเผด็จการทหาร อันเป็นการปกครองที่ยาวนาน และสร้างการรับรู้ให้คณะราษฎรเป็นส่วนหนึ่งในที่มาของระบอบเผด็จการทหาร รวมถึงการรับรู้ต่อบทบาทของ ปรีดี พนมยงค์ ที่ลางเลือน แม้กระทั่งกลุ่มนักศึกษาที่สำคัญในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ อย่างนักศึกษากลุ่มสภาหน้าโดม ก็ขาดการรับรู้ต่อบทบาท ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งงานชิ้นนี้เสนอว่า มีสาเหตุมาจากระบอบเผด็จการทหารได้ทำลายความทรงจำของคณะราษฎรลงไปยาวนานหลายปี
ในร่างรัฐธรรมนูญอีกฉบับ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รับสั่งให้ เรมอนด์ บี. สตีเวนส์ (Raymond B. Stevens) กับ พระยาศรีวิสารวาจา เขียนขึ้น มีเนื้อหามุ่งไปสู่การเอื้ออำนวยให้เกิดความชอบธรรมแก่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่แก้ไขใหม่ ดังตัวอย่าง สิทธิ์ของกษัตริย์ในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
“นายกรัฐมนตรีจักต้องได้รับการเลือกสรร โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และรับผิดชอบต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการบริหารรัฐบาล อำนาจของพระมหากษัตริย์ในการเลือกสรร (นายกรัฐมนตรี) จักต้องไม่ถูกจำกัดโดยสิ่งใดทั้งสิ้น”
ถึงกระนั้นพระประสงค์นี้ก็เป็นสิ่งที่ถือว่า ‘มากเกินไป’ ในสายตาของ เรมอนด์ บี. สตีเวนส์ และเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่ไม่พึงประสงค์การปฏิรูประบอบตามพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ไม่สามารถประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ได้ในวันที่ 6 เมษายน 2475 หรือครบรอบ 150 ปีของการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ตามพระราชประสงค์ตั้งต้น
อีกสาเหตุหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงคือ บริบทของสังคมไทยในปี 2475 ประสบปัญหาในระดับรากฐาน กล่าวคือ มีการลดลงของเงินคงคลังในรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าอยู่หัว และภาวะข้าวยากหมากแพงแพร่กระจาย ซึ่งระบอบการเมืองแบบเดิมไม่สามารถปรับตัวรองรับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ขณะที่บริบทโลกเอง ก็เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจ จึงทำให้เกิดกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญที่การปฏิวัติไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ [2]

2. พระราชหัตถเลขา
“ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป
แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยฉะเพาะ เพื่อใช้
อำนาจนั้นโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร”
ข้อความที่คุ้นเคยนี้มักถูกจัดวางประกอบกับภาพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า พระราชทานรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 แต่ข้อเท็จจริงคือ เป็นพระราชหัตถเลขาในบริบทสละราชสมบัติเมื่อปี 2477 หลังเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองสองปี
งานวิชาการหลายชิ้นยอมรับกันว่า การสละราชสมบัติของรัชกาลที่ 7 นั้น มีสาเหตุมาจากความพยายามอันล้มเหลวที่จะเพิ่มพระราชอำนาจให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์ มิใช่การเรียกร้องสิทธิประชาธิปไตยให้กับประชาชน นักวิชาการหลายท่านจึงสรุปตรงกันว่า การสละราชย์เป็นเครื่องมือต่อรองสุดท้ายที่จะบังคับให้คณะราษฎรยอมทำตามข้อเรียกร้อง
งานเขียนของ ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ คืองานสำคัญชิ้นหนึ่ง ซึ่งใช้เอกสารกระทรวงต่างประเทศอังกฤษ (จดหมายส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 7 ถึงที่ปรึกษารัฐบาลไทยชาวอังกฤษ) เพื่อชี้ให้เห็นว่าพระองค์ทรงใช้การสละราชย์มาต่อรองรัฐบาลของคณะราษฎร โดย ม.ล.วัลย์วิภา สรุปว่า
“เนื่องมาจากประเทศอังกฤษเคยแย้มพรายว่า หากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯสละราชย์ ประเทศไทยจะต้องเกิดจลาจลแน่ ซึ่งในภาวะเช่นนั้นอังกฤษจำเป็นจะต้องเข้าแทรกแซงกิจการภายในประเทศไทยทันที…ทรงทราบว่ารัฐบาลหวั่นเกรงภัยจากการแทรกแซงของต่างชาติมาก…ฉะนั้นคำขู่เรื่องการแทรกแซงจากต่างประเทศจะได้ผลและทำให้รัฐบาลประนีประนอมต่อพระองค์ท่าน” [7]
ถึงกระนั้น พระราชหัตถเลขาสละราชสมบัตินี้ ก็กลายมาเป็นข้อความทรงพลังในเวลาต่อมา เพราะเนื้อหานั้นเลือกที่จะหันเข้าหาหลักการประชาธิปไตย จากการค้นคว้าของ ประจักษ์ ก้องกีรติ พบว่า พระราชหัตถเลขานี้ มีศักยภาพที่จะกลายเป็นเอกสารสำหรับใช้โฆษณาชวนเชื่อต่อต้านรัฐบาลทหาร ระหว่างการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษา ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
ในวิธีการสร้างวาทกรรมขบวนการนักศึกษาได้มีการใช้สัมพันธบท โดยนำพระราชหัตถเลขาของรัชกาล 7 ตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ของขบวนการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคลื่อนไหวใหญ่ของขบวนการนักศึกษา ซึ่งเป็นการหยิบยืมถ้อยแถลงในอดีตของพระมหากษัตริย์มาวางกับบริบทใหม่ที่ถูกจัดวางให้เป็นประชาธิปไตย เรียกว่าวาทกรรม ‘กษัตริย์ประชาธิปไตย’ หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็น ‘การอ้างอิงความหมายนอกบริบท’ [5]

3. เผด็จการทหารเป็นมรดกคณะราษฎร
ความเข้าใจนี้เกิดขึ้นในหมู่ขบวนการนักศึกษาก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม โดยเฉพาะงานเขียนของกลุ่มอนุรักษนิยมซึ่งอธิบายว่า คณะราษฎรเป็นต้นตอของ ‘วงจรอุบาทว์’ ที่ทำให้การเมืองประเทศไทยตกอยู่ในวังวนของการรัฐประหาร ยึดอำนาจ เพื่อผลประโยชน์ของพวกพ้อง
คำอธิบายนี้มีอิทธิพลอยู่ภายใต้บริบทในเวลานั้น ที่การต่อต้านรัฐบาลทหารของ จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งสืบทอดอำนาจมาจากรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ทว่า จากการค้นคว้าของ ประจักษ์ ก้องกีรติ [5] พบว่า เกิดจากการตัดตอนความทรงจำทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากว่า หลังการรัฐประหาร 2490 และการรัฐประหารของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้มีการทำลายความทรงจำของคณะราษฎรลงไปอย่างมาก
ตัวอย่างสำคัญคือ หนังสือนักศึกษาในช่วงทศวรรษนี้ ได้ปิดฉากลงด้วยการปฏิวัติของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อ 20 ตุลาคม 2501 หนังสือนักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัยที่กำลังจัดทำอยู่ถูกยึดไปตรวจ บางเล่มถูกเซนเซอร์ข้อความออกไปจำนวนมาก
ก่อนหน้านั้นไม่นาน ในทศวรรษที่ 2490 เริ่มมีงานเขียน (โดยมากอยู่ในรูปแบบสารคดีทางการเมือง) อธิบายการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ในเชิงลบมากขึ้น โดยมองว่าการปฏิวัติ 2475 คือการแย่งอำนาจการปกครองหรือการรัฐประหารธรรมดาๆ ไม่ได้ให้ความสำคัญว่าเป็นกำเนิดของระบอบการปกครองใหม่ ซึ่งนำความก้าวหน้ามาให้กับชาติแบบงานในช่วงแรกหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ทางออกของการรับรู้นี้คือ การยกย่องเชิดชูสถาบันกษัตริย์ (พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว) ให้เป็นผู้นำต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแทนประชาชน ควบคู่ไปกับความใกล้ชิดระหว่างนักศึกษาและกษัตริย์องค์ปัจจุบัน ที่มีโครงเรื่องอยู่ภายใต้อุดมการณ์ราชาชาตินิยม ซึ่งสร้างคู่ตรงข้ามระหว่างสถาบันกษัตริย์และเผด็จการทหาร อันเป็นการปกครองที่ยาวนาน และสร้างการรับรู้ให้คณะราษฎรเป็นส่วนหนึ่งในที่มาของระบอบเผด็จการทหาร รวมถึงการรับรู้ต่อบทบาทของ ปรีดี พนมยงค์ ที่ลางเลือน แม้กระทั่งกลุ่มนักศึกษาที่สำคัญในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ อย่างนักศึกษากลุ่มสภาหน้าโดม ก็ขาดการรับรู้ต่อบทบาท ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งงานชิ้นนี้เสนอว่า มีสาเหตุมาจากระบอบเผด็จการทหารได้ทำลายความทรงจำของคณะราษฎรลงไปยาวนานหลายปี

4. รัฐธรรมนูญพระราชทาน
ความเข้าใจนี้เป็นผลมาจากการรับรู้ต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ทั้งสามข้อที่กล่าวมา แต่หากพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ได้นำเสนอไปแล้วจะพบว่า ความเข้าใจนี้คลาดเคลื่อนออกไป อีกตัวอย่างหนึ่งคือ รูปแบบสัญลักษณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ยังสามารถบอกความจริงได้อยู่หลายประการ โดยเฉพาะประเด็นการพระราชทานรัฐธรรมนูญ
ดังที่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ อธิบายการออกแบบรัฐธรรมนูญบนยอดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยชี้ว่า ปกติหากสิ่งที่เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีพานแว่นฟ้ารองรับ ในทางตรงกันข้าม หากเป็นสิ่งที่ประชาชนทูลเกล้าฯ ถวายขึ้นไปนั้น ถึงจะมีการใช้พานแว่นฟ้ารองรับเสมอ เพราะฉะนั้นรัฐธรรมนูญที่วางอยู่บนพานแว่นฟ้าจึงหมายถึงรัฐธรรมนูญว่าเป็นสิ่งที่เกิดจากคณะราษฎรเป็นผู้ถวายให้แก่พระมหากษัตริย์ มิใช่สิ่งที่ได้รับพระราชทานมาจากเบื้องบน [3]
ในวิทยานิพนธ์เรื่อง นัยทางการเมืองของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในสังคมไทย เขียนโดย มาลินี คุ้มสุภา ในปี 2541 อธิบายไว้ว่า อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยได้แปรเปลี่ยนความหมายไปจากเดิม เริ่มจากจุดประสงค์เพื่อต้องการสื่อถึงประชาธิปไตย ที่เกิดจากความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อย่างไรก็ตาม ในอดีตมีการพยายามใช้พื้นที่ไปในงานอื่นซึ่งไม่ได้มีความหมายเกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยด้วย
ตัวอย่างเช่น พระราชพิธี การเดินสวนสนามของกองทัพ หรือการนำพระราชดำรัสของรัชกาลที่ 7 มาอ่านในพื้นที่อนุสาวรีย์เพื่อเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างผิดฝาผิดตัว แต่เนื่องจากความต้องการพื้นที่แสดงออกถึงการมีส่วนร่วมทางการเมือง ทำให้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยถูกใช้ชุมนุมทางการเมืองมากขึ้นเป็นลำดับ เช่น 14 ตุลาคม 2516 หรือ พฤษภาคม 2535 การใช้พื้นที่ทางการเมืองเชิงสัมพัทธ์นี้มีส่วนก่อรูปความหมายได้อย่างสำคัญ มาลินีเห็นว่า ความสำคัญของชื่อ งานเขียน และภาพของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถือได้ว่ามีส่วนก่อรูปและเปลี่ยนแปรความหมายของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยให้เชื่อมโยงกับกระบวนการประชาธิปไตยไทย แทนที่ความหมายเชิงสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้ [6]
กล่าวได้ว่า สัญลักษณ์ของคณะราษฎร ไม่ได้มีความหมายที่หยุดนิ่ง หากแต่เต็มไปด้วยการช่วงชิงความหมายตลอดหน้าประวัติศาสตร์ ตัวอย่างของการใช้พื้นที่ของสัญลักษณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นหลักฐานอันดีที่ชี้ให้เห็นความจริงข้อนี้
อ้างอิงข้อมูลจาก:
[1] ณัฐพล, ใจจริง. 2556. ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ: ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ. 2475-2500). นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน
[2] นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. 2540. การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475. พิมพ์ครั้งที่ 2 , กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง
[3] นิธิ เอียวศรีวงศ์. 2538. ชาติไทยเมืองไทยแบบเรียนและอนุสาวรีย์ว่าด้วยวัฒนธรรมรัฐและรูปการจิตสำนึก. กรุงเทพฯ: มติชน
[4] เบนจามิน เอ. บัทสัน; บรรณาธิการแปล กาญจนี ละอองศรี, ยุพา ชุมจันทร์; คณะแปล พรรณงาม เง่าธรรมสาร, สดใส ขันติวรพงศ์, ศศิธร รัชนี ณ อยุธยา. 2555. อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสยาม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์