อีกทีฮับ ไม่ทราบทั่นผู้ณรรมว่างไหม ช่วยไรหน่อย
ชาวบ้านชักจะทนไม่ไหว ล่ะนะลุง บ้านเมืองเริ่ม ‘ข้าวยาก’
แม้นว่าจะมีมอลใหม่สุดหรู upscale, hi so เพิ่งเปิดเชิดคาง บดบังภาพพจน์ ‘sick man of Asia’ ก็เถอะ
(http://www.bloomberg.com/…/move-over-thailand-the-philippin… )
อย่าลืมว่าอันก่อนเพิ่งเปิดเมื่อไม่นานบนที่ดินสถานทูต นั่นก็กำลังจะ sick
อันใหม่จะ ‘อองกั๊ก..’ หรือ ‘เอ็มควอ’ พวก high-end ติเย่ หรือ เทียร์ เนี่ยมันไม่กระตุ้นเศรษฐกิจเท่าไหร่
ในเมื่อหนี้สินครัวเรือนของประชาชนยังเพิ่มขึ้นไม่ยอมยั้ง
(“Bangkok’s lavish, air-conditioned malls consume as much power as entire provinces” http://qz.com/…/bangkoks-lavish-malls-consume-as-much-powe…/ และ “Record Thai Household Debt Crimps Rate-Cut Room”http://www.bloomberg.com/…/record-thai-household-debt-crimp…)
แล้วทั่นไปโทษ ‘หมาก (ฝรั่ง) แพง’ อย่างเดียวไม่ได้
ของอย่างนี้เกี่ยวข้อง ‘ฝีมือ’ มากอยู่นะฮับ
ถึงทั่นจะ cote (vt) ขยัน งานยุ่ง ไปโน่นมานี่
แถมอยู่บ้านยังอ่านหนังสือเสียจนตาเฉอะตาแฉะ (ไม่รู้ดู ‘มานี’ บ้างป่าว) ก็เถอะ
หากมีเวลา ถามไถ่ทั่นรองฯ นักออกแบบเศรษฐกรรม บ้างเด๊อ ว่าไปถึงไหน ยังไงแน่
เพราะเราเห็นที่ พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ เขียนเตือน ทำให้ใจแป้ว
“ปีที่แล้ว รองนายกฯ เศรษฐกิจ ยืนยันว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาสสี่ปี 2557 จะโต 3% และทั้งปี 57 จะโต 1% แต่กลายเป็นว่า ในไตรมาสสี่ ศก.ไทยโตเพียง 2.3% ขณะที่ทั้งปี 57 โตแค่ 0.7% เท่านั้น!
ตอนปลายปีที่แล้ว รองนายกฯ คนเดิมก็รับรองอีกว่า ปี 2558 ศก.ไทยจะฟื้นตัวอย่างแข็งแรง ในไตรมาสแรกจะโตไม่ต่ำกว่า 4% และทั้งปีจะโต 4.5%
ปรากฎว่าเอาเข้าจริง ส่งออกไทยตกต่ำลงหรือติดลบตลอดสามเดือนแรกคือ เดือนม.ค. ติดลบ 2.6% เดือนก.พ.ติดลบอีก 6.0% แล้วก็ติดลบอีก 3.0 ในเดือนมี.ค.”
อันนี้มีข่าวยืนยัน “หม่อมอุ๋ยมั่นใจ GDP ปีนี้โต 4% -ส่งออกขยายตัวไม่มากนัก”
(http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx…)
“โดยรวมในไตรมาสแรกปี 58 ส่งออกไทยติดลบ 5.0% ขณะที่ศก.ไทยติดลบ 1.6% (อันหลังสุดนี้ ยังไม่แน่ใจว่าจริง ต้องรอดูตัวเลขสภาพัฒน์ยืนยันอีกครั้ง)” อจ. พิชิตสะกิด
ทั่นรองฯ เลยต้องยอมรับ โดยไม่ทิ้งมาด expertise
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ชี้ว่า “การที่รัฐบาลใช้มาตรา 44 น่าจะดีกว่ากฎอัยการศึก และทำให้การท่องเที่ยวของไทยค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น...และน่าจะช่วยทดแทนการส่งออกที่ติดลบได้บ้าง
ซึ่งปีนี้คาดว่าส่งออกไทยไม่ขยายตัว หรือโตแค่ 0% ซึ่งเป็นผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดย 2 เดือนแรก (ม.ค.-ก.พ.) ส่งออกติดลบ 3% และติดลบ 6% ตามลำดับ หากเดือนมีนาคมไม่เติบโต ก็จะทำให้ไตรมาสแรกการส่งออกอาจติดลบ 3% ซึ่งกระทบต่อเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไตรมาสแรกติดลบ 1.6%”
วุ้ย โทษเศรษฐกิจโลกเหมือนหัวหน้าเลยทั่น แต่ว่ามีคนเขาสงสัย มือบริหารเศรษฐการชั้นกูรู ผ่านงานมาหลายรัฐบาลตะหาน ทำไมปล่อยตัวเลข fluctuated ดิ่งเหวมากมายขนาดนั้น จากโตสี่เปอร์เซ็นต์มาเป็นติดลบสาม ภายในไม่กี่เดือน
แถมขุนคลังของทั้งสองทั่น นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ให้ไอเดีย นัยว่าเจ๋ง
“ภาครัฐควรเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณโดยเฉพาะงบฯลงทุนให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เพราะจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การฟื้นตัวของความเชื่อมั่นและเศรษฐกิจเข้มแข็งขึ้น”
(http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1428066848)
เอ้า ว่ากันไป ชาวบ้านคงได้แต่นั่งจ้อง ท้องแห้ง ปากห้อย
อย่างไรก็ลองฟังที่ อจ. พิชิต แกติงไว้บ้างน่าจะดี
“ถ้าส่งออกไม่ฟื้น ก็อย่าไปหวังว่า ศก.ไทยจะโตได้ เพราะการส่งออกมีสัดส่วนมากถึง 70% ของศก.ไทย! ขณะที่การใช้จ่ายงบฯ ของรัฐบาลไทยมีขนาดแค่ 17% เท่านั้น ฉะนั้น ต่อให้ท่านรองนายกฯ เร่งใช้จ่ายกระตุ้นศก.ให้ตายยังไง ก็คงไม่ไปไหนหรอก!
แต่สัญญาณอันตรายมาก เข้าขั้น ‘ไฟฉุกเฉินสว่างแดงวาบ’ ก็คือ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป จากบวกเล็กน้อยในปี 57 กลายเป็น ‘ติดลบ’ ตลอดสามเดือนแรกของปีนี้ แล้วก็ ‘ติดลบหนักขึ้นทุกเดือน’ คือติดลบ 0.41% ในเดือนม.ค. เป็น 0.52% ในเดือนก.พ. แล้วก็ติดลบหนักขึ้นไปอีก เป็น 0.57% ในเดือนมี.ค. 58 คือราคาสินค้าลดลงตลอด
ส่อว่า ศก.ไทย ‘อาจจะ’ เข้าสู่ภาวะ ‘เงินฝืด’ แล้วก็ได้?
ภาวะเงินฝืดเป็นสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์และผู้เดินนโยบายเศรษฐกิจกลัวที่สุด เพราะประสบการณ์ในประเทศอื่นๆ แสดงว่า ถ้าศก.ตกลงไปใน ‘กับดักเงินฝืด’ ละก้อ ยากมากที่จะฟื้น กว่าจะปีนกลับขึ้นมาจากหลุมได้ ส่วนใหญ่ก็ใช้เวลานานหลายปี (ญี่ปุ่นเคยใช้เวลาถึงสิบปี)!
เห็นควรฟังทั้งสองหูนะทั่น ไม่ต้องฟังหูไว้หู
ที่สำคัญอย่าให้เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา ก็แล้วกัน
ooo
ผู้ส่งออกโวย! ค่าบาทเเข็ง ทำราคาขายข้าวป่วน-หลุดจากเป้า
ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 08 เมษายน พ.ศ. 2558ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า การส่งออกข้าวไทยขณะนี้กำลังได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่าจากช่วงก่อนหน้านี้ที่ค่าเงินบาทอยู่ที่ 32.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ราคาส่งออกข้าวไทยแพงขึ้น 5-10 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน จนส่งผลต่อศักยภาพการแข่งขันด้านราคากับข้าวของประเทศคู่แข่ง ดังนั้นต้องการให้รัฐบาลเข้ามาช่วยดูแลค่าเงินบาทอย่างเร่งด่วน
"สินค้าข้าวมีกำไรต่ำอยู่แล้ว ยิ่งต้องมาแข่งขันด้านราคาทำให้ไทยเสียเปรียบมากเพราะปัญหาของค่าเงินบาทที่อยู่ดี ๆ ก็แข็งค่าขึ้นมามากแม้ว่าการแข็งค่าของค่าเงินบาททำให้ข้าวไทยแพงขึ้น 5-10 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน แต่ก็ทำให้ประเทศผู้ซื้อตัดสินใจซื้อข้าวจากประเทศคู่แข่งด้วยส่วนต่างนี้ได้"
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า มีแนว โน้มว่าการส่งออกข้าวไทยปีนี้อาจไม่ถึง 10 ล้านตัน ตามเป้าหมายที่สมาคมฯคาดการณ์ไว้เนื่อง จากการส่งออกข้าวไทยเผชิญปัจจัยเสี่ยงหลายด้านโดยเฉพาะปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า ทำให้ราคาข้าวไทยแพงขึ้นมา 10 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ในขณะที่ค่าเงินของประเทศคู่แข่งส่งออกข้าวคือเวียดนามไม่เปลี่ยนแปลงรัฐบาลเวียด นามยังคงรักษาระดับค่าเงินไว้ได้อยู่ทำให้ราคาข้าวแพงจึงแพงขึ้นมาอีกเมื่อเทียบกับราคาข้าวของเวียดนามโดยราคาส่งออกข้าวไทยปัจจุบันอยู่ที่395-400ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ราคา ส่งออกข้าวเวียดนามอยู่ที่ 360-365 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ราคาข้าวปากีสถานอยู่ที่ 345-350 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ส่งผลให้ราคาข้าวไทยห่างจากคู่แข่ง 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน
นอกจากนี้พบว่าตลาดผู้ซื้อข้าวซบเซา เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดีโดยเฉพาะแอฟริกาที่เป็นตลาดส่งออกข้าวนึ่งหลักของไทยเนื่องจากค่าเงินของกลุ่มประเทศในภูมิภาคแอฟริกาที่ผูกติดกับค่าเงินยูโรซึ่งมีแนวโน้มค่าเงินลดลง.