เหตุผลจากไผ่และทนาย “ทำไมไผ่มันรับสารภาพ”
iLaw· :"ไม่มีทางเลือก" เหตุผลจากไผ่ ในวันที่ตัดสินใจรับสารภาพ
15 สิงหาคม 2560 จตุภัทร์ หรือ "ไผ่ ดาวดิน" จำเลยคดีมาตรา 112 จากการแชร์บทความของบีบีซีไทย ถูกนำตัวมาศาลเพื่อฟังการสืบพยาน หลังการปรึกษาหารืออย่างเคร่งเครียดกับครอบครัว ไผ่กลับคำให้การจากปฏิเสธเป็นรับสารภาพ และศาลจังหวัดขอนแก่นตัดสินให้จำคุก 5 ปี ลดเหลือ 2 ปี 6 เดือน
หลังการฟังคำพิพากษา กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความ แถลงข่าวชี้แจงว่า วันนี้หลังไผ่และครอบครัวได้คุยปรึกษากันแล้ว เห็นร่วมกันว่า ด้วยเหตุผลส่วนตัวและยุติปัญหาต่างๆ จะให้การรับสารภาพ และแถลงต่อศาลขอกลับคำให้การเป็นรับสารภาพ ศาลจึงงดการสืบพยานและอ่านคำพิพากษาในเวลาประมาณ 16.00 น. ให้จำคุก 2 ปี 6 เดือน ตามมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
กฤษฎางค์ กล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้ไผ่ถูกจำคุกโดยไม่ได้ประกันตัวมาแล้วประมาณ 8 เดือน โทษจำคุกหลังจากนี้ก็จะต้องนำ 8 เดือนที่จำคุกมาแล้วไปหักออกด้วย
เมื่อถามว่า สาเหตุใดทำให้เปลี่ยนคำให้การเป็นรับสารภาพ กฤษฎางค์ตอบว่า การเปลี่ยนคำให้การวันนี้เป็นการตัดสินของไผ่กับครอบครัว ซึ่งก่อนหน้านี้ไผ่ได้ต่อสู้มาตลอด โดยยอมรับว่าเป็นคนแชร์ข้อมูลจากบทความของบีบีซีไทยจริง แต่คิดว่าสิ่งที่ทำไปนั้น ไม่เป็นความผิด
เป็นเพียงการวิตกกังวลต่อสายตาของผู้สื่อข่าวต่างชาติที่มองการเมืองไทย และคิดว่า สังคมน่าจะตรวจสอบความเป็นจริงนั้นมากกว่าจะมาลงโทษไผ่
แต่ตลอด 7 เดือนที่ต่อสู้คดีมานั้น ศาลจังหวัดขอนแก่นสั่งให้พิจารณาคดีโดยลับ แม้ทางฝ่ายจำเลยจะคัดค้านก็ไม่เป็นผล และรายละเอียดเกี่ยวกับคดีก็ไม่สามารถเปิดเผยได้ เราจึงปรึกษากันหลายครั้งว่า การต่อสู้คดีอาจจะไม่เป็นประโยชน์ที่ไผ่จะได้อธิบายความรู้สึกของเขาต่อสังคม
ด้านวิบูลย์ หรือพ่อของไผ่ กล่าวว่า หลังฟังคำพิพากษาแล้วทางครอบครัวและตัวไผ่ยังไม่ได้คิดต่อว่า จะเอาอย่างไรต่อไป จะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาหรือไม่ ส่วนผลที่ออกมานั้น ก็คงไม่มีใครพอใจที่จะให้ลูกของตัวเองติดคุกด้วยสภาพข้อกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเช่นนี้
พ่อของไผ่ เล่าว่า ไผ่ต่อสู้มาตลอดก็เพื่อจะพิสูจน์ว่ากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นอย่างไร แต่การต่อสู้คดีนี้ถูกบีบให้ต้องสู้ในมุมอับ ไผ่พยายามจะสู้ให้สังคมเห็นว่ากระบวนการยุติธรรมเป็นอย่างไร แต่คดีก็ถูกสั่งพิจารณาลับ สิทธิประกันตัวก็ไม่ได้รับ
วันนี้ศาลตัดสินแล้วก็จบในส่วนของคดีความ ส่วนสังคมจะตัดสินอย่างไรยังไม่จบ ต้องขึ้นอยู่กับสังคม
ด้านตัว ไผ่ มีอาการเครียดมากในช่วงเช้า แต่ช่วงบ่ายมีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส่เหมือนปกติ กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า ก่อนมาศาลวันนี้ไม่ได้คิดว่าจะมารับสารภาพ ขณะที่อยู่ในเรือนจำได้แต่คิดเรียบเรียงว่า จะเบิกความในคดีของตนเองเพื่ออธิบายอย่างไรบ้าง แต่วันนี้เมื่อมาคุยแล้วพบว่า ไม่มีทางเลือก
"ผมสู้เต็มที่แล้ว ทั้งสู้กับตัวเอง สู้กับทุกอย่าง ก็สู้ได้แค่นี้" ไผ่กล่าว
Krisadang Nutcharus with Sai Kunthika Nutcharus.· :การสารภาพของไผ่ ดาวดิน ในสายตาของผม
อันที่จริงไม่คิดจะพูดหรือเขียนเกี่ยวกับเรื่องคดีของไผ่อีกแล้ว เพราะเมื่อวานนี้ (15 สค. 60) ศาลจังหวัดขอนแก่นได้พิพากษาจำคุกไผ่ไปแล้ว 2 ปี 6 เดือน
แต่หลังจากที่ศาลตัดสินแล้ว มีผู้คนมากมายทั้งสื่อมวลชนไทยและเทศรวมทั้งญาติสนิทมิตรสหายถามไถ่ผมในฐานะที่เป็นทนายความ(คนหนึ่ง)ของไผ่ว่า “ทำไมไผ่มันรับสารภาพ” จึงเป็นเหตุให้ผมตัดสินใจพูดถึงเรื่องนี้อีกครั้ง
ต้องบอกก่อนว่า ความคิดเห็นของผมในเรื่องนี้เป็นความคิดเห็นของผมเพียงคนเดียว ไม่เกี่ยวข้องกับไผ่และครอบครัวของไผ่หรือทนายความคนอื่น ๆ ทั้งสิ้น และผมเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาโดยไม่ได้รับฉันทานุมัติจากใครเลย
ประการแรกในเรื่องนี้คือ “ผมรู้มาก่อนมั้ยว่าไผ่จะรับสารภาพไม่ต่อสู้คดีนี้”
ตอบได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า “ไม่รู้”
ตอบได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า “ไม่รู้”
อธิบายความไว้อย่างนี้ว่า ข้อเสนอที่จะให้ไผ่รับสารภาพไม่ต่อสู้คดีนี้นั้นความจริงมันมีมาก่อนหน้านี้นานแล้วตั้งแต่ที่ไผ่ถูกจับใหม่ ๆ ทั้งจากผู้ปรารถนาดีจากญาติมิตรบางส่วนและแม้จากผู้มีอำนาจที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับไผ่
ผมและเพื่อนทนายความเองไม่เคยซักไซ้หรือเสนอความเห็นเรื่องนี้แต่อย่างใด เพราะไผ่ก็ไม่มีท่าทีกับเรื่องนี้เลย แถมดูท่าทางไม่สนใจเสียด้วยซ้ำ
จนกระทั่งเช้าวันที่ 15 สค. 60 ซึ่งมีนัดสืบพยานฝ่ายโจทก์ในคดีนี้ ก่อนเริ่มพิจารณาคดีผู้พิพากษาเจ้าของคดีได้เชิญผมกับทนายจำเลยคนอื่นไปถามที่หน้าบัลลังก์ของศาลว่า เรื่องนี้ทางฝ่ายจำเลยมีความเห็นอย่างไร หมายถึงยังยืนยันจะต่อสู้คดีหรือจะพิจารณาในทางอื่น (ซึ่งหมายความถึงการรับสารภาพ)
ผมจำได้ว่า ผมเรียนท่านผู้พิพากษาไปอย่างชัดเจนว่า ผมขอให้ไผ่และครอบครัวเป็นผู้ตัดสินใจดีกว่า แล้วในที่สุดผมก็ปล่อยให้ไผ่กับพ่อแม่อยู่ในห้องพิจารณาคดีที่ 8 กับผู้พิพากษาเพื่อใคร่ครวญเอง
ประมาณเกือบชั่วโมงพ่อกับแม่ของไผ่เดินออกมาจากห้องพิจารณาและขอให้ผมกับทนายแสงชัยเข้าไปคุยกับไผ่
ไผ่นั่งอยู่บนม้านั่งยาวในห้องพิจารณาคดีเพียงลำพัง เราสบตากันอยู่นาน ไผ่ยังคงทรนงองอาจอย่างที่เขาเคยเป็น
ผมพูดกับไผ่อยู่สามประโยคทั้งที่เขาไม่ได้ถามอะไร ผมบอกเขาว่า ผมเชื่อว่าคุณไม่มีวันชนะในการตัดสินคดีนี้อย่างแน่นอน ส่วนการตัดสินใจใด ๆ ของคุณในวันนี้นอกจากเพื่อตัวเองแล้วคงต้องคิดเพื่อพ่อกับแม่ที่รักคุณสุดหัวใจด้วย และสุดท้ายอย่าหวังว่าการต่อสู้เพื่อความถูกต้องและเป็นธรรมจะได้รับชัยชนะได้ในเร็ววัน
แต่ที่สำคัญกว่าคือประสบการณ์ความเจ็บปวดที่คุณได้รับเพื่อความถูกต้องและเป็นธรรมทุก ๆ ครั้งที่ผ่านมาจะสอนให้คุณรู้คุณค่าของความถูกต้องเป็นธรรมที่คุณใฝ่ฝันหา
ไผ่มองหน้าเราสองคนและพยักหน้า
ไผ่มองหน้าเราสองคนและพยักหน้า
ผมเดินกลับไปหาผู้พิพากษาและบอกว่า จำเลยจะรับสารภาพ
คำถามสุดท้ายของผู้คนที่มีต่อผมคือ “ทำไม่ไผ่จึงรับสารภาพ”
ขอตอบว่า ผมไม่รู้และไม่อยากรู้
ขอตอบว่า ผมไม่รู้และไม่อยากรู้
ผมเข้าใจว่าคำตอบมีอยู่ในสิ่งที่เกิดขึ้นในคดีนี้แล้วนับแต่วันที่ไผ่แชร์ข้อความจากบีบีซีไทยในเฟซบุ๊คของเขาจนกระทั่งถึงวันที่ศาลตัดสิน
สิ่งที่ผมแถลงต่อสังคมไปถึงเหตุที่ไผ่รับสารภาพนั้นเป็นสิ่งที่ไผ่บอกกับผมในฐานะทนายความของเขาเพื่อแจ้งให้สังคมรับทราบ
สิ่งที่ผมแถลงต่อสังคมไปถึงเหตุที่ไผ่รับสารภาพนั้นเป็นสิ่งที่ไผ่บอกกับผมในฐานะทนายความของเขาเพื่อแจ้งให้สังคมรับทราบ
แต่สิ่งที่เราทั้งคู่เข้าใจดีคือ การถูกพิพากษาตัดสินว่าผิดในคดีนี้ก็เป็นเพียงไปตามที่ตัวบทกฎหมายของสังคมในวันนี้กำหนดไว้เท่านั้น
ความเป็นธรรมและความถูกต้องในหัวใจของเราเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
สิ่งที่เราได้รับในวันนี้ก็เป็นเพราะเราได้ทำมันในวันเวลาที่ผ่านมา
สิ่งที่เราได้รับในวันนี้ก็เป็นเพราะเราได้ทำมันในวันเวลาที่ผ่านมา
และสิ่งที่เราจะได้รับในอนาคตก็จะได้จากสิ่งที่เราจะทำต่อไปจากวันนี้ต่างหาก