ที่มา FB
มิตรสหายท่านหนึ่ง เอาข่าวนี้มาให้ดูในโพสเฟสบุ๊ด้านล่างของผม
"แหล่งข่าวระบุว่า ล่าสุดพื้นที่ที่มีคำขออนุญาตสำรวจแร่ทองคำ เช่น จ.พิษณุโลก จ.เพชรบูรณ์ จ.พิจิตร จ.ลพบุรี จ.สระบุรี จ.นราธิวาส ซึ่ง กพร.คาดว่าพื้นที่เหมืองแร่ทองคำของบริษัท อัครารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ในพื้นที่คาบเกี่ยว จ.พิจิตร จ.เพชรบูรณ์ และ จ.พิษณุโลก รวมถึงพื้นที่เหมืองทองคำของบริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน) ที่ จ.เลย คาดว่ามีสายแร่ทองคำอย่างแน่นอน เพราะพื้นที่ปัจจุบัน ประทานบัตรในพื้นที่เหมืองยังมีอายุเหลืออีก 10 ปี"
ถ้าเป็นไปตามนี้จริง จบเห่เลยครับ นี่มันเข้าข่ายเอามาตรา 44 ไปปล้นของของเขามาแล้วมาแบ่งกันใหม่เลย
ถ้ารัฐบาลไม่อยากเสียหายมากไปกว่านี้ ต้องยุติการดำเนินการตามข่าวนี้ทันที ห้ามทำโดยเด็ดขาด ถ้าทำไป แพ้คดีเละเทะ อ้างเรื่องสิ่งแวดล้อมก็ไม่ขึ้น
รองนายกฯฝ่ายกฎหมาย อย่ามาเถียงเล่นถ้อยคำกันเลย ควรต้องนำเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ พล.อ.ประวิตร ว่า อย่าเอาประทานบัตรไปแจกจ่ายกันใหม่เด็ดขาด
นอกจากข้าราชการประจำที่ต้องแบกหน้าไปเจรจาจำกัดวงเงินค่าเสียหายแล้ว อีกกลุ่มหนึ่งที่น่าเห็นใจ คือ เอ็นจีโอ งานนี้เหมือนโดนหลอกนึกว่าปิดเหมืองได้จริง
ooo
รัฐจ่อดัน 7 ยุทธศาสตร์เหมืองแร่ทองคำ ปิดปากกลุ่มค้าน ยันเอกชน 10 รายจ่อขออนุญาตสำรวจปริมาณ 3 หมื่นไร่
"แหล่งข่าวระบุว่า ล่าสุดพื้นที่ที่มีคำขออนุญาตสำรวจแร่ทองคำ เช่น จ.พิษณุโลก จ.เพชรบูรณ์ จ.พิจิตร จ.ลพบุรี จ.สระบุรี จ.นราธิวาส ซึ่ง กพร.คาดว่าพื้นที่เหมืองแร่ทองคำของบริษัท อัครารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ในพื้นที่คาบเกี่ยว จ.พิจิตร จ.เพชรบูรณ์ และ จ.พิษณุโลก รวมถึงพื้นที่เหมืองทองคำของบริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน) ที่ จ.เลย คาดว่ามีสายแร่ทองคำอย่างแน่นอน เพราะพื้นที่ปัจจุบัน ประทานบัตรในพื้นที่เหมืองยังมีอายุเหลืออีก 10 ปี"
ถ้าเป็นไปตามนี้จริง จบเห่เลยครับ นี่มันเข้าข่ายเอามาตรา 44 ไปปล้นของของเขามาแล้วมาแบ่งกันใหม่เลย
ถ้ารัฐบาลไม่อยากเสียหายมากไปกว่านี้ ต้องยุติการดำเนินการตามข่าวนี้ทันที ห้ามทำโดยเด็ดขาด ถ้าทำไป แพ้คดีเละเทะ อ้างเรื่องสิ่งแวดล้อมก็ไม่ขึ้น
รองนายกฯฝ่ายกฎหมาย อย่ามาเถียงเล่นถ้อยคำกันเลย ควรต้องนำเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ พล.อ.ประวิตร ว่า อย่าเอาประทานบัตรไปแจกจ่ายกันใหม่เด็ดขาด
นอกจากข้าราชการประจำที่ต้องแบกหน้าไปเจรจาจำกัดวงเงินค่าเสียหายแล้ว อีกกลุ่มหนึ่งที่น่าเห็นใจ คือ เอ็นจีโอ งานนี้เหมือนโดนหลอกนึกว่าปิดเหมืองได้จริง
ooo
รัฐจ่อดัน 7 ยุทธศาสตร์เหมืองแร่ทองคำ ปิดปากกลุ่มค้าน ยันเอกชน 10 รายจ่อขออนุญาตสำรวจปริมาณ 3 หมื่นไร่
ที่มา MGR Online
8 สิงหาคม 2560
รัฐจ่อดัน 7 ยุทธศาสตร์ “เหมืองแร่ทองคำ” ประเมินสถานการณ์-ปิดปากกลุ่มค้าน เผยกรมอุตสาหกรรมและเหมืองแร่ จ่อเปิดทางเอกชนกว่า 10 ราย ยื่นคำขออนุญาตสำรวจปริมาณกว่า 3 หมื่นไร่ หากกลุ่มค้านเห็นด้วย ยัน “เหมืองอัคราฯ” พื้นที่พิจิตร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเหมืองทุ่งคาฮาเบอร์ จ.เลย ยังมีสายแร่ทองคำ แถมประทานบัตรยังมีอายุเหลือ 10 ปี ชี้แนวทางการบริหารจัดการแร่ทองคำ 7 ด้าน เน้นการบริหารจัดการแหล่งแร่ สร้างผลประโยชน์ตอบแทนแก่รัฐและท้องถิ่น
วันนี้ (8 ส.ค.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า เมื่อเร็วๆ นี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ (คนร.) รับความเห็นของคณะรัฐมนตรี (ครม.) สั่งการไปยังกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม ให้เร่งออกประกาศและจัดทำรายละเอียดหลักเกณฑ์ต่างๆ ภายหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ จำนวน 7 ด้าน
ทั้งนี้ มติ ครม.เห็นชอบตามมติการประชุม คนร.ครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2560 ที่เพื่อให้ภาครัฐและท้องถิ่นได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำที่เหมาะสม ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำเพิ่มขึ้น ปัญหาผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำลดลง ผู้ประกอบการเหมืองแร่ทองคำมีการประกอบกิจการที่มีมาตรฐานสากล มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน และสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
มีรายงานว่า สำหรับกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ โดยคำนึงถึงดุลยภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยแบ่งออกเป็น 7 ด้าน ได้แก่
1. ด้านการบริหารจัดการแหล่งแร่ทองคำ กำหนดให้มีการประมูลสิทธิสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ ในพื้นที่ที่ภาครัฐสำรวจและมีข้อมูลเพียงพอ ห้ามมิให้ส่งออกโลหะผสมทองคำไปต่างประเทศ กำหนดเงื่อนไขการ จ้างงานชาวไทย ยกเลิกการให้สิทธิประโยชน์ด้านการส่งเสริมการลงทุน ยกระดับการมีส่วนร่วมในเชิงนโยบายระหว่างผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่การผลิต
2. ด้านผลประโยชน์ตอบแทนแก่รัฐและท้องถิ่น ปรับปรุงผลตอบแทนแก่รัฐให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และกระจายผลประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่นและท้องถิ่นอื่นที่อยู่ติดกันด้วย จัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่
3. ด้านความปลอดภัย การป้องกันรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการฟื้นฟูพื้นที่ กำหนดให้มีการตั้งกองทุน วางหลักประกัน และการทำประกันภัยต่างๆ เพื่อเป็นหลักประกันในการเยียวยาแก้ปัญหาในกรณีที่เกิดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม การจัดทำแนวพื้นที่กันชนการทำเหมือง และการจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน
4. ด้านการกำกับดูแลการประกอบการ มีการกำกับดูแลอย่างเคร่งครัดจากภาครัฐ โดยมีคณะกรรมการควบคุมเฝ้าระวังผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทองคำ ซึ่งมีตัวแทนผู้มีส่วนได้เสียร่วมเป็นกรรมการ เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบกำกับดูแลการประกอบกิจการ
5. ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งในขั้นตอนการขออนุญาต โดยการรับฟังความคิดเห็นของชุมชน ทั้งในขั้นตอนการขอประทานบัตรและการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในขั้นตอนการประกอบกิจการ ซึ่งจะกำหนดให้มีตัวแทนผู้มีส่วนได้เสียของประชาชนในพื้นที่ร่วมเป็นคณะกรรมการควบคุมเฝ้าระวังผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทองคำด้วย
6. ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามและผ่านการทวนสอบมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมอุตสาหกรรมแร่ (CSR-DPIM) ยกระดับการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำให้มีความรับผิดชอบตามมาตรฐานสากล (Responsible gold mining practice)
7. ด้านอื่นๆ กำหนดให้การขอต่ออายุประทานบัตรแร่ทองคำและการเพิ่มชนิดแร่ทองคำ ใช้นโยบายนี้โดยอนุโลม แต่ไม่ครอบคลุมถึงการร่อนแร่ทองคำ
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมเปิดเผยว่า กพร.จะนำมติ ครม.เพื่อไปติดตามท่าทีของประชาชนทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้าน การประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำในพื้นที่ต่างๆ
“จะมีการประเมินสถานการณ์ หากผู้คัดค้านยอมรับในยุทธศาสตร์ 7 ด้านตามมติ ครม.และ ไม่มีการคัดค้านอีก ก็เตรียมจะพิจารณาคำขออนุญาตสำรวจแร่ทองคำ จากเอกชนที่มีเข้ามารวม 10 ราย คิดเป็นปริมาณพื้นที่สำรวจ 30,000 ไร่”
แหล่งข่าวระบุว่า ล่าสุดพื้นที่ที่มีคำขออนุญาตสำรวจแร่ทองคำ เช่น จ.พิษณุโลก จ.เพชรบูรณ์ จ.พิจิตร จ.ลพบุรี จ.สระบุรี จ.นราธิวาส ซึ่ง กพร.คาดว่าพื้นที่เหมืองแร่ทองคำของบริษัท อัครารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ในพื้นที่คาบเกี่ยว จ.พิจิตร จ.เพชรบูรณ์ และ จ.พิษณุโลก รวมถึงพื้นที่เหมืองทองคำของบริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน) ที่ จ.เลย คาดว่ามีสายแร่ทองคำอย่างแน่นอน เพราะพื้นที่ปัจจุบัน ประทานบัตรในพื้นที่เหมืองยังมีอายุเหลืออีก 10 ปี
...
ความเห็นต่อข่าว...
LaBruzzo Castellano พื้นที่เหมืองทองอัคราจะถูกพิจารณาให้เอกชน 10 รายที่ยื่นขอ มุ่งเพิ่มรายได้ให้รัฐ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะกรรมการจัดการแร่ สั่งการไปยังกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม ให้เร่งออกประกาศและจัดทำรายละเอียดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ภายหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ เพื่อผลประโยชน์ตอบแทนแก่รัฐและท้องถิ่น ปรับปรุงผลตอบแทนแก่รัฐให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และกระจายผลประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่นและท้องถิ่นอื่นที่อยู่ติดกันด้วย จัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่
แหล่งข่าวจาก กพร ระบุ ว่า “จะมีการประเมินสถานการณ์ หากผู้คัดค้านยอมรับในยุทธศาสตร์ 7 ด้านตามมติ ครม.และ ไม่มีการคัดค้านอีก ก็เตรียมจะพิจารณาคำขออนุญาตสำรวจแร่ทองคำ จากเอกชนที่มีเข้ามารวม 10 ราย คิดเป็นปริมาณพื้นที่สำรวจ 30,000 ไร่” https://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx...
Piyabutr Saengkanokkul โอ้โห แบบนี้มันยิ่งชิบหายแน่ๆเลยครับ สงสารข้าราชการที่ต้องไปเจรจากับบริษัทออสเตรเลียมากๆเลยว่ะ
ooo
อ.นิติศาสตร์ ชี้ ปมใช้ ม.44 ปิดเหมืองแร่ รบ.ผิดสัญญา ต้องชดใช้ ซ้ำรอยค่าโง่คลองด่าน
28 สิงหาคม 2560
ที่มา มติชนสุดสัปดาห์
วันนี้ (28 ส.ค.) ผศ.ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความเห็นกรณีการใช้ ม.44 ปิดเหมืองอัครา ซึ่งขณะนี้หลายฝ่ายกังวลว่าจะมีปัญหาทางกฎหมาย และการชดใช้ค่าเสียหายหากบริษัทคิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด จำกัด ผู้ประกอบการเหมืองแร่ของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส ชนะคดี
ผศ.ดร.ปิยบุตร ระบุว่า หลังจากที่ หัวหน้าคสช.ตัดสินใจใช้สถานะหัวหน้า คสช. ออกคำสั่งตามมาตรา 44 เพื่อปิดเหมืองอัครา ได้เคยแสดงความเห็นผ่านทางเฟสบุ๊คไว้แล้วว่า เรื่องนี้ไม่จบแค่มาตรา 44 เพราะมาตรา 44 มีอานุภาพ “คุ้มกัน” ได้เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น แต่ในทางระหว่างประเทศไม่มี
ผศ.ดร.ปิยบุตร ระบุเพิ่มเติมว่า ช่วงที่กำลังขัดแย้งกันเรื่องปิดเหมืองอยู่นั้น ตนเคยบอกว่า หากจะปิดด้วยเหตุผลทางสิ่งแวดล้อมจริง ก็ต้องทำตามกระบวนการให้ถูกต้อง มีกระบวนการตรวจสอบ มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ครบถ้วน มีรายงานการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายชี้แจง และต้องไม่ใช้ มาตรา 44 เด็ดขาด เพราะ หากตัดสินใจปิดเหมืองจริงโดยออกเป็นคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม อย่างน้อยทางบริษัทอัครา ก็จะได้ไปสู้ที่ศาลปกครอง กระบวนการก็จะทอดไปอีกยาว และรัฐบาลก็สามารถอ้างได้ว่ามีเหตุผลความจำเป็นในการปิดเหมือง แล้วให้ศาลปกครองวินิจฉัยเอาว่าคำสั่งปิดเหมืองชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การเลือกใช้ม.44 จบปัญหาเป็นการตัดสินใจที่ง่ายเกินไป คิดเพียงแค่ว่าทำให้เรื่องยุติเร็ว เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ไม่มีใครโต้แย้งได้ แน่นอนว่า ตามแนวทางของศาลไทย บริษัทอัครา ฟ้องร้องเพิกถอนคำสั่งหัวหน้า คสช ตาม ม.44 หรือเรียกค่าเสียหายจากการปิดเหมืองไม่ได้ เพราะม.44 รับรองให้คำสั่งหัวหน้า คสช ตามมาตรา 44 ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นที่สุด
“อย่างไรก็ตาม เกราะคุ้มกันของมาตรา 44 ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงกฎหมายระหว่างประเทศ บริษัทออสเตรเลียเขาอ้างข้อตกลง FTA ที่รัฐบาลไทยทำกับรัฐบาลออสเตรเลีย แล้วรัฐบาลไทย (โดยการออกคำสั่งตาม ม 44) ไปปิดเหมือง โดยไม่มีเหตุผลรองรับ เขาลงทุนสำรวจแร่หมดเงินไปมหาศาล พอเขาจะขุดแร่เอาขึ้นมาใช้ตามข้อตกลง ก็ไปสั่งปิดเหมืองห้ามขุด แถมยังใช้ ม.44 สั่งปิด จนเขาต่อสู้คดีไม่ได้อีก ทำให้ธุรกิจของบริษัทออสเตรเลียเสียหาย ไม่เป็นไปตามข้อตกลง FTA ที่รัฐบาลทั้งสองต้องคุ้มครองนักลงทุนของอีกประเทศ เขาก็เอาเรื่องเข้าอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ”
และว่า “ผมวิเคราะห์ดูแล้ว โอกาสที่รัฐบาลไทยจะชนะแทบไม่มีเลย รัฐบาลไทยต้องจ่ายค่าเสียหายแน่นอน เพราะ ผิดสัญญา ผิดข้อตกลง อยู่แค่ว่า เราจะมีฝีมือเจรจาลดหย่อนลงมาได้เท่าไร ทราบข่าวมาว่ารัฐบาลเตรียมเจรจาชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัท อัครา เพื่อที่เรื่องจะได้จบ โดยไม่ต้องให้อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศชี้ขาด เพราะ ถ้าไปถึงขั้นตอนนั้น โอกาสที่ไทยจะแพ้ และต้องชดใช้ค่าเสียหาย 30,000 ล้านก็มีสูงมาก ดังที่เคยเกิดมาแล้วกับกรณี “ค่าโง่ทางด่วน” ผศ.ดร.ปิยบุตร กล่าว
ทั้งนี้ ผศ.ดร.ปิยบุตร วิเคราะห์ต่อไปว่า “ประเด็นชี้ขาดที่ทำให้ฝ่ายไทยเสียเปรียบก็คือ การตัดสินใจเลือกปิดเหมืองโดยใช้อำนาจตามมาตรา 44 นี่แหละ เพราะ เท่ากับว่า ฝ่ายไทยเลือกใช้อำนาจเด็ดขาดปิดเหมือง ป้องกันไม่ให้มีใครมาโต้แย้งในศาลของประเทศไทยได้ แบบนี้ส่อพิรุธอยู่ในตัว หากมีความจำเป็นต้องปิดเหมืองจริง ก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร ก็ว่าไปตามกระบวนการ แสดงเหตุผล หลักฐานให้ครบถ้วน แล้วก็ตกลงเรื่องค่าชดเชยกันไป แต่พอใช้มาตรา 44 ก็เหมือนกับคุณกลัวที่จะต้องรับผิดชอบตามมา กลัวที่จะถูกฟ้อง กลัวเรื่องจะไม่จบ เลยเอามาตรา 44 มาปิดปาก โดยคงลืมไปว่า มาตรา 44 ปิดปากคนไทยได้ในประเทศไทยเท่านั้น”
ผศ.ดร.ปิยบุตร คาดว่า หากการเจรจาไม่เรียบร้อย เรื่องต้องไปสู่อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศจริง ก็คงใช้เวลาสักระยะ ซึ่งในเวลานั้น รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ คงพ้นจากตำแหน่งแล้ว คราวนี้ก็กลายเป็นเรื่องของรัฐบาลหน้าก็รับผิดชอบไป ซึ่งเงินที่เอาไปจ่ายก็คืองบประมาณแผ่นดินที่มาจากภาษีของประชาชนนั่นเอง ตนขอเอาใจช่วยข้าราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ต้องรับหน้าที่เจรจา หวังว่าจะไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายมากจนเกินไป อยากให้กรณีนี้เป็นบทเรียนของการใช้มาตรา 44 เป็นคติเตือนใจว่า ความเด็ดขาด ความไม่ต้องรับผิดชอบ ไม่ถูกตรวจสอบของอำนาจตามมาตรานี้ จริงๆแล้วเป็นอันตราย
“กรณีที่น่าคิดต่อไป คือ เมื่อรัฐบาลไทยจ่ายเสียหายให้กับบริษัทไปแล้ว ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อ หากว่ากันตามกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ที่นำมาใช้กับคุณเริงชัย มะระกานนท์ อดีตผู้ว่า ธปท. จากกรณีปกป้องค่าเงินบาท หรือคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากกรณีจำนำข้าวแล้ว ก็ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานเดียวกัน นั่นคือ ต้องไปตามไล่เบี้ยเอากับคนออกคำสั่งตามมาตรา 44 สั่งปิดเหมือง อย่างไรก็ตาม ก็อาจอ้างกันอีกว่า มาตรา 44 นี้ได้รับการรับรองไว้ว่าชอบด้วยกฎหมายเสมอ ซึ่งคงต้องตามดูต่อไปในอนาคต “ผศ.ดร.ปิยบุตร กล่าวทิ้งท้าย