อ้างอิง: What Asia Can Learn From Philippines About English Education
-----------------------------------------------
ฉันเพิ่งจะเดินทางกลับมาจากประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้อย่างเป็นทางการ รวมทั้งภาษาฟิลิปปินโน (Filipino หรือ ตากาล๊อค) ซึ่งใช้กันอยู่ในท้องถิ่น เรื่องนี้ ไม่ได้หมายความว่า ประชาชนทุกๆ คน สามารถเข้าใจหรือพูดภาษาอังกฤษกันได้ แต่มันหมายความว่า การใช้ภาษาโดยตรงนั้น เป็นเรื่องทียอดเยี่ยมมากๆ สำหรับผู้ที่สามารถพูดได้นั้น สามารถสื่อสารกันได้อย่างคล่องแคล่วจริงๆ ฉันมีความประทับใจเป็นอย่างยิ่งที่ แม้แต่คนที่ไม่เคยเดินทางออกไปจากประเทศฟิลิปปินส์เลย ก็สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษกันได้อย่างยอดเยี่ยมมาก
ตามที่สำนักงาน Educational Testing Service (ETS) ทำการจัดลำดับตำแหน่ง (Ranking) - คะแนนสอบ TOEFL (Test of English as a Foreigh Language) เมื่อปี 2010 นั้น ประเทศฟิลิปปินส์อยู๋ในลำดับที่ 35 จาก 163 ประเทศทั้งหมดทั่วโลก และประเทศในเอเซียที่ทำคะแนนได้ดีกว่าประเทศฟิลิปปินส์เอง ก็คือประเทศสิงคโปร์ (อยู่ในอันดับที่ 3 ของโลก ด้วยคะแนน 98) และประเทศอินเดีย (อยู่ในลำดับที่ 19 จากคะแนน 92) ประเทศมาเลเซียและประเทศฟิลิปปินส์อยู่ในลำดับเดียวกันคือลำดับที่ 35 ด้วยคะแนน 88
และประเทศอื่นๆ ในเอเซียล่ะ? ลำดับที่อยู่ล่างๆ จากคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษก็คือ ประเทศเกาหลีใต้ (อยู่ในลำดับที่ 80 ด้วยคะแนน 81), ประเทศจีน (แผ่นดินใหญ่ - อยู่ในลำดับที่ 105 จากคะแนน 77) และประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอยู่เกือบรั้งท้ายในลำดับที่ 135 ด้วยคะแนน 70
ส่วนที่อยู่ในระดับกลางๆ ก็คือ ประเทศจีนไต้หวัน (คะแนนอยู่ที่ 76), ประเทศไทย (คะแนนอยู่ที่ 75) และประเทศเวียตนาม (คะแนนอยู่ที่ 73)
-----------------------------------------------
ประเทศญี่ปุ่น มีความพยายามในการแก้ไขสถานะที่อยู่ในลำดับรั่้งท้ายของตนเอง และมีจุดประสงค์ในการทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศของตนนั้น ทำการแข่งขันกันกับประเทศทั่วโลกได้ คิดกับทำการเสนอเรื่อง การนำเอาภาษาอังกฤษเข้ามาใช้กันในช่วงเบื้องต้นของการศึกษา (English education earlier) - ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้กันในชั้นประถมศึกษาปีที่สามของโรงเรียน พวกเขาอาจจะเริ่มสอนภาษาต่างๆ ที่ตั้งเป้ากันไว้ในชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาปลายกันอีกด้วย (High School classes in the target language)
แต่ประเทศฟิลิปปินส์เอง ก็สามารถสร้างความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองได้ ถึงแม้ตามสถิติจะระบุว่า ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศโดยเฉพาะทางใต้ อย่างเช่นที่ มินดาเนา (Mindanao) และวิซาย่าส์ตะวันออก (Eastern Visayas) มีจำนวนน้อยกว่า 30% ที่สำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษากัน (less than 30 percents) และมีการอ้าง (claims) อื่นๆ อีกด้วยว่า นักเรียนประมาณ 27.8% ทั่วประเทศ ก็ไม่ได้เข้าโรงเรียน หรือไม่เคยสำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษาเสียด้วยซ้ำไป
ขณะที่การแนะนำเอาภาษาอังกฤษเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาตั้งแต่แรกเริ่มในประเทศญี่ปุ่นนั้น เป็นก้าวแรกที่ถูกต้อง เหมือนกับที่เห็นปฎิบัติกันอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์ก็ตาม ความเชี่ยวชาญในภาษาอังกฤษอาจจะไม่เกี่ยวข้องต่อการใช้ภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษาเบื้องต้นแต่อย่างใด
-----------------------------------------------
และประเทศฟิลิปปินส์ทำอย่างไร ถึงมีความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาอังกฤษกันได้?
ประการแรกคือ พวกเขาเห็นการณ์ไกลต่อความเข้าใจถึงคุณค่าที่จะต้องเก็บภาษานี้ไว้ หลังจากการที่ถูกบังคับให้ใช้กัน เมื่อตอนที่ถูกประเทศสหรัฐอเมริกาครอบครองพื้นที่ไว้อย่างโหดร้าย (sometimes brutal) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1898 – 1946 ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้หว่านเมล็ดพืช เพื่อให้ประชากรของประเทศฟิลิปปินส์ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษกัน แต่เป็นเพราะประเทศฟิลิปปินส์เองต่างหาก ที่ให้ความสนใจพอสมควรในการอุทิศทรัพยากรและความตั้งใจชิ้นนี้ เพื่อรักษาภาษาให้อยู่ไว้หลังจากที่ฝ่ายทหารของสหรัฐอเมริกาเดินทางออกไปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
แต่ในเวลาเดียวกัน ทางประเทศญี่ปุ่นก็ไม่เห็นคุณค่าความได้เปรียบต่อการปรับนำเอาภาษาอังกฤษมาใช้กัน ในสมัยที่ถูกฝ่ายสหรัฐอเมริกายึดครองหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (ปี 1945 ไปจนถึง ปี 1952 และจนกระทั่งสิ้นสุดการครอบครองที่ฐานทัพเมืองโอกินาวา เมื่อปี 1972) และทางประเทศเกาหลีใต้เอง ก็เลิกการใช้ภาษาญี่ปุ่น หลังจากอยู่ภายใต้การยึดครองของประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 1905 ไปจนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง รวมทั้งประเทศไต้หวันด้วยเหมือนกัน นั่นก็คือ อยู่ภายใต้การปกครองของประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยจักรวรรดินิยมปี 1895 ไปจนถึง ปี 1945 เช่นกัน
-----------------------------------------------
ประการต่อมา เราต้องให้เครดิทกับทางการของประเทศฟิลิปปินส์ ที่หาหนทางในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้เกิดขึ้น ซึ่งมีความแตกต่างมากจากของประเทศญี่ปุ่น, ประเทศจีน และประเทศเกาหลีใต้ทำกัน เพราะประเทศเหล่านี้เห็นว่า ภาษาอังกฤษ เป็นเพียงแค่วิชาการเรียนในโรงเรียนเท่านั้น แทนที่จะใช้มันให้เป็น สื่อกลางในการสื่อสาร (Means of Communication)
ถึงแม้จะมีการขยายตัวในการเรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียนต่างๆ เพื่อสอนนักเรียน นักศึกษา และผู้ใหญ่ในประเทศเหล่านี้ รวมไปถึงความกระตือรือร้นต่อความสนใจในการเรียนรู้ศึกษาภาษาอังกฤษก็ตาม ประเทศในเอเชียเหล่านี้ก็ยังคงอยู่ในระดับท้ายๆ เมื่อกล่าวถึงเรื่องความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาอังกฤษกัน
ความสำเร็จของการใช้ภาษาอังกฤษในประเทศฟิลิปปินส์นั้น เป็นเพราะ การเข้าถึงภาษาอังกฤษ ไม่ได้เพียงเป็นแค่ในการสอนกันจากชั้นเรียนเท่านั้น การสอนภาษาอังกฤษกันไม่ได้เกิดขึ้นกันอยู่ในสถาบันการศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่ประชาชนทุกๆ คน ก็ได้รับเครื่องมืออันสำคัญต่อการเรียนรู้ภาษา นั่นก็คือ การมีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษกันได้ทุกขณะ เมื่ออยู่กันนอกโรงเรียนหรือชั้นเรียน
-----------------------------------------------
ป้ายต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษจะเห็นกันได้อย่างกลาดเกลื่อนจากสถานที่ทุกๆ แห่งในประเทศฟิลิปปินส์ และป้ายเครื่องหมายเหล่านี้ ไม่ใช่ว่าจะตั้งกันอยู่เพื่อช่วยเหลือนักท่องเที่ยวแต่ประการใด ป้ายอย่างเช่น "อย่าจอดขวางทาง" (Don't block the Driveway) ก็เห็นกันอยู่ตามถนนหนทางบนเกาะเซบู หรือไม่ก็ป้าย "ประกาศขายบ้าน" (House for Sale) ก็ยังเป็นป้ายที่เห็นตั้งอยู่ด้านหน้าของเคหะสถานตามชนบทเช่นกัน
เครื่องหมายการค้าของบริษัทต่างๆ รวมไปถึงป้ายถนนหนทาง และป้ายการโฆษณา ต่างก็ใช้ภาษาอังกฤษกันทั้งหมด (ลองคิดดูง่ายๆว่า --- สิ่งเหล่านี้จะมีการเขียนกันอยู่ในตำราภาษาอังกฤษในชั้นเรียนหรือไม่?) ไม่ว่าใครก็ตาม ต่างก็มีโอกาสที่จะเรียนรู้ภาษาอังกฤษกันจากประสบการณ์ของชีวิตได้เช่นเดียวกัน...
เราไม่สามารถที่จะย้ำแล้วย้ำอีกได้ ต่อบทบาทของการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองจากการประสบด้วยตนเอง ซึ่งมันไม่เพียงแต่จะช่วยให้ประชาชนได้รับประสบการณ์โดยตรงจากภาษาเป็นลำดับแรกแล้ว และในสถานการณ์ความเป็นจริงนั้น การประสบซึ่งๆ หน้าก็จะเป็นการเสริมสร้างทักษะของตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องยากมากๆ ที่นิสิตนักศึกษาในประเทศเอเชียอื่นๆ จะพบเห็นกันภายนอกชั้นเรียน
-----------------------------------------------
เมื่อฉันก้าวเข้าไปนั่งในรถแท้กซี่่ คนขับก็กำลังฟังโปรแกรมข่าวจากวิทยุ ซึ่งมีบุคคลสองคนทำการสนทนากัน ด้วยการใช้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาตากาล๊อค เกี่ยวกับเรื่องอุบัติเหตุรถชนกันไปพร้อมๆ กัน ประเทศฟิลิปปินส์เอง ก็ยังทำการเสนอข่าวสารภายในและภายนอกประเทศเป็นภาษาอังกฤษในรายการโทรทัศน์ ไม่ต้องมีความจำเป็นแต่อย่างใดต่อการแปลข่าวสาร เหมือนกับที่เราเห็นกันในหลายๆ ประเทศทางเอเชีย และการรายงานข่าวเป็นภาษาอังกฤษนั้น ก็ทำกันโดยผู้ประกาศข่าวชาวฟิลิปปินส์เองอีกด้วย
-----------------------------------------------
มหาวิทยาลัยต่างๆ ของประเทศในทวีปเอเชีย ที่ต่างพยายามเป็นอย่างยิ่งในการสร้างความสนใจต่อนักเรียนต่างชาติให้มากยิ่งขึ้น (more foreign students)นั้น ควรจะดูประเทศฟิลิปปินส์เป็นตัวอย่างว่า เขาทำอย่างไรในการเพิ่มจำนวนในการลงทะเบียนนิสิตนักศึกษาชาวต่างชาติให้เพิ่มจำนวนมากขึ้นได้ในแต่ละปี มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศฟิลิปปินส์นั้น ต่างก็ใช้ภาษาอังกฤษในการสอนทุกๆ วิชาในห้องเรียนกัน
ผลที่ตามมาก็คือ มหาวิทยาลัยในประเทศฟิลิปปินส์ ต่างก็สร้างความสนใจ (attracting students) ให้กับนักศึกษาจากประเทศอิหร่าน, ลิเบีย, บราซิล, รัสเซีย, จีน(แผ่นดินใหญ่) และญี่ปุ่น ซึ่งสามารถเข้ามาศึกษาในระดับปริญาตรีและปริญญาโทขึ้นไปได้อีกด้วย มหาวิทยาลัยเหล่านี้ กลายเป็นทางเลือกให้กับนักเรียนต่างชาติ แทนที่จะไปศึกษาต่อกันในสถาบันการศึกษาอันแสนแพงในประเทศสหรัฐอเมริกา, ประเทศสหราชอาณาจักร และประเทศออสเตรเลีย
มันจะต้องมีความมุ่งมั่นและความต้ังใจเป็นอย่างมากต่อการเรียนรู้ภาษาที่สอง การเรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาเพียงแค่เป็นวิชาในหลักสูตรเพียงอย่างเดียวนั้น มันไม่เพียงพอแน่นอน ถ้านักศึกษาในประเทศต่างๆ ของเอเซียที่อยู่ในระดับท้ายๆ จากการสอบ TOEFL ต้องการปรับปรุงภาษาอังกฤษของตนเองแล้ว พวกเขาก็จะต้องเริ่มปฎิบัติกับการใช้ภาษาอังกฤษ ให้เสมือนกับเป็นการใช้ภาษาทำงาน และเป็นตัวกลางของการสื่อสาร พวกเขาต้องคำนึงว่า มันไม่ใช่ว่าจะสอนภาษาอังกฤษให้ดีเพียงใด แต่ควรจะพยายามเสาะหาวิธีการที่ดีกว่าในการเรียนรู้กับมัน
-----------------------------------------------
ความคิดเห็นของผู้แปล:
ประเทศไทยกำลังเข้าสู๋ ASEAN ECONOMIC COMMUNITIES (AEC) เพียงอีกประมาณ 1 เดือนเศษๆ เท่านั้น (59 วัน - 31 ธันวาคม 2558) ทางประเทศไทยพร้อมจริงๆ หรือ ที่จะพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน (Thailand Education Hub) เมื่อเทียบกับประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษกันอย่างคล่องแคล่วในการสื่อสารทั่วทุกมุมโลก?
เราทราบดีว่า ประเทศต่างๆ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษกันอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด ภาษาอังกฤษจึงกลายเป็นภาษาที่สองกันเป็นส่วนใหญ่
แต่ในประเทศฟิลิปปินส์นั้น ภาษาอังกฤษเป็น Official Language หรือภาษาทางการ เนื่องจากประเทศเป็นหมู่เกาะ ( Archipelago) ประกอบด้วยเกาะเล็กเกาะน้อยเป็นจำนวนกว่า 7,000 เกาะ และประชาชนที่อยู่ในแต่ละเกาะ ต่างก็มีสำเนียง ภาษาท้องถิ่นของตนเองด้วย ถึงแม้ว่า ภาษาฟิลิปปินโน หรือ ตากาล๊อค (Tagalog) จะใช้กันอยู่เป็นส่วนใหญ่บนเกาะลูซอน (Luzon) ก็ตาม ประชาชนที่อยู่ในเกาะแก่งต่างๆ ก็มีภาษาของตนเอง (Dialects) ดังนั้น การใช้ภาษาอังกฤษเข้ามาเป็นภาษาทางการ จึงเป็นการลดความสับสนในการสื่อสารลงไปอย่างมากที่สุด
เพื่อนๆ อาจจะแปลกใจว่า มีประชากรหลายล้านคนที่ไม่เคยเดินทางออกไปนอกประเทศฟิลิปปินส์ แต่ก็สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษกันได้อย่างคล่องแคล่ว
-----------------------------------------------
เรื่องของภาษาอังกฤษในประเทศฟิลิปปินส์นี้อาจจะยาวหน่อย เลยขออนุญาตเขียนเป็นซีรี่ย์ดีกว่า เพราะอยากแชร์ประสบการณ์ให้ฟังด้วย เนื่องจาก ตัวดิฉันเอง ก็เคยไปอยู่ที่นั่นกับเพื่อนที่ทำงานในสถานทูตสหรัฐอเมริกาเมื่อ 9 ปีที่แล้ว (2006) เป็นเวลา 3 เดือน เลยพบกับสิ่งแปลกๆ ที่จะแชร์ให้อ่านเป็นความรู้เปรียบเทียบกันกับของประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องการสื่อสารภาษาอังกฤษกับชาวฟิลิปปินส์
อย่าเพิ่ง "ปิดประเทศ" ไปก่อนนะคะ เดี๋ยวจะอดอ่านซีรี่ย์ชุดนี้กัน...